middle spirit
|
|
« ตอบ #600 เมื่อ: 07 มกราคม 2568, 06:13:57 » |
|
บุญกุศล ที่สร้างสมถึงที่แล้วมันจะหมดเรื่อง ไม่มีอะไรอีก และไม่เอาไปด้วย บาปก็ไม่เอา บุญก็ไม่เอา ผู้ที่ยังเอาอยู่จึงได้บุญได้บาป เป็นภพเป็นชาติขึ้น ผู้ทอดธุระแล้ว ไม่มีบุญและบาปแล้ว จึงได้เรียกว่า โลกุตระ เหนือโลก. หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #601 เมื่อ: 08 มกราคม 2568, 05:27:49 » |
|
สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้น มันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่าง ๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่าง ๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่าสัมผัส แล้วก็หายไป ๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็นมหาสติ แท้ทีเดียว ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร จิต จะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖ เมื่อนั้น เช่นตา ได้เห็นรูปอะไร หูได้ยินเสียงอะไร มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอาบริกรรมมาใช้อีก ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก ธรรมเทศนา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #602 เมื่อ: 09 มกราคม 2568, 06:12:47 » |
|
"ผู้ใดไม่เห็นทุกข์ ผู้นั้นคือผู้ไม่เห็นธรรม ผู้ได้รับทุกข์ จนเหลือที่จะอดกลั้นแล้ว เมื่อหวนกลับเข้ามาถึงตัวนั่นแลจึงจะรู้จักว่าทุกข์นั้นแลคือ ธรรม ผู้เกลียดทุกข์เป็นผู้แพ้ ผู้พิจารณาทุกข์ คือ ผู้เจริญในทางธรรม"
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #603 เมื่อ: 10 มกราคม 2568, 05:54:59 » |
|
คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้ พ้นจากกรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว จงยึดใจถือใจ เป็นสำคัญ จะมาเกิดก็เพราะใจ เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะใจ ถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ก็ไปตามเรื่องของกาย ใจก็เป็นตามเรื่องของใจ หมดเรื่องหมดราวกันที หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #604 เมื่อ: 11 มกราคม 2568, 06:04:12 » |
|
จุดมุ่งหมายของการภาวนาแท้ คือ การพิจารณาเห็นอัตภาพขันธ์ อันนี้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีสภาวะเกิดดับอยู่อย่างนั้น จนจิตสลดสังเวชเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในรูปนาม ปล่อยวางอุปาทาน (คือความยึดมั่น) เสียได้ ด้วยอำนาจวิปัสสนา นั่นจึงจะ เรียกว่า ภาวนา
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #605 เมื่อ: 13 มกราคม 2568, 06:30:54 » |
|
ความชอบใจ และไม่ชอบใจ สิ่งที่ดี และไม่ดีต่างๆ ไปรวมอยู่ที่ ใจ แห่งเดียว ใจ เป็นใหญ่ในสิ่งสารพัดทั้งปวงหมด ถ้า ใจ อันนี่ดีแล้ว ก็ดีหมด ถ้า ใจ อันนี้ไม่ดีแล้ว ก็ไม่ดีไปหมด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๕
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มกราคม 2568, 06:33:26 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #606 เมื่อ: 14 มกราคม 2568, 05:55:35 » |
|
