พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ) ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
23 ตุลาคม 2567, 00:54:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 ... 33 34 [35]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )  (อ่าน 435428 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 784

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 22 : Exp 72%
HP: 66.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #510 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2567, 06:08:07 »

ตั้งจิตเราให้ตรง ทำจิตเราให้แน่วแน่
ทำจิตให้เป็นกลาง ทำจิตให้มันวางเฉย
อันนั้นเรียกว่า อารมณ์มันถูก อันนั้นเรียกว่า อารมณ์ที่ดี
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
ตั้งอารมณ์ให้ถูก
พ.ศ. ๒๕๒๖


* DSC02849 copy 700.jpg (769.06 KB, 700x1062 - ดู 32 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 784

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 22 : Exp 72%
HP: 66.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #511 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2567, 06:14:08 »

มันแปลกแต่ที่วันอุโบสถคือ วันปวารณา ปวารณาแทนวันอุโบสถ แท้ที่จริงวันปวารณามีประโยชน์มากกว่าวันอุโบสถ ท่านจึงบอกว่า ถ้าหากวันพระตกวัน ๑๔ ค่ำ วันปวารณาตกวัน ๑ ค่ำ ให้เอาวันปวารณาเป็นเกณฑ์ ท่านบอกว่าอย่างนั้นคือ หมายความว่ามีประโยชน์มากนั่นเอง
ปวารณา คือการปวารณาซึ่งตนอย่างที่ท่านกล่าวว่า “ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย” ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการรังเกียจก็ดี จะประการใดประการหนึ่ง ขอให้ตักเตือนด้วยความเอ็นดูเมตตาปรารถนาหวังดีต่อข้าพเจ้า
คำปวารณามีอย่างนี้ ปวารณาซึ่งกันและกันทุกคนไม่ว่าใครทั้งนั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย อายุพรรษามากน้อยเหมือนกัน ปวารณากันให้ว่ากล่าวตักเตือนกันไว้ด้วยความเมตตาปรารถนาหวังดีต่อกัน ถ้ามีโทสะมานะเกิดขึ้นแต่ในใจของตนแล้ว การตักเตือนถึงแม้เป็นของดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ตนอีก ถ้าหากคนฟัง คนที่ถูกตักเตือนยอมรับยอมปฏิบัติตาม จะเป็นประโยชน์ต่อคนนั้นต่อไป แต่ผู้ปฏิบัติจะพูดย้อนผู้สอนผู้ตักเตือนแล้ว ไม่มีประโยชน์ ขาดเมตตาเอ็นดูกรุณาซึ่งกันและกัน การปวารณานี้มีประโยชน์มากไม่เฉพาะแต่เวลานี้หรืออยู่แต่ในวัดนี้ ถ้าไปในที่อื่นเห็นหน้าเห็นตากันเมื่อไรว่ากล่าวตักเตือนกันได้ทุกเมื่อ จึงว่ามีประโยชน์มาก เรามาอยู่จำพรรษาร่วมกัน ด้วยความเห็นด้วยทิฐิมานะอะไรต่างๆ ยอมสละทุกสิ่งทุกประการ อ่อนน้อมยอมเข้าหากัน ย่อมมีความสุขสบาย
