middle spirit
|
|
« ตอบ #555 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2567, 06:53:12 » |
|
๗. การอบรมจิตตามที่ได้แสดงมาแล้วนั้น จะโดยวิธีใดก็ตาม ขออย่าได้ลังเลใจว่าจะได้สมาธิและปัญญาหรือไม่ และให้ถอนความอยากตามคำข่าวเขาบอกเล่ากันมาต่างๆ นานานั้นเสีย แล้วทำให้ถูกตามแนวดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ ๖.นั้นก็พอ ในขณะเดียวกันให้สังเกตแนวทางที่เราได้ฝึกอบรมมานั้นว่า เราได้ยกอุบายและจิตขึ้นมาพิจารณาอย่างไรประคองสติไว้อย่างไร จิตของเราจึงได้เป็นอย่างนั้น หากทำอยู่อย่างนั้นแล้วจิตของเราปลอดโปร่งดี จงทำให้ได้เสมอให้ชำนาญ แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นคือ ตรงกันข้ามแล้วก็ให้ใช้ความสังเกตดังกล่าวมาแล้ว แล้วให้รีบแก้ไขใหม่เสีย การสังเกตวิธีฝึกหัดจิตดังกล่าวมานี้ บางคนอาจสังเกตได้ไปพร้อมกันกับขณะจิตที่กำลังเป็นไปอยู่ก็ได้ แต่บางคนมาสังเกตเอาได้ตอนเมื่อจิตถอนออกมาแล้วตั้งอยู่ ทั้งสองอย่างนี้ใช้ได้เหมือนกัน อาการย่อมเป็นไปตามเชาวน์ของแต่ละบุคคล แต่ถ้าไม่ใช้ความสังเกตเสียเลย การฝึกหัดจิตเป็นไปได้ยาก ถึงเป็นไปได้แล้วก็ยากที่จะรักษาให้ถาวรไว้ได้ มรรควิถี/07 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #556 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2567, 06:54:19 » |
|
๘. ขณะที่เรากำลังฝึกหัดจิตอยู่นั้น อาจมีสิ่งอันหนึ่งซึ่งเป็นของแปลกและน่าอัศจรรย์เกิดขึ้นด้วย โดยที่เรามิได้ตั้งใจจะให้เป็นอย่างนั้น แต่มันเป็นไปได้ สิ่งนั้นก็คือจิตจะถอนเสียจากอารมณ์ภายนอก แล้วมารวมเข้าเป็นก้อนอันหนึ่งอันเดียวกัน ปล่อยวางสัญญาความจำและความยึดถือในสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีตหรืออนาคต จะมีปรากฏอยู่แต่ผู้รู้ ซึ่งเป็นคู่กันกับอารมณ์อันหนึ่งอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น และเป็นของที่มิใช่อยู่ภายนอกและภายใน แต่เป็นสภาพที่มีเครื่องหมายเฉพาะจิตต่างหาก คล้ายๆ กับเป็นการปฏิวัติเสียทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่างนั้น คือ จิตเข้าสู่ภวังค์แล้ว ในขณะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะแต่ผู้เดียว ถึงแม้ชีพอันนี้จะยังเป็นไปอยู่ก็ตาม เมื่อจิตเข้าถึงชั้นนี้แล้ว จิตจะปล่อยวางความยึดถือกายนี้ทั้งหมด แล้วเข้าไปเสวยอารมณ์ของตนด้วยตนเองอยู่ต่างหาก ที่เรียกว่า ภพจิต ภพจิตนี้ยังมีขันธ์ ๕ อันละเอียดภายในครบบริบูรณ์อยู่ ฉะนั้น จิตในชั้นนี้จึงยังมีภพมีชาติทำให้ก่อเกิดต่อไปได้อีก ลักษณะอาการอย่างที่ว่ามานี้ คล้ายคนนอนหลับฝันไป ฉะนั้น เรื่องจิตเข้าภวังค์อันเกิดจากการฝึกหัดดังกล่าวนี้ จะมีอาการต่างกันอยู่บ้าง ก็ตรงที่มีสติมากน้อยกว่ากันเท่านั้น ผู้มีสติมีเชาว์ดีเมื่อเกิดขึ้นใหม่ๆ ก็มีสติรู้ตัวอยู่ว่า เราเป็นอะไรเห็นอะไร ไม่ตื่นตกใจ ถ้าผู้มีสติน้อยมักหลงเชื่อง่าย จะเหมือนคนนอนหลับแล้วฝันไป เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมาอาจตกใจก็ได้ หรือหลงเชื่อในนิมิตนั้นๆ แต่เมื่อฝึกหัดอบรมให้เป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว สติจะดีขึ้น อาการเหล่านั้นจะหายไป แล้วจะค่อยเกิดปัญญาพิจารณาเหตุปัจจัยในธรรมนั้นๆ ให้รู้แจ้งเห็นสภาพธรรมตามเป็นจริงอย่างไร มรรควิถี/08 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #557 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2567, 06:29:19 » |
|
(จิต) จิตนี้ถึงแม้จะไม่มีตัวตนและถูกต้องไม่ได้ แต่จิตก็มีอิทธิพลเหนือกายและสิ่งทั้งหลายในโลก สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ให้อยู่ใต้อิทธิพลของตนได้ แต่จิตนี้ก็มิใช่โหดร้ายสามานย์จนไม่รู้จักดีรู้จักชั่วเสียเลย เมื่อผู้มีความปรารถนาดี มาฝึกหัดอบรมจิตนี้ให้เข้าถูกทางตามคำสอนของพระพุทธเจ้าดังแสดงมาแล้ว จิตนี้ยังจะเชื่องง่าย ฉลาดเร็วมีปัญญาพาเอากายที่ประพฤติเหลวไหลอยู่แล้วให้กลับดีได้ นอกจากนี้ยังสามารถจะชำระจิตของตนให้ผ่องใสสะอาดปราศจากมลทิน รู้แจ้งเห็นจริงในอรรถธรรมอันลึกซึ้งสุขุมได้ด้วยตนเองด้วย พร้อมกันนั้นจะสามารถนำเอาโลกนี้อันอันธการปกปิดให้มืดตื้ออยู่แล้ว ให้สว่างแจ่มจ้าได้ด้วย เพราะเนื้อแท้ของจิตแล้วเป็นของสว่างแจ่มใสมาแต่เดิม แต่เพราะอาศัยอารมณ์ของจิตที่แทรกซึมเข้ามาปกปิด จึงได้ทำให้แสงสว่างของจิตนั้นมืดมิดไปชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็พลอยทำให้โลกนี้มืดมิดไปด้วย หากจิตนี้เป็นของมืดมิดมาแต่กำเนิดแล้ว คงไม่มีคนใดใครจะสามารถชำระจิตนี้ให้ใสสะอาดเกิดปัญญาแสงสว่างขึ้นมาได้ ฉะนั้น โลกนี้จะมืดหรือจะสว่าง จะได้รับความสุขหรือความทุกข์ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตของแต่ละบุคคล บุคคลจึงควรฝึกหัดจิตของตนๆ ให้ดีเสียก่อนแล้วจึงฝึกหัดจิตของคนอื่น โลกนี้จึงจะไม่มีความยุ่งต่อไป หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #558 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2567, 06:10:02 » |