เรื่อง จิตใจ นั้นเป็นของกว้างขวาง ใจ เป็นตัวสร้างโลก สร้างธรรม เป็นตัว อยู่เหนือโลก และเป็น ตัวโลก อยู่ในตัว หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๕
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #607 เมื่อ: 15 มกราคม 2568, 05:29:11 » |
|
คนเราตายจริง ๆ เมื่อไม่มีลมแล้ว แต่ลมกับใจมันคนละอันกัน ที่แพทย์เรียกว่า “ โคม่า" ” นั้น มันถึงที่สุดของชีวิตในตอนนั้นแล้ว แต่ยังไม่สิ้นไปที่เกิดของลมในทางศาสนาท่านกล่าวไว้ว่า ลมเกิดจากสวาบ คือ กะบังลม กะบังลมมันวูบ ๆ วาบ ๆ อยู่อย่างนั้น มันเป็นเหตุให้เกิดลม มันทำให้เกิดความอบอุ่น เมื่อมันมีความอบอุ่นมันก็ไหวตัววูบ ๆ วาบ ๆ เมื่อลมยังมีอยู่ แต่จิตมันจากร่างไปแล้ว มันจะไปเกิดที่ไหนก็เป็นไปแล้ว ไปพร้อมด้วยกรรมนิมิต คตินิมิตนั้น ไม่มีหลงเหลืออยู่อีก มีแต่ร่าง
ถ้าไม่มีกรรมนิมิต คตินิมิต บางทีมันฟื้นขึ้นมาอีกเพราะลมยังไม่หมด วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เขาเอาออกซิเจนเข้าช่วย ออกซิเจนก็ช่วยได้แต่ลมเท่านั้น แต่จิตมันเคลื่อนแล้ว มันจะไปไหนมันก็ไปตามเรื่องของมัน
เรื่องมรณสติ เป็นของสำคัญที่สุด เพราะเราทุกคนยังไม่เคยตาย เป็นแต่อนุมานเอา เมื่อพิจารณาแล้วเกิดความสลดสังเวช จิตมันก็แน่วแน่อยู่ในที่เดียวนั่นแหละจึงให้พิจารณามรณสติจะได้ประโยชน์ เห็นชัดตามความเป็นจริง หัดให้มันชำนิชำนาญ แต่ถึงขนาดนั้นแล้ว เวลาจะตายจริงๆ ไม่ทราบว่าจะตั้งสติให้มั่นคงได้หรือเปล่า
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #608 เมื่อ: 17 มกราคม 2568, 05:35:58 » |
|
การดูจิต ต้องดูตอนจิตสงบจึงจะเห็นว่า มีอะไรอยู่ในจิต เหมือนดูน้ำตอนใสสงบ จึงจะเห็นว่ามีอะไรนอนก้นอยู่ ท่านจึงสอนให้ทำสมาธิ เพื่อให้จิตสงบ จะได้มองเห็นสิ่งต่างๆ ที่หมักดองอยู่ในจิต แล้วใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์ แยกแยะออกมาทำลาย เพื่อให้จิตบริสุทธิ์ผ่องใส พ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายทั้งปวง หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #609 เมื่อ: 18 มกราคม 2568, 06:21:08 » |
|
"ศีล เป็นของประเสริฐ"
" .. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน แนะนำฝึกอบรมพระสาวกของพระองค์ เบื้องต้นตรงที่ "ศีล อันเกี่ยวเนื่องดัวย กาย วาจา ซึ่งเป็นของหยาบ ๆ" ที่จะแสดงออกมาให้ปรากฏแก่สายตาของสาธารณะชน
"เพราะศีล เป็นของประเสริฐกว่าสิ่งใด ๆ ในโลกทั้งหมด" ในมนุษย์พร้อมด้วย เทวบุตร เทวดา อินทร์พรหม "ก็เทิดทูนศีลนี้ว่า เป็นของประเสริฐ"
ผู้ที่เอาศีลเข้ามาสวมกายไว้ภายในใจของตนแล้ว "ผู้นั้นก็พลอยได้เป็นผู้ประเสริฐไปตามศีลด้วย" แม้ฆราวาสผู้ซึ่งได้นามว่าพระอริยะ "ตั้งต้นแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป ท่านก็มีนิจศีลเป็นประจำ"
มนุษย์คนเราผู้เกิดมาแล้ว "ไม่มีศีลเสียเลยแม้แต่ข้อเดียว ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้รักษาศักดิ์ศรีของตนไว้" อย่างน่าเสียดาย .. " หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มกราคม 2568, 06:23:18 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #610 เมื่อ: 20 มกราคม 2568, 04:35:45 » |
