middle spirit
|
|
« ตอบ #540 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2567, 05:58:51 » |
|
เหตุนั้น การบริโภคอาหารนั้นจึงต้องหัด ยากที่จะรู้ตัวเพราะมันติดมาพอแรงแล้ว ติดมาตั้งแต่เบื้องต้นแต่ไหนแต่ไรมา จึงว่าให้เข้าใจเรื่องทั้งหลายนี้ เช่นตัวอย่างอาหารนี้เป็นต้น เป็นของจำเป็นที่สุดที่จะต้องหล่อเลี้ยงร่างกาย แต่ว่าจำเป็นที่สุดที่จะต้องรู้จัก คือ จำเป็นที่สุดที่จะต้องพิจารณาเป็นของจำเป็นมาก ถ้าไม่พิจารณาก็ไม่รู้เรื่อง พิจารณาแล้วค่อยเห็นโทษเห็นคุณของมัน คุณ คือเป็นไปเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย โทษ คือเป็นไปเพื่อกิเลส ฉันเป็นไปเพื่อกิเลส สะสมกิเลส คือไม่รู้เรื่องว่าเป็น “กิเลส” ถ้ารู้เรื่องก็เป็น “ธรรม” ฉะนั้น จึงกล่าวว่า พิจารณาแล้ว “บรรเทา”อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว “เว้น” อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว “อดกลั้น” อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว “เสพ” อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว “เสพ”คือว่าการรับประทาน ถ้าไม่พิจารณามันก็ล่อหลอกลวงเรา เป็นเหตุให้ติด อย่างเช่นคนสูบบุหรี่นี่แหละ ถ้าเราไม่สูบ จึงพูดว่าไม่ติด ติดแล้วนั่นละมันจึงสูบ ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเราเกิดมาไม่ได้สูบบุหรี่ แต่เบื้องต้นตั้งแต่เป็นเด็กไม่ได้สูบ เรามาหัดสูบบุหรี่ มันจึงค่อยติด พอติดแล้วครั้นไม่ได้สูบ เข้าใจว่ามันไม่ติด หากรู้สึกว่า “อด” เมื่อไรแล้ว นั่นละติด มันติดแล้วมันถึงค่อยชอบใจ ยินดีพอใจ นั่นเรียกว่าติด ติดบุหรี่มีโทษอะไรหรือ? มีโทษ ติดบุหรี่มันมีโทษนานัปการ โทษอันหนึ่งคือว่า ไม่ได้สูบมันก็คิดถึง กระวนกระวาย อย่างนี้เป็นต้น หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี อย่าให้กิเลสอบรมเรา วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๗
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #541 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2567, 22:21:10 » |
|
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #542 เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2567, 05:53:23 » |
|
ในพุทธศาสนานี้ สอนให้รู้ตัวเอง สอนให้แก้ไขตัวเอง สิ่งนี้สำคัญที่สุด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี ตรวจดูตัวของเรา วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #543 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2567, 05:58:37 » |
|
ควรตั้งอกตั้งใจกระทำข้อวัตรทำเพื่อบุญกุศล…มีบุญอะไรบ้างที่จะเฉลี่ยเจือจานให้เขา มีบุญอะไรบ้างที่จะเผื่อแผ่ให้เขา ไม่เพียงแต่ฉันอาหารของเขาเฉยๆ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี โอวาทหลังปาติโมกข์ ให้พิจารณาเนืองๆ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #544 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2567, 05:43:31 » |
|
ถ้ามันมีกิเลสเมื่อมันไม่เห็นโทษเราก็ไม่พยายามที่จะทำดี ไม่พยายามที่จะชำระสะสาง พอมีกิเลส เห็นโทษเราก็จะตั้งหน้าลงไปเพื่อชำระสะสาง ดีกว่าผู้ที่ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่เห็นโทษ เห็นเป็นคุณทั้งหมดแล้วก็ไม่หาหนทางที่จะชำระสะสาง ไม่หาทางรีบแก้ไข
ดังนั้น อารมณ์ทั้งหลายนั้นถ้าหากผู้มีสติปัญญาพิจารณาเห็นโทษไม่ใช่เป็นของเลว เป็นของชั่วจริงล่ะอารมณ์นี้กิเลสแต่ไม่ใช่เป็นของชั่วในตัวของเรา คือถ้าเราเห็นโทษเราต้องสละและพยายามกำจัด เลยกลับเป็นของดี เลยเป็นเหตุให้เราเห็นภัย ได้ความรู้..ตื่นตัว หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี “ อารมณ์ “
