กว่าจะเป็นพระพุทธรูป 1 องค์ให้คนกราบไหว้บูชา ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 08:45:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กว่าจะเป็นพระพุทธรูป 1 องค์ให้คนกราบไหว้บูชา  (อ่าน 10158 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 24 ตุลาคม 2554, 23:58:28 »

การปั้นและการหล่อพระพุทธรูป

พระพุทธรูป พุทธศิลป์สูงค่า สัญลักษณ์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราชาวพุทธทุกคนกราบไหว้บูชา เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม

เกี่ยวกับความเป็นมาของการกำเนิดพระพุทธรูปนั้น ได้มีการค้นพบหลักฐานเป็นศิลปะวัตถุโบราณ ณ ประเทศอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจนถึงกับยกเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีพระพุทธรูปที่จะใช้เป็นที่เคารพบูชา มีเพียงปูชนียวัตถุที่สร้างไว้เพื่อสักการะแทน เช่น พระธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นต้น

ต่อมาภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นโดยในครั้งแรกนั้นเป็นฝีมือของช่างชาวกรีก ซึ่งเป็นชนชาติที่เข้ามายึดครองอินเดีย จากการล่าอาณานิคมของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ชาวกรีกเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างผลงานด้านปฏิมากรรมเป็นรูปเทพเจ้าต่างๆ เมื่อมาอยู่ในอินเดียเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงสร้างพระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ขึ้นมาเพื่อสักการะบูชา

การสร้างพระพุทธรูปมี 2 ขนาด คือ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปขนาดเล็ก พระพุทธรูปที่มีขนาดหน้าตัก 20 นิ้วขึ้นไป จัดว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ โดยมากสร้างไว้เป็นพระประธานในโบสถ์หรือวิหาร แต่กว่าจะออกมาเป็นพระพุทธรูปหนึ่งองค์ให้เราบูชาต้องใช้เวลานานเป็นเดือนเป็นปี เหตุนี้เองช่างทำพระหรือที่เรียกว่าช่างหล่อ จึงต้องเป็นคนที่มีใจรักในงานและมีความอดทนสูง

ด้วยความสลับซับซ้อนของขั้นตอนที่มีมากมายหลากหลาย งานหล่อพระพุทธรูปจึงเป็นปฏิมากรรมที่รวมเอาช่างฝีมือในหมวดช่างสิบหมู่ไว้แทบทุกแขนง ทั้งช่างปั้น ช่างหล่อหรือช่างเททอง ช่างขัดและช่างลงรักปิดทอง โดยมีลำดับการสร้างพระพุทธรูปเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้






1. ขั้นตอนการปั้นหุ่น

ช่างปั้นโบราณจะใช้ดินเหนียวคุณภาพดีมีสีเหลืองเรียกว่า "ดินขี้งูเหลือม" นวดผสมกับทรายละเอียด โดยการเหยียบให้เข้ากัน จากนั้นจึงเริ่มปั้นส่วนต่างๆ ขึ้นมาเป็นองค์พระ ถ้าเป็นการปั้นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อาจต้องปั้นส่วนต่างๆ ของพระวรกายแยกกัน เช่น นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาท พระกรรณ รัศมี และเม็ดพระศก แล้วจึงนำมาประกอบกันในภายหลัง แล้วตกแต่งองค์พระทั้งด้านนอกและแกนในให้ได้สัดส่วนสวยงามเกลี้ยงเกลาตามศิลปะสมัยนิยม


