ท่านพนฺธุโล (ดี) พระมหาเถระผู้แรกตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 10:08:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านพนฺธุโล (ดี) พระมหาเถระผู้แรกตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน  (อ่าน 27235 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:07:52 »



* lp-sao-pic-016-01.jpg (2.93 KB, 150x182 - ดู 1037 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:09:03 »

มีพระมหาเถระเมืองอุบลฯ รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นปูราณสหธรรมิก (ร่วมปฏิบัติธรรมกันมาแต่เริ่มแรก) ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ของจักรีวงศ์ เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงผนวชอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)
พระมหาเถระรูปนั้นมีนามว่า พนฺธุโล (ดี) หรือ ญาท่านพันธุละ ท่านเป็นชาวบ้านหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านไปอยู่วัดเหนือ ในเมืองอุบลราชธานี ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ ณ เมืองหลวง กรุงเทพมหานครที่สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ แล้วเข้ารับทัฬหีกรรม (บวชใหม่ อ่านออกเสียงตามสำเนียงมคธว่า ทัล - ฮี่ - กำ) ตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดราชาธิวาส นับว่าเป็นพระธรรมยุตรุ่นแรกของภาคอิสาน

thxby4207ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:09:36 »

ท่านพนฺธุโล (ดี)

 
ท่านพนฺธุโล (ดี)

หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เล่าถึง ท่านพนฺธุโล (ดี) พระมหาเถระผู้แรกตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน ดังนี้
?คนเก่าคนแก่เล่าให้ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์) ฟังว่า ท่านเรียนหนังสือเก่งมาก ขนาดเอามะพร้าวแห้งมาหนุนหัว พอหัวตกจากมะพร้าวก็ตื่น และจุดธูปจีนส่องหนังสือ ท่องบ่นหนังสือต่อไปอีก
เรียนจนไม่มีใครสอนได้ในเมืองอุบลฯ แล้วท่านเสาะแสวงหาเรียนจนกระทั่งถึงกรุงเทพฯ ไปพักวัดคอกหมู หรือ วัดอะไรก็ไม่ทราบ นอกกรุงเทพฯ แล้วเรียนหนังสือ ณ ที่นั้น
สมัยนั้น พระกรุงเทพฯ ค่ำมาก็เตะตะกร้อสนุกสนานกัน ส่วนท่านมีแต่ตั้งหน้าตั้งตาเรียนถ่ายเดียว เรียนได้เท่าไรก็จารใส่ใบลานไว้ เพื่อจะเอาไปเผยแพร่เมืองอุบลฯ ต่อไป
พวกพระเหล่านั้นเตะตะกร้อไปๆ มาๆ ตะกร้อไปตกที่หน้าท่าน เขาบอกว่า ไอ้ลาว ส่งตะกร้อให้ซิ ท่านอุตส่าห์เอาตะกร้อไปส่งให้เขาแล้ว ก็กลับมาจารหนังสืออีกต่อไป อุตส่าห์ตั้งหน้าหลับหูหลับตาเรียนต่อไป เพราะไม่มีใครฝาก ญาติพี่น้องก็ไม่มีอีกด้วย
เรียน ณ ที่นั้นจนกระทั่งไม่มีใครสอนได้ ด้วยความวิริยะพากเพียร เขาเห็นดีเห็นชอบจึงได้ส่งเข้าไปเรียนในกรุงเทพฯ..
ไม่ทราบว่าท่านเรียนได้ประโยคไหน แต่ด้านปฏิบัติท่านเป็นเยี่ยมองค์หนึ่ง เหตุนั้น พระจอมเกล้าฯ จึงได้บัญชาให้ท่านไปเมืองอุบลฯ ตั้งวงศ์ธรรมยุตองค์แรก และการกลับไปเมืองอุบลฯ ครั้งนั้น ได้มีการรับแห่กันเหมือนกับเจ้าเข้าเมือง เห็นจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง ชาวเมืองอุบลฯ จึงมักกล่าว (เรียกขาน) พระผู้ใหญ่ว่า ท่านเจ้าท่านนาย สืบมาจนกระทั่งบัดนี้?
เกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติของท่านพนฺธุโล (ดี) นั้น หลวงปู่เทสก์กรุณาเล่าดังนี้ -
?ท่านเป็นองค์แรกที่มาตั้งวงศ์ธรรมยุตที่เมืองอุบลฯ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตรงตามธรรมวินัยโดยแท้ ท่านไม่ได้เที่ยวรุกขมูล แต่ธุดงควัตรท่านก็รักษาไว้ได้ตามสมควรแก่ภาวะสถานที่ คืออยู่วัดเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ แล้วนั่งสมาธิกันอีกที นั้นเป็นวิธีนั่งหมู่ แต่อยู่กุฏิแล้วก็ทำเฉพาะตนเอง ท่านบริหารหมู่คณะพร้อมทั้งการปฏิบัติไปด้วย
การตีระฆังของวัดธรรมยุต ซึ่งตี ๔ แล้วจะต้องตีทุกวันเป็นระเบียบของท่านที่ตั้งไว้แต่โน้น ธรรมยุตภาคอีสานจึงต้องรักษาสืบมาจนกระทั่ง ทุกวันนี้
หมายความว่า ตี ๔ จะต้องลุกขึ้นมาทำวัตรสวดมนต์พร้อมๆ กันทุกองค์ พอหลังจากนั้นแล้วก็นั่งสมาธิภาวนา ต่อนั้นไปใครจะท่องบ่นสวดมนต์อะไรก็ตามใจ
การตั้งวงศ์ธรรมยุตเมืองอุบลฯ นี้ มีอุปสรรคมาก เพราะพระท้องถิ่นไม่เคยปฏิบัติตามธรรมวินัย เห็นธรรมยุตปฏิบัติเข้าก็หาว่าเป็นป่าเถื่อนและเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งเท่านั้น
แต่อาศัยท่านวางอุเบกขา เห็นว่าทำหน้าที่พุทธศาสนาที่ดีแล้วสิ่งภายนอกก็วางเฉยลงได้ ใครจะว่าอะไร ทำอะไร ก็ตามใจ นานหนักเข้าก็ค่อยดีขึ้น เพราะคนด้วยกัน พูดภาษาปรับปรุงความเข้าใจกันได้
ท่านพนฺธุโลนี้ เมื่อขึ้นไปเมืองอุบลฯ แล้วได้เผยแพร่วงศ์ธรรมยุตแต่เฉพาะในเมืองได้ไม่กี่วัด พอหมดอายุ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) สืบต่อมา?

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:10:32 »

วัดสุปัฏน์ : วัดธรรมยุตวัดแรกของอิสาน

    
วัดสุปัฏนารามริมแม่น้ำมูลในอดีต

 
วัดธรรมยุตวัดแรกของภาคอีสาน

พระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม

การตั้งวัดธรรมยุตครั้งแรกในจังหวัดอุบลราชธานี หรือวัดธรรมยุตวัดแรกของภาคอิสานนี้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะตั้งรากฐานของคณะธรรมยุตในภาคอิสาน
ในปีแรกที่พระองค์ทรงครองราชย์ คือ ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๔๐๙) อาราธนา ท่านพนฺธุโล (ดี) ซึ่งเป็นชาวอุบลและเป็นปูราณสหธรรมิก ในพระองค์พร้อมด้วยท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ให้มาสร้างวัดธรรมยุตขึ้นในอุบลฯ
ท่านพนฺธุโล (ดี) และคณะ จึงได้ทำการก่อสร้างวัดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๓๙๕ ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลด้านเหนือ อยู่ระหว่างตัวเมืองกับ บุ่งกาแซว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานทุนทรัพย์เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง (๘๐๐ บาท) พระราชทานเลกวัด (ผู้ปฏิบัติรับใช้วัด) ๑๐ คน และพระราชทานนิตยภัต แก่เจ้าอาวาส เดือนละ ๘ บาท
การก่อสร้างวัดเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ตรงกับ ร.ศ. ๗๒ พระราชทานนามว่า วัดสุปัตน์ แปลว่า วัดหรืออาศรมของพระฤๅษีที่ชื่อ ?ดี? ภายหลังพระราชทานเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสุปัฏนาราม แปลว่าท่าน้ำดี เพราะวัดตั้งอยู่ในทำเลจอดหรือที่ดี
วัดสุปัฏนาราม จึงเป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกของภาคอิสานมีท่านพนฺธุโล (ดี) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ โปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงวรวิหาร ชั้นตรี มีนามว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร มีพื้นที่ตามโฉนด ๒๐ ไร่ ๓๘.๓ ตารางวา

