หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ศิษย์ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
30 ตุลาคม 2567, 15:48:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ศิษย์ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน  (อ่าน 10066 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 205

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 57%
HP: 16.1%



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2562, 11:42:06 »

ประวัติจากคำบอกเล่าจากปากท่าน และชาวบ้าน

#ท่านผู้ส่งต่อ เกษา และอัฐิ #ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ วัดสนามชัย บ.นาหว้าน้อย อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ เกิดปี 2457 ศิษย์ผู้เป็นพี่ของหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร เจ้าอาวาสวัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
...หลวงปู่สว่างได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า สมัยนั้นท่านยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เล่าเรียนอาคมสายปู่สมเด็จลุน จึงมีโอกาสได้เจอกับศิษย์ผู้น้อง คือ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร ต่อมาท่านปรมาจารย์ใหญ่ท่านอาจารย์สมเด็จตันที่ประสิทธิ์วิชา
ท่านเป็นเคยอุปถากหลวงปู่สมเด็จลุน จึงได้แบ่งเกษา อิฐิ บ้างส่วนให้หลวงปู่สว่างติดตัว ต่อมาหลวงปู่ท่านได้เดินทางข้ามมาฝั่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2513 มาอยู่ที่วัดสนามชัย หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ.2518 พี่น้องทางประเทศลาวจึงข้ามมาฝังไทยเป็นจำนวนมาก

การสืบทอดจนมาเป็นสายธรรมอุตฺตโมบารมี
1.องค์ต้นปรมาจารย์ใหญ่สมเด็จพระเจ้าสังฆราชาสัทธรรมโชตนาญาณวิเศษ (เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก) พ.ศ. 2174-2264
2.ปรมาจารย์ใหญ่พระครูพรหมา (เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4) ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พ.ศ. 2335 – ๒๔๑๐
3.ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ (อุปัชญาย์สำเด็จลุน มีศักดิ์เป็นหลวงอา และเป็นผู้ก่อตั้งสายอุตฺตมะอุตฺตโม ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น สายธรรมอุตฺตโมบารมี เริ่มไหว้ครูธรรมใหญ่ครั้งแรก ปี 2405) ท่านได้ธุดงค์เพื่อไปกราบพระธาตุพนม จากนั้นจึงเข้าไปกราบพระครูพรหมา เพื่อได้ขอศึกษาตำราใบลาน พ.ศ. 2345-2395
4.ปรมาจารย์ญาถานสมเด็จลุน พระผู้ทรงอภิญญาแห่งประเทศลาว พ.ศ.๒๓๗๙ – ๒๔๖๓
5.บรมครูใหญ่ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ  ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 (ผู้รับมอบเกศา อัฐิ ตำราใบลานสำเร็จลุน จากญาถ่านสำเด็จตัน)พ.ศ.๒457-2553
6.บรมครูใหญ่ญาถ่านทา นาควัณโณ  ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 (ผู้สืบทอดจากญาถ่านตู๋ ผู้เป็นศิษย์ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ )พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน
7.บรมครูญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 พ.ศ. 2510 – ปัจจุบัน


ประวัติความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่
สายธรรมอุตฺตโมบารมี
     เดิม ศิษย์รุ่นแรกจะ เรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่สำเร็จต้นบอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่ญาท่านอุตตะมะปฐมาจารย์ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน เจ้าอาวาส วัดสิงหาญ ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2345-2395 ก่อนท่านมรณะ 10 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 และเป็นช่วงของญาท่าน(สำเร็จ)สีดา เจ้าอาวาส พ.ศ.2395-2450 เพราะหลวงปู่สำเร็จต้นจำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ดังนั้นการหาวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ปีนั้นจึงมีความง่ายมาก เพราะครูบาอาจารย์ได้ให้ลูกศิษย์ใช้ วันที่ขึ้น 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปีจัดพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ จึงสามารถสรุปวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ ทั้งแรกคือ วัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำเดือนสาม(๓) ปีระกา นับจากนั้นมาจึงเริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันปี 2563 มีอายุการประกอบพิธีกรรมมาแล้ว 158 ครั้ง

