พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ) ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
28 มกราคม 2568, 09:22:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 ... 35 36 [37] 38 39 ... 42   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )  (อ่าน 475319 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #540 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2567, 05:58:51 »

เหตุนั้น การบริโภคอาหารนั้นจึงต้องหัด ยากที่จะรู้ตัวเพราะมันติดมาพอแรงแล้ว ติดมาตั้งแต่เบื้องต้นแต่ไหนแต่ไรมา จึงว่าให้เข้าใจเรื่องทั้งหลายนี้ เช่นตัวอย่างอาหารนี้เป็นต้น เป็นของจำเป็นที่สุดที่จะต้องหล่อเลี้ยงร่างกาย แต่ว่าจำเป็นที่สุดที่จะต้องรู้จัก คือ จำเป็นที่สุดที่จะต้องพิจารณาเป็นของจำเป็นมาก ถ้าไม่พิจารณาก็ไม่รู้เรื่อง พิจารณาแล้วค่อยเห็นโทษเห็นคุณของมัน
คุณ คือเป็นไปเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย
โทษ คือเป็นไปเพื่อกิเลส ฉันเป็นไปเพื่อกิเลส สะสมกิเลส คือไม่รู้เรื่องว่าเป็น “กิเลส”
ถ้ารู้เรื่องก็เป็น “ธรรม” ฉะนั้น จึงกล่าวว่า พิจารณาแล้ว “บรรเทา”อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว “เว้น” อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว “อดกลั้น” อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว “เสพ” อย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้ว “เสพ”คือว่าการรับประทาน ถ้าไม่พิจารณามันก็ล่อหลอกลวงเรา เป็นเหตุให้ติด อย่างเช่นคนสูบบุหรี่นี่แหละ ถ้าเราไม่สูบ จึงพูดว่าไม่ติด ติดแล้วนั่นละมันจึงสูบ ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเราเกิดมาไม่ได้สูบบุหรี่ แต่เบื้องต้นตั้งแต่เป็นเด็กไม่ได้สูบ เรามาหัดสูบบุหรี่ มันจึงค่อยติด พอติดแล้วครั้นไม่ได้สูบ เข้าใจว่ามันไม่ติด หากรู้สึกว่า “อด” เมื่อไรแล้ว นั่นละติด มันติดแล้วมันถึงค่อยชอบใจ ยินดีพอใจ นั่นเรียกว่าติด ติดบุหรี่มีโทษอะไรหรือ? มีโทษ ติดบุหรี่มันมีโทษนานัปการ โทษอันหนึ่งคือว่า ไม่ได้สูบมันก็คิดถึง กระวนกระวาย อย่างนี้เป็นต้น
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
อย่าให้กิเลสอบรมเรา
วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๗


* restor A1-020.jpg (317.83 KB, 492x505 - ดู 402 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #541 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2567, 22:21:10 »

 


* 466409985_8674954235887007_1061278339058265420_n copy1000.jpg (546.25 KB, 1000x744 - ดู 393 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #542 เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2567, 05:53:23 »

ในพุทธศาสนานี้ สอนให้รู้ตัวเอง สอนให้แก้ไขตัวเอง สิ่งนี้สำคัญที่สุด
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
ตรวจดูตัวของเรา
วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖


* IMG_0001 copy 5.jpg (365 KB, 700x464 - ดู 380 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #543 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2567, 05:58:37 »

ควรตั้งอกตั้งใจกระทำข้อวัตรทำเพื่อบุญกุศล…มีบุญอะไรบ้างที่จะเฉลี่ยเจือจานให้เขา มีบุญอะไรบ้างที่จะเผื่อแผ่ให้เขา ไม่เพียงแต่ฉันอาหารของเขาเฉยๆ
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
โอวาทหลังปาติโมกข์
ให้พิจารณาเนืองๆ
วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗


* restor (127) copy 2(700).jpg (688.26 KB, 700x1050 - ดู 378 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #544 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2567, 05:43:31 »

