middle spirit
|
 |
« ตอบ #615 เมื่อ: 24 มกราคม 2568, 05:20:35 » |
|
"มนุษย์สัตว์ทั้งหลายกลัวความตาย แต่ยินดีกับความเกิด เมื่อเกิดแล้วไม่ตาย ไม่มี ต้องตายแน่ๆ
ผู้กลัวความตาย จึงต้องควรชำระ โมหะอวิชชา ที่หุ้มห่อจิต อันเป็นต้นเหตุให้หมดจด จึงจะไม่เกิด ไม่ตายอีก
ควรจะกลัวความเกิด อย่าไปกลัวความตายเลย จึงจะถูก" หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #616 เมื่อ: 25 มกราคม 2568, 05:27:32 » |
|
" ...สำรวมใจให้สงบอยู่ในที่เดียว เรียกว่าภาวนา" ใจนั้นเรายังไม่ทันรู้จักว่าคืออะไร ตั้งเเต่เกิดจนกระทั่งบัดนี้ยังจับตัวใจไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่พูดถึงเรื่องใจอยู่ทุกอย่าง ใจดี ใจร้าย ทุกข์ใจ กลุ้มใจ แต่ก็ยังไม่รู้จักตัวใจ "ใจเป็นของไม่มีตัว แต่รู้สึกนึกคิดได้"
เพราะฉะนั้น ความรู้สึกนึกคิดจับตัวนั้นเสียก่อนอาการของใจคือความรู้สึกนึกคิด เอามาไว้ในที่เดียว ระลึกอยู่ในที่เดียว คิดอยู่ในที่เดียว "คือนึกคิดอยู่ที่ พุทโธ" ตั้งใจให้นึกอยู่ใน "พุทโธ สติคุมให้นึกแน่วอยู่ในพุทโธ" ไม่ให้ส่งไปที่อื่น
ถึงมันจะส่งไปไหนก็ดึงมันมาให้อยู่ จนกระทั่งเราทำอยู่นั้นนาน ๆ หนักเข้ามันจะหายหมดความคิดทั้งหลายที่นึกส่งไปที่อื่น แม้แต่ "พุทโธก็จะหยุดไม่นึก แต่จะสงบอยู่คนเดียวของมันต่างหาก" นี่วิธีทำภาวนาสมาธิมีแค่นี้ ... "
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #617 เมื่อ: 26 มกราคม 2568, 05:58:18 » |
|
ขอให้มีศรัทธา ทำทานไปเรื่อย ทั้งทานภายนอก ทานภายใน รักษาศีล คือ รักษากาย วาจา และใจ ให้มันเป็นปกติ หรือรักษาจิตนั่นเอง คอยมีสติปกครองจิตใจ สิ่งใดไม่ควรคิดก็ไม่คิด สิ่งใดไม่ควรพูดก็ไม่พูด สิ่งใดไม่ควรทำก็ไม่ทำ เพราะเรามีสติรู้อยู่ว่าเราเป็นผู้มีศีล หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี เรื่อง สติควบคุมจิต
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #618 เมื่อ: 29 มกราคม 2568, 06:54:10 » |
|
"#เจ้ากรรมนายเวร" ... เจ้ากรรมนายเวรมีจริงหรือไม่ เจ้ากรรมนายเวรก็หมายถึงบุคคลกระทำกรรมนั้นๆ ไว้แล้ว มอบให้เจ้ากรรมนายเวรนั้นเป็นผู้รักษาและประสิทธิ์ประสาทให้แก่ผู้กระทำหรือผู้เป็นกรรมเป็นเวรต่อกันอีกทีหนึ่ง จึงจะเรียกว่า เจ้ากรรมนายเวร กรรมเวรมันเกิดที่ใจของบุคคล บุคคลมีเจตนาไปยึดเอามาปรุงแต่งขึ้นที่ กาย วาจา และใจนี้ กรรมเวรจึงค่อยมี คนอื่นนอกจากตัวของเราแล้วจะไปรู้ได้อย่างไร เราควบคุมใจของตนไว้แต่เบื้องต้น จนไปทำชั่ว แล้วยังจะส่งกรรมเวรนั้นไปให้คนอื่นรักษาให้ ใครจะยอมรับเล่า กรรมดีค่อยยังชั่วหน่อย ยังพอจะรับได้บ้าง แต่กรรมชั่วนี่สิ ใครๆ ก็เกลียดจะยอมรับไม่ได้ กรรมเวรเกิดขึ้นจากจิต เป็นนามธรรม เมื่อจิตไปสวมเอารูปกาย