ต่อมา มีลูกศิษย์ได้จัดสร้างเหรียญหลวงปู่สว่าง เมื่อ 1 ธ.ค.51 จำนวน เหรียญ 500 เหรียญ
หลังจากนั้นหลวงปู่สว่างท่านป่วยหนักญาติพี่น้องลูกหลานจึงพาท่านกลับยังถิ่นฐานบ้านเกิดยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แล้วท่านก็มรณะภาพ ที่วัดบ้านนาแก เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสุวรรณเขต รวมอายุได้ 96 ปี พรรษา 75

หลวงปู่สว่างก่อนที่จะล้มป่วย ท่านได้มอบเกษา และอัฐิ ให้กับปู่รินทอง หัวหน้าโรงเลื่อยบ้านนาสนาม ปู่รินทองคือบิดาของญาถานเบิ้ม ต่อมา
เกษา และอัฐิ #ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
จนมาถึงสายธรรมอุตฺตโมบารมี โดยมีหลักฐานพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเชื่อสายตรง ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดเวินไซ หรือศิษย์ที่ข้ามมาไทย
ท่านได้นำข้ามมายังประเทศไทย บ้างท่านได้แต่ผงอัฐิ บ้างท่านได้ เขี้ยวท่าน บ้างท่านได้ เกษา
และยิ่งมีเกิดความบังเอิญ ท่านที่ได้ครอบครอง ได้แบ่งให้บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเสาหลักให้ศิษย์สายปรมาจารย์ได้กราบบูชาเป็นตัวแทน ...


* 79007.jpg (425.07 KB, 1108x1477 - ดู 1437 ครั้ง.)

* 1.jpg (273.19 KB, 1108x1477 - ดู 1400 ครั้ง.)

* 2.jpg (262.68 KB, 1108x1477 - ดู 1414 ครั้ง.)

* ภาพหลวงปู่สมเด็จลุน.jpg (144.07 KB, 717x901 - ดู 1347 ครั้ง.)

* 82890330_551391752137353_6389910381434765312_n.jpg (61.57 KB, 410x560 - ดู 1230 ครั้ง.)

* 130356.jpg (218.07 KB, 797x1220 - ดู 1286 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2565, 18:39:34 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 205

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 57%
HP: 16.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2562, 13:44:39 »

ตำราตกทอดที่นำมาจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


* 114321.jpg (196.57 KB, 1477x1108 - ดู 1334 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 205

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 57%
HP: 16.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 29 มกราคม 2563, 12:32:00 »