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:11:16 »

ท่านเทวธมมี (ม้าว)

 
ท่านเทวธมฺมี (ม้าว)

ท่านเทวธมมี (ม้าว) เป็นพระอาจารย์สายธรรมยุตองค์แรกของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เป็นหลานของท่านพนฺธุโล (ดี) ได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) วัดธรรมยุตวัดที่ ๒ ของภาคอิสาน
ท่านเทวธมมี (ม้าว) เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ในเมืองอุบลราชธานี
ในช่วงที่ท่านพนฺธุโล (ดี) ไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ เมืองหลวง และเป็นสหธรรมิกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ท่านได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดที่อุบลฯ ขากลับได้นำพระหลานชายคือ ท่านเทวธมมี (ม้าว) เข้ากรุงเทพฯ ด้วย โดยพาเข้าถวายตัวเป็นพระศิษย์หลวง ซึ่งศิษย์หลวงเดิมมีอยู่ ๔๘ รูป
ดังนั้น ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) จึงได้เป็นสัทธิวิหาริก แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมเด็จพระสังฆราช (สา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งทำญัตติกรรมเป็นธรรมยุต
ท่านพนฺธุโล (ดี) องค์ปฐมแห่งพระธรรมยุตสายอิสานนี้ได้ส่งศิษย์เข้าไปศึกษาเล่าเรียนทั้งด้านปริยัติและการอบรมวิปัสสนากรรมฐานในกรุงเทพฯ หลายรุ่น ซึ่งต่อมาพระมหาเถระเหล่านั้นได้มีบทบาทสำคัญในการแผ่ขยายการศึกษาทางพระพุทธศาสนา และการแผ่ขยายของคณะธรรมยุตไปยังที่ต่างๆ ทั่วภาคอิสาน และภาคอื่นๆ ของประเทศ
พระมหาเถระสายธรรมยุตที่ท่านพนฺธุโล (ดี) ส่งไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ และกลับมาสร้างความเจริญให้พระศาสนา ที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่
- อาชญาท่านก่ำ คุณสมฺปนฺโน
- ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
- พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต)
- ท่านอาจารย์สีทา ชยเสโน
- พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน)
- ท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
พระมหาเถระแต่ละองค์ล้วนแต่มีผลงานในด้านพระศาสนาที่เป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่มาถึงพวกเราอันเป็นลูกหลานเหลนรุ่นหลัง
หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เล่าถึงท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ดังนี้ :-
?ท่านเทวธมฺมี องค์นี้ ข้าพเจ้าเป็นเณรไปอยู่เมืองอุบลฯ มีคนเฒ่าคนหนึ่ง เขาตั้งให้แกเป็นสังฆการี แต่อาตมาก็จำชื่อแกไม่ได้ แกเล่าให้ฟังว่า
ท่านเทวธมฺมี องค์นี้ ปฏิบัติเคร่งครัดในกรรมฐานยิ่งนัก ไปบิณฑบาตก็เอาตาลปัตรกันหน้าไป
ท่านเกิดโรคหูเป็นหนอง แมลงวันขี้ใส่เลยเกิดเป็นตัวหนอนขึ้น หนอนไชหูท่าน เขาจะควักออกก็ไม่ให้เอาออก หนอนไชอยู่จนมรณภาพ
การมรณภาพ ท่านก็นั่งขัดสมาธิสิ้นลมหายใจในอิริยาบถนั้นเอง
ท่านมีเมตตามาก กลัวสัตว์อื่นจะเป็นทุกข์เพราะเหตุการกระทำของท่าน บ้านใครมีตัวเรือดมากๆ ไปขอมาเลี้ยงไว้ที่นอนท่านแหละ
เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนของโลก สมทุกประการอย่างท่านเทวธมฺมี แม้กระทั่งถึงสัตว์ที่เป็นสังเสทชะ และอัณฑชะ ซึ่งไม่รู้เดียงสาเลย ท่านก็เมตตาให้เขาได้ความสุข นับประสาอะไรแต่คนที่รู้เดียงสากัน
จิตที่มีเมตตาแล้วแผ่คลุมไปถึงสัตว์ทุกจำพวก เขาเห็นเป็นมิตรไปในที่ทุกสถาน สัตว์ที่เป็นศัตรูก็เป็นมิตร ถ้าใครคิดอิจฉาในผู้ที่มีเมตตาเช่นนั้นย่อมถึงความวินาศ เรื่องเหล่านี้ย่อมเห็นประจักษ์อยู่ทั่วไป?
น่าเสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกประวัติของพระมหาเถระองค์นี้ไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ศึกษากัน
มีข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง เล่าไว้ดังนี้
เมื่อตอนที่ท่านพนฺธุโล (ดี) ได้นำพระหลานชาย คือ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ของพระองค์ท่าน รัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงผนวช และเป็นองค์อุปัชฌาย์
พระองค์ท่านได้ใช้เทียนส่องดูหน้าท่านเทวธมฺมี เป็นเวลานาน พระองค์ท่านคงตรวจดูบุคลิกลักษณะ ซึ่งท่านเป็นพระหนุ่ม ร่างใหญ่ใบหน้าคมคาย เป็นที่สบอัธยาศัย
พระองค์ตรัสว่า ?เออ ! ขรัวดี คนอย่างนี้ทำไมไม่เอามาเยอะๆ?
ท่านพนฺธุโล (ดี) กราบทูลว่า ?หายากพระเจ้าข้า?
ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) จึงได้เป็นศิษย์ หรือ สัทธิวิหาริกรุ่นแรกในพระองค์ท่านรัชกาลที่ ๔ เมื่อตอนเปลี่ยนญัตติกับคณะธรรมยุต พระองค์ท่านทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่างได้อยู่ศึกษาปริยัติธรรม ปฏิบัติสมาธิภาวนา และศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีในสำนักอุปัชฌาจารย์

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:11:45 »

วัดศรีทอง

วัดศรีทอง หรือ วัดศรีอุบลรัตนาราม มีความสำคัญต่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เพราะท่านเริ่มเข้าสู่คณะธรรมยุตโดยเข้ามารับการอบรมธรรม และทำญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุตที่วัดนี้
วัดศรีทอง สร้างโดย พระอุปฮาด (โท) ต้นตระกูล ณ อุบล ผู้เป็นบิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองอุบลราชธานี
พระอุปฮาด (โท) ได้มีจิตศรัทธายกที่สวน เนื้อที่ ๓๐ ไร่เศษสร้างขึ้นเป็นวัด เมื่อปีเถาะ รัตนโกสินทร์ศก ๗๔ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นปีที่ ๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
หลังจากที่ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง ก็ได้กลายเป็นวัดธรรมยุตวัดที่สองของภาคอิสาน
ชื่อของวัดศรีทอง ตั้งตามนิมิตมงคลที่เห็นเป็นแสงสว่างกระจ่างไปทั่วบริเวณสวนแห่งนี้ ในขณะที่ประกอบพิธีถวายที่ดิน ยกให้เป็นที่สร้างวัดในพระพุทธศาสนา
หลังจากมาเป็นเจ้าอาวาสได้ ๒ ปี ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ก็ได้สร้างพระอุโบสถขึ้น และผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และได้ให้ ญาท่านสีทา ชยเสโน เป็นช่างดำเนินการสร้างหอพระแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถในปัจจุบันนี้
พระแก้วบุษราคัม องค์นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอุบลฯ มาแต่โบราณ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ชาวเมืองอุบลราชธานีต่างพร้อมใจกันประกอบพิธีสมโภช เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ากราบนมัสการ และถวายน้ำสรงขอพร เป็นประจำทุกปี
(หลวงปู่ใหญ่เสาร์ได้เล่าถึงความเป็นมาของพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ ผมขอนำเสนอในตอนต่อไป)
หลังจากวัดศรีทอง เป็นวัดธรรมยุตแล้วก็มีการขยายเพิ่มจำนวนวัดและภิกษุสามเณรมากขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งภาคอีสานมีวัดและพระเณรในคณะธรรมยุตมากกว่าทุกภาคในประเทศไทย
วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)
    
