พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ) ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
23 พฤศจิกายน 2567, 14:56:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 37   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )  (อ่าน 443916 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 07:13:08 »

                         
                            พรรษา ๕๕-๕๖ สังขารนี้เป็นวัฏจักร (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๑)

                       สังขารร่างกายเป็นวัฏจักรมีการหมุนไปไม่มีที่สิ้นสุด แม้จิตใจของผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรมก็ต้องเป็นวัฏจักรด้วย    ผู้ที่ฝึกฝนแล้วจึงจะเห็นเป็นของเบื่อหน่าย     อย่างตัวของเราเมื่อออกจากหมู่ที่ภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๐๗     อยู่เฉยๆ  เสียงก็แหบแห้งจนจะพูดไม่ออกมาคราวนี้ก็อีกเหมือนกัน      หลังจากพวกพระนวกะ (นักศึกษาแพทย์ศิริราช) ที่มาอบรมศึกษาธรรมะเพิ่งกลับไป เราอาพาธเล็กๆ น้อยๆ แต่เสียงก็แหบแห้งไปเฉยๆ จนกระทั่งบัดนี้เสียงก็ยังไม่กลับเหมือนเดิม   คุณหมอโรจน์ สุวรรณสุทธิ   ได้นิมนต์ให้ไปตรวจสุขภาพทั่วไปที่ รพ.ศิริราช  เมื่อตรวจแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีโรคอันใด  นอกจากโรคชราเท่านั้น  วัฎจักรย่อมเป็นไปอย่างนี้ ทุกรูปทุกนามก็จะเป็นอย่างนี้ทั้งหมด จะต่างกันก็แต่อาการเท่านั้น
     

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ธันวาคม 2553, 14:09:13 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 07:13:22 »

                                          อุโบสถวัดหินหมากเป้ง
                      
                      

                     ในราว   พ.ศ. ๒๕๐๙   นายกอง  ผิวศิริ    อยู่บ้านโคกซวก   ตำบลพระพุทธบาทนี้   มีจิตศรัทธาสร้างพระประดิษฐานบนก้อนหินใหญ่  หันหน้าไปทางแม่น้ำโขง  ทำด้วยหินปูน  และทราย  ไม่ได้ผูกเหล็ก   โดยใช้หินก้อนใหญ่ที่หาเอาในบริเวณวัดนี้ผสมกับปูนและทรายก่อขึ้นเป็นองค์พระ  แกหาทุนทรัพย์และดำเนินการหาช่างมาก่อสร้างด้วยลำพังตนเอง เราไม่เกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างไร ทราบว่าสิ้นเงินไปราว ๑,๐๐๐.๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาท) ได้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางสะดุ้งมาร   ขนาดหน้าตักกว้างราว  ๔  เมตรเศษ   สูงตั้งแต่ฐานจรดยอดพระเกศราว  ๕ เมตรเศษ  แต่รูปร่างลักษณะก็มิได้งดงามอย่างนี้  เพราะช่างที่ว่าจ้างมานั้นเป็นช่างพื้นบ้านธรรมดาๆ ไม่มีความสามารถและชำนาญในการปั้นพระมากนักต่อมาเราได้หาช่างที่มีความสามารถมาตกแต่งแก้ไข  โดยเฉพาะพระพักตร์ตกแต่งแก้ไขอีกสองสามครั้งจึงสำเร็จเรียบร้อยสวยงามดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้   เสร็จแล้วเราได้สร้างศาลาครอบองค์พระไว้  โดยทุนของวัดและพระเณรช่วยกันทำเอง
                    ต่อมาทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา   เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓  เราจึงพิจารณาเห็นว่าวัดหินหมากเป้งแห่งนี้     นับว่าเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยสมบูรณ์     สมควรที่จะมีอุโบสถไว้เพื่อประกอบสังฆกรรมตามธรรมวินัย     เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาสืบไป    และเห็นว่าบริเวณที่ประดิษฐานพระองค์ใหญ่นั้น หากจะสร้างอุโบสถครอบไว้แล้วคงจะเหมาะสมดีนัก  เมื่อเสร็จแล้วจะได้ทั้งพระอุโบสถและพระประธานพร้อมกันทีเดียว
                    จึงได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์     เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕    โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร)  วัดพระศรีมหาธาตุ  บางเขน  กรุงเทพฯ  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  พลอากาศโท ชู สุทธิโชติ  เป็นประธานฝ่ายฆารวาส
                    อุโบสถหลังนี้ทำเป็นหลังคาสองชั้น     กว้าง  ๗  เมตร   ยาว  ๒๑  เมตร   สูงจากพื้นถึงเพดาน  ๙  เมตร มุงกระเบื้องดินเผากาบกล้วย โดยคุณไขศรี ตันศิริ กรมอนามัย เป็นผู้ออกแบบ อาจารย์เลื่อน พุกะพงษ์ แห่งกรมศิลปากร  เป็นผู้ออกแบบลวดลายต่างๆ  ตลอดจนแนะนำการก่อสร้าง นายไพบูลย์ จันทด   เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เฉพาะค่าแรงงานราคา ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)  น.ท.พูนศักดิ์ รัตติธรรม  เป็นผู้หาเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ทางกรุงเทพฯ   นายแสงเพ็ชร จันทด  เป็นเหรัญญิก  และหาอุปกรณ์ตลอดจนควบคุมการก่อสร้างโดยใกล้ชิด ทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้นประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาท)  ได้จากท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งสิ้น ได้จัดให้มีการฉลองอุโบสถ  ยอช่อฟ้า  ผูกพัทธสีมาตัดลูกนิมิต  เมื่อวันที่  ๕ - ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖  โดยมีเจ้าพระคุณ  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์)   เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และพลอากาศโท  ชู  สุทธิโชติ   เป็นประธานฝ่ายฆารวาสอีกเช่นกัน
                    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙   ได้ทำการซ่อมแซมเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาเป็นกระเบื้องซีแพคโมเนีย ทำช่อฟ้าใบระกาคันทวยหางหงส์   ทำลวดลายปูนปั้นซุ้มประตู หน้าต่าง บัวหัวเสา  กำแพงแก้วรอบอุโบสถ  ทาสีทั้งภายในและภายนอก  สิ้นทุนทรัพย์ ๔๕๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
                    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕   ได้ทำการปิดทองพระประธานองค์ใหญ่สิ้นทุนทรัพย์อีก  ๒๙๙,๕๐๐๐.๐๐  บาท   (สองแสนเก้าหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)

                                                       มณฑปแห่งวัดหินหมากเป้ง

                    

                    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕  เราได้พิจารณาเห็นว่า   สถานที่ตรงริมแม่น้ำโขงนี้เป็นทำเลเหมาะ  คิดอยากจะสร้างมณฑปขึ้นสักหลังหนึ่ง  ให้มีลักษณะเป็นศิลปะแห่งลุ่มแม่น้ำโขง
                    เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานสิ่งสักการบูชา มีพระพุทธรูปพระบรมสารีริกธาตุเป็นอาทิ นอกจากนั้นเราได้แอบนึกปรารภไว้ในใจว่าเพื่อความไม่ประมาท  หากเรามีอันเป็นไปก็จะได้ไม่ต้องเป็นภาระให้คนอยู่หลังจัดหาที่เก็บกระดูกของเราให้ยุ่งยากไปด้วย
                    เราได้ปรารภความประสงค์การจัดสร้างมณฑปนี้แก่บุคคลเป็นจำนวนมาก      แต่ในที่สุดเรื่องนั้นจำต้องเงียบหายไป   เพราะไม่มีทุนทรัพย์
                    ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๐  คุณประพัฒน์ เกษสอาด ได้มาเยี่ยมที่วัด เราได้ปรารภเรื่องนี้อีก คุณประพัฒน์เกิดความสนในเห็นดีด้วย  ได้รับอาสาว่าจะเขียนแบบแปลนตัวมณฑปมาให้ดู   เมื่อคุณประพัฒน์เขียนแบบโครงร่างมณฑปเสร็จแล้วก็นำไปปรึกษาคุณประเวศ ลิมปรังสี ผู้อำนวยการกองหัตถศิสป์แห่งกรมศิลปากรให้ช่วยพิจารณาตกแต่งแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ของตัวมณฑป   คุณประเวศ   เป็นผู้ที่สันทัดกับศิลปกรรมแห่งลุ่มแม่น้ำโขงผู้หนึ่งในปัจจุบันนี้   ได้ให้ความสนใจช่วยเหลือด้วยความยินดียิ่งและในโอกาสต่อมาก็เป็นผู้รับออกแบบตรวจตราแก้ไขเพิ่มเติมงานก่อสร้างมณฑป ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสำเร็จสมบูรณ์  รวมทั้งการตกแต่งภายในด้วย
                    เมื่อแบบแปลนมณฑปเสร็จเรียบร้อยแล้ว   คุณประพัฒน์ได้นำมาให้ดู    นับว่าเป็นแบบมณฑปที่งดงามสง่าน่าดูหลังหนึ่งทีเดียว     แต่ยังมิได้คำนวณเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก    จึงได้นำแบบแปลนกลับไปดำเนินงานต่อแล้วก็หายเงียบไปอีกครั้งหนึ่ง  เป็นระยะเวลานานพอสมควร  จนคิดว่าคงจะไม่สำเร็จเสียแล้ว  เราจึงได้ตัดสินเลิกล้มความคิดที่จะทำเสีย
                    ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๒   คุณประพัฒน์  ได้มาพบเราในระยะที่เงียบหายไปนั้น  เธอได้นำแบบไปให้วิศวกรช่วยคำนวณโครงสร้างคอนกรีตของตัวอาคารอยู่  และในเวลาเดียวกันก็ได้พยายามหาผู้มาช่วยคำนวณพื้นฐานรากด้วย  เมื่องานยังไม่เสร็จจึงยังไม่ได้มาแจ้งเรื่องราวให้ทราบ  เธอขอดำเนินการต่อไป
                    เมื่อนายแพทย์วันชัย พงศ์พิพัฒน์   แห่งโรงพยาบาลพระพุทธบาท   จังหวัดสระบุรี   ผู้เคยมาบวชและจำพรรษาที่วัดหินหมากเป้งนี้     เมื่อทราบเรื่องเข้าก็ถวายเงินให้ไว้สองแสนบาทเพื่อเริ่มต้นงานก่อสร้าง   และภายหลังยังได้ถวายเพิ่มอีกหนึ่งแสนบาท
                    ตัวมณฑปเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ ๓ ชั้น ความกว้าง x ยาววัดได้ ๑๓ x ๑๓ เมตร ส่วนสูงประมาณ ๓๖ เมตร  ได้อาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายร่วมกันพิจารณาและดำเนินการ กล่าวคือ งานด้านสถาปนิกและศิลปกรรม   คุณประพัฒน์และคุณประเวศเป็นผู้ควบคุมดูแล  งานด้านโครงสร้างอาคารซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมดนั้น  ร.อ.ชัยชาญ ภิญญาวัธน์ ร.น.   เป็นผู้คำนวณให้ ส่วนความมั่นคงของฐานรากของมณฑปหลังนี้ ซึ่งมีความยากลำบากเป็นพิเศษ   เพราะพื้นฐานรากทั้งหมดของตัวอาคารต้องสร้างลงบนดินตลิ่งที่ลาดชันของฝั่งแม่น้ำโขง  จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ   การนี้ ศาสตราจารย์  ดร.ชัย มุกตพันธุ์  ได้รับภาระมาตรวจสอบพื้นที่และชั้นหินต่างๆ แล้วออกแบบกำหนดฐานรากอาคารให้ทั้งหมด ทั้งๆ ที่ท่านมีงานรัดตัวอยู่มากมาย ก็ยังหาโอกาสปลีกตนและเวลามาเป็นธุระให้ด้วยความยินดี  น่าอนุโมทนาในกุศลจิตของท่าน
                    ผู้ทำการก่อสร้างคือ  คุณประมุข บรรเจิดสกุล  แห่งบริษัท ป.ว.ช. ลิขิตการสร้าง  ได้ช่วยเหลือถือเสมือนเป็นการก่อสร้างของตัวเอง         มีสิ่งใดไม่ดีไม่เหมาะก็พยายามแก้ไขดัดแปลงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ       แม้ว่าจะอยู่นอกรายการข้อผูกพันสัญญาก็ตาม     การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นได้     การทำสัญญาการก่อสร้างฉบับแรกเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒  และฉบับที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ปีเดียวกันในราคาการก่อสร้างทั้งสิ้น ๒,๗๑๖,๙๑๓ (สองล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นหกพันเก้าร้อยสิบสาม)    นี้เป็นราคาเริ่มแรกภายหลังต่อมาได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมรายการต่างๆ       เพื่อความเรียบร้อยสวยงามและเหมาะสมขึ้นไปอีกเมื่อรวมเบ็ดเสร็จแล้วค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณหกล้านบาท
                   เมื่อการก่อสร้างเริ่มขึ้น     ก็มีผู้มีจิตศรัทธาถวายปัจจัยร่วมการก่อสร้างมาโดยลำดับ     คุณกษมา  (ตุ๊) ศุภสมุทร  ถวายหนึ่งแสนบาท  คณะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  และบริษัทการบินไทย   ได้ร่วมกันทอดกฐินสามัคคี ปี ๒๕๒๒  เพื่อหาปัจจัยสร้างมณฑปได้เงินหกแสนสี่หมื่นบาท กรมการศาสนาอนุมัติเงินอุดหนุนสองแสนห้าหมื่นบาท  และเมื่อการก่อสร้างดำเนินมาจนปรากฏเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้ว ก็มีผู้ศรัทธามาจากทั่วทุกสารทิศ เป็นรายบุคคลบ้าง เป็นคณะบ้าง มาได้เห็นการก่อสร้างก็เกิดจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบทุนการก่อสร้างเป็นอันมาก   จนเหลือที่จะกล่าวนามท่านเหล่านั้นได้ในที่นี้ได้หมดสิ้น    ผู้ที่ร่วมบริจาคมากที่สุดและเป็นกำลังสำคัญเห็นจะเป็น คุณธเนตร เอียสกุล ได้บริจาควัสดุอุปกรณ์และเงินสด ซึ่งเมื่อคิดรวมทั้งหมดแล้วก็เป็นมูลค่ามากกว่าหกแสนบาท  นับว่าเป็นกำลังอันสำคัญผู้หนึ่งทีเดียว
                    มณฑปหลังนี้   นับว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ค่อนข้างพิเศษ   กล่าวคือ    ได้รับการเอาใจใส่และเลือกสรรอย่างพิเศษทุกขั้นตอน เริ่มแต่การเลือกตำแหน่งสถานที่ก่อสร้าง ซึ่งจะเห็นว่าเป็นจุดที่เด่นและเหมาะสม เมื่อมองจากภายในอาคารสามารถเห็นทิวทัศน์โดยรอบ ไม่มีจุดอับ การออกแบบรูปทรงของอาคารเป็นมณฑป  ซึ่งมีความงดงาม มีลักษณะพิเศษ  เป็นศิลปะแห่งลุ่มแม่น้ำโขงโดยเฉพาะ โครงสร้างตลอดจนฐานรากสร้างอย่างแข็งแรงเป็นพิเศษ  ทั้งนี้ด้วยความมุ่งหมายจะให้เป็นถาวรวัตถุเป็นปูชนียสถานอันมั่นคงไว้ชั่วกาลนาน
                    พระพุทธรูปประธานราคา ๙๕,๐๐๐ บาท  บริษัท ป.ว.ช. ลิขิตการสร้าง  และคุณจวบจิต รอดบุญ  คุณโรส บริบาลบุรีภัณฑ์  และคณะ  ออกคนละครึ่ง  เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างงดงามสมส่วนในลักษณะศิลปะร่วมสมัย  โดยปฏิมากรผู้ชำนาญแห่งกรมศิลปากร มีความสง่างามและมีความนุ่มนวลเป็นพิเศษ ผิดไปจากพระพุทธรูปตามวัดหรือปูชนียสถานอื่นๆ
                    ชุกชีที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป พร้อมทั้งเครื่องประดับประดาตกแต่งทั้งหมด  น.พ.แสวง วัจนะสวัสดิ์ และญาติมิตรเป็นผู้ถวายค่าก่อสร้าง  เป็นเงินสี่แสนสองหมื่นห้าพันบาท
                    ความพิเศษสุดท้าย   ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นความพิเศษยอดสุดก็คือว่า มณฑปหลังนี้สำเร็จเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ก็ด้วยแรงศรัทธาล้วนๆ ทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมด  มาจากการบริจาคด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ของสาธุชนทั้งหลาย  โดยที่ทางวัดไม่ได้มีการเรี่ยไรหรือออกฎีกาบอกบุญแต่อย่างใดเลย  นับว่าเป็นความพิเศษอย่างยิ่งออกที่จะมีได้ในยุคปัจจุบันนี้
                    นับตั้งแต่ริเริ่มมา จนกระทั่งสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ลงได้ในที่สุด ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากคนหลายฝ่าย ซึ่งต่างก็มาร่วมมือร่วมใจกันด้วยความยินดี เต็มอกเต็มใจ ทั้งนี้เพราะทุกคนที่เราได้กล่าวนามถึงก็ดี ไม่ได้กล่าวนามก็ดี  ต่างก็มีศรัทธาตรงกัน  จึงได้มาร่วมกันทั้งกำลังทรัพย์ ทั้งกำลังกาย กำลังปัญญา  ความคิดอันเป็นเหตุผลักดันให้เกิดมณฑปที่ทรงความสง่าเป็นเอก      ยากที่จะมีอาคารหรือปูชนียสถานอื่นในสมัยนี้ทัดเทียมได้ สมควรที่สาธุชนทั้งหลายจะได้มีความภาคภูมิใจ  เราปลื้มปีติในกุศลเจตนา และขออนุโมทนาในส่วนกุศลอันเกิดจากศรัทธาของท่านทุกผู้ทุกคน
                    อนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ทำการซ่อมแซมทาสีภายนอกใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งปิดทองแต่สันหลังคาขึ้นไปจรดยอดมณฑปสิ้นทุนทรัพย์อีก  ๓๓๗,๗๕๐.๐๐  บาท   (สามแสนสามหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)    ซึ่งก็ได้จากศรัทธาของท่านสาธุชนทั้งหลายที่พร้อมใจกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและเป็นอนุสรณ์แก่เราผู้สร้างซึ่งมีอายุครบ ๙๐ ปีบริบูรณ์  เมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕ นั้นด้วย

  
                                                                 ศาลาเทสรังสี

                    

                    ปฐมศาลาของวัดหินหมากเป้งเป็นศาลาโรงฉันย่อมยกพื้นสูง  เสาไม้  พื้นปูไม้กระดาน   ฝาใช้ไม้ไผ่ขัดแตะ หลังคามุงด้วยสังกะสี มีสภาพไม่คงทนถาวร  เมื่อเราได้มาพักอยู่ที่นี้ได้ในราวสองปี ญาติโยมทางกรุงเทพฯ ก็เดินทางมาที่แห่งนี้มากขึ้น  เมื่อได้มาพบเห็นสถานที่แล้วชอบใจเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงร่วมใจกันหาเงินมาก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่แทนศาลาหลังเดิมซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว
                    ศาลาการเปรียญที่ก่อสร้างขึ้นนั้น   มีลักษณะเป็นเรือนไม้ทรงไทย   สองชั้น  ขนาดกว้าง ๑๑ เมตร  ยาว ๑๗ เมตร      โดยใช้แรงงานของพระภิกษุสามเณรช่วยกันก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่      สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๐  ค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๘๔,๗๖๓.๐๐ บาท (แปดหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยหกสิบสามบาทถ้วน) และได้ให้นามศาลาหลังนั้นว่า  "ศาลาเทสก์ประดิษฐ์"
                    กาลเวลาล่วงเลยมาโดยลำดับ  ญาติโยมจากทางกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ได้พากันมาที่วัดหินหมากเป้งนี้มากขึ้น   กอปรด้วยการคมนาคมสะดวกขึ้น   เพราะทางราชการได้ตัดถนนผ่านหน้าวัด   พระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา  ที่มาอยู่พักจำพรรษารักษาศีลปฏิบัติภาวนา ทั้งที่มาอยู่ประจำและมาพักเป็นครั้งคราวก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาศาลาการเปรียญที่มีอยู่จึงไม่สามารถจะต้อนรับญาติโยมอุบาสกอุบาสิกาได้เพียงพอ  ประกอบกับศาลาเทสก์ประดิษฐ์ก็ชำรุดทรุดโทรม  เนื่องจากปลวกกัดกินจนเสียหายเป็นบางส่วน   อาจจะไม่ปลอดภัยและอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ในภายหน้า  คณะกรรมการวัดหินหมากเป้งจึงได้มาปรึกษาหารือกันกับเรา   และมีความเห็นพ้องตรงกันว่าควรจะสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ให้กว้างขวางและคงทนถาวรขึ้นกว่าเดิม  เพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจสืบต่อไป
                   ศาลาการเปรียญหลังใหม่นี้ได้สร้างขึ้นที่เดิม       โดยรื้อศาลาหลังเก่าออกเสีย       มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น  ขนาดกว้าง ๒๓.๐ เมตร ยาว ๔๔.๐ เมตร  ชั้นบนภายในตัวอาคารเป็นห้องโถงตลอด ปูพื้นด้วยไม้ปาร์เก้  กั้นฝาโดยรอบด้วยกระจกกรอบอะลูมิเนียม พร้อมทั้งติดประตูหน้าต่างโดยรอบ  ระเบียงและชานศาลารอบตัวอาคารปูพื้นด้วยหินอ่อน  ชั้นล่างเป็นห้องโถงตลอด  ปูพื้นด้วยหินอ่อนทั้งหมด  ชานพักบันไดและขั้นบันไดทำด้วยหินกรวดล้าง
                   การออกแบบโดย  อาจารย์สาคร พรหมทะสาร   แห่งวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย  ทำสัญญาจ้างเหมาแรงงานกับ  นายกองศรี แก้วหิน  เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๒๘  โดยทางวัดเป็นผู้จัดหาวัสดุก่อสร้างทั้งหมด   การก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาเมื่อวันที่  ๒๕  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๙    ค่าก่อสร้างทั้งศาลาการเปรียญและหอระฆัง   เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  ๗,๖๙๓,๙๒๖.๕๒ บาท  (เจ็ดล้านหกแสนเก้าหมื่นสามพันเก้าร้อยยี่สิบหกบาทห้าสิบสองสตางค์) เสร็จแล้วได้ขนานนามศาลาหลังนี้ว่า  "ศาลาเทสรังสี พ.ศ. ๒๕๒๙"
 
                                                                     จิตกรรมฝาผนัง

                  

                    ภายหลังบรรดาศิษยานุศิษย์ได้มีจิตศรัทธา จะให้มีการวาดภาพจิตกรรมฝาผนังบนผนังศาลาการเปรียญชั้นบน  จึงได้ว่าจ้างช่างเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังด้วยสีน้ำมันอย่างดี  ช่วงกลางเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนประสูติ  เสด็จออกบรรพชา ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์  และเสด็จดับขันธปรินิพพาน  ช่องด้านขวามือเป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับวัดหินหมากเป้ง ด้านซ้ายมือเป็นภาพพระธาตุพนม และเรื่องราวประเพณีท้องถิ่นภาคอีสาน  โดยทำสัญญาจ้างกับ นายสามารถ ทองสม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐  ในราคา ๖๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)  กำหนดแล้วเสร็จภายใน ๑๒ เดือน  ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมของคุณไข่มุกด์ ชูโต

                                                                       หอระฆัง

                    

                    ต่อมาได้สร้างหอระฆังไว้ตรงมุมศาลาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ    โดยการก่อสร้างหอระฆังดังกล่าวนั้น  คุณธเนตร เอียสกุล   มีจิตศรัทธาบริจาคค่าแรงงานในการก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญาจำนวน ๓๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) และได้หล่อระฆังมาถวายอีกด้วยในราคา ๖๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)

                                                                  หอสมุดวัดหินหมากเป้ง

                    

                    หอสมุดเดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว  ตั้งอยู่ตรงอาคารหอสมุดหลังปัจจุบันนี้   เมื่อทางวัดได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญใกล้จะแล้วเสร็จตามสัญญา  เราได้พิจารณาเห็นว่าควรจะสร้างอาคารหอสมุดขึ้นใหม่ ให้มีสภาพสอดคล้องกับศาลาการเปรียญ   ก็ได้รับความช่วยเหลือด้วยดีจาก  คุณชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว  แห่งบริษัท ดีไซน์ ๑๐๓ จำกัด กรุงเทพฯ ช่วยออกแบบแปลนให้  มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น  ขนาดกว้าง ๑๒.๓๐ เมตร  ยาว ๑๓.๐๐ เมตร  หลังคาทรงไทยแบบสามมุข มีหน้าบันทำลวดลายปูนปั้นทั้งสามด้าน ทำสัญญาจ้างเหมาแรงงานกับ นายกองศรี แก้วหิน   เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘  โดยทางวัดเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมด     แล้วเสร็จตามสัญญา    เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙      สิ้นค่าก่อสร้างจำนวน ๗๒๕,๐๕๔.๖๓ บาท  (เจ็ดแสนสองหมื่นห้าพันห้าสิบสี่บาทหกสิบสามสตางค์)

                                                                           หอกลอง

                      

                    เมื่องานก่อสร้างหอสมุดเสร็จเรียบร้อยตามสัญญาแล้ว  คุณธเนตร เอียสกุล  ผู้มีศรัทธากล้าแข็งคนหนึ่ง ได้ปวารณาขออนุญาตต่อเรา   ขอเป็นเจ้าภาพสร้างหอกลอง   พร้อมกับจัดหากลองขนาดใหญ่มาถวาย    เพื่อให้เป็นคู่กันกับหอระฆังสมบูรณ์แบบตามประเพณีนิยม    ประกอบกับศรัทธาญาติโยมทางจังหวัดสกลนคร   จังหวัดกาฬสินธุ์   จังหวัดมุกดาหาร   และบ้านขัวสูง  มีจิตศรัทธาสร้างโปงขนาดใหญ่มาถวาย  เราจึงได้ออกแบบและว่าจ้างให้ช่างมาทำหอกลองขึ้น   ชั้นบนเป็นที่ตั้งกลอง  ชั้นล่างเป็นที่แขวนโปง  สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๖๕,๐๐๐.๐๐ บาท (หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  คุณธเนตร   รับเป็นเจ้าภาพออกเงินทั้งหมด

                                                                       กุฏิเสนาสนะ

                    

                    

                    

                    
            
                    

                    

                     กุฏิเสนาสนะที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร       ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ต้องจัดให้มีขึ้นตามความเหมาะสม  กุฏิที่สร้างขึ้นแต่แรกมาอยู่ใหม่ๆ เพียงไม่กี่หลัง  บางหลังก็ชำรุดทรุดโทรมจำเป็นต้องซ่อมแซม หรือรื้อทำเสียใหม่ให้ถาวรก็มีขณะเดียวกันก็สร้างเพิ่มเติมขึ้นมาอีกด้วย     เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของพระภิกษุสามเณรที่เพิ่มขึ้น
                     กุฏิในวัดหินหมากเป้งส่วนใหญ่เป็นกุฏิทรงไทยขนาดเล็กใหญ่ตามความเหมาะสม   ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากศรัทธาของญาติโยมทั้งหลายมาปลูกสร้างถวายคนละหลังสองหลัง       บางท่านถึงสามหลังก็มี        เพื่อหวังประโยชน์แก่พระภิกษุสามเณรจะได้อยู่พักจำพรรษา          และผู้ที่สนใจในการปฏิบัติก็มาขอปลูกบ้านพักเพื่ออยู่ภาวนาบำเพ็ญเพียร  จนปัจจุบันนี้มีกุฏิถาวรสำหรับพระภิกษุสามเณรจำนวน ๕๖ หลัง   บ้านพักชีและบ้านพักญาติโยมจำนวน ๓๗ หลัง   ศาลาแม่ชี   โรงครัว   ห้องน้ำห้องส้วม     ถังน้ำประปาขนาดใหญ่สำหรับจ่ายน้ำใช้ทั่วทั้งวัด เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเมื่อประมาณราคาแล้วมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท
                    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖   นายบุญ สกุลคู   พร้อมด้วยญาติมิตรได้มีจิตศรัทธาสร้างอาคารมอบถวายเป็นอาคารเรียนนักธรรมแก่พระภิกษุสามเณรที่อยู่จำพรรษา        เป็นอาคารชั้นเดียวหนึ่งหลัง        สิ้นเงินค่าก่อสร้างในราว ๓๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
 
                                                                        กำแพงวัด

                    

                     นับแต่เราได้มาอยู่ที่วัดหินหมากเป้งตั้งแต่  พ.ศ.๒๕๐๘    การพัฒนาวัดและการก่อสร้างถาวรวัตถุก็ค่อยเจริญเป็นมาโดยลำดับ    ด้วยแรงศรัทธาของบรรดาศิษยานุศิษย์และญาติโยมทั้งหลาย    ขณะเดียวกันก็ซื้อที่ดินขยายอาณาเขตของวัดเพิ่มขึ้นอีกด้วย  ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ นายสรศักดิ์ สร้อยสนธ์ (นายอำเภอศรีเชียงใหม่ขณะนั้น) ได้ช่วยเป็นธุระติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน       เพื่อขอเอกสารสิทธิต่อทางราชการถูกต้องตามกฏหมายจนสำเร็จเรียบร้อยตามประสงค์ ปรากฏตามหลักฐานหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) เลขที่ ๐๐๐๑ เล่มที่ ๑ ก.หน้าที่ ๐๑ ออกให้เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เนื้อที่ ๒๖๑ ไร่ ๒ งาน ๙๒ ตารางวา  นับว่าเป็นสถานที่แห่งแรกและแห่งเดียวในเขตพื้นที่นี้ที่ได้รับเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฏหมาย
                     เราจึงพิจารณาเห็นว่าวัดหินหมากเป้งก็มีการพัฒนาเจริญขึ้นมากแล้ว บ้านเมืองโดยเฉพาะหมู่บ้านใกล้เคียงก็เจริญขยายกว้างขวางขึ้นโดยลำดับ    สมควรที่จะกำหนดเขตแดนของวัดให้เป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากให้ชัดเจน  จึงได้ขอความร่วมมือไปยังสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) จังหวัดหนองคาย   ก็ได้รับความร่วมมือด้วยดีจาก  คุณวรพจน์ ธีระอำพน   หัวหน้าสำนักงานในด้านการออกแบบการปรับปรุงพื้นที่เตรียมการก่อสร้างและทำถนนดินรอบแนวกำแพงหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้ว โดยได้ส่งช่างผู้ชำนาญงานมาคอยดูแลช่วยเหลือตลอดจนงานแล้วเสร็จ
                    ทำสัญญาจ้างเหมาทั้งแรงงานและวัสดุอุปกรณ์กับนายกองศรี แก้วหิน เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ด้านหน้าจากประตูใหญ่ไปจนสุดเขตแดนทางทิศตะวันตก  ความยาว ๖๕๔ เมตร   ทางทิศตะวันตกทำไปจนจรดริมแม่น้ำโขง ความยาว ๕๓๓ เมตร รวมค่าก่อสร้างทั้งสองด้านเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑,๖๑๓,๓๒๐.๐๐ บาท (หนึ่งล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
                    อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔   ได้สร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้านหน้าวัดจากซุ้มประตู ไปจนจรดแม่น้ำโขงทางด้านทิศใต้ ความยาวประมาณ ๖๕๐ เมตร สิ้นทุนทรัพย์อีก ๑,๐๙๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งล้านเก้าหมื่นบาทถ้วน)


thxby292uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ธันวาคม 2553, 15:26:04 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 07:13:41 »