ถ้ามันมีกิเลสเมื่อมันไม่เห็นโทษเราก็ไม่พยายามที่จะทำดี ไม่พยายามที่จะชำระสะสาง พอมีกิเลส เห็นโทษเราก็จะตั้งหน้าลงไปเพื่อชำระสะสาง ดีกว่าผู้ที่ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่เห็นโทษ เห็นเป็นคุณทั้งหมดแล้วก็ไม่หาหนทางที่จะชำระสะสาง ไม่หาทางรีบแก้ไข

ดังนั้น อารมณ์ทั้งหลายนั้นถ้าหากผู้มีสติปัญญาพิจารณาเห็นโทษไม่ใช่เป็นของเลว เป็นของชั่วจริงล่ะอารมณ์นี้กิเลสแต่ไม่ใช่เป็นของชั่วในตัวของเรา คือถ้าเราเห็นโทษเราต้องสละและพยายามกำจัด เลยกลับเป็นของดี เลยเป็นเหตุให้เราเห็นภัย ได้ความรู้..ตื่นตัว
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
“ อารมณ์ “


* 39 (104) -hp Copy copy 5(1000).jpg (852.31 KB, 1000x663 - ดู 379 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #545 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2567, 05:44:15 »

การที่เราพยายามทำความดีและพยายามกำจัดกิเลสอันที่มันทำให้เราเดือดร้อนเป็นทุกข์ ตามภาษาสมมติเขาเรียกว่า "ทำกัมมัฏฐาน" หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่า "เพื่อชำระกิเลส" ถ้าพูดให้มันสวยหน่อยก็ให้มันงดงามขึ้นหน่อยเรียกว่า "ตปธรรม" คือ "การแผดเผา"
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
“ อารมณ์ “


* restor 39 (14) copy 3(700).jpg (455.67 KB, 700x1065 - ดู 371 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #546 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2567, 05:21:05 »

อาการ
คำว่า “…ตั้งสติตามรู้ตามเห็น…” กับคำว่า “…รู้เท่ารู้ทัน…” และคำว่า “…รู้แจ้งแทงตลอด…” มันมีลักษณะและความหมายผิดกัน นี่พูดถึงเรื่องของจิต. จิตเป็นสภาวธรรม ไม่มีตัวตน แต่แสดงออกมาเป็นอาการ ให้ผู้มีปัญญาญาณรู้ได้ว่า นี่จิต นี่อาการของจิต.
ตามรู้
สติเป็นอาการของจิตที่ตามรู้ตามเห็น คือ ตามรู้ตามเห็นอาการกิริยาของจิต แต่มิใช่เห็นตัวจิต. จิตแท้คือผู้รู้. ผู้ตามรู้ตามเห็นอาการของจิต ไม่มีวันจะทันจิตได้เลย เหมือนบุคคลผู้ตามรอยโคที่หายไป ไม่เห็นตัวมันจึงตามรอยของมันไป. แต่โคเป็นวัตถุ ไม่เหมือนจิต ซึ่งเป็นนามธรรม เอาจิตไปตามอาการของจิต มันก็ผิดวิสัย เมื่อไรจะเห็นตัวจิตสักที.
เท่าทัน
คำว่า “รู้เท่าทัน” ก็บ่งชัดอยู่แล้วว่า ผู้รู้คือจิต. รู้เท่าก็คือรู้เท่าที่จิตรู้นั้น ไม่เหลือไม่เกิน. เมื่อรู้เท่าอย่างนี้แล้ว อาการของจิตไม่มี. เมื่ออาการของจิตไม่มี รอยของจิตก็ไม่มี แล้วใครจะเป็นผู้ไปตามรอยของจิตอีกเล่า. รวมความแล้ว สติระลึกอยู่ตรงไหน ใจผู้รู้ก็อยู่ตรงนั้น สติกับผู้รู้เท่ากันอยู่ ณ ที่เดียวกัน ทำงานร่วมกันขณะเดียวกัน.
แทงตลอด
คำว่า “รู้แจ้งแทงตลอด” ก็หมายเอาความรู้ที่รู้ชัดรู้แจ้งของผู้รู้ ที่รู้ไม่เหลือไม่เกิน. แทงตลอดคือตลอดเบื้องต้นตั้งแต่เริ่มคิดเริ่มรู้ จนตรวจตรอง รู้ชัดถ่องแท้ลงเป็นสภาวธรรม จิตไม่ส่งส่ายแส่หาอะไรอีกต่อไป เพราะความแจ้งแทงตลอดในเหตุผลนั้นๆ หมดสิ้นแล้ว.
พบของจริง
ถ้านักปฏิบัติเข้าใจตามข้อความที่แสดงมานี้แล้ว หวังว่าคงไม่หลงเอาผู้รู้ (คือจิต) ไปตามรอยของจิต. เมื่อเราทำจิตคือผู้รู้ ให้นิ่งแนวอยู่กับสติแล้ว รอย (คืออาการของจิต) ก็ไม่มี. เมื่อจิตผู้รู้กับสติผู้ระลึกได้เข้ามาทำงานรวมอยู่ ณ ที่แห่งเดียวกันแล้ว การไปการมา การหลงแส่ส่ายแสวงหา ก็จะหมดสิ้นไป จะพบของจริงที่จิตสงบนิ่งอยู่ ณ ที่แห่งเดียว. เหมือนกับชาวนาผู้หาผ้าโพกศีรษะบนหัวของตนเอง เที่ยววนเวียนหารอบป่ารอบทุ่งจนเหน็ดเหนื่อยกลับมาบ้านนั่งพักผ่อนเพื่อเอาแรง ยกมือขึ้นตบศีรษะ ผ้าโพกตกลงมาทันที เขาเลยหมดกังวลในการหาต่อไป.
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
(พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์)
สามทัพธรรม:/