พระอุโบสถวัดศรีทอง

พระประธาน

๒๔
พระแก้วบุษราคัม

 
พระแก้วบุษราคัม
พระคู่บ้านคู่เมือง อุบลราชธานี
ในอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม

ก่อนจะนำเสนอเรื่องราวของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลโดยตรงผมขอนำเรื่องพระแก้วบุษราคัม พระศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดอุบลราชธานีตามที่หลวงปู่ใหญ่ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง นำมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบก่อน
หลังจากท่านเทวธมฺมี (ม้าว) มาปกครองวัดศรีทองแล้ว ประชาชนได้หลั่งไหลไปฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม รับพระไตรสรณคมน์จากท่านเจ้าอาวาสจนแน่นขนัดทุกวัน
หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้เล่าเรื่องมหัศจรรย์ที่วัดศรีทองให้ลูกศิษย์ฟัง และได้รับการถ่ายทอดต่อจากพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส ศิษย์อุปัฏฐากใกล้ชิด ว่า
ครั้งหนึ่งเวลาเย็น ซึ่งเป็นวันพระ ภายในอุโบสถวัดศรีทอง จะมีแสงขาวนวลสว่างไสวด้วยรัศมีขึ้นมาเอง และบอกว่า อาชญาท่านเทวธมฺมี เคยเล่าว่า เป็นเพราะเทวดามานมัสการบูชาพระแก้วบุษราคัม นั่นเอง
พระแก้วบุษราคัม ศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหรือปางชนะมาร ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว ตามประวัติเล่าว่า มีพระกรรมฐานรูปหนึ่งเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีทอง
ตามประวัติบอกว่า พระธุดงค์กรรมฐาน รูปนี้ได้เที่ยวจาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ท่านผ่านไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สภาพเป็นภูเขาสูง เป็นหมู่บ้านข่า คือ พวกชาวข่า อาศัยอยู่
พวกชาวป่าเป็นชาวป่าที่ห่างไกลจากความเจริญ แทบจะว่ามีความเป็นอยู่เยี่ยงมนุษย์ยุคหินจริงๆ ไม่มีเสื้อผ้า ปกปิดร่างกายด้วยใบไม้และหนังสัตว์
พระธุดงค์รูปนั้นเข้าไปเพื่ออาศัยบิณฑบาต พอไปถึงหมู่บ้าน ท่านเห็นภาพที่ชวนให้เศร้าสลดมาก คือเห็นเด็กคนหนึ่งใช้เชือกผูกที่คอพระพุทธรูป แล้วลากเล่นอย่างสนุกสนานไปรอบๆ ลานบ้าน ด้วยไม่รู้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา
พระท่านตรงไปพูดจาขอสิ่งอันเป็นมงคลนั้นจากเด็ก เด็กไม่เคยเห็นพระมาก่อน จึงวิ่งหลบหาที่กำบังโดยทิ้งพระพุทธรูปไว้บนดิน
พระท่านไปหยิบพระพุทธรูปตั้งขึ้น แล้วก้มลงกราบบนพื้นดิน ๓ หน ด้วยกิริยาที่แสดงความเคารพอย่างแท้จริง
ทันใดนั้นมีผู้ชายชาวข่าสิบกว่าคนมือถืออาวุธ เข้ามารุมล้อมท่านด้วยกิริยาอาการที่พร้อมจะล่าเหยื่อ หรือต่อสู้กับศัตรู พวกเขามีทั้ง หน้าไม้ หลาว และหอก เตรียมพร้อมอย่างครบครัน
พระท่านกำหนดจิตแผ่เมตตาไปยังพวกคนเหล่านั้น ทำหน้ายิ้มแย้มแสดงความเป็นมิตร พร้อมทั้งเปิดจีวรทำท่าแสดงให้รู้ว่าท่านไม่มีอาวุธ และไม่เป็นภัยต่อพวกเขา
เมื่อพวกเขายอมรับรู้ว่าพระท่านไม่เป็นภัย จึงส่งสัญญาณขอให้ท่านตามพวกเขาไปทางหัวหน้าหมู่บ้าน เมื่อไปถึง พบว่าพวกชาวข่าเหล่านั้นให้ความเคารพและเกรงกลัวต่อหัวหน้าหมู่บ้านมาก
หัวหน้าหมู่บ้านพอจะพูดกันรู้เรื่องดีกว่าพวกลูกบ้าน พระท่านเจรจาขอพระพุทธรูปที่เด็กลากเล่น
หัวหน้าหมู่บ้านบอกว่าเขาให้ไม่ได้ กลัวผีจะโกรธเอา เพราะผีให้ของเล่นนั้นแก่เด็กมา ถ้าให้ไปเดี๋ยวผีจะโกรธและจะทำร้ายพวกเขา
เขาเล่าต่อไปว่า พวกเขาได้วัตถุชิ้นนั้นมาจากในถ้ำซึ่งอยู่บนยอดเขาสูง พวกเขาเห็นเป็นของแปลก เมื่อถูกแดดจะส่องแสงเลื่อมพรายเป็นประกายสวยงาม ถ้าเอาวัตถุชิ้นนั้นไปไว้ในสวน หรือในที่ปลูกข้าว พวกนกกาไก่ป่าไม่กล้าลงกินพืชผลเป็นอันขาด แม้พวกสัตว์ใหญ่ก็ไม่กล้าเข้ามาในบริเวณนั้น และที่แปลกอีกอย่างคือ ในกลางคืนบางคืน จะส่องแสงเป็นประกายสว่างไสวขาวนวลมาก สีนวลสวยงามยิ่งกว่าพระจันทร์วันเพ็ญ พวกตนจึงเก็บเอาไว้ให้เด็กเล่น
หลังจากการเจรจาเป็นเวลานาน หัวหน้าหมู่บ้านจึงใจอ่อน และยอมมอบพระพุทธรูปองค์นั้นให้แก่พระท่าน ท่านได้นำไปมอบให้เจ้าเมืองในนครเวียงจันทน์ แล้วถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้คู่กับพระแก้วมรกต
เมื่อครั้งที่ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ครั้งดำรงตำแหน่งแม่ทัพเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ แล้วได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระแก้วบุษราคัม มายังกรุงเทพฯ และต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประทานพระแก้วบุษราคัมให้แก่อาชญาท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระองค์ท่าน ให้นำมาประดิษฐานไว้ที่จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ตราบเท่าทุกวันนี้
ทั้งหมดนี้สรุปมาจากบันทึกของท่านพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระแก้วบุษราคัม มีต่อไปว่า
ในปีหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานีเกิดภาวะวิปริตของดินฟ้าอากาศเกิดความแห้งแล้ง ฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวนาชาวสวนไม่สามารถเพาะปลูกได้ บางทีถึงกับอดตายก็มี
ชาวบ้านได้พากันมาปรึกษาอาชญาท่านเทวธมฺมี ขออาราธนาพระแก้วบุษราคัมออกแห่แหนรอบเมือง เพื่อทำพิธีขอฝนให้ชาวเมืองได้มีโอกาส ฮดสรงน้ำ โดยทั่วกัน
ก่อนนี้ชาวบ้านได้เคยจัดการบวงสรวงและพิธีกรรมต่างๆ มาแล้วตามความเชื่อที่ถือกันมาแต่โบราณ นับตั้งแต่พิธีพราหมณ์ พ่อมดหมอผี การเซ่นสรวงบูชายัญต่างๆ นานา ก็ไม่เป็นผล
เมื่อจัดพิธีอัญเชิญพระบุษราคัม แห่รอบเมือง ชาวบ้านร้านตลาดได้พากัน ฮดสรงน้ำอบน้ำหอม กันแล้ว ก็เกิดเหตุอัศจรรย์เกิดฝนตกชุ่มฉ่ำอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ยังความปลาบปลื้มยินดีและเลื่อมใสศรัทธาให้กับชาวอุบลราชธานี ต่างก็กล่าวขานถึงอภินิหารของพระแก้วบุษราคัมกันมาตั้งแต่นั้น
พระแก้วบุษราคัมจึงเป็นพระมิ่งขวัญคู่บ้านคู่เมืองอุบลฯ นับตั้งแต่นั้นมาตราบเท่าปัจจุบัน ซึ่งทางวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ได้จัดเป็นประเพณีแห่และสรงน้ำพระบุษราคัมเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญเดือน ๓ สืบต่อกันมามิเคยขาด

