middle spirit
|
 |
« ตอบ #585 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2567, 05:58:10 » |
|
"รู้อะไรไม่เท่า รู้ใจของตนเอง"
" การอบรมภาวนานั้นหมายความว่า "ทำใจของตนให้เป็นอารมณ์อันเดียวอยู่ในจุดเดียว ให้รู้ใจของตนว่า คิดดีคิดชั่วหยาบและละเอียดอยู่ตลอดเวลา" ยืน เดิน นั่ง นอน คิดดีก็พยายามประครองอารมณ์นั้นไว้ให้เกิดปิติอิ่มใจ "คิดชั่วก็พยายามละทิ้ง อย่าให้ติดอยู่กับใจ" ทำความรู้เรื่องของใจเท่านี้เป็นพอ " ไม่ไปรู้เรื่องอื่น เรื่องอื่นของคนอื่นไม่ใช่เรื่องของเรา" ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องแล้วจะทำให้เราไม่ได้ภาวนา คือหัดทำความสงบของใจ "รู้ใจของตนอยู่เสมอว่า คิดดีคิดชั่วหยาบและละเอียดทุกอิริยาบถ" ไม่ต้องอยากรู้โน่นนี่ต่าง ๆ นานา มันไม่เป็นภาวนาเสียแล้ว "รู้อะไรไม่เท่ารู้ใจของตนเอง" หากมันจะรู้ก็ให้มันเกิดเองเป็นของมันเอง จะไปคิดปรุงแต่งให้มันเกิดขึ้นมาใช้ไม่ได้ เมื่อมันเกิดขึ้นก็จงรักษาสติคุมใจให้อยู่ก็แล้วกัน .. " หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #586 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2567, 06:03:37 » |
|
ตัวจิตหรือตัวใจอันนี้แหละไม่มีตนมีตัว ถ้าเรารู้เรื่องจิตเรื่องใจเสียแล้ว มันง่ายนิดเดียว ฝึกหัดปฏิบัติกัมมัฏฐานก็เพื่อชำระใจหรือต่อสู้กับกิเลสของใจนี้ ถ้าไม่เห็นจิตหรือใจแล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะไปต่อสู้กับกิเลสตรงไหน เพราะกิเลสเกิดที่ใจ สงครามไม่มีสนามเพลาะ ไม่ทราบว่าจะรบอย่างไรกัน ต้องมีสนามเพลาะสำหรับยึดไว้เป็นที่ป้องกันข้าศึก มันจึงค่อยรู้จักรบ รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ขอให้พากันพิจารณาทุกคน ๆ เรื่องใจของตน เวลานี้เราเห็นใจแล้วหรือยัง ใจหรือจิตของเรานั้นมันอยู่ที่ไหน มีอาการอย่างไร หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #587 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2567, 05:11:52 » |
|
เรามาแก้ตัวของเราอย่างเดียว เขาจะโกรธจะเกลียดเรา หรือเขาจะชอบอกชอบใจเรา อันนั้นเป็นเรื่องของโลก เราไม่ได้เอาอันนั้นมาเกี่ยวเกาะ ไว้กับจิตกับใจของเรา มันก็สบายเลย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๕
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #588 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2567, 06:13:43 » |
|
"ทำทาน มีมากมีน้อยก็ต้องทำด้วยตนเอง รักษาศีล ก็โดยเฉพาะส่วนตัวแท้ ๆ ใครรักษาศีลให้ไม่ได้ ทำสมาธิ ยิ่งลึกซึ้งหนักแน่นเข้าไปกว่านั้นอีก แต่ละคนก็ต้องรักษาจิตใจของตน ๆ ให้มีความสงบหยุดวุ่นวายแส่ส่าย ถ้าเราไม่รู้จักวิธีทำสมาธิแล้ว ก็ทำสมาธิไม่เป็น จิตใจก็เดือดร้อนดิ้นรนเป็นทุกข์ เหตุนั้นจึงว่า การทำทาน รักษาศีล ทำสมาธิ นี่เป็นกิจเฉพาะส่วนตัว ทุก ๆ คนจะต้องทำให้เกิดมีขึ้นในตน" หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #589 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2567, 05:49:29 » |
|
การปฏิบัติพุทธศาสนานั้น เราอย่าไปเอาถ่ายเดียว จะนั่งภาวนาให้มันตายละ เอาภาวนาอย่างเดียว รักษาศีลอย่างเดียวละ ไม่ต้องทำทานก็แล้วกัน ทำทานอย่างเดียวแล้วไม่ต้องไหว้พระสวดมนต์ อะไรไม่ต้องทำทั้งหมด ไม่มีกิจวัตร ก็ไม่ได้เหมือนกัน การปฏิบัติพุทธศาสนาปฏิบัติมาโดยลำดับ ตั้งแต่ไหว้พระสวดมนต์ ทำความเคารพคารวะบิดามารดาคนเฒ่าคนแก่ ได้ทั้งนั้นแหละ บูชาดอกไม้ธูปเทียนได้ทั้งนั้น เป็นความดีทั้งนั้น มันทำใจให้เบิกบาน ให้สะอาด