วันนี้เป็นวันออกพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วต่างคนต่างมีกิจธุระการงานก็ต้องไปเลยคราวนี้ โดยที่ไม่ต้องการ สัตตาหะ คือ ๗ วันกลับคืนมา การอยู่จำพรรษาไม่ใช่การบังคับ ไม่ใช่การกดขี่ข่มเหง ไม่ใช่บังคับเหมือนกับอยู่เรือนจำ ถ้าเข้าพรรษาแล้วคอยแต่วันจะออกพรรษา วันไหนหนอจะออกพรรษา วันอะไรจะออกพรรษา ความคิดเป็นอย่างนั้นไม่ถูก เรียกว่า อยู่ในข้อบังคับจำกัด แท้จริงแล้วไม่ว่าจะอยู่ในพรรษาหรือออกพรรษา การประพฤติปฏิบัติมีได้ทุกเมื่อจะอยู่ในพรรษาก็ได้นอกพรรษาก็ได้ ไปที่ไหนๆ ก็ได้ แต่ว่าออกพรรษาแล้วไปไหนไม่ได้สัตตาหะภายใน ๗ วัน ให้กลับคืนมา ออกพรรษาแล้วนั้นไปในถิ่นใด สถานใดก็ดี ไปได้สบายใจ แต่ว่าการปฏิบัติถึงอยู่ในพรรษานอกพรรษาเหมือนกันทั้งนั้น ไม่ใช่ออกพรรษาแล้วไม่ปฏิบัติ ออกพรรษาแล้วทิ้งหมด การปฏิบัติอย่างนั้นไม่ถูก
ผู้จะสึกออกไปก็เหมือนกัน มาบวชอยู่ในขอบเขตของพระธรรมวินัยอยู่ในขนบธรรมเนียมระเบียบอันดีงาม นับว่าทำตนของตนให้ดีแล้ว เป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของเพื่อนพรหมจรรย์ และญาติโยมอุบาสกอุบาสิกาทั้งปวงหมด เพราะเรามีขอบเขตของธรรมวินัย เราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสและบูชาของคนทั่วไป จึงเป็นของน่าเสียดาย ควรที่จะเสียดาย ที่ออกไปแล้วละทิ้งการปฏิบัติทั้งปวง โดยการจำเป็นมีกิจธุระภาระมาก จะรักษาขอบเขตอยู่ในขอบเขตธรรมวินัยไม่ได้ ก็ต้องละทิ้ง
แต่ถึงอย่างไรก็ดี บางสิ่งบางประการเราควรจะนำมาปฏิบัติ ให้สมกับว่าเราได้มาฝึกหัดปฏิบัติในพุทธศาสนาได้นิสัยติดไป คือมีนิสัยให้เราได้ปฏิบัติต่อไป เช่นว่า เรามี ศีลห้า ประจำ ไหว้พระสวดมนต์ประจำ หรือทำบุญประจำ ดีกว่าที่เราไม่ได้บวช อย่างนี้เป็นต้น ไหว้พระก็ไม่ได้ยากลำบากอะไรเลย ไม่ได้เรียกร้องใครทั้งนั้น ไม่ได้ชักชวนใครทั้งนั้น ไหว้พระสวดมนต์เป็นกิจวัตรประจำ อยู่ที่ไหนๆ ก็ไหว้ได้ นั่นเรียกว่า “นิสัยพุทธศาสนาติด”การระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทุกค่ำเช้า หรือทุกวันคืน เรียกว่า “นิสัยติด”เรามี ศีลห้า ถ้าหากรักษาไม่ได้ทุกข้อ ได้เพียง ๓-๔ ข้อก็เอา ให้ได้ประจำเป็นนิจ อันนั้นเรียกว่านิสัยติดขึ้นมาบ้าง ค่อยกระเถิบขึ้นมาโดยลำดับ การทำบุญทำทานทำไม่ได้ทุกวัน ทำเป็นบางครั้งบางคราวก็นับว่าดีที่สุด ดีกว่าเราจะไม่ทำ อันนี้เรียกว่า เราหัดอบรมนิสัย
หัดสมาธิภาวนา ก็เหมือนกัน เรามาทำความเพียร เรามาทำสมาธิภาวนาอยู่ในวัดในวา ได้มาบวชนี่สามาเดือนก็รู้สึกว่าจิตใจสงบ บางครั้งบางคราวถ้ามันสงบลงไปได้ หรือบางครั้งบางคราวสงบมากๆ ก็มี อันนั้นเรียกว่า “นิสัยพุทธศาสนาติด” เพราะเห็นคุณค่าประโยชน์อยู่แล้ว ไฉนออกไปจึงไม่พากันกระทำ ควรที่จะทำละสิ มันเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งอย่างนี้แหละ เมื่ออกไปแล้ว ฝึกหัดอบรมนิสัยของตนค่อยๆ ให้มันดีขึ้นโดยลำดับ ไม่ใช่ออกไปแล้วทิ้งปุบปับหมดเลย ไม่เอาอะไรทั้งหมดติดตามตัวไป นิดเดียวก็ไม่มี อันนั้นหมดเรื่อง อันนั้นละเหมือนกับนักโทษนักโทษที่เขามาควบคุมไว้ในเรือนจำ เขามีการสอนวิชาอาชีพต่างๆ ออกจากเรือนจำไปแล้ว อาชีพที่เขาสอนให้ก็ไม่เอา อะไรก็ทิ้งหมด ปล่อยตามเรื่องตามราว ไปตามเรื่องของตน อันนั้นก็หมดท่า ไม่มีดีเลย