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:12:22 »

การสอนของท่านเทวธมฺมี (ม้าว)

อาชญาท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ได้ใช้วัดศรีทอง เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ให้แก่พระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ตลอดจนประชาชนทั่วไป
ดังนั้น ทั้งพระเณร และประชาชนจากที่ต่างๆ ต่างหลั่งไหลมาฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมฐาน ที่วัดศรีทอง กันอย่างเนืองแน่นเป็นประจำ
พระธรรมเทศนาของท่านเทวธมฺมี แตกต่างจากการสอนที่มีอยู่ในขณะนั้น คือท่านสอนให้มีเหตุมีผล อย่าเชื่ออะไรโดยไม่พิจารณาด้วยปัญญา อย่าเชื่อโดยความหลงงมงาย หลงผิดในลัทธิประเพณีบางอย่างที่ขัดต่อหลักการของพระพุทธศาสนา
ท่านสอนให้เลิกละประเพณีบางอย่างที่ขัดต่อคำสอน ให้ประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ได้แก่ การแสดงตนเข้าถึงพระไตรสรณคมน์กันใหม่ ให้ยืดเอาสามรัตนะ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันเกษม ที่จะนำพาให้พ้นทุกข์
สอนให้เลิกละกินของดิบของดาย งดบริโภคเนื้อสัตว์ ๑๐ อย่างตามที่พระองค์ทรงห้าม ไม่กราบไหว้ศาลผีปู่ตา ให้เลิกการเซ่นไหว้บูชาถือผีถือสาง เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สรณะที่พึ่งอันแท้จริง ไม่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้ มันเป็นเพียงมายาหลอกให้เราหลงเชื่อ ให้งมงาย
การบวงสรวงผีอาจช่วยด้านกำลังใจได้บ้าง ถ้าหากผีดีจริงมันจะไปเป็นเปรตเวทนา รอรับเครื่องเซ่นสรวงสังเวยบูชาของเราอยู่อย่างนั้นหรือ ถ้ามันดีจริง ทำไมจึงต้องเป็นอยู่อย่างอดอยากปากแห้งอยู่อย่างนั้น ทำไมไม่ไปเกิดไปขานกับเขาสักที
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผีก็คือความชั่ว บุคคลเคยประกอบกรรมทำชั่วร้ายเอาไว้ เมื่อตายไปจึงไปเป็นผีตกนรกหมกไหม้ พอพ้นขึ้นมา ก็ยังกลายเป็นเปรตเวทนาอีก จนกว่าพวกมันจะหมดเวรหมดกรรมมีคุณงามความดีขึ้นมาใหม่ จึงจะได้กลับมาเกิดเป็นคนกับเขาได้อีก
เมื่อความเป็นมาของผีเป็นอย่างนี้ พวกเรายังจะไปนับถือพวกที่เคยทำชั่วมาแล้วเช่นนั้นหรือ ดังนั้น ผู้ที่นับถือผี ก็คือผู้ที่นับถือผู้ที่ทำความชั่วนั่นเอง เมื่อตายไปต้องไปเป็นลูกน้องผี ไปอยู่กับผี คอยรอรับเครื่องสังเวยจากพวกมนุษย์
เมื่อมนุษย์ไม่นำไปให้ก็ต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ ความหิวกระหายกดดันบังคับ จนทำให้ต้องเข้าสิงกายมนุษย์ หรือต้อง ?ซูน? ให้เจ็บให้ป่วยเพื่อขออาหาร ให้เขาสังเวยเซ่นสรวงไปให้กิน ต้องอดอยากปากแห้งอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะได้ไปผุดไปเกิด
ส่วนเราเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงแล้ว เพราะสามารถที่จะทำให้มรรคผลนิพพานให้เกิดให้มีขึ้นได้ แล้วคิดจะพากันมาหลงงมงายนับถือผีกันอยู่ทำไม
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ นำพาพวกเราสู่อารยธรรมแนวใหม่ที่พระองค์ท่านค้นพบ ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผล แล้วพวกเรายังจะพากันหูหนาตาเถื่อนอยู่อีกหรือ
การนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือการทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเราทำดี ตายไปก็จะไปสู่สิ่งที่ดีคือ สุคติ ไม่ต้องไปเกิดทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตเวทนาต่อไป
ท่านเทวธมฺมี ยังสอนต่อไปว่า

เรื่อง กรรม นี้ คือพระญาณที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ในยามที่สอง ในจำนวนทั้งหมด ๔ ญาณ
กรรม คือการกระทำประกอบด้วยเจตนา ความตั้งใจ จงใจ ไม่ว่าดีหรือชั่ว กรรมนั้นจะตามสนองผู้กระทำไม่ช้าก็เร็ว ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า เพราะเรา มีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ดังนั้น พวกที่ไปหลงในพิธีกรรมต่างๆ เช่น หักไม้ใส่มอ ดูหมอสังเวย เซ่นสรวงบูชา ถือฤกษ์งามยามดี วันจมวันฟู วันดีวันร้าย ถือผีถือสาง จึงเป็นลัทธิของคนโง่เขลา ไกลจากอารยธรรม ไกลจากแสงสว่างคือ พระธรรม เพราะเป็นการถือปฏิบัตินอกรีตนอกรอยของพระพุทธศาสนาไปแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น อย่าหวังเลยว่า จะทำมรรคผล นิพพานให้บังเกิดขึ้นได้
พวกเชื่อดวงชะตา หาว่าพระพรหมลิขิตขีดเส้นชีวิตให้เป็นไปจึงเป็นอารยธรรมของคนยุคหิน เพราะชีวิตของมนุษย์สัตว์โลกจะเป็นไปอย่างไรนั้น จะดีจะชั่ว จะสุขจะทุกข์ ก็ด้วยผลแห่งกรรมเท่านั้นที่ตามสนอง ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต
พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบเวไนยสัตว์ เหมือนกับดอกบัวสี่เหล่า บุคคลที่หลงงมงายในสิ่งที่กล่าวมานี้คือเหล่าบัวที่ยังเป็นหน่อ จมปลักอยู่ในโคลนตม ไกลจากแสงสว่าง ไกลจากพระพุทธศาสนามาก
เป็นผู้อยู่นอกศาสนา
ศาสนา คือการปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ เท่านั้น แม้ตัวจะกราบไหว้ทุกวี่ทุกวันก็ตาม พอออกจากวัดไปก็ไปไหว้ผีไหว้เจ้า สังเวยบวงสรวงศาลพระภูมิ ไตรสรณคมน์ ก็ขาดแล้ว เศร้าหมองแล้วการเข้าวัดก็ไม่มีความหมายอะไร
ท่านยังสอนต่อไปว่า เราแขวนพระ เราถือพระ ก็คือเราอาราธนาเอาคุณพระไตรสรณคมน์ หรือพระรัตนไตรมาไว้ในตัวเรา เพราะพระที่เราแขวนเราถือ ก็คือสัญลักษณ์คุณเครื่องของพระไตรสรณคมน์ เมื่อเราถือเอาพระไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ สรณะอันนั้นก็เต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเรา
บุคคลที่แขวนพระห้อยพระอยู่ในคออยู่ที่ตัว เมื่อพระไตรสรณคมน์ที่ท่านสถิตอยู่ในวัตถุมงคลเหล่านั้น พอมนุษย์ไม่มีความเชื่อถือ ยังจะน้อมเอาคุณอันอื่นที่ไม่เป็นแก่นสารเข้าไปอีก ทั้งกินเหล้าเมายา ประพฤติผิดศีลธรรม ท่านจะอยู่ต่อไปในวัตถุมงคลนั้นได้อย่างไร
ในเมื่อท่าน ก็คือศีลธรรม ท่านก็เสด็จออกจากวัตถุ เหล็กทอง ปูน ดิน ว่าน เหลือเพียงเศษเหล็ก เศษทอง เศษปูน เศษดิน เศษว่านเท่านั้นเอง
เมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องแล้ว จะให้ท่านคุ้มครองรักษาเราได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ยอมรับอยู่มิใช่หรือว่าพระเครื่อง เครื่องรางของขลังมีอยู่จริง ฯลฯ

