จารึกเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไล ประเทศราช ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 00:04:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จารึกเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไล ประเทศราช  (อ่าน 22258 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 08:47:48 »

ข้าพเจ้าขอรวบรวมเอาจารึกที่ค้นพบในเขตเมืองอุบลฯบ้างส่วน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาของผู้ที่สนใจในประวัติศาสตร์แลรากเหงาของคนเมืองอุบลฯ
ข้อมูลที่ได้จะเป็นการรวบรวมจากแหล่งความรู้ต่างๆหากผิดพลาดประการต้องอภัย ณ ที่นี่
จุดประสงค์เพื่อดำรงความเป็นอุบลราชธานีศรีวนาไล ประเทศราชอันเป็นบ้านเกิดของข้าพเจ้า และป็นแหล่งข้อมูลของคนรุ่นหลัง
และต้องขอขอบพระคุณข้อมูลต่างๆจากผู้รู้ที่ได้เรียบเรียงไว้ก่อนแล้วด้วยความเคารพยิ่ง
ข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/th/main.php




                             "จะสืบสานเล่าขานบุราณศิลป์   จะรักษาถิ่นที่รักหลักสถาน"
                              "จะบูชาคุณผู้สร้างครูบาจารย์   จะร่วมกันกล่าวขานตำนานอุบล"

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2554, 21:09:04 โดย บ่อหัวซา » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 08:51:14 »

อักษรที่มีในจารึก   ธรรมอีสาน

ศักราช   พุทธศักราช ๒๓๕๐

ภาษา   ไทย

ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒๔ บรรทัด

วัตถุจารึก   ศิลา

ลักษณะวัตถุ   รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ   กว้าง ๖๐ ซม. สูง ๕๙ ซม. หนา ๑๙ ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "อบ. ๑๑"
                     ๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๖ (มกราคม ๒๕๐๖) กำหนดเป็น "ศิลาจารึกพระเจ้าอินแปง อบ./๑๔"
                     ๓) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น "จารึกพระเจ้าอินแปง"
                     ๔) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว กำหนดเป็น "จารึกวัดป่าใหญ่ ๒"

พบเมื่อ   วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐
สถานที่พบ   วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ   เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่   วิหารพระเจ้าอินแปง วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พิมพ์เผยแพร่   ๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๖ (มกราคม ๒๕๒๔) : ๕๖ - ๖๔.
               ๒) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๒๕๓ - ๒๕๗.
               ๓) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๓๗๒ - ๓๗๖.

ประวัติ   จารึกพระเจ้าอินแปงนี้ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่วิหารพระเจ้าอินแปง วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ขณะสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐
เนื้อหาโดยสังเขป   ข้อความจารึกกล่าวถึงนามเจ้าเมืองอุบลสองพระนาม คือ พระปทุม และพระพรหมวรราชสุริยวงศ์และนามพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา ว่าได้สร้างวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์สัสดี (วัดป่าใหญ่) และสร้างพระพุทธรูปอินแปง พร้อมทั้งได้อุทิศทาสโอกาสและที่นาจังหันแก่พระพุทธรูปด้วย

ผู้สร้าง   พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา

การกำหนดอายุ   ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๖ ระบุ จ.ศ. ๑๑๖๙ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๐ อันเป็นสมัยที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พรหม) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อราชอาณาจักรไทย ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)

ข้อมูลอ้างอิง   เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก :
          ๑) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, "ศิลาจารึกพระเจ้าอินแปง อบ./๑๔," ศิลปากร ๒๔, ๖ (มกราคม ๒๕๒๔) : ๕๖ - ๖๔.
          ๒) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, "จารึกพระเจ้าอินแปง," ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๒๕๓ - ๒๕๗.
          ๓) ธวัช ปุณโณทก, "จารึกวัดป่าใหญ่ ๒," ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๓๗๒ - ๓๗๖.
          ๔) เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒), ๙๑ - ๑๒๘.
          ๕) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓), ๒๖๑ - ๒๘๗.

ภาพประกอบ   ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙)


* จารึกพระอินแปง.jpg (362.35 KB, 700x944 - ดู 3697 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 08:54:14 »

อักษรที่มีในจารึก   ธรรมอีสาน

ศักราช   พุทธศักราช ๒๓๕๐

ภาษา   ไทย

ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๐ บรรทัด

วัตถุจารึก   หินทราย

ลักษณะวัตถุ   รูปใบเสมาทรงใบพาย

ขนาดวัตถุ   กว้าง ๔๒ ซม. สูง ๔๕ ซม. หนา ๑๐ ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "อบ. ๑๒"
   ๒) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว กำหนดเป็น "จารึกวัดป่าใหญ่ ๓"

พบเมื่อ   ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานที่พบ   ข้างฐานพระประธาน (หลวงพ่ออินแปง) ในพระวิหารวัดป่าใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอ เมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ   ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่   ข้างฐานพระประธาน (หลวงพ่ออินแปง) ในพระวิหารวัดป่าใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอ เมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พิมพ์เผยแพร่   ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๓๗๗ - ๓๗๘.

ประวัติ   จารึกหลักนี้ได้มีการอ่านครั้งแรกโดย พระทองแดง อตฺตสนฺโต (พุทธเกตุ) และได้พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ ที่ระลึกในการทอดกฐินพระราชทาน เมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๗ อาจารย์ธวัช ปุณโณทก ได้นำมารวมพิมพ์ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว โดยถือเป็นการอ่านครั้งที่ ๒ ทั้งนี้ เนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ต่างไปจากการอ่านครั้งแรก

เนื้อหาโดยสังเขป   ข้อความจารึกกล่าวถึงนามของ พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสสัสดี (วัดป่าใหญ่) ว่าได้สร้างพระพุทธรูปอินแปง ไว้กับวัดนี้
ผู้สร้าง   พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสสัสดี (วัดป่าใหญ่)

การกำหนดอายุ   ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๑ ระบุ จ.ศ. ๑๑๖๙ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๐ อันเป็นสมัยที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พรหม) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อราชอาณาจักรไทย ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)

ข้อมูลอ้างอิง   เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก :
   ๑) ธวัช ปุณโณทก, "จารึกวัดป่าใหญ่ ๓," ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๓๗๗ - ๓๗๘.
   ๒) เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒), ๙๑ - ๑๒๘.
   ๓) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓), ๒๖๑ - ๒๘๗.
ภาพประกอบ   ภาพสำเนาจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐)