การก่อตั้ง สายธรรมอุตฺตโมบารมี
   จากคำบอกเล่าของหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ วัดสนามชัย บ.นาหว้าน้อย อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี การสืบทอดมีมาตั้งแต่สมัย ญาถานอุตฺตมะ อุปัชญาย์สำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็นหลวงอา อดีตเจ้าอาวาส        
วัดสิงหาญ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๓๙๐ – ๒๔๒๐ ญาถานอุตฺตมะได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านไหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ
ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ
   หลังจากนั้นเริ่มมีศิษย์เข้ามาขอเล่าเรียนพระเวทย์อาคม มีทั้งพระและฆราวาส โดยเรียกกันในกลุ่มว่า สายธรรมอุตฺตมะอุตฺตโม บ้างท่านก็เลือกเรียนเฉพาะอย่าง เช่น บ้างท่านเลือกธรรมพุทโธ
บ้างท่านเลือกธรรมบรรลุ บ้างท่านเลือกธรรมอะระหัง เป็นต้น แต่ในกลุ่มจะรู้กันดีว่าออกจากสายธรรมอุตฺตมะอุตฺตโม
   หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านเล่าว่า ตัวท่านเองได้มาเล่าเรียนในสายธรรมอุตฺตมะอุตฺตโมสมัยที่ท่านนั้นยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จึงมีโอกาสได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์เล่าเรียนอาคมกับหลวงปู่สำเร็จลุน หลวงปู่สำเร็จลุนท่านจึงได้ส่งต่อให้กับสำเร็จตันที่ประสิทธิ์วิชาท่านเป็นเคยอุปถากหลวงปู่สำเร็จลุนเป็นผู้ชี้แนะสั่งสอน
จนได้เจอกับศิษย์ผู้น้อง คือ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร หลังจากนั้นก็ตามพากันกราบลาปรมาจารย์แยกออกเดินทางเพื่อปฏิบัติตามป่าเขา
ต่อมาหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านได้รับการแจ้งข่าวเรื่องการมรณภาพของหลวงปู่สำเร็จลุน เมื่อปี 2563 สิริอายุรวม ๗๐ ปี หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านได้ไปร่วมงานพิธี
ช่วยสำเร็จตันและเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์จนเสร็จเรียบร้อย จึงได้กราบลาสำเร็จตันเพื่อเดินทางกับยังวัด สำเร็จตันจึงได้มอบพระเกษา พระอิฐิ บ้างส่วนให้หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ติดตัว
หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ จึงข้ามมาฝังไทยแล้วจำพรรษาที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม อ.เขมราฐ จ.อุบล
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านมาอาศัยอยู่ที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม ก็ได้มีเหล่าศิษย์ที่หลวงปู่เคยชี้แนะสั่งสอนพระเวทย์อาคมให้รู้ว่าท่านอยู่ที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม
จึงเดินทางมากราบท่านทุกปี ในแต่ละปีจะเป็นภาพที่มีผู้คนเดินทางมีทำพิธีไหว้ผีทัย ผีเชื่อ ทั้งจาก สปป.ลาว และจากไทย
เริ่มให้ใช้ชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านมอบว่า ในอนาคตจะมีฆราวาสเข้ามาเล่าเรียนในสายหลวงปู่สำเร็จลุนมากมาย ท่านจึงให้ตัดคำว่า อุตฺตมะ ออกให้เหลือแต่คำว่า อุตฺตโม แปลว่า สูงสุด, ดีที่สุด, ยอดเยี่ยม, เลิศ    
เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นผู้มีความเพียรในคำสอน เป็นผู้ยึดคำสอนครูเป็นหลัก ศิษย์ฆราวาสรุ่นต่อมาจึงใช้ชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี สืบทอดต่อมา
     จากต้นกำเนิดมาจนถึงปัจจุบันการสืบทอดสายธรรมนี้ก็มีอายุนับร้อยขึ้น สืบทอดกันเป็นรุ่น ก่อนที่หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ จะล้มป่วย ท่านได้มอบพระเกษา พระอิฐิให้กับปู่รินทอง
หัวหน้าโรงเลื่อยบ้านนาสนาม ปู่รินทองคือบิดาของญาถานเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอด รุ่นที่ 3  ต่อมาพระเกษา พระอิฐิปรมาจารย์ หลวงปู่สำเร็จลุน วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาสัก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงสายธรรมอุตฺตโมบารมี โดยมีหลักฐานพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเชื่อสายตรง ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดเวินไซ
หรือศิษย์ที่ข้ามมาไทยท่านได้นำข้ามมายังประเทศไทย บ้างท่านได้แต่ผงพระอัฐิ บ้างท่านได้ เขี้ยวท่านหรือฟัน บ้างท่านได้ พระเกษาและยิ่งมีเกิดความบังเอิญ ท่านที่ได้ครอบครอง
ได้แบ่งให้บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเสาหลักให้ศิษย์ ได้กราบบูชาเป็นตัวแทนของปรมาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน และให้ สืบทอดต่อไป    


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 พฤษภาคม 2563, 07:54:48 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 205

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 57%
HP: 16.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 กันยายน 2564, 21:17:29 »

ญาถานอุตฺตมะ ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็น หลวงอา
ปฐมาจารย์ใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี หรือสมัยนั้นเรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม

ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก
ชั้แนะในหลักการปฏิบัติในลูกศิษย์ยึดหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มั่นเจริญศิล 5 ให้เป็นนิสัย