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:12:49 »

เข้าเป็นศิษย์ท่านเทวธมฺมี

หลังจากที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ตัดสินใจจะขอบวชตลอดชีวิต และได้สละข้าวของเงินทองที่เคยสะสมมาจนหมดสิ้นแล้ว ท่านก็ได้พยายามคิดทบทวน ดูจิตดูใจของท่านเองว่า เราบวชเรียนมาก็มากกว่าสิบปีแล้ว จนสามารถท่องจำพระวินัยได้เกือบหมด แต่เหตุไฉนจิตใจของเราจึงยังมืดมนอนธกาลอย่างนี้หนอ ที่เราดำเนินมาตั้งแต่ต้นเห็นจะไม่ถูกทางแน่นอน เราจำเป็นจะต้องหาทางเดินเส้นใหม่
หลวงปู่ใหญ่ พยายามมองหาผู้รู้เพื่อชี้แนะทางเดินที่ถูกต้อง ในสมัยนั้นได้ทราบข่าวว่า อาชญาเทวธมฺมี (ม้าว) ที่วัดศรีทอง เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตรงต่อพระธรรมวินัย ตรงต่อมรรคผลนิพพาน
เมื่อหลวงปู่ใหญ่พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ท่านจึงละทิ้งทิฎฐิความเป็น ?ญาคู? ของท่าน มุ่งตรงไปยังวัดศรีทอง ที่พำนักของอาชญาท่านเทวธมฺมี ทันที เพื่อขอรับฟังธรรม
เมื่อไปถึง อาชญาท่านได้เทศน์อบรมสั่งสอนให้ล้มเลิกการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และที่ไม่ใช่หนทางของพระพุทธเจ้าที่ดำเนินมา เป็นต้นว่า การเซ่นสรวงบูชา พาเขาแต่งเสียเคราะห์เสียคาย ผูกดวง ดูดวง หาฤกษ์หายาม วันจมวันฟู เวลาดีเวลาร้าย เครื่องรางของขลัง คงกระพันชาตรี
การกระทำเหล่านี้ นอกจากเป็นการกระทำนอกลู่นอกทาง ห่างไกลจากมรรคผลนิพพานแล้ว ยังเป็นการมอมเมาให้ประชาชนออกนอกรีตนอกรอยของพระพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้แล้ว อาชญาท่าน ยังแนะนำให้เลิกละเครื่องเกี่ยวข้อในประเพณีบางอย่าง อันเป็นทางเครื่องติดโลกโลกีย์ เครื่องสั่งสมกิเลสให้พอกพูน ซึ่งพระสงฆ์ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว ได้แก่ การเล่นบั้งไฟ เล่นกลองแข่ง กลองเส็ง เล่นเรือแข่ง เป็นต้น
ผู้ที่ต้องการเข้าถึงมรรคผลนิพพาน จะต้องเลิกราสิ่งดังกล่าวข้างต้นโดยเด็ดขาด และหันเข้ามาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่แท้จริง ได้แก่การเจริญศีล สมาธิ และปัญญา ให้เต็มรอบบริบูรณ์ซึ่งเป็นของที่ไม่วิปริตแปรผัน อันพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกได้พาดำเนินมาแล้วด้วยดี
ท่านอาชญาเทวธมฺมี ได้สอนต่อไปว่า
พระ คือผู้ประเสริฐผู้สละเพศจากคฤหัสถ์แล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ขวนขวายเพื่อ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เพราะอันนั้นมันคือเหล็กแดงของร้อนโดยแท้ นั้นเป็นเรื่องของฆราวาสญาติโยมเขาทำกัน
พระเราจะต้องรู้ จะต้องทำความเข้าใจ ด้วยพระเราเป็นที่สักการะเป็นเนื้อนาบุญของโลก สมณะ คือผู้สงบ ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ความทนทุกข์ทรมาน ความเจ็บความตาย ความโศกเศร้าโศกาอาดูร
ให้เบื่อหน่ายให้เห็นภัยในวัตถุเหล่านี้ พยายามทำให้สิ้นให้หมด อย่าไปยึดถือ แม้ยังไม่สิ้นไม่หมด ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตามตนต่อไปในภายภาคหน้า
การปฏิบัติของผู้เดินทางในเส้นทางศีล สมาธิ ปัญญา คือการปฏิบัติที่กาย วาจา ใจ ของเรานี้เอง เป็นหนทางของพระอริยเจ้า
สาวกผู้ยึดมั่นในธุดงควัตร ๑๓ คือกุลบุตรของพระตถาคตโดยแท้
ผู้พิจารณาไปนอกเหนือจากอริยสัจ คือผู้หลงทางเพราะมีดวงตาอันมืดบอด
ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พิจารณาตามคำสอนของอาชญาท่านเทวธมฺมี ก็เห็นจริงไปตามกระแสธรรมที่ท่านแสดง แล้วท่านรับมาลงมือปฎิบัติในทันที โดยไม่มีข้อสงสัยในคำสอนแต่อย่างใด

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:13:31 »

