middle spirit
|
|
« ตอบ #600 เมื่อ: 07 มกราคม 2568, 06:13:57 » |
|
บุญกุศล ที่สร้างสมถึงที่แล้วมันจะหมดเรื่อง ไม่มีอะไรอีก และไม่เอาไปด้วย บาปก็ไม่เอา บุญก็ไม่เอา ผู้ที่ยังเอาอยู่จึงได้บุญได้บาป เป็นภพเป็นชาติขึ้น ผู้ทอดธุระแล้ว ไม่มีบุญและบาปแล้ว จึงได้เรียกว่า โลกุตระ เหนือโลก. หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #601 เมื่อ: 08 มกราคม 2568, 05:27:49 » |
|
สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้น มันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่าง ๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่าง ๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่าสัมผัส แล้วก็หายไป ๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็นมหาสติ แท้ทีเดียว ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร จิต จะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖ เมื่อนั้น เช่นตา ได้เห็นรูปอะไร หูได้ยินเสียงอะไร มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอาบริกรรมมาใช้อีก ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก ธรรมเทศนา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #602 เมื่อ: 09 มกราคม 2568, 06:12:47 » |
|
"ผู้ใดไม่เห็นทุกข์ ผู้นั้นคือผู้ไม่เห็นธรรม ผู้ได้รับทุกข์ จนเหลือที่จะอดกลั้นแล้ว เมื่อหวนกลับเข้ามาถึงตัวนั่นแลจึงจะรู้จักว่าทุกข์นั้นแลคือ ธรรม ผู้เกลียดทุกข์เป็นผู้แพ้ ผู้พิจารณาทุกข์ คือ ผู้เจริญในทางธรรม"
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #603 เมื่อ: 10 มกราคม 2568, 05:54:59 » |
|
คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้ พ้นจากกรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว จงยึดใจถือใจ เป็นสำคัญ จะมาเกิดก็เพราะใจ เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะใจ ถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ก็ไปตามเรื่องของกาย ใจก็เป็นตามเรื่องของใจ หมดเรื่องหมดราวกันที หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #604 เมื่อ: 11 มกราคม 2568, 06:04:12 » |
|
จุดมุ่งหมายของการภาวนาแท้ คือ การพิจารณาเห็นอัตภาพขันธ์ อันนี้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีสภาวะเกิดดับอยู่อย่างนั้น จนจิตสลดสังเวชเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในรูปนาม ปล่อยวางอุปาทาน (คือความยึดมั่น) เสียได้ ด้วยอำนาจวิปัสสนา นั่นจึงจะ เรียกว่า ภาวนา
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #605 เมื่อ: 13 มกราคม 2568, 06:30:54 » |
|
ความชอบใจ และไม่ชอบใจ สิ่งที่ดี และไม่ดีต่างๆ ไปรวมอยู่ที่ ใจ แห่งเดียว ใจ เป็นใหญ่ในสิ่งสารพัดทั้งปวงหมด ถ้า ใจ อันนี่ดีแล้ว ก็ดีหมด ถ้า ใจ อันนี้ไม่ดีแล้ว ก็ไม่ดีไปหมด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๕
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มกราคม 2568, 06:33:26 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #606 เมื่อ: 14 มกราคม 2568, 05:55:35 » |
|
เรื่อง จิตใจ นั้นเป็นของกว้างขวาง ใจ เป็นตัวสร้างโลก สร้างธรรม เป็นตัว อยู่เหนือโลก และเป็น ตัวโลก อยู่ในตัว หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๕
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #607 เมื่อ: 15 มกราคม 2568, 05:29:11 » |
|
คนเราตายจริง ๆ เมื่อไม่มีลมแล้ว แต่ลมกับใจมันคนละอันกัน ที่แพทย์เรียกว่า “ โคม่า" ” นั้น มันถึงที่สุดของชีวิตในตอนนั้นแล้ว แต่ยังไม่สิ้นไปที่เกิดของลมในทางศาสนาท่านกล่าวไว้ว่า ลมเกิดจากสวาบ คือ กะบังลม กะบังลมมันวูบ ๆ วาบ ๆ อยู่อย่างนั้น มันเป็นเหตุให้เกิดลม มันทำให้เกิดความอบอุ่น เมื่อมันมีความอบอุ่นมันก็ไหวตัววูบ ๆ วาบ ๆ เมื่อลมยังมีอยู่ แต่จิตมันจากร่างไปแล้ว มันจะไปเกิดที่ไหนก็เป็นไปแล้ว ไปพร้อมด้วยกรรมนิมิต คตินิมิตนั้น ไม่มีหลงเหลืออยู่อีก มีแต่ร่าง
