คนโก้
|
|
« เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 16:30:09 » |
|
ประวัติวัดราษฎร์ประดิษฐ์
วัดราษฎร์ประดิษฐ์ บ้านกระเดียน ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๔ ไร่ ก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ เป็นวัดที่ชาวบ้านกระเดียนร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างด้วยแรงงานชาวบ้าน โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น อิฐที่ใช้เป็นอิฐที่เผาจากดินดิบในหมู่บ้าน มีโบราณสถานที่สำคัญเช่น โบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิลาย มีโบราณวัตถุที่สำคัญเช่น พระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ พระพุทธรูปแกะจากไม้ ธรรมมาสน์ไม้ หีบไม้เก็บตำราเป็นต้น วัดราษฎร์ประดิษฐ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๑.๕๐ เมตร ยาว ๑๖.๕๐ เมตร เป็นวัดที่ชาวบ้านกระเดียนใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาเป็นเวลานานตั้งแต่บรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบัน วัดราษฎร์ประดิษฐ์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราญสถาน เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ จากกรมศิลปากร
ลำดับรายชื่อเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ประดิษฐ์
๑. หลวงปู่ผู๋ ๒. ญาท่านพัน ๓. ญาท่านลี อุตตโร (พระครูพนาภินันท์) ๔. หลวงพ่อเทียม ๕. พระประสาน อติสาโร ๖. พระประยุทธ ถาวโร ๗. หลวงปู่แดง ๘. พระอธิการตระกูลศักดิ์ กตสาโร ๙. พระจรรยา ปิยธัมโม (รักษาการเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน)
ศาลาการเปรียญ
ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ สร้างขึ้นก่อนพระอุโบสถ ก่อด้วยอิฐฉาบปูนทั้งสองด้าน โดยใช้อิฐที่เผาขึ้นเองซึ่งชาวบ้านได้ใช้ดินจากหนองคันใส บริเวณตะวันออกของหมู่บ้าน ภายในมีการก่อสร้างธรรมาสน์ไว้กลางศาลา เพื่อใช้ในการแสดงธรรมของพระภิกษุ ซึ่งศาลาการเปรียญเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านใช้ปฏิบัติศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนา บริเวณทางเข้ามีปฏิมากรรมปูนปั้นรูปสัตว์คล้ายกิเลนอยู่ทั้งสองข้าง ประตูทำด้วยไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่สองบาน ด้านหน้ามีการตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย ตามแนวคิดและความเชื่อของชาวบ้านในสมัยนั้น จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ทราบว่าช่างที่ก่อสร้างศาลาการเปรียญนี้มีทั้งช่างพื้นบ้าน และช่างชาวญวนอพยพที่เข้ามาขายแรงงานในสมัยนั้น
|
เล็ก หัวตะเข้, tar
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ธันวาคม 2553, 14:43:06 โดย ubonpra »
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 16:36:54 » |
|
พระอุโบสถ
ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ขณะนั้นญาท่านพันเป็นเจ้าอาวาส เป็นอุโบสถก่อด้วยอิฐ ฉาบปูนเรียบทั้งสองด้าน หน้าบรรณวาดลวดลายเขียนสีเป็นรูปคล้ายมังกรพ่นน้ำ อีกด้านเขียนเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ในป่าหิมพานต์ สีสันสวยงามและแปลกตา เนื่องจากเป็นศิลปะช่างญวน ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างขึ้น (โดยว่าจ้างช่างชาวญวนที่เข้ามาขายแรงงานในสมัยนั้นให้ดำเนินการก่อสร้าง) เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธี ปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์ และเป็นที่อุปสมบทให้แก่กุลบุตร โดยมีการก่อสร้างเสมารอบพระอุโบสถ และมีกำแพงล้อมรอบ โดยสร้างจากอิฐชนิดเดียวกัน ภายในเป็นที่ประดิษฐ์สถานพระประธานปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูน ศิลปะไทยอีสาน และเป็นที่รวบรวมพระพุทธรูปบูชาปางต่างๆ ทั้งที่แกะจากไม้ และหล่อด้วย โลหะ บันไดทางขึ้นมีศิลปะปูนปั้นเป็นรูปคล้ายพญานาคผสมมังกร เหนือบานประตูทางเข้ามีภาพวาดพระพุทธรูปด้วยลายเส้น พระอุโบสถแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต่อมาได้รับการบูรณะซ่อมแซมในปี พ.ศ.๒๕๕๕
กุฏิลาย
เป็นกุฏิที่สร้างด้วยไม้ ทั้งหลัง มีเสาจำนวน ๑๒ ต้น จำนวน ๒ หลัง หลังคาเดิมมุงด้วยแผ่นไม้ทั้งหมด แต่เนื่องจากมีอายุการก่อสร้างเป็นเวลายาวนาน ทำให้ไม้มุงหลังคาผุพัง ชาวบ้านจึงร่วมกันเปลี่ยนเป็นสังกะสี ด้านหน้าจั่วและฝาผนังกุฏิมีการติดประดับด้วยกระจก เพื่อให้เกิดความสวยงาม และใช้สีทาตกแต่งฝาผนังกุฏิ และมีการใช้ไม้แผ่นแกะสลักลวดลาย เพื่อแสดงให้เห็นภูมิปัญญา และฝีมือเชิงช่างพื้นบ้านอีสาน (ญาท่านพันเป็นผู้นำในการก่อสร้าง)ปัจจุบันกุฏิลายชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากรแล้ว และต่อมาได้รับการบูรณะซ่อมแซมแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๕๖