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #590 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2567, 06:17:50 » |
|
"..รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แลธรรมารมณ์ทั้งหลาย ทั้งภายนอกแลภายใน เห็นเป็นอนิจจังของไม่เที่ยงจีรังถาวรยั่งยืน เกิดมาแล้วก็แปรปรวน ผลที่สุดก็ดับสูญหายไปตามสภาพของมัน สิ่งทั้งปวงเกิดขึ้น รองรับเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้น จึงต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา สิ่งทั้งปวงไม่ว่ารูปธรรม แลนามธรรม เกิดขึ้นมาแล้วย่อมเป็นไปตามสภาพของมัน ใครจะห้ามปรามอย่างไรๆ ย่อมไม่อยู่ในอำนาจของใครทั้งหมด มิใช่ของไม่มี ของมีอยู่ แต่ห้ามมันไม่ได้จึงเรียกว่า อนัตตา.." หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #591 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2567, 06:14:47 » |
|
ผู้ที่ตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย ที่จักได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธบริษัทที่แท้จริง ต้องประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ประการ คือ
(๑) มีความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าว่า ท่านเองเป็นพระสยัมภู ตรัสรู้เองจริง แล้วไม่ติเตียนและเหยียดหยามดูหมิ่น
(๒) พระธรรมคำสอนของพระองค์นั้น เป็นนิยยานิกธรรมนำผู้ปฏิบัติตามให้เป็นคนดีได้ ตามฐานะชั้นภูมิ ควรแก่การปฏิบัติของตนๆ แล้วเทิดทูนเอามาปฏิบัติตามโดยไม่มีความประมาท
(๓) พระอริยสงฆ์ผู้เชื่อฟังคำสอนของพระองค์แล้วนำเอาไปปฏิบัติตาม จนได้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์มีจริง จึงได้เป็นธรรมทายาท นำเอาคำสอนของพระองค์มาสั่งสอนพวกเรา จึงเป็นบุคคลที่เราควรเทิดทูนไว้ในที่ควรสักการบูชา
(๔) เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมว่า เราทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ด้วยตนเอง มิใช่เทวดาอินพรหมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ภายนอกจะอำนวยผลให้เรา (มงคลตื่นข่าว) ถือและปฏิบัติพระรัตนตรัยมิใช่เพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และโชคลาภ แต่ปฏิบัติตามให้เป็นคนดีจนพ้นจากทุกข์ได้ในที่สุด
(๕) ไม่ทำบุญนอกพุทธศาสนา หากจำเป็นจะต้องทำเพื่อสังคมก็ทำเพื่อสงเคราะห์ มิใช่ทำนอกบุญญเขตในพุทธศาสนา ถ้าหากถึงขั้นพระอริยบุคคลที่เป็นฆราวาสแล้ว ต้องมีนิจศีลอีก ผู้จะเป็นพระพุทธบริษัทโดยสมบูรณ์ ต้องมีองค์คุณทั้ง ๕ ประการนี้เป็นประจำ แม้ผู้จะบรรพชาอุปสมบทเป็นสามเณรและเป็นพระภิกษุ ก็จะต้องมีองค์คุณทั้ง ๕ นี้ให้ครบเสียก่อน การบวชจึงจะสมบูรณ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี ที่มา พุทธศาสนาเสื่อมได้อย่างไร
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #592 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2567, 07:14:05 » |
|
...ผู้ใดพิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก นั้น จึงจะเป็นผู้ไม่ประมาท หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออก ก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้า ก็ตาย เป็นอยู่อย่างนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาท หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #593 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2567, 07:21:15 » |
