middle spirit
|
 |
« ตอบ #645 เมื่อ: 01 มีนาคม 2568, 05:46:11 » |
|
(3) ถาม ทำบุญอะไร มากและน้อยอย่างไร จึงจะได้บุญมาก
(3) ตอบ ทำบุญอย่างหนึ่ง ทำทานอย่างหนึ่ง ทำกุศลอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน แต่ลงที่เจตนาอันเดียวเป็นรากฐาน ทำบุญ นั้น มีเจตนาศรัทธาเป็นทุนก่อน จะมีวัตถุหรือไม่ก็ตาม ศรัทธานั้นเต็มเปี่ยมบริบูรณ์อยู่ในใจแล้ว ยิ่งมีวัตถุสิ่งของเป็นเครื่องแสดงให้ไปก็ยิ่งเพิ่มศรัทธาขึ้นเป็นทวีคูณ นี่เรียกว่าบุญ บุญคือความยินดีในสิ่งที่ตนให้แล้วเกิดเต็มเปี่ยมขึ้นมาในใจ
ทำทาน นั้น จะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม คิดจะให้แล้วก็ให้ไปเลย ไม่ว่าสิ่งของอะไรทั้งหมด ถ้ามีเจนาศรัทธาเลื่อมใสในบุคคลผู้รับและสิ่งที่ตนให้นั้น หรือเอ็นดูต่อบุคคลผู้รับนั้นแล้วให้ไปเรียกว่าทาน สมดังคำว่า ทานัง เทติ เทก็หมายความว่า เทให้ ทอดให้ ให้สิ่งของจึงเรียกให้ สรุปได้ว่า ทำทานคือ ให้สิ่งของพัสดุนั้นไม่ว่ามากหรือน้อย หยาบหรือละเอียด ไม่ปรารถนาผลตอบแทน แต่มีเมตตาจิตเป็นพื้นฐาน แม้ที่สุดให้ด้วยแก้ความรำคาญ เรียกว่า ทำทาน
การทำบุญนั้น ต้องมีเจตนาศรัทธาเป็นพื้นฐาน ก็การให้นั่นแหละเรียกว่า ทำบุญ จะให้สิ่งของอะไรมากและน้อย หยาบและละเอียดก็ตาม ให้แล้วหวังผลตอบแทน เช่น ปรารถนาว่า ด้วยอำนาจอานิสงส์ที่ข้าพเจ้าได้ทำบุญแล้วในครั้งนี้ ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติเป็นต้น
การกุศล นั้น คือ ทำบุญทำทานนั่นเอง แต่เป็นกุศโลบายของท่านผู้รู้ทั้งหลายที่จะให้พ้นจากความยากและความหิวทั้งปวง ทำไปเพื่อให้ใจผ่องใสสะอาดไม่พึงปรารถนาสิ่งใดๆทั้งสิ้น แม้แต่จิตคิดจะทำภาวนาสมาธิก็เช่นเดียวกัน
ทำบุญ ทำทาน ทำกุศล ไม่ว่ามากหรือน้อย วัตถุมิใช่ตัวบุญแท้ ตัวบุญแท้มันเกิดที่หัวใจ คือ เจตนาของบุคคลนั้นต่างหาก ถ้าเจตนาศรัทธาในขณะใด ในบุคคลใด ในสถานที่ใด ในที่นั้นๆได้บุญมาก ฉะนั้น บุญในพุทธศาสนานี้คนทำจึงไม่รู้จักหมดจักสิ้นสักที
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้สองพันกว่ามีแล้วว่า ทำบุญได้บุญเช่นไร มาในปัจจุบันนี้หรือในอนาคตต่อไปก็ได้อย่างนั้นเช่นเคย คนทำบุญมากเท่าไรก็จะได้บุญมากเท่าที่ตนนั้นสามารถจะรับเอาไปได้ เหมือนกับคนนับเป็นหมื่นๆแสนๆถือเทียนมาคนละเล่ม ไปขอจุดจากผู้ที่มีเทียนจุดอยู่แล้ว ย่อมได้แสงสว่างตามที่ตนมี เทียนเล่มโตหรือเล่มเล็ก ส่วนดวงเดิมที่ตนขอจุดต่อนั้นก็ไม่ดับ เทียนหลายดวงยิ่งเพิ่มแสงสว่างยิ่งๆขึ้นไปอีก หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (หนังสือวิสัชชนาในประเทศ)
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #646 เมื่อ: 02 มีนาคม 2568, 05:37:13 » |
|
ขันธ์ อายตนะต้องใช้มากเป็นพิเศษ ตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก หากสติไม่กล้า ปัญญาไม่พอ ไม่เห็นโทษในอุปาทาน เบื่อหน่ายในสังขาร ปัญญาไม่รู้เท่าต่อเหตุการณ์เสมอแล้ว ก็จะมีแต่ทำให้จิตมืดมิดมึนเมา เหมือนนักดื่มสุรา ดื่มหนักเข้าจนทำรสเผ็ดร้อนกลายเป็นรสอร่อยหวานไปเลย ยิ่งดื่มก็ยิ่งแต่จะหวาน (มีดมีแต่ใช้ หาเวลาลับแลขัดไม่ได้ มีดนั้นก็มีแต่ทื่อเข้าทุกที ผลที่สุดก็ใช้ไม่ได้ต้องเป็นของทิ้ง) ฉะนั้น หากขันธ์อายตนะ ยังมีอยู่ตราบใด สติและปัญญาจำต้องใช้อยู่ตราบนั้น และใช้มากขึ้นเป็นลำดับ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #647 เมื่อ: 03 มีนาคม 2568, 06:12:11 » |