พาหมู่คณะเข้ารับการอบรมธรรม

ในระยะแรกๆ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ไปรับฟังโอวาทธรรมจาก อาชญาท่านเทวธมฺมี เพียงองค์เดียว แล้วนำมาพิจารณาประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริงตามกระแสธรรม ที่ได้สดับรับฟังมา และเริ่มต้นนั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม ตามวิธีการที่ได้รับมาอย่างจริงจัง ได้รับความสงบความเห็นใจและเห็นว่าเป็นแนวทางที่ตรงกับจริงของท่าน มีความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น
ต่อมาหลวงปู่ใหญ่ ได้ชักชวนสหธรรมิกที่ใกล้ชิด คือ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ (ภายหลังมีสมณศักดิ์ที่พระปัญญาพิศาลเถร เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ) และหมู่คณะที่พำนักอยู่วัดใต้ด้วยกันไปฟังเทศน์ที่วัดศรีทองด้วยเป็นจำนวนมาก
หลังจากที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และพระภิกษุสามเณรได้รับการอบรมธรรมจากอาชญาท่านเทวธมฺมี แล้ว การประพฤติปฏิบัตินอกหนทางพระศาสนาที่เคยทำมาแบบเก่า ก็พากันเลิกหมด หันเข้ามาประพฤติปฏิบัติด้วยการเดินจงกรม ทำสมาธิภาวนา พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เลิกการฉันเพล โดยฉันหนเดียวเป็นวัตร เป็นการปฏิบัติแนวใหม่เพื่อมุ่งตรงต่อนิพพานอย่างจริงจังมากขึ้น โดยที่ไม่เคยได้รับรู้ในเรื่องเหล่านี้มาก่อนเลย
การประพฤติปฏิบัติตนใหม่ของหลวงปู่เสาร์และพรรคพวกนี้ ทำให้ญาติโยมและพระภิกษุบางพวกไม่พอใจ โดยเฉพาะเมื่อท่านเลิกเล่นหรือแข่ง (การแข่งเรือ) ทำให้ญาติโยมส่วนมากไม่พอใจ พากันนินทาว่าร้ายท่านต่างๆ นานา หาว่าท่านทำลายประเพณีที่ทำสืบทอดกันมานานโดยเฉพาะหรือแข่งของวัดใต้นั้นมีชื่อเสียงมาก
เสียงนินทาว่าร้ายต่างๆ มีมากระทบท่านมากมาย แต่หลวงปู่ใหญ่ท่านก็เฉยเสีย ไม่ปริปากโต้ตอบใดๆ ทั้งสิ้น แต่ท่านก็ไม่ได้ขัดขวางการกระทำของคนอื่น แต่จะให้ลงมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงพาพระเณรและประชาชนลงแข่งเรือในนามของวัดนั้น ท่านไม่ขอยุ่งเกี่ยวด้วย
เมื่อเห็นหลวงปู่ใหญ่ เดินจงกรม นั่งสมาธิอย่างเอาจริงเอาจัง ก็โดนเพื่อนพระด้วยกัน แม้กระทั่งพระผู้ใหญ่บางท่าน ต่างพูดเยาะเย้ยเลยใส่ท่านว่า
?ถ้าญาคูเสาร์ไปสวรรค์นิพพานจริงๆ ก็ขอห้อยขอแขวนหางด้วยเด้อ?
โดยนัยแห่งคำพูด ก็หมายถึงว่าถ้าหาก หมา สามารถไปนิพพานได้ ก็จะขอเกาะหางตามไปด้วย
แทนที่หลวงปู่ใหญ่จะโกรธ ท่านกลับนิ่งเฉย ทำให้เห็นว่าคำพูดเหล่านั้นไม่มีความหมายใดๆ สำหรับท่าน ท่านเพียงพูดว่า
?เขามีปากให้เขาพูดไป สิ่งเหล่านี้ใครทำใครได้?
จากปฏิปทาของท่านจะแสดงให้เห็นถึงความอดทนอย่างยอดเยี่ยมตลอดชีวิตของท่าน ไม่ว่าจะต่อสู้กับสภาพความทุกข์ลำบากในป่าเขาลำเนาไพร การต่อสู้กับกิเลสต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกๆ ต้องต่อสู้กับปากคน และการขัดขวางของคนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งท่านสามารถเอาชนะอุปสรรคทุกอย่างด้วยความอดทนและความสงบเย็นของท่าน

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:14:05 »

ญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต

แม้การปฏิบัติธรรมในแนวใหม่ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลจะได้รับความสงบเย็นและก้าวหน้าไปด้วยดี แต่ก็ยังมีอุปสรรคขวางกั้นทำให้ไม่มีความสะดวกเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะเป็นพระในสังกัดคนละนิกาย
ถึงแม้อาชญาท่านเทวธมฺมี จะยอมรับหลวงปู่ใหญ่ เป็นศิษย์และให้การอบรมสั่งสอนอย่างเต็มที่ก็ตาม เนื่องจากสังกัดคนละนิกาย จึงไม่สามารถเข้าอุโบสถร่วมสังฆกรรมกันได้ นอกจากนี้ก็ไม่สามารถไปหยิบจับหรือแตะต้องของใช้ของฉันของท่านได้ ถ้าถูกต้องแล้วจะต้องประเคน (ถวาย) ใหม่เหมือนกับฆราวาสทั่วไป
อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การพูดจาว่าร้ายและการขัดขวางจากพระในสังกัดนิกายเดิมของท่าน ที่บรรดาพระเหล่านั้นไม่เห็นด้วยกับการฉันหนเดียว การฉันในบาตร รวมทั้งการมือไวปากไวของพระเณรทั้งหลาย ที่เคยชินมาแต่เดิม ต้องมีการพลั้งเผลอบ่อยๆ เพราะขาดการสำรวมระวังอย่างจริงจัง ทำให้ต้องล่วงละเมิดวินัยของพระอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีอะไรที่มาเป็นกรอบบังคับ ทำให้ความเกียจคร้านเข้ามาครอบงำ ไม่สามารถประกอบความเพียรอย่างเต็มที่ได้
พระที่ไม่เห็นด้วยต่างพากันเป็นปรปักษ์กับท่าน แทนที่จะพากันเป็นปรปักษ์ศัตรูคู่อาฆาตกับกิเลสที่อยู่ในใจของตน ซึ่งถือเป็นงานหลักของนักบวชในพระพุทธศาสนา
ด้วยอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง ในที่สุด หลวงปู่ใหญ่และพระเณรในวัดใต้ ทั้งหมดได้พร้อมใจกันเข้าญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุตกันทั้งวัด เป็นการบวชครั้งที่ ๒ ณ อุโบสถวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) โดยมีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ด้วยเหตุนี้ วัดใต้ จึงได้กลายเป็นวัดธรรมยุตตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:14:38 »

เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และพระเณรในวัดใต้ประกอบพิธีญัตติกรรม เป็นพระในสังกัดธรรมยุติกนิกายเรียบร้อยแล้ว ความกังวลใจที่เนื่องจากคำพูดกระทบกระเทียบเปรียบเปรยจากหมู่พวกในนิกายเดิมก็ลดลงไป สามารถปฏิบัติตามแนวทางธรรมยุตได้เต็มที่ไม่ต้องคอยเกรงอกเกรงใจหรือกล้าๆ กลัวๆ ต่อไปอีก
ในการประกอบความเพียรนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และคณะต่างพากันรีบเร่งโดยไม่นิ่งนอนใจ เวลาที่ผ่านไปทุกขณะเป็นเวลาแห่งชีวิต คนเราจะตายในวินาทีใดก็ได้ ท่านจึงไม่ประมาท ตั้งตัวเป็นศัตรูคู่อาฆาตกับความเกียจคร้านโดยไม่เห็นแก่นอน ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ และสิ่งสรรเสริญเยินยอต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มันเป็นหนามแหลมคม ที่ทิ่มแทงสรรพสัตว์ ให้ได้รับความปวดแสบสาหัสสากรรจ์มานาน จนนับภพนับญาติไม่ถ้วน
หลวงปู่ใหญ่ ยึดมั่นในหลัก ธุดงควัตร ๑๓ โดยถือเป็นเกราะเพื่อป้องกันความหลง ความเผลอไผล ในการดำเนินบนเส้นทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีการเดินจงกรม การทำสมาธิภาวนา เป็นพาหนะนำไปสู่หลักชัย คือ มรรค ผล นิพาน แดนเกษมที่ชาวพุทธปรารถนาเป็นที่สุด
ในประวัติ ไม่ว่าหลวงปู่ใหญ่ จะไปที่ใด อยู่ที่ใด จิตใจท่านมิได้เหินห่างคลาดเคลื่อนไปจากความเพียร นับแต่ไปบิณฑบาต ปัดตาด กวาดลานวัด ขัดกระโถน เย็บผ้า ย้อมผ้า เดินไปเดินมาในวัดและนอกวัด ตลอดจนการขบฉัน ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถ จะตั้งสติกำหนดอยู่กับความเพียรทุกขณะไม่ให้คลาดเคลื่อน ไม่ยอมให้อารมณ์ภายนอกมากระทบจิตใจให้วอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์นั้น หรือไม่ยอมให้จิตปรุงแต่งไปตามอารมณ์ จิตของท่านก็ได้รับความสงบเย็นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:15:05 »