ซึ่งเป็นวิบากกรรมเป็นตัวตน กรรมจะต้องตามมาใช้กรรมนั้นอีก จิตผู้สร้างกรรมนั้นย่อมจะรับผลกรรมนั้นยิ่งทวีคูณ เมื่อกายแตกดับแล้ว จิตจะต้องเป็นผู้รับผมกรรมนั้นแต่ผู้เดียว และยังจะต้องได้รับต่อไปอีกหลายภพหลายชาติอีกด้วย กรรม และเวร มีลักษณะต่างกันและให้ผลก็ต่างกัน กรรม ทางพุทธศาสนาท่านแสดงไว้ ๒ อย่าง กรรมดีหรือบุญ ก็เรียกเป็นกุศลกรรม กรรมชั่วหรือบาปก็เรียกเป็นอกุศลกรรม ส่วน เวร นั้น เกิดจากเจตนาอันชั่วร้ายเลวทราม ทำกรรมแล้วจนเป็นเหตุให้ผูกเวรซึ่งกันและกัน กรรมนั้น มีผลสนองในชาตินี้ คือ ทำใจให้เศร้าหมองเดือดร้อน คิดแต่จะทำร้ายให้เขาได้รับโทษทุกข์ฝ่ายเดียว เมื่อกายแตกทำลายไปตามสภาพของมันแล้ว ยังเหลือแต่จิต กรรมนั้นย่อมติดพันต่อไป เพราะจิตเป็นผู้สร้างกรรมไว้ เมื่อจิตๆ ไปเกิดในภพนั้นๆ หรือคตินั้นๆ กรรมย่อมตามไปสนองอย่างนี้อีก ตลอดเวลายาวนาน จนกว่าจิตนั้นจะบริสุทธิ์พ้นจากกิเลส จึงสิ้นสุดลงได้ ส่วน เวร ก็คือ การกระทำกรรมนั่นแหละ แต่กระทำลงไปด้วยเจตนาอันแรงกล้าเฉพาะบุคคล จนผูกอาฆาตมาดร้ายจองล้างจองผลาญซึ่งกันและกัน กรรมที่ทำด้วยเจตนาอันแรงกล้ามาก จนกลายเป็นเวร แต่แก้ได้ง่ายกว่ากรรม เมื่อบุคคลทั้งสองต่างก็เห็นโทษซึ่งตนกระทำลงไปแล้วในชาติที่เป็นมนุษย์อยู่นี่แหละ เมื่อเผชิญหน้ากันเข้าแล้วก็เปิดเผยโทษที่ตนกระทำนั้นให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ แล้วขออโหสิกรมกันเสีย เวรนั้นย่อมระงับได้ด้วยประการฉะนี้ แรงของเวรนี้มันร้ายกาจเหลือหลาย หากว่าคู่เวรทั้งสองมาเห็นโทษของมันแล้วหันหน้าเข้าหากัน ต่างก็ให้อโหสิกรรมแก่กันและกัน เวรนั้นย่อมสิ้นสุดลงเพียงแค่นั้น สรุป พึงเข้าใจว่า กรรม เวร มิใช่ของมันเกิดเอง เกิดจากจิตของบุคคลผู้คิดพยาบาทอาฆาต จองล้างของผลาญซึ่งกันและกัน กรรมเวรมิใช่เป็นวัตถุ มันเป็นนามธรรมจะรู้สึกได้ด้วยใจของตนเอง กรรมเวรใครทำลงไปแล้ว ผู้กระทำกรรมนั้นแหละย่อมได้รับผลด้วยตนเอง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้หรือคนอื่นจะถ่ายทอดให้ก็ไม่ได้เหมือนกัน. ธรรมโอวาท หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #619 เมื่อ: 30 มกราคม 2568, 05:11:42 » |
|
ความจริงนั้นพระพุทธศาสนาเป็นประทีป สำหรับส่องสว่างดวงใจของเราที่มืดมิดปกปิด ด้วยกิเลสให้ใสสว่างแจ่มจ้า แต่ด้วยเหตุที่เราฟังธรรม เหมือนกับหม้อคว่ำเลยไม่สว่างแจ่มจ้าขึ้นมา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๔
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #620 เมื่อ: 31 มกราคม 2568, 05:41:55 » |
|
สิ่งทั้งหลายเป็นอยู่อย่างนั้น สภาพของมันเป็นอยู่อย่างนั้น ใครจะทำอย่างไร มันก็เป็นตามเรื่องของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้เห็นตามเป็นจริงเลย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๘