|
ถ้าจะเป็นพุทธสาวก ต้องเป็นผู้ปฏิบัติ ถึงจะถูกหลัก เข้าถูกทาง ถ้านับถือเฉยๆ ใครก็นับถือได้ทั้งนั้น แต่ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๒
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #648 เมื่อ: 04 มีนาคม 2568, 05:57:36 » |
|
จะต้องพิจารณาให้เห็นว่า คือ ใจมันไปเกี่ยวข้อง มันจึงไม่สงบ ใจไม่เกี่ยวข้อง มันก็ไม่มีเรื่องอะไร เมื่อเห็นชัดแล้วก็ปล่อยวางเสีย มันก็หมดเลยเรื่องนั้น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๑๒
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มีนาคม 2568, 06:07:33 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #649 เมื่อ: 05 มีนาคม 2568, 05:29:34 » |
|
การที่เราละความชั่วได้ เราไม่เก็บความชั่วไว้ในตัวของเรา อันนั้นเป็นบุญกุศลเกิดขึ้นในจิต เราเองก็รู้สึกชื่นชมยินดีในตัวของเรา ที่ละทิ้งความชั่วได้ ขอให้พากันสะสมบุญอย่างนี้ ขึ้นภายในจิตของตนทุกๆคน หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #650 เมื่อ: 06 มีนาคม 2568, 05:19:57 » |
|
#ธรรม ธรรมมันกว้างมาก ธรรม คือ ธรรมดา สภาพอันหนึ่งที่เป็นของจริง เรียกว่า ธรรมะ คำว่า ธรรมะ กว้างมาก ดี ก็เรียกว่า ธรรม ชั่ว ก็เรียกว่า ธรรม ไม่ดีไม่ชั่ว ก็เรียกว่า ธรรม ในตัวเราทั้งหมด คือ รูปธรรม นามธรรม ก็เรียกว่า ธรรม ถ้าพูดเฉพาะทางปฏิบัติเรียกว่า ปฏิบัติธรรม เพื่อให้เราดี เพื่อเราจะได้รับความสุข.. หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #651 เมื่อ: 08 มีนาคม 2568, 05:09:35 » |
|
เป็นพระภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา เมื่อมีสติคุมแล้ว รู้ในสิ่งนั้นว่า เราทำสิ่งใด สมควรแก่ฐานะของเราหรือไม่ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๙๑
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #652 เมื่อ: 09 มีนาคม 2568, 06:01:36 » |
|
ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ศึกษา เพื่อเอา ไม่ใช่ เพื่อทิ้ง แต่ศึกษา เพื่อรู้ รู้สภาพของธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๐
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #653 เมื่อ: 10 มีนาคม 2568, 05:46:08 » |
|
พวกเราไม่เข้าใจความจริงในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติผิดๆเข้ากับกิเลสของตน ก็เหมือนกับช่วย บ่อนทำลายพระศาสนาคนละนิดคนละหน่อย คนละด้าน คนละทางเช่นนี้แล้ว จะไม่เป็นบาปมากหรือ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมเล่มที่๘๐
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #654 เมื่อ: 11 มีนาคม 2568, 05:28:08 » |
|
