middle spirit
|
|
« ตอบ #570 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2567, 06:00:43 » |
|
ถ้าหากว่าปลูกธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ลงในพื้นดินอันนี้ คือ ตัวของเรา ปลูกด้วย ศรัทธา เชื่อมั่นลงไปแล้ว จะเป็นผลอันยิ่งใหญ่ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๐
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #571 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2567, 06:26:53 » |
|
ต้องอาศัยความสงบจึงจะเห็นทุกข์ อันนี้เป็นปัญญา มันเข้าไปสอดส่องเห็นชัดถึงจิต หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #572 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2567, 06:44:24 » |
|
กระทบแต่ก็ไม่เข้าถึงใจ เราจับหลักอันนั้นได้ แน่วแน่อยู่ในหลักอันนั้น เชื่อมั่นอยู่ในหลักอันนั้น ตั้งอยู่อันนั้นแหละ เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์อย่างแน่นอน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๒
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #573 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2567, 05:28:43 » |
|
เมื่อเรามาฝึกหัดปฏิบัติธรรม จนเห็นเรื่องโทษของตนเองแล้ว ค่อยชำระสะสางให้มันหมดไปๆ ก็จะเป็นคุณแก่ตนในอนาคตข้างหน้า ได้ชื่อว่าไม่เสียชาติที่เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ แล้วยังมาพบพระพุทธศาสนา และยังมาพบครูบาอาจารย์ ที่สอนให้เราละกิเลสอีกด้วย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #574 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2567, 06:23:41 » |
|
เราบวชแต่ยังเล็ก มิได้มาเลี้ยงบิดามารดาเหมือนกับคนธรรมดา แต่หล่อเลี้ยงน้ำใจของท่านด้วยเพศสมณะ ตอนนี้เราคุยโม้โอ้อวดได้เลยว่า เราเกิดเป็นลูกผู้ชาย ได้บวชแต่เล็ก มิได้เลี้ยงบิดามารดา เหมือนคนธรรมดาสามัญทั่วไป แต่หล่อเลี้ยงน้ำใจของท่านทั้งสองด้วยทัศนะเพศสมณะ อันเป็นที่ชอบใจของท่านอย่างยิ่ง ระลึกถึงท่านอยู่เสมอว่า ลูกของเราได้บวชแล้วๆ ถึงอยู่ใกล้หรือไกลตั้งพันกิโลเมตร ก็มีความดีใจอยู่อย่างนั้น แล้วก็สมประสงค์อีกด้วย ท่านทั้งสองแก่เฒ่าลง เราก็ได้กลับมาสอนท่านให้เพิ่มศรัทธาบารมีขึ้นอีก จนบวชเป็นชีปะขาวทั้งสองคน และภาวนาเกิดความอัศจรรย์หลายอย่าง ทำให้ศรัทธามั่นคงขึ้นไปอีก เราสอนไปทางสุคติ ท่านทั้งสองก็ตั้งใจฟังโดยดี เหมือนอาจารย์กับศิษย์จริงๆ เต็มใจรับโอวาททุกอย่าง ท่านไม่ถือว่าลูกสอนพ่อแม่
บิดาบวชเป็นชีปะขาวอยู่ได้ ๑๑ ปี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗๗ ปี มารดาบวชเป็นชีอยู่ได้ ๑๗ ปี จึงถึงแก่กรรม อายุได้ ๘๒ ปี มารดาเสียชีวิตหลังบิดา ตอนจะตายเราก็ได้แนะนำสั่งสอนจนสุดความสามารถ เราได้ชื่อว่า ได้ใช้หนี้บุญคุณของบิดามารดา สำเร็จแล้ว หนี้อื่นนอกจากนี้ไม่มีแล้ว ท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เราก็ได้ทำฌาปนกิจศพให้สมเกียรติท่านตามวิสัยของเราผู้เป็นสมณะอีกด้วย
ดีเหมือนกันที่เราบวชในพระพุทธศาสนา และได้อยู่นานถึงปานนี้ ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารร่างกาย พร้อมทั้งโลกภายนอกด้วย ได้เห็นอะไรหลายอย่างทั้งดีและชั่ว เพิ่มปัญญาความรู้ของเราขึ้นมาอีกแยะ นับว่าไม่เสียทีที่เกิดมาร่วมโลกกะเขา คิดว่าเราเป็นหนี้บุญคุณโลก เอาดิน น้ำ ลม ไฟ ของเขามาปั้นเป็นรูปกาย แล้วเราจึงได้มาครองอยู่ มาบริโภคใช้สอย ของที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งนั้น ของเราแท้ๆไม่มีอะไรเลย ตายแล้วก็สละปล่อยทิ้งไว้ในโลกทั้งนั้น