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #621 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2568, 06:03:54 » |
|
#ศาสนาสอนที่ตัวเรา ฆราวาสพวกเราบางคน ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย ศีล ๕ สักตัวเดียวก็ไม่เคยรักษา พอเห็นความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพระภิกษุสามเณร ก็อย่าเพิ่งถือว่าเลวทั้งหมด การเหมาเอาว่า พระภิกษุเหมือนกันทั้งหมดก็ยังไม่ถูก พุทธศาสนาไม่ได้หมายเอาที่พระ หมายเอาการปฏิบัติต่างหาก พระนั้นอยู่ที่บุคคล แต่ศาสนาไม่ได้อยู่ที่บุคคล ศาสนาเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลปฏิบัติผิด ก็เป็นเรื่องบุคคลผิดไม่ใช่ศาสนาผิด ศาสนาก็ยังสอนตรงไปตรงมาอยู่ตามเดิม สอนให้ละชั่วทำดีอยู่ตามเดิม แต่คนไม่ปฏิบัติตาม เมื่อเราปฏิบัติตามคำสอนไม่ได้จะหาว่าศาสนาไม่ดีไม่ได้ นี่ให้พิจารณาอย่างนี้ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ใครจะทำผิดทำเลวทรามอย่างไรเป็นเรื่องศาสนาเสื่อมหมด ยกให้ศาสนาไม่ดีทั้งนั้น บางทีแม้แต่คนเข้าวัดเข้าวามาฟังเทศน์ฟังธรรม รักษาศีล อบรมภาวนาทำกัมมัฏฐาน แสดงกิริยาโกรธกริ้วขึ้นสักทีหนึ่ง โอโฮ! กล่าวโทษศาสนานี้ไม่ดีเลย เข้าวัดเข้าวาจนแก่จนเฒ่าแล้วยังละโลภโมโทสันไม่ได้ พูดอย่างนี้มันก็ผิดไป อย่าพูดอย่างนั้น นั่นเรื่องของบุคคล ศาสนาสอนให้ละ แต่บุคคลไม่ละ ไม่ทราบจะทำอย่างไร ถ้าเข้าใจได้อย่างนี้ก็สบาย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะทำอย่างไร ขอตอบว่า เมื่อเขาไม่ทำ เราทำ พากันคิดมานะขึ้นสักคน หรือทุกคน คิดมานะขึ้นมา ลองดูซิ เขาไม่ทำเราทำ กระทำเป็นตัวอย่างเขา ทีนี้มันไม่เป็นเช่นนั้นน่ะซี ส่วนมากพอเห็นเขาไม่ทำ เราก็เลยไม่ทำ เลยพลอยไม่ดีไปตามเขา เมื่อเราไม่ดีก็คอยกล่าวโทษคนอื่น ต่างคนต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องเดือดร้อนวุ่นวาย แล้วมันจะดีอย่างไร จึงว่าอย่าไปโทษศาสนา ศาสนาสอนดี สอนให้ทุกคนพัฒนาตนเองทั้งกายและใจ ไม่ได้สอนพัฒนาแต่กาย ชาวโลกเดี๋ยวนี้เขาสอนพัฒนากันแต่ส่วนร่างกาย พัฒนาจนถึงขนาดนี้แล้ว แทนที่โลกจะได้รับความสุขเยือกเย็น แต่โลกกลับเดือดร้อนยิ่งกว่าเก่า นี่ก็แสดงว่าพัฒนายังไม่ถูกต้อง ถ้าหากพัฒนาตามทางพุทธ ศาสนา คือพัฒนาไปพร้อมกันทั้งกายและใจแล้ว ชาวโลกจะได้รับความเยือกเย็นสักขนาดไหน อันนี้ ยังไม่มีใครทำ อย่างไรก็ตามเท่าที่อธิบายมานี้ก็พอให้เห็นคุณประโยชน์ของการพัฒนาพร้อม ๆ กันไปแล้วว่า คงจะมีความสุขแน่ ศาสนาสอนให้ได้รับความสงบไม่ใช่สอนให้เดือดร้อนวุ่นวาย เมื่อเราสงบแล้ว คนอื่นยังไม่สงบก็ปล่อยไปเสียก่อน ถ้าทุกคนต่างพากันทำความสงบแล้ว จะได้รับความสุขเยือกเย็นขนาดไหน ลองหลับตาคิดดูก็แล้วกัน โอวาทธรรมคำสอน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #622 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2568, 06:21:57 » |