                                                     ถวายพระราชกุศล

                       หลังจากการก่อสร้างศาลาการเปรียญ  หอสมุด  หอระฆัง  หอกลอง    และกำแพงวัดเสร็จเรียบร้อยตามประสงค์     เราเห็นว่าถาวรวัตถุเหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยแรงศรัทธาของญาติโยมทั้งหมดเมื่อการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย  ก็จำเป็นที่ควรจะมีการฉลองเพื่อประกาศให้ท่านผู้มีส่วนช่วยเหลือในการนั้นๆ ได้ทราบถึงความสำเร็จ และได้ร่วมอนุโมทนากุศลบุญโดยพร้อมเพียงกันประกอบกับในปี พ.ศ. ๒๕๓๐    ซึ่งชาวไทยทั้งหลายถือว่าเป็นโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ   ของปวงชนชาวไทยทั้งหลายทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ  ๕ รอบ จึงได้กำหนดการฉลองถาวรวัตถุเหล่านั้นในวันที่  ๒๕- ๒๖  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๓๐      ซึ่งเป็นวาระที่เรามีอายุครบ ๘๕  ปีบริบูรณ์และได้ทำพิธีถวายพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พร้อมกันทีเดียว   ในการนี้มีพระเทพวราลังการ (ศรีจันทร์ วัณณาโภ)  รองเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธ) วัดศรีสุธาวาส  จังหวัดเลย    เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ มีวรรณดิษฐ์)   เจ้าคณะภาค ๙ (ธ) วัดศรีเมือง   จังหวัดหนองคาย พระเทพเมธาจารย์ รองเจ้าคณะภาค ๘ (ธ) โพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี พระภาวนาพิศาลเถระ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา และพระเถรานุเถระทั้งหลายฝ่ายฆารวาสมี พล.อ.อ.หะริน หงสกุล เป็นประธานในพิธีนำถวายถาวรวัตถุเหล่านั้น     และนำถวายพระราชกุศล    ได้รับความกรุณาจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  (เจริญ สุวัฑฒโน) วัดบวรนิเวศ   กรุงเทพฯ   ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร ทรงแต่งคำถวาย
                      นอกจากการก่อสร้างเป็นการตอบแทนบุญคุณของพระพุทธศาสนา    สำหรับในวัดหินหมากเป้งที่เราได้อาศัยร่มเงาอยู่มาเป็นเวลากว่ายี่สิบปีดังกล่าวแล้ว  ทรัพย์ที่ญาติโยมมีศรัทธาบริจาค  ปวารณาถวายเป็นการส่วนตัวแก่เราก็ยังมีเหลือพออยู่อีกเฉลี่ยให้แก่วัดอื่นๆ ได้เราก็เฉลี่ยไป เพื่อก่อสร้างถาวรวัตถุให้เป็นการทนุบำรุงพระพุทธศาสนาพร้อมกันนั้นมีญาติโยมมารายงานถึงความจำเป็นที่ควรต้องช่วยด้านสาธารณประโยชน์ต่างๆ    อันมีกิจการโรงเรียนหรือโรงพยาบาล  เป็นอาทิ  เราก็ช่วยเหลือเจือจานไปตามกำลังความสามารถ  เพื่อประโยชน์แก่สถานที่นั้น และเพื่อประโยชน์ของผู้บริจาคเงินปวารณาถวายทานแก่เราแต่เบื้องต้นด้วย
                      การก่อสร้างทั้งหมดโดยสรุปใจความมานี้   ย่อมเป็นการยุ่งยากแก่ผู้กระทำอย่างยิ่ง  โดยส่วนมากผู้ที่จะทำไม่ค่อยสำเร็จก็เพราะขาดทุนทรัพย์และศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดคุณธรรมประจำตัว เมื่อทำเสร็จก็ดีอกดีใจ     เมื่อทำไม่สำเร็จก็ตีอกชกหัววุ่นวายไปหมด   แต่สำหรับเราที่กระทำมาทั้งหมดนั้นไม่รู้สึกอะไรเลย สำเร็จก็ช่าง ไม่สำเร็จก็ช่าง ใจมันเฉยๆ อยู่
                      การกระทำสิ่งใดๆ  เราถือว่าเป็นสักแต่ว่าทำเพื่อกิจพระศาสนา  ปัจจัยที่ทำก็ไม่ใช่ทุนทรัพย์ของตน   เป็นของศรัทธาญาติโยมชาวบ้านทั้งหมด   เมื่อทำสำเร็จไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา   และเป็นบุญกุศลแก่ญาติโยมทั้งหลาย   การจะทำอะไรก็ไม่ต้องบอกบุญเรี่ยไร   การบอกบุญเรี่ยไรเป็นการจู้จี้ทำให้เขารำคาญเบื่อหน่าย
                      การที่เราได้กระทำไปจนสำเร็จทุกรายการนั้น     ก็ด้วยทุนทรัพย์ที่ญาติโยมจากจตุรทิศทั้งสี่     จากต่างประเทศก็มีได้มาปวารณาถวายไว้    ในส่วนที่ปวารณาถวายเป็นกฐิน  ผ้าป่า สังฆทาน ค่าภัตตาหาร ค่าไฟฟ้า น้ำประปานั้น ได้รวบรวมไว้เป็นทุนทรัพย์ของทางวัดโดยเฉพาะ  ใช้เฉพาะในกิจการของวัดหินหมากเป้งเท่านั้น ในส่วนที่ปวารณาถวายเป็นการส่วนตัวแล้วแต่เราจะใช้ในกิจการใดตามอัธยาศัย   ตั้งแต่หนึ่งบาท สิบบาท ร้อยบาท พันบาท   หมื่นบาท   แสนบาท   ตามกำลังทรัพย์และศรัทธานั้น       เมื่อเห็นว่ามีจำนวนมากพอสมควรที่จะสร้างถาวรวัตถุเพื่อสาธารณประโยชน์  จึงได้นำไปใช้ในกิจการที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนทุนทรัพย์ก็ไม่เห็นขาดตกบกพร่อง  ศรัทธาความเชื่อมั่นในกิจการงานของตนก็ตั้งมั่นดิบดี ส่วนคุณธรรมของตัวเองก็ไม่เสื่อมถอย  กระทำมาโดยเรียบร้อย  สาธุ สาธุ สาธุ   เรื่องเหล่านี้เป็นเพราะบุญกุศลที่เราได้เคยกระทำมา   จึงสำเร็จเรียบร้อยด้วยดีโดยประการทั้งปวง  ดังกล่าวแล้ว
                    เราเองหาเงินไม่เป็นเลยแม้แต่สตางค์เดียว       ญาติโยมจากจตุรทิศทั้งสี่มามอบถวายทำบุญไว้     เราเลยกลายเป็น  "พระคลังสมบัติ"  ของพุทธบริษัท ที่มาบริจาคทำบุญในพระพุทธศาสนาไปเลยทีเดียว
                     "พระคลังสมบัติ" ของพุทธศาสนิกชนที่บริจาคปัจจัยทำบุญถวายไว้ในพระพุทธศาสนานี้ เป็นการยากมากแก่ผู้บริหาร  เพราะลูกค้า (ผู้ถวาย)  ไม่มีสมุดบัญชีบันทึกไว้  เป็นแต่พระคลังสมบัติมีไว้ฝ่ายเดียว เหตุนั้นจึงเป็นการยากที่จะบริหาร แต่การบริหารก็ได้เป็นไปแล้วด้วยความเรียบร้อย กล่าวคือเมื่อมีเงินทุนมากพอสมควรที่จะสร้างสิ่งใดได้  จะเป็นอุโบสถ ศาลาการเปรียญ  อาคารเรียน หรือสิ่งใดก็ดี  ก็จะถอนทั้งเงินทุนและดอกเบี้ยมาใช่จ่ายให้จนหมดเกลี้ยง  ไม่เหลือหลอแม้แต่สตางค์เดียว   ผู้จะเป็นนายพระคลังสมบัติบริหารทุนทรัพย์ของพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญนี้  ถ้าหากไม่เชื่อฝีมืออันขาวบริสุทธิ์ของตนเองถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้วอย่าพึงทำเลย  ขืนทำไปก็เสื่อมเสียพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพของตน และตนเองก็เสื่อมเสียด้วย ดังมีตัวอย่างให้เห็นได้ในที่ทั่วไป ตัว  "ง"   ตัวนี้ร้ายกาจมากทำให้คนเสียมานับไม่ถ้วนแล้ว   แต่ผู้บริหารพระคลังสมบัตินี้ขอยืนยันว่า   เรื่องเหล่านี้บริสุทธิ์สะอาดเต็มที่ ผู้มีคุณธรรมหิริโอตตัปปะอยู่ในตัว  อย่ากลัวเลยว่าจะเป็นเช่นนั้น
                    การทำสิ่งใดเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน  ย่อมก่อให้เกิดผลเสียหาย การสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อพระพุทธศาสนาและศาสนิกชนทั่วไป  ถ้าหวังจะได้อย่างเดียวย่อมเป็นการเสียหายมาก  ถ้าหากมุ่งประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาและสาธารณกุศล ไม่ใช่ของใครทั้งหมด จะเป็นผลดีมาก  โดยเฉพาะ "พระ" เมื่อก่อสร้างสิ่งต่างๆ แล้วสิ่งเหล่านั้นย่อมพาไป    ส่วนตนเองทอดทิ้งกิจในพระพุทธศาสนาและพระธรรมวินัยหมด     ไปสร้างสิ่งต่างๆ ภายนอก  แต่ตนไม่สร้างตนเอง  ย่อมเป็นการเสื่อมเสียอย่างยิ่ง

                    จากสภาพของป่าดงทึบที่เราได้เคยเห็นครั้งแรกเมื่อประมาณกว่า ๖๐ ปีก่อนหน้านี้   เราได้มาอยู่ตั้งแต่ปี ๒๕๐๗ และพัฒนาสถานที่นี้  จนถึงบัดนี้กาลเวลาได้ล่วงเลยมายี่สิบกว่าปีแล้ว  การพัฒนาวัดที่ค่อยเจริญมาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จบริบูรณ์เป็นวัดที่ถาวรดังที่ปรากฏแก่สายตาของท่านทั้งหลายอยู่ ณ บัดนี้แล้วนั้นที่สำคัญที่สุดก็คือ เกิดจากศรัทธาของญาติโยมทั้งหลาย บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ต่างก็ร่วมแรงร่วมใจกันทั้งกำลังกาย   กำลังทรัพย์   ตามความสามารถของแต่ละท่านแต่ละคนเกินกว่าที่จะกล่าวนามท่านทั้งหลายได้ทั้งหมด  ผลงานจึงปรากฏอยู่จนบัดนี้  เมื่อคราวที่สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก (วาสน์ วาสโน) เสด็จมาเป็นประธานในพิธีฉลองมณฑป   ทรงพอพระทัยมาก    โปรดให้ยกขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง   พร้อมทั้งประทานประกาศนียบัตรและพัดพัฒนาให้เป็นที่ระลึก   เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๒๕    นับว่าเป็นเกียรติประวัติที่สำคัญของวัดหินหมากเป้ง  อีกอย่างหนึ่ง
                    เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า    วัดหินหมากเป้งแห่งนี้จะเป็นศาสนาสถานสำหรับบำเพ็ญสมณกิจ    เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนาสืบต่อไปนานเท่านาน  จึงขออนุโมทนาให้ท่านทั้งหลายทั้งมวล  ที่มีส่วนช่วยในการทำนุบำรุงวัดหินหมากเป้งแห่งนี้    จงประสบแต่ความสุขความเจริญ    งอกงามไพบูลย์และมั่นคงในบวรพุทธศาสนาตลอดไปชั่วกาลนาน
                    การทำประโยชน์ให้แก่คนอื่น   อันจะเป็นประโยชน์ได้ที่แท้จริงนั้น  จะต้องทำประโยชน์ของตนให้ได้เสียก่อน  แล้วนำประโยชน์นั้นๆ ออกแจกให้แก่คนอื่น  หากคนอื่นเขาไม่รับของเราเราก็ไม่เสียหายไปไหน อันนี้เป็นกรณียกิจที่แท้จริงของเรา นับแต่เราได้บวชมาในพุทธศาสนา ได้กระทำมามิได้ขาดตลอดเวลา
                    ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา    วันที่ ๕  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๓    ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้เราเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่  พระราชนิโรธรังสีคัมภีร ปัญญาวิศิษฏ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัณยวาสี
                    สำหรับการได้รับสมณศักดิ์ของพระกัมมัฏฐาน            โดยเฉพาะคณะลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ นี้  เรายังคงยืนยันความรู้สึกส่วนตัวดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในช่วงประวัติของเรา  ตอนที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเมื่อปี ๒๕๐๐ นั้น
                    แต่นั่นแหละ ท่านผู้ใหญ่ได้อธิบายว่า การสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์นี้  เป็นพระราชาประเพณีอันมีมาแต่โบราณกาลเป็นส่วนพระราชทานสังคหธรรมของพระมหากษัตริย์ไทย     องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก    ทรงยกย่องพระมหาเถรานุเถระผู้รับธุระพระพุทธศาสนา    เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณร   ให้ดำรงอยู่ในสมณฐานันดรโดยสมควร   และเมื่อได้บำเพ็ญคุณความดีเพิ่มขึ้นก็จะพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ถวายต่างเครื่องราชสักการะเป็นการประกาศเกียรติคุณ
                    เราพระป่า ก็ได้แต่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขอถวายอนุโมทนา  และถวายพระพร

                                                                       บทสรุป

                    นับแต่อุปสมบทมาจนบัดนี้   มีพรรษา  ๗๑ แล้ว   เราได้บำเพ็ญแต่กรณียกิจสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนและเพื่อคนอื่นตลอดมา โดยได้เริ่มตั้งต้นแต่ประโยชน์ตน  แล้วก็ต่อไปเพื่อประโยชน์คนอื่น      กล่าวคือ   ได้ออกเที่ยวธุดงค์ตั้งแต่ได้อุปสมบทพรรษาแรกได้ติดตามครูบาอาจารย์ประกอบกิจวัตร   และตั้งใจฝึกหัดตามคำสอนของท่านโดยลำดับ ไม่มีกิจธุระอย่างอื่นที่ต้องทำจึงได้มีโอกาสบำเพ็ญเพียรภาวนาดีมาก พอพรรษาต่อๆ มา  ได้แยกตัวออกไป ต้องรับภาระมาก มีหมู่เพื่อนคอยติดตามอยู่เสมอ   และจะต้องเป็นภาระในการอบรมสั่งสอนญาติโยมเป็นประจำ  เพราะสมัยนั้นพระกัมมัฏฐานมีจำนวนน้อย พอเห็นรูปใดมีลูกศิษย์ติดตามมากหน่อยเขาก็ถือว่าเป็นอาจารย์ แล้วก็แห่กันไปหารูปนั้น ถึงอย่างนั้นก็ดี เรามิได้ท้อแท้ใจในการทำความเพียร ดูเหมือนเป็นเครื่องเตือนสติของเราให้ทำความเพียรกล้าแข็งขึ้นไปเสียอีก ตกลงประโยชน์ของเราก็ได้  คนอื่นก็ไม่เสีย

                                                                      บุญคุณของบิดามารดา

                     คนเราเกิดมาได้ชื่อว่าเป็นบุญคุณของกันและกัน บุตรธิดาเป็นหนี้บุญคุณของบิดามารดา บิดามารดาเป็นหนี้ใหม่ของบุตรธิดา  ต่างก็คิดถึงหนี้ของกันและกันโดยที่ใครๆ มิได้ทวงหนี้   แต่หากคิดถึงหนี้เอาเอง แล้วก็ใช้หนี้ด้วยตนเองตามความสำนึกของตนๆ บางคนก็น้อยบ้างมากบ้าง  เพราะหนี้ชนิดนี้เป็นหนี้ที่ตนหลงมา ทำให้เกิดขึ้นเอง ไม่มีใครบังคับและค้ำประกัน  บางคนคิดถึงหนี้สิ้นที่ตนมีแก่บิดามารดามากมายเหลือที่จะคณานับ แต่เกิดจนตาย บิดามารดาถนอมเลี้ยงลูกด้วยความเอ็นดูทุกอย่าง เป็นต้นว่า  นั่ง นอน ยืน เดิน พูดจา   ต้องอาศัยบิดามารดาสั่งสอนทุกอย่าง   เวลาเกิดโทสะฟาดตีด้วยไม้หรือฝ่ามือก็ยังมีความระลึกตัวอยู่ว่านี่ลูกนะๆ บางทีตีไม่ลงก็ยังมี  มันเป็นสัญชาตญาณของสัตว์ผู้เกิดมา  บิดามารดาย่อมมีความรักบุตร  แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานก็ยังมีความรักลูกโดยไม่ทราบความรักนั้นว่ารักเพื่ออะไร  และหวังประโยชน์อะไรจะช่วยเหลืออะไรแก่ตนบ้าง  ลูกๆ ก็ทำนองเดียวกันนี้  แต่สัตว์มันยังรู้หายเป็น  รักกันชั่วประเดี๋ยวประด๋าว รักกันแต่ยังเล็กๆ  เมื่อเติบโตแล้วก็ลืมกันหมด  มนุษย์นี้รักกันไม่รู้จักหายถึงตายแล้วก็ยังรักกันอยู่อีก ตายแล้วมันคืนมาได้อย่างไร มนุษย์คนใดไม่รู้จักบุญคุณบิดามารดา แลไม่สนองตอบแทนบุญคุณของท่าน มนุษย์ผู้นั้นได้ชื่อว่าเลวร้ายกว่าสัตว์เดรัจฉานไปเสียอีก
                     เราบวชแต่ยังเล็กมิได้หาเลี้ยงบิดามารดาเหมือนกับคนธรรมดา        แต่หล่อเลี้ยงน้ำใจของท่านด้วยเพศสมณะ  ตอนนี้เราคุยโม้อวดโตได้เลยว่า   เราเกิดมาเป็นลูกผู้ชาย  ได้บวชแต่เล็ก  มิได้เลี้ยงบิดามารดาเหมือนคนธรรมดาสามัญทั่วไป  แต่หล่อเลี้ยงน้ำใจของท่านทั้งสองด้วยทัศนะสมณเพศอันเป็นที่ชอบใจของท่านเป็นอย่างยิ่ง    ระลึกอยู่ถึงเสมอว่า   ลูกของเราได้บวชแล้วๆ    ถึงอยู่ใกล้หรือไกลตั้งพันกิโลเมตรก็มีความดีใจอยู่อย่างนั้นแล้วก็สมประสงค์อีกด้วย ตอนท่านทั้งสองแก่เฒ่าลง  เราก็ได้กลับมาสอนท่านให้เพิ่มศรัทธาบารมีขึ้นอีกจนบวชเป็นชีปะขาวทั้งสองคน  (แท้จริงท่านก็มีศรัทธาอยู่แล้ว เรามาสอนเพิ่มเติมเข้ากระทั่งมีศรัทธาแก่กล้าจนได้บวชเป็นชีปะขาว)          และภาวนาเกิดความอัศจรรย์หลายอย่าง ทำให้ศรัทธามั่นคงขึ้นไปอีก เราสอนไปในทางสุคติ  ท่านทั้งสองก็ตั้งใจฟังโดยดี เหมือนอาจารย์กับศิษย์จริงๆ  เต็มใจรับโอวาททุกอย่าง  ท่านไม่ถือว่าลูกสอนพ่อแม่  บิดาบวชเป็นชีปะขาวได้ ๑๑ ปี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗๗ ปี มารดาบวชเป็นชีอยู่ได้ ๑๗ ปี จึงถึงแก่กรรม อายุได้ ๘๒ ปี มารดาเสียทีหลังบิดา ตอนจะตายเราก็ได้แนะนำสั่งสอนจนสุดความสามารถ เราได้ชื่อว่าได้ใช้หนี้บุญคุณของบิดามารดาสำเร็จแล้ว  หนี้อื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว  ท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว  เราก็ได้ทำฌาปนกิจศพให้สมเกียรติท่านและตามวิสัยของเราผู้เป็นสมณะอีกด้วย
                     ดีเหมือนกันที่เราบวชอยู่ในพุทธศาสนา  และอยู่ได้นานมาถึงปานนี้   ได้เห็นความเปลี่ยนของสังขารร่างกายพร้อมทั้งโลกภายนอกด้วย ได้เห็นอะไรหลายอย่างทั้งดีและชั่ว เพิ่มปัญญาความรู้ของเราขึ้นมาอีกแยะ   นับว่าไม่เสียทีที่เกิดมาร่วมโลกกะเขา  คิดว่าเราเป็นหนี้บุญคุณของโลก  เราเอา ดิน น้ำ ไฟ ลม  ของเขามาปั้นเป็นรูปเป็นกาย   แล้วเราจึงได้มาครองอยู่มาบริโภคใช้สอยของที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งนั้น ของเราแท้ๆ ไม่มีอะไรเลย  ตายแล้วก็สละปล่อยทิ้งไว้ในโลกนี้ทั้งนั้น   ของเราแท้ๆ ไม่มีอะไรเลย  ตายแล้วก็สละปล่อยทิ้งไว้ในโลกทั้งนั้น  บางคนไม่คิดถึงเรื่องเหล่านี้จึงหลงเข้าไปยึดถือเอาจนเหนียวแน่นว่าอะไรๆ ก็ของกูๆ ไปหมด  ผัวเมีย ลูกหลาน ข้าวของ  เครื่องใช้ในบ้านของกูทั้งนั้น  แม้ที่สุดของเหล่านั้นที่มันหายสูญไปแล้ว  หรือมันแตกสลายไป  ก็ยังไปยึดว่าของกูอยู่ร่ำไป

                                                   กิจที่ไม่ควรกระทำ และกรรมที่ไม่ควรก่อสร้าง

                     กิจที่ไม่ควรกระทำ   แต่เกิดขึ้นมาแล้วก็จำยอมทำ  เพราะคนผู้เกิดมาได้อัตภาพอันนี้  อันได้นามชื่อว่า สังขาร จะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นธรรมดา ไม่มีใครสักคนเดียวที่อยากให้เป็นเช่นนั้น จะแก่หง่อมเฒ่าชราจนกระทั่งไปไหนไม่ได้แล้วก็ตามก็ยังไม่อยากตาย  อยากอยู่เห็นหน้าลูกหลานต่อไป   เมื่อตายลงคนที่อยู่ข้างหลังแม้แต่ลูกหลานก็ไม่ยอมเก็บศพไว้ที่บ้าน อย่างนานก็ไม่เกิน ๑๕ วัน   โดยส่วนมากแล้วจะต้องเอาไปเผาทิ้งนั่นได้ชื่อว่า กิจไม่ควรทำ เพราะคนที่เราเคารพนับถือแท้ๆ แต่เอาไปเผาทิ้ง จึงเป็นสิ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่ก็จำเป็นต้องกระทำ  และไม่มีใครจะเอาผีไว้ในบ้านให้เฝ้าเรือน
                     กรรมที่ไม่ควรก่อสร้างนั้น  เมื่อตายแล้วจะเป็นใครก็ตามเป็นบิดา มารดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง  หรือญาติคนอื่นๆ เช่น  ครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ  อย่างไรก็ตาม  เมื่อตายแล้วจะต้องมีการทำฌาปนกิจศพ   การทำศพนี้จะต้องใช้คนและสิ่งของมากไม่เหมือนเมื่อเกิดนั้นมีสองคนตายายเท่านั้นก็สำเร็จได้   นี่จะต้องเลี้ยงแขก เลี้ยงคน เลี้ยงพระ เลี้ยงสงฆ์ หรือหาของมาถวายพระอีกด้วย  นับว่าเป็นภาระแก่ผู้ยังอยู่ ที่มีฐานะค่อนข้างฝืดเคืองมิใช่น้อย เมื่อไม่มีก็ต้องไปยืมพี่ยืมน้องเป็นหนี้สินสืบไป  การเป็นหนี้เช่นนี้ไม่มีรายได้อะไรเลยมีแต่จะขาดทุน เว้นแต่ผู้ใจบุญจริงๆ เอาบุญนี้มาเป็นกำไร แต่ถึงอย่างไรก็ได้ชื่อว่าเป็นของไม่ควรกระทำ  แต่เมื่อมันเกิดขึ้นมาเฉพาะหน้าของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จำเป็นต้องทำ

                                                                       การเกิด - การตาย

                      การเกิด การตาย  สำหรับสัตว์โลกถือไม่เหมือนกัน  โดยการเกิดจะต้องลำดับในบิดามารดาเดียวกัน ใครเกิดก่อนก็เรียกว่าพี่ เกิดทีหลังก็เรียกว่าน้อง  แต่การตายไม่อย่างนั้น ใครจะตายก่อนตายหลังก็แล้วแต่กรรม บุญกรรมของใครของมัน บางทีน้องตายก่อนพี่ก็มี หรือพี่ตายก่อนน้องก็มี  ตายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปเกิดเป็นพี่น้องกันอีก   ก็แล้วแต่บุญกรรมจะส่งให้ไปเกิดที่ใดเหมือนกัน   บางคนทำชั่วอาจไปเกิดเป็นเปรตอสุรกาย หรือตกนรกหมกไหม้อยู่ในอเวจีก็มี      บางคนทำดีจิตใจผ่องใสบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกองทุกข์ถึงพระนิพพานก็มีเอาแน่ไม่ได้
                      ดังโยมบิดามารดาของเราผู้ถึงแก่กรรมไปแล้ว    ท่านทั้งสองนั้นเราคิดว่าไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณของท่านอีกแล้ว  ใช้หนี้กันหมดเสียที  เพราะเราเป็นลูกผู้ชายคนสุดท้ายของท่าน ได้ทำกิจอันสมควรแก่สมณะให้แก่ท่านทั้งสองทุกอย่าง  ไม่มีการบกพร่องแต่ประการใด  ถึงแม้ท่านทั้งสองก็คงคิดเช่นนั้นเหมือนกัน คงไม่คิดจะทวงเอาหนี้สินจากเราอีกแล้ว เพราะสมเจตนาของท่านแล้วทุกประการ
                      อาจารย์คำดี   พี่ชายคนหัวปีนั้นรักเรายิ่งกว่าลูกสุดสวาท    น่าเสียดายมาถึงแก่กรรมเมื่อเราไม่อยู่ไปจำพรรษาที่จังหวัดจันทบุรี ไม่ได้ทำศพสนองบุญคุณให้สมกับความรักของท่าน  นอกจากนั้นพี่ๆ ทุกคนเมื่อยังมีชีวิตอยู่เราก็ได้อบรมสั่งสอนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมตามสมควรแก่นิสัยวาสนาของตนๆ เมื่อตายก็ได้เป็นที่พึ่งทางใจอย่างดี  ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วได้ปฏิบัติตามสติกำลังของตน
                      นางอาน ปราบพล   พี่สาวคนที่สอง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ อายุได้ ๘๘ ปี
                      นางแนน เชียงทอง   พี่สาวคนที่สาม ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ อายุได้ ๙๐ ปี
                      นายเปลี่ยน   พี่ชายคนที่สี่ ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุได้ ๘๐ ปี
                      นางนวล กล้าแข็ง  พี่สาวคนที่ห้า ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ อายุได้ ๗๙ ปี
                      พระเกต   พี่ชายคนที่หก ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ อายุได้ ๔๘ ปี พรรษา ๑๔
                      นางธูป ดีมั่น   น้องสาวคนสุดท้อง ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อายุได้ ๘๖ ปี
                      พี่น้องทั้งหมด         เราได้ทำฌาปนกิจศพให้สมบูรณ์บริบูรณ์ทุกอย่าง        สมเจตนารมณ์ของผู้ตายแล้วทุกประการ เฉพาะนางธูป น้องสาวคนสุดท้องนี้  ในช่วงบั้นปลายชีวิตเธอได้มาถือศีลบวชชีอยู่รับการอบรมกับเราที่วัดหินหมากเป้งหลายปี  การปฏิบัติภาวนาของเธอคงจะได้ผล  มีที่พึ่งทางใจอย่างดีโดยไม่เป็นที่น่าสงสัย   เมื่อป่วยหนักบุตรได้มารับตัวไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร  เล่าว่าเธอมีสติดี   รู้สึกตัวตลอดเวลาจนวาระสุดท้าย บอกลูกหลานผู้พยาบาลได้ทุกระยะว่ารู้สึกอย่างไรว่า รู้สึกเริ่มเย็นมาแต่ปลายเท้า มาถึงหน้าแข้ง มาถึงเข่า มาถึงหน้าอก เธอเพ่งดูจิตที่หน้าอกอย่างมีสติ ลมหายใจแผ่วลง แผ่วลง และจนสงบไปในที่สุด
                      บัดนี้ยังเหลือแต่เราเป็นที่พึ่งของเราเท่านั้นแหละ    ญาติพี่น้องและครูบาอาจารย์ไม่มีใครเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองแล้ว  เราจะพยายามทำความดีจนกว่าชีวิตจะหาไม่  เพราะคนเราตายแล้วความดีและความชั่วไม่มีใครทำให้
                       อัตตโนประวัติแต่เริ่มมา  จนอายุครบเก้าสิบสองปี ก็เห็นจะจบลงเพียงแค่นี้

thxby293uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ธันวาคม 2553, 17:06:48 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 07:14:04 »

                                                         ประวัติวัดเจริญสมณกิจ

                                            (พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี พ.ศ.๒๔๙๔-๒๕๐๖)

          วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาล) ตั้งเมือ่ พ.ศ.๒๔๙๔ ในเขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อ.เมือง จังหวัดภูเก็ต ตามโฉนดหมายเลขที่ ๖๓๑๐ เล่มที่ ๖๔ หน้า ๑๐ และลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ๓ งาน ๔ วา (๕๑๔๐ ตารางวา)

                                                                        อาณาเขต

                             ทิศตะวันออก                      จดที่ดินเลขที่ ๘ และถนนโทรคมนาคมขึ้นเขาโต๊ะแซะ
                             ทิศตะวันตก                       จดที่ดินเลขที่ ๒๕-๒๕ คูน้ำสาธารณประโยชน์
                             ทิศเหนือ                          จดที่ดินเลขที่ ๘ คูน้ำสาธารณประโยชน์และเขาโต๊ะแซะ
                             ทิศใต้                             จดที่ดินเลขที่ ๘ และศาลจังหวัดภูเก็ต

                                                 มูลเหตุแห่งการสร้างวัด
    
           เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒  พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี [ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๑๐)เป็นพระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ และเป็นหัวหน้าวิปัสสนาธุระฝ่ายอรัญญวาสี] ท่านได้ธุดงค์หรือรุกขมูลมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งประเทศไทย  ผ่านกรุงเทพฯและเลยลงไปถึงจังหวัดสงขลา  ได้แวะพักวิเวกอยู่ในวัดป่าแห่งหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่ในเขตท้องถิ่นอำเภอหาดใหญ่
           ขณะนั้น พุทธบริษัทชาวภูเก็ต-พังงา ได้ทราบกิตติศัพท์ด้านปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของพระอาจารย์เทศก์ ก็เกิดความเลื่อมใส ฉะนั้นชาวภูเก็ตโดยมี คุณหลวงอนุภาษภูเก็ตการ และคุณนายหลุยวุ้นภรรยา เป็นต้น และชาวพังงามีนายสุนทโร ณ ระนอง เป็นต้น จึงได้ส่งพระมหาปิ่น ชลิโต [ ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๑๐)เป็นพระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์] เป็นตัวแทนไปนิมนต์ท่านอาจารย์เทศก์  พร้อมด้วยพระสหธรรมมาพักจำพรรษาที่ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ก่อน ๑ พรรษา (ปี พ.ศ.๒๔๙๓)
          รุ่งขึ้นอีกปี คือ พ.ศ.๒๔๙๔ ตรงกับวันตรุษจีนพอดี คุณนายหลุยวุ้น หงษ์หยก จึงได้ไปรับท่านมาที่ภูเก็ต ทีแรกไม่มีสำนักปฏิบัติธรรม  ท่านจึงได้พักอยู่ที่ค่ายฝรั่งหน้าสนามไชย [ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๑๐) เป็นบ้านพักปลัดเทศบาลภูเก็ต ] ต่อมาเห็นว่าที่ดินระหว่างศาลกับเขาโต๊ะแซะเป็นที่เหมาะสมในการเจริญสมณธรรม คณะพุทธบริษัทผู้มีความเลื่อมใสในท่านได้สละทรัพย์รวมทุนกัน  ขอแบ่งซื้อที่ดินจากนาย บวร กุลวนิช ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกซื้อเพียง ๔ ไร่ๆละ ๑,๐๐๐ บาท แต่เจ้าของที่ดินยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้  ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๓ ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก ๔ ไร่ๆละ ๕,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินซื้อที่ดิน ๒๔,๐๐๐ บาท นอกจากนั้นเจ้าของที่ได้ยกเศษที่ดินส่วนที่ติดกับเชิงเขาโตะแซะถวาย ๔ ไร่ ๓ งาน ๔วา จึงรวมเนื้อที่ตั้งวัดทั้งหมดเท่าจำนวนที่กล่าวข้างแล้วต้น (๑๒ ไร่ ๓ งาน ๔ วา)

                                                  วิวัฒนาการ

           ลุถึงปี พ.ศ.๒๕๐๓ เมื่อเจ้าของที่ดินยินยอมโอนโฉนดให้  พระอาจารย์เทศก์จึงขอให้นายบวร กุลวนิช เจ้าของที่ดิน ลงนามขออนุญาตสร้างวัดทันที เพื่อตัดปัญหายุ่งยากในการรับโอนและค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นเงาตามมาทีหลัง
           ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัด                      เมื่อวันอังคารที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓ ตามใบอนุญาตให้สร้างวัด เลขที่ ๑/๒๕๐๓
           ได้รับอนุญาตเป็นสำนักสงฆ์               เมื่อวันทร์ที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๕ และให้นามว่า วัดเจริญสมณกิจ ตั้งแตนั้นเป็นต้นมา
           หมายเหตุ   เมื่อปี  พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านพระอาจารย์เทศก์ ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกลับคืนไปอยู่ทางถิ่นเดิม คือจังหวัดหนองคาย
          ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา             เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๘
          ได้ก่อสร้างโรงอุโบสถชั่วคราว              เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๘
          ได้ทำพิธีปักหลักเขตวิสุงคามสีมา          เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๙
          ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอุโบสถ      เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๙
          ได้ลงมือวางรากฐานก่อสร้างพระอุโบสถ   เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๙
          ได้ทำพิธีมุงกระเบื้องหลังคาอุโบสถ        เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๐
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว               ทรงเจิมและทรงปิดทองช่อฟ้า เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐                                                                                                      ประชาชนได้จัดการยกช่อฟ้า เวลา ๑๗.๐๕ น.ในวันนั้นด้วย
          ได้ผูกพัทธสีมา                            วันอังคารที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๑ สมเด็จพระสังฆราช(อุฏฐายิมหาเถร)ทรงเป็นองค์                                                                                          ประธานฝ่ายสงฆ์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประมุขในงาน

                                                   ฐานะของวัด

          ปัจจุบันนี้(พ.ศ.๒๕๑๐) วัดเจริญสมณกิจ เป็นวัดราษฎร์ รุ่นใหม่ ตั้งมาได้ประมาณ ๑๖ ปี  มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาติดต่อกันมามิได้ขาด  และไม่น้อยกว่าปีละ ๑๖ รูป  ภิกษุสามเณรวัดนี้ใช้ขนบธรรมเนียม ระเบียบปฏิบัติแบบฝ่ายกรรมฐาน เช่น ฉันอาหารในบาตร และฉันมื้อเดียวเป็นต้น เป็นที่สถิตอยู่ของเจ้าคณะจังหวัด เป็นสำนักงานบริหาร และเป็นสถานที่สอบธรรมประจำปี ของคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ ฝ่ายธรรมยุติ

                                                   การศึกษา
 
          เจ้าอาวาสรูปแรก (ท่านพระอาจารย์เทศก์) แม้ว่าท่านจะเป็นพระฝ่ายอรัญญวาสีก็ตาม  แต่ท่านมีปกติมองเห็นประโยชน์ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติเสมอ  ไม่ว่าท่านจะไปอยู่ ณ ที่ใด ฉะนั้น  ท่านจึงได้จัดให้มีการสอนและสอบปริยัติธรรม  ให้ควบคู่กันไปกับการปฏิบัติ  และได้รับอนุมัติให้เป็นสำนักสอบธรรมสนามหลวงประจำปีของคณะสงฆ์ จังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นต้นมา
          ส่วนบาลีไม่ได้เปิดสอนขึ้นที่วัด  เพราะมีนักศึกษาน้อยไม่พอที่จะตั้งเป็นโรงเรียน  เป็นแต่ส่งผู้ต้องการศึกษาไปเรียนร่วมกับสำนักเรียนวัดวิชิตสังฆาราม ซึ่งตั้งอยู่ในที่ม่ห่างไกลกันมากนัก  รวมนักเรียนทั้งหมดที่สอบได้ไปแล้ว(พ.ศ.๒๕๑๐) ดังนี้
                                                 นักธรรมชั้นตรี                                                 ๑๓๕  รูป
                                                 นักธรรมชั้นโท                                                  ๗๘  รูป
                                                 นักธรรมชั้นเอก                                                  ๓๐  รูป
                                                 เปรียญเอก                                                        ๒  รูป

                                                  เสนาสนะ
 
          เสนาสนะที่ปลูกสร้างขึ้นในสมัยท่านเจ้าอาวาสรูปแรก(ท่านพระอาจารย์เทศก์) มีดังนี้
             ๑.ศาลาการเปรียญถาวร               กว้าง  ๙  เมตร  ยาว  ๑๔  เมตร                    ๑  หลัง
             ๒.กุฏิเจ้าอาวาส                        กว้าง  ๖  เมตร  ยาว  ๑๒  เมตร                    ๑  หลัง
             ๓.กุฏิพระอันดับ   ส่วนมากอยู่ได้เฉพาะองค์                          รวม                  ๑๑  หลัง
             ๔.หอฉัน                               กว้าง  ๑๑ เมตร  ยาว  ๑๓  เมตร                    ๑  หลัง
             ๕.โรงครัว                              กว้าง  ๑๓ เมตร  ยาว  ๑๓  เมตร                    ๑  หลัง
             นอกจากนั้นยังมี ถังคอนกรีตเก็บน้ำฝน (ตั้งอยู่ด้านหน้าและด้านหลังศาลาการเปรียญ) อีก ๒ ถัง และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น  ห้องน้ำ  โรงไฟ  บันได  ลานวัด  เป็นต้น

