middle spirit
|
 |
« ตอบ #630 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2568, 05:45:14 » |
|
#ดีชั่วอยู่ที่ตัวเรา "คนเราจะเป็นคนดีหรือคนเลว ไม่ใช่เพราะโคตร วงศ์ตระกูล รูปร่างสัณฐาน วิชาความรู้ แต่ดีตรงที่ประพฤติต่างหาก ดูครั้งพุทธกาล ผู้ที่บวชในพุทธศาสนา สูงสุดเป็นถึงกษัตริย์ ต่ำลงมาก็พวกพราหมณ์ ต่ำลงมาอีกก็พวกคนธรรมดาสามัญ ต่ำที่สุดคนขอทาน คนขอทาน พระองค์ก็เทศนาอบรมสั่งสอน ให้ประพฤติปฏิบัติตนจนได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน มีสักขีพยานชัดเจน พระองค์จึงตรัสอย่างนั้นว่า คนจะดีไม่ใช่ดีเพราะโคตร เพราะวงศ์ตระกูล หรือรูปร่างสัณฐาน ผิวพรรณต่างๆ ดีเพราะการฝึก ตรงนี้จุดสำคัญที่เราต้องสนใจกัน ความประพฤติก็ไม่มีอะไร มีในตัวของเราทั้งหมด มีกาย วาจา ใจ ๓ อย่างนี้แหละ ดีชั่วอยู่ตรงนี้ จะดีก็เพราะกายวาจาใจนี้ จะชั่วจะเลวก็เพราะกายวาจาใจนี้" คติธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #631 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2568, 06:46:30 » |
|
ตัวจิตแท้คือผู้คิดผู้นึก คือผู้รู้สึกนั่นเอง มันเพิกถอนอารมณ์ต่างๆหมด ไม่ถืออะไรทั้งหมด ยังเหลือแต่ความรู้สึก มันเลยกลายเป็นชำระกิเลสไปในตัว หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่ ๓๙
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #632 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2568, 05:23:14 » |
|
เราตั้งสติกำหนดเท่านั้นแหละ เห็นอานิสงส์ทันที ความเดือดร้อนวุ่นวาย ความกังวลหายหมด ความทุกข์ทั้งหลายไม่มีเกี่ยวข้อง หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๓
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #633 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2568, 05:33:31 » |
|
ทุกข์ในการหาอาหารเลี้ยงชีพนั้น อย่างหนึ่ง ทุกข์ด้วยจิตใจ อย่างหนึ่ง คนรวยทุกข์กว่าคนจน ก็มีถมเถไป ไม่ใช่ว่าคนรวย จะสุขเลยทีเดียว
เหตุนั้น พุทธศาสนา จึงสอนทุกชั้น ทุกหมู่ ทั้งคนจน คนมี ให้มีที่พึ่งทางใจ คือ หัดทำความสงบอบรมใจ ให้มีเวลาพักผ่อน
ถ้าทุกข์กลุ้มใจอย่างเดียว ก็ไม่มีหนทาง จะพ้นจากทุกข์ได้ คนถือพุทธศาสนา ถึงแม้จะทุกข์กาย แต่เขายังเบิกบานใจอยู่ เพราะเขามีที่พึ่งทางใจ"
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #634 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2568, 05:03:02 » |
|
#ตรวจดูตัวเรา - รู้ตัวตนเอง - เพ่งออกนอก # การรู้ตัวตนเองเห็นตนเอง ไม่มีการกระทบคนอื่น ถ้าเพ่งออกภายนอก เป็นเรื่องเพ่งออกไปถึงคนอื่น โดยมากมักจะยกโทษคนอื่น แต่ก็ดีเหมือนกันเพ่งออกภายนอก เพื่อให้เป็นคติ แยกแตกต่างในการที่เห็นสิ่งเหล่านั้น "เห็นเขาไม่ดีเราพิจารณาน้อมเข้ามาถึงตัวของเรา" เราเป็นขนาดไหน เราเป็นอย่างเขาไหม เทียบเคียงลองดูครั้นถ้าหากว่าไม่เป็นก็พ้นไปได้ ถ้าหากว่าเราเป็นเช่นนั้นก็ควรที่จะแก้ไข นี่! "ถ้าเห็นโทษคนอื่นให้เห็นอย่างนี้" เมื่อเห็นคนอื่นทำดี เรามาเพ่งลองดูตัวของเรา ดีไหมตัวของเรา อย่างเขาเป็นไหม เป็นอย่างเขาแล้วเราก็ดีไป "ถ้าไม่เป็นอย่างเขาแล้วเราก็แก้ไขตัวของเรา" อันนี้เพ่งออกภายนอกมีประโยชน์อย่างนั้น .. " หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #635 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2568, 05:39:18 » |
|
ถ้าเราเอา ศีล คือ ความประพฤติอันดีงาม เอา ธรรม คือ การประพฤติอันชอบสุจริต มาประดับตนแล้ว คนเราจะงามตลอดกาล หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๕
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กุมภาพันธ์ 2568, 05:40:54 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #636 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2568, 05:50:28 » |
