หอไตรเมืองอุบลฯ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 21:34:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หอไตรเมืองอุบลฯ  (อ่าน 17544 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:07:39 »

หอไตรมีชื่อเต็ม ๆ ว่าหอพระไตรปิฎกเป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระธรรมวินัยและตำราวิชาการด้านหระพุทธศาสนา  ซึ่งสมัยก้อนมีจำนวนน้อย  เพราะไม่สามารถผลิตได้เองทีละมาก  ๆ นอกจากต้องคัดเลือก  หรือจารขึ้นด้วยมือ  อาคารที่สร้างขึ้นจึงมีลักษณะมิดชิด  เป็นพิเศษ  โครงสร้างแข็งแรงและมีขาดเล็ก  สร้างด้วยไม้ลักษณะเป็นเรือนไทย  ส่วนใหญ่สร้างกลางสระน้ำ  เพื่อป้องกัน  หนู  มด  ปลวก และแมลงที่จะมาทำลายหนังสือสมุดหรือใบลานผูก  ไอชื้นจากสระน้ำที่อยู่ใต้อาคารและโดยรอบจะช่วยให้อาคารชุ่มเย็น  เป็นการรักษาใบลานและเอกสารสำคัญให้มีอายุยืนนานกว่าปกติ ส่วนหอไตรที่สร้างบนพื้นราบนั้นมักจะทำใต้ถุนสูง  ไม่มีบันได  เมื่อใช้จึงจะนำบันไดมาพาดอีกทีหนึ่ง  สมัยก่อนนิยาสร้างตามวัดต่าง ๆ กันมาก

 

                แต่ในปัจจุบันไม่นิยมสร้างเนื่องจากมีการจัดพิมพ์เอกสารใช้กันและสามารถหาได้ง่าย  หอไตรจึงเป็นของเก่าได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่  ซึ่งมีมากทั้งในกรุงเทพฯ  และต่างจังหวัด  แต่ละหลังสร้างตามแบบศิลปะแระจำท้องถิ่นของตน  หอไตรเป็นที่รู้จักทั่วไปได้แก่  หอไตรกลางน้ำ  วัดใหญ่สุวรรณาราม  จังหวัดเพชรบุรี  และหอไตรกลางน้ำวัดบางแก้ว  จังหวัดนครปฐม  ส่วนหอไตรที่สร่างที่ราบ เช่น  หอไตรวัดไทรและหอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม  กรุงเทพฯ  ฯลฯ   

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:09:06 »

หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นหนึ่งในหอไตรของอีสานที่งดงาม  แตกต่างจาหอไตรที่อื่น  ๆ ด้วยลักษณะศิลปะผสมระหว่าง  3  สกุลช่าง  คือ  ไทย  พม่า  และลาว  กล่าวคือ  มี  ลักษณะตัวอาคารแบบไทย  ประกอบด้วยเรือนฝาปะกนขนาด  4  ห้องผนังภายในห้องเขียนลายลงรักปิดทอง  มีรุทวารอยู่ที่บานหน้าต่างและบานประตูที่ทำด้วยไม้แผ่นเดียว  ส่วนหลังคาเป็นศิลปะไทยผสมพม่า  มีช่อฟ้า  ใบระกาแบบไทย ลาดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองลักษณะศิลปะลาวที่ทำด้วยฝีมือช่างชั้นสูง

 

                หอไตรแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี   พ.ศ.2524  ได้รับรางวัลผลงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เมื่อปี  พ.ศ.  2527  นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็น  1 ใน 3  ของดีเมืองอุบลฯ  สมัยก่อน  จึงมีคำกล่าวกันต่อ ๆ มาว่า ?พระบาทวัดกลาง  พระบางวัดใต้  หอไตรวัดทุ่ง?   ลักษณะเด่นโดยทั่วไปของหอไตรนั้นเป็นเรือนไทยฝาไม้ปะกันแบบเรือนไทยภาคกลางขนาด  4  ห้อง  สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งอย่างดี  ตั้งอยู่กลางสระน้ำ  มีใต้ถุนสูง  กว้างประมาณ  8.20  เมตร  ยาว  9.85  เมตร  สูงจากพื้นน้ำถึงยอดหลังคา  10  เมตร  หลังคาเป็นชั้นซ้อนกัน  6  ชั้น  ลดหลั่นเป็นลำดับและจำหลักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงด้วยช่อฟ้า  หางหงส์  โดยเฉพาะคันทวยแกะสลักเป็นเทวรูปพนมและนาค  แกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆภายในกรอบสีเหลี่ยมหน้าประตูต่างเขียนลายลดน้ำ  ผนังห้องเขียนลายลดน้ำเช่นเดียวกัน  นับเป็นอาคารที่มีความสมบูรณ์แบบและลงตัวอย่างของในด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะและด้วยเหตุผลที่สร้างอยู่กลางสระ  ดูเด่นเป็นสง่าและสงบร่มเย็น  ไม่ว่าจะมองจากด้านใด