                                                  เจ้าอาวาส

          วัดนี้  มีเจ้าอาวาสดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมาแล้ว ๒ องค์ ทั้งองค์ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๑๐) คือ
             ๑. พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี  พ.ศ.๒๔๙๔-๒๕๐๖  รวมเวลา ๑๒ ปี
                  ต่อมาท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด  กลับคืนไปอยู่ทางถิ่นเดิม คือ จังหวัดหนองคาย  เพราะสุขภาพของท่านไม่ค่อยเป็นปกติ
                   ทางคณะสงฆ์ได้พิจราณาเห็นว่า
                               ๑. ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่คงแก่การปฏิบัติธรรม
                               ๒. ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมที่น่าเลื่อมใส
                               ๓. ได้ทำคุณประโยชน์ไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นเอนกประการ
                  จึงได้ยกให้ท่านเป็น  เจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา
            ๒. พระพิศิษฐ์ธรรมภาณ (เปลื้อง  จตตาวิไล) อดีตเจ้าคณะอำเภอเขาไชสน  จังหวัดพัทลุง  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญสมณกิจ  และเป็นเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ ฝ่ายธรรมยุติ แทนรูปแรก โดยเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๙ และในศกเดียวกันนี้ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดไม้ขาว บ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และได้เป็นประธานที่ปรึกษาในการก่อสร้างอุโบสถอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
           ด้วยทางการคณะสงฆ์ ได้พิจราณาเห็นว่า  วัดเจริญสมณกิจ เป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารหมู่คณะทั้ง ๓ จังหวัด คือ ภูเก็ต พังงา กระบี่  จำต้องเพิ่มภารกิจมากขึ้น ทั้งภายในวัดและภายนอกวัด  ยากที่เจ้าอาวาสรูปเดียวจะปกครองดูแลทั่วถึง  จึงได้อนุมัติแต่งตั้งให้มีรองเจ้าอาวาสอีก ๑ รูป คือ พระครูสังฆพิชัยบุญรักษ์ (ปัจจุบันเป็นพระครูสถิตย์บุญญารักษ์) เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั้งองค์ก่อน(ท่านพระอาจารย์เทศก์) และองค์ปัจจุบัน (พระอาจารย์เปลื้อง) ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา                                                                                                                                                                                          รวบรวมโดย
                                                                                                                 พระครูสถิตบุญญารักษ์
                                                                                                                         ๑๖ พ.ค. ๑๐

                                                 ประวัติการก่อสร้างอุโบสถ

                  เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ ซึ่งเป็นปีที่ ๑๒  แห่งการริเริ่มบุกเบิกก่อสร้างวัดเจริญสมณกิจ ของท่านเจ้าคุณพระราชนิโรธรังสี (พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี) ข้าพเจ้า(พระครูสถิตบุญญารักษ์) จำได้ว่า วันหนึ่งในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๖  ท่านเจ้าคุณอาจารย์(พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี) ได้ปรารภกับญาติโยมที่มาในวันพระ ณ ท่ามกลางศาลาการเปรียญ หลังจากที่ท่านแสดงธรรมเสร็จแล้วว่า "การที่อาตมาได้มาอยู่ภูเก็ตก็เป็นเวลาหลายปีแล้ว ยิ่งอยู่นานสุขภาพร่างกายก็ยิ่งทรุดโทรม ไม่ทราบว่าจะอยู่ไปได้นานสักเท่าไร"
                      "ฉะนั้น ก่อนจากไป อาตมาคิดว่าควรจะได้ลงมือก่อสร้างอุโบสถไว้บ้าง  ถึงแม้จะไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร  เราเป็นผู้ริเริ่มไว้ก่อนแล้ว ให้คนอื่นเขามาสร้างต่อก็ยังดี ดีกว่าจะไม่ลงมือเสียเลย" ท่านเจ้าคุณกล่าว แล้วก็เสริมต่อไปว่า "บัดนี้อาตมาเห็นว่าเป็นกาลอันสมควรที่จะเริ่มลงมือได้แล้ว  หรือว่าญาติโยมจะเห็นสมควรอย่างไร"
                      ปรากฏว่า วันนั้นอุบาสิกาล้วนๆ ประมาณไม่เกิน ๒๐ คน  ต่างก็แสดงความยินดีต่อคำปรารภของท่านอย่างพร้อมเพรียง
                      "ถ้าเช่นนั้น ใครจะมีศรัทธาบริจาคเป็นทุนคนละเท่าไร ขอได้โปรดแสดงความจำนงได้ ณ บัดนี้" ท่านเจ้าคุณปรารภต่อ พร้อมหันมาบอกให้ข้าพเจ้าจดชื่อของผู้แสดงความจำนงไว้ด้วย
                      ซึ่งปรากฏว่าทุกๆท่าน ได้แสดงความจำนงไว้มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกำลังศรัทธา  รายที่มากที่สุดจำได้ว่าเป็น คุณนายสุ่น อัญชัญภาติ บริจาคส่วนตัว ๓,๐๐๐ บาท และอุทิศให้ พ.ท.จำลอง ลูกชายจำนวน ๑,๐๐๐ บาท นอกนั้นคนละ ๑,๐๐๐ บาทบ้าง  ๕๐๐ บาทบ้าง และต่ำกว่านั้นก็มีอยู่มากราย  รวมตัวเลขทั้งหมดไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ บาท และตามตัวเลขเหล่านี้  บ้างก็นำมามอบให้ก่อน  บ้างก็รอจนกว่าจะลงมือก่อสร้าง จึงจะนำมามอบให้ภายหลัง
                      ท่านเจ้าคุณพระอาจารย์ เห็นว่าทุนเพียงเล็กน้อยเท่านี้  ยังไม่พอที่จะเริ่มลงมือสำหรับการสร้างโบสถ์ได้เลย  ฉะนั้นท่านจึงให้ข้อคิดเห็นต่อญาติโยมว่า  ควรจะต้องรอไว้ก่อนโดยนำเงินส่วนนี้ไปฝากไว้ที่ มหามกุฏฯ  สมทบกับทุนที่ศิษยานุศิษย์ของท่านซึ่งฝากไว้ก่อนแล้วเพื่อหาดอกผลต่อไป  เป็นอันว่าทุกคนเห็นชอบตามมติของท่านด้วยดี  เรื่องการก่อสร้างโบสถ์เป็นอันต้องยุติโดยปริยาย
                      รุ่งขึ้นอีกปี คือ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๐๗  ท่านเจ้าคุณพระอาจารย์ก็ได้อำลาจากภูเก็ตเป็นปีสุดท้าย
                      และในปีนั้นเอง ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร พร้อมกันนั้นท่านได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจริญสมณกิจ และตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ ธรรมยุติ                      ฉะนั้น ภารกิจทุกอย่างจึงตกอยู่กับข้าพเจ้า (พระครูสังฆพิชัยบุญรักษ์หรือพระครูสถิตบุญญารักษ์)โดยปริยาย  โดยเฉพาะวัดเจริญสมณกิจได้ว่างสมภารลง ๓ ปี คือ พ.ศ.๒๕๐๗-๒๕๐๙
                     แม้ว่า ท่านเจ้าคุณพระอาจารย์จากไปแล้ว แต่พระคุณของท่านยังดำรงมั่นอยู่ในส่วนลึกแห่งหัวใจของข้าพเจ้า ไม่สามารถจะลืมเลือนไปได้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะก็เรื่อง ก่อสร้างอุโบสถที่พระคุณท่านอาจารย์ได้ดำริ และมอบหมายไว้ให้แล้วก่อนแต่ท่านจะจากไป  

thxby294ruguest93
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ธันวาคม 2553, 17:50:45 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 07:14:21 »


                         กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี(ช่วงปี พ.ศ 2521-2525)
อารัมภบท
         การเขียนถึงเรื่องราวของผู้อื่น    แม้ผู้เขียนจะพยายามบรรยายความเป็นอยู่เป็นไปของท่านตามที่ตนได้รู้ได้เห็นมาโดยละเอียด บริบูรณ์ครบถ้วนอย่างที่สุด    แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในความเป็นอยู่เป็นไปทั้งหมดของเจ้าของเรื่องราว    ส่วนที่มีอยู่เป็นอยู่ในชีวิตจริง ๆ  ของท่านทั้งหมดยังมีอยู่อีกมากมายที่มิได้ปรากฏแก่ผู้เขียน    ดังนั้นจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเรื่องราวที่เขียนเกี่ยวกับท่านผู้อื่นนั้นจะถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์แล้วทุกประการ   
        "กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี" ดังที่ปรากฏในที่นี้ก็เป็นอย่างนั้น แม้จะเป็นความเป็นอยู่ประจำวันของท่านในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง      และได้พยายามไล่เลียงลำดับความอย่างละเอียดทุกระยะอย่างที่สุดแล้ว  จึงยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นอยู่ทั้งหมดของท่านในช่วงเวลานั้นเท่านั้น   เป็นส่วนที่ปรากฏให้ได้รู้ได้เห็นและเท่าที่สามารถกราบเรียนถามเหตุผลจากองค์ท่านแล้ว    ยังมีอยู่อีกมากมายหลายอย่าง หลายเหตุการณ์ ที่รอดเหลือไปจากการรู้การเห็นและรับทราบซึ่งเหตุผลของผู้เขียน  และส่วนนั้น ๆ  ก็ผ่านกาลเวลาไปเสียแล้ว     ไม่อาจจะนำมาเล่าให้ปรากฏแก่ผู้ใดได้
         การที่ได้เขียน "กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี" นี้   ก็ด้วยดำริว่า  นับเป็นความโชคดีที่เราผู้เป็นศิษย์  ได้มีโอกาสอบรมและปฏิบัติธรรมอยู่ร่วมกับหลวงปู่ได้พบเห็นความเป็นอยู่  อันเป็นทั้งกิจวัตร  และจริยาวัตรของท่าน   ทั้งได้ร่วมกันกระทำกิจวัตรต่าง ๆ  ถวายต่อท่านด้วยความเคารพ  เทอดทูนอย่างสูง  ต่างก็รู้สึกผูกพันต่อท่านและเหตุการณ์นั้น ๆ อยู่ในจิตใจอย่างลึกซึ้ง     สมควรอย่างยิ่งที่จะได้บันทึกไว้ให้ปรากฏแม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยในทั้งหมดแห่งกิจวัตรของท่าน   ก็เป็นวิถีความเป็นอยู่ที่น่าสนใจยิ่ง     เป็นความเป็นอยู่ที่เหมาะสม   เรียบและงามสมกับสมณวิสัย  มีคุณค่าน่านำมาเป็ตัวอย่างแก่ศิษยานุศิษย์ที่ดำเนินเดินตามมาภายหลังในวิถีทางเดียวกันนี้    เกรงว่าเมื่อกาลเวลาผ่านไปนานเข้า  ก็จะสูญหายไปจากความทรงจำของบรรดาศิษย์  อนุศิษย์   แม้กระทั่งผู้ที่เคยอยู่ร่วมและทำกิจต่าง ๆอยู่กับท่าน    ซึ่งหากเป็นดังนั้นก็น่าเสียดายมาก   และด้วยความที่พิจารณาเห็นว่า   จะเกิดประโยชน์ขึ้นมาบ้างแก่ศิษย์รุ่นหลัง ๆ ต่อไป   ผู้ที่ได้รู้จักองค์ท่านจากประวัติ   หรือจากที่อื่น ๆ แล้ว  หากได้มารับรู้กิจวัตรความเป็นอยู่ประจำวันของท่านเพิ่มเติมเข้าไปอีก  อาจจะเกิดความเข้าอกเข้าใจ  และซาบซึ้ง   ศรัทธายิ่งขึ้นในองค์ท่าน ในปฏิปทา ในข้ออรรถ  ข้อธรรม   ที่ท่านแสดงไว้ในที่ต่าง ๆ อันจะเป็นเหตุให้เกิดความมีกำลังใจ      มีศรัทธาน้อมนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวันของตน  ตั้งอกตั้งใจศึกษา  และประพฤติปฏิบัติตามธรรม  ตามวินัย      คำสั่งสอนขององค์พระศาสดา ย่อมจะราบรื่น  เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า   โดยเฉพาะในธรรมปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ไม่ท้อถอย เป็นกำลังอันมั่นคง     จรรโลงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองถาวรสืบไปชั่วกาลนาน
          อนึ่ง   กิจวัตรความเป็นอยู่ของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  นั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมแห่งกาลเวลาและภาวะแวดล้อม ในช่วงชีวิตของท่านช่วงอื่น ๆ เมื่อท่านมีอายุมากขึ้น  สภาพวัดวาอารามและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป    การไปมาหาสู่ของศิษย์ ทั้งพระเณรและญาติโยมเปลี่ยนไป    ท่านต้องปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสมกับกาลและสถานที่ ตลอดถึงสภาวะแวดล้อมนั้น ๆ  อาจต้องลดกิจกรรมบางอย่างบางประการ   และเพิ่มเติมบางอย่างบางประการ "กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี" ที่เขียนในที่นี้  จึงเป็นส่วนที่ปรากฏในช่วงที่ท่านอยู่ที่วัดหินหมากเป้งระหว่างปี พ.ศ. 2521-2525เท่านั้น  มิได้หมายความว่า กิจวัตรประจำวันของท่าน  ย่อมเป็นดังนี้ตลอดทุกกาล
         อีกประการหนึ่งในช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้      วัดหินหมากเป้งยังไม่มีสภาพสิ่งก่อสร้างที่สมบูรณ์อย่างในปัจจุบัน   ปัจจัยที่จะอำนวยความสะดวกสบายยังไม่มีเพรียบพร้อม   หลวงปู่ยังพักอยู่ที่กุฏิครึ่งคอนกรีตครึ่งไม้หลังเก่า       ซึ่งคุณธเนศ เอียสกุล ศิษย์เก่าแก่ผู้เคารพ  เลื่อมใส  ศรัทธาได้สร้างถวาย   จะขออธิบายสภาพในวัดหินหมากเป้งในช่วงเวลานั้นสักเล็กน้อย
         กุฏิหลวงปู่
         เป็นอาคารครึ่งคอนกรีตครึ่งไม้  สร้างอยู่บนโขดหิน ริมฝั่งแม่น้ำโขง ส่วนล่างของอาคารเป็นคอนกรีต  ส่วนบนต่อ  ด้วยเสาไม้ และเครื่องไม้ พื้น  ฝาไม้ เป็นอาคารสองชั้นครึ่ง  ชั้นบนสุด  (ชั้นที่ 1) ระดับพื้นสูงกว่าลานหินประมาณ 1 เมตร    เป็นชั้นที่หลวงปู่พักจำวัด  และอยู่ภาวนาในตอนกลางคืน   การสรงน้ำ   การนวดหลวงปู่ กระทั่งหลวงปู่นั่งพักที่ระเบียง   ต้อนรับญาติโยมส่วนน้อยในตอนบ่าย ๆ   พื้นชั้นนี้แบ่งเป็นส่วน ๆดังนี้    ห้องพักของหลวงปู่และบริเวณหน้าห้องพัก  สองส่วนนี้เป็นพื้นไม้ยกสูงขึ้น  นอกนั้นลดระดับลงเป็นระเบียงพื้นคอนกรีต    ส่วนระเบียงด้านตะวันออกเป็นส่วนที่ท่านนั่งพักยาม
เย็น ๆ    ใช้เดินจงกรมไปมาตอนกลางคืน  และนั่งภาวนาที่เก้าอี้นวมที่ปลายสุดระเบียง
         ด้านทิศเหนือ  (ด้านลำน้ำโขง)  ด้านหน้ากุฏิ (ด้านศาลายาว)  เป็นระเบียงยาวเลยมา
         ด้านตะวันตก   เป็นบริเวณกว้าง   ใช้สรงน้ำหลวงปู่   ริมระเบียงด้านหนึ่งเป็นห้องส้วม  ข้าง ๆ ห้องส้วมเป็นประตูเปิดสู่บันไดทอดลงไปสู่ห้องชั้น 2 (ชั้นล่าง)   ที่ชั้นนี้การเดินขึ้น
ลงกุฏิ มีบันไดคอนกรีต 4 ขั้น ทอดลงไปยังแผ่นลานหินกว้างที่ด้านหน้ากุฏิ ศาลายาวสำหรับจงกรมของหลวงปู่  อยู่ถัดลานหินออกไป  มีบันไดก้าวขึ้นบนศาลา 2 ขั้น  (ตัวศาลากว้าง4-5 เมตร  ยาวประมาณ 16 เมตร  พื้นเทคอนกรีต  ขัดมันเรียบ   มีเสาไม้รับหลังคากระเบื้องลอนเล็ก      ด้านข้างบางส่วนและด้านปลายศาลาด้านหนึ่งกั้นด้วยอิฐก่อฉาบปูนส่วนล่าง  ส่วนบนเป็นไม้ไผ่สาน   ทาสีเทา ๆ มอ ๆ ข้างฝาด้านปลายศาลา  ตั้งตู้ไม้ทึบ ขนาดใหญ่  1 ใบ  ใส่หนังสือ และของเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างของหลวงปู่ เหนือระดับตู้  ติดนาฬิกาไขลานเรือนขนาดกลางยี่ห้อเก่าแก่  1  หลัง   สมัยนั้นทั้งวัดมีนาฬิกาตีบอก
เวลาก็ที่นี่  และที่เรือนตั้งพื้นตัวใหญ่ที่ศาลาใหญ่เท่านั้น)
         กุฏิชั้นที่ 2   ระดับต่ำลงไปจากชั้นบน   เป็นชั้นที่สงบเงียบ  ปราศจากเสียงรบกวน จะอยู่ลึกลงไปตามฝั่งแม่น้ำโขง  มีบันไดลงไปจากชั้น 1 (ชั้นบน)  14-15 ขั้น มีประตูเปิดเข้าไป  มีระเบียงยื่นออกไปด้านลำโขง     หลวงปู่สามารถออกไปเดินจงกรม และรับอากาศริมโขงได้     หลวงปู่จะอาศัยพักผ่อน    และทำความสงบในช่วงกลางวัน   ต่อมาเมื่อปรับปรุงกุฏิครั้งที่ 2 ได้ขยายห้องชั้นที่ 2 ให้กว้างขวางขึ้น    สามารถลงบันได4-5 ขั้น จากลานหินภายนอก เข้าประตูสู่ห้องชั้น 2 ได้โดยตรง     และหลวงปู่พักอยู่ในชั้นนี้ในช่วงกลางวัน   รับแขกช่วงกลางวัน   และแม้แต่สรงน้ำก็เปลี่ยนมาสรงที่ในห้องน้ำชั้นนี้  กิจกรรมช่วยสรงน้ำหลวงปู่จึงเปลี่ยนไปบ้าง     ไม่มีการช่วยถูสบู่และส่งสบู่ให้ท่าน มีแต่เพียงเตรียมน้ำอุ่นไว้  คอยส่งผ้า  รับผ้า  ผลัดผ้าต่าง ๆ เท่านั้น  (กิจกรรมสรงน้ำหลวงปู่ที่เล่าในเรื่อง  เป็นช่วงที่กุฏิยังไม่ได้ปรับปรุงครั้งที่ 2      ท่านยังสรงน้ำอยู่ลานระเบียง  และอยู่ชั้นบนของกุฏิ) หลวงปู่จะพักช่วงกลางวันอยู่ที่ชั้น 2 นี้  จนกระทั่งบ่าย ๆสรงน้ำเสร็จแล้วจึงย้ายขึ้นไปพักชั้นบน
         กุฏิชั้นที่ 3  เป็นชั้นครึ่งเดียว   ต่ำลงไปตามริมฝั่งโขง  เป็นห้องทึบเก็บของใช้ต่าง ๆ ที่ญาติโยมนำมาถวายแก่ทางวัด เช่น สบู่ ยาสีฟัน ธูป เทียน  ตะเกียง  ถ้วยชาม สารพัดสิ่งของ
         สถานที่ตั้งกุฏิหลวงปู่ก็คือ ที่ ๆ ตั้งกุฏิตำหนักสมเด็จพระสังฆราชในขณะนี้นั่นเอง
         ศาลาหลังเก่า
         ตั้งอยู่ที่ศาลาใหญ่ในปัจจุบัน  และใช้ชื่อ  ศาลาเทสรังสี เช่นเดียวกับปัจจุบันนี้   แต่สร้างเป็นอาคารไม้   เสาไม้เป็นหลัก   มีเสาแซม  เสาเสริม    เป็นคอนกรีตบ้าง เป็นเหล็กแป๊ปน้ำบ้าง เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคามุงด้วยสังกะสี ขยายพื้นชั้นล่าง (ราดปูน) และต่อเติมหลังคา เป็นเพิงต่อเข้ากับตัวศาลาโดยรอบ  มีบันไดไม้ขึ้น
ศาลา 3 จุด อยู่ด้านหน้าศาลา  (ศาลาหันหน้าลงแม่น้ำโขง) 2 จุด ซ้าย-ขวา  อยู่ข้างศาลาอีก 1 จุด (ด้านทางเข้ามาจากนอกวัด)   การใช้ศาลาส่วนมาก  กิจกรรมต่าง ๆ จะได้ใช้เฉพาะชั้นล่าง
         ด้านหลังศาลาเป็นห้องน้ำ  ห้องส้วมเก่า ๆ  แต่สะอาด  ข้าง ๆ กันนั้น เป็นโรงล้างบาตรและโรงไฟ   ที่พื้นชั้นล่างศาลาแบ่งเป็นส่วน   ที่มุมด้านหน้าตั้งแท่นบูชา  มีประตูบานไม้  เปิดออกได้กว้างตลอด  หลวงปู่จะเดินเข้ามาทางนี้  ด้านหลังศาลากั้นเป็นห้องเก็บสัมภาระ 1 ช่วงเสา  มีถังเก็บน้ำฝนอยู่ใต้หลังคาเพิงซึ่งต่อเติมใหม่    น้ำใช้ฉันเอาจากที่นี่  มีตู้เก็บแก้ว  ขวดน้ำ  กระโถนแอบอยู่ด้านหนึ่ง     มีที่ล้างเท้าอยู่ด้านหลังนอกพื้นศาลา ข้าง ๆ ศาลาใหญ่  มีศาลาหลังเล็กยกพื้นเสมอระดับศาลาใหญ่ (เป็นพื้นไม้)     สำหรับญาติโยมจะได้มาเตรียมจัดกับข้าวที่นำมา ใส่ถ้วยชาม ภาชนะต่าง ๆ  ให้เรียบร้อย
ก่อนนำไปถวายพระเณร     และใช้เป็นที่ญาติโยมร่วมรับประทานอาหารกันภายหลังจากที่พระเณรฉันเรียบร้อยแล้ว
         โรงไฟฟ้า
         อยู่ถัดไปจากด้านหลังโรงล้างบาตร เป็นโรงไม้มุงสังกะสี   ใช้เก็บเครื่องปั่นไฟฟ้า  เครื่องไฟที่ใช้เป็นเครื่องดัดแปลง โดยเอาเครื่องรถยนต์อีซูซุ  ต่อเข้ากับไดนาโมสามารถปั่นไฟได้ถึง  10  กิโลวัตต์  เครื่องปั่นไฟนี้  ญาติโยมเก่าแก่คนหนึ่งดัดแปลงและนำมาถวายไว้หลายปีก่อน  หลวงปู่ให้ติดเครื่องไฟในวันพระ  เพราะญาติโยมจะมารวมกันมากและจะมีการแสดงพระธรรมเทศนา    ต้องใช้เครื่องไฟฟ้าและเครื่องขยายเสียงด้วย   ในวันธรรมดาบางโอกาสเมื่อมีคณะญาติโยมมามาก ๆ ก็ต้องติดเครื่องไฟด้วยเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีหน้าที่ติดเครื่องไฟฟ้านี้ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ (ในสมัยนั้นก็คือครูบายา และครูบาเวื่อง)  ในวันปกติทั่ววัดจะไม่มีไฟฟ้าใช้  แม้จะมีปักเสาเดินสายและหลอดแสงสว่างไว้บางจุดก็ตาม   ยังคงใช้เทียนไข  จุดในโคมผ้าถือส่องทาง  ใช้ไฟฉายบ้าง     แต่ก็ประหยัดกันมาก   เพราะถ่านไฟฉายก็ต้องซื้อ   ความเป็นอยู่ยังไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์  และแหล่งซื้อคือตลาดก็อยู่ไกล (อำเภอศรีเชียงใหม่  ห่างออกไป  20 กิโลเมตร)  เทียนไขและไม้ขีดไฟจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญของทุกองค์   แม้แต่ขณะที่นวดหลวงปู่ ไฟที่จุดก็คือตะเกียงน้ำมันก๊าดที่หรี่ได้
         น้ำอาบ
         การอาบน้ำ  สรงน้ำ  พระเณรทุกองค์ที่แข็งแรงปกติ    ต้องลงสรงน้ำที่ในแม่น้ำโขง มีทางลงไปที่ท่าน้ำ ยกเว้นเฉพาะพระที่ชราภาพ  หรืออาพาธ    จึงอนุโลมให้อาศัยสรงน้ำจากที่หมู่คณะขนมาไว้ ณ จุดต่าง ๆ ประจำวันนั้น
         น้ำใช้
         ต้องมีการขนน้ำมาไว้ใช้    ในกิจประจำวันของส่วนรวม  คือ   น้ำล้างส้วมน้ำล้างบาตร  น้ำล้างถ้วยชาม  น้ำล้างเท้า  แหล่งน้ำที่ใช้สมัยนั้น   ใช้น้ำบ่อซึ่งมี 2 บ่อ อยู่ที่บริเวณที่เป็นอ่างเก็บน้ำหน้าเมรุหลวงปู่นี้แห่งหนึ่ง และอยู่ที่ทางออกจากวัดไปสู่ถนนใหญ่ ผ่านที่ของการพลังงานแห่งชาตินั้นอีกแห่งหนึ่ง     บ่อทั้งสองนี้มีน้ำให้ตักไปใช้ได้ตลอดทั้งปี  (ต่อมาภายหลังมีการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงขึ้นมาใช้แทน) การขนน้ำมาจากบ่อใช้ปี๊บ  บรรทุกบนรถเข็น ช่วยกันตัก  ช่วยกันเข็นมาใส่ถัง ใส่ตุ่มใหญ่ตามจุดที่ต้องใช้ต่าง ๆ  จนเต็มหมดแล้วจึงหยุด  และเก็บรถเข็น  ปิ๊บให้เรียบร้อย (บางคราวเมื่อรถเข็นชำรุด  ต้องช่วยกันหามปี๊บน้ำมา  โดยใช้ไม้ยาว ๆ สอดเชือกหิ้วปิ๊บ แล้วพระเณรหามหัวท้าย)
         น้ำดื่ม
         อาศัยน้ำฝน จากถังเก็บน้ำฝนด้านหลังศาลาใหญ่  โดยใช้ผ้ากรอง   กรองใส่กาน้ำประจำตัวมาไว้ฉันตอนฉันจังหัน  และนำไปฉันที่กุฎิด้วย  ทุก ๆ องค์ต้องถือเป็นหน้าที่
ช่วยกันประหยัดน้ำดื่ม
        ? โรงครัวและบ้านแม่ชี ?
         อยู่ทิศตะวันออกไกลออกไปทางด้านข้างขวาของศาลา   (เพราะศาลาหันหน้าลงแม่น้ำโขง  ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ)   เป็นโรงเก็บสิ่งของอันเป็นอาหารที่จะนำมาประกอบ   เพื่อถวายพระเณรในวัด  เป็นที่ปรุงอาหาร และรอบ ๆ บริเวณนั้นปลูกเป็นอาคาร บ้านพักสำหรับแม่ชี หรืออุบาสิกาที่มาสู่วัด  เพื่อศึกษาปฏิบัติธรรมได้พัก   หลวงปู่เมื่อจะบิณฑบาตก็จะมาที่บริเวณโรงครัวนี้
         ?  บริเวณที่ดินของวัด  ?
         ในสมัยนั้นที่ดินส่วนใหญ่ยังไม่ใช่ของวัด ที่ที่เป็นบริเวณอ่างเก็บน้ำหน้าเมรุ เป็นที่ของพ่อตู้ผู  บ้านโคกซวก ที่บริเวณเจดีย์ (เรียกว่าดานเล็บเงือก)   ยังเป็นที่ของคุณพ่อบุญยัง จันทรประทศ  อ.ศรีเชียงใหม่   ที่ป่าสนยังเป็นที่พ่อเต่า  ดังนั้นวัดจึงมีเฉพาะแต่ที่ริมแม่น้ำโขงออกมาถึงแนวกอไผ่สีสุกเท่านั้น   และมีทางเข้าออกก็ทางลูกรังที่ออกจากเขตวัดผ่านที่ของการพลังงานฯ ออกมาถึงถนนใหญ่ ขอบเขตของวัดล้อมด้วยรั้วลวดหนามเก่า ๆ   ภายในบริเวณวัดส่วนใกล้ศาลา ปลูกไม้ไผ่ส้างไพ  เป็นกอ ๆ ปัดกวาดบริเวณเตียนสะอาดนอก ๆ ออกไปคงปล่อยไว้ให้เป็นสภาพธรรมชาติ เป็นป่าไม้เต็ง ไม้ชาด ไม้ประดู่ ตะแบกสลับกับป่าไม้ไล่ (ไม้ไผ่พันธุ์เล็กชนิดหนึ่ง เกิดติดต่อกันเป็นพืด กินบริเวณกว้าง)
         ?  กุฎิพระเณร  ?
         ในสมัยนั้นกุฎิพระเณรมีอยู่ทั้งสิ้น  21  หลัง  เป็นกุฎิขนาดเล็กพักอยู่ได้เฉพาะรูปเดียว มีหอสมุด (หลังเก่า เล็ก ๆ) มีกุฏิที่พักของฝ่ายอุบาสิกา   ประมาณ  12  หลัง
         กุฏิพระเณรปลูกอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกันนัก   บริเวณระหว่างกุฏิยังเหลือต้นไม้หรือไผ่ป่าธรรมชาติบังอยู่บ้าง  ไม่ได้กวาดเตียนโล่งไปหมดเหมือนปัจจุบัน     คงปัดกวาดให้สะอาดเฉพาะที่เป็นทางเดินติดต่อกัน   และทางเดินจงกรมประจำกุฏิ กับรอบ ๆ กุฏิกว้างออกไปนิดหน่อยเท่านั้น   
         ?  การออกบิณฑบาตร  ?
         แบ่งเป็น  2  สาย   คือสายบ้านโคกซวก เป็นสายใกล้   เดินออกจากเขตวัดไปตามชายลำน้ำโขง  ด้านทิศตะวันออก (ตามน้ำ)  ไปประมาณ 1  กิโลเมตรเท่านั้นเริ่มบิณฑบาตรที่กระต๊อบของพ่อตู้ผู จากออกจากวัดจนบิณฑบาตเสร็จกลับถึงวัด   ใช้เวลาประมาณ 40 นาที   อีกสายหนึ่งคือสายบ้านไทยเจริญ เป็นสายไกล  ต้องเดินออกมาตามทางลูกรังที่ผ่านเขตของการพลังงานฯ  มาจนถนนใหญ่ลาดยาง    (แต่ขณะนั้นยังเป็นทางลูกรังอยู่) ข้ามถนนใหญ่เข้าไปทางแยก  ซึ่งจะเริ่มเป็นหมู่บ้านไทยเจริญ   สมัยนั้นหมู่บ้านไทยเจริญยังมีน้อยหลังคาเรือน  แต่ละหลังอยู่กันห่าง ๆ  บิณฑบาตรสายนี้ไป-กลับใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง   พระเณรผู้ยังแข็งแรง  นิยมจะออกบิณฑบาตรสายไกลนี้เป็นส่วนมาก สายใกล้คือบ้านโคกซวกนั้น  เหมาะกับผู้มีอายุมาก     หรือรูปที่อาพาธเล็กน้อยไปไกลนักไม่สะดวก  และพระรูปที่ต้องมีหน้าที่  รับส่งดูแลบาตรหลวงปู่     กับรูปที่ต้องเดินติดตามหลวงปู่  ซึ่งจะต้องรีบกลับมาถึงวัดให้ไว ทันต่อการทำกิจวัตรถวายท่าน
         โดยสภาพทั่ว ๆไปของวัดหินหมากเป้งในระยะนั้น  สงบ สงัด เงียบปราศจากเสียงอึกทึก  และกิจกรรมที่วุ่นวาย   ต้นไม้ต่าง ๆ ยังมีมาก   ปกคลุมร่มเย็นอยู่ตลอดวัน ประกอบกับสมาชิกในวัด  ทั้งฝ่ายพระเณร  ทั้งฝ่ายอุบาสก  อุบาสิกา และญาติโยมที่ไปมาสู่วัดมีไม่มาก   จึงทำให้บรรยากาศของวัด  สงบ วังเวง เหมาะต่อการอยู่ประพฤติปฏิบัติธรรม   ขัดเกลากิเลส  ของผู้ใฝ่ความวิเวก ดีแท้ ๆ
          กิจวัตรประจำวันของพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
         ช่วงเช้า
         ความเป็นอยู่ของหลวงปู่ที่พวกเราได้เกี่ยวข้อง  ปรากฏในแต่ละวันนั้นเริ่มจากเวลาเช้าตรู่   ประมาณ  5.30  น.  พระเณรที่มีหน้าที่  ต่างทยอยไปสู่กุฏิของท่าน ซึ่ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง  (ปัจจุบันนี้คือตรงที่เป็นอาคารตำหนักสมเด็จฯ)  ด้วยอาการเงียบสงบสำรวม  ไม่ให้มีเสียงใด ๆ เป็นอันขาด  นั่งสงบนิ่ง  รออยู่ที่บริเวณระเบียงกุฏิ ต่างองค์ต่างก็สงบจิตภาวนาไปในตัวด้วย (พระเณรที่ไปทำกิจวัตรถวายท่านในช่วงนี้ จะต้องเป็นรูปที่อยู่มาเก่า ๆ คุ้นเคยกับองค์ท่าน และเป็นผู้รู้จักการงานดีแล้ว ส่วนรูปที่ยังใหม่อยู่    แต่ต้องการร่วมทำกิจนี้ถวายท่านบ้าง ก็ต้องเฝ้าดูและศึกษาสอบถามผู้อยู่เก่าเสียก่อน  นานไปจึงค่อยขยับเข้าไปช่วยกิจส่วนที่ใกล้ชิดกับองค์ท่านมากขึ้น    เมื่อตนเข้าใจและท่านคุ้นเคยมากขึ้นแล้ว)
         เมื่อได้เวลาอรุณรุ่ง   โดยสังเกตจากขอบฟ้าทางตะวันออก      ซึ่งเป็นทิศทางมองทอดไปตามลำน้ำโขง   เห็นสว่างเป็นสีเหลือง-แดง  หลวงปู่จะให้เสียงแสดงว่าท่านตื่นแล้ว    โดยบางครั้งจะเป็นเสียงพลิกตัว    บางครั้งก็เป็นเสียงกระแอมเบา  ๆ  บางทีก็เป็นเสียงจับต้องสิ่งของใช้   พวกพระที่รออยู่ก็จะค่อย ๆ เปิดประตูห้องพักของท่านเข้าไป  บางองค์ถวายน้ำบ้วนปาก  บางองค์ถือกระโถนรองรับน้ำบ้วนปาก  องค์อื่น ๆ ก็จัดทำกิจอื่น  เช่น นำกระโถนปัสสาวะออกไปเทและชำระล้าง  เช็ด  ขัด ให้สะอาด นำไปเก็บไว้ ณ ที่เก็บ  เก็บก้านธูป  ทำสะอาดแท่นบูชาพระในห้องจำวัดนั้น
         เมื่อหลวงปู่บ้วนปากแล้ว 1-2 ครั้ง  จะลุกขึ้นเดินออกประตูไปข้างนอก   ไปแปรงฟันและล้างหน้าที่อ่างล้างหน้า ริมระเบียงด้านหนึ่ง  ซึ่งจะมีพระคอยถวายแปรงพร้อมยาสีฟัน   (การล้างหน้าแปรงฟันนี้  บางสมัยเมื่ออาพาธก็ถวายท่านที่หน้าเตียง  เมื่อท่านลุกขึ้นนั่งอยู่ที่ริมเตียงนั้นเลย)  ในขณะที่ท่านออกจากห้องไป  พระเณรจึงรีบทำสะอาดภายในห้อง   ปัดกวาดพื้น   ฝาห้อง   สลัดผ้าปูที่นอน   ผ้าห่ม  ผ้าคลุม  หมอนและจัดปูให้เรียบร้อยไว้   ผ้าผืนใดเห็นว่าสมควรจะนำไปทำการซักฟอก หรือตาก ผึ่ง ก็นำไปเสียแต่ตอนนี้  โดยถ้ามีผืนสำรองก็นำมาจัดปูเข้าที่ไว้เสียให้เรียบร้อยก่อน
         ตัวหลวงปู่เมื่อเสร็จจากแปรงฟัน ล้างหน้า ก็ลงสู่ศาลาจงกรม  ซึ่งอยู่ด้านหน้ากุฏิ    (พวกเราเรียกว่าศาลายาว)   ขณะท่านเดินจงกรมไป มา  พวกพระเณรก็รีบทำความสะอาดกุฏิ  โดยทั่วไปทั้งหมด   ปัดกวาด   เช็ดถู  เตรียมปูอาสนะนั่งแถบระเบียง  (บางสมัย   จัดปูอาสนะที่ยกพื้นสูงหน้าประตูห้องของท่านเลย)  พระองค์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับบาตร นำบาตรและกาน้ำ  จอกน้ำของท่านไปตั้งที่แท่นฉันที่ศาลาใหญ่ (เรื่องบาตรนี้พระรูปใด  จะรับเป็นธุระจะต้องขออนุญาตจากท่าน   และจะต้องเอาใจใส่ดูแลให้เรียบร้อยดีทุกขั้นตอน  เริ่มตั้งแต่นำบาตรไปศาลา  นำบาตรไปรอ  ณ ที่รับบิณฑบาต  นำบาตรกลับมาศาลาฉัน เมื่อท่านฉันเสร็จแล้วนำไปล้างชำระให้สะอาด  เช็ดขัดให้แห้ง   ผึ่งแดดพอร้อน ใส่ถลกและรัดเชิงบาตรเข้ากันเรียบร้อย แล้วนำไปเก็บไว้ในห้องพักของท่าน    พร้อมทั้งกาน้ำและจอกน้ำ     สำหรับกาน้ำและจอกน้ำนั้น  ต้องคอยดูแลขัดเช็ด   ให้ขาวสะอาดเป็นมันวาวอยู่เสมอ     กาน้ำของหลวงปู่  เป็นกาอะลูมีเนียม  มีขนาดเล็ก เมื่อเติมน้ำฉันในกา  ก็ต้องรู้จักพอดีกับที่ท่านฉัน   โดยเมื่อท่านฉันแล้วเรียบร้อย  ให้มีเหลือเพียงนิดหน่อยเท่านั้น   มิใช่ว่าจะเติมใส่น้ำเสียจนเต็มหรือเกือบเต็ม  ซึ่งจะเป็นปริมาณที่มากมายเกินกว่าความจำเป็น  น้ำที่เหลือจากฉันในแต่ละวัน  จะต้องเททิ้งและเช็ดถูกาและจอกให้แห้ง    สะอาด ขาว วาว จึงนำไปเก็บพร้อมกับบาตรดังกล่าว   พระรูปใดได้เป็นผู้ดูแลบาตร   และกาน้ำ-จอกน้ำ  จะต้องเอาใจใส่อย่างจริงจัง  ต้องทำด้วยตัวเอง  มิใช่จะไปมอบให้องค์อื่นทำต่อ   หรือทำแทนตน  หากจำเป็นจะต้องให้ผู้อื่นทำแทน  จะต้องกราบเรียนท่านให้ทราบและอนุญาตเสียก่อน)
         หลวงปู่เดินจงกรมที่ศาลายาว   ประมาณ 20-30 นาที    ญาติโยมจากทางโรงครัวของวัด  จะนำอาหารว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเพื่อถวาย   ท่านขึ้นจากทางจงกรมไปนั่งที่อาสนะ  ที่พระเณรจัดถวายไว้ตอนเช้าตรู่ที่ระเบียงกุฏิ    จะมีสามเณรองค์หนึ่งอยู่คอยเป็นผู้รับและประเคนถวายท่าน
         ในบางคราว  หากมีอุบาสกที่เป็นลูกศิษย์คุ้นเคยมาพักอยู่ที่วัดด้วย  ท่านก็จะให้อุบาสกนั้น  เป็นผู้นั่งคอยรับใช้อยู่กับท่านแทนสามเณร    (ในสมัยนั้นสามเณรที่อยู่ทำหน้าที่ คือสามเณรสุเนตรบ้าง  สามเณรอ๊อดบ้าง  ส่วนอุบาสก  ก็มีโยมวิรัตน์  พ่อตู้ใส พ่อตู้แสง คุณหมออุดม เป็นต้น) ให้สามเณรนั้นไปบิณฑบาตอันเป็นกิจประจำวัน หลวงปู่ฉันบ้างเล็ก ๆน้อย ๆ ฉลองศรัทธาให้บังเกิดความเบิกบานใจแก่ผู้นำมาถวาย    หลวงปู่อาศัยช่วงเวลาเล็กน้อยภายหลังฉันอาหารว่างนี้  พูดคุยแนะนำ     ตอบปัญหาข้อข้องใจในธรรมปฏิบัติแก่ญาติโยมที่มาจากทางไกลมาคารวะและพักอยู่ที่วัด  ซึ่งมักจะขึ้นมาพร้อมกับผู้ที่นำอาหารว่างขึ้นมาถวาย  บางครั้งก็สอง-สามคน   บางครั้งก็สิบคน ญาติโยมที่มาในช่วงนี้   ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่คุ้นเคยเก่าแก่กับท่านมานานแล้ว  และนาน ๆ จะได้มีโอกาสมากราบสักครั้งหนึ่ง