สำเร็จลุน หรือบรรดาศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามว่า “หลวงปู่สำเร็จลุน” หรือ หลวงปู่ลุน ไม่มีหลักฐานว่าได้รับการศึกษาเบื้องต้นระดับใดมาก่อน ส่วนการบรรพชาอุปสมบท จากการบอกเล่าของพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) หรือ “หลวงปู่โทน” แห่งวัดบูรพา บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในคราวจัดงานอายุครบ ๙๑ ปี หลวงปู่โทน (๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑) โดยสรุปว่า “หลวงปู่ลุน” อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “พระอาจารย์อุตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ลุน ได้นำหลานชายชื่อลุนมาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย

พระอาจารย์อุตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง พระอาจารย์อุตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนหลวงปู่ลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว พระอาจารย์อุตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ หลวงปู่ลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง


* ญาถานอุตฺตมะ1.jpg (62.17 KB, 494x665 - ดู 988 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กันยายน 2564, 21:53:46 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 205

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 57%
HP: 16.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2565, 11:25:26 »

เหรียญเนื้อทองคำ


* ทำเนียบ1.jpg (6040.72 KB, 4252x4252 - ดู 970 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 205

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 57%
HP: 16.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2565, 15:22:14 »

จุดเริ่มต้นสายธรรมอุตฺตโมบารมี

      พระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 หรือ พระไชยองค์เว้ ประสูติ พ.ศ.2228 เป็นพระราชโอรสของเจ้าชมพู ที่ถูกเนรเทศไปอยู่เมืองเว้
พระองค์ได้ครองราชย์สมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2245 ทรงตั้งให้เจ้าองค์ลอง พระอนุชาต่างบิดาเป็นอุปราชและไปครองเมืองหลวงพระบาง
และอัญเชิญพระบางมาประดิษฐานที่เวียงจันทน์
      ต่อมาใน พ.ศ. 2249 เจ้ากิ่งกิสราชซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าราชบุตร และเป็นหลานปู่ของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
ที่ลี้ภัยไปอยู่สิบสองปันนากับเครือญาติฝ่ายพระมารดา ได้ยกทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เจ้าลองสู้ไม่ได้ แตกพ่ายลงมาเวียงจันทน์
เจ้ากิ่งกิสราชยกทัพตามลงมาที่เวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 จึงขอกองทัพจากกรุงศรีอยุธยามาช่วย
      สมเด็จพระเพทราชา กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ได้ยกทัพขึ้นมาและไกลเกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกัน
โดยให้แบ่งเขตแดนระหว่างหลวงพระบางกับเวียงจันทน์ ให้เจ้ากิ่งกิสราชครองหลวงพระบาง ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ครองเวียงจันทน์
ทั้งสองกษัตริย์ตกลงแบ่งเขตแดนกันโดยใช้แม่น้ำเหืองเป็นแดนทางฝั่งขวา ทางฝั่งซ้ายใช้เทือกเขาภูชนะคามเป็นเขตแดน
แคว้นสิบสองจุไทกับหัวพันห้าทั้งหกขึ้นกับหลวงพระบาง แคว้นเชียงขวางและแคว้นที่อยู่ใต้ลงมาให้ขึ้นกับเวียงจันทน์ การแบ่งเขตแดนนี้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2250
      หลังจากสิ้นสุดสงครามกับพระเจ้ากิ่งกิสราช พระองค์ได้เร่งปรับปรุงการปกครองหัวเมือง ส่งคนที่ไว้ใจได้ไปปกครองเมืองที่สำคัญ
ทำให้กลุ่มของ องค์ที่ 1 พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก ต้องอพยพลงใต้ไปหาที่มั่นใหม่ ในที่สุดได้ไปตั้งมั่นที่เมืองจำปาศักดิ์ และแยกตัวเป็นอิสระจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2256 ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมศึกษาเล่าเรียน
จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในสมัยนั้นเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280
      ต่อมา พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ครองราชย์จนถึง พ.ศ. 2273 จึงสิ้นพระชนม์ จากนั้น เจ้าลองพระอนุชาได้ขึ้นครองราชย์สืบแทน
      องค์ที่ 2 เจ้าองค์ลอง (สวรรคตใน พ.ศ. 2283) เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 2 (พ.ศ. 2273 – 2283) พระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