* restor (286).jpg (682.91 KB, 937x1402 - ดู 363 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #547 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2567, 06:41:42 »

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ๓ หลัก
เมื่อเราศึกษาในหลักวิชา ที่ทรงวางไว้ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว แต่เราจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะตรงต่อกฎธรรมดาของสิ่งทั้งปวงที่เป็นอยู่จริงๆ พระพุทธองค์จึงทรงวางระเบียบปฏิบัติประมวลลงในหลัก ๓ คือ
•   ทรงสอนให้ละความชั่วทั้งปวง
•   ทรงสอนให้บำเพ็ญความดีทุกอย่าง
•   และ ทรงสอนให้ชำระใจของตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง

ระเบียบปฏิบัติที่ทรงประมวลลงใน ๓ หลักนี้ สำหรับให้เราปฏิบัติ เพื่อให้รู้ว่าความชั่วที่เรียกว่าบาปทั้งปวง เป็นสิ่งที่ควรละ เพราะให้ผลเป็นทุกข์แก่ผู้กระทำ แล้วละคือเว้นไม่กระทำความชั่วทั้งปวงนั้นเสีย ความดีที่เรียกว่ากุศลหรือบุญทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ควรบำเพ็ญ เพราะให้ผลเป็นสุขแก่ผู้กระทำ แล้วบำเพ็ญให้เกิดขึ้นในตนโดยครบถ้วน และจิตใจที่ชำระให้บริสุทธิ์สะอาดแล้ว จะต้องหลุดจากความชั่วและความดี พ้นภพชาติเด่นอยู่ในโลก
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
โมกขุบายวิธี
วัดเจริญสมณกิจ จังหวัดภูเก็ต
๑ มีนาคม ๒๕๐๕


* restor (616) copy(1000).jpg (546.34 KB, 1000x664 - ดู 358 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2567, 06:44:16 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #548 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2567, 05:33:10 »