|
ธรรมคือความจริง ผู้ปฏิบัติตามธรรมคือปฏิบัติตามความจริง ย่อมได้รับความสันติสุข หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี โลกกับธรรมสัมพันธ์
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #559 เมื่อ: 28 พฤศจิกายน 2567, 06:04:04 » |
|
จิตที่สงบนิ่งแน่วนั่น เป็นสุขอย่างยิ่ง จิตที่สงบอย่างนั้น เป็นของหายาก เพราะเหตุนั้นเราจึงต้องหัด ทุกคนต้องหัดด้วยกันทั้งนั้น จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๘
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #560 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2567, 05:38:44 » |
|
ใจ ที่เป็นกลางๆแล้ว จะมีอะไรกระทบกระเทือนอีก ขอให้รักษา ความเป็นกลาง ไว้ให้มั่นคงเถอะ ไฟนรก ย่อมดับลง ณ ที่นั่นแหละ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๘
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #561 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2567, 06:09:27 » |
|
ความโลภ ความโกรธ ความหลง เอาเป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า บูชาพระธรรม บูชาพระสงฆ์ ได้บุญมากทีเดียว ได้อานิสงส์มากทีเดียว นี่ปฏิบัติบูชาเป็นอย่างนี้ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๘
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #562 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2567, 06:00:28 » |
|
หัดเป็นคนสร้างบุญกุศล อย่าให้เป็นคนจน คุณงามความดีมีปรากฏขึ้นในใจของตนแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีบุญกุศล อยู่ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่จน ละโลกนี้ไปแล้ว ก็เป็นผู้ไม่จน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๑
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ธันวาคม 2567, 06:02:12 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #563 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2567, 05:20:10 » |
|
ในเมื่อเรายังมี หู ตา สว่างแจ่มใส มีจิตใจคิดนึกตรึกตรองได้ และมีคนเทศน์อบรมสั่งสอน รีบปฏิบัติฝึกหัด หรือฟังเทศน์ฟังธรรม จดจำคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้ เรียกว่า รีบแจว รีบพาย หาสมบัติข้าวของที่ตนจะพึงได้ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๖
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #564 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2567, 05:43:13 » |
|
เราเอาพระคุณของพระพุทธเจ้า มาเป็นสรณะ คือ เอามาเป็นเครื่องระลึกถึง คุณงามความดีของพระองค์ อยู่ตลอดกาลเวลา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๒
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #565 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2567, 05:47:22 » |
|
การเห็นของจริง ตามเป็นจริง แล้วสละความยึดถือว่าเป็นของเรา มันก็หมดเรื่องกันไป เรียกว่า พิจารณาสติปัฏฐาน๔ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๓
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #566 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2567, 05:09:49 » |
|
เมื่อของมีอยู่ ไม่รู้จักรักษา มันจะได้ประโยชน์อะไร ของมีอยู่แล้วเราไม่รู้ว่าของมีอยู่ แล้วมันจะมีคุณค่าอะไร เหตุนั้น ปัญญาชน จึงควรรักษาจิต หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๙
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #567 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2567, 05:18:21 » |
|
ทุกข์ที่เห็นในความสงบนั้น จิตมันสงบแล้ว จึงเห็นทุกข์ที่เกิดอยู่ก่อน ต้องมีผู้เห็น อาการที่เห็น แล้วก็ทุกข์ที่เห็น ๓ อย่างประกอบกัน นี่เป็นปัญญา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #568 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2567, 06:21:53 » |
|
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #569 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2567, 05:56:11 » |
|
เรามาหัดภาวนาอยู่แล้ว พอพิจารณาถึงความตาย จิตจะสงบเยือกเย็น อารมณ์ทั้งหลายที่วุ่นวายส่งส่าย เกี่ยวข้องด้วยเรื่องภายนอกจะหายหมด นี่ มันเป็นประโยชน์อย่างนี้ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๖
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|