พระครูวิเวกพุทธกิจ

หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูวิเวกพุทธกิจ ตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีการบันทึกไว้
เมื่อศึกษาประวัติ และข้อวัตรที่ท่านบำเพ็ญมาตลอดชีวิตจะเห็นว่า หลวงปู่ใหญ่ เป็นผู้ชอบความสงบอย่างแท้จริง
ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงอุปนิสัยของหลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ :-
?อุปนิสัยที่แท้จริงของพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นผู้สันโดษชอบความสงบ ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ไม่ชอบความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม
ตลอดเวลาการบำเพ็ญสมณธรรม ถ้าที่ไหนมีความวุ่นวาย จุ้นจ้านท่านก็จะปลีกตัวออกหนีทันที
อุปนิสัยของท่านเช่นนี้ จะเห็นได้จากการเที่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียรและเผยแผ่สัจธรรมของท่าน ท่านจะท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ ที่ห่างไกลผู้คน
พอไปถึงสถานที่ที่สงบสงัด เหมาะสม ตั้งหลักลงที่ไหน ที่นั้นจะต้องกลายเป็นวัดเป็นสำนักปฏิบัติธรรมทันที สถานที่ที่ท่านเคยพักบำเพ็ญเพียรจึงเกิดเป็นวัดป่าเป็นร้อยๆ แห่งในภาคอิสาน และทางฝั่งประเทศลาว
การเที่ยวไป แม้จะไปเป็นหมู่คณะ แต่จะเงียบสงบเหมือนกับไม่มีพระไม่มีคนในที่นั้นเลย
ญาติโยมคนเฒ่าคนแก่ในสถานที่ต่างๆ ที่ท่านเคยจาริกผ่านไปเล่าให้ข้าพเจ้า (หลวงพ่อโชติ) ฟังว่า เมื่อท่านเดินทางมาถึงที่ปักกลดพัก มีพระเณรติดตามท่านมามากทีเดียว กระทั่งพระธุดงค์จรก็จะเที่ยวมากราบนมัสการฟังโอวาทจากท่านมิได้ขาด
ทั้งๆ ที่มาเป็นจำนวนมากๆ อย่างนั้น ก็ดูเหมือนว่าไม่มีพระอยู่เลย ในวัดเงียบสงัด ไม่มีการจับกลุ่มพูดคุย ไม่มีพระเณรเดินเพ่นพ่านให้เห็น ไม่มีการหยอกล้อ แม้เสียงกระแอมไอก็ไม่มี
ต่างองค์ต่างบำเพ็ญเพียรทางจิต นั่งสมาธิภาวนาหรือเดินจงกรมในที่ของตนโดยมิได้ประมาท
เมื่อเข้าไปภายในวัด จะเห็นเพียงพระอาจารย์กับศิษย์อุปัฏฐากของท่านเท่านั้น พระนอกนั้นจะเข้าหาที่สงัดวิเวก ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรดูจิตดูใจของตน ไม่ได้มาชุมนุมพูดจากัน
วัดทั้งวัดเหมือนกับเป็นวัดร้าง จะเห็นมีพระเณรก็ในเวลาเช้า พระจะออกมาบิณฑบาต มารวมฉันภัตตาหาร อีกครั้งก็ตอนเวลาเย็น พระจะออกมาปัดกวาดตาด ตักน้ำเป็นน้ำใส่โอ่งใส่ตุ่มทุกแห่ง
ในเวลาที่พระมารวมกันเช่นนี้ จึงจะเห็นพระเณรมากันเต็มไปหมด แม้กระนั้นก็ตาม ท่านจะพูดกันเท่าที่จำเป็นและพูดเพียงเบาๆ พอได้ยินระหว่างคู่สนทนาเท่านั้น ทุกท่านทุกองค์ต่างพากันสำรวมปิดประตูทวารทั้งหมด (หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ) อย่างเต็มที่ ทำทุกอย่างด้วยความสงบเสงี่ยมระวังกายระวังใจ ไม่ให้เผลอสติออกนอกกายนอกใจตน เป็นการปฏิบัติภาวนาทุกอิริยาบถ และทุกช่วงลมหายใจเข้าออก
พระป่าท่านพยายามฝึกกันถึงขนาดนั้นจริงๆ เพราะท่านเห็นภัยในความเอิกเกริกเฮฮาสาไถย์ต่างๆ เพราะอย่างนี้เองพระธุดงค์กรรมฐานท่านจึงพากันได้ดิบได้ดีในทางธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาแก่หมู่ชนทั่วไป
บรรดาพระลูกศิษย์ที่ติดตามปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่ในสมัยนั้น ก็ได้แก่บูรพาจารย์สายธุดงค์กรรมฐานในยุคต่อมานั้นเอง ซึ่งรวมทั้ง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม สืบมาจนถึงหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นต้น?

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:15:36 »

ไม่เอาเรื่องพิธีกรรมตลอดจนไสยศาสตร์ต่าง ๆ

เกี่ยวกับเสียงรบกวนและความจุ้นจ้านวุ่นวายต่างๆ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หรือ พระครูวิเวกพุทธกิจ ตามสมณศักดิ์ของท่าน ท่านได้เข้มงวดกวดขัน ไม่ยอมให้เกิดให้มีในวัดที่ท่านปกครองอยู่
เป็นต้นว่า เสียงไก่ ซึ่งสมัยนั้นคนมักนิยมเอาไปปล่อยในวัด โดยเชื่อกันว่าเป็นการสเดาะเคราะห์ เสียกรรม หรือ ?โผดสัตว์? ปล่อยสัตว์ เพื่อเป็นการต่ออายุ และทำให้ตนเองหมดเคราะห์หมดโศก
นอกจากนี้ก็ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมต่างา เช่น การต่อหลักปีค้ำโพธิ์ (เอาไม้ไปค้ำต้นโพธิ์) ค้ำไฮ เหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่นิยมทำกันมาแต่บรรพกาล
เรื่องต่างๆ เหล่านี้ หลวงปู่ใหญ่ ท่านสอนไม่ให้เชื่อ ไม่ให้ทำกันซึ่งไม่ใช่แนวทางตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นการงมงายที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา
เกี่ยวกับการเอาไก่มาปล่อยในวัด หลวงปู่ใหญ่ จะไม่ยอมเป็นอันขาด ท่านแนะนำให้ไปปล่อยที่อื่น แต่ญาติโยมก็ยังขัดขืนดื้อดึงเอาไปแอบปล่อยหลังวัด
พอท่านได้ยินเสียงไก่ขัน หรือส่งเสียง ท่านก็จะสั่งให้ลูกศิษย์ตามจับ แล้วเอาไปปล่อยที่อื่นไกลๆ เพราะท่านไม่ชอบเสียงและความจุ้นจ้านของมัน เนื่องจากรบกวนการประพฤติธรรมของบรรดาพระเณร
นอกจากจะเป็นไก่ป่าจริงๆ ซึ่งมันพากันมาอาศัยอยู่ตามบริเวณวัด มันอยู่อย่างธรรมชาติจริงๆ ไม่จุ้นจ้านเหมือนไก่บ้าน (ซึ่งอาจติดนิสัยบ้านมาจากคนก็ได้)
ปฏิปทาเหล่านี้เองเป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นว่าหลวงปู่ใหญ่ทานชอบความสงบสงัดและความวิเวกอย่างแท้จริง สมกับราชทินนามพระครูวิเวกพุทธกิจ ของท่าน
อุปนิสัยที่ชอบความวิเวก ไม่ระคนด้วยหมู่คณะนี้ท่านเริ่มดำเนินอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มอธิษฐานจิตเพื่อขอบวชตลอดชีวิต ต่อมาถึงการได้ฟังเทศน์จากอาชญาท่านเทวธมฺมี (ม้าว) การเข้าพิธีญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ท่านมุ่งหน้าสู่ปฏิปทาแนวใหม่ เพื่อบำเพ็ญเพียรมุ่งสู่ความหลุดพ้นและหมดกิเลสอย่างแท้จริง

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:16:13 »