thxby295uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 07:51:41 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 07:14:35 »


         พอพระเณรที่ออกบิณฑบาตชุดแรกกลับเข้ามาถึงวัด   พระรูปที่มีหน้าที่เกี่ยวกับบาตร   จะนำบาตรของท่านตรงไปรอที่โรงครัว   หลวงปู่สังเกตเห็นว่า พระเณรกลับมาถึงวัดเป็นชุดแรกแล้ว ก็เตรียมครองจีวรห่มคลุม  ถือไม้เท้าอันเล็กเรียวยาว    เดินไปสู่โรงครัวเพื่อรับบิณฑบาต โดยมีอุบาสกที่นั่งอยู่คอยรับใช้นั้นเดินติดตามคอยช่วยเหลือไปด้วย
         ที่โรงครัว  พระรูปที่มีหน้าที่ดูแลบาตร   (พระที่ดูแลบาตรท่าน    สมัยนั้นคือครูบาเวื่อง  ครูบายา  และต่อมาคือครูบาพิชิต) ซึ่งไปบิณฑบาตสายใกล้ที่สุด (ในที่นี้ก็คือสายบ้านโคกซวก) ต้องรีบกลับมา   แล้วรีบนำบาตรของหลวงปู่ไปรอที่โรงครัว (ในเวลาต่อมา เมื่อจัดให้มีพระผู้คอยเดินติดตามท่านด้วย    พระรูปนั้นก็ต้องรีบกลับมาพร้อมกับรูปที่ดูแลบาตรด้วย)  เมื่อหลวงปู่ไปถึง ส่งบาตรถวายท่าน  หลวงปู่สะพายบาตรเข้าที่   เดินเข้าไปยืน  ณ  จุดที่ญาติโยมเตรียมปูผ้าเอาไว้  เปิดฝาบาตรให้ญาติโยมทยอยกันใส่บาตร (ในระยะหลังเมื่อท่านชราภาพมากขึ้น    ได้จัดเก้าอี้ไว้ให้ท่านนั่งรับบิณฑบาตรแทนการยืน ซึ่งในบางคราวมีญาติโยมมาก   ก็เป็นเหตุให้ท่านต้องยืนรับบิณฑบาตนาน ๆ   กว่าจะรับหมดทุกคน)
         เมื่อญาติโยมทุกคนที่เตรียมมาใส่บาตร ได้ใส่หมดแล้วเรียบร้อย  หลวงปู่ปิดฝาบาตร  พระผู้มีหน้าที่ซึ่งรออยู่ห่าง ๆ ก็รีบเข้าไปรับบาตรจากท่าน  นำขึ้นไปที่ศาลาโรงฉัน เตรียมตั้งไว้บนเชิงบาตรให้เรียบร้อยไว้    หลวงปู่สนทนาทักทายกับญาติโยมบ้างเล็กน้อย  บางครั้งก็ออกเดินไปตรวจดูบริเวณโรงครัวบ้าง  ที่พักฝ่ายอุบาสิกา  ญาติโยมบ้าง แล้วจึงเดินกลับกุฏิพร้อมผู้ติดตามถึงกุฏิแล้ว  ท่านเปลื้องจีวรออก  ให้ผู้ติดตามรับไปคลี่พาดตากไว้ที่ราวระเบียงกุฏิด้านที่มีแดดส่อง  ท่านเข้าห้องน้ำแล้วออกมานั่งพักที่ระเบียง
         ฝ่ายพระเณร เมื่อกลับจากบิณฑบาต   จัดแบ่งอาหารบางส่วนในบาตรไว้แล้ว  แต่ละองค์ก็จะไปรวมทำวัตรเช้าที่ในโบสถ์   เสร็จจากทำวัตรแล้วจึงมาที่โรงฉัน  เตรียมเพื่อการขบฉันต่อไป
         เมื่อพระเณรเสร็จจากทำวัตรเช้า     ทยอยออกมาจากโบสถ์มายังศาลาใหญ่หลวงปู่ก็ครองผ้าจีวรถือไม้เท้า เดินจากกุฏิไปสู่ศาลาพร้อมผู้ติดตาม (เรื่องผู้ติดตามหลวงปู่นี้ ต่อมาภายหลังได้พิจารณาเห็นว่า สมควรจะให้มีพระรูปใดรูปหนึ่งเป็นหน้าที่ติดตามประจำ คอยช่วยเหลือท่าน ระมัดระวัง  ขณะท่านเดินไปในที่ต่าง ๆ เช่น เดินจากกุฏิไปบิณฑบาตโรงครัว  เดินกลับกุฏิจากบิณฑบาต  เดินไปศาลาฉัน  เดินกลับกุฏิ หรือเดินไปตรวจดูงานต่าง ๆ ในวัด เป็นต้น  ซึ่งพระรูปดังกล่าวนี้  ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม   มีสัมมาคารวะ สงบ  อ่อนน้อม  เฉลียวฉลาด ช่างสังเกต  รู้จักกาละ และกาลอันควรมิควร    เป็นผู้มี
มารยาทอันดี  สะอาด  และขยันขันแข็ง  กระฉับกระเฉง   เป็นต้น     ที่สำคัญคือต้องกราบเรียนให้หลวงปู่ทราบ  และให้ท่านพิจารณาดูนิสัยใจคอขององค์นั้น ๆ อีกทีหนึ่งในสมัยนั้นผู้ที่รับหน้าที่ก็คือ ครูบาชัยชาญ) วางไม้เท้า    ถอดรองเท้า   ให้พระเณรที่รออยู่แล้ว   นำไปเก็บพิงไว้ด้านหนึ่ง   หลวงปู่กราบพระที่แท่นบูชาแล้วขึ้นนั่งบนแท่นฉัน    อันเป็นส่วนเฉพาะขององค์ท่าน  รับกราบจากพระเณร  จากนั้นก็เตรียมเลือกอาหาร  ตัก  ข้าว-กับ  ที่ถูกธาตุขันธ์ใส่ในบาตร    (ที่แท่นฉันของหลวงปู่นั้น    จะมีพระอีกรูปหนึ่งมีหน้าที่คอยรับประเคนอาหารต่าง  ๆ   วางให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม  โดยต้องรู้อัธยาศัยการขบฉันของหลวงปู่เป็นอย่างดี  ในสมัยนั้นผู้ทำหน้าที่นี้คือครูบายาบ้าง  ครูบาชุมพลบ้าง บางสมัยก็ครูบาพิชิต   หลวงพ่อคำไพ)   ในขณะเดียวกันพระเณรก็จัดการจัดแบ่งอาหารจนทั่วถึงกันเรียบร้อย   หลวงปู่พิจารณาตักอาหารต่าง  ๆ  ใส่รวมลงในบาตรเสร็จแล้วก็จะนั่งรออยู่พระผู้จัดตั้งวางอาหารบนแท่น  กลับไปนั่ง ณ ที่นั่งฉันของตน
          บนแท่นฉันของหลวงปู่จะมีอาหารจานต่าง ๆ มากมาย     ท่านเลือกตักเอาอาหารที่มีรสและคุณค่าทางอาหาร  ถูกธาตุขันธ์ของท่าน  อาหารที่ตักนั้นนำรวมลงในบาตรเป็นส่วนใหญ่   และมีปริมาณไม่มาก   อาหารส่วนที่เหลือก็คงตั้งไว้บนแท่นนั้น  จนกระทั่งท่านฉันเสร็จเรียบร้อย  ในระหว่างฉันท่านอาจจะเลือกตักจากจานไหนเพิ่มเติมบ้างเล็ก ๆน้อย ๆ อาหารที่ยกถอยออกมา  เมื่อท่านฉันเสร็จแล้วนี้  จะมอบให้ฝ่ายแม่ชี หรืออุบาสิกานำไปโรงครัว สำหรับให้ฝ่ายโรงครัว นำไปรับประทานกันที่บริเวณโรงครัวโน้น (ทางฝ่ายโรงครัว  คือแม่ชีและอุบาสิกา  จะนำอาหารทั้งหมดที่ปรุงขึ้น ขึ้นมาถวาย   ได้มีการแบ่งถวายหลวงปู่   และพระเณรทั้งหมดเสียก่อน   เมื่อพระเณรให้พรอนุโมทนา  และหลวงปู่ฉันเสร็จ ถอยอาหารออกมาแล้ว จึงนำกลับลงไปแบ่งกันรับประทาน  ซึ่งอาหารที่นำกลับลงไปนั้น ก็คือส่วนที่ถอยออกจากแท่นหลวงปู่นี้ส่วนหนึ่ง และที่เหลือจากแจกพระเณรทุกองค์แล้ว ยังอยู่ในหม้อต่าง ๆ นั้นอีกส่วนหนึ่ง  การทำดังนี้เห็นเป็นที่สบายใจ ในข้อที่ว่าอาหารทุก ๆอย่างที่เป็นของเขาได้นำมาถวายเป็นของสงฆ์แล้ว    และได้รับการอนุโมทนา   อนุญาตจากสงฆ์ให้บริโภคโดยชอบแล้วนั้นแล    เมื่อพระเณรทั้งหมดแจกอาหารทั่วถึงกันเรียบร้อยแล้ว  หลวงปู่จะให้พร ยะถา  สัพพี  (การให้พรนี้ในระยะหลัง ๆ ท่านให้พระองค์ที่นั่งถัดจากท่านเป็นผู้ให้พร  โดยท่านจะหันมาพยักหน้าให้เป็นสัญญาณ)
        จบการให้พรแล้ว หลวงปู่นั่งพิจารณาอาหารในบาตรให้เป็น  อภิณหปัจจเวกขณะ ครู่หนึ่ง  แล้วจึงเริ่มฉัน  ส่วนพระเณรก็จึงเริ่มลงมือฉันตามท่าน  ฉันเสร็จต่างองค์ต่างลุกนำบาตรของตนไปล้างยังโรงล้างบาตร   แล้วนำกลับมานั่งเช็ดที่ที่นั่งฉันของตนนั้นเอง  พระองค์ที่มีหน้าที่จัดตั้งอาหารบนแท่นของหลวงปู่จะต้องรีบฉันและอิ่มก่อน      แล้วละจากที่นั่งของตน   ไปคอยจัดเลื่อนอาหาร   จาน  หรือ  ถ้วยต่าง ๆ เข้าหรือออกไปจากหลวงปู่  เมื่อสังเกตเห็นว่าท่านเพียงพอแล้ว   หรือประสงค์จะฉันจากจานใด  เมื่อหลวงปู่ฉันเสร็จท่านให้สัญญาณ  ก็ยกบาตรพร้อมเชิงถอยออกมาวางที่พื้น แล้วเตรียมถวายน้ำล้างมือ  ผ้าเช็ดมือ  น้ำฉันท่าน  ส่วนบาตรนั้นพระรูปที่มีหน้าที่ดูแล ซึ่งฉันเสร็จแล้วก็จะนำไปเพื่อชำระล้าง   เช็ดขัดให้แห้งสะอาด
         หลวงปู่เมื่อรับน้ำล้างมือและล้างปากแล้ว  รับผ้าเช็ดมือมาเช็ดปากเช็ดมือ รับไม้สีฟันและจอกน้ำ   ทำสะอาดปากฟันให้ปราศจากเศษอาหาร    แล้วจึงเทน้ำจากกาฉัน  หากต้องฉันยาหลังอาหาร   ก็จะนำถวายท่านตอนนี้เลย  ฉันน้ำจากจอกหมดแล้ว  ท่านจะเช็ด ขัดจอกน้ำนั้นด้วยตนเองเล็กน้อย  แล้วจึงวางไว้ข้าง ๆ กาน้ำ (ด้านซ้ายมือข้างที่นั่งฉัน) ส่งผ้าเช็ดมือและผ้าคลุมตักคืนให้พระผู้นั่งคอยถวายการอุปัฏฐากอยู่ พระผู้ดูแลบาตรจะนำกาน้ำ  และจอกไปเทน้ำในกาทิ้ง แล้วล้างจอก ขัดเช็ดถูให้แห้งสนิท  สะอาด จึงนำไปเก็บพร้อมกับบาตรที่กุฏิของท่าน  ผ้าเช็ดมือนำไปผึ่งหรือซักตากต่อไป     หลวงปู่พูดคุยกับญาติโยมที่มากราบบ้าง   รับถวายสิ่งของจากญาติโยมบ้าง  จนเสร็จเรียบร้อย   แล้วจึงเคลื่อนตัวก้าวลงจากแท่น   กราบพระที่หน้าแท่นบูชา  ยืนขึ้น มีพระคอยช่วยพยุง ประคอง พระรูปอื่นนำรองเท้าและไม้เท้ามาเตรียมไว้ที่ตรงจะก้าวออกจากศาลาฉัน  ท่านรับไม้เท้าสวมรองเท้าแล้วเดินกลับไปกุฏิ  พร้อมกับพระผู้ที่ติดตาม
         ถึงกุฏิ  หลวงปู่เปลื้องจีวรออกแล้วนั่งพักชั่วครู่    พระผู้ติดตามรับเอาไปตากผึ่งไว้ชั่วคราว   หากจะมียาโอสถบางอย่างถวาย  ก็ถวายเสียในช่วงนี้  เช่น ยาฉันเฉพาะโรคบางอย่าง ยาทาถูนวด เป็นต้น   ทั้งนี้เป็นไปเฉพาะบางกาล  บางโอกาส    ตามที่คณะหมอได้ตรวจ  และกำหนดให้ถวายเป็นครั้งคราวไป      (คณะหมอที่ถวายการตรวจ   แนะนำและกำหนดถวายยา  ระยะนั้นคือ  คุณหมอโรจน์  คุณหมอชะวดี)     หลังจากนั้นหลวงปู่จะเข้าห้องพักส่วนตัว    พระผู้ติดตามต้องรีบเก็บผ้าจีวร   ที่นำไปตากผึ่งนั้นมาจีบรวบเข้าแล้วพับนำไปไว้ให้ท่านที่ในห้องพัก แล้วจึงกลับออกมาพร้อมหับประตูไว้ให้เรียบร้อย หลวงปู่อยู่เป็นการส่วนตัวของท่าน   ซึ่งท่านอาจจะอาศัยช่วงเวลานี้พักผ่อนบ้าง  พิจารณาอรรถธรรม หรือเรื่องต่าง ๆ เป็นการเฉพาะองค์ท่าน  นับว่าเป็นเสร็จกิจการในช่วงเช้าของหลวงปู่
         ช่วงบ่าย
         ในช่วงแรก ๆ  จนถึงปี 2522  ตอนกลางวันหลวงปู่พักอยู่เป็นการส่วนตัวที่ในห้องชั้นที่ 2 (ชั้นล่างที่กุฏิยังไม่ได้ปรับปรุง  ทางบันไดลงไปชั้นที่ 2 ยังต้องลงที่ข้างห้องน้ำห้องส้วม ริมระเบียงชั้นบนทางเดียวเท่านั้น)   จนถึงบ่าย ๆ ประมาณบ่ายสามโมง จึงขึ้นมาชั้นบนในระยะที่พักช่วงกลางวัน   หากพระเณรมีกิจธุระจำเป็น  หรือญาติโยม  (ยังไม่มากเหมือนระยะหลัง ๆ ) จะเข้ากราบพบ ท่านก็อนุญาตให้เข้าไปพบได้  แต่ต้องเป็นขณะหลังจากที่ท่านพักผ่อนแล้ว  ซึ่งพระผู้อยู่อุปัฏฐาก  จะต้องคอยเฝ้าสังเกตดู    ต้องเข้าไปกราบเรียนให้ท่านทราบ  และท่านอนุญาตเสียก่อน การเข้าพบระยะเวลานี้   โดยปกติจะเป็นช่วงระหว่างเที่ยงถึงบ่าย  3  โมง  จากนั้นท่านก็จะขึ้นมาชั้นบน  พระที่อุปัฏฐากท่านเก็บจีวร  ย่าม และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กาน้ำ กระติกน้ำร้อน ย่าม เป็นต้น    ขึ้นมาตั้งชั้นบนเพราะท่านจะไม่ลงไปอีกในวันนั้น
          ต่อมาเมื่อปรับปรุงกุฏิครั้งใหม่   ได้ทำพื้นชั้นล่างกว้างขวางขึ้น   มีระเบียงด้านชายโขงยาว รื้อห้องน้ำชั้นบนเสีย แล้วทำใหม่ที่ริมระเบียงชั้นล่าง รื้อบันไดที่ทอดลงมาจากชั้นบนเสีย  ทำประตูเปิดให้เข้าจากด้านหน้า  เข้าสู่ห้องชั้นล่างได้โดยตรง หลวงปู่จึงพักช่วงกลางวัน ที่ชั้นล่างจนถึงหลังสรงน้ำ (ซึ่งการ "สรงน้ำ" หลวงปู่ได้เปลี่ยนมาทำที่ในห้องน้ำชั้นล่างนี้แทน) แล้วจึงย้ายขึ้นไปพักที่ระเบียงชั้นบน
          การพักอยู่ในช่วงกลางวันของหลวงปู่  ท่านจะมีการจำวัดพักผ่อนบ้างเล็กน้อย จากนั้นก็อ่านหนังสือบ้าง   เขียนหนังสือบ้าง   พิจารณากิจการงานของวัด หรือกิจเล็ก ๆน้อย ๆ กับบริขารของท่านเอง (ได้เคยเห็นว่าบางคราวเมื่อผ้าจีวรหรือสบงมีรอยขาดทะลุเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งพระเณรไม่ได้สังเกตเห็น และท่านเองสังเกตเห็นเข้า ท่านก็ทำการชุนเสียด้วยตนเอง   ด้วยชุดเข็มและด้ายที่มีประจำอยู่ในย่ามใบเล็กของท่านนั้นเสมอ)  บางครั้งก็ปรึกษางานกับพระที่มาธุระหรือมากราบเยี่ยม-คารวะ  ประมาณบ่ายสามโมง   จะมีสัญญาณระฆังตีบอกถึงเวลาทำกิจวัตร  ปัดกวาดลานวัด หลวงปู่จะลงกวาดลานวัดพร้อมพระเณร
ท่านจะครองสบงและอังสะ   และมีผ้าอาบน้ำผืนหนึ่งพับทบจนเหลือขนาดพอเหมาะ พาดปกศีรษะเพื่อกันฝุ่นและแสงแดด ไม้กวาด (ซึ่งเรียกกันว่า ไม้ตาด   เรื่องของไม้ตาดนี้จะได้กล่าวในตอนหลังอีกเล็กน้อย) ของท่านนั้น  ท่านต้องให้เก็บไว้อย่างเรียบร้อยในที่ที่พ้นจากฝนสาด เป็นการเก็บรักษาที่ท่านถือว่าต้องให้ความสำคัญคล้ายกับบริขารประจำตัวอย่างหนึ่ง   ไม้ตาดนี้พระเณรย่อมต้องรู้จักว่าเป็นของครูบาอาจารย์  และการไปหยิบเอาของท่านมาใช้จึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง    และแม้จะเป็นการขอโอกาสขอรับไม้ตาดจากมือของท่านซึ่งกำลังกวาดอยู่เอามากวาดแทนท่าน  ด้วยหวังจะเป็นการช่วยเหลือท่าน  ก็ไม่สมควรอีกเหมือนกัน ท่านเคยสอนว่าสิ่งของเครื่องใช้ของครูบาอาจารย์   เป็นสิ่งที่ผู้เป็นศิษย์ควรให้ความเคารพ ไม่ควรไปร่วมใช้กับท่าน เช่น ไม้กวาด ไม้ตาด  จอกดื่มน้ำ  ผ้าจีวร  หรือผ้าใช้อื่น ๆ  แม้กระทั่งผ้าเช็ดเท้า   ห้องน้ำห้องส้วมที่อยู่เป็นสัดส่วนเฉพาะของท่าน และอุปกรณ์  เป็นต้น (การที่ขอเอาไม้กวาด  หรือไม้ตาดจากท่านมากวาด    ท่านอธิบายให้ทราบว่า  เป็นการนำเอาของใช้ของครูบาอาจารย์ไปใช้เอง เป็นการขาดความเคารพนั่นประการหนึ่ง   และที่ท่านกำลังกวาดอยู่  เป็นการทำกิจวัตร   ไม่สมควรเข้าไปขัดขวางถ้าหากอยากช่วยปัดกวาด   ก็ควรไปเอาอันอื่นมากวาดช่วย  นี่เป็นอีกประการหนึ่ง   ซึ่งเป็นเรื่องของความละเอียดในการพิจารณา ที่ได้รับทราบจากท่าน)  
        การกวาดตาดของหลวงปู่นั้น   ท่านจะกวาดอย่างเบา ๆ  เป็นลักษณะเขี่ยเอาเฉพาะใบไม้ที่หล่นหรือขยะมูลฝอยให้กระเด็นไปเท่านั้น  พยายามไม่ให้ซี่ไม้ตาด กด ขูดดินมาก  ท่านได้เคยแนะนำให้พระเณรได้เข้าใจถึงเหตุผลเรื่องนี้ว่า   หากเรากวาดโดยกดไม้ตาดแรงไปก็เป็นการขูดเอาผิวดินไปด้วยทีละน้อย ทีละน้อย เมื่อหลายทีเข้าผิวดินบริเวณที่เรากวาดอยู่ทุก ๆ  วันนั้นก็จะกร่อนจนต่ำลงไปเป็นแอ่ง  และเมื่อนานไปจะเห็นว่าดินไปกองรวมอยู่ตามขอบทางหรือขอบบริเวณที่กวาดเป็นกองสูง   ก็ต้องทำการขุดถากปรับกันอีกและการกวาดแบบกดแรงนั้น   เมื่อดินหนีไปตามแรงกวาดแล้วรากไม้ก็จะค่อย ๆ โผล่ ทำ
ให้เสียคุณประโยชน์หลาย ๆ ประการแก่ต้นไม้  ทำให้ต้นไม้ไม่เจริญยืนนานอีกด้วย  (รากลอย  ยืนต้นตาย)  อีกอย่างหนึ่ง  การกวาดที่มีความระวังยั้งมือแบบนั้น   ยังเป็นการได้ฝึกตนเองให้เป็นผู้มีความระมัดระวัง  สังเกตอยู่เสมอ  ซึ่งก็คือการฝึกสติไปด้วยในตัว ทั้งยังเป็นการใช้ไม้ตาดอย่างถนอม   ทำให้ไม่ชำรุดเร็วเกินไปอีกด้วย
         การกวาดลานวัด  ที่วัดหินหมากเป้งนั้น  กวาดเอาใบไม้ที่หล่นไปรวมลงในที่ลุ่มต่ำหรือในหลุมซึ่งขุดไว้ฝังใบไม้โดยเฉพาะ   การกวาดอาจจะกวาดไปลงหลุม  หรือกวาดเอาไปรวมไว้ตามโคนต้นไม้   หรือกวาดกองรวมเป็นกองไว้  แล้วจึงทะยอยขนเอาไปอีกทีหนึ่ง  เมื่อกองใบไม้หรือขยะใหญ่ขึ้น  รกรุงรังมากขึ้น  เกินกว่าที่จะเอาไปทิ้ง  เด็กวัดหรือญาติโยมที่มาวัด  ก็จะพิจารณาเผาเสียครั้งหนึ่ง  กองใบไม้ตามโคนต้นไม้นั้น  เมื่อจะจุดไฟเผาต้องเขี่ยออกมาให้พ้นโคนต้น  เพื่อไม่ให้เปลวไฟลวกไหม้ต้นไม้  ซึ่งอาจจะทำให้ต้นไม้ตายหรืออายุสั้นลงมาก  (ในช่วงเวลากวาดลานวัดนี้ หากขณะนั้นมีการปรับปรุงสร้างเสริมอะไรในวัด   หลวงปู่ก็จะไปตรวจดูงานนั้น ๆ ด้วย     หรือถ้ามีกิจการงานใด ที่ควรให้พระเณรไปช่วยทำกัน  ท่านก็จะให้เรียกระดมไปร่วมช่วยกันทำเสีย    การไปตรวจดูงาน หากอยู่ไม่ไกล ท่านก็ถือไม้ตาด   พร้อมผ้าอาบน้ำปกศีรษะเดินไปพร้อมกับพระเณรที่ตามไปดูด้วย หากอยู่ไกลท่านจะบอกพระหรือเณรไปนำไม้เท้ามา   มอบตาดให้เอาไปเก็บ  แล้วท่านก็ถือไม้เท้า  ผ้าปกศีรษะ  เดินไปกับพระเณร
       

thxby296uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 08:07:44 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 11:33:50 »