เมื่อปั้นหุ่นหรือพิมพ์ได้รูปแล้วก็มาถึงขั้นตอน การเข้าขี้ผึ้ง นับเป็นงานฝีมืออีกอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญอย่างมาก (ขี้ผึ้งทำมาจากรังผึ้งที่ต้มเคี่ยวจนนิ่มติดมือ แล้วนำไปผสมกับยางชันกรองด้วยผ้าขาวบางจนได้เนื้อขี้ผึ้งละเอียด) แช่พิมพ์ในน้ำสักพัก จากนั้นทาดินเหนียวบางๆ ทั้งสองด้านของพิมพ์เพื่อเคลือบให้ผิวดินและทรายเป็นเนื้อเดียวกัน กรอกขี้ผึ้งลงไปในพิมพ์ให้เต็มแล้วเทออกใส่อ่างน้ำ ในกระบวนการนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนจากขี้ผึ้งหลอมละลายมีอานุภาพทำให้มือและนิ้วแดงพองได้ ปั้นขี้ผึ้งที่เทลงอ่างเป็นแท่งกลมยัดลงพิมพ์ให้แน่นที่สุด ใช้มีดเฉือนขี้ผึ้งส่วนเกินออก แช่พิมพ์ลงในน้ำสักพักก็สามารถแกะแบบพระพิมพ์ขี้ผึ้งออกมาได้ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ จะใช้วิธีตีลาย คือนำขี้ผึ้งวางบนลายพิมพ์แล้วใช้ไม้รวกบดขี้ผึ้งจนเป็นลายตัดออกมาประกอบกับองค์พระ

ก่อนนำไปหล่อต้องทามูลวัวลงบนหุ่นพระขี้ผึ้งเสียก่อน เพื่อให้เนื้อของแบบพิมพ์เรียบสนิท ที่สำคัญคือช่วยรักษาความชัดเจนของรูปร่างและลวดลายขององค์พระไว้อย่างดีด้วย (ส่วนผสมที่เรียกว่ามูลวัว คือ การนำมูลวัวสดๆ มาคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาผสมกับดินนวล) ทามูลวัวลงบนหุ่นพระขี้ผึ้งซ้ำไปซ้ำมา 3 ชั้น ตอกทอยเข้าไปในหุ่นเพื่อรับน้ำหนักให้สมดุลกัน (ทอยส่วนใหญ่มักทำด้วยเหล็ก) หุ่นที่ทามูลวัวเมื่อแห้งดีแล้วนำมาพอกด้วยดินเหนียวผสมทรายให้ทั่วอีกรอบ ก่อนนำออกผึ่งลมหรือตากแดดให้แห้งสนิท

กรรมวิธีต่อไป คือ การเข้าลวด ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญเพราะลวดที่พันรอบหุ่นคือเกราะป้องกันการแตกตัวของดินเมื่อได้รับความร้อน หุ่นพระจะเสียหายและอาจต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่หากดินแตก เมื่อผูกเหล็กเรียบร้อยแล้ว นำดินเหนียวพอกทับแม่พิมพ์อีกครั้งให้มิดลวด ขั้นตอนนี้เรียกว่า ทับปลอก จากนั้นจึงปั้นปากจอกหรือชนวนปิดบริเวณปากทางที่จะเททอง





2. ขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูป

ภาษาช่างเรียกขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูปว่า "การเททอง" หมายถึง การสุมทองหรือหลอมโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง ทองสัมฤทธิ์ ให้ละลายเป็นของเหลวแล้วเทโลหะหรือทองนั้นลงในแม่พิมพ์ การหลอมโลหะนับเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน โดยเฉพาะทองแดงต้องใช้เวลาหลอมละลายไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง การหล่อพระนิยมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงเผาหุ่นและใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหลอมโลหะ ก่อนเททองต้องทำการสุมไฟหุ่นให้ร้อนจัดเพื่อสำรอกขี้ผึ้งที่ปั้นเป็นหุ่นอยู่ภายในหลอมละลายไหลออกมาจากแม่พิมพ์ทางช่องชนวนจนหมด และเผาแม่พิมพ์ต่อไปจนสุกพร้อมที่จะเททองหล่อพระได้


การหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ต้องทำนั่งร้านสำหรับเททอง พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่หรือมีความสูงมากๆ จะใช้วิธีหล่อเป็นสองท่อนแล้วนำมาประกบกัน เมื่อเผาแม่พิมพ์ได้ที่ขณะเดียวกับทองที่หลอมในเบ้าละลายดีแล้ว ก็เตรียมยกเบ้าทองไปเทลงในแม่พิมพ์ได้เลย การเททองต้องเทติดต่อกันมิฉะนั้นจะไม่ต่อเป็นเนื้อเดียว

ภายหลังการเททองเสร็จแล้วต้องปล่อยให้ทองในแม่พิมพ์เย็นตัวจึงจะจัดการทุบแม่พิมพ์ดินออกได้ รื้อแก้ลวดที่รัดแม่พิมพ์ออกให้หมด ถอนหรือตัดทอยออกแล้วใช้ตะไบหยาบขัดให้ทั่วทุกมุม พระพุทธรูปสำเร็จก็จะปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด





3. ขั้นตอนการขัดแต่งพระพุทธรูป

พระพุทธรูปเมื่อทุบแม่พิมพ์ออกแล้วผิวพื้นขององค์พระจะไม่เรียบ มีคราบเผาไหม้ปรากฏอยู่โดยทั่ว ดังนั้น เมื่อทำการหล่อแล้วจึงต้องมีการขัดแต่งผิวให้มันเงา ขั้นตอนการขัดมันในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องขัดกดจี้กับองค์พระจนผิวเรียบเกลี้ยง จากนั้นเปลี่ยนผ้าขัดเงาให้เป็นผ้าที่มีความนิ่มปุยขัดต่อโดยใช้ยาขัดเงาสีแดงเป็นตัวเพิ่มความแวววาว จากนั้นจึงลงรักปิดทองด้วยการนำองค์พระล้างน้ำให้สะอาดก่อนลงรัก ใช้น้ำรักผสมสมุกบดให้เข้ากันจนข้นแข็งไม่ติดมือ นำน้ำรักมาเกลี่ยให้ทั่วองค์พระปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วัน

เมื่อรักแห้งสนิทขัดอีกครั้งด้วยกระดาษทรายลบสันคมและรอยคลื่นออกให้เกลี้ยงเกลา ล้างน้ำให้สะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อองค์พระแห้งแล้วใช้แปรงจุ่มลงทาให้ทั่ว ผึ่งลมรอจนแห้งแล้วใช้น้ำรักทาทับอีกครั้ง คลุมองค์พระด้วยผ้าชุบน้ำทิ้งไว้ประมาณ 10 ชั่วโมง แล้วเปิดออกดู เมื่อน้ำรักไม่ติดมือก็ถือว่าใช้ได้ ปิดทองแล้วเกลี่ยให้ทั่วตลอดองค์ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็มาถึงพิธีการเบิกพระเนตร สำหรับตาดำนิยมใช้นิลดำทำเป็นรูปทรงไข่ ตาขาวใช้เปลือกหอยมุกไฟ ปอกเปลือกนอกออก แต่งด้วยตะไบแล้วนำไปติดโดยใช้น้ำรักผสมสมุก (ใบตองแห้งเผาแล้วนำมาร่อนจนละเอียด) ตาหนึ่งข้างจะติดที่หัวตา 1 อัน และหางตาอีก 1 อัน ขณะใส่ตานิลต้องท่องคาถาคำว่า "ทิพจักขุ จักขุ ปะถัง อาคุจฉาติ" เป็นอันเสร็จพิธีการปั้นและหล่อพระพุทธรูป


* Howto001.jpg (94.52 KB, 500x231 - ดู 1877 ครั้ง.)

* Howto002.jpg (102.16 KB, 500x244 - ดู 1459 ครั้ง.)

* Howto003.jpg (102.7 KB, 500x264 - ดู 1446 ครั้ง.)

* 4-6.jpg (34.58 KB, 339x450 - ดู 1351 ครั้ง.)

thxby3930คนโก้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!