|
"สติ สมาธิ ปัญญา ...เสมอกันคือ มันไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่ากัน สติมีอยู่เช่นไร สมาธิก็มีอยู่เช่นนั้น ปัญญามีอยู่เช่นไร สติกับสมาธิก็มีอยู่เช่นนั้น ถ้าสติแก่กล้าเกินไป มันเป็นเหตุให้ระวังจนสมาธิไม่เกิด ถ้าสมาธิแก่กล้าเกินไป สติมักจะลืมตัวเลยหลับ ถ้าปัญญาแก่กล้า เลยฟุ้งไปนอกขอบเขต สติคุมจิตก็ไม่อยู่ เลยเลอะเทอะไปหมด อย่างนี้เรียกว่าปัญญาฟุ้งเฟ้อหาสนามลงไม่ได้" คติธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #637 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2568, 05:52:52 » |
|
การทำทาน เป็นผลให้จิตใจอิ่มเอิบเบิกบาน การที่จิตใจอิ่มเอิบเบิกบานมันเป็น อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตรงนั้นแหละ จิตใจเบิกบานแล้วกายมันก็เบิกบาน สุขะมันเกิดขึ้น วรรณะมันก็เกิดขึ้นมาด้วยกัน มีความอิ่มอกอิ่มใจในการที่เราทำบุญ ทำทานวันหนึ่งๆ เราทำทาน มันอิ่มใจขึ้นมาทุกวัน ก็ได้ชื่อว่าเป็นของเราแล้วอันนั้น หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #638 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2568, 06:21:20 » |
|
 หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๔
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #639 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2568, 05:34:21 » |
|
หลักสำคัญอย่าไปลืม ตัวกลาง คือใจเดิม เวลาอะไรมากระทบวุ่นวายส่งส่าย ก็เข้าหาตัวกลางนั้นก็สงบได้ อันนั้นแหละเป็น การละวางอุปาทาน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กุมภาพันธ์ 2568, 05:38:09 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #640 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2568, 05:39:07 » |
|
เราทำบุญโดย สร้างกุศลจิต สร้างจิตที่ผ่องใส มีคุณงามความดี เป็นจิตไม่ตระหนี่เหนียวแน่น ไม่เกิดโทสะ ไม่เกิดมานะทิฏฐิ จิตไม่ประกอบด้วยกิเลส จึงเป็นบุญมหาศาล หาค่ามิได้ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #641 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2568, 05:34:44 » |
|
การยึดอดีต ยึดอนาคต เป็นเรื่องของโลกทั้งนั้น เรื่องของโลกมันไม่มีสงบหรอก มีแต่ยุ่ง ถ้าหากลงปัจจุบันเดี๋ยวนี้แล้ว มันเป็นธรรม คือ เข้าถึงความเป็นกลาง คติธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #642 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2568, 05:37:34 » |
|
งานของจิต คือ มีสติ สัมปชัญญะ ควบคุมอยู่ตลอดเวลา คุมจิต รู้จิต อยู่ตลอดเวลา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๑
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #643 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2568, 06:21:36 » |
|
ถ้าผู้ใดเห็นผิด รู้จักผิด แล้วละผิด ละชั่วนั่นเสียได้ ผู้นั้นถึงซึ่งพระธรรมแท้ นี่คือ การสร้างพระในพุทธศาสนาที่แท้จริง หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กุมภาพันธ์ 2568, 06:25:42 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #644 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2568, 05:42:06 » |
|
เราต้องพิจารณา ให้เห็นกองทุกข์ของกิเลส คือ ความเร่าร้อน เศร้าหมองขุ่นมัว ที่มันเกิดขึ้นภายในจิตของเรา เมื่อเห็นแล้วก็ต้องตั้งสติปัญญาซักฟอกชำระสะสาง ให้จิตใจของเราบริสุทธิ์สะอาด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี+ จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๖
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|