การปฏิบัติ ถึงพระที่ยังอยู่ไม่ได้สึก ออกพรรษาแล้วไม่ได้อยู่ในขอบเขตจำกัดอย่างในพรรษาในวัด ไปที่อื่นที่ไกลที่ใดก็ตามเถอะ เราต้องปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่ออกพรรษาแล้วจะทอดทิ้ง ไม่ใช่ออกพรรษาแล้วจะดีหรือวิเศษวิโส อยากจะออกถ่ายเดียว อยากจะไปถ่ายเดียว
ที่ไปนั้นไปอะไร? มันได้ดิบได้ดีตรงไหน? ให้รู้เรื่องการไปนั้นเราบวชเพื่อปฏิบัติไม่ใช่หรือ? ปฏิบัติอันใดนิสัยมันติด มันไปในทางธรรมวินัย อันนั้นจึงเป็นการดี ถึงอยู่หรือไปก็เป็นการดี ไม่ใช่ออกพรรษาแล้วจะไปอีเหละเกะกะ ทุกสิ่งทุกอย่างทอดทิ้งไม่ทำ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ พรรษานั้นเพียงแต่ว่าท่านกำหนดกาลเท่านั้นหรอก แท้ที่จริงแล้วไม่ได้จำกัดพรรษา ความดีไปไหนก็เหมือนกันหมด ผู้ที่ทำดิบทำดีทั้งปวงปฏิบัติในธรรมวินัย ไม่ได้นึกคิดว่าออกพรรษาหรือในพรรษา ก็ทำเรื่อยไปยิ่งออกพรรษายิ่งกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เพราะมีการทำภาวนาวิเวกสงบยิ่งกว่าที่อยู่ในพรรษา ในพรรษามันเป็นภาระธุระบางอย่างบางประการ ออกพรรษาแล้วไม่มีภาระที่ต้องทำ อย่างเรียนนักธรรมหรือสอนนักธรรมอย่างนี้เป็นต้น ออกพรรษาแล้วยิ่งปฏิบัติสนุกคราวนี้ ถึงว่าออกพรรษาแล้วไม่ใช่จะทอดทิ้งสิ่งทั้งหลายที่เรากระทำ ทำอยู่เสมอ จึงได้ชื่อว่า “ปฏิบัติศาสนา” เช่นนั้นได้ชื่อว่า “ปฏิบัติศาสนาแท้” ไม่คอยเข้าพรรษาแล้วจึงค่อยปฏิบัติ นี่แหละการออกพรรษาจะต้องมีประโยชน์มีคุณค่าอย่างนี้
ผู้สึกออกไปก็ดี ผู้ไม่สึกก็ดี ให้รู้จักประโยชน์ให้รู้จักคุณค่าอย่างนี้ เราก็อยู่สบาย อย่างฆราวาสเขาทำไม่เห็นเขากำหนดออกพรรษาในพรรษา เพราะว่าทำมาหากินอยู่เรื่อยไป พระของเราจะไปกำหนดอะไรแต่ในพรรษาค่อยทำ นอกพรรษาไม่ทำต้องทำเรื่อยไปล่ะสิ ผู้สึกหาลาเพศไปก็ดีให้มีธุระในพุทธศาสนาติดตามไปประจำตน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นศิษย์ในพระพุทธศาสนา สมกับคำว่า “บัณฑิต” คือว่า “ทิด” สึกออกมาเป็นทิด “ทิด” นั้นคือมาจากบัณฑิตนั่นเอง “บัณฑิต” คือผู้เฉลียวฉลาด คล่องแคล่วในพระธรรมวินัย สมควรแก่เรา ที่อยู่สามเดือน ให้รู้จักเข้าใจในพระธรรมวินัยพอสมควร ถึงขนาดนั้นเขาจึงเรียกว่า “ทิด” บางคนพอสึกออกไปแล้วไหว้พระก็ไม่ได้ อาราธนาศีลก็ไม่ได้ อาราธนาเทศน์ก็ไม่ได้ อาราธนาพระปริตก็ไม่ได้ มันก็หมดท่าสิ ถ้าอย่างนั้น ทิ้งหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่คนบวชในศาสนธรรม
ศาสนานี้ไม่ใช่พระพุทธองค์ทรงเทศน์ให้แต่พระเท่านั้นทำ อุบาสกอุบาสิกาก็ทำได้เหมือนกัน เอาละ
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
การปวารณามีประโยชน์มาก
วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖


* DSC02712 copy 2.jpg (350.48 KB, 900x566 - ดู 24 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 784

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 22 : Exp 72%
HP: 66.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #512 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2567, 06:15:53 »

เบื้องต้นปฏิบัติมันฟุ้งซ่าน จิตส่งไปในที่ต่างๆ เราพยายามรวมให้มันได้ พิจารณาให้เป็นเหตุผลเป็นเรื่องราวของมัน จิตจะไปในแง่ใดมุมใดก็ตาม ตั้งสติควบคุมดูแลมันอยู่ตลอดเวลา นานหนักเข้า เอาไปเอามามันก็ส่งไปเรื่องของเก่าไม่มีอะไรเป็นของใหม่ เมื่อเห็นเป็นของเก่ามันก็เบื่อ มันคลายออกไป ก็รวมลงเป็นอันหนึ่ง อันนั้นแหละเรียกว่า รวมเบื้องต้น
การปฏิบัติที่รวมเบื้องต้น นั้นเรียกว่าปฏิบัติรวมได้
คราวนี้การปฏิบัติเรื่องเหล่านั้นหลายเรื่องหลายอย่าง ชำระสะสาง ปล่อยวาง เว้นมันได้ เอาแต่สิ่งที่เราประสงค์ เรารู้จักในสิ่งนั้น เราต้องการสิ่งใด เราประสงค์สิ่งใด สิ่งที่ไม่เป็นศีลไม่เป็นธรรมเราก็รู้เรื่อง พิจารณาไปพิจารณามาลง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา หมดทุกสิ่งทุกอย่าง มันก็รวมลงไปอีกทีหนึ่ง อันนั้นมันเป็น รวมครั้งที่สอง
รวมครั้งที่หนึ่งมันไม่ชัด รวมครั้งที่สองมันชัด คือมันเห็นเหตุเห็นผลเพียงพอรวมครั้งต้นนั้นเพียงแต่ละเพียงแต่ทิ้งปล่อยวางเฉยๆ
รวมครั้งที่สองนั้น เห็นเหตุเห็นผลเรื่องราวของมัน ดี ชั่ว หยาบ ละเอียด สิ่งที่มันเป็นประโยชน์ตนประโยชน์คนอื่น รวมลงไปได้ อันนั้นเป็นรวมครั้งที่สอง รวมครั้งที่สุด คือ ปัญญามันเห็นแจ้งรู้จริง มันเบิกบาน ครั้นหากว่ามันรวมลงไปแล้ว จิตใจแจ่มแจ้งชัดเจนทุกสิ่งทุกประการไม่ใช่เป็นอนุโลม มันชัดเจนจริงๆ แจ้งชัดจริง อันนี้เป็นการ รวมครั้งที่สาม
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
หัดรวมให้ได้
พ.ศ. ๒๕๒๖


* DSC_7606 copy 4.jpg (540.07 KB, 700x1233 - ดู 24 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 784

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 22 : Exp 72%
HP: 66.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #513 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2567, 06:31:08 »

ที่ผมพูดถึงเรื่อง “ใจเป็นกลาง” เมื่อใจเป็นกลางแล้วมันเห็นความจริง ที่อารมณ์ภายนอกเกิดขึ้นมา เพราะว่าจิตเข้าไปยึดไปถือ เรียกหลายเรื่อง เรียกว่าจิต เจตสิก เรียกสังขาร วิญญาณ นามธรรมทั้งหลายล้วนแต่ออกไปจากใจทั้งนั้น เมื่อใจมันอยู่เป็นกลางๆ มันไม่มีอะไรทั้งหมด ถ้าหากใจไม่เป็นกลาง มันเอนไปทางซ้ายทางขวา เป็นอดีต อนาคต นั่นแหละมันจึงเกิดเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เลยลืมตัวของเรา เมื่ออารมณ์ทั้งหลายเข้ามาครอบงำ ก็ไปตามอารมณ์นั้น ลืมของเก่าหมด
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จิตเป็นกลางเป็นของสำคัญมาก
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑


* DSC02718 copy(700).jpg (606.35 KB, 700x1108 - ดู 18 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 784

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 22 : Exp 72%
HP: 66.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #514 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2567, 06:31:49 »