* จารึกวัดป่าใหญ่.jpg (301.94 KB, 700x737 - ดู 4218 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 08:58:25 »

อักษรที่มีในจารึก   ธรรมอีสาน

ศักราช   พุทธศักราช ๒๓๕๓

ภาษา   ไทย

ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๓๔ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๒๐ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๑๔ บรรทัด

วัตถุจารึก   ไม้ ประเภทสักทอง

ลักษณะวัตถุ   รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ   กว้าง ๕๕ ซม. สูง ๑๔๓ ซม. หนา ๙ ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "อบ. ๑๓"
   ๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๓ (กันยายน ๒๕๑๖) กำหนดเป็น "จารึกบนไม้สัก อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย"
   ๓) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ และ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว กำหนดเป็น "จารึกวัดใต้เทิง ๑"

พบเมื่อ   พุทธศักราช ๒๕๑๑
สถานที่พบ   วัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ   พระศรีจันทราคุณ เจ้าอาวาสวัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ปัจจุบันอยู่ที่   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่   ๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๓ (กันยายน ๒๕๑๔) : ๘๔ - ๙๑.
   ๒) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๒๖๓ - ๒๖๙.
   ๓) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๓๙๙ - ๔๐๔.

ประวัติ   จารึกวัดใต้เทิง ๑ นี้ พระศรีจันทราคุณ เจ้าอาวาสวัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบให้กรมศิลปากรในคราวที่นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น เดินทางไปตรวจราชการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑

เนื้อหาโดยสังเขป   ข้อความจารึกกล่าวถึงอัครวรราชครูปุสสีตธรรมวงศา พร้อมด้วยลูกศิษย์และญาติโยม, พระพรหมวรราชวงศาภูมินทร์ เจ้าเมืองอุบลฯ และบรรดาเสนาอมาตย์ มีศรัทธาสร้างวิหารและพระพุทธรูปไว้กับศาสนา

ผู้สร้าง   อัครวรราชครูปุสสีตธรรมวงศา

การกำหนดอายุ   ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๑ ระบุ จ.ศ. ๑๑๙๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ อันเป็นสมัยที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พรหม) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อราชอาณาจักรไทย ตรงกับสมัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)

ข้อมูลอ้างอิง   เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก :
   ๑) ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม, "คำอ่านจารึกบนไม้สัก อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย," ศิลปากร ๑๕, ๓ (กันยายน ๒๕๑๔) : ๘๔ - ๙๑.
   ๒) ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม, "จารึกวัดใต้เทิง ๑," ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๒๖๓ - ๒๖๙.
   ๓) ธวัช ปุณโณทก, "จารึกวัดใต้เทิง ๑," ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๓๙๙ - ๔๐๔.
   ๔) เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒), ๙๑ - ๑๒๘.
   ๕) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓), ๓๐๙ - ๓๓๐.

ภาพประกอบ   ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙)


* จารึกวัดใต้เทิง.jpg (584.17 KB, 700x1553 - ดู 3091 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2554, 09:00:37 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 09:02:55 »

อักษรที่มีในจารึก   ขอมโบราณ

ศักราช   พุทธศักราช ๑๕๓๖

ภาษา   สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๔ ด้าน มี ๑๔๔ บรรทัด ด้านที่ ๑ และ ๒ มี ๓๙ บรรทัด ด้านที่ ๓ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๔ มี ๓๑ บรรทัด

วัตถุจารึก   ศิลา

ลักษณะวัตถุ   รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ   กว้าง ๓๔ ซม. สูง ๗๔ ซม. หนา ๙.๕ ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น ?อบ. ๑๐? เลขที่เดิมใช้ ?ฐ.จ. ๑๘?
   ๒) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ กำหนดเป็น ?จารึกอุบมุง?
   ๓) ในหนังสือ Nouvelles Inscriptions du Cambodge II กำหนดเป็น ?Inscription de Vat Pa Saen (Ubon) (K. ๑๐๘๕)?

พบเมื่อ   ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานที่พบ   บ้านอุบมุง ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอวารินชำราบ) จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ   ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่   หอพระสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่   ๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๕ (มกราคม ๒๕๑๙) : ๑๑๖ - ๑๒๒.
   ๒) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๓๐ - ๑๔๓.
   ๓) Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : ?cole Fran?aise d?Extr?me - Orient, ๑๙๙๖), ๑๑๙ - ๑๒๔.

ประวัติ   ศิลาจารึกหลักนี้เมื่อนำลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ใช้ชื่อเรื่องว่า ?คำอ่านจารึก ฐ.จ. ที่ ๑๘? และเนื่องจากศิลาจารึกนี้ชำรุด เส้นอักษรลบเลือนเป็นบางตอน การอ่าน - แปลในครั้งแรกจึงมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้มีการอ่าน - แปลและตีความในจารึกใหม่ ทำให้ได้ความละเอียดชัดเจนขึ้น พร้อมทั้งจัดลำดับด้านของจารึกเสียใหม่ให้เรียงตามเนื้อเรื่อง และกำหนดใช้ชื่อจารึกตามชื่อสถานที่ซึ่งพบหลักจารึกนั้นว่า ?จารึกอุบมุง?

เนื้อหาโดยสังเขป   จารึกเริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม และพระอุมา จากนั้นก็กล่าวถึงพระราชดำรัสของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ (มหาศักราช ๙๖๘ - ๑๐๐๑) ให้ถวายอาศรมและที่ดินแก่พระผู้เป็นเจ้า และให้ร่วมกันปฏิบัติดูแลพระผู้เป็นเจ้า (เทวรูป) และหากผู้ใดไม่ทำตามก็แช่งให้ตกนรก จากนั้นก็เป็นรายนามทาส และจำนวนสิ่งของที่ถวาย

ผู้สร้าง   ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ   จารึกด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๕ บอกมหาศักราช ๙๑๕ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๕๓๖

ข้อมูลอ้างอิง   เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๗, จาก :
   ๑) อำไพ คำโท, ?คำอ่านจารึกที่ ฐ.จ. ที่ ๑๘ อักษรขอม ภาษาสันสกฤต และภาษาขอมโบราณ,? ศิลปากร ๑๙, ๕ (มกราคม ๒๕๑๙) : ๑๑๖ - ๑๒๒.
   ๒) อำไพ คำโท, ?จารึกอุบมุง,? ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ? ๑๖ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๓๐ - ๑๔๓.
   ๓) Saveros Pou, ?Iscription de Vat Pa Saen (Ubon) (K. ๑๐๘๕),? in Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : ?cole Fran?aise d?Extr?me - Orient, ๑๙๔๑), ๑๑๙ - ๑๒๔.