อายตนะทั้งหลาย เป็นเครื่องวัดจิตของตนได้อย่างดีที่สุด
เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบจิตของเรา เราหวั่นไหวไหม
เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย
เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
“จิต” กับ “ใจ”


* restor250 ลป.เทสก์ - Copy copy 4(700).jpg (177.33 KB, 700x1039 - ดู 355 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #549 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2567, 05:53:30 »

๑. คติในทางพระพุทธศาสนา ถือว่ากายกับจิตทำงานร่วมกัน แต่กายอยู่ใต้บังคับของจิต จิตเป็นผู้สั่งกายให้กระทำในกิจนั้นๆ แต่เมื่อกายชำรุด จิตก็ต้องลำบากไปด้วยกัน มิใช่อยู่ใต้บังคับระบบประสาท สมองถือเสมือนสำนักงานใหญ่ กายเริ่มแตกดับแล้วสลายแปรไปตามสภาพของธาตุนั้นๆ แต่จิตเมื่อเหตุปัจจัย (คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทานและกรรม) ยังมีอยู่ ต้องไปเกิดได้ในคตินั้นๆ แล้วเสวยทุกข์สุขต่อไป
มรรควิถี/01

พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย


* 34.หุ่นขี้ผึ้ง (16) copy(700).jpg (311.32 KB, 700x1050 - ดู 343 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #550 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2567, 06:00:04 »

๒. การที่จะให้อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และกรรม (อันเป็นต้นเหตุ) ดับไป จะต้องหัดละความชั่วทางกาย วาจา เบื้องต้น ด้วยการรักษาศีลตามภูมิของตนๆ เช่น ฆราวาสต้องรักษาศีล ๕ แลอุโบสถศีลตามกาล สามเณรต้องรักษาศีล ๑๐ หรือ ๒๐ เป็นภิกษุต้องรักษาศีลพระปาฏิโมกขสังวรให้ครบทั้ง ๒๒๗ ข้อ และอาชีวปาริสุทธิศีล อินทรียสังวรศีล ปัจจัยสันนิสิตศีล ตามพุทธบัญญัติเสียก่อน ถ้ารักษาศีลยังไม่บริสุทธิ์ จิตก็ยังไม่สมควรจะได้รับการอบรม ถึงแม้จะอบรม ก็ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญก้าวหน้าในทางธรรมเพราะรากฐานของจิตยังไม่มั่นคงเพียงพอ ในอันที่จะดำเนินในองค์มรรคได้ และได้ชื่อว่ายังไม่หยั่งลงสู่องค์พระรัตนตรัย พุทธมามกะที่แท้จะต้องเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในพระรัตนตรัยและศีลเป็นเบื้องต้นเสียก่อน
โอวาท ๓ (หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า) หรือมรรค ๘ ก็ต้องตั้งต้นลงที่ศีลนี้เสียก่อน ฉะนั้น ศีลจึงเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่อไปจึงฝึกหัดในแนวเจริญฌาน สมาธิ (ที่เรียกว่า สมถะ) เมื่อจิตตั้งมั่นชำนาญดีแล้ว จึงเจริญวิปัสสนา โดยอาศัยพระไตรลักษณญาณเป็นหลักจนให้เห็นแจ้งชัดด้วยญาณทัสนะอันบริสุทธิ์ จึงจะถึงวิมุตติหลุดพ้นจากสรรพกิเลสบาปธรรมได้

มรรควิถี/02
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย


* 34.หุ่นขี้ผึ้ง (7) copy(700).jpg (423.72 KB, 700x1050 - ดู 354 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #551 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2567, 06:15:56 »