ความถืออันนั้นแหละเป็นต้นเหตุให้มีโลก โลกอันนี้มันเกิดขึ้นมาจากความถือ
ครั้นไม่ถือเสียแล้ว มันก็ลบล้างไปหมดทุกสิ่งทุกประการ ไม่เหลือหลอในจิตในใจของตน
อันนี้เราเรียกว่าลบล้างไปไม่มียึดไม่มีถือ ของอันนั้นไม่เป็นตนไม่เป็นตัว
จึงว่าเห็นก็สักแต่ว่าเห็น รู้ก็สักแต่ว่ารู้ ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยินได้ฟัง ไม่เป็นเรื่องเป็นราวต่อไป
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
สิ่งที่หลอกลวง
วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๘


* DSC02726 copy(700).jpg (456.08 KB, 700x979 - ดู 19 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 784

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 22 : Exp 72%
HP: 66.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #515 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2567, 10:31:13 »

พึงตั้งใจให้มั่น คำว่า “ตั้งใจมั่น” กับ “ตั้งจิตมั่น” มันต่างกัน จิตน่ะมันต้องหวั่นไหว เป็นธรรมดา ใจมันต้องมั่นคง จิตมันหวั่นไหวใจไม่หวั่นไหว ครั้นถ้าเข้าถึงใจไม่หวั่นไหว อารมณ์ทั้งปวงหมดมันกระทบเข้ามาทุกสิ่งทุกประการสิ่งแวดล้อมน่ะมันทำให้จิตหวั่นไหวอยู่ ตลอดเวลา มันจึงกระเทือนไม่เห็นตัวใจ
ให้พยายามรักษาใจให้ได้เสียก่อน ตั้งมั่นอยู่ที่ใจเสียก่อน แล้วค่อยพยายามดูเรื่องของจิต ที่มันออกไปนิดๆ หน่อยๆ ไปสู่อารมณ์ต่างๆ เป็นเรื่องของจิต จิตกับใจเป็นคู่กันอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา เมื่อเราจะระงับอารมณ์อะไรก็ตาม อารมณ์มันเกิดขึ้นนั่น มันมาจากของภายนอก มันเกิดมาจากภายนอกแล้วมากระทบจิต ให้จิตนั้นหวั่นไหว ถ้าหากเรากำหนดถึงใจแล้ว ไม่มีอะไรหรอก รู้เท่า รู้เรื่อง มันก็สงบอยู่ ความสงบนั้นให้รักษาให้มาก เราพยายามที่สุด
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วิธีชำระจิต
วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗


* DSC02751 copy 700.jpg (397.43 KB, 900x591 - ดู 11 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ตุลาคม 2567, 10:42:30 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 784

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 22 : Exp 72%
HP: 66.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #516 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2567, 10:44:31 »

มานะ คือความกระด้างถือตัว ทิฏฐิ คือความเห็น
มันเกิดขึ้นมานั่น มันมีอะไรอยู่ มานะทิฏฐิเข้าตัวแล้วไม่เห็นทั่วไป ถ้าเห็นเข้าตัวแล้วมันแข็ง ถ้าเห็นทั่วไปแล้วมันไม่แข็ง คือ เห็นสภาพของทุกคนว่า เป็นอยู่อย่างนั้นทั่วไปหมด เราเขาเหมือนกันทั้งนั้น การประพฤติปฏิบัติการเป็นอยู่ มันต้องเป็นไปด้วยกันทั้งหมด ทิฏฐิมานะ อันนั้นมีอยู่ทั่วไปหมด เพราะห้ามปรามไม่ได้.......
จึงว่าครั้นผู้ใดเข้าใจว่าตนพอแล้ว นั่นยังไม่พอ ผู้ใดเข้าใจว่าตนดีแล้ว นั่น ยังไม่ทันดี ถ้าหากเข้าใจว่าดีแล้ว คนนั้นเรียกว่ามานะเกิดขึ้นแล้ว........
การที่ละทิฏฐิมานะ ไม่มีอะไรต่างๆ ใจมันเฉยไม่มีอะไรนั่น ให้เข้าถึงสภาพอันเป็นจริง ของเฉย ความเฉยนั้นมันเฉยได้จริงอยู่นานไหม? ใจนั้นแต่มันยังไม่ทันรอบคอบรอบรู้ จึงต้อง พิจารณาชำระที่จิตนี่แหละ ให้มันเข้าถึงใจอยู่เสมอๆ ให้ชำนิชำนาญ มันจึงค่อยคล่องแคล่ว อันนั้นเป็นความสุขของเรา.......
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วิธีชำระจิต
วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗


* DSC_7614 copy.jpg (409.84 KB, 900x574 - ดู 13 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 33 34 [35]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!