ภาพประกอบ   ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๕ (เลขทะเบียน CD; INS-TH-16, ไฟล์; OB_011f1, OB_011f2, OB_011f3 และ OB_011f4)


* จารึกอูบมุง.jpg (285.02 KB, 700x1342 - ดู 3261 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 09:07:35 »

อักษรที่มีในจารึก   ปัลลวะ

ศักราช   พุทธศตวรรษ ๑๒

ภาษา   สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด

วัตถุจารึก   หินทราย

ลักษณะวัตถุ   รูปเสมา

ขนาดวัตถุ   กว้าง ๓๘.๘๐ ซม. สูง ๑๔๗ ซม. หนา ๓๗.๗ ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น ?อบ. ๒๘?
   ๒) ในหนังสือ โบราณคดีเขื่อนปากมูล กำหนดเป็น ?ศิลาจารึกปากโดมน้อย?

พบเมื่อ   วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
สถานที่พบ   ริมฝั่งแม่น้ำมูล ปากลำโดมน้อย ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ   เจ้าหน้าที่โบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่   ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่   โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๕), ๖๒ - ๖๙.
ประวัติ   ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน ๗ หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย
   ๑. จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) จังหวัดขอนแก่น (สร้างพระศิวะลึงค์)
   ๒. จารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
   ๓. จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
   ๔. จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
   ๕. จารึกปากโดมน้อย (อบ. ๒๘) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
   ๖. จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระโค)
   ๗. จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) จังหวัดสุรินทร์ (สร้างพระโค) (จารึกหลักนี้ สาบสูญไปแล้ว)

อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาเกี่ยวกับจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันที่จารึกข้อความเดียวกันนี้ ได้มีการศึกษากันมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ (ค.ศ. ๑๙๐๓) โดยพบว่าในประเทศลาวมีจารึกภูละคอน (Phou Lokhon) ซึ่งนายโอกุสต์ บาร์ต (Auguste Barth) ได้ทำการอ่านและแปล ตีพิมพ์ลงใน Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient, tome III : ๑๙๐๓ (พ.ศ. ๒๔๔๖) เรื่อง Inscription Sanscrite du Phou Lokhon (Loas) ต่อมา ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับจารึกที่พบในจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้พบว่าที่จังหวัดอุบลราชธานีนี้ มีจารึกที่มีข้อความเหมือนกันกับจารึกภูละคอนจำนวน ๓ หลัก คือ จารึกขันเทวดา ๒ หลัก (จารึกขันเทวดานี้มี ๒ หลัก ต่อมา หอสมุดแห่งชาติ ตั้งชื่อใหม่ให้ว่า ?จารึกปากมูล ๑ (อบ. ๑)? และ ?จารึกปากมูล ๒ (อบ. ๒)?) และ จารึกถ้ำปราสาท (บางครั้งเรียกกันว่า จารึกภูหมาไน (อบ. ๔) แต่เนื่องจากที่ภูหมาไนมีจารึกอีกหลักหนึ่ง มีข้อความเช่นเดียวกัน ทำให้มีการตั้งชื่อเรียกใหม่ คือ จากเดิมชื่อจารึกถ้ำปราสาท หรือ จารึกภูหมาไน (อบ. ๔) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ?จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) ส่วนจารึกอีกหลักที่ภูหมาไนก็ได้เรียกว่า ?จารึกภูหมาไน (อบ. ๙)? แทน)
ต่อมา เอริก ไซเด็นฟาเด็น (Erik Seidenfaden) ได้เขียนรายงานการสำรวจโบราณคดีใน ๔ จังหวัดในแถบอีสานใต้ของประเทศไทย โดยในส่วนที่เกี่ยวกับศิลาจารึกที่สำรวจพบนั้น ได้รับความช่วยเหลือจาก ศ. ยอร์ช เซเดส์ ทำการอ่านและแปล ซึ่งได้แก่ จารึกขันเทวดา และ จารึกถ้ำปราสาท โดยความช่วยเหลือแล้วนำไปตีพิมพ์ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII, ๑๙๒๒ (พ.ศ. ๒๔๖๕) ในบทความชื่อว่า Compl?ment a l?inventaire descriptif des monuments du Cambodge pour les quatre provinces du Siam Oriental. อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ชะเอม แก้วคล้าย กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เขียนบทความเรื่อง ศิลาจารึกวัดสุปัฏนาราม ศิลาจารึกปากน้ำมูล ลงในวารสารศิลปากร ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔ หน้า ๔๗ ได้อ่านและแปลจารึกของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมันจำนวน ๓ หลักขึ้นใหม่อีกครั้ง คือ
๑. จารึกปากน้ำมูล (อบ. ๑) (เดิมเรียกกันว่า จารึกขันเทวดา ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII, ๑๙๒๒. ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?จารึกปากน้ำมูล ๑?)
๒. จารึกปากน้ำมูล (อบ. ๒) (เดิมเรียกกันว่า จารึกขันเทวดา ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII, ๑๙๒๒. ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?จารึกปากน้ำมูล ๒?)
๓. จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) (เดิมเรียกกันว่า จารึกถ้ำปราสาท หรือ จารึกภูหมาไน ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII, ๑๙๒๒.