               

                ในส่วนของวัดทุ่งศรีเมืองอันเป็นที่ตั้งของหอไตรอันงดงามนี้เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานีมาแต่สมัยโบราณ  ก่อตั้งขึ้นราว  พ.ศ.  2385  ในสมัยราชกาลที่  3  โดยญาติครูช่าง  พระสงฆ์ชาวเวียงจันทน์  มีพื้นที่  19  ไร่  23  ตารางวา  เดิมเป็นทุ่งนา  จึงได้นามว่าทุ่งศรีเมือง  ตามประวัติกล่าวว่า  ผู้สร้างคือท่านเจ้าคุณอริยวงศาจารย์  ญาณวิมล  อุบลสังฆปาโมกข์  (สุ้ย  หลักคำ)  เจ้าคณะเมืองอุบลฯรูปแรก  เนื่องจากเคยมาธุดงค์อยู่  ณ  ที่แห่งนี้เนือง ๆ จึงได้สร้างวัดบริเวณนี้  เริ่มการก่อสร้างสิมหรืออุโบสถ  ซึ่งเดิมเรียกว่าหอพระบาท  ต่อมาได้สร้างหอไตรกลางน้ำและกุฏิพระสงฆ์สามเณรขึ้นอีก 

 

                ภายในวัดทุ่งศรีเมืองนอกจากจะมีหอไตรกลางน้ำแล้วยังมีหอพระบาทหรือหออุโบสถ  ซึ่งสร้างแบบสถาปัตยกรรมผสมระหว่างศิลปะเวียงจันทน์และศิลปะรัตนโกสินทร์  เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปจำลองจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร  ส่วนที่เป็นศิลปะแบบเวียงจันทน์ได้แก่โครงสร้างช่วงล่าง  เช่นฐานเอวขันธ์  บันไดจระเข้และเฉลี่ยงด้านหน้า  ส่วนที่เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ได้แก่ช่วงบน  เช่น ช่อฟ้า  ใบระกา  และหางหงส์  ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ทั้ง 4 ด้าน  เป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและทศชาติภาพวิถีชีวิตของผู้คนภายในรั้ววัง  รวมทั้งภาพอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีน  อันเป็นศิลปะที่นิยมสร้างกันมากสมัยราชกาลที่  3  สิ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันกันมากภายงานวัดนี้ก็คือ  พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง  ซึ่งเดิมเป็นพระประธานที่วัดเหนือท่า  เมื่อวัดร้างจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่ศาลาการเปรียญและวิหารศรีเมืองของวัด  เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์งดงามคล้ายคลึงพระเหลาเทพนิมิต  อำเภอพนา  จังอำนาจเจริญ

 

                หอไตรวัดทุ่งศรีเมืองได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง  จนถึงปี พ.ศ. 2517  กรมศิลปากร จัดงบประมาณมาสนับสนุนในการบูรณะอีกตัวอาคารส่วนรวมจึงมีสภาพดีและเป็นศรีเมืองอุบลราชราชธานีมาตราบเท่าทุกวันนี้


* c18-p01.jpg (88.26 KB, 550x297 - ดู 1966 ครั้ง.)

* c18-p02.jpg (60 KB, 355x219 - ดู 1784 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:10:58 »

หอไตรหนองขุหลุ ตั้งอยู่ที่บ้านขุหลุ ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล หอไตรนี้ตั้งอยู่ในหนองน้ำชื่อหนองขุหลุ ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืองของหมู่บ้านปัจจุบันเป็นตัวอำเภอ ประมาณ ๑ กม.

ขุหลุ มาจากคำอีสาน ครุ แปลว่ากระบุงที่เอาไว้ใส่ของไม้คานหาบ ส่วน หลุ แปลว่าทะลุ เรื่องเก่าย่อๆมีเจ้าขุนเมืองท่านหนึ่งเดินทางผ่านมาโดยเอาทองใส่ครุหาบมาด้วยพอมาถึงที่นี่ครุที่ใส่ทองเอาไว้ได้ทะลุทองก็หล่นลง ทำให้ดินแถวนั้นยุบลงกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ? ก็นึกเอานะคะว่าทองจะมีแค่เยอะไหน




สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2459 - 2461 โดยหลวงปู่สิงห์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย และหลวงราษฎร์บริหาร ( สด กมุทมาศ ) นายอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้นได้ปรึกษาหารือกัน เรื่องตู้คัมภีร์ใบลานและตำราทางพุทธศาสนา ของวัดศรีโพธิ์ชัยมีมาก เลยจะหาที่เก็บ ทั้งเจ้าอาวาสออกความเห็นว่าควรสร้างหอไตรกลางน้ำ เพื่อกันปลวกและแมลงอื่น ๆ อีกทั้งเป็นการถนอมคัมภีร์ใบลานให้คงทนได้นาน และท่านเห็นว่าหนองขุหลุเป็นหนองน้ำที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม  จึงได้บอกกล่าวชาวบ้านให้หาไม้และวัสดุอื่นๆ มาช่วยกันในการก่อสร้าง


ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสานที่มีความงามเรียบง่าย โดยฝีมือช่างท้องถิ่น ประกอบด้วยอาคารไม้ยกพื้นสูง รองรับด้วยเสาไม้ 25 ต้น ทำจากไม้พรรณชาติ เรียงเป็นแถว ๕ แถว แถวละ ๕ ต้น ดัวอาคารเป็นเรือนไม้แบบเครื่องสับ




หลังคามีสองส่วน คือส่วนบนเป็นทรงจั่ว ส่วนชั้นล่างทำเป็นหลังคาปีกนก (พะไร) ปัจจุบันมุงกระเบื้องดินเผา ส่วนประดับหลังคาคือตัวเหงาไม้แกะสลักรูปนาค ช่อฟ้า (โหง่)  รวยระกา และคันทวย แกะสลักเป็นลายก้านขด คล้ายเลข ๑ ไทยซ้อนกันและหันหัวแย้งกันสามชั้น




โดยรอบอาคารตีไม้เข้าลิ้นในแนวตั้ง ทรวดทรงอาคารแผ่กว้าง หลังคาสูงทิ้งชายคาลาดต่ำ ให้ความรู้สึกสงบนิ่งและสมดุล

ภายในเป็นห้องทึบสำหรับเก็บคัมภีร์ใบลาน มีประตูทางเข้าทางด้านทิศใต้ทางเดียว ส่วนที่ใช้ประดับตกแต่ง ที่เป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวย ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย แสดงถึงฝีมือช่างพื้นถิ่น

เดิมจะไม่มีสะพานเชื่อมติดเมื่อก่อนพระต้องพายเรือเข้าไป


            ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ฟ้าผ่าเสาแถวแรกด้านทิศตะวันตกสุด แล้ววัดศรีโพธิ์ชัยก็จัดงบประมาณเปลี่ยนเสาในปีนั้นเลย

            ปี พ.ศ.๒๕๒๔ ฟ้าผ่าเสาแถวแรกด้านทิศตะวันออกสุด เวลากลางคืนจนเกิดไฟลุกไหม้ แต่ฝนตกหนักจึงดับไฟลงได้วันต่อมาทางวัดก็เปลี่ยนเสาตันที่ถูกฟ้าผ่าเสียหายจนแล้วเสร็จ

            ปี พ.ศ.๒๕๑๙ ได้สร้างสะพานไม้เข้าชมหอไตร แต่ก็ได้ทรุดโทรมในเวลาต่อมา จนปี พ.ศ.๒๕๔๔ จึงได้ปรับปรุงสะพานใหม่ จนสามารถเดินเข้าชมหอไตรกลางน้ำได้อย่างชัดเจน

ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของหอไตรนี้ คือมิได้เป็นของวัดใดวัดหนึ่ง แต่เป็นของชุมชนในบริเวณนั้น



แต่เดิมหอไตรหนองขุหลุ ใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์พุทธศาสนาอักษรธรรมและอักษรขอม มีบันทึกในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองอุบลราชธานีและประวัติทุ่งศรีเมืองว่า หอไตรแห่งนี้ได้เคยบรรจุตำราหนังสือและวรรณคดีอีสานจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบัน คัมภีร์โบราณและหีบพระธรรม ได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่อุโบสถวัดศรีโพธิ์ชัย

สำหรับตัวอาคารหอไตร ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์สืบต่อกันมา ครั้งล่าสุดคือในปีพ.ศ. 2542 บูรณะโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี กรมศิลปากร การดูแลรักษาและบูรณะอย่างต่อเนื่อง ทำให้มรดกวัฒนธรรมแห่งนี้ยังคงอยู่ในสภาพดี แม้มีอายุยาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ



ความสำคัญของหอไตรหนองขุหลุ นอกจากจะเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแล้ว ยังนับเป็นปูชนียสถานที่เรียกว่า ?ธรรมเจดีย์? การอนุรักษ์หอไตรหนองขุหลุ จึงเป็นยิ่งกว่าการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม แต่เป็นการสืบทอดพระศาสนาให้ดำรงอยู่เป็นสรณะของชาวพุทธที่ยั่งยืนสืบไปอีกประการหนึ่งด้วย ในปี 2547 ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น จากกรมศิลปากร




บริเวณรอบๆมีภูมิสถาปัตย์แบบสวนสาธารณะขนาดใหญ่ นอกจากจะเป็นสถานที่ออกกำลังกายของชาวเมืองแล้ว ยังใช้เป็นสถานที่ ที่ชาวเมืองใช้จัดกิจกรรมในอำเภอในวาระต่างๆ เช่น การเดิน วิ่งการกุศล งานกาชาด เป็นต้น


* KuRu02.jpg (58.5 KB, 500x338 - ดู 1939 ครั้ง.)