      องค์ที่ 3 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือ พระเจ้าศิริบุญสาร เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 4 (พ.ศ. 2294 - พ.ศ. 2322) พระราชโอรสในเจ้าองค์ลอง, เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ. 2322
      องค์ที่ 4 พระเจ้านันทเสน เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 5 (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337) พระราชโอรสในพระเจ้าศิริบุญสาร
      องค์ที่ 5 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4 หรือ พระเจ้าอินทวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 6 (พ.ศ. 2337 - พ.ศ. 2348) พระราชสมภพเมื่อใดไม่ปรากฏ และสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2348 ทรงเป็นพระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสน, พระบรมอัยกาธิราชในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      ต่อมาพระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร
จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์
ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น
      ต่อมา วัดพระธาตุพนม จึงได้มีเจ้าอาวาสนาม องค์ที่ 6 พระครูพรหมา (เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4) ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พ.ศ. 2335 – 2410
      หลังจากนั้น องค์ที่ 7 ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ในราวปี 2335 (อุปัชญาย์สำเด็จลุน มีศักดิ์เป็นหลวงอา และเป็นผู้ก่อตั้งสายอุตฺตมะอุตฺตโม ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น สายธรรมอุตฺตโมบารมี เริ่มไหว้ครูธรรมใหญ่ครั้งแรก ปี 2405) ท่านได้ธุดงค์เพื่อไปกราบพระธาตุพนม จากนั้นจึงเข้าไปกราบพระครูพรหมา เพื่อได้ขอศึกษาตำราใบลาน
      ต่อมาปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ได้ย้ายมาจากฝั่งขวาแม่น้ำโขง มาสร้างวัดสิงหาญ ราว พ.ศ.2345 โดยญาท่านอุตตะมะ (อุต) เป็นผู้ก่อตั้ง มีความเป็นมากล่าวคือ ญาถ่านอุตตะมะ ได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านใหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ ญาถ่านอุต ท่านจึงได้บอกว่าถ้าจะให้จำพรรษอยู่ที่บ้านสะพือนี้ ก็จะเอาพ่อแม่มาด้วย ชาวบ้านจึงได้ตกลง ท่านจึงอพยพครอบครัวมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสะพือ ชาวบ้านได้จัดสรรที่ทำมาหากินให้มีไร่นาสวนพออยู่พอกิน ส่วนญาถ่านอุตนั้นได้ตั้งสำนักสงฆ์ ขึ้นอยู่ที่ป่าทางทิศให้ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อ "วัดศรีสุมัง"  ( ปัจจุบันได้ขุดเป็นสระน้ำสาธารณะ ชาวบ้านเรียก สระโนนวัด เพราะเคยเป็นวัดมาก่อน ) แต่ชาวบ้านเห็นว่าการนำภัตราหารเช้า,เพลไปถวายลำบาก เนื่องจากอยู่ไกลหมู่บ้าน จึงได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ที่ริมหมู่บ้านทางทิศใต้ (ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถาง สร้างกุฎิให้พระอยู่อาศัย ญาถ่านอุต จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2345 เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดสิงหาญ" จนถึงปัจจุบัน
      หลังจากนั้นองค์ที่ 8 ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็น หลวงอาของปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ได้นำหลานชายชื่อ ลุน มาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย
      ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ท่านปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการศึกษาตำราใบลาน จากพระครูพรหมา เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4 ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด
     ต่อมาศิษย์รุ่นแรกจะ เรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ เล่าว่า ญาถ่านสำเร็จตัน บอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน เจ้าอาวาส วัดสิงหาญ ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2345-2395 ก่อนท่านมรณะ 10 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 และเป็นช่วงของญาถ่าน(สำเร็จ)สีดา เจ้าอาวาส พ.ศ.2395-2450 เพราะญาถ่านสำเร็จตัน  จำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ดังนั้นการหาวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ปีนั้นจึงมีความง่ายมาก เพราะครูบาอาจารย์ได้ให้ลูกศิษย์ใช้ วันที่ขึ้น 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปีจัดพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ จึงสามารถสรุปวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ ทั้งแรกคือ วัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำเดือนสาม(๓) ปีระกา นับจากนั้นมาจึงเริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ
     ส่วนองค์ที่ 9 ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า สมัยนั้นท่านยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อไปฝากตัวเล่าเรียนอาคมกับปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ราวปี พ.ศ.2443 จึงมีโอกาสได้เจอกับหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร ผู้เป็นหลานของญาถ่านสำเร็จตัน  ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน หลังจากนั้นท่านจึงให้ญาถ่านสำเร็จตัน ทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยงดูแลการศึกษาตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม ต่างๆ ร่วมกับหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร จนศึกษาจบทุกอย่าง ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณจึงขอเดินทางออกธุดงไปยังที่ต่างๆ
     หลังจากนั้นปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ขณะจำพรรษาที่วัดเวินไซ บ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ได้อาพาธหนักแล้วได้มรณภาพในปี พ.ศ.2463 ต่อมาญาถ่านสำเร็จตัน จึงแจ้งข่าวงานศพปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุนไปยังญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ท่านก็ได้เดินทางมาร่วมงานจนเสร็จ ญาถ่านสำเร็จตัน จึงได้แบ่งเกษา อิฐิ บ้างส่วนให้ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณติดตัว ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณได้เดินทางข้ามมาฝั่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2513 มาอยู่ที่วัดสนามชัย ได้นำเอาตำราใบลานที่ได้รับการคัดลอกจากปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ข้ามมายังฝั่งไทยด้วย หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ.2518 พี่น้องทางประเทศลาวจึงข้ามมาฝังไทยเป็นจำนวนมาก
     ต่อมาเมื่อพี่น้องลูกศิษย์ที่เล่าเรียนสายอุตฺตมะอุตฺตโม รู้ข่าวว่าญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ มาจำพรรษาอยู่อำเภอเขมราฐ ก็ต่างพากันกราบนมัสการ แล้วปรึกษาเรื่องการจัดงานไหว้ครูธรรมใหญ่ให้ต่อเนื่อง ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ท่านไม่ต้องการให้นำเอาชื่อ ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ มาเป็นชื่อเรียกใน สายอุตฺตมะอุตฺตโม จึงให้ตัดคำว่า อุตฺตมะ ออกจากคำเรียก ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี ในราวปี พ.ศ.2529 นับจากนั้นมาจึงใช้ชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี ตลอดมา
     เมื่อญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ เริ่มมีอาการป่วย จึงได้มอบตำราใบลานให้ฆราวาสครูธรรมใหญ่รินทอง สนธิหา ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 ได้ดูแลเก็บรักษาต่อไป ให้ศิษย์รุ่นต่อไปได้ศึกษาเล่าเรียนไม่ให้สูญหาย และมอบเกษา อัฐิ ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ไว้ด้วย หลังจากนั้นคณะครูธรรมใหญ่จึงอันเชิญ ญาถ่านทา นาควัณโณ เป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เมื่อญาถ่านทา นาควัณโณ ต่อมาฆราวาสครูธรรมใหญ่รินทอง สนธิหา ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 ได้ถึงแก่กรรม ทางคณะศิษย์จึงเชิญฆราวาสครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี ขึ้นเป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เมื่อครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี 
      ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2558 องค์ที่ 9 ญาถ่านทา นาควัณโณ เป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 และฆราวาสครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เริ่มแก่ชราจึงได้มอบหมายให้ องค์ที่ 10 ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม เป็นผู้สืบทอดเป็นรุ่นที่ 3 พร้อมฆราวาสครูธรรมใหญ่เวด สีจันทะวง ขึ้นเป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 จนถึงปัจจุบัน
 

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!