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ กองหอสมุดแห่งชาติได้ตีพิมพ์หนังสือชุด จารึกในประเทศไทย จำนวน ๕ เล่ม โดยในเล่มที่ ๑ ได้มีการรวบรวมจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน (ศรีจิตรเสน) ที่พบในประเทศไทยทั้งของที่พบแต่เดิมและที่เพิ่งสำรวจพบใหม่ รวมจำนวนได้ ๔ หลัก ได้แก่
(๑) จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) (สำรวจพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗) (๒) จารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑)
(๓) จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) และ (๔) จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (อบ. ๔)
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ชะเอม แก้วคล้าย กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เขียนบทความเรื่อง ?ศิลาจารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓? ตีพิมพ์ใน วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๕ (พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๓๐) หน้า ๗๙ - ๘๔ โดยได้นำเสนอเปรียบเทียบคำอ่านและแปลของกลุ่มจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันจำนวน ๓ หลัก คือ
(๑) จารึกภูหมาไน (อบ. ๙) (๒) จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) และ (๓) จารึกถ้ำเป็ดทอง (บร. ๔) (จารึกหลักนี้ ข้อความต่างออกไป แต่ก็ยังคงกล่าวสรรเสริญพระเจ้ามเหนทรวรมัน)

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๕ ชะเอม แก้วคล้าย ได้เขียนบทความเรื่อง ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกปากโดมน้อย? และ ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกถ้ำภูหมาไน (ถ้ำปราสาท)? ลงในหนังสือ ?โบราณคดีเขื่อนปากมูล? ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวนี้ ได้กล่าวถึงภาพรวมของกลุ่มจารึก ศรีมเหนทรวมันนี้ด้วย

เนื้อหาโดยสังเขป   ข้อความในจารึกกล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงได้ชัยชนะเหนือกัมพูประเทศ และได้เฉลิมพระนามว่า ?ศรีมเหนทรวรมัน? อีกทั้งโปรดให้สร้างรูปเคารพต่างๆ ในลัทธิไศวนิกายไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ซึ่งในจารึกปากน้ำมูล ๑ นี้ เป็นการสร้างพระศิวลึงค์ ดังนั้น จากจารึกทั้ง ๗ หลักนี้ จึงเป็นหลักฐานอย่างดีว่า อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูลในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ นั้น มีผู้นำของอาณาจักรนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย
?จิตรเสน? เป็นพระนามของเจ้าชายผู้ทรงเป็นพระญาติกับพระเจ้าภววรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๑๔๑ - ๑๑๕๐) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนได้ครองราชสมบัติ ฉลองพระนามเป็น พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ - ๑๑๕๙) พระเจ้ามเหนทรวรมันทรงสถาปนาจารึกไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตแดนของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น มีพบที่ จังหวัดบุรีรัมย์ คือ กลุ่มจารึกถ้ำเป็ดทอง ที่จังหวัดขอนแก่นพบจารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) และที่จังหวัดอุบลราชธานี พบจารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) (K. ๔๙๖) จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) (K. ๔๙๗) จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (อบ. ๔) (K. ๕๐๘) และ จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙))

ผู้สร้าง   ศรีมเหนทรวรมัน

การกำหนดอายุ   กำหนดอายุตามรูปแบบของตัวอักษรปัลลวะ ได้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นอกจากนี้ เนื้อความยังกล่าวถึงรัชสมัยของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน ซึ่งครองราชย์อยู่ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ - ๑๑๕๙ ดังนั้น จึงอาจกำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ก็ได้เช่นกัน

ข้อมูลอ้างอิง   เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๗, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกปากโดมน้อย,? ใน โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๕), ๖๒ - ๖๙.

ภาพประกอบ   ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๕ (เลขทะเบียน CD; INS-TH-08, ไฟล์; OB_00


* จารึกปากโดมน้อย.jpg (671.26 KB, 700x1202 - ดู 3071 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 09:11:02 »

อักษรที่มีในจารึก   ปัลลวะ

ศักราช   พุทธศตวรรษ ๑๒

ภาษา   สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด

วัตถุจารึก   ศิลา

ลักษณะวัตถุ   รูปเสมา

ขนาดวัตถุ   กว้าง ๓๕ ซม. สูง ๒๕๐ ซม. หนา ๓๖ ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น ?อบ. ๑?
   ๒) ในวารสาร Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๒) กำหนดเป็น ?Les inscriptions de Kh?n Thev?da? (K. ๔๙๖ & K. ๔๙๗)
   ๓) ในวารสาร Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXXV (๑๙๓๖) กำหนดเป็น ?Les inscriptions de Kh?n T?ev?da? (K. ๔๙๖ & K. ๔๙๗)   
   ๔) ในหนังสือ Inscriptions of Kambuja กำหนดเป็น ?Khan Thevada Inscriptions? (K. ๔๙๖ & K. ๔๙๗)
   ๕) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge เล่ม ๘ กำหนดเป็น ?Les inscriptions de Khan T?evada (Pak Mun) (K. ๔๙๖ & K. ๔๙๗)?
   ๖) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ กำหนดเป็น ?จารึกปากน้ำมูล ๑?

พบเมื่อ   ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานที่พบ   ฝั่งขวาปากน้ำมูล ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ   ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี (ข้อมูลปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ว่า ฝั่งขวาปากน้ำมูล ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม) จังหวัดอุบลราชธานี

พิมพ์เผยแพร่   ๑) Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๒) : ๕๗ - ๖๐, pl. II.
   ๒) Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๒) : ๓๘๕.
   ๓) Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXXV (๑๙๓๖) : ๓๘๓ - ๓๘๔.
   ๔) Inscriptions of Kambuja (Calcutta : The Asiatic Society, ๑๙๕๓), ๒๑ - ๒๑.
   ๕) Inscriptions du Cambodge vol. V (Hanoi : Imprimerie d'Extr?me - Orient, ๑๙๕๓), ๓ ? ๔.
   ๖) Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extr?me - Orient, ๑๙๖๖), ๑๕๘ - ๑๕๙.
   ๗) วารสารศิลปากร ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๕ (พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๒๓) : ๔๗ - ๕๓.
   ๘) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๕๘ - ๑๖๐.
   ๙) วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๕ (พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๓๐) : ๗๙ - ๘๔.
   ๑๐) โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๕), ๖๒ - ๖๙.