          ไม้เท้าของหลวงปู่อันนี้ ทำด้วยไม้ประดู่  มีลักษณะกลมเรียวเล็ก  ปลายด้านหนึ่งใหญ่เรียวลงไปหาอีกปลายหนึ่ง  เส้นผ่าศูนย์กลางที่ปลายด้านใหญ่ประมาณ 15-18 ม.ม. ด้านปลายเล็ก 10ม.ม.  ความยาวทั้งสิ้นประมาณ  165 ซม. ที่ระยะ 50 ซ.ม. และ 1 เมตร วัดจากปลายด้านใหญ่   มีฝังหมุดทองแดงไว้ สำหรับเป็นระยะครึ่งเมตร  แทนไม้เมตรวัดระยะ   ท่านจะใช้ไม้เท้านี้กะวัดระยะ  งานก่อสร้างต่าง ๆ อย่างคร่าว ๆ เสมอ  จนรู้สึกเสมือนว่าองค์ท่านกับไม้เท้าอันนี้    เป็นเอกลักษณ์ของท่าน  ที่ตราอยู่ในจิตใจพวกพระเณร และศิษย์  อนุศิษย์    ในยุคนั้นโดยทั่วไปการใช้ไม้เท้าท่านจับถือเอาด้านปลายใหญ่ลงดิน  เอาด้านปลายเล็กชี้ขึ้นทางบนพระ เณร  กวาดลานวัดถึงประมาณบ่าย 4 โมงครึ่ง  ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยทั่วบริเวณวัด พอดีถึงเวลาฉันน้ำปานะ จะมีสัญญาณระฆังอีกครั้งหนึ่ง    พระเณรมารวมกันฉันน้ำปานะที่ศาลาใหญ่ชั้นล่าง
         หลวงปู่กลับกุฏิ  พระเณรรับไม้ตาดจากท่านไปเก็บไว้ยังที่เก็บ  ท่านนั่งที่เก้าอี้พับซึ่งเตรียมจัดไว้ที่ระเบียง  ฉันน้ำชา พักเหนื่อยอยู่    ชาที่หลวงปู่ฉันในระยะนี้ ทำจากต้นไม้เล็ก ๆ ชนิดหนึ่งชื่อ ต้นน้ำนมราชสีห์  มีอยู่ทั่วไปในวัด   สามเณรผู้อุปัฏฐาก ต้องนำมาหั่นตากแดดแห้ง  คั่วให้เกรียม  หอม  แล้วเก็บใส่กล่องไว้ เมื่อจะชงถวาย   ก็นำใส่ลงในป้านนำชาแล้วรินน้ำร้อนใส่อย่างเดียวกับชงชานั้นเอง หลวงปู่บอกว่าท่านฉันน้ำนั้นแล้วทำให้ชุ่มคอ  และโล่งเบา   ท่านฉันน้ำชานี้อยู่หลายปี   ต่อมาภายหลังจึงเลิก     และเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น  พระเณรฉันน้ำปานะที่ศาลาใหญ่เสร็จแล้ว  ก็แยกย้ายกันไปทำกิจวัตรพิเศษ เป็น 4 จุด คือ
        1. ทำสะอาดศาลาใหญ่ และห้องน้ำห้องส้วม
        2. ทำสะอาดโบสถ์  
        3. ทำสะอาดกุฏิหลวงปู่  และ
        4. ขนน้ำใช้มาใส่ตุ่มหรือถังตามจุดต่าง ๆ
(ในระยะต่อมา เมื่อต่อไฟฟ้าเข้าวัดแล้ว  และได้ทำระบบจ่ายน้ำไปตามท่อ งานขนน้ำใช้ก็เป็นอันยกเลิก   และต่อมาอีก  เมื่อมีการก่อสร้างมณฑปเสร็จ จึงเพิ่มงานทำความสะอาดมณฑปเพิ่มเข้ามาอีก)
        กิจวัตรทั้งสี่นี้   แรก ๆ ยังไม่ได้จัดตั้งเป็นกลุ่มและมอบหมายกันเป็นวาระ  วนเวียนกันไปแต่ละวัน เมื่อพระเณรรูปใดเห็นว่าต้องการจะไปทำกิจใดก็ไป     หรือเห็นว่ากลุ่มใดมีจำนวนในคณะน้อยก็ไปช่วยได้เลย     การทำกิจวัตรในสมัยแรก ๆ ที่ยังไม่มีการแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ   เนื่องจากพระเณรยังมีน้อย  บางครั้งไม่ถึง  10 องค์ด้วยซ้ำ ไม่มีการกำกับบังคับให้ต้องทำส่วนนั้นส่วนนี้  ทุกท่านทุกองค์ล้วนมีจิตใจกระตือรือร้น    มุ่งที่จะได้มีส่วนร่วมทำกิจทั้งปวง  พยายามหาจังหวะ  โอกาสให้ตนได้ทำร่วมอยู่เสมอ  เช่น  กิจทำความสะอาดศาลา  พระเณรรูปใดตื่นแต่เช้าตรู่  ก็รีบนำบาตร กระโถน  กาน้ำ  จอกน้ำ
พร้อมกับผ้าครอง  (ไตรจีวรครบชุดเพราะยังไม่สว่าง ได้กำหนดรุ่งอรุณของวันใหม่  พระเณรต้องรักษาผ้าครองให้ครบอยู่กับตน) ของตน  มาที่ศาลาใหญ่  รีบปัด  กวาด  เช็ด ถู ศาลาทันที  โดยไม่ต้องรอใคร  ทำได้มากเท่าใดยิ่งรู้สึกยินดีและเป็นบุญกุศล ก่อนที่องค์อื่นจะทันได้มาแย่งแบ่งทำเสียก่อน  ถึงแม้มาเช้ายังมืดอยู่ ก็ใช้จุดเทียนไข  ตั้งตามจุดต่าง ๆให้สว่างพอมองเห็นและทำกิจได้  แม้ในกิจวันอื่น ๆ  ก็เช่นเดียวกัน   ทุกท่านทุกรูปต่างก็กระตือรือร้น  ช่วยกันทำ  แย่งกันทำอย่างเต็มใจ  พอใจ  กิจวัตรต่าง ๆ จึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องเพลิดเพลิน  สนุก  อิ่มเอิบใจ    สมกับที่แต่ละองค์ต่างมุ่งหน้ามาสู่สำนักของหลวงปู่เพื่อศึกษาและฝึกฝนอบรมตนเองกับท่านจริง ๆ ต่อมามีพระเณรมากขึ้น  ด้วยความประสงค์ที่จะให้ทุกองค์ได้มีโอกาสทำกิจวัตรทุกอย่าง  สมกับที่ได้เข้ามาสู่สำนัก   เพื่อศึกษาเรียนรู้ กิจวัตร  ข้อวัตรปฏิบัติ  จึงได้แบ่งพระเณรออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วกำหนดให้ทำกิจวัตรพิเศษนี้ หมุนเวียนเปลี่ยนไปแต่ละวัน  จะอธิบายกิจวัตรพิเศษในที่นี้  เพื่อความเข้าใจและมองเห็นสภาพสักเล็กน้อย
         ? งานทำสะอาดศาลาใหญ่ ?
         ประกอบด้วยการปัดกวาดทั้งข้างบน  ข้างล่าง   แล้วใช้ไม้ถูชุบน้ำบิดให้พอหมาด  ถูพื้นโดยทั่วไป (ไม้ถูศาลา  เป็นไม้ซีก 2 อัน ประกบเข้ากันยึดด้วยน็อตสกรู เพื่อหนีบผ้าให้แน่นอยู่กับไม้ซีกนั้น  ทำด้ามต่อฉากจากตรงกลางความยาวไม้ซีก   สำหรับจับถือคันไม้ถู    ให้ผ้าเช็ดไปตามพื้นเป็นหน้ากระดาน   ด้ามไม้จะยาวประมาณ 60-80 ซ.ม. การดันไม้ถูไปแต่ละเที่ยวจึงเป็นการเช็ดถูพื้นเป็นแถบหน้ากระดาน กว้างถึง 60-80 ซ.ม.ผ้าที่ใช้ยึดติดไม้ถูนี้  ใช้ผ้าเก่า  เช่น  สบง  จีวร  ที่เก่าขาดปุปะ  ไม่สามารถใช้ครองได้อีกแล้วมาตัดให้ได้ขนาด  ทบกันหลายชั้น  แล้วเจาะรูให้น็อตสกรูสอดผ่านได้  นำไปใส่
ระหว่างไม้ซีกทั้งสอง  ขันน็อตสกรูให้แน่นก็ใช้ได้เลย   เมื่อจะใช้ถูศาลาก็นำส่วนที่เป็นผ้าชุบจุ่มในน้ำ   แล้วบิดให้หมาดจึงนำไปถู  เมื่อถูเสร็จแล้วก็นำไม้ถูนี้ไปพาดตากให้แห้ง ผ้าถูนี้จะเปลี่ยนใหม่เมื่อของเก่าใช้ไปจนเปื่อยลุ่ย ไม่อาจใช้ได้อีกนั่นแหละจึงจะนำผ้าผืนอื่นมาใส่แทนใหม่)  พื้นแห้งแล้วปูเสื่อสาด อาสนะ เพื่อครูบาอาจารย์พระเณร อุบาสก อุบาสิกา ญาติโยม  จะมารวมทำวัตรค่ำสวดมนต์   ทำความสะอาดแท่นบูชา ปัดฝุ่น เช็ดถู เปลี่ยนดอกไม้แจกัน  ตั้งเทียน  ธูป  ไว้ให้พร้อม  หากวันใดเป็นวันพระ แปดค่ำ หรือสิบสี่ค่ำ สิบห้าค่ำซึ่งหลวงปู่จะลงมาแสดงธรรม    ก็ต้องจัดเตรียมปูอาสนะ  ตั้งน้ำฉัน    กระโถนไว้ด้วย   งานในกลุ่มนี้รวมถึง เก็บเสื่อสาด  อาสนะทั้งหมด  เมื่อเสร็จจากทำวัตรค่ำ    สวดมนต์ หรือเสร็จจากการฟังธรรมเทศนา  นั่งสมาธิภาวนา  แล้วยังรวมไปถึงวันรุ่งขึ้น แต่เช้าตรู่ต้องทำความสะอาดปัด กวาด เช็ด ถูศาลาชั้นล่าง ปูเสื่อสาด อาสนะ เพื่อการขบฉันจังหัน ตั้งกระโถน  ขวดน้ำ  จอกแก้วเพื่อพระเณร ปูเสื่อสาด สำหรับที่ญาติโยมนั่ง  จัดปูอาสนะบนแท่นฉันของหลวงปู่   เตรียมน้ำล้างมือ  ปูที่เช็ดเท้าหลวงปู่    ปูอาสนะที่นั่งกราบพระหน้าแท่นพระ  สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในงานกลุ่มนี้  คือที่เช็ดเท้า    ซึ่งมีวางไว้เป็นจุด ๆรอบศาลา ต้องคอยเอาใจใส่ดูแลเก็บรักษาให้ดี      หากฝนตกแล้วปล่อยปละให้เปียกได้หลวงปู่มาเห็นเข้าจะตำหนิอย่างหนัก
          การตีระฆังให้สัญญาณในช่วงเวลาต่าง ๆ  ในแต่ละวัน ก็ถือเป็นงานในกลุ่มนี้ด้วยอีก  ซึ่งจะมีการตีเป็นเวลาดังนี้
          ตอนเช้าออกบิณฑบาต
          ตอนบ่าย 3 โมง  พื่อกวาดลานวัด
          ตอนบ่าย 4 โมงเพื่อรวมฉันน้ำปานะ
          ตอน 1 ทุ่มเพื่อรวมทำวัตรค่ำ
          ตอนตี 3  เพื่อเป็นสัญญาณให้ลุกขึ้นภาวนา
          ในวันที่มีลงอุโบสถ ต้องตีตอนบ่ายโมงครึ่งเพื่อให้พระภิกษุเตรียมตัวไปลงอุโบสถ  ซึ่งจะเริ่มในเวลาบ่าย 2 โมงการ ตีระฆังเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่  พระเดชพระคุณหลวงปู่  พยายามสอนให้ตีให้ถูกจังหวะ   ทำนอง  ถึงกับต้องมีการให้ลองหัดตีต้นไม้ให้ท่านดู  ก็เคยมีหลายคราว  และถ้าผู้ใดถึงวาระตีระฆังแล้วแล้วตีผิดแบบ  ท่านจะตำหนิและให้หัด  ตีเสียให้ดีใหม่   ท่านว่าการตีระฆังเป็นกิจที่แสนจะหยาบและอยู่นอก ๆ   รู้ได้ด้วยชัดเจนอย่างนี้  ถ้าคนสนใจ  ตั้งใจจะฝึกหัดตนเองจริง ๆ ทำไมจะทำไม่ได้    ที่ทำไม่ได้ก็เพราะความสะเพร่า  ไร้การสังเกตนั่นเอง   ถ้าเป็นอย่างนั้นจะฝึกตนเองต่อข้ออรรถ ข้อธรรมที่ละเอียดและอยู่ลึกซึ้งใน ๆ ทั้งหลายได้อย่างไรกัน  แต่ก็นั่นแหละยังมีพวกเราที่พยายามเท่าไรก็ยังตีระฆังไม่ถูกแบบอยู่หลายราย  เมื่อภัตตกิจในตอนเช้าเสร็จแล้ว ก็ต้องเก็บเสื่อสาด อาสนะ  ปัดกวาด เช็ดถู ให้สะอาด เรียบร้อย  เป็นอันเสร็จกิจวัตร
          ?  งานทำความสะอาดโบสถ์  ?
          ประกอบด้วย   ปัดกวาดใบไม้และฝุ่นผงในบริเวณลานโบสถ์      ปัดกวาดหยากไย่  แมลงมุม  ตามผนัง และกำแพงรอบ ปัดกวาดและดูดฝุ่นผงตามพรมปูพื้นในโบสถ์   เก็บทำสะอาดแท่นพระภายในโบสถ์  ปัดฝุ่นเช็ดถู เก็บดอกไม้   เครื่องบูชาเก่าออกไปทิ้ง   เปลี่ยนดอกไม้แจกันใหม่  ตั้งเทียนธูปไว้ให้เรียบร้อย  ถ้าวันใดตรงกับวันพระ    การทำวัตรค่ำของพระเณรจะย้ายจากศาลาใหญ่ชั้นล่างมาทำที่ในโบสถ์  (คงเหลือแต่คณะญาติโยม คงทำวัตรค่ำที่ศาลาใหญ่นั้น)  จะต้องเป็นผู้มาเปิดโบสถ์  เปิดประตู   หน้าต่าง  เปิดไฟเตรียมไว้  ถ้าตรงกับวันที่จะต้องลงอุโบสถ  จะต้องมาเตรียมจัดทำความสะอาดเรียบร้อย และปูอาสนะเพื่อหลวงปู่   ตั้งธรรมาสน์  องค์ผู้สวดพระปาฏิโมกข์  ตั้งกระโถน  ขวดน้ำ แก้วน้ำพร้อมไว้  ตั้งแต่ก่อนเที่ยง (ลงอุโบสถเวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง  หรือบ่ายสองโมง)   ถ้าวันใดตรงกับวันที่มีการเวียนเทียน   และหลวงปู่จะได้ลงมาร่วมด้วย     ก็จะปูอาสนะและเครื่องใช้ไว้เพื่อท่านลงมาในตอนค่ำนั้น  (การเวียนเทียนนี้มาระยะหลัง    พระเณรและญาติโยมมากขึ้น จึงย้ายมาเวียนเทียนรอบศาลาใหญ่) จากนั้นก็ปิดหน้าต่าง ประตูโบสถ์ให้เรียบร้อย  ลั่นกุญแจแล้วเก็บรักษากุญแจโบสถ์ไว้กับตัว  วันรุ่งขึ้น เมื่อพระเณรกลับจากบิณฑบาต  วางบาตร  จัดแบ่งอาหารในบาตรเตรียมไว้แล้ว  ต่างก็จะมารวมทำวัตรเช้ากันที่ในโบสถ์   ผู้ทำกิจวัตรทำสะอาดโบสถ์  จะต้องรีบมาก่อน  เปิดประตู หน้าต่างโบสถ์ไว้คอยท่า  เมื่อการทำวัตรเช้าเสร็จสิ้น   ปิดประตู  หน้าต่างโบสถ์  ลั่นกุญแจ  แล้วส่งมอบลูกกุญแจนั้นให้กลุ่มถัดไป    ซึ่งจะต้องถึงวาระมาทำกิจวัตรที่โบสถ์ในวันนั้นอีก   เป็นเสร็จกิจวัตรทำสะอาดโบสถ์
           ? งานทำความสะอาดกุฏิหลวงปู่  ?
           ประกอบด้วย  ปัดกวาดฝุ่นมูลฝอย  บริเวณลานหินและที่ใกล้กุฏิหลวงปู่ ปัดกวาดหยากไย่แมลงมุมทั่วไป  ทั้งภายนอกภายในกุฏิ  รวมทั้งที่ศาลายาว (ศาลาจงกรม  ซึ่งอยู่หน้ากุฏิ)   ปัดกวาดฝุ่นผงบนกุฏิ เช็ดถูพื้น ฝา ราวลูกกรง  กรอบและบานประตู หน้าต่างทั้งชั้นบนชั้นล่าง   ทำสะอาดแท่นพระภายในห้องพัก   ถูพื้นศาลายาว  ปูที่เช็ดเท้าวางไว้ให้ถูกที่  ปูอาสนะ  เก้าอี้ต่าง ๆ  ไว้  ซึ่งจะมีสามจุด คือ
           1. เตียงพับสนาม ปูตั้งที่ริมระเบียงด้านตะวันออก เพื่อท่านนอนพักช่วงเย็น ภายหลังสรงน้ำแล้ว   พร้อมตั้งน้ำชา  น้ำเย็น  ย่าม  กระโถน   และกระดาษเช็ดปาก
           2. เก้าอี้บุนวมตัวใหญ่ที่ปลายระเบียงด้านติดชายโขง (ทางทิศเหนือ) เพื่อท่านนั่งภาวนาในยามกลางคืน   พร้อมถาดน้ำเย็น   กระดาษเช็ดปาก   และกระโถน
           3. ปูที่นอน (ฟองน้ำอย่างบาง)  ที่พื้นยกสูงหน้าประตูห้องพัก  เพื่อท่านมานอนให้โอกาสพระเณรนวดถวาย  ภายหลังทำวัตรค่ำสวดมนต์แล้ว  พร้อมถาดน้ำเย็น กระดาษเช็ดปาก   และกระโถน   นำตะเกียงน้ำมันก๊าด  พร้อมไม้ขีดไฟมาตั้งเตรียมไว้
         ไม้กวาดที่ใช้กวาดแล้วต้องเก็บไว้ให้เป็นระเบียบในที่ที่เก็บ  ผ้าเช็ดถูพื้นซักให้สะอาด   แล้วคลี่ตากบนลานหินหน้ากุฏินั่นเอง  แล้วจึงเป็นอันว่าเสร็จกิจวัตรส่วนนี้  (ผ้าเช็ดพื้นที่ตากนี้เมื่อแห้งแล้ว    ต้องเก็บพับให้เรียบร้อย   แล้วนำไปเก็บไว้ในที่ส่วนหนึ่งที่ปลอดภัย  ไม่ถูกลมพัดสูญหาย  หรือถูกฝนเปียกได้)
         งานทำสะอาดมณฑป   เป็นกิจวัตรที่มีเพิ่มมาในภายหลัง     เมื่อมณฑปเสร็จสมบูรณ์    และหลวงปู่ย้ายจากกุฏิไปพักอยู่ประจำที่มณฑป      มีกิจวัตรที่ต้องทำคล้าย ๆ กับกิจวัตรที่กุฏิหลวงปู่  (ภายหลังต่อมา เมื่อหลวงปู่ย้ายไปพักอยู่ประจำที่มณฑปแล้ว กิจวัตรที่กุฏิเรียกชื่อว่า   กิจวัตรกุฏิเก่าหลวงปู่    และเมื่อสร้างกุฏิใหม่ขึ้นมาที่นั้น  ได้ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อเสด็จวัดหินหมากเป้งหลายคราว กิจวัตรในส่วนนี้ก็ยังมีอยู่  และเรียกว่ากิจวัตรตำหนัก)
         ? งานขนน้ำใช้  ?
         ในแต่ละวันภายในวัดจะต้องใช้น้ำตามจุดต่าง ๆ คือ ที่โรงล้างบาตร ล้างถ้วยชาม ห้องน้ำห้องส้วม  ที่ล้างเท้าพระเณรด้านท้ายศาลาใหญ่ แต่ละจุดจะตั้งตุ่มใหญ่ หรือถัง 200 ลิตร  ไว้น้อยบ้าง มากบ้าง   งานในชุดนี้คือขนเอาน้ำจากแหล่งมาเติมใส่ไว้ให้เต็มเพียงพอต่อการใช้ของพระเณรทุกจุด ใช้ปี๊บบรรทุกใส่บนรถเข็น (ครั้งละ 8 ปี๊บ) นำถังตักน้ำใบเล็ก  เชือก  และที่กรองน้ำ (ใช้ผ้าเย็บเข้ากรอบวงกลมเหมือนกระด้ง โตประมาณ 40 เซนติเมตร) ไปด้วย  ไปยังบ่อน้ำซึ่งมี 2 บ่อ บ่อหนึ่งอยู่ที่บริเวณที่เป็นอ่างเก็บน้ำหน้าเมรุหลวงปู่ขณะนี้ (แต่ก่อนเป็นที่รกไปด้วยกอไผ่ป่าและหญ้า  มีต้นไม้ใหญ่ดูเหมือนว่าจะเป็นต้นหว้า บ่อน้ำอยู่บริเวณใต้ต้นหว้านั้น) มีทางไปสู่บ่อก็แต่เฉพาะจากวัด และจากทางเดินไปนาของพ่อตู้ผู  บ้านโคกซวก ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณนี้) อีกบ่อหนึ่งอยู่ข้าง ๆ  เส้นทางลูกรังที่ออกจากวัด   ผ่านที่ดินของการพลังงานฯ (อยู่ที่ร่องทางน้ำธรรมชาติ  ในเขตที่ดินของการพลังงานฯ)   น้ำในบ่อทั้ง 2 นี้จะมีไม่มากนัก  แต่ก็พอให้ทางวัดขนไปใช้ได้ทุกวัน(คือค่อย ๆ ออกมาให้พอขนไปใช้แต่ละวัน)   ส่วนมากจะขนจากบ่อเดียวก็พอใช้แต่ในบางฤดูต้องเอาจากทั้ง  2  บ่อจึงพอ  ใช้ถังใบเล็กผูกปลายเชือกหย่อนลงไปตักเอาน้ำจากบ่อ (ไม่ลึก)  ขึ้นมาเทใส่ที่กรองน้ำ  ให้น้ำที่ผ่านกรองแล้วไหลลงในปี๊บซึ่งใส่ไว้บนรถเข็น เต็มทุกปี๊บ  ก็ช่วยกันเข็นกลับไป  ใส่ตามตุ่ม  หรือถัง 200 ลิตรที่จุดต่าง ๆ (ถังหรือตุ่มต้องหมั่นขัดล้าง เทน้ำออกทิ้งให้หมดทุก ๆ 2-3 วัน เพื่อป้องกันการเกิดมีลูกน้ำ ยุงเมื่อพระตักใช้จะผิดพระวินัยได้)  แล้ววกกลับไปขนมาอีก ดังนี้จนเต็มทุกตุ่ม ทุกถัง จึงเก็บรถเข็น คว่ำปี๊บไว้ให้น้ำแห้ง  เก็บที่กรองน้ำและถังตักให้เรียบร้อย     ก็เป็นอันเสร็จกิจประจำวันส่วนนี้    
          หลวงปู่นั่งพักที่ระเบียงสักพักใหญ่ ๆ    พระเณรฉันน้ำปานะที่ศาลาใหญ่เสร็จ  ก็พากันทยอยไปทำกิจวัตร  กลุ่มที่ทำกิจวัตรกุฏิหลวงปู่ก็จะมาที่กุฏิของท่าน  ในขณะเดียวกันพระเณรที่คุ้นเคยและมีหน้าที่ช่วย "สรงน้ำ" หลวงปู่   ก็มาเตรียมน้ำสรง ในระยะแรก ๆ (ประมาณ ปี พ.ศ 2521-2523) การสรงน้ำทำอยู่ชั้นบนที่ลานระเบียงด้านหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหน้าห้องน้ำห้องส้วม (ด้านทิศตะวันตก)   พระเณรซึ่งทำหน้าที่ช่วย "สรงน้ำ"  จะเตรียมกะละมังใบใหญ่ใส่น้ำผสมให้ร้อนพอดีของท่าน   ซึ่งผู้ทำหน้าที่ย่อมต้องรู้ดี  นำตั่งไม้ตัวเตี้ยเตรียมขัน  กล่องสบู่ถูตัวมาเปิดเอาไว้ท่า  จีบผ้าอาบน้ำถือรออยู่
         เมื่อหลวงปู่พร้อมที่จะสรงน้ำ  จะลุกเดินมาที่ที่เตรียมน้ำสรงไว้  ถอดผ้าอังสะ  และปลดรัดประคดเอว   พระเณรรับเอาไปผึ่งไว้ร่วมกับอังสะ ผู้ถวายผ้านุ่งอาบ จะถวายผ้า   โดยคลี่ผ้าอ้อมรอบไปข้างหลังท่านแล้วจับชายทั้งสองทบกันถวายใส่มือท่าน ท่านจับผ้า  แลัวพับม้วนเข้ามาเหน็บที่เอว แล้วจึงปลดผ้าสบงให้ลุ่ยหลุดลงไป   พระเณรรับเอาไปสลัดแล้วผึ่งรวมกับอังสะและประคดเอว    หลวงปู่นั่งลงที่ตั่งซึ่งเตรียมไว้ที่ข้าง ๆ อ่างน้ำสรง  เริ่มสรงน้ำ   พระเณรที่มีหน้าที่  ช่วยส่งสบู่   ถูสบู่ด้านหลัง  ไหล่  ขา  เท้า การช่วยท่าน "สรงน้ำ"  พระเณรย่อมต้องรู้จักว่าการใดควรและไม่ควร   เช่น การช่วยท่านถูสบู่  
พึงถูเฉพาะส่วนที่ควร  ส่วนอันเป็นเบื้องสูง  เช่น  ใบหน้า  ศีรษะย่อมไม่สมควรอย่างยิ่ง  การช่วยราดน้ำให้ท่านก็ทำนองเดียวกัน   เสร็จสรงน้ำหลวงปู่จะเหลือน้ำสรงไว้หน่อยหนึ่ง    หลวงปู่ลุกขึ้นยืน   พระเณรส่งผ้าเช็ดตัวถวาย    พระเณรรีบเก็บผ้าสบง   อังสะ  และประคดเอว  ที่นำไปตากผึ่งมาเตรียมไว้ท่า   ท่านเช็ดตัว  เช็ดหน้าเสร็จ  ส่งผ้าเช็ดตัวให้พระเณรรับไป   พระเณรผู้จีบผ้าสบงเตรียมไว้    ส่งสบงถวายท่านด้วยวิธีเดียวกันกับการส่งผ้าอาบน้ำถวาย    ท่านม้วนพับผ้าสบงนุ่งเหน็บที่สะเอวแล้ว   ส่งประคดเอวถวาย  ท่านรัดประคดเอวเสร็จ  ผู้ถือผ้าอังสะส่งถวาย  ท่านรับไปครองแล้วเดินไปนั่งพักยังเก้าอี้
สนามที่พระเณรชุดทำกิจวัตรตั้งเตรียมไว้แล้วที่ริมระเบียงกุฏิ    พระเณรผู้ช่วย "สรงน้ำ"  จัดการนำผ้าอาบน้ำที่ท่านผลัดเปลี่ยนออกมาแล้วนั้น     ลงซักในน้ำที่สรงที่ท่านเหลือไว้ในอ่างสรงเมื่อ  เห็นว่าผ้าเช็ดตัวสมควรซักฟอกก็นำซักฟอกร่วมกันกับผ้าอาบด้วย บิดให้หมาด  แล้วนำไปคลี่ตากที่บนลานหินหน้ากุฏิ   นำน้ำที่เหลือจากการซักผ้าในอ่างสรงไปเทรดต้นไม้  แล้วนำอ่างและอุปกรณ์อื่นเก็บเข้าที่เรียบร้อย  เช็ดถูพื้นบริเวณสรงน้ำให้แห้ง  นำผ้าที่เช็ดไปบิดตากไว้ที่ลานหินร่วมกับผ้าอื่น ๆ จากนั้นพระเณรต่างกลับไปที่พักของตน (ทำกิจส่วนตัวมีการสรงน้ำ   เข้าที่จงกรม   นั่งสมาธิภาวนา  จนถึงเวลา 1 ทุ่ม  เสียงสัญญาณระฆัง  จึงไปรวมกันที่ศาลาใหญ่ชั้นล่างเพื่อทำวัตรค่ำสวดมนต์ต่อไป)
          ขณะที่หลวงปู่นั่งหรือนอนพักอยู่ที่ระเบียง      เป็นเวลาที่ญาติโยมที่มาพักอยู่ปฏิบัติธรรมจะเข้ากราบเยี่ยมเรียนถามธรรมะ  และความเป็นไปในการปฏิบัติธรรมของตนได้  บางคน  บางคณะก็นำน้ำปานะ    น้ำผลไม้     ซึ่งทำโดยถูกต้องตามวิธีที่แสดงในพระวินัยมาถวาย  หลวงปู่ฉันน้ำปานะในช่วงเวลานี้ บางวันมีญาติโยมมามาก  การต้อนรับพูดคุยกับญาติโยมจะทำที่ศาลายาว  โดยให้พระเณรผู้อุปัฏฐาก   ปูสาดเสื่อสำหรับญาติโยม  และจัดตั้งอาสนะสำหรับท่าน - นั่งพูดคุย      หรือแม้บางครั้งก็ถือเป็นโอกาสแสดงธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ
          การออกต้อนรับคณะพระเณรที่มากราบเยี่ยม หรือมาคารวะนั้น  หลวงปู่จะให้โอกาสในช่วงบ่าย ภายหลังจากท่านพักผ่อนแล้วช่วงหนึ่ง (ก่อนกวาดลานวัด)  และระยะที่ท่านพักผ่อนภายหลังสรงน้ำแล้วนี้อีกช่วงหนึ่งดังนี้เป็นปกติ   ส่วนสถานที่ที่ต้อนรับนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของแขกผู้มา   ถ้ามีเพียงสอง-สามคน  ไม่เกินห้าหกคน    ท่านอาจจะต้อนรับบนระเบียงกุฏินั้นเลย   ถ้าถึงสิบคน   ยี่สิบคน   ก็ให้จัดต้อนรับที่ศาลายาว     ถ้าจำนวนมากกว่านั้น  เช่น  มาเป็นคณะใหญ่    ท่านให้จัดเตรียมสถานที่ต้อนรับที่ศาลาใหญ่ชั้นล่าง  ในขณะที่ต้อนรับอยู่นั้น  พระเณรผู้อุปัฏฐากต้องนั่งคอยรับใช้อยู่ใกล้ ๆ ตลอดเวลา
         หลวงปู่นั่งพักที่ระเบียงจนเย็นพอสมควร   (ประมาณบ่าย  5 โมงครึ่ง)  จึงลงสู่ทางจงกรมที่ศาลายาว   พระผู้อุปัฏฐากท่านซึ่งพักอยู่ที่กุฏิใกล้  ๆ  รีบมาเก็บเก้าอี้พับ  เก็บถาดน้ำ  แก้วต่าง ๆ ไปล้างเก็บไว้  นำย่ามท่านไปเก็บภายในห้อง  ตรวจดูผ้าที่ตากไว้ตามลานหิน  ถ้าเห็นว่าแห้งก็รีบเก็บพับไว้ที่เก็บ  หากยังไม่แห้ง  เมื่อกลับไปกุฏิของตนแล้วต้องคอยสังเกตดู   หากเห็นว่าพอแห้งแล้ว  ต้องรีบมาเก็บ  ไม่เช่นนั้น  หลวงปู่อาจจะเดินมาเก็บเสียเอง
         หลวงปู่เดินจงกรมไปมาที่ศาลายาว    ในคราวที่อากาศร้อน   ท่านจะถือพัดขนนกโบกพัดไปด้วย  เดินจงกรมอยู่ประมาณ  30-45  นาที  จึงขึ้นสู่กุฏิ    นั่งภาวนาที่เก้าอี้นวมที่ปลายระเบียงด้านริมโขง   จนถึงเวลา  1 ทุ่ม      เสียงระฆังสัญญาณรวมทำวัตรค่ำ จึงเข้าห้องพัก  ทำวัตรค่ำ  สวดมนต์  เป็นอันจบความเป็นอยู่ของท่านช่วงบ่าย
        ช่วงค่ำ
         เมื่อผู้คนที่มากราบเยี่ยมกลับไปหมด     ก็จะเป็นเวลาเย็นมากพอสมควรแล้ว(ประมาณ 6 โมงเย็น)     หลวงปู่จะลงสู่ทางจงกรม   คือที่ศาลาจงกรมหรือศาลายาว  พระเณรผู้อุปัฏฐากเก็บอาสนะ เครื่องใช้   ชำระทำความสะอาด  เก็บเข้าที่   เก็บผ้าที่ตากตามลานหินทั้งหมดพับเก็บ   แล้วกลับไปสู่กุฏิ   สู่ที่จงกรมของตน  (ผ้าที่ตากตามลานหินนี้   พระเณรผู้อุปัฏฐากต้องคอยสังเกตกะดูว่าแห้งแล้วหรือไม่  หากแห้งแล้วยังปล่อยไว้นานอีก  หลวงปู่จะลงมาเก็บพับเสียเอง  ดังนั้นต้องระวังไม่ให้เผลอ    เห็นว่าแห้งแล้วต้องรีบไปเก็บไปพับไว้  อย่าทันให้ท่านต้องมาเก็บเอง)
         หลวงปู่จงกรมอยู่ระยะหนึ่ง  ประมาณ 30 นาทีถึง 45 นาทีแล้วขึ้นกุฏิ นั่งยังเก้าอี้นวมที่ปลายสุดระเบียงด้านริมโขง   นั่งภาวนาระยะหนึ่งจนถึงเวลา 1 ทุ่ม  สัญญาณระฆังให้พระเณรและญาติโยมไปสู่ศาลาทำวัตรค่ำ  ท่านจึงเข้าห้องที่พัก จุดธูปเทียนและนั่งทำวัตรค่ำเฉพาะองค์ท่าน    เสร็จแล้วออกมาเอนหลังนอนอยู่ที่อาสนะที่ปูไว้หน้าห้องพักนั้นรออยู่จนการทำวัตรค่ำ สวดมนต์ที่ศาลาใหญ่เสร็จลงแล้ว พระเณรที่จะถวายงานนวดท่านมาถึง  ซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 2 ทุ่ม   ท่านให้โอกาสนวดถวายประมาณชั่วโมงครึ่ง คือถึงเวลาประมาณ  3  ทุ่มครึ่งจึงให้เลิก  ท่านลุกขึ้นนั่งรับกราบของพระเณรแล้วลุกเดินไปนั่งพักอยู่เก้าอี้ที่ระเบียง  พระเณรช่วยกันเก็บอาสนะ  ชำระแก้วน้ำ   เก็บเข้าที่แล้วกลับไป
         เมื่อพระเณรกลับไปแล้ว  หลวงปู่จะเดินไปมาบนระเบียงกุฏิเล็กน้อย แล้วเข้านั่งภาวนาอยู่ที่เก้าอี้นวม  จนถึงเวลาประมาณสี่ทุ่ม  หรือ สี่ทุ่มครึ่ง  จึงลุกขึ้นบ้วนปากแล้วเข้าห้องปิดประตูพักจำวัด
         ประมาณตีสอง (อย่างช้าที่สุดตีสองครึ่ง) หลวงปู่จะตื่น ลุกขึ้นเปิดประตูออกมา แล้วเดินไปที่อ่างล้างหน้าที่ริมระเบียงด้านหนึ่ง บ้วนปาก และลูบหน้า     แล้วเดินจงกรมไปมา  ที่ระเบียงประมาณ 30 นาที  จากนั้นเข้าที่นั่งภาวนาต่อที่เก้าอี้นวมที่ปลายระเบียงจนถึงเวลาประมาณตีสี่ครึ่ง  จึงเข้าห้อง  จุดธูป  เทียน  ไหว้พระ ทำวัตรเช้าที่แท่นพระในห้อง  เสร็จแล้วก็เอนหลังนอนพักอยู่บนเตียงในห้องนั้น     รอเวลารุ่งอรุณของวันใหม่  ดังนี้นับเป็นครบรอบความเป็นอยู่ประจำวันปกติของหลวงปู่
          ต่อไปนี้จะอธิบายกิจกรรมส่วนพิเศษบางเรื่อง  อันเป็นส่วนประกอบเพื่อความเข้าใจที่ละเอียดเพิ่มขึ้น
          การนวดหลวงปู่
          จะอธิบายรายละเอียดการถวายงานนวดหลวงปู่ไว้      เพื่อเป็นที่รู้กันในที่นี้สักหน่อย    พระเณรที่มาสู่สำนักเป็นอันมาก    ต้องการที่จะได้เข้าไปใกล้ชิดเพื่อสังเกต  ศึกษาข้ออรรถ ข้อธรรม  ทั้งอัธยาศัยส่วนองค์ท่าน   การถวายงานนวดนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่พวกพระเณรจะได้โอกาสใกล้ชิดท่านจริง ๆ  (นอกเหนือไปจากกิจอื่น เช่น  ช่วยสรงน้ำท่าน) ในระหว่างถวายงานนวดนั้น  พระเณรผู้สงสัยในการประพฤติ  ปฏิบัติของตน จะได้โอกาสค่อย ๆ กราบเรียนถาม  ซึ่งท่านจะตอบให้ได้ทราบอย่างละเอียด และเมื่อพระเณรรูปใดถามข้อธรรม  รูปอื่น ๆ ในที่นั้นก็จะได้ยินได้ฟังด้วย   การที่ได้ถวายงานใกล้ชิดท่านได้ยิน ได้ฟังถ้อยคำ ข้อธรรมะจากปากท่านโดยตรงอย่างชัดเจนและละเอียดลึกซึ้ง ย่อมก่อให้เกิดความแน่ใจ  ปิติ  ยินดี  เบิกบานใจ     เกิดความฮึกเหิมขึ้นในจิตใจของตนเองในการที่จะมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมยิ่ง ๆ ขึ้น   กำลังจิตใจที่จะประกอบความเพียร  เดินจงกรม  นั่งสมาธิเกิดมีขึ้นอย่างมาก เป็นผลให้ทุก ๆ องค์ต่างก็เร่งความเพียรภาวนากันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง  และย่อมปรากฏผลแห่งการประกอบความพากเพียรนั้น  ที่จิตใจของท่านองค์นั้นอยู่เป็นลำดับ ซึ่งปรากฏในเมื่อได้พบเห็นกันในครั้งต่อไป    ทั้งในคราวหลังที่ท่านมาถวายงานนวดหลวงปู่  สังเกตกิริยาอาการของท่าน   ฟังการพูดจาข้อธรรมะ  และที่ท่านกราบเรียนถามข้อธรรมะหลวงปู่   และจากคำอธิบาย  หรือรับรองผลการปฏิบัตินั้น ๆ ทำให้ผู้ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้รับทราบด้วยย่อมเกิดความกระตือรือร้น  ปิติยินดีด้วยท่าน    และทั้งเกิดกำลังใจที่จะเร่งประกอบความเพียรของตนยิ่งขึ้นไปอีก     เป็นอันว่าการได้เข้าไปถวายงานนวดหลวงปู่นั้น  เป็นกิจที่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากแก่ผู้มีโอกาสเข้าไป   จึงเป็นที่ประสงค์อย่างมากของพระเณร  ผู้มุ่งมาสู่สำนักเพื่อศึกษาอบรม   ปฏิบัติธรรม   แต่การที่จะเข้าไปถวายงานนวดท่านนั้นก็มีขอบขีดจำกัด     คือจำนวนผู้เข้านวดต้องไม่มากเกินไป  ควรมี  4 ถึง 6 องค์  นวดส่วนบนคือเอว แขน ไหล่ คอ  สองคนซ้ายขวา  นวดส่วนขา  สองขาซ้ายขวา นวดเท้าหนึ่งหรือสองคน  ส่วนคนอื่น ๆ  ต้องถอยออกลงไปนั่งอยู่พักต่ำซึ่งเป็นแถวระเบียงกุฏิ

thxby298ruguest93
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 08:05:59 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 11:34:04 »