* KuRu03.jpg (50.92 KB, 500x332 - ดู 1874 ครั้ง.)

* KuRu08.jpg (54.5 KB, 500x339 - ดู 1846 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:12:35 »

วัดบูรพาราม ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี แต่เดิมที่ตั้งของวัดบูรพานั้น เป็นหมู่บ้านแสนตอ หมู่ที่ 6 ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.2525 ทางเทศบาลได้ขยายเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี วัดบูรพาจึงอยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี

ตามประวัติวัดบูรพา ไม่มีท่านผู้ใดเขียนไว้ชัดเจน จึงได้อาศัยแต่คำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เท่านั้น ซึ่งท่านก็เล่าว่า แต่เดิมนั้นที่ดินตรงนี้เป็นป่าไม้โสงเสง (ภาษาอีสาน) ซึ่งหมายถึงป่าโปร่ง เป็นที่อยู่ของสัตว์หลายชนิด ผู้คนไม่ค่อยเข้าไป จึงเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม หลวงปู่ทาสี หลวงปู่เสาร์ ได้ไปปฏิบัติธรรม ขณะนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์

ครั้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2458 หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทราบข่าว จึงได้เดินทางมาจาก วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และปฎิบัติธรรมอยู่ที่วัดบูรพา และเมื่อเจ้ากรมหลวงสรรรพสิทธิประสงค์ ได้บริจาคทรัพย์และที่ดิน ให้สร้างวัดบูรพา จึงเป็นต้นกำเนิดสายวิปัฏนากรรมฐาน พระเกจิอาจารย์ต่างๆ ทั่วประเทศได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดบูรพา

ศาลาการเปรียญ หลังเดิมนั้น สร้างขึ้นใน พ.ศ.2458 ซึ่งแต่เดิมนั้น บริเวณที่สร้างศาลาการเปรียญนี้ ได้เคยเป็นสถานที่สร้างเมรุ เผาศพหลวงปู่เสาร์ ซึ่งเมื่อเผาศพเสร็จแล้ว จึงได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นแทน แต่ต่อมาได้เกิดไฟไหม้ หลวงพ่อพระครูอมรสิทธิ์ จึงได้สร้างวิหารหลังใหญ่ขึ้น (ปัจจุบันยังก่อสร้างไม่เสร็จ ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำรูปเหมือนของหลวงปู่ ทั้ง 5 คือ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน,พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล,พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต,พระญานวิศิษย์สิงห์ ขันตญาคโม และพระสิทธิธรรมรังษีคัมภีร์เมธาจารย์(สี ธัมมธโร)

หอไตรวัดบูรพา เป็นหอพัก คือสร้างอยู่บนพื้นดินอาคารเรือนไม้ สองหลังเคียงกัน แต่ละหลังเป็นเรือนแบบ 3 ห้อง เสากลมยกพื้นสูงมีชานเชื่อมอาคารทั้งสอง(ปัจจุบันชานได้หักพักลงมาหมดแล้ว) อาคารหลังทางทิศใต้ฝีมือปราณีตมาก ฝาแบบก้างปลา ไม้พรึงแกะสลักลวดลายกระจังกลีบบัวรอบอาคาร และไม้ลายเท้าสิงห์รองรับกรอบหน้าต่าง หลังคาทรงจั่วมุงแป้นไม้ หน้าบันกรุไม้รูปพระอาทิตย์ เชิงชายมีไม้ฉลุลายโดยรอบ ไม่ปรากฎว่าปั้นลมมีลักษณะอย่างใด เนื่องจากอาคารหอไตรทั้ง 2 หลังชำรุดทรุดโทรมมาก แต่ยังมองเห็นลักษณะโครงสร้างได้อย่างชัดเจน อาคารหลังทางทิศเหนือ ฝีมือการก่อสร้างหยาบกว่าทิศใต้ โดยเฉพาะลายผนังและการตกแต่งกรอบหน้าต่าง


* ho-trai.jpg (163.24 KB, 640x479 - ดู 1977 ครั้ง.)

* ho-drum.jpg (217.27 KB, 480x640 - ดู 1762 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
chanatip
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 07:28:10 »

  ข้อมูลดี thank you

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 07:33:00 »

ข้อมูลดี thank you

ขอคุณครับท่านอาจารย์แดน 

บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2554, 18:45:38 »

ยอดเยี่ยมครับ

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!