ประวัติ   ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน ๗ หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย
   ๑. จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) จังหวัดขอนแก่น (สร้างพระศิวะลึงค์)
   ๒. จารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
   ๓. จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
   ๔. จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
   ๕. จารึกปากโดมน้อย (อบ. ๒๘) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
   ๖. จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระโค)
   ๗. จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) จังหวัดสุรินทร์ (สร้างพระโค) (จารึกหลักนี้ สาบสูญไปแล้ว)

อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาเกี่ยวกับจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันที่จารึกข้อความเดียวกันนี้ ได้มีการศึกษากันมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ (ค.ศ. ๑๙๐๓) โดยพบว่าในประเทศลาวมีจารึกภูละคอน (Phou Lokhon) ซึ่งนายโอกุสต์ บาร์ต (Auguste Barth) ได้ทำการอ่านและแปล ตีพิมพ์ลงใน Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient, tome III : ๑๙๐๓ (พ.ศ. ๒๔๔๖) เรื่อง Inscription Sanscrite du Phou Lokhon (Loas) ต่อมา ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับจารึกที่พบในจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้พบว่าที่จังหวัดอุบลราชธานีนี้ มีจารึกที่มีข้อความเหมือนกันกับจารึกภูละคอนจำนวน ๓ หลัก คือ จารึกขันเทวดา ๒ หลัก (จารึกขันเทวดานี้มี ๒ หลัก ต่อมา หอสมุดแห่งชาติ ตั้งชื่อใหม่ให้ว่า ?จารึกปากมูล ๑ (อบ. ๑)? และ ?จารึกปากมูล ๒ (อบ. ๒)?) และ จารึกถ้ำปราสาท (บางครั้งเรียกกันว่า จารึกภูหมาไน (อบ. ๔) แต่เนื่องจากที่ภูหมาไนมีจารึกอีกหลักหนึ่ง มีข้อความเช่นเดียวกัน ทำให้มีการตั้งชื่อเรียกใหม่ คือ จากเดิมชื่อจารึกถ้ำปราสาท หรือ จารึกภูหมาไน (อบ. ๔) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ?จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) ส่วนจารึกอีกหลักที่ภูหมาไนก็ได้เรียกว่า ?จารึกภูหมาไน (อบ. ๙)? แทน)
ต่อมา เอริก ไซเด็นฟาเด็น (Erik Seidenfaden) ได้เขียนรายงานการสำรวจโบราณคดีใน ๔ จังหวัดในแถบอีสานใต้ของประเทศไทย โดยในส่วนที่เกี่ยวกับศิลาจารึกที่สำรวจพบนั้น ได้รับความช่วยเหลือจาก ศ. ยอร์ช เซเดส์ ทำการอ่านและแปล ซึ่งได้แก่ จารึกขันเทวดา และ จารึกถ้ำปราสาท โดยความช่วยเหลือแล้วนำไปตีพิมพ์ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII, ๑๙๒๒ (พ.ศ. ๒๔๖๕) ในบทความชื่อว่า Compl?ment a l?inventaire descriptif des monuments du Cambodge pour les quatre provinces du Siam Oriental. อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ชะเอม แก้วคล้าย กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เขียนบทความเรื่อง ศิลาจารึกวัดสุปัฏนาราม ศิลาจารึกปากน้ำมูล ลงในวารสารศิลปากร ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔ หน้า ๔๗ ได้อ่านและแปลจารึกของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมันจำนวน ๓ หลักขึ้นใหม่อีกครั้ง คือ
   ๑. จารึกปากน้ำมูล (อบ. ๑) (เดิมเรียกกันว่า จารึกขันเทวดา ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII, ๑๙๒๒. ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?จารึกปากน้ำมูล ๑?)
   ๒. จารึกปากน้ำมูล (อบ. ๒) (เดิมเรียกกันว่า จารึกขันเทวดา ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII, ๑๙๒๒. ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?จารึกปากน้ำมูล ๒?)
   ๓. จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) (เดิมเรียกกันว่า จารึกถ้ำปราสาท หรือ จารึกภูหมาไน ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII, ๑๙๒๒.

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ กองหอสมุดแห่งชาติได้ตีพิมพ์หนังสือชุด จารึกในประเทศไทย จำนวน ๕ เล่ม โดยในเล่มที่ ๑ ได้มีการรวบรวมจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน (ศรีจิตรเสน) ที่พบในประเทศไทยทั้งของที่พบแต่เดิมและที่เพิ่งสำรวจพบใหม่ รวมจำนวนได้ ๔ หลัก ได้แก่
   (๑) จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) (สำรวจพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗  ) (๒) จารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑)
   (๓) จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) และ   (๔) จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (อบ. ๔)
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ชะเอม แก้วคล้าย กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เขียนบทความเรื่อง ?ศิลาจารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓? ตีพิมพ์ใน วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๕ (พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๓๐) หน้า ๗๙ - ๘๔ โดยได้นำเสนอเปรียบเทียบคำอ่านและแปลของกลุ่มจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันจำนวน ๓ หลัก คือ
   (๑) จารึกภูหมาไน (อบ. ๙) (๒) จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) และ (๓) จารึกถ้ำเป็ดทอง (บร. ๔) (จารึกหลักนี้ ข้อความต่างออกไป แต่ก็ยังคงกล่าวสรรเสริญพระเจ้ามเหนทรวรมัน)

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๕ ชะเอม แก้วคล้าย ได้เขียนบทความเรื่อง ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกปากโดมน้อย? และ ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกถ้ำภูหมาไน (ถ้ำปราสาท)? ลงในหนังสือ ?โบราณคดีเขื่อนปากมูล? ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวนี้ ได้กล่าวถึงภาพรวมของกลุ่มจารึก ศรีมเหนทรวมันนี้ด้วย

เนื้อหาโดยสังเขป   ข้อความในจารึกกล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงได้ชัยชนะเหนือกัมพูประเทศ และได้เฉลิมพระนามว่า ?ศรีมเหนทรวรมัน? อีกทั้งโปรดให้สร้างรูปเคารพต่างๆ ในลัทธิไศวนิกายไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ซึ่งในจารึกปากน้ำมูล ๑ นี้ เป็นการสร้างพระศิวลึงค์ ดังนั้น จากจารึกทั้ง ๗ หลักนี้ จึงเป็นหลักฐานอย่างดีว่า อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูลในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ นั้น มีผู้นำของอาณาจักรนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย
?จิตรเสน? เป็นพระนามของเจ้าชายผู้ทรงเป็นพระญาติกับพระเจ้าภววรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๑๔๑ - ๑๑๕๐) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนได้ครองราชสมบัติ ฉลองพระนามเป็น พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ - ๑๑๕๙) พระเจ้ามเหนทรวรมันทรงสถาปนาจารึกไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตแดนของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น มีพบที่ จังหวัดบุรีรัมย์ คือ กลุ่มจารึกถ้ำเป็ดทอง ที่จังหวัดขอนแก่นพบจารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) และที่ จังหวัดอุบลราชธานี พบจารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) (K. ๔๙๖) จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) (K. ๔๙๗) จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (อบ. ๔) (K. ๕๐๘) และ จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙)