บางคนไม่คิดถึงเรื่องเหล่านี้ จึงหลงเข้าไปยึดเอาจนเหนียวแน่น ว่าอะไรๆก็ของกูๆไปหมด ผัว เมีย ลูกหลาน เครื่องใช้ในบ้าน ของกูทั้งนั้น แม้ที่สุด ของเหล่านั้นที่มันหายสูญไปแล้ว หรือมันแตกสลายไปแล้วก็ยังไปยึดว่าของกูอยู่ร่ำไป หลวงปู่เทสก์ เทสรํงสี อัตตโนประวัติ
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ธันวาคม 2567, 06:26:01 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #575 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2567, 06:27:01 » |
|
พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ธรรมอย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้เราได้ทำมาแล้ว ซึ่งไม่มีใครจะทำได้เหมือนเรา แต่ก็ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ได้
ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน ธรรม ๔ อย่าง คือ เกลียดอย่างยิ่ง ๑ กลัวอย่างยิ่ง ๑ ระวังอย่างยิ่ง ๑ ตบะอย่างยิ่ง ๑ เกลียดอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ เห็นร่างกายของตนและของคนอื่นเป็นของน่าเกลียด และทุกข์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นของน่าเบื่อหน่ายแทบจะอยู่ไม่ได้เสียเลย นั่นเรียกว่า เห็นหน้าเดียว คนทั้งโลกพร้อมด้วยตัวของเราทำไม่จึงอยู่มาได้จนบัดนี้ เขาโง่หรือตัวเราโง่ ท่านผู้รู้ทั้งหลายเห็นสภาพตามความเป็นจริงแล้วเกิดสลดสังเวชเบื่อหน่าย ถอนความยินดีในโลกด้วยอุบายแยบคายอันชอบแล้ว กลัวอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ กลัวบาปอกุศลแม้แต่อาบัติเล็กๆ น้อยๆ ก็กลัวเป็นต้นว่า จะยกย่างเดินเหินไปมาที่ไหนก็กลัวจะไปเหยียบมดและตัวแมลงต่างๆ ให้ตายเป็นอาบัติ นั่นเรียกว่า ระวังส่งออกไปนอก พระวินัยท่านสอนให้ระวังที่ใจถ้าไม่มีเจตนาแกล้งทำให้ล่วงเกินก็ไม่เป็นอาบัติ ระวังอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ สังวรกาย วาจา ใจ ไม่ให้เกิดกิเลสบาปอกุศลทั้งหลาย ซึ่งมันล่องลอยมาตาม อายตนะทั้ง ๖ นี้ ระวังจนไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยินสิ่งต่างๆ จนเข้าไปอยู่ในป่าคนเดียว เวลาเข้าไปบิณฑบาตในบ้านก็เอาตาลปัตรบังหน้าไว้ กลัวมันจะเห็นคน อย่างนี้เขาเรียกว่า ลิงหลอกเจ้า กิเลสมันไม่ได้เกิดขึ้นที่อายตนะ แต่มันจะเกิดที่ใจต่างหาก ขอโทษเถิด คนตายแล้วให้ผู้หญิงคนสวยๆ ไปนอนด้วย มันก็นิ่งเฉย ผู้หญิงที่ไปนอนกลับกลัวเสียอีก ตบะอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ นักพรตที่ทำความเพียรเร่งบำเพ็ญตบะธรรมที่จะให้พ้นจากทุกข์ในเดี๋ยวนั้น ทำความเพียรตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ไม่คิดถึงชีวิตชีวาเลย เหมือนกับกิเลสมันเป็นตัวเป็นตนวิ่งจับผูกเอามาได้ฉะนั้น แท้จริงกิเลสมันวิ่งเข้ามาซุกอยู่ในความเพียร (คือ ความอยากพ้นจากทุกข์) นั่นเอง ไม่รู้ตัวมัน ความอยากทำให้ใจขุ่นมัว น้ำขุ่นทำให้ไม่เห็นตัวปลา ถึงแม้น้ำใสแต่ยังกระเพื่อมอยู่ก็ไม่เห็นตัวปลาเหมือนกัน ความเกลียด ความกลัว ความระวัง และตบะ อย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้ พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ทั้งปวง จึงละเสีย แล้วทรงปฏิบัติทางสายกลางจึงทรงสำเร็จพระโพธิญาณ