๓. การฝึกหัดสมถะ (ที่เรียกว่า ฌาน สมาธิ) นี้ ความประสงค์ที่แท้จริงในทางพุทธศาสนา ก็คือ ต้องการความสงบแห่งจิต เพื่อรวบรวมกำลังใจให้มีพลังอันเข้มแข็งอยู่ในจุดเดียว (ที่เรียกว่า เอกัคคตารมณ์) อันเป็นมูลฐานให้เกิดความรู้ความฉลาด สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลายด้วยญาณทัสนะ และขจัดสรรพกิเลสบาปธรรมทั้งปวงให้สิ้นไป มิใช่เพียงเพื่อจะนำไปใช้ด้วยเหตุอื่นภายนอก มีการนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ เป็นต้น แต่เป็นการชำระใจให้ผ่องใสโดยเฉพาะ มีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น แต่เมื่อฝึกหัดให้ชำนาญแล้ว จะนำไปใช้ในทางใดก็ได้ตามประสงค์ ถ้าหากการใช้นั้นไม่ทำให้เกิดโทษแก่ตนและคนอื่น
มรรควิถี/03
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย


* 34.หุ่นขี้ผึ้ง (1) copy(700).jpg (349.98 KB, 700x1050 - ดู 327 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #552 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2567, 06:16:55 »

๔. เฉพาะการฝึกหัดจิตที่เป็นนามธรรมนี้ จะใช้วัตถุเครื่องมือมีเครื่องจำลองเป็นต้น ฝึกหัดไม่ได้ ต้องฝึกหัดด้วยการอบรม ฟังผู้ที่ชำนาญในการฝึกหัดอธิบายให้ฟัง แล้วตนเองก็ตั้งใจปฏิบัติฝึกหัดตามไปได้ ด้วยความเชื่อความเลื่อมใสเป็นบุพภาคเบื้องต้นเสียก่อน
ถ้าหากใช้ความคิดค้นในเหตุผลด้วยตนเองไม่สำเร็จ โดยมากผู้ใช้ความคิดค้นในเหตุผลด้วยตนเองก่อน มักไม่ได้บรรลุตามเจตนาเพราะขาดหลักที่ถูกต้องไม่ถูกแนวทาง เอนเอียงไปเข้าข้างตัวเสียมากกว่า
ถ้าหากปลูกศรัทธาปสาทะความเชื่อความเลื่อมใสในบุคคลผู้ให้การอบรม แลธรรมที่อบรมนั้นก่อนแล้ว จนจิตหนักแน่นแน่วแน่ดีแล้ว จึงใช้ความคิดค้นคว้าในเหตุผลตามความเป็นจริงดังนี้ ได้ผลอย่างน่าพอใจ
เพราะการคิดค้นในเหตุผลก่อนดังกล่าวแล้ว มักเป็นเรื่องส่งออกไปตามอาการภายนอก เช่น คนนั้นเขาว่าอย่างนี้ คนนี้เขาว่าอย่างนั้นเป็นต้น แต่ถ้าคิดค้นตามเหตุผลอยู่เฉพาะภายในกายของตนนี้ว่า กายของเรานี้มีอะไรเป็นเครื่องประกอบ และเกิดขึ้นมาได้อย่างไรจึงมีเครื่องใช้ครบถ้วนบริบูรณ์ และทำกิจในหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี และกายนี้เกิดขึ้นมาเพื่อประโยชน์อันใด เป็นอยู่ได้ด้วยสิ่งใด เป็นไปเพื่อความเสื่อมความเจริญเป็นของๆ เราจริงหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น อนึ่ง ให้คิดค้นเข้าไปถึงตัวนามธรรมว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง และความรัก ความชัง เป็นต้น เกิดขึ้นที่กายหรือเกิดขึ้นที่จิตและมีอะไรเป็นมูลเหตุ เมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เมื่อคิดค้นด้วยเหตุผลอยู่เฉพาะภายในดังนี้ ก็เป็นการอบรมจิตไปในตัว
แต่เมื่อความสงบของจิตยังมีกำลังไม่พอ อย่าได้คิดค้นตามหนังสือที่ได้อ่านและคำพูดของคนอื่น ถึงคิดค้นก็ไม่ได้ความจริง (คือเป็นเหตุให้เบื่อหน่ายละถอนได้) แต่ให้คิดค้นตามเหตุผลที่เกิดขึ้นจากจิตในปัจจุบันจริงๆ