ผู้สร้าง   ศรีมเหนทรวรมัน

การกำหนดอายุ   กำหนดอายุตามรูปแบบของตัวอักษรปัลลวะ ได้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นอกจากนี้ เนื้อความยังกล่าวถึงรัชสมัยของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน ซึ่งครองราชย์อยู่ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ - ๑๑๕๙ ดังนั้น จึงอาจกำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ก็ได้เช่นกัน
ข้อมูลอ้างอิง   เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๗, จาก :
   ๑) Auguste Barth, ?Inscription Sanscrite du Phou Lokhon (Loas),? Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient III (๑๙๐๓) : ๔๔๒ - ๔๔๖.
   ๒) Erik Seidenfaden, ?Compl?ment a l?inventaire descriptif des monuments du Cambodge pour les quatre provinces du Siam Oriental,? Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๓) : ๕๘.
   ๓) ?Chronique : Siam,? Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๓) : ๓๘๕.
   ๔) Ramesh Chandra Marjumdar, ?No. ๑๕ Phu Lokhon Inscription of Citrasena,? in Inscriptions of Kambuja (Calcutta : The Asiatic Society, ๑๙๕๓), ๒๐ - ๒๑.
   ๕) George C?d?s, ?Liste g?n?rale des inscriptions du Cambodge : K. ๓๖๓ (??n N?k??n ou Phou Lokhon),? in Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extr?me - Orient, ๑๙๖๖), ๑๓๘ - ๑๓๙.
   ๖) George C?d?s, ?Liste g?n?rale des inscriptions du Cambodge: K. ๔๙๖ (Pak Mun ou Khan T?evada),? in Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extr?me - Orient, ๑๙๖๖), ๑๕๘ - ๑๕๙.
   ๗) George C?d?s, ?Liste g?n?rale des inscriptions du Cambodge : K. ๔๙๗ (Pak Mun ou Khan T?evada),? in Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extr?me - Orient, ๑๙๖๖), ๑๕๘ - ๑๕๙.
   ๘) ชะเอม แก้วคล้าย, ?ศิลาจารึกวัดสุปัฏนาราม,? ศิลปากร ๒๔, ๕ (พฤศจิกายน ? ธันวาคม ๒๕๒๓), ๔๗ ? ๕๓.
   ๙) ชะเอม แก้วคล้าย, ?จารึกปากน้ำมูล ๑,? ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ? ๑๔ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๕๘ ? ๑๖๐.
   ๑๐) ชะเอม แก้วคล้าย, ?ศิลาจารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน,? ศิลปากร ๓๑, ๕ (พฤศจิกายน ? ธันวาคม ๒๕๓๐) : ๗๙ ? ๘๔.
   ๑๑) ชะเอม แก้วคล้าย, ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกปากโดมน้อย,? ใน โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๕), ๖๒ - ๖๙.

ภาพประกอบ   ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๕ (เลขทะเบียน CD; INS-TH-08, ไฟล์; OB_001)


* จารึกปากน้ำมูล.jpg (404.98 KB, 700x796 - ดู 3390 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 09:13:56 »

อักษรที่มีในจารึก   ปัลลวะ

ศักราช   พุทธศตวรรษ ๑๒

ภาษา   สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๓ บรรทัด

วัตถุจารึก   ศิลา

ลักษณะวัตถุ   ฐานรูปเคารพ

ขนาดวัตถุ   กว้าง ๕๕ ซม. สูง ๑๐๑ ซม. หนา ๑๑ ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น ?อบ. ๙?
   ๒) ในวารสาร Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me ? Orient ฉบับที่ ๒๒ กำหนดเป็น ?Les inscriptions de Th?m Prasat (Phu Ma N?i)? และ ?L?inscription de Th?m Prasat ou Th?m Phu M? N?i?
   ๓) ในวารสาร Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me ? Orient ฉบับที่ ๓๔ กำหนดเป็น ?L?inscription de Th?m Prasat?
   ๔) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge เล่ม ๘ กำหนดเป็น ?Les inscription de Th?m Prasat ou Ph?u Ma N?i (K. ๕๐๘ & K. ๕๐๙)?
   ๕) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๕ กำหนดเป็น ?จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙)?
   ๖) ในหนังสือ โบราณคดีเขื่อนปากมูล กำหนดเป็น ?จารึกถ้ำภูหมาไน (ถ้ำปราสาท)?

พบเมื่อ   ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานที่พบ   ถ้ำปราสาท (หรือ ถ้ำภูหมาไน) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ   ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่   ถ้ำปราสาท (หรือ ถ้ำภูหมาไน) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

พิมพ์เผยแพร่   ๑) Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๒) : ๕๗ ? ๖๐, pl. II.
   ๒) Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๒) : ๓๘๕.
   ๓) Inscriptions du Cambodge vol. V (Hanoi : Imprimerie d'extr?me - orient, ๑๙๕๓), ๓ ? ๔.
   ๔) Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extr?me - Orient, ๑๙๖๖), ๑๖๐ ? ๑๖๑.
   ๕) วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๕ (พฤศจิกายน ? ธันวาคม ๒๕๓๐) : ๗๙ - ๘๔.
   ๖) โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๕), ๗๕ - ๗

ประวัติ   จารึกถ้ำภูหมาไน เป็นจารึกบนฐานรูปเคารพ พบที่ถ้ำปราสาท หรือ อีกชื่อคือถ้ำภูหมาไน นอกจากนั้นถ้ำแห่งนี้ยังพบจารึกทรงใบเสมาอีกชิ้นหนึ่ง ดังนั้น ในระยะแรกจึงเรียกจารึกทั้ง ๒ หลักนี้รวมกันไปว่า ?จารึกถ้ำปราสาท? หรือ ?จารึกถ้ำภูหมาไน? ต่อมาทางสำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศ (EFEO) ได้กำหนดรหัสจารึกให้กับจารึกทรงใบเสมาเป็น ?K. ๕๐๘? และ จารึกที่ฐานรูปเคารพเป็น ?K. ๕๐๙? ต่อมาหอสมุดแห่งชาติจึงเรียกจารึก ?K. ๕๐๘? ว่า จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (อบ. ๔) และเรียกจารึก ?K. ๕๐๙? ว่า จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙)

ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน ๗ หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย
  ๑. จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) จังหวัดขอนแก่น (สร้างพระศิวลึงค์)
  ๒. จารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
  ๓. จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
  ๔. จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
  ๕. จารึกปากโดมน้อย (อบ. ๒๘) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
  ๖. จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระโค)
  ๗. จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) จังหวัดสุรินทร์ (สร้างพระโค) (จารึกหลักนี้ สาบสูญไปแล้ว)

อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาเกี่ยวกับจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันที่จารึกข้อความเดียวกันนี้ ได้มีการศึกษากันมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ (ค.ศ. ๑๙๐๓) โดยพบว่าในประเทศลาวมีจารึกภูละคอน (Phou Lokhon) ซึ่งนายโอกุสต์ บาร์ต (Auguste Barth) ได้ทำการอ่านและแปล ตีพิมพ์ลงใน Bulletin de l??cole Fran?aise d?Extr?me - Orient, tome III, ๑๙๐๓ (พ.ศ. ๒๔๔๖) เรื่อง Inscription Sanscrite du Phou Lokhon (Loas) ต่อมา ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับจารึกที่พบในจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้พบว่าที่จังหวัดอุบลราชธานีนี้ มีจารึกที่มีข้อความเหมือนกันกับจารึกภูละคอนจำนวน ๓ หลัก คือ จารึกขันเทวดา ๒ หลัก (จารึกขันเทวดานี้มี ๒ หลัก ต่อมา หอสมุดแห่งชาติ ตั้งชื่อใหม่ให้ว่า ?จารึกปากมูล ๑ (อบ. ๑)? และ ?จารึกปากมูล ๒ (อบ. ๒)?) และ จารึกถ้ำปราสาท (บางครั้งเรียกกันว่า จารึกภูหมาไน (อบ. ๔) แต่เนื่องจากที่ภูหมาไนมีจารึกอีกหลักหนึ่ง มีข้อความเช่นเดียวกัน ทำให้มีการตั้งชื่อเรียกใหม่ คือ จากเดิมชื่อจารึกถ้ำปราสาท หรือ จารึกภูหมาไน (อบ. ๔) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ?จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔)? ส่วนจารึกอีกหลักที่ภูหมาไนก็ได้เรียกว่า ?จารึกภูหมาไน (อบ. ๙)? แทน)

ต่อมา เอริก ไซเด็นฟาเด็น (Erik Seidenfaden) ได้เขียนรายงานการสำรวจโบราณคดีใน ๔ จังหวัดในแถบอีสานใต้ของประเทศไทย โดยในส่วนที่เกี่ยวกับศิลาจารึกที่สำรวจพบนั้น ได้รับความช่วยเหลือจาก ศ. ยอร์ช เซเดส์ ทำการอ่านและแปล ซึ่งได้แก่ จารึกขันเทวดา และ จารึกถ้ำปราสาท โดยความช่วยเหลือแล้วนำไปตีพิมพ์ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d?Extr?me-Orient, tome XXII, ๑๙๒๒ (พ.ศ. ๒๔๖๕) ในบทความชื่อว่า Compl?ment a l?inventaire descriptif des monuments du Cambodge pour les quatre provinces du Siam Oriental. อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ชะเอม แก้วคล้าย กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เขียนบทความเรื่อง ศิลาจารึกวัดสุปัฏนาราม ศิลาจารึกปากน้ำมูล ลงในวารสารศิลปากร ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔ หน้า ๔๗ ได้อ่านและแปลจารึกของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมันจำนวน ๓ หลักขึ้นใหม่อีกครั้ง คือ
  ๑. จารึกปากน้ำมูล (อบ. ๑) (เดิมเรียกกันว่า จารึกขันเทวดา ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d?Extr?me - Orient, tome XXII, ๑๙๒๒ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?จารึกปากน้ำมูล ๑?)
  ๒. จารึกปากน้ำมูล (อบ. ๒) (เดิมเรียกกันว่า จารึกขันเทวดา ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d?Extr?me - Orient, tome XXII, ๑๙๒๒ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?จารึกปากน้ำมูล ๒?)
  ๓. จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) (เดิมเรียกกันว่า จารึกถ้ำปราสาท หรือ จารึกภูหมาไน ถูกกล่าวถึงและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ใน Bulletin de l??cole Fran?aise d?Extr?me - Orient, tome XXII, ๑๙๒๒)

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ กองหอสมุดแห่งชาติได้ตีพิมพ์หนังสือชุด จารึกในประเทศไทย จำนวน ๕ เล่ม โดยในเล่มที่ ๑ ได้มีการรวบรวมจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน (ศรีจิตรเสน) ที่พบในประเทศไทยทั้งของที่พบแต่เดิมและที่เพิ่งสำรวจพบใหม่ รวมจำนวนได้ ๔ หลัก ได้แก่ (๑) จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) (สำรวจพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗) (๒) จารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) (๓) จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) และ (๔) จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (อบ. ๔)
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ชะเอม แก้วคล้าย กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เขียนบทความเรื่อง ?ศิลาจารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓? ตีพิมพ์ใน วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๕ (พฤศจิกายน ? ธันวาคม ๒๕๓๐) หน้า ๗๙ - ๘๔ โดยได้นำเสนอเปรียบเทียบคำอ่านและแปลของกลุ่มจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันจำนวน ๓ หลัก คือ (๑) จารึกภูหมาไน (อบ. ๙) (๒) จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) และ (๓) จารึกถ้ำเป็ดทอง (บร. ๔) (จารึกหลักนี้ ข้อความต่างออกไป แต่ก็ยังคงกล่าวสรรเสริญพระเจ้ามเหนทรวรมัน)
ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๕ ชะเอม แก้วคล้าย ได้เขียนบทความเรื่อง ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกปากโดมน้อย? และ ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกถ้ำภูหมาไน (ถ้ำปราสาท)? ลงในหนังสือ ?โบราณคดีเขื่อนปากมูล? ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวนี้ ได้กล่าวถึงภาพรวมของกลุ่มจารึก ศรีมเหนทรวมันนี้ด้วย