ปฏิบัติอะไร ปฏิบัติตัวของเรานี่แหละ ปฏิบัติกายวาจาใจ ใจที่เรามีสติอยู่เสมอทุกเมื่อ รู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ เห็นความคิดของตนรู้อยู่อย่างนั้น ฃ อันนั้นปฏิบัติถูกต้องแล้ว หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๖
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #655 เมื่อ: 12 มีนาคม 2568, 06:39:22 » |
|
รู้อะไร ไม่เท่ารู้ตัวเอง ฉลาดอะไร ไม่เท่าฉลาดรักษาใจของตน รู้สิ่งอื่นจะทำให้เราบริสุทธิ์ได้อย่างไร เรารู้ใจของเราเองละซี จึงทำความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นแก่ตัวเราได้ นั่นแหละความประสงค์ของพุทธศาสนา หลวงปู่เทสก์ เทสรํงสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๖
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #656 เมื่อ: 13 มีนาคม 2568, 05:36:27 » |
|
คนที่จะข้ามโอฆะ (ห้วงน้ำ หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิด) ได้ ต้องมีศรัทธาเสียก่อน ถ้าไม่มีศรัทธาเสียอย่างเดียวก็หมดทางที่จะข้ามโอฆะได้ ศรัทธาจึงเป็นของสำคัญที่สุด เช่น เชื่อมั่นในกรรม เชื่อผลของกรรม ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่าศรัทธาอันนั้น เป็นเบื้องต้นที่จะทำทาน ถ้ามีศรัทธาแล้ว ไม่อดเรื่องการทำทาน อยู่ที่ไหนก็ทำได้ ทำมากก็ได้ ทำน้อยก็ได้ ไม่ต้องเลือกวัตถุในการทำทาน จะเป็นข้าว น้ำ อาหาร หมากพลู .... สารพัดสิ่งเป็นทาน ได้ทั้งหมด แม้แต่ใบไม้ ใบตอง ใบหญ้า ก็เป็นทานได้ เราทำด้วยความเชื่อมั่นว่า สิ่งนี้ทำไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ผู้นั้น ๆ เราก็อิ่มอกอิ่มใจขึ้นมา ก็เป็นบุญ นั่นแหละ ศรัทธา มันทำให้อิ่มอกอิ่มใจ ทำให้เกิดบุญ ซาบซึ้งถึงใจทุกอย่างไม่ลืมเลย อันนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ข้ามโอฆะ. หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี. จากธรรมเทศนาเรื่อง หลักการปฏิบัติธรรม
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #657 เมื่อ: 14 มีนาคม 2568, 05:48:10 » |
|
ธรรม คือ ของจริงของแท้ เป็นแก่นของโลก ธรรม แปลว่า ของเป็นอยู่ ทรงอยู่สภาพตามเป็นจริง เป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น เรียกว่า ธรรม
ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นธรรมทั้งนั้น เรียก ชาติธรรม ชราธรรม พยาธิธรรม มรณธรรม ทำไมจึงเรียกว่า ธรรม คือ ทุก ๆ คน จะต้องเป็นเหมือนกันหมด
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #658 เมื่อ: 15 มีนาคม 2568, 06:44:48 » |
|
เราตั้งสติกำหนดเท่านั้นแหละ เห็นอานิสงส์ทันที ความเดือดร้อนวุ่นวาย ความกังวลหายหมด ความทุกข์ทั้งหลายไม่มีเกี่ยวข้อง หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๓
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #659 เมื่อ: 16 มีนาคม 2568, 05:51:30 » |
|
เรื่องจิตใจนั้นเป็นของกว้างขวาง ใจเป็นตัวสร้างโลก สร้างธรรม เป็นตัวอยู่เหนือโลก และเป็นตัวโลกอยู่ในตัว หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๕
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|