มรรควิถี/04
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย


* 34.หุ่นขี้ผึ้ง (4) copy(700).jpg (332.36 KB, 700x1050 - ดู 331 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #553 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2567, 05:30:36 »

๖. หากอบรมจิตดังกล่าวมาแล้วในข้อ ๔-๕ นั้น ยังไม่ปรากฏผล พึงตั้งสติมั่นสำรวมอยู่ในนิมิตอันใดอันหนึ่ง ให้เป็นเป้าหมายของจิต เช่นเพ่งดูอาการของกายนี้ มีเพ่งดูกระดูกหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในภายในกายนี้ โดยให้เห็นเป็นของปฏิกูลเป็นต้น หรือจะเพ่งดูเฉพาะแต่จิตอย่างเดียวก็ได้ เพราะจิตนี้เป็นของไม่เห็นด้วยตา ถ้าหากไม่ไปเพ่งดูในจุดใดจุดหนึ่งแล้ว ก็จะไม่รู้ว่าจิตอยู่หรือไม่อยู่ จิตนี้ลักษณะเหมือนกับลม ลมนี้ถ้าไม่สัมผัสสิ่งต่างๆ ก็จะไม่รู้ว่าลมมีหรือไม่ จิตก็เช่นเดียวกัน ผู้อบรมใหม่ถ้าไม่มีเป้าหมายของจิตก็จะจับตัวจิตแท้ไม่ได้ แต่เป้าหมายคือนิมิตนั้น ขออย่าให้เป็นของภายนอกไปจากกายนี้ จงให้เป็นเป้าหมายคือนิมิตที่มีอยู่ในกายนี้ดังกล่าวแล้ว แลเมื่อจะเพ่งจงเพ่งเอาเฉพาะอย่างเดียวที่เห็นว่าเหมาะแก่นิสัยของเรา อย่าละโมบเอาอย่างโน้นบ้างอย่างนี้บ้าง การเพ่ง ให้พิจารณาตามแนวแห่งสติปัฏฐาน คือ แยกแยะอาการออกจนให้เห็นเป็นแต่สักว่า มิใช่เรามิใช่ตัวตนของเรา การเพ่งพิจารณาที่จะเห็นได้ดังว่ามานี้ ทำได้ ๒ อย่าง คือ
•   ก. เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะในจุดเป้าหมายนั้น อย่าไปคำนึงว่าเป้าหมายนั้นเป็นอะไรและใครเป็นผู้เพ่งดู จงให้มีแต่ผู้รู้กับการเพ่งดูเท่านั้นไม่ให้มีความสำคัญมั่นหมายในอันใดทั้งหมด แล้วจะมีแต่สิ่งอันหนึ่งซึ่งมีอาการให้รู้สึกเป็นอารมณ์ติดอยู่กับเป้าหมายเท่านั้น
•   ข. เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะในจุดเป้าหมายนั้น ขณะเดียวกันให้ทำความรู้เท่าว่านั้นเป็นเป้าหมายของจิต นั่นเป็นจิตผู้พิจารณา นั้นเป็นสติผู้ระลึกตาม นั้นเป็นปัญญาผู้รู้ตามเป็นจริงในสิ่งนั้นๆ
อาการทั้งสองนี้ใช้ได้เหมือนกัน แต่ข้อ ก. เหมาะสำหรับผู้มีปัญญาทึบแลฝึกหัดขั้นแรก ส่วนข้อ ข. เหมาะสำหรับผู้มีเชาว์ดีและชำนาญแล้ว ทั้งสองนี้ ถ้าผู้มาฝึกหัดอบรมอาศัยความไม่ประมาทแล้ว ก็จะได้รับผลอย่างเดียวกัน คือ ทำให้ได้สมาธิและปัญญา
มรรควิถี/06
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย


* 34.หุ่นขี้ผึ้ง (3) copy(700).jpg (347.59 KB, 700x1050 - ดู 324 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 885