ถ้าไม่มีกรรมนิมิต คตินิมิต บางทีมันฟื้นขึ้นมาอีกเพราะลมยังไม่หมด วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เขาเอาออกซิเจนเข้าช่วย ออกซิเจนก็ช่วยได้แต่ลมเท่านั้น แต่จิตมันเคลื่อนแล้ว มันจะไปไหนมันก็ไปตามเรื่องของมัน
เรื่องมรณสติ เป็นของสำคัญที่สุด เพราะเราทุกคนยังไม่เคยตาย เป็นแต่อนุมานเอา เมื่อพิจารณาแล้วเกิดความสลดสังเวช จิตมันก็แน่วแน่อยู่ในที่เดียวนั่นแหละจึงให้พิจารณามรณสติจะได้ประโยชน์ เห็นชัดตามความเป็นจริง หัดให้มันชำนิชำนาญ แต่ถึงขนาดนั้นแล้ว เวลาจะตายจริงๆ ไม่ทราบว่าจะตั้งสติให้มั่นคงได้หรือเปล่า
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #608 เมื่อ: 17 มกราคม 2568, 05:35:58 » |
|
การดูจิต ต้องดูตอนจิตสงบจึงจะเห็นว่า มีอะไรอยู่ในจิต เหมือนดูน้ำตอนใสสงบ จึงจะเห็นว่ามีอะไรนอนก้นอยู่ ท่านจึงสอนให้ทำสมาธิ เพื่อให้จิตสงบ จะได้มองเห็นสิ่งต่างๆ ที่หมักดองอยู่ในจิต แล้วใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์ แยกแยะออกมาทำลาย เพื่อให้จิตบริสุทธิ์ผ่องใส พ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายทั้งปวง หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #609 เมื่อ: 18 มกราคม 2568, 06:21:08 » |
|
"ศีล เป็นของประเสริฐ"
" .. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน แนะนำฝึกอบรมพระสาวกของพระองค์ เบื้องต้นตรงที่ "ศีล อันเกี่ยวเนื่องดัวย กาย วาจา ซึ่งเป็นของหยาบ ๆ" ที่จะแสดงออกมาให้ปรากฏแก่สายตาของสาธารณะชน
"เพราะศีล เป็นของประเสริฐกว่าสิ่งใด ๆ ในโลกทั้งหมด" ในมนุษย์พร้อมด้วย เทวบุตร เทวดา อินทร์พรหม "ก็เทิดทูนศีลนี้ว่า เป็นของประเสริฐ"
ผู้ที่เอาศีลเข้ามาสวมกายไว้ภายในใจของตนแล้ว "ผู้นั้นก็พลอยได้เป็นผู้ประเสริฐไปตามศีลด้วย" แม้ฆราวาสผู้ซึ่งได้นามว่าพระอริยะ "ตั้งต้นแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป ท่านก็มีนิจศีลเป็นประจำ"
มนุษย์คนเราผู้เกิดมาแล้ว "ไม่มีศีลเสียเลยแม้แต่ข้อเดียว ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้รักษาศักดิ์ศรีของตนไว้" อย่างน่าเสียดาย .. " หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มกราคม 2568, 06:23:18 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #610 เมื่อ: 20 มกราคม 2568, 04:35:45 » |
|
ท่านผู้ที่หายจากโรคอันเกิดจากใจได้แก่ผู้สิ้นกิเลสแล้ว ถึงแม้โรคในกายของท่าน จะยังปรากฏอยู่ ก็เป็นแต่อาการความรู้สึก หาได้ทำใจของท่านให้กำเริบไม่ เพราะโรคใจของท่านไม่มีแล้ว สมุฏฐาน คือ อุปาทานของท่านได้ถอนหมดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมีความสุขและได้ลาภอย่างยิ่งในความไม่มีโรค หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี ธรรมเทศนาเรื่อง โรค
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #611 เมื่อ: 21 มกราคม 2568, 05:45:52 » |
|
การรู้จิตของตนนี่แหละ จึงเป็นผลให้ได้ความสงบ ถ้ารู้เมื่อไรแล้ว สงบเมื่อนั้น มีความสุขความสบาย ครั้นไม่รู้แล้ว มันส่งไปวุ่นวายในสิ่งต่างๆ ให้เป็นทุกข์เดือดร้อน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๓
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #612 เมื่อ: 21 มกราคม 2568, 05:49:50 » |
|
อย่าไปมัวเมาของเก่าอยู่เลย ท่านสอนตรงจิตสงบ อยู่อันหนึ่งอันเดียวและรักษาจิตให้อยู่อันเดียวนั่น ตรงนี้แหละสำคัญที่สุด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๗
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มกราคม 2568, 05:51:32 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #613 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:26:49 » |
|
การที่รู้ใจตนนั้น เป็นวิชชาเกิดขึ้นแล้ว เป็นปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว จะไปหาปัญญาวิชชาที่ไหนอีก ความรู้ตัว รู้ตนนั่น มันแสนวิเศษแล้ว หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมเล่มที่๕๗
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|