เนื้อหาโดยสังเขป   ข้อความในจารึกกล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงได้ชัยชนะเหนือกัมพูประเทศ และได้เฉลิมพระนามว่า ?ศรีมเหนทรวรมัน? อีกทั้งโปรดให้สร้างรูปเคารพต่างๆ ในลัทธิไศวนิกายไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ซึ่งในจารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙) นี้ เป็นการสร้างพระโค ซึ่งน่าจะหมายถึง ?โคนนทิ? พาหนะของพระศิวะนั่นเอง ดังนั้น จากจารึกทั้ง ๗ หลักนี้ จึงเป็นหลักฐานอย่างดีว่า อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูลในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ นั้น มีผู้นำของอาณาจักรนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย
?จิตรเสน? เป็นพระนามของเจ้าชายผู้ทรงเป็นพระญาติกับพระเจ้าภววรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๑๔๑ - ๑๑๕๐) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนได้ครองราชสมบัติ ฉลองพระนามเป็น พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ - ๑๑๕๙)

ผู้สร้าง   ศรีมเหนทรวรมัน

การกำหนดอายุ   กำหนดอายุตามรูปแบบของตัวอักษรปัลลวะ ได้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นอกจากนี้ เนื้อความยังกล่าวถึงรัชสมัยของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน ซึ่งครองราชย์อยู่ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ - ๑๑๕๙ ดังนั้น จึงอาจกำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ก็ได้เช่นกัน

ข้อมูลอ้างอิง   เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๗, จาก :
๑) Auguste Barth, ?Inscription Sanscrite du Phou Lokhon (Loas)," Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient III (๑๙๐๓) : ๔๔๒ ? ๔๔๖.
๒) Erik Seidenfaden, ?Compl?ment a l?inventaire descriptif des monuments du Cambodge pour les quatre provinces du Siam Oriental," Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๒) : ๕๘.
๓) ?Chronique : Siam," Bulletin de l??cole Fran?aise d??xtr?me - Orient XXII (๑๙๒๒) : ๓๘๕.
๔) Ramesh Chandra Marjumdar, ?No. ๑๕ Phu Lokhon Inscription of Citrasena," in Inscriptions of Kambuja, 1st ed. (Calcutta : The Asiatic Society, ๑๙๕๓) , ๒๐ ? ๒๑.
๕) George C?d?s, ?Liste g?n?rale des inscriptions du Cambodge : K. ๓๖๓ (??n N?k??n ou Phou Lokhon),? in Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extr?me - Orient, ๑๙๖๖), ๑๓๘ - ๑๓๙.
๖) George C?d?s, ?Liste g?n?rale des inscriptions du Cambodge : K. ๕๐๘ (Th?m Prasat ou Ph?u Ma N?i),? in Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extr?me - Orient, ๑๙๖๖), ๑๖๐ ? ๑๖๑.
๗) ชะเอม แก้วคล้าย, ?ศิลาจารึกวัดสุปัฏนาราม," ศิลปากร ๒๔, ๕ (พฤศจิกายน ? ธันวาคม ๒๕๒๓) : ๔๗ ? ๕๓.
๘) ชะเอม แก้วคล้าย, ?จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑," ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ? ๑๔ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๖๕ ? ๑๖๗.
๙) ชะเอม แก้วคล้าย, ?ศิลาจารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน," ศิลปากร ๓๑, ๕ (พฤศจิกายน ? ธันวาคม ๒๕๓๐) : ๗๙ ? ๘๔.
๑๐) ชะเอม แก้วคล้าย, ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกปากโดมน้อย," ใน โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๕), ๖๒ - ๖๙.
๑๑) ชะเอม แก้วคล้าย, ?รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ศิลาจารึกถ้ำภูหมาไน (ถ้ำปราสาท),? ใน โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๕), ๗๕ - ๗๗.

ภาพประกอบ   ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๕ (เลขทะเบียน CD; INS-TH-08, ไฟล์; OB_002)


* จารึกภูหมาใน.jpg (106.77 KB, 700x224 - ดู 2980 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2554, 09:16:27 »

อักษรที่มีในจารึก   ธรรมอีสาน

ศักราช   พุทธศักราช ๒๓๘๘

ภาษา   ไทย, บาลี

ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด

วัตถุจารึก   หิน

ลักษณะวัตถุ   ฐานพระพุทธรูป

ขนาดวัตถุ   หน้าตักกว้าง ๖ นิ้ว

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว กำหนดเป็น "จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระธาตุดอนตาล ๓"

พบเมื่อ   ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานที่พบ   ในพระอุโบสถวัดพระธาตุสวนตาล (ข้อมูลเดิมว่า วัดพระธาตุดอนตาล) บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ   ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่   ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่   ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๒๖ - ๔๒๗.
ประวัติ   ข้อมูลเดิมว่าจารึกนี้อยู่ที่วัดนี้มาแต่เดิม คือ วัดพระธาตุดอนตาล (วัดพระธาตุสวนตาล) บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี แต่ครั้งเมื่อคณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ ได้เดินทางไปสำรวจและถ่ายภาพจารึกที่ วัดพระธาตุสวนตาล ในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ สำรวจไม่พบจารึกหลักนี้ที่วัดดังกล่าว อีกทั้ง พระครูเกษมบุญญาภิราม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุสวนตาล อายุ ๕๗ ปี ได้ยืนยันกับคณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ ว่า ที่วัดนี้มีจารึกที่ฐานพระพุทธรูปเพียงหลักเดียวคือ ?จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระธาตุดอนตาล ๑ (จารึกฐานพระพุทธพระมหาธัมมเทโวเจ้า)? ส่วนจารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระธาตุดอนตาล ๒ และ ๓ นั้น ไม่ทราบว่าปัจจุบันนี้อยู่ที่ใด

เนื้อหาโดยสังเขป   พ่อออกราชามาศพร้อมด้วยลูกหลาน ญาติพี่น้อง ได้มีศรัทธาสร้างพระพุทธรูปองค์นี้

ผู้สร้าง   พ่อออกราชามาศ พร้อมด้วยบุตร และคณาญาติ

การกำหนดอายุ   ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๑ ระบุ พ.ศ. ๒๓๘๘ อันเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)

ข้อมูลอ้างอิง   เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก :
  ๑) ธวัช ปุณโณทก, "จารึกฐานพระพุทธรุปวัดพระธาตุดอนตาล ๓," ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๒๖ - ๔๒๗.
  ๒) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓), ๓๐๙ - ๓๓๐.

ภาพประกอบ   ภาพถ่ายจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐)


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!