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 35.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #554 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2567, 05:34:13 »

๕. จิตที่คิดค้นด้วยเหตุผลของตนเองอยู่อย่างนั้นแล้ว จะมีอาการให้เพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะ ณ ที่แห่งเดียวในอารมณ์เดียว (ที่เรียกว่าเอกัคคตารมณ์) เป็นการรวบรวมพลังงานของจิตให้มีกำลังกล้า สามารถเพิกถอนอุปาทานความเห็นผิด แล้วชำระจิตให้สว่างผ่องใสได้ในขณะนั้น อย่างน้อยจะได้รับความสงบสุขกายสบายจิตมาก อาจเกิดความรู้อะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ในขณะนั้น และความรู้อันนั้นเป็นของแปลกประหลาดน่าอัศจรรย์ด้วย เพราะความรู้นี้มิใช่เกิดจากมโนภาพ แต่เป็นความรู้อันเกิดขึ้นในปัจจุบันซึ่งสำเร็จมาจากเหตุผลเป็นสัจธรรม อย่างไม่เคยเกิดเป็นมาแต่ก่อนเลย ถึงจะรู้แอบแฝงตามเรื่องเคยคิดเคยรู้มาแล้วแต่เดิมก็ตาม แต่ความรู้อันนั้นมิเคยเป็นปัจจัตตัง ทำให้จิตสว่างขจัดเสียซึ่งความลังเลสงสัยในอารมณ์ที่ข้องอยู่ในใจได้แล้ว จะอุทานขึ้นมาในใจพร้อมด้วยความปราโมทย์ (อย่างนี้เทียวหรือ) แต่ถ้าผู้มีปัญญาทึบแล้ว จะเกิดความกล้าหาญร่าเริงต่อเมื่อมีผู้รับรองแลเห็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามท่านแสดงไว้ในหนังสือต่างๆ เป็นพยานแห่งความรู้อันนั้น ตามวิสัยของพุทธสาวกซึ่งไม่เหมือนกัน
ความรู้ที่ว่ามานี้จะมากหรือน้อย จะกว้างขวางหรือไม่ ไม่เป็นเครื่องรบกวนประสาท แต่เป็นความสงบสุขที่แท้จริง แล้วทำให้ประสาทปลอดโปร่งดีขึ้นมาก พร้อมกันนั้นจะทำให้จิตใจและนิสัยของผู้นั้น ละเอียดสุขุมนิ่มนวลละมุนละไมน่าเลื่อมใสมาก ถึงจะพูดจะทำจะคิดอะไรๆ ก็มีสติเสมอ ไม่ค่อยเผลอ แล้วพึงให้รักษาอาการทั้งหมดดังอธิบายมาแล้วนี้ อย่าได้ประมาท นี่เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล มิใช่จะเกิดเป็นอย่างนั้นทั้งหมดทั่วไปก็หาไม่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อเราได้อบรมจิตดังที่ได้อธิบายมาแล้วนี้ แม้จะไม่ได้รับผลเต็มที่ ก็ยังจะได้รับความสงบสุขอย่างน่าอัศจรรย์ ตามสมควรแก่การปฏิบัติของตนๆ แล้วให้รักษาจิตของตนไว้อย่าให้เกิดความละโมบทะยานอยาก หรือโทมนัสน้อยใจเสียใจ จงวางใจให้เป็นกลางๆ แล้วปฏิบัติตามแนวที่ได้อธิบายมาแล้วแต่ต้นนั้น ด้วยความเชื่อความเลื่อมใส จงใช้สติระวังสังเกตทุกๆระยะของการปฏิบัตินั้น ก็จะได้ประสบผลดังประสงค์
มรรควิถี/05
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย


* 34.หุ่นขี้ผึ้ง (8) copy(700).jpg (345.77 KB, 700x1050 - ดู 322 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 35 36 [37] 38 39 ... 42   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!