middle spirit
|
|
« ตอบ #420 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2567, 05:37:15 » |
|
ทำความรู้เท่าอยู่ เห็นโทษในการที่จิตจะก้าวไปนั้น เห็นโทษในการที่จิตอยู่นี่ เห็นโทษทั้งหน้าและหลัง จึงปล่อยวางตรงนี้เรียกว่า ตัดกระแสจิตไม่ให้มันก้าวไปเกิด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #421 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2567, 07:24:58 » |
|
ผู้มีความละอายต่อบาป กลัวต่อบาป จะงดเว้นการทำชั่วทุกประการ เพราะระลึกอยู่ได้เสมอ จึงละอายและกลัวอยู่เสมอ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๙๐
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #422 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2567, 06:03:06 » |
|
จิตที่ฝึกฝนแล้วนั้น มันอยู่นิ่งสงบ นั่นแหละ เป็นความสุขอันยิ่งใหญ่ แต่คนไม่ชอบ หากมันพาวิ่งว่อน พาปรุงพาแต่ง พาคิดนึกส่งส่ายด้วยประการต่างๆ นั่นแหละ จึงค่อยชอบ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๙
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #423 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2567, 06:05:16 » |
|
เราเชื่อมั่นแล้วว่า เราทานในวันนี้เดี๋ยวนี้แหละ วันหนึ่งข้างหน้าเราต้องได้รับผล อานิสงส์ที่เราทำ พูดเข้ามาใกล้ๆอีกว่า ใจอิ่มเอิบเบิกบาน คือ บุญ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๖
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #424 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2567, 05:51:56 » |
|
ต่างคนต่างชำระใจ ของใครของมัน ก็หมดเรื่องกันไป แต่นี่ไม่ยอมชำระตน ไปชำระคนอื่น มันก็เลยยุ่ง หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๔
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #425 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2567, 05:56:59 » |
|
ตัวกรรมนั้นเป็นต้นเหตุ จะดับทุกข์ก็ต้องดับกรรม เมื่อไม่ทำกรรมคือ ใจไม่กระทำ มันก็หมดเรื่องกันไป มันก็ดับหมดเท่านั้นแหละ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือเล่มที่๗๐
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #426 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2567, 06:10:41 » |
|
เห็นใจของเรานั่นแหละ เป็นของสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเห็นใจของเรานี้ เป็นของเลิศประเสริฐ เป็นสิ่งที่ให้รู้จักเรื่องของตน ถ้าไม่เห็นใจของตนแล้ว ทำดี ทำชั่ว ก็ไม่รู้เท่านั้น หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมเล่มที่๘๙
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #427 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2567, 05:56:37 » |
|
#พุทธศาสนาสอนที่กายกับใจ แท้ที่จริงนั้น แก่นสารของพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์ ตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่จริง คำสอนของพระพุทธองค์ สอนของจริง ให้เห็นตามเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่าง พระพุทธเจ้าสอนให้เข้าใจตามเป็นจริง ว่า สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นจะด้วยกรรมวิธีใดๆ ก็ตาม เกิดขึ้นแล้ว มันไม่เที่ยง แปรปรวนไป เป็นทุกข์ เมื่อผู้มาพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเห็นจริงดังนี้แล้ว ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น เบื่อหน่าย ปล่อยวางในสิ่งเหล่านั้นได้แล้ว ย่อมมองเข้ามาเห็นจิตของตนผ่องใส คราวนี้เห็นจิตของตนแล้ว เมื่อเห็นจิตแล้ว มองดูเฉพาะจิตนั้น ไม่มองดูทุกข์ จิตนั้นก็เป็นอันหนึ่ง ทุกข์กลายเป็นอันหนึ่งของมันต่างหาก เมื่อมองลึกเข้าไปก็เห็นแต่ใจ คือมีอารมณ์อันหนึ่งของมันต่างหาก จะไม่เกี่ยวข้องด้วยอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น พุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ได้สอนที่อื่น นอกจาก “กายกับใจ” หลวงปู่เทสก์ เทสรํงสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #428 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2567, 06:12:23 » |