ธรรมมาสน์
ตั้งอยู่ภายในศาลาการเปรียญ เป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะอีสานกับศิลปะญวน สร้างด้วยไม้ฉลุเป็นลวดลาย และทาสีด้วยสีจากธรรมชาติ ซึ่งยังสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจนถึงทุกวันนี้ และมีบันไดซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง มีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงาม จัดเป็นโบราณวัตถุที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ธรรมมาสน์นี้เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ช่างที่มีความ ชำนาญในหลายๆด้าน ทั้งการแกะฉลุลวดลาย และการใช้สี การตกแต่งบันไดทางขึ้น ธรรมาสน์ ปัจจุบันยังมีการใช้งานธรรมมาสน์นี้ในการแสดงธรรมในบุญมหาชาติของชาวบ้าน
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2556, 21:42:59 โดย คนโก้ »
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 16:40:20 » |
|
พระอุโบสถ
|
เล็ก หัวตะเข้
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เมษายน 2554, 13:04:42 โดย ego2519 »
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 20:35:17 » |
|
เพิ่งรู้ว่าวัดนี้หลวงปู่ญาท่านลีก็เคยมาเป็นเจ้าอาวาส ขอบคุณคุณโก้สำหรับข้อมูลดีๆครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 11:09:50 » |
|
หลวงปู่ญาท่านตู๋ ธัมมสาโร ก็เคยจำพรรษาที่วัดบ้านกระเดียน เพื่อศึกษาวิชากับญาท่านพัน อดีตเจ้าอาวาสครับ (ภาพนี้เป็นธาตุบรรจุอัฐิญาท่านพันตั้งอยู่หลังพระอุโบสถครับ) ส่วนประวัติญาท่านพันไม่มีการบันทึก สืบค้นได้ข้อมูลเพียงว่า มรณะภาพ ปี ๒๔๗๙ อายุได้ ๘๐ ปีโดยประมาณ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชากุลบุตร พุทธทายาท นับได้ว่าท่านเป็นพระนักพัฒนาที่มีผลงานโดดเด่นอีกรูปในสมัยนั้น
|
เล็ก หัวตะเข้
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2556, 11:40:44 โดย คนโก้ »
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 11:18:43 » |
|
ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ สืบสาน ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านเราครับ
|
เล็ก หัวตะเข้
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เมษายน 2554, 13:07:24 โดย ego2519 »
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 12:48:56 » |
|
คุณโก้พอทราบประวัติ ญาท่านพันธ์ บ้างหรือเปล่าครับ หรือปีเกิด ปีมรณภาพของท่าน
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2553, 11:14:54 » |
|
ภาพครับ
|
เล็ก หัวตะเข้
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เมษายน 2554, 13:10:43 โดย ego2519 »
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
เต้ อุบล
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 18:34:31 » |
|
สวยงามมากๆเลยครับ เป็นศิลปะอีสานแท้ๆ ลูกหลานเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลประเทศราชทุกๆคนต้องช่วยกันรักษาไว้นะครับ
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 พฤศจิกายน 2554, 19:20:16 โดย บ่อหัวซา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หนองเหล่า
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2554, 18:40:27 » |
|
เหนือคำบรรยาย ครับพี่ท่าน งามประเสริฐโดยแท้ ครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Neng Trakarn
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 28 พฤศจิกายน 2554, 13:50:47 » |
|
บ้านผมอยู่ห่างจากบ้านกระเดียนประมาณ 4กม.ผมก็ยังไม่เคยเข้าไปดูรู้แค่ว่าเป็นโบสถ์เก่าและชาวบ้านต้องการอนุรักษ์ไว้ กลับบ้านคราวนี้ต้องไปดูด้วยตาซะแล้ว
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2555, 15:13:51 » |
|
อัพเดทวัดบ้านกระเดียน หลังจากได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระอุโบสถ ศาลา ใหม่ครับท่าน
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2555, 15:28:57 » |
|
งดงามมากครับ เป็นมรดกอันล้ำค่าของชาวอุบลครับ
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 03 มีนาคม 2556, 10:39:18 » |
|
กุฏิลายหลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ปี ๒๕๕๖
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
|