|
"ถ้าเรามาพิจารณา ถึงเรื่องความตาย เห็นอายุมันสั้นไป ไม่ยืดยาวอีกแล้ว คราวนี้ จะได้รีบเตรียมเนื้อ เตรียมตัว จะได้รีบขวนขวาย หาสิ่งที่เป็นสาระ สร้างคุณงามความดี ให้เกิดมีขึ้นในตน ทันกับกาลเวลา ซึ่งเรายังมีชีวิตอยู่
เพราะฉะนั้น มรณสติ ระลึกถึงความตาย จึงเป็นของมีคุณค่ามาก แต่คนทั้งหลาย ถ้าพูดถึงเรื่องความตายแล้ว ไม่ชอบ กลับกลัว แต่ความดี อยู่ที่ความตาย ถ้าคนเรา พิจารณาถึงความตายแล้ว ทำดีได้ง่าย" หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #623 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2568, 08:21:53 » |
|
ใจของเรา เป็นหลงผิดติดสมมติ จึงเป็นข้าศึกแก่ตนเอง จึงต้องใช้ความพยายามระวังสังวรในทวารทั้ง6 อย่างยิ่ง โดยพิจารณา ให้เห็นเป็น “ ไตรลักษณะ ” คือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของสูญเปล่า หาสาระไม่ได้ เมื่อเราตั้งสติพิจารณาอยู่อย่างนี้ ไม่ประมาท สัญญาที่พิจารณาโดยอนุโลมปฏิโลมนั้น จะกลับเป็น ปัญญา เห็นชัดแจ้งตามความเป็นจริง ขึ้นมาได้ ทำให้ความหลงสมมติเดิมนั้นหมดสิ้นไป ผู้ชนะแล้วจึงไม่ควรประมาทด้วยประการทั้งปวง ให้เห็นอารมณ์ที่เข้ามาในทวารทั้งหก ว่าจะเป็นภัยคุกคามความสงบสุขของใจอยู่เสมอ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี) (ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ รหัส 4 หน้า 125)
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #624 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2568, 05:42:00 » |
|
เรามีอิสระสามารถทำความดี ได้เต็มที่ สามารถทำให้ จิตอยู่เหนือโลกได้ โดยไม่กีดขวางและกระทบกระเทือน ใครๆทั้งหมด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๕
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #625 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2568, 05:42:35 » |
|
ความรู้เรื่องจิตใจเรียกว่า วิชชา ----------------------------- พระพุทธศาสนาสอนให้น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวของเรานี้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ในตัวของเราสอนออกไปนอกนั่น นั่นไม่ใช่พุทธศาสนา มันเป็นโลก เห็นอย่างไรเรียกว่า เห็นธรรม เห็นภายนอกด้วยตาว่าเราเป็นก้อนทุกข์ทั้งเห็นภายในคือ เห็นชัดด้วยใจด้วย เห็นเป็นธรรมทั้งหมด เราต้องพิจารณาให้ถึงสภาวะตามเป็นจริงของสังขาร ให้เห็นชัดอย่างนั้นว่า มันเป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่ตัวตนของเรา