สลดสังเวชในกามกิเลส

วัดใต้ ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักจำพรรษาและเป็นสถานที่แห่งแรกที่ท่านเริ่มต้นการบำเพ็ญเพียร เป็นวัดที่อยู่นอกเมืองยังเป็นสถานที่เงียบสงบพอประกอบความเพียรได้ดีอยู่
ต่อมาหมู่คณะก็มีมากขึ้น อารมณ์กิเลสก็มีมากเป็นเงาตามตัวท่านจึงต้องย้ายที่ใหม่เพื่อการบำเพ็ญเพียร
ดังนั้น ทุกๆ วัน หลังจากทำภัตกิจในตอนเช้าเสร็จ หลวงปู่ใหญ่จะถือโอกาสหลีกเร้นจากหมู่คณะ ไปหาที่บำเพ็ญเพียรตามลำพังองค์เดียว เที่ยวไปตามป่าละเมาะด้านหน้าของวัดใต้
หลวงปู่ใหญ่ เล่าให้ศิษย์ฟังว่า สถานที่นั้นถือว่าห่างไกลจากพระ ห่างไกลจากผู้คนแล้ว ก็ยังมีพวกหนุ่มสาวแอบไปพลอดรักกัน แอบกระทำกามกิจให้ท่านได้รู้ได้เห็นอยู่อีก แสดงถึงกิเลสตัณหาและเครื่องยั่วยวนใจนั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง จึงขึ้นอยู่ที่ตัวเราว่าจะหนักแน่นมั่นคงเพียงใด
ท่านเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่ง หลังจากฉันภัตตาหารในตอนเช้าเสร็จแล้ว ท่านก็หลีกเร้นออกไปทำความเพียรดังที่เคยทำมาทุกวัน หลังจากเดินจงกรมพอประมาณแล้ว ท่านก็เข้าที่นั่งสมาธิภาวนาสงบนิ่งอยู่
ตรงที่ท่านนั่งนั้นเป็นจอมปลวกสูงใหญ่ (ทางภาคอิสานเรียกโพนใหญ่) ท่านนั่งสมาธิไปจนถึงเวลาบ่ายคล้อย ก็เกิดได้ยินเสียงหญิงชายกระซิบกระซาบในเชิงพลอดรักกันในบริเวณนั้น ตอนแรกท่านคิดว่าเป็นเสียงที่เกิดในนิมิต ท่านก็สงบนิ่งดูอยู่
สักพักหนึ่งท่านลืมตาขึ้น ก็เห็นภาพปรากฏขึ้นจริงต่อหน้าต่อตา มีหนุ่มสาวคู่หนึ่ง น่าจะเป็นเด็กที่เอาวัวควายมาเลี้ยง แล้วหลบมาพลอดรัก กระทำกามกิจกันอยู่ที่ตีนจอมปลวกนั้น พวกเขาไม่รู้สึกละอายแก่สิ่งใด คิดว่าคงไม่มีใครรู้เห็นการกระทำของพวกเขา
หลวงปู่ใหญ่ คงไม่อยากให้พวกเขาต้องอับอายจึงหลับตาสงบนิ่ง โดยที่พวกเข้าคงไม่รู้ว่ามีคนอื่นอยู่แถวนั้นด้วย
หลวงปู่ใหญ่ เล่าว่า ทั้งภาพและการกระทำที่ท่านพบเห็นนั้นชวนให้ปลงสังเวชเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายยังหมกอยู่ ของอยู่ จมอยู่ ในกิเลสวัฏฏะ ไม่อาจข้ามพ้น ต้องมืดมนบอดบ้าในสังสารวัฏร่ำไป
เมื่อพิจารณาจนถ้วนที่แล้ว ท่านบอกว่าเกิดความเบื่อหน่ายในการที่ต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป ทำให้ท่านตั้งความปรารถนาขึ้นว่า ถ้ายังไม่หลุดพ้น ถ้าหากยังต้องเกิดอีก จะขอเว้นจากเรื่องเพศตรงข้ามทุกภพทุกชาติไป ขอบวชอุทิศพรหมจรรย์ถวายในพระพุทธศาสนาเพื่อให้พ้นกลมายาโลกเหล่านี้ตลอดไป

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:18:19 »

เกิดวัดใหม่ชื่อวัดเลียบ

บริเวณป่าละเมาะด้านหน้าวัดใต้ ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลหลีกจากหมู่คณะออกมาบำเพ็ญเพียรนี้ ต่อมาก็มีหมู่คณะตามมาปฏิบัติด้วย ต่างเห็นว่าเป็นที่สงบสงัดดี
บรรดาพระที่มาบำเพ็ญภาวนานั้น ได้พากันปลูกกระต๊อบหลังเล็กๆ แยกกันอยู่ตามจุดที่แต่ละองค์ถูกอัธยาศัย ต่อมาก็สร้างศาลาหอฉันขึ้นเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งสถานที่ใหม่นี้เกิดเป็นวัดขึ้นมาในภายหลัง นั่นคือ วัดเลียบ และก็เป็นวัดสังกัดคณะธรรมยุตไปโดยปริยาย
ต่อมาทางเจ้าเมืองได้ตัดถนนผ่านด้านหน้าวัดใต้ ที่ดินในบริเวณนั้นจึงกลายเป็นวัด ๒ วัด ตั้งอยู่คนละฟากถนนคือฟากหนึ่งเป็นวัดใต้ที่อยู่เดิม และอีกฟากหนึ่งก็เป็นวัดเลียบ ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับจนเป็นวัดที่มีความมั่นคงและสวยงามในปัจจุบัน
วัดใต้ กับ วัดเลียบ จึงเป็นเสมือนวัดพี่วัดน้องที่มีถนนคั่นกลางมาเท่าทุกวันนี้
วัดเลียบ เมืองอุบลราชธานีแห่งนี้เอง เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาถวายตัวเป็นศิษย์วัดอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลกตั้งแต่ครั้งยังเป็นป่า ที่พักสงฆ์ยังเป็นเพียงกุฏิกระต๊อบหลังเล็กๆ อยู่ ซึ่งหลวงปู่มั่นก็ได้บวชเป็นสามเณร และบวชเป็นพระในเวลาต่อมา
ดังนั้น วัดเลียบเมืองอุบลฯ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในทางพระพุทธศาสนาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายธุดงค์กรรมฐานในยุคปัจจุบัน
สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดเลียบ ตามที่ปรากฏในประวัติวัด ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ (ซึ่งผมคัดลอกมาจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์  ไสยสมบัติ อีกทีหนึ่ง) มีดังนี้ -
?เมื่อจุลศักราช ๑๒๑๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๙๑ ปีวอก เอกศกเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี ได้ตั้งวัดเลียบ มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา มีสมภารอยู่นับได้ ๑๐ รูป และมีพระอาจารย์ทิพย์เสนาแก่นทิพย์ ฉายา ทิพฺพเสโน เป็นหัวหน้าปกครองคณะสงฆ์ ต่อมาท่านได้มรณภาพลง สำนักสงฆ์แห่งนี้จึงร้างไป
ต่อมา พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) ได้มาเป็นสมภารเมื่อจุลศักราช ๑๒๕๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๕ ปีมะเส็ง เบญจศก เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ วันอังคาร พร้อมภิกษุสามเณร
ส่วนฆราวาสมี พระอุบลการประชานุกิจ (บุญชู) พระสุระพลชยากร (อุ่น) ท้าวกรมช้าง (ทองจัน) สังฆการีจารปัจฌา สังฆการีจารเกษ และทายกทายิกา ได้พร้อมกันมีศรัทธาสร้าง ขยายวัดออกทางด้านบูรพา กว้างได้ ๑๑ วา ยาว ๖๔ วา ๒ ศอก ด้านอุดร กว้าง ๑๘ วา ๒ ศอก ยาว ๕๓ วา และได้สร้างรั้วรอบวัดมีเสนาสนะ มีพัทธสีมา ๑ มีหอแจก ๑ หลัง หอฉัน ๑ หลัง มีกุฏิ ๔ หลัง โปง ๑ และได้ปลูกต้นไม้ ได้แก่ มะพร้าว ๒๑๐ ต้น หมาก ๖๐ ต้น มะม่วง ๔๐๐ ต้น หมากมี้ (ขนุน) ๓๒๘ ต้น มะปราง ๒๕ ต้น
ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมด้วยท้าวสิทธิสาร และเพียเมืองจันได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามพระราชโองการที่ ๘๗/๓๐๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ตรงกับ ร.ศ. ๑๑๕ อันเป็นปีที่ ๒๙ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีขนาดด้านยาว ๗ วา ด้านกว้าง ๕ วา
อุโบสถหลังเดิมมีขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ก่อสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี ควบคุมการก่อสร้างโดยพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสี โล
ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน นามว่า ?พระพุทธจอมเมือง? ซึ่ง พระอาจารย์เสาร์เป็นผู้สร้าง...?

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!