|
..บางคนบอกว่าเมื่อเราจะตายต้องรักษาสติไว้ ไม่คิดถึงกรรมชั่ว ความข้อนั้นเป็นความประมาทของเขาเองเขาคิดเดาเอาเฉย ๆ มันจะรักษาได้อย่างไรในเมื่อมันไม่มีสติ มีกรรมนิมิต เป็นเครื่องชักจูงให้เป็นไปเอง ในการที่ปล่อยให้เป็นเอง ไม่สามารถจะกลับคืนมาแก้ตัวอีกได้ฉะนั้น
..ทำเสียเดี๋ยวนี้ตั้งแต่เป็นมนุษย์อยู่ และเมื่อถึงคราวจะตายนั้นแล้วมันเป็นเองหรอก ทำดีมาก ทำชั่วมาก มันก็เป็นไปตามเรื่องที่ทำเอาไว้ มันเป็นเอง เกิดเองของมันต่างหาก หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #594 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2567, 07:01:35 » |
|
#พรปีใหม่ 1.ให้มีทาน การสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรให้ 2.พูดจาไพเราะ ไม่เป็นเครื่องแสลงหูแก่คนอื่น 3.จงทำแต่สิ่งที่จะให้เกิดประโยชน์แก่กันและกัน 4.ทำตนให้สม่ำเสมอ ไม่เย่อหยิ่งจองหอง พร 4 ประการ นี้หากทุกคนนำไปเก็บไว้ใช้จนตลอดปีแล้ว อาจเหลือไว้ใช้ในปีต่อไปก็ได้ เพราะยิ่งใช้ก็ยิ่งงอกงาม ไม่หมดเหมือนอย่างสตางค์ 1 #ทาน การสละวัตถุสิ่งของแก่คนอื่น ถึงจะให้ไปของเราก็ยังไม่หมด นอกจากไม่หมดแล้ว เรายังได้ความอิ่มใจ ความเลื่อมใส ความสุขใจในการกระทำความดีของตน แล้วยังเป็นเครื่องสมานมิตรไมตรี เกิดความนิยมยินดีแก่ผู้ได้รับและผู้รู้ทั้งหลายอีกด้วย ความได้ทั้งหลายดังกล่าวมานี้จะประทับแน่นแฟ้นอยู่ในดวงใจของเราไม่มีวันเสื่อมหายเลยตลอดวัน 2 #วาจาที่พูดไพเราะ ก็ยิ่งดีเลิศ โดยที่เราไม่ได้ลงทุนแม้แต่สตางค์เดียว ขอแต่ให้พูดไพเราะพูดจริงพูดแต่สิ่งที่มีประโยชน์ เว้นการพูดเท็จ โกหก มารยาหลอกลวงเพ้อเจ้อเหลวไหล หรือเสียดสีสับส่อให้เกิดความวิวาทกันแล้ว เราก็จะมีแต่ความสุขใจ ได้เพื่อนมิตรที่ดี มีศีลธรรม นำให้เกิดสันติสุขทุกเมื่อ 3 #การงานไม่ว่าจะทำด้วยกายด้วยวาจาและใจก็ตามถ้ามุ่งแต่จะให้เกิดประโยชน์แก่กันและกันแล้ว เว้นสิ่งอันจะทำให้เกิดโทษเสื่อมเสียและเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและคนอื่นโลกอันนี้ก็จะเป็นโลกสันติสุข เป็นโลกที่น่าอยู่อาศัย ไม่ดิ้นรนต่อไปอีกแล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่เดือดร้อนดิ้นรนเป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะมนุษย์เราเห็นแก่ตัวแล้วก็ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเป็นส่วนมากปราศจากความเห็นอกเขาอกเรามันจึงได้เป็นอยู่เช่นนี้ 4 #ทำตนให้สม่ำเสมอ ในบุคคลนั้นๆในสิ่งนั้นๆ ไม่เย่อหยิ่งจองหองยกตนข่มเพื่อน เห็นคนอื่นสู้ตนไม่ได้ใครจะคบค้าสมาคมเขาก็ทำเป็นทีว่าคบเพื่อเป็นสมบัติความรู้ไว้เท่านั้นแต่ในใจเขาเกลียดขี้หน้าไม่อยากเห็นเลยการทำตนให้สม่ำเสมอย่อมได้ความนิยมชมชอบในสังคมทั่วไปเป็นผู้ใหญ่คนก็รัก เป็นผู้น้อยเขาก็เอ็นดูประชาชนย่อมช่วยบริหารรักษาเขาตลอดเวลา พรทั้งสี่นี้ยังไม่ได้รับหรือรับเอาไว้แล้วแต่ยังไม่ครบ 4 ก็ขอได้พากันรับเอานั้นเสียในปีใหม่นี้ จึงจะมีความสุขอันแน่นอนถาวร ความสุขที่ได้รับหรือส่งเป็นของขวัญก็ดีสุขกินเลี้ยงปีใหม่ส่งท้ายปีเก่าก็ดีสุขกินเลี้ยงปีใหม่ส่งท้ายปีเก่าก็ดี หรือสุขเที่ยวชมงานก็ดี เป็นความสุขไม่คุ้มค่าและไม่ถาวรอะไรนัก บางทีบางรายอาจจะถูกฝ่ายหนึ่งแต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจดิบหรือไหม้ไปก็ได้ ใครจะไปตามรู้เห็น นี่เป็นการรับพรความสุขปีใหม่อย่างไม่ผิดหวัง หากเราไม่ประพฤติตนตามหลักให้เกิดความสุข 4 ข้อดังกล่าวมานั้นแล้ว จะไปขอพรจากคนเฒ่าคนแก่หรือผู้ที่เราเคารพนับถือเข้าวัดหาพระอาจารย์กี่อาจารย์ก็เอาเถิด คงไม่สำเร็จผลนอกจากรักษาประเพณีอันดีงามไว้เท่านั้น พรปีใหม่ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี คัดจาก หนังสือเทสรังสีรำลึก