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #545 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2567, 05:44:15 » |
|
การที่เราพยายามทำความดีและพยายามกำจัดกิเลสอันที่มันทำให้เราเดือดร้อนเป็นทุกข์ ตามภาษาสมมติเขาเรียกว่า "ทำกัมมัฏฐาน" หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่า "เพื่อชำระกิเลส" ถ้าพูดให้มันสวยหน่อยก็ให้มันงดงามขึ้นหน่อยเรียกว่า "ตปธรรม" คือ "การแผดเผา" หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี “ อารมณ์ “
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #546 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2567, 05:21:05 » |
|
อาการ คำว่า “…ตั้งสติตามรู้ตามเห็น…” กับคำว่า “…รู้เท่ารู้ทัน…” และคำว่า “…รู้แจ้งแทงตลอด…” มันมีลักษณะและความหมายผิดกัน นี่พูดถึงเรื่องของจิต. จิตเป็นสภาวธรรม ไม่มีตัวตน แต่แสดงออกมาเป็นอาการ ให้ผู้มีปัญญาญาณรู้ได้ว่า นี่จิต นี่อาการของจิต. ตามรู้ สติเป็นอาการของจิตที่ตามรู้ตามเห็น คือ ตามรู้ตามเห็นอาการกิริยาของจิต แต่มิใช่เห็นตัวจิต. จิตแท้คือผู้รู้. ผู้ตามรู้ตามเห็นอาการของจิต ไม่มีวันจะทันจิตได้เลย เหมือนบุคคลผู้ตามรอยโคที่หายไป ไม่เห็นตัวมันจึงตามรอยของมันไป. แต่โคเป็นวัตถุ ไม่เหมือนจิต ซึ่งเป็นนามธรรม เอาจิตไปตามอาการของจิต มันก็ผิดวิสัย เมื่อไรจะเห็นตัวจิตสักที. เท่าทัน คำว่า “รู้เท่าทัน” ก็บ่งชัดอยู่แล้วว่า ผู้รู้คือจิต. รู้เท่าก็คือรู้เท่าที่จิตรู้นั้น ไม่เหลือไม่เกิน. เมื่อรู้เท่าอย่างนี้แล้ว อาการของจิตไม่มี. เมื่ออาการของจิตไม่มี รอยของจิตก็ไม่มี แล้วใครจะเป็นผู้ไปตามรอยของจิตอีกเล่า. รวมความแล้ว สติระลึกอยู่ตรงไหน ใจผู้รู้ก็อยู่ตรงนั้น สติกับผู้รู้เท่ากันอยู่ ณ ที่เดียวกัน ทำงานร่วมกันขณะเดียวกัน. แทงตลอด คำว่า “รู้แจ้งแทงตลอด” ก็หมายเอาความรู้ที่รู้ชัดรู้แจ้งของผู้รู้ ที่รู้ไม่เหลือไม่เกิน. แทงตลอดคือตลอดเบื้องต้นตั้งแต่เริ่มคิดเริ่มรู้ จนตรวจตรอง รู้ชัดถ่องแท้ลงเป็นสภาวธรรม จิตไม่ส่งส่ายแส่หาอะไรอีกต่อไป เพราะความแจ้งแทงตลอดในเหตุผลนั้นๆ หมดสิ้นแล้ว. พบของจริง ถ้านักปฏิบัติเข้าใจตามข้อความที่แสดงมานี้แล้ว หวังว่าคงไม่หลงเอาผู้รู้ (คือจิต) ไปตามรอยของจิต. เมื่อเราทำจิตคือผู้รู้ ให้นิ่งแนวอยู่กับสติแล้ว รอย (คืออาการของจิต) ก็ไม่มี. เมื่อจิตผู้รู้กับสติผู้ระลึกได้เข้ามาทำงานรวมอยู่ ณ ที่แห่งเดียวกันแล้ว การไปการมา การหลงแส่ส่ายแสวงหา ก็จะหมดสิ้นไป จะพบของจริงที่จิตสงบนิ่งอยู่ ณ ที่แห่งเดียว. เหมือนกับชาวนาผู้หาผ้าโพกศีรษะบนหัวของตนเอง เที่ยววนเวียนหารอบป่ารอบทุ่งจนเหน็ดเหนื่อยกลับมาบ้านนั่งพักผ่อนเพื่อเอาแรง ยกมือขึ้นตบศีรษะ ผ้าโพกตกลงมาทันที เขาเลยหมดกังวลในการหาต่อไป. หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์) สามทัพธรรม:/
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #547 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2567, 06:41:42 » |
|
หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ๓ หลัก เมื่อเราศึกษาในหลักวิชา ที่ทรงวางไว้ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว แต่เราจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะตรงต่อกฎธรรมดาของสิ่งทั้งปวงที่เป็นอยู่จริงๆ พระพุทธองค์จึงทรงวางระเบียบปฏิบัติประมวลลงในหลัก ๓ คือ • ทรงสอนให้ละความชั่วทั้งปวง • ทรงสอนให้บำเพ็ญความดีทุกอย่าง • และ ทรงสอนให้ชำระใจของตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ระเบียบปฏิบัติที่ทรงประมวลลงใน ๓ หลักนี้ สำหรับให้เราปฏิบัติ เพื่อให้รู้ว่าความชั่วที่เรียกว่าบาปทั้งปวง เป็นสิ่งที่ควรละ เพราะให้ผลเป็นทุกข์แก่ผู้กระทำ แล้วละคือเว้นไม่กระทำความชั่วทั้งปวงนั้นเสีย ความดีที่เรียกว่ากุศลหรือบุญทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ควรบำเพ็ญ เพราะให้ผลเป็นสุขแก่ผู้กระทำ แล้วบำเพ็ญให้เกิดขึ้นในตนโดยครบถ้วน และจิตใจที่ชำระให้บริสุทธิ์สะอาดแล้ว จะต้องหลุดจากความชั่วและความดี พ้นภพชาติเด่นอยู่ในโลก หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี โมกขุบายวิธี วัดเจริญสมณกิจ จังหวัดภูเก็ต ๑ มีนาคม ๒๕๐๕
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2567, 06:44:16 โดย middle spirit »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #548 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2567, 05:33:10 » |
|
อายตนะทั้งหลาย เป็นเครื่องวัดจิตของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบจิตของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี “จิต” กับ “ใจ”
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #549 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:53:30 » |
|
๑. คติในทางพระพุทธศาสนา ถือว่ากายกับจิตทำงานร่วมกัน แต่กายอยู่ใต้บังคับของจิต จิตเป็นผู้สั่งกายให้กระทำในกิจนั้นๆ แต่เมื่อกายชำรุด จิตก็ต้องลำบากไปด้วยกัน มิใช่อยู่ใต้บังคับระบบประสาท สมองถือเสมือนสำนักงานใหญ่ กายเริ่มแตกดับแล้วสลายแปรไปตามสภาพของธาตุนั้นๆ แต่จิตเมื่อเหตุปัจจัย (คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทานและกรรม) ยังมีอยู่ ต้องไปเกิดได้ในคตินั้นๆ แล้วเสวยทุกข์สุขต่อไป มรรควิถี/01 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #550 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:00:04 » |
|
๒. การที่จะให้อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และกรรม (อันเป็นต้นเหตุ) ดับไป จะต้องหัดละความชั่วทางกาย วาจา เบื้องต้น ด้วยการรักษาศีลตามภูมิของตนๆ เช่น ฆราวาสต้องรักษาศีล ๕ แลอุโบสถศีลตามกาล สามเณรต้องรักษาศีล ๑๐ หรือ ๒๐ เป็นภิกษุต้องรักษาศีลพระปาฏิโมกขสังวรให้ครบทั้ง ๒๒๗ ข้อ และอาชีวปาริสุทธิศีล อินทรียสังวรศีล ปัจจัยสันนิสิตศีล ตามพุทธบัญญัติเสียก่อน ถ้ารักษาศีลยังไม่บริสุทธิ์ จิตก็ยังไม่สมควรจะได้รับการอบรม ถึงแม้จะอบรม ก็ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญก้าวหน้าในทางธรรมเพราะรากฐานของจิตยังไม่มั่นคงเพียงพอ ในอันที่จะดำเนินในองค์มรรคได้ และได้ชื่อว่ายังไม่หยั่งลงสู่องค์พระรัตนตรัย พุทธมามกะที่แท้จะต้องเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในพระรัตนตรัยและศีลเป็นเบื้องต้นเสียก่อน โอวาท ๓ (หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า) หรือมรรค ๘ ก็ต้องตั้งต้นลงที่ศีลนี้เสียก่อน ฉะนั้น ศีลจึงเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่อไปจึงฝึกหัดในแนวเจริญฌาน สมาธิ (ที่เรียกว่า สมถะ) เมื่อจิตตั้งมั่นชำนาญดีแล้ว จึงเจริญวิปัสสนา โดยอาศัยพระไตรลักษณญาณเป็นหลักจนให้เห็นแจ้งชัดด้วยญาณทัสนะอันบริสุทธิ์ จึงจะถึงวิมุตติหลุดพ้นจากสรรพกิเลสบาปธรรมได้ มรรควิถี/02 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|