|
พุทธศาสนา ไม่ได้หมายเอาที่ พระ หมายเอาการปฏิบัติต่างหาก พระ นั้นอยู่ที่ บุคคล แต่ศาสนาไม่ได้อยู่ที่บุคคล ศาสนาเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลปฏิบัติผิด ก็เป็นเรื่องบุคคลผิดไม่ใช่ศาสนาผิด ศาสนาก็ยังสอนตรงไปตรงมาอยู่ตามเดิม สอนให้ละชั่วทำดีอยู่ตามเดิม แต่คนไม่ปฏิบัติตาม เมื่อเราปฏิบัติตามคำสอนไม่ได้ จะหาว่าศาสนาไม่ดีไม่ได้ นี่ ให้พิจารณาอย่างนี้ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #429 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2567, 06:38:40 » |
|
เป็นทุกข์เพราะความหิว ความไม่รู้จักพอ เมื่อความอิ่มพอของจิตใจเกิดขึ้นมาแล้ว ความสงบสุขของใจก็จะเกิดขึ้นมาทันที แล้วจะมองเห็นความเกิดดับของขันธ์ตามความเป็นจริง หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ รหัส 4 หน้า 113)
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #430 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2567, 06:25:41 » |
|
ทุกข์ที่เห็นในความสงบนั้น จิตมันสงบแล้ว จึงเห็นทุกข์ ที่เกิดอยู่ก่อน ต้องมีผู้เห็น อาการที่เห็น แล้วก็ทุกข์ที่เห็น ๓ อย่างประกอบกัน นี่เป็นปัญญา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๗
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #431 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2567, 06:45:01 » |
|
จิต สะอาดแท้ก็คือ จิตที่ปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด ยังเหลือแต่อันเดียว ซึ่งมีความรู้สึกเฉพาะมัน ผ่องใสแจ๋วอยู่คนเดียว จึงจะเรียกว่า จิตผ่องใส หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๕
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #432 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2567, 05:50:19 » |
|
ถ้าเรารักตนของเราอย่างแท้จริงแล้ว ก็ให้มีสติปกครองจิตไว้ ไม่ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ใส่ตัวเรา ก็เป็นคนดี มีทาน ศีล ภาวนา แสวงหาทางออกจากทุกข์ ถึงจะเป็นผู้รักตนอย่างแท้จริง หลวงปู่เทสก์ เทสรัสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๖
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #433 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2567, 05:51:38 » |
|
พุทธศาสนานี้กล่าวถึงเรื่อง การกระทำ เราฟังเฉยๆ ไม่กระทำตาม มันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย สิ่งที่มันบกพร่อง เราก็ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้น จึงจะถูกทางตามรอยของพระองค์ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๓
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #434 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2567, 06:18:34 » |
|
เอาชนะมานะ (ความถือตัว เย่อหยิ่ง)ด้วยการยอมถ่อมตัว อย่าถือตัวว่าตนเองเก่งเสมอไป ยอมรับเอาความคิดเห็น เหตุผลของคนอื่นมาไว้ค้นคิดพิจารณา เพราะคนเราแต่ละคนมิใช่ดีพร้อมด้วยกันทั้งหมด อาจจะดีไปคนละอย่าง และถูกไปคนละแง่ ทุกๆ คนทำ พูด คิดอะไรลงไปก็เข้าใจด้วยมานะของตนเอง ว่าสิ่งนั้นดีแล้ว ถูกแล้ว จึงทำ พูด คิด แต่สิ่งนั้นก็ยังไม่ดีไม่ถูกอยู่นั่นเอง ฉะนั้น มานะที่ขาดความรอบคอบจึงใช้ไม่ได้ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากพระธรรมเทศนาเรื่อง สงคราม 27 ส.ค. 2506
|
|
|
|
|