หลวงพ่ออมร พระมงคล กิตติธาดา (อมร เขมจิตโต) วัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์) ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
23 พฤศจิกายน 2567, 20:41:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่ออมร พระมงคล กิตติธาดา (อมร เขมจิตโต) วัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์)  (อ่าน 8493 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
max
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 7
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 16

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 3 : Exp 27%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 13:31:20 »

เหรียญท่านกำลังแรงครับ ช่วงนี้หาเก็บกันไว้ก็ดีครับ


ประวัติ
พระมงคลกิตติธาดา (หลวงพ่ออมร เขมจิตโต)

Huh??..

             พระมงคลกิตติธาดา ( หลวงพ่ออมร  เขมจิตโต)  เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ ได้ละสังขารด้วยอาการสงบ  ณ ห้อง ซีซียู ตึกพระโพธิญาณเถร  โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์อุบลราชธานี   อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี   เวลา 11.30 น.เศษ     วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2553  สิริอายุ 79 ปี 10 เดือน 19 วัน  มีพระเถรานุเถระ และศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพหลวงพ่อเพื่อบำเพ็ญกุศล  ณ วัดป่าวิเวกธรรมชาน์  อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี  ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553  นับเป็นการจากไปของพระเถระที่เป็นศิษย์หลวงปู่ชา  สุภทโท  สายวัดหนองป่าพง  สาขาที่ 7

 
ประวัติโดยย่อ

                พระมงคลกิตติธาดา (อมร  เขมจิตโต)  มีนามเดิมว่า  อมร  บุตรศรี  เกิดเมื่อวันที่ 4  มกราคม  พ.ศ. 2474  (ตรงกับวันจันทร์แรม  11  ค่ำ  เดือนอ้าย  ปีมะแม ) ที่บ้านหนองขุ่น  ตำบลยางโยภาพ  อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี  บิดาชื่อ นายหลอด  บุตรศรี  มารดาชื่อนางกว้าง  บุตรศรี  มีพี่น้องทั้งหมด

7 คน  หลวงพ่อเป็นคนที่ 2

การศึกษา บรรพชา และอุปสมบท

                พ.ศ. 2487  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านหนองขุ่น  อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด

อุบลราชธานี  และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น โดยมีพระครูอัครธรรม วิจารณ์ (เลิศ  ฉนโน) เจ้าอาวาสวัดหนองหลัก  เป็นพระอุปัชฌาย์  ในปีนี้สอบได้ นักธรรมชั้นตรี

                พ.ศ. 2489   สอบได้นักธรรมชั้นโท

              พ.ศ. 2491  เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในพระนคร (กรุงเทพฯ)โดยไปจำพรรษาอยู่ที่คณะ 10วัดทองนพคุณ  อำเภอคลองสาน  จังหวัดธนบุรี

                พ.ศ. 2493  สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 3 ประโยค  ได้คะแนนเต็มทุกวิชา

                พ.ศ. 2494   อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ โดยมีพระเทพวิมล  (ชุ่ม  ติสาโรป  ธ.3) เป็นพระอุปัชฌาย์  พระภัทรมุนี (อิ่น  ภัทรมุนี  ป.ธ.9) เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระปริยัตยานุรักษ์ (สมบูรณ์  เตมิโย  ป.ธ.5) เป็นพระอนุสาวนาจารย์  และพระธรรมเจดีย์ (กี  มารชิโน  ป.ธ.9) เป็นพระธรรมวาจาจารย์

                พ.ศ. 2496  สอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 3  ที่โรงเรียนวัดสระเกศ   กรุงเทพมหานคร

                พ.ศ. 2497   สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค

 

ความมุ่งมั่นในการศึกษา และปฎิบัติวิปัสสนาธุระ

                พ.ศ. 2508 ได้พบกับ  หลวงพ่อชา  สุภทโท  ( พระโพธิญาณเถร) เจ้าอาวาส วัดหนองป่าพง  อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นครั้งแรกที่วัดหนองหลัก  อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี   แต่ด้วยมานะทิฏฐิและยึดอัตตาในภูมิปริยัติของตน ซึ่งเป็นถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค  จึงยังไม่เกิดความเลื่อมใสมากนักจนกระทั่งได้อ่านหนังสือ ?วิปัสสนาสาร?  ของวัดมหาธาตุ   กรุงเทพมหานคร  ซึ่งพระครูอรรคธรรมวิจารณ์พระอุปัชฌาย์มอบให้  จึงเริ่มคิดที่จะศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างจริงจัง