          พระเณรซึ่งไปเพื่องานนวดนี้จะต้องไม่ไปมาก  เพราะถ้ามากเกินไปถึงแม้จะไม่ได้นวดแต่เพียงนั่งฟังอยู่ที่ระเบียงก็เป็นการชุมนุมกลุ่มใหญ่คับแคบ  อึดอัด ไม่ค่อยสะดวก  จึงไปเพียงประมาณไม่เกิน   10   คน   (จำนวนผู้ไปงานนวดนี้ไม่แน่นอน  บางวันมากบางวันก็น้อย  แต่ถ้ามากก็ไม่เกินจำนวนนี้  ต่อมาเมื่อหลวงปู่ย้ายไปพักในมณฑป  จำนวนผู้ไปนั่งฟังอยู่ด้วยห่าง ๆ จึงเพิ่มจำนวนขึ้นบ้าง แต่จำนวนผู้ถวายงานนวดคงเป็นปกติเท่าเดิม
          พระเณรที่จะเข้าถวายการนวดต้องเป็นผู้รักษาความสะอาดอย่างดี     ผ้าที่ครองต้องสะอาดไม่มีกลิ่นเหม็นประเภทใดทั้งสิ้น  มือไม้ ร่างกายต้องสะอาด  ไม่เป็นโรคเช่น หิด  กลาก เกลื้อน ไม่เป็นโรคติดต่อ  ต้องตัดเล็บให้สั้น  รักษาให้สะอาด    ต้องไม่มีกลิ่นปาก ต้องล้างปาก แปรงฟันให้ดี  (แม้กระนั้นก็ยังเป็นที่สังเกตและทักถามจากท่านได้ในขณะนวด   เป็นเหตุให้พระบางรูปถึงกับตั้งใจงดการสูบบุหรี่ของตนลงเสียได้เด็ดขาด  กลายเป็นผลดีขึ้นมาได้โดยไม่นึกฝัน)
          พระเณรที่ยังมาสู่สำนักใหม่ ๆ  จะยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปถวายงานนวด ทั้งนี้  เพราะเหตุผลหลายประการคือ  ยังไม่คุ้นเคยกับระเบียบ เรื่องราว  ความเป็นไปภายในสำนัก  ยังไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันและกันพอสมควร  ยังไม่รู้จักความตั้งใจและปฏิปทาของกันและกันเพียงพอ  ยังไม่รู้จักการควรมิควร  ถ้อยคำที่ควรกล่าวมิควรกล่าว  เหล่านี้ เป็นต้น  กิจในการถวายนวดนี้ เป็นงานต้องเข้าถึงส่วนตัวท่านโดยตรงแท้ ๆ ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ตัวท่านเองจะต้องมีการสนิทสนม    เข้าใจในอัธยาศัย   ยอมรับในบุคคลที่จะเข้าไปใกล้ชิด  จนถึงขนาดสัมผัสกับกายของท่าน
          พระผู้อุปัฏฐาก  จะต้องเป็นผู้คอยสอดส่องดูแล เลือกอนุญาตให้เฉพาะองค์ใดรูปใดที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะเข้าไปถวายงานนวด   โดยอาศัยพิจารณาจากข้อต่าง ๆ   ที่กล่าวมานั้น  อีกทั้งต้องกราบเรียนถวายให้ท่านทราบและพิจารณาเสียก่อนด้วย
         การถวายงานนวดนั้น    เมื่อพระเณรรูปใดมาถึงกุฏิท่าน   กราบไปในทิศในห้องพักท่านเสียก่อน  (มิใช่กราบที่องค์ท่านซึ่งนอนรออยู่)  พนมมือกล่าวคำ  "ขอโอกาส" ท่าน  แล้วจุดตะเกียงโป๊ะ (น้ำมันก๊าด) หรี่แล้วยกลงตั้งไว้พักล่าง (ระเบียง)   บริเวณด้านปลายเท้า    บังต้นเสาไว้ไม่ให้แสงสาดส่องเคืองตาท่าน     แล้วคลานเข้าไปใกล้  ประนมมือกล่าวขอโอกาสท่านแล้วลงมือนวดได้เลย  ส่วนองค์ที่มาถึงทีหลัง ๆ  ก็ทยอยเข้าประจำที่จุดอื่น ๆ  ที่เหลือ   การนวดจะนวดแรงนวดค่อยขนาดไหน   นวดแบบใดนั้นต้องคอยสังเกตพระเณรรูปเก่า ๆ ดูเสียก่อน  ในขณะนวดแรก ๆ พึงสำรวมตนเอง อย่าพึ่งพูดหรือถามอะไรก่อน  พึงเงียบอยู่  ต่อเมื่อสักระยะหนึ่ง  ภายหลังที่ท่านเงียบ    สังเกตดูทุก ๆ คนแล้ว  ท่านจะให้เสียงกระแอมเบา ๆ จากนั้นท่านอาจจะเป็นฝ่ายเอ่ยเรื่องอะไรขึ้นมาก่อน  บางทีก็เป็นเรื่องเก่า ๆ ที่ท่านไปพบเห็นมา ท่านตั้งใจเล่าให้ฟัง  บางทีก็เป็นการสอบถามบางเรื่องจากพระเณรบางรูป    หากท่านกระแอมแล้วเงียบไประยะหนึ่งแล้ว  หากเรามีปัญหาธรรมะข้อปฏิบัติใดที่ข้องใจ  สงสัย     ก็ขอโอกาสแล้วกราบเรียนถามได้  การพูดต้องใช้ภาษาที่สุภาพ   ตรงไปตรงมา   ไม่วกวนปนไปด้วยสำนวนต่าง ๆ  พูดเบาแต่พอประมาณ  และควรถามเฉพาะในเรื่องธรรมะข้อปฏิบัติ    ไม่ควรถามพล่ามไปเรื่องสัพเพเหระ เพราะจะเป็นการน่ารำคาญ  หลวงปู่เองก็ไม่อยากจะตอบ (บางครั้งท่านถึงกับเงียบเฉยไปเลยก็มี) หมู่พระเณรที่รอฟังอยู่ในที่นั้นก็รำคาญ  ทั้งเสียเวลาเสียโอกาสที่ผู้อื่นจะได้กราบเรียนถามบ้าง   ในขณะที่ท่านพูดอธิบาย   ไม่พึงพูดสอด   พูดแซม  พูดพลอย  หรือทำสุ้มเสียงใด ๆ พึงนวดไปด้วยอาการสงบปาก  ตั้งใจจดจ่อฟังเงียบ ๆ   ด้วยความเคารพจนท่านพูดจบแล้ว  ทิ้งระยะเห็นว่าท่านไม่พูดต่อแล้ว  เราจะพูดจะถามอะไร  ก็จึงค่อยพูดค่อยถามต่อไปอีก
         เมื่อท่านให้สัญญาณพอว่า  "เอ้า  เอาละ"      ทุกองค์ก็ยกมือพนมไหว้แล้ว  ค่อย ๆ  คลานถอยออกมานั่งคุกเข่ารออยู่พักต่ำที่ระเบียงกุฏิ     หลวงปู่ลุกขึ้นนั่งพับเพียบ  รับน้ำบ้วนปากลงกระโถนแล้วหันมา พระเณรรูปที่อยู่ใกล้ตะเกียง  หมุนให้ตะเกียงสว่างขึ้นแล้วยกขึ้นตั้งบนพื้นยกสูงที่ท่านนั่งอยู่  พอให้ท่านได้มองเห็นทั่ว ๆ ว่า  มีใครบ้างที่นั่งอยู่ในที่นั้น พระเณร (บางครั้งมีอุบาสกด้วย) กราบ  หลวงปู่ยกมือพนม รับการกราบ (การกราบนี้นิยมให้พระกราบเสร็จแล้ว   ท่านลดมือที่พนมรับกราบลงแล้ว    สามเณรและอุบาสกจึงกราบท่าน)    จากนั้นหลวงปู่ลุกขึ้นถือเอาไฟฉายอันเล็ก ๆ ของท่าน   เดินไปที่ระเบียงเดินไปมาแล้วนั่งพักอยู่ที่เก้าอี้นวมที่ปลายสุดระเบียงด้านชายโขง     พระเณรช่วยกันเก็บอาสนะ  ชำระล้างแก้วน้ำ  และกระโถน    เครื่องใช้ต่าง ๆ   เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย  แล้วกราบพระไปทางในห้องพักของท่านแล้วจึงกลับไป
         ข้อที่พึงสังเกตและปฏิบัติอีกประการหนึ่งเมื่อไปสู่กุฏิหลวงปู่   คือที่ชานระเบียงตรงบันไดขึ้นลง  จะมีที่เช็ดเท้าของหลวงปู่วางไว้อยู่   มีไม้เท้าอันเล็กเรียวยาวของท่านวางพิงอยู่ข้างราวระเบียง  พึงระวังอย่าให้โดนไม้เท้าของท่านล้ม    และอย่าเช็ดเท้าที่ที่เช็ดเท้าของท่าน   พระเณรผู้ไปถึงก่อนพึงยกเอาที่เช็ดเท้าของท่านออกไว้ทางหนึ่ง แล้วไปเอาที่เช็ดเท้าอันอื่น   ซึ่งมีเตรียมไว้มาวางแทน   เพื่อตัวเองและพระเณรอื่นที่ตามมาจะได้ใช้เช็ดเท้า   เมื่อจะกราบลาลงมาจากกุฏิของท่าน     ก็ย้ายนำของท่านมาวางไว้อย่างเก่าให้เรียบร้อยเสียก่อนด้วย  ปิดประตูระเบียงกุฏิให้ท่านแล้วจึงกลับไป การกระทำ
ทั้งหมดนี้ต้องระวังไม่ให้เกิดสุ้มเสียงกระทบ  กระแทก  ต้องให้นิ่มนวลสงบเงียบ
         ? การปลงผมหลวงปู่ ?
         ทุก ๆ วันขึ้น หรือ แรม 14 หรือ 15 ค่ำ  จะเป็นวันอุโบสถ    พระสงฆ์จะร่วมกันลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์   พระสงฆ์ในเขตใกล้เคียง   จะมาร่วมกันลงอุโบสถ ที่โบสถ์วัดหินหมากเป้ง
         วันโกน  คือวันก่อนวันลงอุโบสถ  ขึ้น 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ  เป็นวันที่ทุกองค์ต่างปลงผมของตน  การปลงหรือการโกนผมของหลวงปู่  จะทำที่กุฏิของท่าน     พระผู้มีหน้าที่ปลงผมหลวงปู่ จะถือเป็นกิจที่สำคัญและสูงยิ่ง   แม้จะมีกิจธุระอะไรติดอยู่ก็ปล่อยวาง  สละ  แล้วมาทำหน้าที่นี้ของตนไม่ให้พลาดได้
        ผู้ที่จะได้รับหน้าที่นี้  จะต้องเป็นผู้ที่หลวงปู่ได้พิจารณาและเฝ้าดูด้วยตัวท่านเองจนท่านสนิทใจ  แน่ใจว่าเป็นผู้ที่มีใจตั้งจริง ใจเป็นบุญกุศล ศรัทธา เคารพในองค์ท่านจริงทั้งมีฝีมือในการปลงผมที่นิ่มนวล  มีกิริยามารยาทดี  รู้จักสัมมาคารวะนอบน้อม  การควร-ไม่ควร เมื่อเป็นผู้ได้รับธุระปลงผมหลวงปู่แล้ว ก็ต้องดูแลอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ให้พร้อมไว้เสมอ  ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง    ทั้งคอยติดตามทราบวาระที่จะต้องมาถวายการปลงผมให้ท่านไม่ให้พลาดได้  โดยต้องรำลึกไว้ในใจตัวเองว่า   จะอย่างไรท่านก็คอยเราไปทำหน้าที่อยู่   
         หลวงปู่จะปลงผมในช่วงบ่าย ๆ    ก่อนเวลาสรงน้ำปกติ  โดยที่ปลงผมแล้วก็สรงน้ำต่อเลย   พระรูปที่มีหน้าที่ปลงผมหลวงปู่  จะรีบมาเตรียมเครื่องใช้ไว้ท่าก่อนเวลาเล็กน้อย   ซึ่งก็ได้แก่มีดโกน  พร้อมใบเปลี่ยนใหม่  (สมัยก่อน ๆ ทราบว่าท่านใช้มีดโกนรุ่นเก่า   ที่มีใบตายตัว  เมื่อเกิดทื่อก็ใช้วิธีลับคมเสียใหม่  เป็นครั้งคราวไป ใบมีดโกนที่ใช้ปลงผมหลวงปู่ สมัยนั้นเป็นมีดแบบแบน ๆ มีคม 2 ด้าน วางเข้าที่แป้น  วางแผ่นประกับทับเข้าไป  เอาด้ามซึ่งมีรูที่ปลายข้างหนึ่งขัน  กดแผ่นประกับแน่น    ทำให้ใบมีดถูกจับยึดแน่นที่แป้นหน้า   ใช้โกนได้ด้วยคมทั้งสองด้าน  มีดโกนที่ว่านี้มียี่ห้อเดียวคือ ยิลเล็ตหลวงปู่มีเครื่องมือพิเศษที่สามารถใช้ลับใบมีดโกนแบบนี้ได้  เป็นกล่องแบน ๆ เปิดฝาอ้าออก เอาใบมีดโกนวางลงไปตามรูปของมัน   ปิดล็อคฝา    มีเชือกเหนียวมากสอดผ่านกลางกล่องตามแนวยาวของใบมีด  ขยับกล่องนี้รูดขึ้นลงตามเชือกซึ่งขึงให้ตึงไว้หลาย ๆ เที่ยว  เปิดฝากล่องนำใบมีดออกมา   ใบมีดซึ่งทื่อแล้วนั้นจะกลับคมกริบ สามารถใช้โกนได้อีก เครื่องนี้ไม่ทราบว่าใครนำมาถวายท่าน   และก็ไม่ได้นำมาใช้จริง ๆ เลย   เพราะว่าระยะนั้นใบมีดโกนก็หาได้ไม่ยาก   มีผู้นำมาถวายท่านไว้ก็เยอะแยะ    พระที่ทำหน้าที่ก็มักเปลี่ยนใบใหม่เสียก่อนที่จะทื่อจนใช้ไม่ได้   แต่ก็เคยเห็นท่านให้เก็บใบเก่าไว้ด้วยเหมือนกัน  ถ้าเกิดมีเหตุ  ใบมีดโกนไม่มีขึ้นมา   ก็เข้าใจว่าต้องนำใบเก่า ๆ มาปรับปรุงใช้ได้แน่ ๆ )สบู่  ขันน้ำอุ่น  ผ้าอาบน้ำสำหรับคลุมตัวท่านขณะนั่งให้ปลงผม    เก้าอี้นั่งห้อยเท้า (เป็นเก้าอี้เดี่ยว  เป็นหวายสาน  ตัวแคบ ๆ)     จานกระเบื้องขาวใบย่อมสำหรับใส่เส้นผม(เกศา) ที่ปลงออก   พานเล็ก ๆ สำหรับวางมีดโกน     
        เมื่อได้เวลาคือเมื่อพระเณรฉันน้ำปานะประจำวันที่ศาลาใหญ่เสร็จ   ทยอยมาแล้ว  หลวงปู่จะรับผ้าอาบน้ำผืนหนึ่งมานุ่ง เปลี่ยนเอาสบงออก  ให้พระเณรรับไปสลัดตากไว้พร้อมรัดประคดและอังสะ  รับผ้าอาบน้ำอีกผืนหนึ่งคลุมปิดไหล่   แล้วเดินไปนั่งที่เก้าอี้ที่เตรียมไว้สำหรับท่านนั่งปลงผม (จัดตั้งไว้บริเวณลานระเบียงด้านที่จัดสรงน้ำหลวงปู่นั่นเอง) พระถวายขันน้ำอุ่น  หลวงปู่วักน้ำลูบผมโดยทั่ว (ส่วนมากจะไม่ใช้สบู่ ชโลมก่อนโกนเหมือนทั่ว ๆ ไป เพราะเส้นผมของท่านอ่อนอยู่แล้วโดยปกติ)
         พระผู้มีหน้าที่ปลงผม  พนมมือขอโอกาส  ขออนุญาตจากท่าน  แล้วเริ่มโกน   ผมที่โกนออกมา   เก็บรวมใส่จานที่เตรียมไว้   เศษผมทุกเส้นที่ตกลงมา  พระเณรในที่นั้นช่วยกันเก็บหมด    บ้างก็ใส่รวมในจานรองที่เตรียมไว้   บ้างก็ถือเอาไว้เป็นที่เคารพกราบไหว้  เป็นที่ระลึกส่วนตัว   เมื่อโกนผมหมดแล้วก็โกนคิ้ว  โกนหนวด  เครา เรียบร้อยแล้วก็ถือเป็นเสร็จ  พระผู้ทำหน้าที่ปลงผม ก็กราบเรียนให้ท่านทราบ  จากนั้นหลวงปู่ก็ลุกขึ้นมอบผ้าอาบน้ำผืนที่คลุมไหล่ให้พระเณรรับไป     ส่วนองค์ท่านก็เริ่มสรงน้ำโดยมีพระเณรผู้มีหน้าที่คอยช่วยเหลือดังได้อธิบายแล้ว
         เส้นผมของหลวงปู่ที่โกนออกมานั้น   หลวงปู่เองไม่เคยได้สนใจไยดีว่าใครจะเอาไปไหน จะจัดการอย่างไร  มีแต่พระเณรรูปไหนต้องการก็ไปขอแบ่งจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เก็บรักษาไว้    ซึ่งอาจจะเป็นองค์ที่ทำหน้าที่ปลง   หรือพระรูปอื่นที่อยู่อุปัฏฐากประจำบางครั้งจะมีบางองค์เมื่อได้ไปแล้ว    เพื่อให้เป็นการไม่ล่วงเกินท่าน     ก็นำมากราบเรียนให้ท่านทราบ   และขออนุญาตต่อท่านโดยตรงอีก  ซึ่งท่านก็ไม่ว่าอะไร  ก็อนุญาตให้ตามที่ขอ เส้นผมหรือเส้นเกศาของหลวงปู่    จึงไม่ได้มีการเก็บรวบรวมไว้เป็นล่ำเป็นสันเพื่อกิจการใด ๆ ทั้งนั้น  ผู้ที่มีเส้นผมของท่าน  จึงเป็นพระเณรรุ่นเก่า ๆ ที่เคยได้ไปเก็บ
หรือขอแบ่งเอาจากองค์อื่น ๆ  และได้ไปเล็ก ๆ น้อย ๆ พอเพื่อการเคารพกราบไหว้ของตนเท่านั้น เส้นผมหลวงปู่   เป็นเส้นฝอย ๆ บาง ๆ อ่อน ๆ ไม่เป็นเส้นโต แข็ง  และมีสีขาวใสเป็นส่วนมาก  อาจเป็นเพราะท่านอยู่ในวัยแก่เฒ่ามากแล้ว  ความสมบูรณ์ของเส้นผมและสีสันจึงเปลี่ยนแปลงไป
         เรื่องฉันอาหารด้วยช้อนนั้น
         หลวงปู่วัดหินหมากเป้ง  ท่านใช้เป็นประจำขององค์ท่านอยู่แล้วแม้อยู่ต่อหน้าหลวงปู่มั่น  เวลาท่านไปกราบเยี่ยมคารวะ  ท่านก็ฉันอาหารโดยใช้ช้อนเป็นประจำและไม่ใช่ช้อนธรรมดา  แต่เป็น  ช้อนส้อมและใช้ช้อนได้เฉพาะหลวงปู่เทสก์องค์เดียวเท่านั้น  ถ้าพระผู้ใหญ่ผู้น้อยรูปอื่น ๆ ไปเอาอย่างทำตามบ้างจะโดนข้อหาว่า  ไม่เจียมตัว  หรือทำตนเทียมผู้ใหญ่  ไม่รู้จักประมาณตนหลวงตาวัดบ้านตาดท่านจะตำหนิพวกพระเล็กเณรน้อยในสมัยนั้นว่า  ทำอะไรกระทบกระเทือนครูบาอาจารย์ (จากเทศน์หลวงปู่หล้าวัดภูจ้อก้อ)
         ดังนั้น  ท่านที่เคยไปถวายอาหารที่วัดหินหมากเป้ง  ตั้งแต่สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ ยังทรงขันธ์อยู่จะเห็นว่าพระเณรที่วัดหินหมากเป้ง  จะฉันอาหารในบาตร  โดยใช้ช้อนส้อมกันทุกรูป
พระ วัดป่าสายหลวงปู่มั่นวัดอื่น ๆ ที่เป็นวัดครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่  จะเรียกพระ เณรวัดหินหมากเป้ง อย่างล้อ ๆ ด้วยความเกรงใจว่า วัดผู้ดี  หรือวัดเศรษฐี (อันนี้เป็นประสพการณ์จริง ๆ ของพระเณร และญาติโยมวัดหินหมากเป้ง หลายรูปหลายท่าน)
          ? วันพระและวันอุโบสถ ?
         โดยปกติในตอนเช้าของวันพระ  8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ  ตอนเช้า ฆราวาส  ญาติโยมจะมารวมที่ศาลาฉันมาก จะมีพิธีไหว้พระ  อาราธนาศีลอุโบสถ   แล้วมีการถวายทาน โดยหัวหน้าฝ่ายฆราวาสจะเป็นผู้นำ   เริ่มเมื่อสังเกตว่าพระเณรแจกภัตตาหาร     และจัดแจงอะไร ๆ เรียบร้อยพอสมควรแล้ว  หลวงปู่จะให้ศีลอุโบสถ (การให้ศีล  ในโอกาสต่อ ๆ มา ท่านมอบให้เป็นธุระของพระผู้อาวุโสที่นั่งรองจากท่านเป็นผู้ให้แทน  ส่วนอุบาสกที่เป็นหัวหน้าสมัยนั้น  คือพ่อบุญมี  บ้านโคกซวก  หรือพ่อตู้พรหมา   ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ) จากนั้นญาติโยมกล่าวถวายทาน  หลวงปู่ให้พร ยะถา สัพพี   พระเจ้าพระสงฆ์ร่วมสวดจบแล้ว  ก็เริ่มฉันตามปกติ    ส่วนญาติโยมก็จะร่วมกันทำวัตรเช้าในที่ต่อหน้าพระเณรนั่นเอง(การให้ศีล และการให้พร ยะถา สัพพีนี้ ต่อมาหลวงปู่ให้พระรูปรองจากท่านเป็นผู้ให้แทน)   เสร็จภัตรกิจแล้วหลวงปู่กลับสู่กุฏิ  พักอยู่เป็นส่วนองค์ท่าน  ในห้องชั้นล่าง
         ถ้าเป็นวันอุโบสถ   (คือวันที่ปักข์ตกพอดี อาจเป็นวันขึ้นหรือแรม 14 ค่ำ หรือ15 ค่ำ  หรือบางที่ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 1 ค่ำ  ซึ่งจะถือเอาตามปฏิทินปักขคณนา  ที่ทางมหามกุฎราชวิทยาลัยพิมพ์แจกไปทั่ว  ตามวัดต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี)     เวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง  จะมีสัญญาณระฆังตี 3 ลา แสดงถึงเวลาเตรียมตัวไปสู่โรงอุโบสถ (โบสถ์)พระสงฆ์ทั้งปวงต่างก็ครองผ้า  พาดสังฆาฏิ  ไปสู่โบสถ์ พระที่มาร่วมลงอุโบสถนี้   มีทั้งที่อยู่ประจำในวัดหินหมากเป้ง   และที่มาจากวัดอื่น ๆ ในละแวกนั้น  อันได้แก่วัดวังน้ำมอก วัดลุมพินี  วัดถ้ำฮ้าน  วัดถ้ำเกีย  (วัดเหล่านี้เป็นวัดซึ่งพระจากหินหมากเป้งออกไปตั้งขึ้น
และอยู่ภาวนา เพื่อให้ได้รับความวิเวก  ในสมัยนั้นยังเป็นป่าดงอยู่  การไปมาล้วนแต่ต้องเดินด้วยเท้าทั้งสิ้น   ถนนหนทางก็เป็นเพียงทางเดินของคนไปหาของป่า    หรือเป็นทางเกวียนเท่านั้น   รถรามีน้อยมาก  นาน ๆ จะมีรถไถ หรือรถกระบะขนมันโทรม ๆ สักคัน
หนึ่ง)
         เมื่อพระทุกรูปรวมกันอยู่ในโบสถ์แล้ว   พระผู้มีหน้าที่ก็นำถาดน้ำร้อนพร้อมย่ามและผ้าปูนั่งของหลวงปู่ลงมาสู่โบสถ์    จัดตั้งถาดน้ำร้อน   และผ้าปูนั่งบนอาสนะของท่านเรียบร้อย   หลวงปู่เดินมาโบสถ์พร้อมกับพระผู้ติดตาม  ถอดรองเท้า  วางไม้เท้า  พระรับไปแล้ว หลวงปู่เข้าไปสู่อาสนะรับเทียนชนวน  จุดเทียนใหญ่  จุดธูปปัก  แล้วนั่งลง (ขณะจุดเทียน-ธูป หลวงปู่และพระทั้งหมดยืนพนมมือ) หลวงปู่กับพระทั้งหมดนั่งลงคุกเข่า หลวงปู่ นำไหว้พระย่อ  จากนั้นหันมารับกราบของพระทั้งหมด     พระรูปที่จะแสดงพระปาฏิโมกข์   กราบขอโอกาสแล้วขึ้นสู่ธรรมาสน์  (การสวดพระปาฏิโมกข์นี้  จะใช้เวลาประมาณ 40-50นาที  พระรูปที่จะขึ้นสวดนั้นเดิมที หลวงปู่จะเป็นผู้พิจารณาอนุญาต    ต่อมาเมื่อองค์ที่สวดพระปาฏิโมกข์ได้มีมากขึ้น  ท่านจึงให้จัดวาระวนเวียนให้ทุกองค์ได้ขึ้นสวดทั่วกัน    และก็
เป็นนโยบายของหลวงปู่เองที่จะให้พระที่วัดสวดปาฏิโมกข์ได้   โดยท่านกำหนดให้มีการนำ
บทพระปาฏิโมกข์มาสวดซ้อมต่อท้ายทำวัตร  สวดมนต์เย็นในทุก ๆ วันอยู่แล้วด้วย)
        พระแสดงพระปาฏิโมกข์จบลงหลังจากหลวงปู่นำสวดพระคาถาท้ายพระปาฏิโมกข์จบแล้ว ท่านจะหันหน้ากลับออกมาสู่คณะสงฆ์  แสดงธรรมพิเศษบางข้อบางอย่าง   อันเป็นเครื่องชี้แนะการประพฤติปฏิบัติของพระเณรโดยเฉพาะ      บางครั้งก็เป็นสัมโมทนียกถา พาให้เกิดความมานะพยายาม มีกำลังจิต กำลังใจในอันที่จะปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้น  การแสดงธรรมในตอนนี้จะไม่ยืดยาว   ท่านจะพูดเอาเฉพาะแก่น เฉพาะตอน    จะใช้เวลาประมาณ  10-20 นาที  จากนั้นก็เลิก  หลวงปู่นำกราบพระประธานในโบสถ์  แล้วหันมารับกราบจากพระ  พระทั้งหมดกราบท่าน  แล้วหลวงปู่ก็ลุกขึ้น    เดินออกจากอุโบสถกลับไปกุฏิของท่าน   โดยพระผู้ติดตามไปด้วย  พระผู้นำถาดน้ำร้อน  ย่าม  และผ้าปูที่นั่งของท่าน  ก็ทำหน้าที่นำกลับไปยังกุฏิของท่านด้วยเช่นกัน
         หลวงปู่พักอยู่กุฏิตามอัธยาศัยจนถึงค่ำ  ประมาณ 1 ทุ่ม สัญญาณระฆังทำวัตรค่ำ  พระเณรไปรวมทำวัตรค่ำที่ในโบสถ์   ส่วนฆราวาส    ญาติโยมรวมทำวัตรค่ำที่ศาลาใหญ่ชั้นล่าง จากนั้นพระเณรเข้าไปรวมนั่งในศาลา  ร่วมกับญาติโยมในศาลา    โดยนั่งในอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งได้ปูอาสนะเตรียมไว้แล้วทั้งหมด    นั่งสงบ  รอเวลาที่หลวงปู่จะลงมาเทศน์
         ประมาณ  2  ทุ่ม หลวงปู่จะลงจากกุฏิมาสู่ศาลา  พระผู้มีหน้าที่นำถาดน้ำร้อน ย่าม  และผ้าปูนั่งของท่านลงมาเตรียมไว้ก่อนแล้ว  หลวงปู่กราบที่แท่นพระแล้ว ก้าวขึ้นนั่งบนแท่นอาสนะ  หันมารับกราบจากพระเณร  จากนั้นครู่หนึ่งอุบาสกผู้เป็นประธานอาราธนาเทศน์  (การอาราธนาเทศน์ที่วัดหินหมากเป้ง    นิยมกล่าวเป็นทำนองสรภัญญะตลอดมา) หลวงปู่แสดงธรรมเทศนาประมาณ 30 นาที  จบแล้วให้ดับไฟบางดวง    เหลือไว้แต่น้อย พอให้แสงไม่สว่างจนเคืองตามากนัก
         จากนั้นหลวงปู่แสดงธรรมะ  นำนั่งภาวนา  ซึ่งเป็นอุบายธรรมเฉพาะ   เพื่อโน้มจิตของผู้ฟังให้ลงสู่ความสงบในที่นั้น  ขณะนั้นเอง ประมาณ 10 นาที  แล้วท่านหยุดนิ่งพาพุทธบริษัททั้งหมดนั่งสงบภาวนาต่อไปอีก  ประมาณ 30 นาที    จึงให้สัญญาณเป็นเสียงกระแอมค่อย ๆ  เป็นอันเลิกกัน
         พระเณรกราบหลวงปู่   ญาติโยมกราบ   จากนั้นหลวงปู่ดื่มน้ำปานะจากแก้วที่ญาติโยมนำมาถวายที่ศาลาเล็กน้อย  แล้วเลื่อนตัวลงจากแท่น  กราบพระที่แท่นบูชา ลุกขึ้นยืน  รับไม้เท้า  สวมรองเท้า  เดินกลับกุฏิ  พร้อมกับพระผู้ติดตาม
         ในระยะนี้   พระเณรผู้มาจากวัดนอก  ๆ  ผู้ประสงค์จะนวดถวาย  และต้องการกราบเรียนถามธรรมะ  ก็จะติดตามท่านไปสู่กุฏิด้วย  ถึงกุฏิแล้ว  ท่านเอนหลังนอนให้โอกาสพระเณรนวดถวาย  จนถึงเวลาอันสมควรจึงเลิก  (ประมาณ 21.45-22.00 น.) (พระเณรที่มาจากวัดนอก ๆ   หลังจากนวดหลวงปู่แล้วมาสด ๆ ร้อน ๆ  ก็เดินทางกลับสู่วัดของตน  ด้วยความที่ได้กำลังใจและอุบายธรรมจากท่านมาสด ๆ ร้อน ๆ     บางองค์เมื่อเดินทางกลับถึงวัดของตน  แล้วก็เลยไม่พักผ่อนนอนหลับ   เร่งทำความเพียร  มีการเดินจงกรม    นั่งสมาธิต่อไปจนสว่างรุ่งเช้าของวันใหม่ก็มีอยู่เป็นประจำ (ความก้าวหน้า
ในคุณธรรมของท่านองค์อย่างนั้น   ก็ปรากฎให้รู้เห็น เป็นที่ตื้นใจทั้งแก่ตนเอง แก่หมู่เพื่อนพระเณรที่อยู่ร่วมกัน  ทำให้องค์อื่น รูปอื่นเกิดความกระตือรือร้น มีกำลังใจเร่งการภาวนาขึ้นตามกันไปด้วย)
     


thxby299uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 08:09:39 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 11:34:19 »