จากหนังสือ ปุจฉาวิสัชชนาในประเทศ โดย พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรํสี) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #576 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2567, 06:19:56 » |
|
คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้ พ้นจากกรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว จงยึดใจ ถือใจเป็นสำคัญ จะมาเกิดก็เพราะใจ เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะใจ ถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ ก็ไปตามเรื่องของกาย ใจ ก็เป็นตามเรื่องของใจ หมดเรื่องหมดราวกันที
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #577 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2567, 06:22:13 » |
|
"..บางคนบอกว่า ไม่เห็นทุกข์...." อยู่กับทุกข์ ทุกวันทุกคืน ไม่เห็นอย่างไร ? ทำไมจึงไม่พิจารณา ยืน เดิน นั่ง นอน เปลี่ยนอิริยาบถ ก็ล้วนแต่เปลี่ยนเพื่อระงับทุกข์ การอยู่ การกิน การนอน ก็ล้วนแล้วแต่เพื่อระงับทุกข์ทั้งนั้น การเจ็บการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เรียกว่า เวทนา มันมีอยู่ประจำ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ เป็นหนาว ด้วยอาการต่าง ๆ ก็ล้วนแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้น ครั้นพิจารณาลงอันเดียวมันเห็น เห็นในตัวของเรานี่แหละ ไม่ต้องไปพิจารณาที่อื่น อย่างนั้นจึงเป็นกัมมัฏฐานแท้. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระธรรมเทศนาเรื่อง การพิจารณากัมมัฏฐาน
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #578 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2567, 05:49:21 » |
|
การฝากปัจจัยทำบุญ ------------------------------
ถาม สมมุติว่าเขาฝากปัจจัยผมมาทำบุญ ผมไม่ได้เอามาทำบุญ จะลืมหรืออย่างไรก็แล้วแต่ กับเขาฝากมาแล้ว ผมเอามาทำบุญ คนที่เขาทำบุญได้บุญเท่ากันไหมครับ? ตอบ เท่ากัน บุญเกิดตั้งแต่ฝากทีแรกแล้ว คุณจะนำมาทำบุญหรือไม่ทำก็ได้อยู่แล้ว ได้ตั้งแต่ทีแรก
ถาม ได้เท่ากันหรือครับ?
ตอบ ได้เท่ากัน เหมือนกัน คือ เจตนาว่าจะทำบุญละ มันเป็นบุญของเขาแล้ว จะเอามาทำบุญหรือไม่ทำก็ตามเถอะเขาได้แล้วนั่น ถ้าไม่เอามาทำบุญก็เป็นบาปของคุณ
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ธันวาคม 2567, 05:51:18 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #579 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2567, 06:36:49 » |
|
อายตนะทั้งหลาย เป็นเครื่องวัดจิตของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะ มากระทบจิตของเรา เราหวั่นไหวหรือไม่
เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่า มีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ก็ยังน้อย
เมื่อหวั่นไหวน้อย หรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่า มีสติมาก มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่มาก แล้วรักษาตัวได้
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #580 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2567, 05:44:47 » |
|
การภาวนา คือ การอบรมจิตใจให้มีความสงบ เป็นการชำระจิตใจให้สงบจากอารมณ์ต่าง ๆ ยิ่งเป็นการละเอียดไปกว่าการรักษาศีลอีก