                พ.ศ. 2511  ตัดสินใจเดินทางไปวัดหนองป่าพง  เพื่อทดลองศึกษาดูก่อน  เมื่อเข้าไปในวัดหนองป่าพงครั้งแรก   ก็เกิดความรู้สึกประทับใจในความสะอาดร่มรื่น  สงบเงียบพระภิกษุ  สามเณรภายในวัดทำกิจวัตรด้วยอาการสำรวมระวัง  จึงกราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา ตั้งแต่บัดนั้น

                พระมงคลกิตติธาดา (อมร  เขมจิตโต) เป็นศิษย์ที่มีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อชาจึงมีโอกาสได้รับฟังธรรมะและเกร็ดประวัติของครู  อาจารย์อยู่เสมอด้วยความเคารพ  เทิดทูน  และกตัญญูกตเวทิตาได้เขียนหนังสือบูชาพระคุณครู และนำพระธรรมคำสอนออกเผยแผ่   เช่น

                สุภัททานุสรณ์    หนึ่งเดือนในป่าพง   หนึ่งเดือนในป่าพง ตอน 2    ป่าพงดงธรรม    หลวงปู่ชา

ประวัติบ้าน และโรงเรียนบ้านหนองขุ่น   เวสสันดรสอนธรรม    72 ปี ที่ผ่าน  พระโพธิมงคลโพธิสัตว์  ธรรมะจากต้นไม้   ธรรมสามรส        เกล็ดเพชร ในเม็ดทราย    ธรรมะของหลวงพ่ออมรกับคำสอนหลวงปู่ชา

                  เนื่องในมหามงคลสมัย   เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ  พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว  วันที่ 5 ธันวาคม  พ.ศ. 2530   หลวงพ่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์   เป็นพระราชาคณะเฉลิมพระเกียรติ  มีพระราชทินนาม ?พระมงคลกิตติธาดา?

หลวงพ่อได้รับการถวายรางวัล และเกียรติบัตร  ในฐานะพระสงฆ์ ผู้ทำคุณประโยชน์อเนกอนันต์แก่สังคมจากหลายหน่วยงานหลายสถาบัน อาทิ

                พ.ศ. 2536  มูลนิธิเวียนินี่  ลาโวรี่  เวียนินี่ไทย  มอบ  โล่เกียรติคุณการปฎิบัติงานดีเด่น สาขาวัฒนธรรม

                พ.ศ. 2541 ได้รับเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ  ผู้ให้การสนับสนุนการศึกษาดีเด่น  จากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี

                พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัล  เสมาทองคำ  สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา  จากศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย

                พ.ศ. 2543  ได้รับการประกาศเกียรติคุณ  ในฐานะเป็นผู้กระทำคุณงามความดี  อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ  ระดังจังหวัด  โครงการเสมาพัฒนาคุณธรรมตามพระราชดำรัส

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                พ.ศ. 2544 ได้รับเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ  ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับการประถมศึกษาดีเด่นจากสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี

                พ.ศ. 2547  ได้รับการถวายปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา จากมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

                พ.ศ. 2547  ได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวัฒนธรรมศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

                พ.ศ. 2553   ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณพระเถระ   ผู้มีพุทธคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา   ระดับกาญจนเกียรติคุณ  โดยคณะกรรมาธิการศาสนา   ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร

 

การปกครอง และ สมณศักดิ์

                17  ตุลาคม  พ.ศ. 2517   ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดม่วงสามสิบ  อำเภอม่วงสามสิบ

                1  มกราคม พ.ศ. 2518     ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ

                5  ธันวาคม  พ.ศ. 2523     ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ ?พระครูศรีปัญญาคุณ?

                5  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525  ได้รับแต่งตั้งเป็น  พระอุปัชฌาย์  ในเขตอำเภอม่วงสามสิบ

                                   พ.ศ. 2527  ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการอบรมพระอุปัชฌาย์ประจำจังหวัดอุบลราชธานี

                10  ธันวาคม พ.ศ. 2529    ได้รับแต่งตั้งเป็น  เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์

                30  มิถุนายน พ.ศ. 2530   ได้รับแต่งตั้งเป็น  รักษาการเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ

                5   ธันวาคม  พ.ศ. 2530    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะเฉลิมพระเกียรติ ?พระมงคลกิตติธาดา?

                20  มกราคม พ.ศ. 2531    ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ

  คติธรรม  คำสอน

                  อยากมาก   ทุกข์มาก         อยากน้อย   ทุกข์น้อย

                  หมดยาก     หมดทุกข์      ยิ่งยึด    ยิ่งทุกข์

                  หยุดยึด   ก็หยุดทุกข์

 

....................................

ปัญญา  แพงเหล่า /รายงาน

23 พ.ย. 2553



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ธันวาคม 2554, 14:50:59 โดย max » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!