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #595 เมื่อ: 02 มกราคม 2568, 06:00:57 » |
|
ปล่อยวาง ในการที่ควรปล่อยวาง รักษา ในควรที่ควรรักษา ระวัง ในควรที่ควรระวัง นี่เป็นอุบายแยบคายของตนเอง เป็นหน้าที่ของตน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๒
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #596 เมื่อ: 03 มกราคม 2568, 06:02:39 » |
|
พวกเราทุกๆคน ที่นับถือพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย จงนับถือให้เข้าถึงภายใน ให้หยั่งเข้าถึงภูมิธรรม คือ เข้าถึงพระไตรสรณคมน์จริง จึงจะสำเร็จประโยชน์ ในการที่เราประพฤติปฏิบัติธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๘
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มกราคม 2568, 06:08:38 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #597 เมื่อ: 04 มกราคม 2568, 05:58:06 » |
|
เมื่อเกิดมาเป็นคน รู้ตัวว่าเราจะต้องตาย จงรีบทำคุณงามความดีทำประโยชน์ไว้เสีย
การทำมากหรือทำน้อย ไม่เป็นปัญหา ขอให้ตั้งเจตนาให้ดี ให้เชื่อมั่นในบุญกุศลที่ตนทำนั่น จิตใจแน่วแน่อยู่กับกุศลอันนั้น ก็จะเป็นของมากอยู่เอง
ไม่ต้องเอาหน้า เอาเกียรติ ไม่ต้องเอาชื่อ เอาเสียง เอาเฉพาะใจของตนเอง ตั้งศรัทธาแน่วแน่เฉพาะบุญกุศลที่ตนทำเอง นั่นละ เป็นอานิสงส์มาก กุศลมาก ตรงนี้แหละ..”
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #598 เมื่อ: 05 มกราคม 2568, 05:31:46 » |
|
#คนพาลและบัณฑิต "ถ้าหากอยากจะเห็นพาลและบัณฑิตแล้ว ให้เอากระจกส่องดูหน้าของเราก็จะพบได้ มันมีอยู่ครบในตัวเรานี่เอง ความโลก ความโกรธ ความหลง เป็นต้นตอของคนพาล เมื่อเรารู้แล้วว่า คนพาลเกิดขึ้นในตัวของเรา บัณฑิตก็เกิดขึ้นที่ตัวของเรา ดังนั้น เมื่อต้องการจะเป็นบัณฑิต ก็สร้างขึ้นมา สนับสนุนส่งเสริมบัณฑิตให้เจริญขึ้นมา อย่าไปคบคนพาลสนับสนุนคนพาลก็แล้วกัน ถึงคนอื่นจะเป็นพาลกันทั้งโลก หากเราไม่คบคนพาลในตัวของเราแล้ว เราก็ไม่เป็นคนพาลไปได้ มาดูบัณฑิตในตัวของเราบ้าง หากเราตั้งใจของเราเอาไว้มั่นคง ให้สงบอยู่เป็นกลางๆ แล้ว ก็จะเห็นจะรู้จักผิดถูก รู้จักดีชั่ว หยาบละเอียด ถึงแม้จะมีผัสสะอะไร มากระทบทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กายและใจ ในขณะนั้น มันก็รู้เท่ารู้เรื่องของอายตนะผัสสะนั้นๆ ตามความเป็นจริง ใจนิ่งสงบอยู่เฉพาะตัวของมัน ไม่ได้ส่งส่ายไปตามการกระทบนั้นๆ นั่นคือ ตัวบัณฑิต" คติธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #599 เมื่อ: 06 มกราคม 2568, 06:00:00 » |
|
ผู้ที่ระลึกถึงตนว่า เวลานี้ กาย วาจา ใจ ของตนบริสุทธิ์หรือไม่ ใจของเราคิดดีหรือคิดชั่ว ผู้นั้นจะเห็นว่า เขา ขาดทุน หรือได้ กำไร ตรงนั้น เห็นชัดด้วยตนเอง หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๑๐
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|