          ?  ไม้ตาด   ?
         ไม้ตาดหรือไม้กวาดสำหรับกวาดลานวัด   เป็นไม้กวาดขนาดใหญ่   โดยนำซี่ไม้กวาดริ้วเล็ก ๆ  จำนวนมากมาผูกหรือถักยึดเข้ากับปลายด้านหนึ่งของด้ามหรือคันไม้ตาดซี่ไม้ตาดเรียก  ริ้วตาด เมื่อก่อนนี้นิยมใช้ไม้ไผ่สีสุก  ตัดยาวประมาณ 70-75 ซ.ม. หรือประมาณ  2 ชั่วปล้อง นำมาผ่าเป็นซีก ๆ เล็ก ๆ ประมาณกว้าง 6-7  ม.ม. แล้วเหลาให้ได้รูปร่าง   โดยด้านโคนมีลักษณะกลมเรียบ  ทำขยักตรงปลายเผื่อเป็นที่ผูกรัดแน่นเข้ากับคันตาด ส่วนปลายค่อย ๆ เหลาให้เรียวลงจนเล็กจิ๋ว    โดยแบ่งแล่งออกเป็น 2 ซี่ในริ้วตาดอันเดียวกัน  การเหลาที่ได้ส่วนดีต้องเหลาให้กลมกลึง   ทั้งค่อย ๆ เรียวจากโคนไปสู่ปลายแฉกทั้งสอง  เวลาจับสะบัดดูจะนิ่มมือ   และมีเสียงดังเฟี้ยว ๆ  อย่างไม้เรียวจำนวนซี่ตาดที่ใช้ทำตาดแต่ละเล่ม (เรียกเป็นเล่ม)  ประมาณ  22-30 ซี่  แล้วแต่ว่าจะใช้คันตาดใหญ่หรือเล็ก    คันตาดเป็นไม้ไผ่ลำเล็ก ยาว ตรง แข็งแรง แต่เบา   ขนาดความโตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิว้  ความยาวประมาณ 2-2.5 เมตร   นิยมใช้ไม้ที่แห้งแล้วแต่ยังแข็งแกร่งดี  ไม่ถึงผุ  เพราะจะได้มีน้ำหนักเบา  ริ้วตาดที่ใช้บางครั้งก็ใช้ก้านใบของต้นปาล์มชนิดหนึ่งเรียก  ต้นชก   ก็ใช้ได้ดีมากในระยะแรก ๆ  แต่สึกหรอเร็วไม่ทนทาน บางทีก็ใช้ก้านทางมะพร้าวแทน  ซึ่งก็ใช้ดีเหมือนกัน  มาระยะหลัง ๆ นี้จะมีแต่ริ้วทางมะพร้าวแทบทั้งนั้น   ริ้วตาดเหลาจากไม้ไผ่สีสุก   แทบจะหาดูไม่มีเลย 
         ในการถักริ้วตาดเข้ากับคันจะถักเป็น  2  วง  วงแรกติดที่ระยะปลายคันตาด  ห่างจากปลายเข้าไปประมาณ  10  ซ.ม.  โดยนำเอาริ้วตาดมาเรียงรอบ ๆ คันให้รอบ  จำนวนริ้วที่ใช้ในรอบควรเป็จำนวนคี่   ใช้เชือกรัดริ้วตาดตรงคอขยักให้แน่นเข้ากับตัวคัน จากนั้นใช้เชือกอย่างเหนียวดี   (ถ้าใช้หวายเส้นซึ่งเหลาไว้แล้วจะดีมากที่สุด)   สอดถักแถว ๆ โคนของริ้ว  ถักเป็น ลายสอง ไปรอบ ๆ คัน  พอไบรรจบรอบก็ถักคร่อมรอบต่อไป การที่จำนวนริ้วเป็นจำนวนคี่  จะทำให้ลายในการถักรอบต่อไปนี้กลมกลืนลงตัวพอดี ถักและดึงแน่นอย่างนี้ไปเรื่อย จนได้ประมาณ 3-4 รอบ  แล้วริ้วตาดทั้งหมดก็จะตรึงติดแน่นอยู่กับคันตาด  จากนั้นจึงเริ่มวงที่สอง
         วงที่สองนำริ้วตาดจำนวนเท่าวงแรกมาเรียง  และยึดถักเข้ากับคันตาดเหมือนอย่างวงที่ 1    แต่จุดที่ยึดกับคันตาดให้อยู่ถัดจากวงแรกเข้ามา  อีกประมาณ 6-8 ซ.ม. เมื่อถักยึดวงที่สองแล้วจะเห็นว่าเป็นลักษณะไม้กวาดที่มีด้ามยาว       มีซี่ลู่เป็นกระจุกอยู่ตรงปลาย  โดยซี่จะอยู่ซ้อนกันสองชั้น (ของวงแรกและวงที่สอง)
         จากนั้นจึงถักยึดเพื่อให้ริ้วตาดบานถ่างออก     โดยนำลวดแข็ง ๆ มาวงเป็นวงกลมประมาณ 8-10 ซ.ม.  มาใส่ในภายในกลางกลุ่มริ้ว      ขยับเข้าออกจากปลายไม้คันตาด  กะดูว่าริ้วตาดกบานออกมามากน้อยพอดี (โดยปกติจะใส่ที่ระยะวัดจากจุดยึดริ้วตาดวงแรกออกมาประมาณ 25-30 ซ.ม.)     แล้วจึงใช้เชือกเหนียวผูกถักยึดริ้วของวงที่สองรวบกับริ้วของวงที่หนึ่ง   และรวบกับขอบลวดวงกลมนั้นเข้าด้วยกันแน่น  แล้วก็ถักรวบชุดริ้วที่อยู่ถัดไป   ยึดเข้ากับขอบลวดวงกลมดังนี้อีก  ถักต่อไปเรื่อย ๆ   จนครบรอบวงกลมลวดนั้น  ริ้วตาดทั้งหมดก็จะถูกยึดแน่นหนา  (ขณะถักเข้ากับวงลวดพยายามจัดระยะระหว่างชุดให้เท่า ๆ กัน) เป็นอันเสร็จ  จะได้ไม้ตาดมีรูปร่างด้ามยาว ๆ    ส่วนปลายริ้วตาดจะคลี่บานออกรอบตัว กลม (ความคลี่บานของริ้วตาดนี้   หากบานน้อยหรือมากเกินไป  จะกวาดใบไม้ไม่ค่อยดี  ต้องทำให้พอเหมาะ      การจะบานมากหรือน้อยอยู่ที่ว่าวงลวดกลมนั้นค้ำบังคับอยู่ที่ในหรือนอกจนเกินไปหรือไม่ ถ้าเลื่อนเข้าในเข้าไปหาตัวคันตาด   กลุ่มริ้วตาดก็จะบานมาก  ถ้าเลื่อนออกมาก็จะบานน้อลง   จะต้องอาศัยความชำนาญเป็นตัวกะเอาที่พอดีแล้ว  จึงถักยึดริ้วเข้ากับขอบลวดวงกลมให้มั่นคง)
         เชือกที่ใช้ถักทั้งหมด ต้องใช้เชือกที่มีความเหนียวทนทาน เพราะตาดแต่ละเล่มเมื่อทำขึ้นมาแล้ว  หากรักษาดีไม่ให้ถูกแดด ฝน มอดไช  จะทนทานสามารถใช้ได้นานมาก หากสามารถใช้หวายเส้นมาถักได้ก็นับว่าดีที่สุด
         ไม้ตาดนี้เมื่อทำเสร็จแล้ว  ทางพระผู้ปฏิบัติธรรมถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งเท่าเทียมกับบริขารประจำตัวเลยทีเดียว  หลวงปู่เคยได้แนะนำให้ดูแลรักษาไม้ตาดของตนให้เป็นอย่างดี  ต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัยจากแดด  ฝน  พ้นจากอันตราย  เช่น  ลมจะมาพัดตก   ที่ทางอันมีผู้ไปมาจะกระทบให้หักหรือลุ่ยได้  ทั้งไม้ตาดที่ทำและยังไม่ได้ใช้จะเก็บไว้ก็ให้วางไว้บนห้างร้านสูงเหนือโรงไฟ  เพื่ออังไฟ  อังควัน  กันมอดแมงกัดไช   และทำให้ไม้ตาดเหนียวทนทาน   และแม้กระทั่งการใช้ตาดปัดกวาด    ท่านก็แนะนำให้กวาดด้วยความระมัดระวัง  ไม่กดจนเกินไป  จะทำให้ริ้วตาดหักหรือสึกหรอชำรุดได้ง่าย   ให้กวาดเป็นลักษณะเขี่ยเอาใบไม้หรือขยะให้กระเด็นไปเท่านั้น       ตาดที่กวาดเสร็จแล้วเมื่อยังเปื้อนหรือเปียกอยู่ก็ให้ทำสะอาดและตากให้แห้งจึงนำเข้าเก็บไว้
         โดยปกติ ท่านให้พระเณรทุกองค์ต้องมีไม้ตาดประจำของตนเอง จะทำเองหรือผู้อื่นทำให้ก็แล้วแต่  แต่ท่านพยายามแนะนำ   สนับสนุนให้พระเณรหัดทำของตนเองให้เป็น มิใช่แต่จะคอยขอจากผู้อื่น)    ตามกุฏิแต่ละหลังจึงย่อมมีไม้ตาดอยู่พร้อม 2-3 อันเสมอ
         ในวาระเตรียมตัวเข้าพรรษาแต่ละปี   หลวงปู่จะพูดเตือนพระเณรทุก ๆ องค์ ให้เตรียมตนของตนเพื่อการอยู่จำพรรษา   สิ่งที่จะต้องเตรียมก็มีหลายอย่าง  เช่น  ดูแลซ่อมแซมเสนาสนะ  กุฏิ  กระต๊อบต่าง ๆ  ให้แข็งแรงเรียบร้อย    พออยู่ปกติของตน ๆ ช่วยกันหาไม้แห้งมาตัดผ่าเป็นฟืนรวมกองไว้เป็นระเบียบให้มากพอ    เตรียมไว้เผื่อตลอดพรรษา  และที่สำคัญคือให้ทุก ๆ องค์  เตรียมไม้ตาดของตนไว้ให้พร้อม องค์ละ  2  คัน ถ้าไม่สามารถทำเป็นตาดเหลา  (อย่างที่อธิบายมา)    ก็เป็นตาดแขนงไม้ไผ่เสียอันหนึ่ง(ตาดแขนงไม้ไผ่  ทำโดยเอาแขนงไม้ไผ่อันเล็ก ๆ หรือลำไม้ไผ่พันธุ์หนึ่ง      เรียกว่า
ไม้ไผ่โจด  เป็นลำเล็ก ๆ เรียว ๆ มามัดเป็นกำ   รวบเข้ากับด้ามคันตาด มัดให้แน่น ๆสักสองถึงสามเปลาะ ก็พอจะใช้กวาดลานวัดได้ แต่ไม่ดีเท่าตาดเหลา)
          หลวงปู่ให้เตรียมไม้ตาดไว้ให้พร้อมทุกองค์อย่างนี้ทุก ๆ พรรษา  ก็คงจะเป็นเพราะเห็นว่า  ไม้ตาดเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งสำหรับพวกพระเณรที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ  จะใช้ประกอบกิจวัตรขัดเกลาตนเองให้ก้าวสู่คุณธรรมความดีที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ๆ   ขึ้นไป ท่านเคยบอกว่าการเป็นนักปฏิบัติ   หากต้องการจะเจริญก้าวหน้าไปในธรรมปฏิบัติจริงแล้ว  จะต้องสนอกสนใจ  เอาใจใส่ฝึกฝนตนเองแม้จากเรื่องนอก ๆ หยาบ ๆ อย่างกวาดตาดนี้แหละ แล้วจึงมีนิสัยละเอียดลออ รู้สึกสังเกต เหตุผล ลึกซึ้งเข้าไปโดยลำดับจึงจะเหมาะสมต่อคุณธรรมขั้นสูง  และละเอียดลึกซึ้งต่อไป   ถ้าหากละเลยต่อกิจการนอก ๆหยาบ ๆเสียแล้ว  ไฉนจะเป็นผู้มีความละเอียดลออ  ลึกซึ้ง  คู่ควรแก่การบรรลุคุณธรรมอันสูงส่งได้
         ? อุปนิสัยส่วนตัวของหลวงปู่ ?
         หลวงปู่มีอุปนิสัยหลาย ๆ อย่างที่เห็นว่าเหมาะสมกับเพศสมณะ  และพวกเราที่เป็นศิษยานุศิษย์  ผู้มุ่งดำเนินไปบนแนวทางเดียวกับท่าน    ควรจะรู้และพิจารณานำไปเป็นแบบอย่าง  พอจะยกมากล่าวในที่นี้
        เป็นผู้ประหยัด  สันโดษ
        ท่าน มีนิสัยประหยัดในการใช้เครื่องใช้ต่าง ๆ  จนเป็นที่ปรากฏ  และติดตาติดใจ และเลยหล่อหลอมติดเป็นนิสัยกับลูกศิษย์ไปด้วยหลาย ๆ รูป  หลาย ๆ อย่าง  เช่น  การใช้สบู่ถูตัวของท่าน  ท่านจะใช้จนก้อนสบู่กร่อน   เหลือเพียงก้อน นิด ๆ เท่านิ้วก้อย  ก็ไม่ยอมให้ทิ้งไป  แต่ท่านนำไปติดเข้ากับก้อนใหม่   แล้วใช้ถูตัวต่อไปอีก  จนแม้เศษเล็ก ๆ นั้น  ค่อย ๆ กร่อน หมดไปเลยจริง ๆ ในที่สุด
         ถ่านไฟฉาย   เมื่อใส่ในกระบอกไฟฉายแล้ว  ท่านจะเปิดส่องสว่างดูทางเดิน  หรือดูสิ่งของอะไร  ก็เปิดเพียงระยะสั้น ๆ  พอเห็นว่าอะไรเป็นอะไร  แล้วก็เป็นพอ  ท่านก็ดับไว้   อย่างเช่นการที่ท่านออกจากห้องพักมาข้างนอกในตอนตื่นจากจำวัดตอนตี 2 นั้น   ท่านจะส่องไฟฉายก็แต่ตอนเปิดประตูออกมาเดินลงพักล่างที่เป็นระเบียง   เดินไปที่บ้วนปาก   บ้วนปากแล้วเดินมาที่ระเบียง   สาดไฟดูทางจงกรม (คือที่ระเบียง)  เสีย 1 ครั้ง แล้วก็ดับไว้  เดินจงกรมไปมาที่ระเบียงโดยไม่ต้องเปิดไฟฉาย เพราะหมดความจำเป็นแล้ว   บริเวณระเบียงเป็นที่ ๆ ท่านคุ้นเคยเป็นอันดี  ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แสงสว่างพิเศษใด ๆ  เพียงแต่ความสว่างจากแสงเดือน   แสงดาวของท้องฟ้าก็เป็นอันเพียงพอแล้ว  เมื่อเลิกจงกรมจะไปนั่งพักภาวนาที่เก้าอี้นวมที่ปลายระเบียงจึงเปิดไฟฉาย  ส่อง
ดูนิดหน่อย   เมื่อนั่งลงที่เก้าอี้นวมแล้วก็ดับไฟฉายไว้ จะเปิดไฟฉายอีกทีก็เมื่อตอนเลิกจากนั่งภาวนาตอนตี 4 เมื่อเข้าห้องเพื่อทำวัตรเช้าก็ปิดไฟฉายไว้  แม้เมื่อจะต้องส่องดูของในที่อื่น ๆ ก็เหมือนกัน  ก็ส่องดูพอเห็นเท่านั้น  มิได้ส่องกราดไปโน่น ไปนี่  ปรู๊ดปร๊าดไปทั่วและมิได้ใช้อย่างพร่ำเพรื่อเกินกว่าที่เป็นประโยชน์เลย   ถ่านไฟฉายของท่านแต่ละชุดที่ใส่เข้ากับกระบอกไฟฉาย  จึงใช้อยู่ได้นานมาก  บางชุดถึง  2-3  เดือน    (แต่ส่วนมากถ่านไฟฉายจะรั่วเละเสียก่อน   เพราะถ่านไฟฉายสมัยก่อนทำไม่แข็งแรงดีเหมือนในสมัยนี้  พระผู้อุปัฏฐากต้องคอยดูแล  และเปลี่ยนชุดใหม่ให้ท่านเมื่อเห็นว่าถ่านเริ่มจะเยิ้ม)
         เทียนไข ที่ท่านใช้จุดที่แท่นบูชาในห้องพัก  เพื่อทำวัตร เช้า-ค่ำ   เมื่อเสร็จทำวัตรท่านจะดับไว้  มิได้ปล่อยให้ติดอยู่จนหมดเล่ม  หรือปล่อยไว้นาน ๆ ดังนี้ เทียนไขที่ตั้งบนเชิงเทียนแต่ละครั้ง  ท่านจึงใช้ได้นานนับเดือน   แม้ที่แท่นบูชาที่อื่น  เช่น  ที่ศาลา หรือที่โบสถ์  ท่านก็ให้ทำอย่างนี้
         ผ้าใช้ต่าง ๆ  เช่น  ผ้าเช็ดมือ  ผ้าอาบน้ำ  ผ้าเช็ดตัว  ผ้าอังสะ  ผ้าสบง  จีวร  หลวงปู่จะใช้ผ้าเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง  ถนอม  และใช้อย่างคุ้มค่า  ไม่ทิ้งขว้างเสียง่าย ๆ มีขาดทะลุที่ใด  แม้ท่านไม่อาจปะ ชุนได้เอง  ก็ให้พระเณรนำไปจัดการให้  แม้ใครจะนำผืนอื่นชิ้นอื่นมาถวาย    ท่านก็ยังให้นำผืนเก่านั้นมาใช้ต่อไปเรื่อย ๆ จนเห็นว่าสภาพผ้านั้นทรุดโทรมเกินกว่าที่จะซ่อม  ท่านจึงอนุญาตให้นำผืนใหม่มาแทน
         ความใช้ของอย่างประหยัดให้คุ้มคุณค่าอย่างนี้    มิใช่ว่าหลวงปู่ท่านตระหนี่แต่ประการใด   ท่านมีการแจกจ่ายสิ่งของเครื่องใช้ต่าง  ๆ  แก่พระเณร ในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ  ทั้งสงเคราะห์  ให้นำสิ่งของเครื่องใช้เหล่านั้น   ถวายไปยังสำนักวัดวาอื่น ๆ อยู่เป็นประจำ  แต่ท่านก็แนะนำพระเณรทุกรูปที่ท่านพอจะแนะนำได้   ให้ใช้สิ่งของทั้งปวงอย่างรู้จักและให้สมคุณค่าของ ๆ นั้นมากที่สุด  ไม่ควรใช้อะไร ๆ อย่างสุรุ่ยสุร่าย   ด้วยเห็นว่ามีสิ่งของนั้น ๆ เยอะแยะมากมาย ท่านเคยเล่าให้ฟังถึงพระอาจารย์ของท่านที่อบรมสั่งสอนท่านมาว่า     เป็นองค์ที่เป็นแบบอย่างงดงามในเรื่องการใช้สิ่งของอย่างประหยัด  และสมคุณค่าของ ๆ นั้น  ท่านว่ามิใช่เพราะหวงแหนเสียดายในสิ่งของดอก  แต่เสียดายปฏิปทา  และนิสัยอันดีมีประโยชน์ของสมณะจะเสียไป   ท่านว่าหากนักปฏิบัติมีนิสัยแห่งการใช้สิ่งของอย่างประหยัด  ใช้ให้คุ้มความมีประโยชน์ของสิ่งของแล้ว   จะไม่สิ้นเปลืองอะไร ๆ มากมายเลย   ถึงแม้จะมีของเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อยู่ได้   ใช้พอไม่เดือดร้อน  ความเป็นอยู่ของนักปฏิบัติธรรมที่มีนิสัยอย่างนี้   จึงสามารถอยู่ได้สะดวกสบาย    แม้ในที่ค่อนข้างอัตคัตในเครื่องใช้เครื่องบริโภค   เมื่อไม่เดือดร้อนก็เป็นช่องทางให้จิตใจไม่เดือดร้อนกังวล  จะฝึกฝนอบรมด้านจิตใจ  ก็สะดวกสบายเป็นไปด้วยดีเท่านั้นเอง
           เป็นผู้ระมัดระวังตน
          โดยปกติหลวงปู่จะระมัดระวังอยู่เสมอ   ไม่ให้มีการเบียดเบียนใคร ๆ  ไม่ให้กระทบกระเทือนใคร ๆ แม้พระเณรในวัดฯเอง     ท่านถือว่าทุกองค์มุ่งมาสู่วัดของท่านเพื่อศึกษาอบรมการปฏิบัติธรรม  ต้องการโอกาส เวลา  ในการทำความเพียรภาวนาด้วยท่าน  ท่านจึงให้โอกาสแก่ทุก ๆ องค์มากที่สุด     การจะเรียกใช้สอยในกิจการใดอันเป็นกิจของวัดฯโดยตรง   ก็จะต้องเป็นกิจที่ไม่สามารถจะทำได้โดยวิธีใดอื่นแล้วเท่านั้น  แม้การเดินเหินไปมา  หรือการพูดจา  ท่านก็จะทำด้วยความเบา ๆ สงบ สำรวม  ไม่ให้มีเสียงอึงคะนึง  หรือตึง ๆ ตัง ๆ ท่านบอกว่าการทำอย่างนั้น อาจจะเป็นการกระทบกระเทือนพระเล็ก ๆ ผู้อุปัฏฐากที่อยู่กุฏิใกล้ ๆ กับท่าน หากเผอิญนั่งภาวนาสงบอยู่อาจเสียประโยชน์ได้   หรือการที่ท่านใช้ไฟฉายอย่างสำรวมไม่สาดกราดสูงไปโน่นไปนี่   ก็เพราะเกรงว่าแสงอาจไปกระทบหน้าตาของใคร  ทำให้เดือดร้อน    หรือหากผู้นั้นทำความสงบกำหนดจิตอยู่  อาจจะทำลายความสงบเป็นสมาธิของเขาได้     เหล่านี้เป็นต้นที่ได้กราบเรียนถามและท่านบอกให้ทราบ  ส่วนเรื่องนอก ๆ เช่น    การที่ท่านไม่เคยมีการเรี่ยไรในกิจทั้งปวงของท่าน    ก็เป็นเพราะเป็นผู้มีความระมัดระวังตนของท่าน  ซึ่งเป็นที่ทราบกันมาโดยตลอดอยู่แล้ว
         ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นกิจวัตรความเป็นอยู่ในแต่ละวันของหลวงปู่  ในช่วงสมัยที่ท่านมีอายุ  ประมาณ  77-80  ปี  (พ.ศ.2521-2525)  พร้อมเหตุการณ์และเรื่องราวบางอย่างที่เกิดขึ้น  ทั้งที่มีอยู่ในวัดหินหมากเป้งที่หลวงปู่พักอยู่ในช่วงนั้น     ความเป็นอยู่ของบุคคลโดยทั่ว ๆ ไป  ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม      และสภาพร่างกายของตน  หลวงปู่ก็เช่นเดียวกัน   ระยะนั้นท่านยังแข็งแรงพอออกมากวาดตาดและเดินไปไหนมาไหนได้พอสมควร   โรคภัยไข้เจ็บก็ยังไม่มีอะไรเด่นชัดเป็นประจำ มีป่วยไข้เป็นหวัดบ้างเป็นครั้งคราว   ท้องเสียบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ  ในสมัยอื่นลักษณะความเป็นอยู่ประจำวันของท่านย่อมจะเป็นอย่างอื่น  ย่อมจะไม่มีจังหวะเวลาและลักษณะอาการ รวมทั้งอุปกรณ์สิ่งของที่ใช้ทุกสิ่งทุกประการเหมือนเช่นที่กล่าวมานี้     พวกเราที่เป็นศิษยานุศิษย์ผู้ เคารพเลื่อมใสในท่าน  ปรารถนาจะทราบถึงเรื่องราวอันเป็นกิจวัตรประจำวันของท่าน  พึงทราบโดยนัยว่าที่เล่ามาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงในช่วงสั้น ๆ ช่วงหนึ่งในช่วงชีวิตอันยาวนานของท่าน     พึงพิจารณาเลือกเอาส่วนใดที่เห็นแล้วว่า  จะเกิดเป็นประโยชน์ต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมนำความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง มาสู่ตนของตนตามปรารถนาเทอญ
           

thxby300uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 08:16:28 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #24 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 11:34:40 »

                                        อนุสรณ์สถานของท่านอาจารย์เทสก์  เทสรังสี

   จังหวัดหนองคาย
              อำเภอศรีเชียงใหม่
                 วัดหินหมากเป้ง
                         -   พระอุโบสถ
                                                                                                
                         -   มณฑป
                            
                            
                            
                             หลวงปู่เทสก์ ควบคุมการก่อสร้างมณฑป ปี พ.ศ ๒๕๒๓
                             ติดยอดมณฑป ในงานฉลองชนมายุครบ ๘๐ ปี และงานฉลองมณฑป ปี พ.ศ.๒๕๒๘
                         -   ศาลาเทสรังสี
                            
                            
                             ศาลาเทสก์ประดิษฐ์
                         -   ภาพจิตกรรมฝาผนัง
                            
                        
                         -   ศาลาจงกรม
                            
                            
                                
                         -   ลานมณฑป
                         -   ศาลาเล็กข้างศาลาเทสรังสี
                            
                         -   หอกลอง
                            
                         -   กุฏิเสนาสนะ
                            
                            
                            
                            
                                                                                                                            
                         -   กำแพงวัด
                                
                         -   หอสมุด
                              
                         -   หอพระหุ่นขี้ผึ้ง
                              
                              
                         -   หอระฆัง
                            
                            
                         -   ตำหนักรับรองสมเด็จพระสังฆราช
                            
                         -   วิหารหอพระ
                            
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๑
                            
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๒
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๓
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๔
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๕
                         -   อาคารรับรองฆราวาสชาย
                            
                         -   ระบบประปาพร้อมโรงกรองและถังจ่าย
                            
                         -   เมรุและศาลาพักศพ
                            
                            
                         -   ศาลากลางน้ำ
                            
                         -   พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร
                              
                              
                         -   ห้องน้ำชาย หลังศาลาเทสรังสี
                         -   ห้องน้ำหญิง หน้าโรงครัว
                         -   ศาลาแม่ชี
                            
                         -   กุฏิแม่ชี
                            
                         -   กุฏิคุณแม่น้อย
                         -   กุฏิรับรองอุบาสิกา
                            
                    บ้านโคกซวก
                         -   สะพานข้ามห้วยซวก
                            
                    บ้านไทยเจริญ
                         -   ศาลาเอนกประสงค์เทสรังสี
                            
                    โรงเรียน
                         -   โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา อาคาร ๑
                            
                         -   โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา อาคาร ๒
                            
                    วัดพระพุทธบาทคอแก้ง
                         -   ศาลาพระพุทธบาท
                            
                         -   พระพุทธไสยาสน์ปูนปั้น
                            
                            
                    วัดลุมพินี
                         -   ศลาการเปรียญและซื้อที่ดิน
                             ภายในศาลา
                            
                    วัดวังน้ำมอก
                         -   ศาลาราชนิโรธรังสีอนุสรณ์  ๓๓
                            
                            
                    วัดถ้ำฮ้าน
                         -   ต่อเติมศาลา
                            
                            
                    โรงเรียน ต.โพธิ์ตาก
                         -   โรงเรียนบ้านโพธิ์ตาก
                            
                    วัดโพธิ์รุขาราม ต.โพธิ์ตาก
                         -   สมทบทุนสร้างศาลา
                            
                    วัดป่าสามัคคีธรรมาวาส ต.โพนทอง
                         -   ซ่อมแซมศาลา
                            
                            
                            
                    วัดโพธิ์ศรีวนาราม ต.หนองปลาปาก
                         -   สมทบทุนอุโบสถ
                            
                    ห้องสมุดศรีเชียงใหม่
                         -   ห้องสมุดประชาชน
                            
                    อาคารศูนย์พัฒนาการศึกษาศรีเชียงใหม่
                         -   อาคารศูนย์พัฒนาการศึกษา
                            
              อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย
                    วัดอรัญญวาสี
                         -   อุโบสถ
                                                                 พระอุโบสถหลังเก่าวัดอรัญญวาสี
                              
                              
                                                                 พระอุโบสถหลังใหม่วัดอรัญญวาสี
                              
                              
                              
                         -   ภาพเขียนครูบาอาจารย์ 14 องค์
                         -   ศาลาการเปรียญ
                                                                  ศาลาการเปรียญวัดอรัญญวาสี
                              
                                                                  ภายในศาลาการเปรียญ
                              
                         -   หอนาฬิกา
                              
                         -   วิหารประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่
                              
                         -   กุฏิเทสรังสี (กุฏิเจ้าอาวาส )
                              
                         -   กุฏิเรือนแถว ๒ ชั้น
                         -   บ้านพักอุบาสิกา ๒ หลัง
                         -   ห้องสุขา ๒๒ ห้อง
                         -   ถังน้ำประปา
                              
                         -   กำแพงรอบวัดและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในวัด
                              
                     โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
                         -   ตึกสงฆ์อาพาธ
                              
                         -   บริจาคดิน 3 ไร่ 5 ตารางวา
                         -   บริจาคเครื่องมือแพทย์ 5 รายการ
                              
                     อำเภอท่าบ่อ
                         -   สมทบทุนสร้างที่ว่าการอำเภอ
                              
                     วัดป่าจันทาราม
                         -   สมทบทุนสร้างศาลา
                              
                 อำเภอสังคม
                         -   หอพระพุทธมงคลสารประภากรมุนี
                              
                         -   บริจาคเงินปรับปรุงพัฒนา
                         -   บริจาคซื้อที่ดิน
                 อำเภอเมือง จ.หนองคาย
                      วัดศรีเมือง
                         -   สมทบทุนสร้างอุโบสถ
                              
                      โรงพยาบาลหนองคาย
                         -   บริจาคเครื่องมือแพทย์
                 อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
                      วัดโพธิการาม
                         -   วิหารหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
                              
                 อำเภอบึงกาฬ  จังหวัดหนองคาย
                         -   สมทบทุนตึกสงฆ์เทิดพระเกรียติ 60 พรรษา
                              
                              
            จังหวัดอุดรธานี
                 อำเภอบ้านผือ
                       วัดป่าบ้านนาสีดา
                         -   อุโบสถ
                                                     หลวงปู่เทสก์ ปรึกษางานและตรวจแบบก่อสร้างพระอุโบสถ
                              
                              
                              
                         -   เมรุเผาศพ
                              
                              
                       วัดป่ากุดงิ้ว (วัดป่าบ้านผักบุ้ง )
                         -   ศาลาการเปรียญ
                                                            
                       วัดศรีราษฎร์บำรุง (บ้านผักบุ้ง)
                         -   อุโบสถ
                              
                       วัดป่านิโรธรังสีฯ
                         -   บ้านพักรับรองอุบาสิกา
                              
                       บ้านกลางใหญ่
                         -   เมรุเผาศพ
                              
                       ถ้ำพระ นาผักหอก
                         -   ศาลาบำเพ็ญบุญ (แท็งค์น้ำด้านล่าง)
                         -   ศาลาการเปรียญ
                            
                         -   บ้านพักอุบาสิกา พร้อมทั้งสร้างทางลูกรังเข้าวัดระยะทาง 6.5 กิโลเมตรด้วย
                            
                       โรงเรียน
                         -   หอพระ
                            
                         -   ซุ้มประตู
                         -   หอสมุด
                            
                         -   ถังน้ำสูง
                            
                         -   โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ อาคาร ๑
                            
                         -   โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ อาคาร ๒
                       วัดป่าสาระวารี
                         -   บริจาคสร้างสะพานไปอุโบสถ
                                                          
                       วัดพระพุทธบาทบัวบก
                         -   ศาลานิโรธรังสีอนุสรณ์
                              
                              

thxby301ruguest93, RANEE MUNEENAM
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 08:18:27 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #25 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 11:35:14 »

อำเภอเมือง จ.อุดรธานี
                        วัดโพธิสมภรณ์
                         -   อาคารรับรองพระเถระอนุสรณ์ (อาคารอนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พิพิธภัณฑ์บูรพาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐาน )
                             
                         -   ศาลาบำเพ็ญกุศล  ศาลาสามพระอาจารย์ (หลวงปู่เทสก์/หลวงปู่อ่อน/หลวงปู่บุญมา)
                             
                       โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร
                         -   อาคารจริยศึกษา
                             
                             
             จังหวัดขอนแก่น
                       โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                         -   หอสงฆ์อาพาธ
                             
                             
             จังหวัดกาฬสินธ์
                       วัดประชานืยม (อ.เมือง )
                         -   ศาลาวิหารเทสก์ เทสรังสี
                             
             จังหวัดอำนาจเจริญ
                       วัดป่าสำราญนิเวศ
                         -   สมทบทุนสร้างพระตำหนักสมเด็จ ( อาศรมอบรมจิต )
                             
             จังหวัดอุบลราชธานี
                       วัดสุทัศนาราม
                         -   กุฏิ หลวงปู่เทสก์
                             
              จังหวัดชุมพร
                         -   โรงพยาบาลปะทิว
                             
                             
              จังหวัดเลย
                         -   เมรุเผาศพประจำหมู่บ้านโพนสว่าง อ.นาด้วง
              จังหวัดภูเก็ต
                      อ.เมือง จ.ภูเก็ต
                         -  วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาล)
                                                                                ศาลาการเปรียญหลังเก่า
                             
                                                                                ศาลาการเปรียญหลังใหม่
                             
                                                                                พระอุโบสถวัดเจริญสมณกิจ
                             
                         -  วัดถาวรคุณาราม (แสนสุข)
                                                                                ศาลาการเปรียญ
                             
                     อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
                         -   วัดไม้ขาว
                                                                            หอประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์
                             
                         -   วัดท่าฉัตรไชย
                                                                             ศาลาการเปรียญวัดท่าฉัตรไชย
                             
                                                                              อุโบสถวัดท่าฉัตรไชย
                             
              จังหวัดพังงา
                      อ.เมือง จ.พังงา
                         -   วัดประชาสันติ
                      อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
                         -   วัดนิโรธรังสี (ควนเขาดิน)
                                                                             ศาลาการเปรียญวัดนิโรธรังสี
                             
                      อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา
                         -   วัดราษฎร์โยธี
                         -   วัดควนกะไหล
                         -   วัดสันติวราราม (สวนพริก)
                                                                             ศาลาการเปรียญวัดสันติวราราม
                             
               จังหวัดกระบี่
                      อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
                         -   วัดแหลมศักดิ์
                         -   วัดคลองช่องลม
                                                 โครงการต่อเนื่องของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างต่อไป
               จังหวัดสกลนคร 
                         -   พิพิธภัณฑ์เทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์ วัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม
               จังหวัดอุดรธานี
                         -   กำแพงวัดป่าบ้านนาสีดา อ.บ้านผือ
                         -   ซ่อมแซมหลังคาโบสถ์วัดไชยารามหนองสวรรค์ อ.เมือง
               จังหวัดหนองคาย
                         -   ฌาปนสถานบ้านเจื้อง อ.สังคม
                         -   ห้องสมุดประชาชน อ.เมือง
                         -   อาคาร สปอ.สังคม
                         -   อาคาร สปอ.ศรีเชียงใหม่
               จังหวัดราชบุรี
                         -   พิพิธภัณฑ์เจดีย์วัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.สวนผึ้ง
               จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                         -   ศาลาบำเพ็ญกุศลศพวัดตึกคชหิรัญ อ.ผักไห่
               สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                         -   ซ่อมแซมวิหารองค์ตื้อ นครเวียงจันทร์

thxby302uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 08:21:20 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #26 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 11:35:36 »

ประวัติวัดหินหมากเป้ง
บันทึกโดย หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี
พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฝังลูกนิมิตผูกพัทสีมา  อุโบสถวัดหินหมากเป้ง
วันที่ ๕ ? ๗  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๑๕

...........................................