เรามัวเมามันก็หลงนะซิ หลงสมมติว่าเป็นตัวเป็นตน จิตธรรมชาติเป็นของผ่องใส อาคันตุกะกิเลสมันพาให้เศร้าหมอง ที่มาหัดทำสมาธิภาวนานี้ก็เพื่อขัดเกลาให้กิเลสหมดสิ้นไปเพื่อให้มันใสสะอาดคืนตามสภาพเดิม ให้เห็นจิตเห็นใจของตน จิตเป็นอย่างไร ใจเป็นอย่างไร ความรู้เรื่องของจิตของใจนี่แหละ เรียกว่า วิชชา เกิดขึ้นแล้ว เป็นปัญญาเกิดขึ้นแล้ว หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #626 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2568, 07:41:47 » |
|
"ของปลอม ถึงแม้จะสวยงามและปกปิดไว้อย่างดี ผู้ที่ไม่สามารถปล่อยวางได้ จะนำไปสู่ความยุ่งยากและแบกภาระไว้ ของจริง ถึงแม้จะเป็นความทุกข์และไม่งาม ผู้ที่สามารถเผชิญหน้ากับมัน และรู้จักมัน จะไปสู่ความสงบและปลอดภัย
ไม่มีอะไรในโลกหน้าที่เป็นของท่าน หรือของฉัน ของปลอมไม่ใช่่ของใคร และของจริงก็เป็นอิสระ ไม่ใช่ของใครเหมือนกัน"
...หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #627 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2568, 06:48:26 » |
|
พระนิพพานไม่ใช่อยู่ที่อื่น อยู่ในตัวของเรา ความสงบก็อยู่ในตัวของเรานี่เอง สงบอยู่ที่ไหน พระนิพพานอยู่ที่นั่น หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะ เทสรังสีรำลึก
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #628 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2568, 03:58:58 » |
|
" .. การภาวนา คือการสำรวมใจ " นี่แหละเป็นการละบาปบำเพ็ญบุญ นี่เป็นวิธีตัดลัดใกล้ที่สุดในการที่จะละชั่วทำดี" เห็นชัดภายในใจของตนเลย ใจที่เรายังไม่ได้อบรมภาวนา คือไม่ได้นั่งสมาธิ จิตจะต้องยุ่งส่งส่ายวุ่นวายไปหาอารมณ์ที่ชั่วที่ดี โดยมากมักเป็นไปในทางที่ไม่ดี
โอวาทธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #629 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2568, 05:19:34 » |
|
"ภาวนาทำสมาธิดีกว่า" กาย เป็นของรองรับซึ่งทุกข์ทั้งหลาย อยากอยู่นานๆ อยากได้อายุยืนนาน ก็อยากทุกข์น่ะซี อายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี ๑๐๐ ปี อายุนานเท่าใดมันก็ทุกข์นานเท่านั้น คนปรารถนาทุกข์เหลือเกิน
เหตุนั้นเรามาทำภาวนาสมาธิดีกว่า ฝึกอบรมสมาธิให้สุขภาพจิตมันดียิ่งขึ้นไป ส่วนร่างกายเราไม่อาลัยอาวรณ์มันหรอก นั่งลงไปมันจะเจ็บปวดร้าวด้วยประการต่างๆ ไม่ต้องอาลัยกังวลเกี่ยวข้องกับมัน ขอให้จิตอยู่นิ่งก็แล้วกัน
เมื่อจิตสงบแล้วกายมันก็อยู่นิ่งของมันเอง จิตวางกายแล้ว ไม่ปรากฏเลยว่า นั่นนอนหรือเป็นอะไรต่างๆ มันไม่ปรากฏ มันปรากฏเพียงจิตอันเดียว นั่นแหละจิตทิ้งกายแล้ว ทีนี้มันค่อยสบายเป็นสุข หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|