จิตของเราถ้ายังไม่สงบตราบใดแล้ว มันก็จะต้องยุ่งวุ่นวายอยู่ตราบนั้น เมื่อมาฝึกหัดภาวนา เห็นโทษเห็นภัย ของความยุ่ง ความไม่สงบด้วยตนเองแล้ว เราก็จะพยายามทุกวิถีทางที่จะละความไม่สงบ เมื่อสิ่งใดที่ละได้แล้ว อารมณ์ใดที่วางได้แล้ว เราก็จะต้องรักษาไม่ให้สิ่งนั้น มันเกิดขึ้นมาอีก ไม่ใช่ว่าเราละได้แล้ว ก็แล้วไปเลย ไม่ต้องคำนึงถึงมันอีก อย่างนั้นไม่ถูกต้อง เพราะมันอาจสามารถที่จะฟื้นฟู ขึ้นมาใหม่อีก ถ้ามันเกิดมาทีหลังจะยิ่งร้ายกว่าเก่า หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (ธรรมเทศนาเรื่อง มาร)
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #581 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2567, 05:52:47 » |
|
ทำให้มาก เจริญให้ยิ่ง ผู้ชำนาญในวสีห้านี้ ฌาน-สมาธิของผู้นั้นจะไม่มีเสื่อมเลย พระพุทธองค์จึงทรงตรัสย้ำว่า “ภาวิตา พหุลีกตา อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ” แปลว่า ท่านทั้งหลายจงทำให้มาก เจริญให้ยิ่ง จึงจะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เพื่อความดับทุกข์ดังนี้ คือพระองค์ประสงค์ว่า ทั้งผู้ที่กำลังเจริญอยู่ก็ดีหรือผู้ที่เจริญเป็นไปแล้วก็ดีในกรรมฐานหรือฌาน-สมาธิ-วิปัสสนาใดๆ ก็ตาม ไม่ให้ประมาท จงพากันเจริญอยู่เสมอๆ เพราะสิ่งที่จะยั่วยวนชวนให้เราหลงใหล มีอยู่รอบตัวในตัวของเรานี้ตลอดกาล ถ้าผู้ใดมาเห็นว่า ตัวของเราทั้งหมดพร้อมด้วยสิ่งแวดล้อม ตกอยู่ในภายใต้ของกามคุณห้า จะทำอย่างไรๆ ก็เอาชนะมันไม่ได้ ไปไม่พ้นแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า “เป็นผู้ยอมแพ้แล้ว (ตั้ง)แต่ยังไม่ทัน ออกสู่สนาม” ถ้าผู้ใดมาเห็นว่า การรักษาอายตนะทั้ง ๖ เป็นการยุ่งยากลำบากมาก ผู้นั้นได้ชื่อว่า “กำลังต่อสู้กับข้าศึกอยู่ ชัยชนะมอบไว้ให้แก่กาลเวลาในอนาคต” ถ้าผู้ใดมาเห็นว่า อายตนะทั้ง ๖ เรารู้เท่าเข้าใจตามความเป็นจริงแล้ว อารมณ์ทั้ง ๖ เราเอาชนะมันได้แล้ว ผู้นั้น ได้ชื่อว่า “ใกล้อวสานแห่งการแพ้ต่อข้าศึกอยู่แล้ว ความหายนะ กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้เข้า ทุกวินาที” หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่มา ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #582 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2567, 07:18:27 » |
|
“..อารมณ์ แปลว่า สิ่งที่พอใจยินดีถึงแม้สิ่งอันที่ไม่พอใจ มีความโกรธความเกลียดเป็นต้น มันก็พอใจผูกพันอยู่กับความโกรธ ความเกลียดนั้น คือ มันไม่ทิ้งไม่วางนั่นเอง จึงเรียกว่าอารมณ์
ที่เกิดของอารมณ์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่เรียกว่าอายตนะทั้งหก เป็นบ่อเกิดของอารมณ์ ท่านว่าเป็นบ่อเกิด มิใช่เกิดจากอายตนะ
ความเป็นจริงอารมณ์ มิใช่เกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันเกิดจากจิตต่างหาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นแต่เพียงประตู
เปรียบเหมือนประตูหรือหน้าต่างของบ้านเรือนนั่นแหละ พอได้ยินเสียงอันใดก็ไปเปิดประตูดู ไปส่องดูตามหน้าต่าง อยากเห็นอะไรก็ไปส่องดูตามนั้นแหละ แต่ผู้ส่องไม่ใช่หน้าต่าง หน้าต่างเป็นเพียงช่องสำหรับส่องดู ผู้ส่องดูคือคนดูต่างหาก
ถึงแม้จะไม่มีประตูหน้าต่าง คือ ไม่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่จิตมันยังมีอยู่ มันก็ยังเห็นอยู่ ดังนั้น จึงว่าอารมณ์ไม่ได้เกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กายนั่นหรอก มันเกิดที่จิต
ถ้าหากเรามาพิจารณาแยกออกไป แยกกาย แยกใจ กับอารมณ์นั้นก็จะเห็นชัดด้วยใจของตนเองว่า..อารมณ์เป็นอันหนึ่ง ใจเป็นอันหนึ่ง อายตนะเป็นอันหนึ่ง แต่อารมณ์ก็เกิดจากจิตนั่นเอง...”
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|