|
ท่านผู้ที่หายจากโรคอันเกิดจากใจได้แก่ผู้สิ้นกิเลสแล้ว ถึงแม้โรคในกายของท่าน จะยังปรากฏอยู่ ก็เป็นแต่อาการความรู้สึก หาได้ทำใจของท่านให้กำเริบไม่ เพราะโรคใจของท่านไม่มีแล้ว สมุฏฐาน คือ อุปาทานของท่านได้ถอนหมดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมีความสุขและได้ลาภอย่างยิ่งในความไม่มีโรค หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี ธรรมเทศนาเรื่อง โรค
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #611 เมื่อ: 21 มกราคม 2568, 05:45:52 » |
|
การรู้จิตของตนนี่แหละ จึงเป็นผลให้ได้ความสงบ ถ้ารู้เมื่อไรแล้ว สงบเมื่อนั้น มีความสุขความสบาย ครั้นไม่รู้แล้ว มันส่งไปวุ่นวายในสิ่งต่างๆ ให้เป็นทุกข์เดือดร้อน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๓
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #612 เมื่อ: 21 มกราคม 2568, 05:49:50 » |
|
อย่าไปมัวเมาของเก่าอยู่เลย ท่านสอนตรงจิตสงบ อยู่อันหนึ่งอันเดียวและรักษาจิตให้อยู่อันเดียวนั่น ตรงนี้แหละสำคัญที่สุด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๗
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มกราคม 2568, 05:51:32 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #613 เมื่อ: 22 มกราคม 2568, 06:26:49 » |
|
การที่รู้ใจตนนั้น เป็นวิชชาเกิดขึ้นแล้ว เป็นปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว จะไปหาปัญญาวิชชาที่ไหนอีก ความรู้ตัว รู้ตนนั่น มันแสนวิเศษแล้ว หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมเล่มที่๕๗
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #614 เมื่อ: 23 มกราคม 2568, 05:44:52 » |
|
พระพุทธเจ้าท่านสอนน้อยนิดเดียว
ไม่ได้สอนมากหรอกสอนให้เห็นใจของตนเท่านั้นแหละเป็นพอ เรียนมากรู้มาก ถ้าไม่เห็นใจของตนเองแล้วละก็หมดเรื่อง เรียนมากรู้มาก ส่งออกไปเลยไม่รู้ตัวว่า นั่นน้ำมันซัดไป
ผู้เรียนน้อย เรียนรู้ใจ ให้รักษาใจให้มั่นคงได้ก็เป็นพอแล้ว จะพ้นจากความทุกข์ได้ก็เพราะใจ คือ เรารักษาใจของเราไม่ให้น้ำซัดไป ถ้าหากเรารักษาใจได้จริงๆ จังๆ จะให้มันโกรธก็ได้ จะไม่ให้มันโกรธก็ได้ จะอยู่เฉยๆก็ได้
ลองคิดดูเถอะ สบายใจไหม มันจะโกรธแล้วไม่โกรธ มันจะสบายใจไหมละ หรือว่าไม่สบาย ไฟไหม้เผาบ้านที่อยู่ของเรามันจะสบายที่ไหน เอาชนะคนอื่นมันเป็นอย่างนั้นแหละ ถ้าเอาชนะตนเองสงบนิ่งเฉยไม่มีโกรธ มีแต่สบาย ทุกคนก็สบายไปหมด
ทำอะไรๆ ก็หาความสบายด้วยกันทั้งนั้นแหละ หาเงินหาทองข้าวของสมบัติอะไรทั้งหมด หาความสบายทั้งนั้น ทางโลกเขาว่า คนไม่รู้จักโกรธ คือ คนไม่มีจิตใจ อยู่เฉยๆ มันจะมีดีอะไร อย่าไปเชื่อคำพูดของเขา จะเสียคน
เราเชื่อตัวของเราเองดีกว่า กิเลสเหล่านี้ คือ โลภ โกรธ หลง เป็นต้น ของเรามีเยอะแต่เราไม่เอามาใช้ เพราะมันทำให้ตนเองและคนอื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์ เราไม่เอามาใช้ดีกว่า หลวงปู่เทสก์ เทศรังสี วัดหินหมากเป้ง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๒๕
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|