              หลังจากนี้ไปราว ๔๐ ปี   ที่นี้เป็นป่าทึบรกมาก  กอรปด้วยเชื้อมาลาเรีย   ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ร้ายต่างๆ มีเสือ หมี เป็นต้น   แล้วก็เป็นท่าข้ามของเขาเหล่านั้นในระหว่างสองประเทศ คือประเทศไทยและประเทศลาวอีกด้วย    เพราะที่นี้ห่างจากคนสัญจรไปมา   จะมีก็แต่พวกพรานป่ามาหาดักยิงสัตว์กินเท่านั้น   อนึ่งคนแถบนี้รู้จักหินหมากเป้งในนามว่าผีดุมาก   พระธุดงค์ที่ต้องการทดสอบความกล้าหาญของตนแล้ว  จะต้องมาภาวนา ณ ที่นี้   ผู้ที่ได้มาทดสอบความกล้าหาญในที่นี้แล้ว ย่อมเชื่อตนเองได้  ทั้งเพื่อนพรหมจรรย์ก็ยกยอว่าเป็นผู้ที่กล้าหาญเชื่อถือได้   เนื่องจากเขาถือว่าผีดุนั่นเอง   ต้นไม้ใหญ่ป่าดงจึงยังคงเหลือไว้ให้พวกเราได้เห็นดังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้    นอกจากจะเป็นท่าข้ามของเหล่าสัตว์ร้ายดังกล่าวแล้ว  ยังเป็นท่าข้ามของของพวกมิจฉาชีพขนของหนีภาษี มีฝิ่นเถื่อนเป็นต้น     สัตว์พาหนะมีวัวควายเป็นต้นไม่ว่าฝั่งโน้นหรือฝั่งนี้   ถ้ามันหาย สงสัยว่าคนขโมยแล้ว   ทั้งเจ้าของและเจ้าหน้าที่จุดแรกจะต้องมาดักจับเอาที่ตรงนี้เอง   ถ้าไม่เจอะแล้วก็หมดหวัง
              หินหมากเป้ง เป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงที่หน้าวัดนี้เอง    อันมีรูปลักษณะคล้ายลูกต้มเครื่องชั่งทองคำสมัยเก่า   คนพื้นนี้เขาเรียกว่า เต็ง  หรือ  เป้งยอย      คำว่า หมากเป้ง เป็นภาษาภาคนี้   ผลไม้หรืออะไรก็ตามถ้าเป็นลูกแล้วเขาเรียก หมาก ขึ้นหน้า เช่น หมาก-ม่วง หมากพร้าว เป็นต้น  มีคนเฒ่าคนแก่เล่าปรัมปราสืบกันมาว่า   หินหมากเป้งก้อนบน(เหนือน้ำ) เป็นของหลวงพระบาง  ก้อนกลางเป็นของบางกอก  ก้อนใต้เป็นของเวียงจันทน์    ต่อไปในอนาคตข้างหน้ากษัตริย์ทั้งสามนครจะมาสร้างให้เจริญ    คำนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้พยากรณ์ไว้มิได้บอก   เป็นแต่เล่าสืบๆกันมาเท่านั้น  แต่มีเค้า  น่าจะมีผู้ญาณพยากรณ์ไว้แน่   เพราะสถานที่นี้เป็นที่มีวัตถุโบราณ อันส่อแสดงว่าคงจะเป็นสถานที่สำคัญสักอย่างหนึ่ง     ดังที่ปรากฏอยู่คือ  ขุดคูเป็นรูปวงเดือนแรมหันข้างแหว่งลงไปทางแม่น้ำโขง   ถ้าดูที่ขุดเป็นปีกกาออกไปสองข้างแล้ว ทำให้เข้าใจว่าเป็นสนามเพลาะ    แต่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ณ ที่ใด ๆ  แลไม่เคยได้ยินนักโบราณคดีพูดถึงเลย    เรื่องสามกษัตริย์จะมาสร้างหินหมากเป้งให้เจริญ  ผู้เขียนเมื่อยังเป็นเด็กอยู่ได้ฟังแล้วก็ยิ้มในใจไม่ยักเชื่อเลย   นึกว่าป่าดงดิบแท้ๆ ผีดุจะตายแล้วใครจะมาสร้าง   สร้างแล้วใครจะมาอยู่เล่า    แล้วเรื่องนั้นมันก็ลืมเลือนหายไปนานจนไม่มีใครกล่าวถึงอีกแล้ว  เพราะเห็นว่าไร้สาระ    แล้วจู่ๆ ผู้เขียนซึ่งซึ่งไม่เชื่อคำพยากรณ์นั้นเองได้มาอยู่และมาสร้างเสียเอง   จึงระลึกขึ้นมาได้ว่า  อ๋อ ความจริงมันหนีความจริงไม่พ้น   ถึงใครจะไม่พูดถึงมันก็ตาม เมื่อถึงเวลาของมันแล้วความจริงมันจะปรากฏขึ้นมาเอง
              พ.ศ.  ๒๔๘๑   พระอาจารย์หล้า  (ฉายา  ขันติโก) ได้มาจำพรรษา ณ ที่นี้เป็นองค์แรก  แต่ท่านก็มิได้สร้างเป็นวัด    ทำเป็นกระต๊อบเล็กๆ อยู่อย่างพระธุดงค์ธรรมดา ๆ   ท่านองค์นี้เป็นลูกบ้านห้วยหัดนี้เอง   ท่านเคยมีครอบครัวได้ลูกชายคนหนึ่งแล้ว   ภรรยาของท่านตายท่านจึงได้ออกบวช  อายุของท่านราว  ๔๐  ปี   โดยเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระราชเวที เป็นพระอุปัชฌายะ     ท่านไม่รู้หนังสือ   เมื่อมาภาวนากรรมฐาน ตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่าน   ท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียรมาก  สนใจในกิจการทั่วไป   เมื่อตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่านเป็นที่อัศจรรย์ ท่านยิ่งสนใจมาก   ท่านพยายามประสมและอ่านผิดบ้างถูกบ้างทีแรก   นานเข้าจนอ่านหนังสือที่มีเนื้อความเป็นธรรมได้     นอกนั้นอ่านไม่ได้   ผลที่สุดด้วยความพยายามของท่าน ท่านอ่านหนังสือทั่วๆ ไปได้หมด   เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย  แต่ท่านอาจารย์หล้าได้เป็นไปแล้ว    ตอนหลังๆท่านเป็นเจ้าตำราสั่งให้เขาซื้อหนังสือใหญ่ๆ เช่น หนังสือพระวิสุทธิมรรค ? ปุพพสิกขาวรรณา  มหาขันธกวินัย   มาไว้เป็นสมบัติของท่านเลย
               ท่านชอบเที่ยววิเวกองค์เดียวอยู่ตามแถบแถวภูพานนี้โดยมาก   ชาวบ้านที่ท่านเทียวไปยอมเคารพนับถือท่านมาก   ถ้าบ้านใดเจ็บไข้ได้ป่วยโดยเขาถือว่าผีมาอาละวาด   เขาต้องไปนิมนต์ให้ท่านไปขับผีให้   ความจริงมิใช่ท่านไปขับผี  แต่ท่านไปโปรดเขาพร้อมทั้งชาวบ้านด้วย    เมื่อท่านไปถึงทีแรกท่านจะต้องหาที่พักซึ่งเขาถือว่าเป็นที่อยู่ของผี   แล้วท่านจะต้องนั่งกำหนดภายในให้รู้ว่า ผีตัวนี้ชื่อว่าอย่างไร ทำไมจึงต้องมาอยู่ ณ ที่นี้   และได้ทำให้ชาวบ้านเขาเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะเหตุใด     เมื่อท่านทราบแล้วท่านจะต้องกำหนดหาบทภาวนา  เพื่อให้ผีตนนั้นมีจิตอ่อนน้อมยอมเมตตาเป็นมิตรกับชาวบ้านเหล่านั้น   แล้วท่านจะเรียกชาวบ้านเหล่านั้นมาสอนให้เขาตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย     ต่อไปก็ให้มีการปฏิบัติทำวัตรไหว้พระเช้าเย็นเป็นประจำอย่าได้ขาด   แล้วตอนท้ายก็สอนให้เขาภาวนาบทที่ท่านเลือกได้นั้น   นอกนี้ก็สอนให้เขาเหล่านั้นงดเว้นจากการสาปแช่งด่าและพูดคำหยาบคายต่าง ๆ     ห้ามลักฉ้อโกงขโมยของกันและกัน   ให้เว้นจากมิจฉาจารและให้งดจากการดื่มสุรา   และยังมิให้รับประทานลาบเนื้อดิบอีกด้วย    เมื่อท่านไปสอนที่ไหนได้ผลเป็นที่อัศจรรย์ทุกแห่งไป   แม้ที่เป็นหนองหรือน้ำซับทำเลดี ๆ ซึ่งเขาถือว่าผีดุ   เมื่อปฏิบัติตามท่านสอนแล้ว  เขาไปจับจองเอาที่เหล่านั้นมาเป็นกรรมสิทธิ์ทำมาหากินจนตั้งตัวได้ก็มากราย    ที่อธิบายมานี้เพื่อให้เห็นอัจฉริยะนิสัยของท่าน  ซึ่งไม่น่าจะเป็นแต่มันก็เป็นไปแล้ว     ท่านพึ่งมรณภาพที่บ้านนาเก็น (ปัจจุบันคือ  วัดป่าขันติยานุสรณ์  ต.หนองแวง  อ. น้ำโสม  จ. อุดรธานี)  เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๐  นี้เอง    อายุของท่านได้  ๘๒ ปี  พรรษา  ๔๒    การมรณภาพของท่านก็พิสดาร   คือท่านป่วยมีอาการเล็กน้อย   เย็นวันนั้นท่านออกเดินไปตามริมชายวัดเห็นต้นไม้แดงตายยืนอยู่ต้นหนึ่ง   ท่านบอกว่า ฉันตายแล้วให้ให้เอาต้นไม้นี้นะเผาฉัน  แล้วก็อย่าเอาไว้ล่วงวันล่วงคืนด้วย    ตกกลางคืนมาราว  ๒  ทุ่ม ท่านเริ่มจับไข้  อาการไข้เริ่มทวีขึ้นโดยลำดับ   ตีหนึ่งเลยมรณภาพ    บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสก็ทำตามท่านสั่งทุกอย่าง
                ที่นำเอาประวัติของท่านพระอาจารย์หล้ามาเล่าโดยย่อนี้   ก็เพื่อผู้สนใจจะได้นำมาเป็นคติ    และท่านเป็นคนแรกที่เริ่มสร้างวัดนี้      ต่อจากนี้ก็มีพระเส็ง ? พระคำจันทร์ ? พระอุทัย ? และพระคำพัน เป็นคนสุดท้าย
                เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗  ข้าพเจ้าได้จำพรรษาที่ถ้ำขาม    ออกพรรษาแล้วได้วิเวกมาพักอยู่ด้วยพระคำพัน   เห็นว่าที่นี้วิเวกดีพร้อมด้วยดินฟ้าอากาศก็ถูกกับโรค   รู้สึกว่าได้รับความสบายดี    จึงได้จำพรรษาอยู่ด้วยพระคำพัน      บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบว่าข้าพเจ้ามาอยู่ ณ ที่นี้  ต่างก็พากันลงเรือมาเยี่ยม เพราะเวลานั้นทางรถยังไม่มี    เมื่อพากันมาเห็นสถานที่เป็นที่สัปปายะ  อากาศก็ดี วิเวกน่าอยู่  วิวก็สวยงาม  แต่เสนาสนะที่อยู่อาศัยยังไม่น่าอยู่   ต่างก็พากันหาทุนมาช่วยบูรณะก่อสร้างจนสำเร็จเป็นวัดที่ถาวร   ดังที่ปรากฏแก่สายตาของท่านทั้งหลายอยู่ ณ บัดนี้แล้ว

            ======================================================================================================

           เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดหินหมากเป้ง

ข้อพิจารณาเรื่อง  คูหรือสนามเพลาะรูปวงเดือน  ในวัดหินหมากเป้ง

พระเดชพระคุณหลวงปู่  กล่าวว่า

        ขุดคูเป็นรูปวงเดือนแรมหันข้างแหว่งลงไปทางแม่น้ำโขง   ถ้าดูที่ขุดเป็นปีกกาออกไปสองข้างแล้ว ทำให้เข้าใจว่าเป็นสนามเพลาะ    แต่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ณ ที่ใด ๆ  แลไม่เคยได้ยินนักโบราณคดีพูดถึงเลย

       ปรากฏในหนังสือเรื่องนิทานขุนบรมราชาหรือ  พงศาวดารเมืองล้านช้างว่า  หลังจากพระยาฟ้างุ่มตีได้เมืองหลวงพระบาง ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖  แล้ว  ได้ทำสงครามรวบรวมบ้านเมืองเพื่อก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง  ในปี พ.ศ. ๑๘๙๘  ได้ยกกองทัพจากเมืองหลวงพระบางลงมาตีได้เมืองซายขาว (บ้านทรายขาว  อ. วังสะพุง  จ.เลย)  เมืองเชียงคาน (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตรงข้าม อ. เชียงคาน)  หลังจากนั้นยกกองทัพบกทัพเรือลงมาตีเมืองเวียงจันทน์  ซึ่งพระยาเภาและท้าวเชียงมุงเป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่  ในพงศาวดารระบุว่า  ตั้งกองทัพที่  คอแก้ง  ซึ่งคอแก้งในแม่น้ำโขงบริเวณใกล้เมืองเวียงจันทน์ก็มีอยู่แห่งเดียว  คือแก่งหินในแม่น้ำโขงข้างวัดหินหมากเป้งนี้เอง

        เมื่อพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศแล้ว  คอแก้งมีพลาญหินกว้างใหญ่และยื่นเข้ามาในแม่น้ำทั้งสองข้างทำให้แม่น้ำโขงตรงนี้แคบมาก  อาจที่จะทำ  สะพานเรือก  ให้ทหารในกองทัพที่อยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำข้ามไปมาหากันได้โดยสะดวก  และสามารถนำเรือจอดเทียบที่ริมน้ำได้  แต่ถ้าเป็นใต้แก่งลงมาไม่สามารถจอดเรือได้เพราะแม่น้ำโขงใต้คอแก้งบริเวณ บ้านโคกซวก เป็นวังน้ำวน  หรือเป็นเวินที่เรียกว่า  เวินกุ่ม  เหนือวัดหินหมากเป้งขึ้นไปก็เป็นภูเขาสูงทั้งสองฟากแม่น้ำ  จนถึงบริเวณบ้านผาตั้ง อ่างปลาบึก อำเภอสังคม  จึงมีที่ราบให้ตั้งกองทัพได้  แต่น้ำโขงบริเวณนั้นก็เป็นวังน้ำวนเช่นกันโดยเฉพาะที่  อ่างปลาบึก
     
      ใต้วัดหินหมากเป้งลงไปจนถึงเมืองเวียงจันทน์เป็นที่ราบสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ ทั้งสองฟากแม่น้ำ  อาจเดินกองทัพบกไปถึงเมืองเวียงจันทน์ในเวลาไม่เกินครึ่งวัน  และยกทัพเรือไปถึงเมืองเวียงจันทน์ไม่เกิน ๓ ชั่วยามหรือ ๔ ชั่วโมงครึ่ง  แต่ผู้รวบรวมยังไม่มีโอกาสไปสำรวจฝั่งตรงข้ามกับวัดหินหมากเป้งว่ามีคูหรือสนามเพลาะแบบเดียวกันนี้หรือไม่   ถ้ามีสนามเพลาะแบบเดียวกันก็ยิ่งแสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งกองทัพทั้งสองฟากแม่น้ำมาก่อน

        อีกประการหนึ่งภูมิประเทศตรงวัดหินหมากเป้งเป็นที่ลำแม่น้ำแคบมากและตลิ่งก็สูง  เหมาะแก่การซุ่มโจมตีและเหมาะที่จะตั้งกองตระเวนหน้าด่านสำหรับรักษาเมืองด้วยเช่นกัน

        สรุปว่า  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงหินหมากเป้งหรือคอแก้ง  คือหนังสือพงศาวดารเมืองล้านช้างหรือนิทานขุนบรมราชา  ในสมัยพระยาฟ้างุ่มแถลงหล้าธรณี  คราวตีเมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๑๘๙๘

          ========================================================================================================

        ข้อพิจารณาเรื่องนิทานปรัมปราเกี่ยวกับหินหมากเป้ง

พระเดชพระคุณหลวงปู่เล่าว่า

         มีคนเฒ่าคนแก่เล่าปรัมปราสืบกันมาว่า   หินหมากเป้งก้อนบน(เหนือน้ำ) เป็นของหลวงพระบาง  ก้อนกลางเป็นของบางกอก  ก้อนใต้เป็นของเวียงจันทน์    ต่อไปในอนาคตข้างหน้ากษัตริย์ทั้งสามนครจะมาสร้าง  หินหมากเป้ง  ให้เจริญ

สันนิษฐานว่า  นิทานปรัมปรานี้  อาจเกิดขึ้นประมาณ  พ.ศ.  ๒๓๑๐ ? พ.ศ.  ๒๓๗๑  เพราะ
             ๑   บางกอก  ก่อน พ.ศ.  ๒๓๑๐  เป็นเพียงเมืองหน้าด่านที่มีป้อมปราการสองฟากแม่น้ำ  เป็นป้อมสำหรับป้องกันข้าศึกที่จะยกมาตีกรุงศรีอยุธยาทางทะเล  เรียกว่าเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร  เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้วได้อพยพไพร่พล  ลงไปตั้งเมืองธนบุรีเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ.  ๒๓๑๐
             ๒   หลังจากพระยาฟ้างุ้มทรงก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง  ในประมาณ พ.ศ.  ๑๘๙๖ แล้ว  ทรงยกเมืองหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง  เมืองเวียงจันทน์เป็นเพียงเมืองพระยามหานคร  เช่นเดียวกันกับเมืองนครพนม  เมืองปากห้วยหลวง (โพนพิสัย)   และเมืองพิษณุโลก  เมืองนครศรีธรรมราช  ของกรุงศรีอยุธยา  มีขุนนางผู้ใหญ่ปกครองเรียกว่า  พระยาเมืองจันทน์  หรือพระยาแสนเมืองเวียงจันทน์
             ต่อมาในปี  พ.ศ.  ๒๑๐๓  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ทรงอพยพไพร่พลลงไปตั้งเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง  ยกเมืองหลวงพระบางให้เป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา  มีขุนนางปกครอง  จนกระทั่งสิ้นรัชกาลของพระยาสุริยวงศาธรรมิกราช  เกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติในพระราชวงศ์ล้านช้าง  พระไชยองค์เว้  ทรงยึดเมืองเวียงจันทน์ได้  สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระไชยเชษฐาธิราช ที่ ๒  ครองเมืองเวียงจันทน์  ในปี พ.ศ.  ๒๒๔๑  ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา  และเจ้ากิ่งกิจ  ทรงยึดเมืองหลวงพระบางได้ใน ปี พ.ศ. ๒๒๔๖  ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น  พระธรรมกิจล้านช้างร่มขาว  ครองเมืองหลวงพระบาง  ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา  แห่งกรุงศรีอยุธยา  อาณาจักรล้านช้างจึงแบ่งออกเป็นสองนครรัฐ  คือกรุงศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์  และกรุงศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง
              ต่อมาเมื่อเจ้าราชครูหลวงยอดแก้วโพนสะเม็ก   หรือญาครูขี้หอม  ได้อพยพญาติโยมและลูกศิษย์บริวารออกจากเมืองเวียงจันทน์ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๒๓๘  ไปอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์  และได้ยกเจ้าหน่อกษัตริย์  ราชนัดดา (หลานตา) ของพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองนครจำปาศักดิ์  ในปี พ.ศ. ๒๒๕๖  ทรงพระนามว่าเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร  อาณาจักรล้านช้างจึงได้แตกออกเป็น ๓ นครรัฐ  แต่นั้นมา  ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  ครองกรุงศรีอยุธยา  (บางกอกยังเป็นเพียงเมืองธนบุรีศรีมหาสมุร)
              ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒  เกิดสงครามระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  กรุงธนบุรีและเจ้าสิริบุญสาร เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์  (สมเด็จ)เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  ตีได้เมืองเวียงจันทน์  และเจ้าสุริยวงศ์ผู้ครองเมืองนครหลวงพระบางยอมอ่อนน้อม  ขอเป็นข้าขอบขันธสีมา  เมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบาง  จึงเป็นเมืองประเทศราชขึ้นแก่กรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  จึงทรงเป็นกษัตริย์ทั้งสามนครพระองค์แรก
              ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙  เจ้าอนุวงศ์  เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์คิดก่อการกบถ  ทำสงครามกู้เอกราช  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้า ฯ ให  กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์  และพระยาราชสุภาวดี (เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) ยกกองทัพขึ้นมาปราบ  เจ้าอนุวงศ์สู้ไม่ได้จึงหนีไปเมืองญวน  และถูกจับได้ในปี พ.ศ. ๒๓๗๑     หลังสงครามกับกรุงเทพ ฯ ในครั้งนั้น  โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าประเทศราชเมืองเวียงจันทน์และโปรดเกล้า ฯ ให้ทำลายเมืองเวียงจันทน์  เหลือไว้แต่พระอาราม  และตั้งบ้านไผ่  หรือเมืองล่าหนอง  เป็นเมืองหนองคาย  ขึ้นดูแลบริเวณอาณาเขตเมืองเวียงจันทน์แทน
               ส่วนเมืองหลวงพระบางมีความชอบในการร่วมปราบกบถในคราวนั้น  จึงยังคงมีกษัตริย์ปกครองต่อมาจนถึง ปี  พ.ศ. ๒๕๑๘  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓ จึงทรงเป็นกษัตริย์สามนครพระองค์ ที่ ๔ และเป็นพระองค์สุดท้าย

               สรุปความได้ว่า  นิทานปรัมปราเกี่ยวกับหินหมากเป้ง  คงเกิดขึ้นหลังจากตั้งบางกอกหรือเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรขึ้นเป็นเมืองหลวง  ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐  และไม่เกินไปกว่า ปี พ.ศ. ๒๓๗๑  หลังจากเมืองเวียงจันทน์ถูกทำลายกลายเป็นเมืองร้าง
               


เพิ่มเติมโดยพระดำรงรักษ์  ธัมมปาโล  วัดเทสรังสี  ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒

thxby303uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 08:23:21 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #27 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 11:35:52 »


         หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี เป็นพระอาจารย์ที่มีอุปนิสัยในทางปฏิบัติธรรม   ตามอย่างที่ได้เคยฝึกฝนอบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาเป็นเวลานาน   วัดหินหมากเป้งจึงเป็นวัดที่เน้นการปฏิบัติธรรมเป็นหลัก     หลวงปู่ได้พัฒนาวัดหินหมากเป้ง   โดยได้ทำการก่อสร้างเสนาสนะและอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ  ทำให้เป็นวัดมีอาคารเสนาสนะอย่างสมบูรณ์    ทั้งหลวงปู่ได้วางระเบียบทั้งกฎกติกาต่างๆ  เพื่อให้พระเณรตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาที่มาวัดได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติ   ทำให้วัดหินหมากเป้งสงบเรียบร้อยดีเป็นที่เจริญใจแก่สาธุชนผู้มาสู่วัดตลอดมา       ทางวัดก็ได้ยึดถือนโยบายและแนวทางที่หลวงปู่ได้วางไว้เป็นเครื่องดำเนินโดยตลอดมา
         หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  ปกครองวัดหินหมากเป้งต่อมาถึง  วันที่ ๑๗  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๗   จึงมรณภาพ
     
ลำดับเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดหินหมากเป้งดังนี้

๑  พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี)      พ.ศ. ๒๕๐๗ ? ๒๕๓๗
๒  พระอธิการอุทัย  ฌานุตตโม                                            พ.ศ. ๒๕๓๘ ? ๑๐ มกราคม ๒๕๓๙
๓  พระครูวิสุทธิคุณรังสี (ชัยชาญ  ชยธัมโม)                              พ.ศ. ๒๕๓๙ ? ๒๕๔๑
๔  พระอธิการพิชิต  ชิตมาโร                                         กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ? กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๕  พระอาจารย์ไพบูลย์  โกวิโล                                     กุมภาพันธ์  ๒๕๕๒ ? พฤษภาคม ๒๕๕๓
๖  พระครูมงคลญาณโสภณ (บุญทวี  สีตจิตโต)                    พฤษภาคม  ๒๕๕๓ ? ปัจจุบัน

       ==============================================================================================================

                    รายนามวัดสาขาวัดหินหมากเป้ง

            ๑   พระ อ. นิรันดร์  คุณธโร  วัดถ้ำน้ำทิพย์  บ. นามูล  ต. ดูนสาด  อ. กระนวน  จ. ขอนแก่น  ๔๐๙๗๐
               ๒   พระ  อ.สมคิด  ธัมมสาโร  สำนักสงฆ์บ้านดงขันทองต. บ้านเหล่า  อ. เพ็ญ  จ. อุดรธานี  ๔๑๑๕๐
               ๓   พระ อ. อุทัย  อุทโย  วัดป่าวังน้ำเย็น บ. ขามเฒ่า  ต. ขามเฒ่า  อ. กันทรวิชัย  จ. มหาสารคาม  ๔๔๑๕๐
               ๔   พระครูธรรมชัยเมธี (อ.ประคอง  วิสาระโท)  วัดธรรมโยธินนิวาส บ. นิคมทหารผ่านศึก  ต. บ้านตาด  อ.เมือง  จ. อุดรธานี  ๔๑๐๐๐
               ๕   พระอาจารย์ สมร  ฐิตธมฺโม   วัดป่าดงแก้วรังสี ต. โนนทองอินทร์  กิ่ง อ. กู่แก้ว  จ. อุดรธานี  ๔๑๑๓๐
               ๖   พระครูมงคลญาณโสภณ (บุญทวี  สีตจิตโต)  วัดป่าเทสรังสี (ร้อยรู)ต. แสนตุ้ง  อ. เขาสมิง  จ. ตราด  ๒๓๑๕๐
               ๗   พระ อ.บรรหาร  ธัมมรโต  สำนักสงฆ์สถานีทดลองพืชสวนฝาง ต. โป่งน้ำร้อน  อ. ฝาง  จ. เชียงใหม่  ๕๐๑๑๐
               ๘   พระครูภาวนาวิทยาคม  (อ. วิชา  อภินันโท)  วัดศรีเทพนิมิตวราราม  บ. ชะอม ต. บ้านนา  อ.  แก่งคอย  จ. สระบุรี  ๑๘๑๑๐
               ๙   พระ อ. ศิริศักดิ์  ศิริคุตโต  วัดป่าหนองแสง  บ. หนองแสง  ต. แก้งไก่  อ. สังคม  จ. หนองคาย  ๔๓๑๖๐
              ๑๐   พระ อ. สมพงษ์  ธนปาโล  วัดป่าแสงทอง  บ. แสงทอง ต. บ่อรัง  อ. วิเชียรบุรี  จ. เพชรบูรณ์  ๖๗๑๓๐
              ๑๑   พระ อ. พิษณุ  ชินวังโส  วัดป่าบ้านมะกอก  ต. ท่าขอนยาง  อ. กันทรวิชัย  จ. มหาสารคาม  ๔๔๑๕๐
              ๑๒   พระ อ. เค  ปภัสสโร  วัดป่าบ้านก๊อด  ต. ปงสนุก  อ. เวียงสา  จ. น่าน  ๕๕๑๑๐
              ๑๓   พระไกรทอง  จันทวังโส  วัดป่าผาล้อม  บ. เพีย  ต. น้ำสวย  อ. เมือง  จ.เลย  ๔๒๐๐๐
              ๑๔   พระครูอดิสัยคุณาธาร  (อ. สะอาด  อภะโย)  วัดป่าผาขาม  บ. โพนสว่าง  ต. นาดอกคำ  อ. นาด้วง  จ. เลย   ๔๒๒๑๐
              ๑๕   พระ อ. ชาญ  ธัมมชะโย  วัดป่าเขาล้อม  ต. คลองตะเกรา  อ. ท่าตะเกียบ  จ. ฉะเชิงเทรา  ๒๔๑๖๐
              ๑๖   พระมหาปัญญา  ตัปปโร  วัดป่าปัญญาเจริญธรรม  บ. สูงแคน ต. หมูม่น  อ. เมือง  จ. อุดรธานี  ๔๑๐๐๐
              ๑๗   วัดป่าเขื่อนแก้ว  ต. ท่าสาย  อ. เมือง  จ. เชียงราย  ๕๗๐๐๐
              ๑๘   พระครูสุนทรธรรมโฆสิต (สุรเสียง   ปัญญาวชิโร)  วัดป่าเลิงจาน บ.โนนหัวฝาย ต.แก่งเลิงจาน  อ.เมือง  จ.มหาสารคาม
              ๑๙   วัดป่าบ้านห้วยลาด   ต. สานตม        อ. ภูเรือ   จ. เลย
              ๒๐   พระภัลลภ  อภิปาโล  วัดเชิงเลน  ซอยวัดเพลงวิปัสสนา  ถนนจรัญสนิทวงศ์  แขวงบางขุนศรี   เขตบางกอกน้อย     กรุงเทพฯ
              ๒๑   พระขวัญชัย  ผลธมฺโม  วัดเขาน้อยเทสรังสี  บ.เขาน้อย  ม.11  ต.ดู่ใต้   อ.เมือง  จ.น่าน
              ๒๒   พระวิโรจน์  ปัญญาวุโธ   วัดป่าบ้านคอนเรียบ    ต. เตาไห     อ.เพ็ญ  จ.อุดรธานี  41150
              ๒๓   พระพวง  คัมภีโร  วัดลุมพินีวัน  บ. ลุมพินี  ต. พระพุทธบาท  อ. ศรีเชียงใหม่  จ. หนองคาย
              ๒๔   วัดเทสรังสี  บ.วังน้ำมอก  ต. พระพุทธบาท  อ. ศรีเชียงใหม่  จ. หนองคาย
              ๒๕   วัดดอนขนุน (ถ้ำฮ้าน)  บ. ดอนขนุน  ต. ด่านศรีสุข  อ. โพธิ์ตาก  จ. หนองคาย
              ๒๖   สำนักสงฆ์ป่ายาง  บ.น้ำทอนใต้  ต. ด่านศรีสุข  อ. โพธิ์ตาก  จ. หนองคาย
              ๒๗   พระอาจารย์ศิริสมชัย  ทีปกโร  วัดป่าพระธาตุเจริญธรรม  ต.ทับกวาง  อ.แก่งคอย  จ. สระบุรี
              ๒๘   หลวงพ่อทองพูน  ปุญญกาโม  วัดป่าอภัยวัน  ต. บ้านทุ่ม  อ. เมือง  จ. ขอนแก่น
              ๒๙   พระอาจารย์สมควร  โกมโล  วัดเกาะกระทิง  ต. คลองตะเกรา  อ. ท่าตะเกียบ  จ. ฉะเชิงเทรา
              ๓๐   หลวงพ่อประสพ  วรจิตโต  วัดป่าภูรินทร์  ต. บ้านตาดเขต ๒   อ.เมือง  จ. อุดรธานี
              ๓๑   พระครูโสภณขันติพลากร(ทรงศักดิ์  ขันติโก)  วัดถ้ำพระผาป่อง  บ.ขัวสูง  ต.กกตูม  อ. ดงหลวง  จ. มุกดาหาร
              ๓๒   พระไพบูลย์  ญาณโสภโณ  วัดอุดมสิทธิกุล  บ.คลองสิบศอก  ต.นราภิรมย์  อ.บางเลน  จ. นครปฐม
              ๓๓   พระประพันธ์ศักดิ์  อนาวิโล  วัดป่าเทสรังสี (เขาตุ๊กปุ๊ก)  ต. ท่าเยี่ยม  อ.โชคชัย  จ. นครราชสีมา
              ๓๔   พระทองเจือ  ชุติมันโต  วัดเทสรังสีคัมภีรปัญญา  ม. 8    ต.ชะอม  อ.แก่งคอย จ.สระบุรี            18110

thxby304uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 08:24:45 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #28 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 23:16:26 »

2 ที่ระลึก

           2.1พระนาคปรกนาสีดา

          

          

           เมื่อปี 2522  หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร(หลานหลวงปู่เทสก์) ขออนุญาตสร้างรูปหล่อเท่าองค์จริงหลวงปู่เทสก์ เททองหล่อที่วัด เพื่อประดิษฐานไว้วัดป่าบ้านนาสีดา(วัดป่าจันทรังสี) เพื่อให้ลูกหลาน ลูกศิษย์ ชาวบ้านนาสีดา ได้กราบไหว้แทนองค์จริงหลวงปู่เทสก์ เพราะการเดินทางจากบ้านนาสีดา -อ.ศรีเชียงใหม่-วัดหินหมากเป้ง ค่อนข้างลำบาก และขออนุญาตสร้างพระนาคปรก ซึ่งเป็นพระประจำวันเกิดของหลวงปู่เทสก์ (วันเสาร์) แจกชาวบ้านนาสีดา(บ้านเกิดหลวงปู่เทสก์) หลวงปู่เทสก์อธิษฐานจิต ๒ ครั้งโดยมีคณะจัดสร้างคือ ท่านผู้ว่าจังหวัดอุดรธานี (ท่านพิศาล มูลศาสตร์สาทร) โรงสีข้าวศรีไทยใหม่ อ.บ้านผือ(เป็นผู้ออกค่าบล็อค) ท่านพระอาจารย์จิต(หลานหลวงปู่เทสก์ เจ้าอาวาสวัดอรัญญิกกาวาส อ.บ้านผือ) หลวงปู่จันทร์โสม  จัดสร้างดังนี้
           1. พระกริ่งรูปหล่อ พระนาคปรก (ใต้ฐานมีฝาอุดกริ่ง เป็นรูปธรรมจักร เท่านั้น) มีเนื้อทองคำ 11 องค์(ร้านทอง................. วงเวียนห้าแยกอุดรธานี ออกทองคำหล่อพระ)  เนื้อเงิน ประมาณไม่เกินหกสิบองค์  เนื้อทองแดง (ถ้าแขวน/ใช้นานๆจะดูเป็นเนื้อนวะโลหะ) สองพันองค์

         พระกริ่งนาคปรกนาสีดา เนื้อทองคำ ( ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของพระเป็นอย่างสูง ที่เอื้อเฟื้อรูปพระ เพื่อเป็นวิทยาทานครับ)

        

        

พระกริ่งนาคปรกนาสีดา เนื้อเงิน (ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของพระเป็นอย่างสูง ที่เอื้อเฟื้อรูปพระเพื่อเป็นวิทยาทานครับ)

            

            

            

            

             พระกริ่งนาคปรก เนื้อทองผสม

            

            

            

            

            

            

            ฝาอุดกริ่ง

            

            

            

            

            คราบเบ้า

            

            

            

            

            กล่องใส่พระนาคปรกนาสีดา

            

            =========================================================================================================

            องค์นี้ฝาอุดกริ่งแปลกแตกต่าง

            

            

            

            ==========================================================================================================

            2. เหรียญพระนาคปรกนาสีดา หลังเรียบ (ลป.เทสก์ให้ลบชื่อของหลวงปู่ที่อยู่ด้านหลังเหรียญออก)มีเนื้อทองคำ ประมาณ 10 เหรียญ เนื้อเงิน ประมาณ ไม่เกินหกสิบเหรียญ  เนื้อทองผสม(ผิวไฟ -รมดำ) ประมาณ 3000 เหรียญ

             เหรียญเนื้อเงิน

            

            

            

            

            

            

            
        
            

             เนื้อตะกั่วลองพิมพ์

            

            

thxby307uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤษภาคม 2558, 12:37:25 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
middle spirit
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 820

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 23 : Exp 24%
HP: 46%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #29 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2553, 23:16:45 »

                   เหรียญพระนาคปรก เนื้อทองแดง

                   

                   

                   

                   

                   

                   เหรียญนาคปรกนาสีดา บล็อคคอขีด (บล็อคเนื้อเงิน )

                   

                   

                   รอยตัดขอบเหรียญ

                   
                       
                   

                   

                   

                   

                   

                                                                2.2  เหรียญพัดยศรุ่นแรก ปี 2529

                    สร้างปี  พ.ศ ๒๕๒๙  เนื่องในงานทำบุญอายุครบ ๗ รอบ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) และ ฉลองพระอุโบสถวัดอรัญญวาสี ( เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ลป.เทสก์ ลป.ฝั้น ฯลฯ เคยมาจำพรรษา)  ขออนุญาตโดย ท่านปลัดฮิ (ท่านพิศาล มูลศาสตร์สาทร) ในวาระโอกาสที่ฟ้าชายเสด็จวัดอรัญญวาสี สร้าง 3000 เหรียญ เป็นเหรีญทองเหลืองชุบนิเกิ้ลแล้วกระหลั่ยทอง แยกเป็น 2 บล็อค
     1. บล็อคปั๊มครั้งแรก (พ.ศ .๒๙)  เป็นเหรียญปั๊มแรกๆ บล็อคยังไม่ชำรุด มีน้อย (เหรียญพัดยศ 20-30 เหรียญจะเจอเหรียญบล็อคนี้เหรียญเดียว )หายาก ตัวหนังสือนูนชัด อ่านง่าย  ส่วนใหญ่ที่ได้รับกับมือหลวงปู่ จะเป็นบล็อคนี้

                     

                     
               
                     

                     

                     
                     
    2. บล็อคไข่ปลา  บล็อคนี้เป็นเหรียญปั๊มเมื่อบล็อคเริ่มชำรุด จะปรากฏเนื้อเกินเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลา ลาดเอียงลงไปจากตัว ป ของคำว่า เป็น (ด้านหลังเหรียญ) ตัวหนังสือจะไม่คมชัดเท่าบล็อค ๒๙ ( ตัวเลข พ.ศ ๒๙ จะติดกันคล้าย ๒๔ หรือ ๒๘ )

                     

                     

                     

                     

                     หลักฐานและข้อมูลว่า สร้างปี ๒๙

                     พระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์เกิดปี พ.ศ. ๒๔๔๕ + ทำบุญอายุครบ ๗ รอบ ( ๑๒ x ๗ = ๘๔ ) ๒๔๔๕ + ๘๔ ปี พ.ศ.๒๕๒๙

                     

                     
                   
          **** จากคำบอกเล่าของคุณพ่อ ม. ลูกศิษย์หลวงปู่ (ที่พาท่านพิศาลนำเหรียญพัดยศมาถวายหลวง) ว่า หลวงปู่สั่งให้คุณพ่อ ม. นับเหรียญที่นำมาถวาย คุณพ่อ ม.ตอบว่านับไม่ไหวครับ เยอะมาก หลวงปู่ก็ได้ตำหนิว่า สร้างมาเยอะเกินกว่าที่ขอ หลวงปู่บอกให้คุณพ่อ ม.นำเหรียญเอาไปไว้ในกุฏิหลวงปู่ เท่าที่ถามคุณพ่อ ม. ว่า มีเหรียญเนื้อทองคำและเนื้อเงินถวายหลวงปู่เพื่อให้หลวงปู่อธิษฐานจิตหรือไม่?  ตอนที่นำเหรียญไปถวายหลวงปู่ไม่มีเหรียญเนื้อทองคำและเนื้อเงินแน่นอน *****


thxby308ruguest93
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2553, 12:03:42 โดย middle spirit » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 37   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!