ย้อนรอยสายน้ำ ตามรอยอารยธรรมลุ่มน้ำมูล ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 15:42:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนรอยสายน้ำ ตามรอยอารยธรรมลุ่มน้ำมูล  (อ่าน 35723 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:54:09 »

ย้อนรอยสายน้ำ ตามรอยอารยธรรมลุ่มน้ำมูล
     เพราะน้ำคือชีวิต ดังนั้น แม่น้ำจึงเปรียบดังมารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวงในภาคอีสาน ภูมิภาคที่ขึ้นชื่อว่าแห้งแล้งกันดารที่สุดในประเทศไทย ใครเลยจะคิดได้ว่า จริง ๆ แล้วที่นี่เป็นแหล่งก่อกำเนิดแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศถึง 2 สาย คือ แม่น้ำมูล และ แม่น้ำชี มีเพียงเท่านั้น แม่น้ำทั้ง 2 สาย นี้ยังไหลเข้ามาหลอมรวมกันเป็นแม่น้ำมูล ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี แล้วไหล่ไปตกยังลำน้ำโขง ก่อกำเนิดเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีแม่น้ำสาขาอื่น ๆ ไหลจากขุนเขาสำคัญ ๆ รอบด้าน เข้ามาหลอมรวมกันจำนวนมากมายและที่ราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่นี้ก็คือลุ่มน้ำมูล หรือถ้าหากจะพิจารณาถึงสายน้ำสายใหญ่ ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นลุ่มน้ำนี้ทั้งหมดแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่า นี่ก็คือ ลุ่มน้ำโขง ชี มูล หรือแอ่งโคราช ของภาคอีสานบ้านเฮานั่นเอง

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:55:06 »

ครับ เรามาคราวนี้มาเรื่องใหญ่เรื่องแม่น้ำสายยาวที่สุดในประเทศไทยทั้ง 2 สาย แม่น้ำมูลกับแม่น้ำชี แต่การทำงานของเราจะเริ่มต้นที่แม่น้ำมูล เพราะชีตกมูล หรือชี เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลนั่นเอง เริ่มต้นที่สุดปลายของแม่น้ำมูล อำเภอโขงเจียม ที่ซึ่งแม่น้ำมูลไหลไปตกแม่น้ำโขง กลายเป็นแม่น้ำสองสี ที่มาเริ่มที่นี่ก็ไม่ใช่อะไร ก็เรื่องนี้เป็นเรื่องท่องเที่ยวในนิตยสารท่องเที่ยวนี่นา จะให้หนักหนาสาหัสเป็นบทความทางวิชาการได้อย่างไร โขงเจียม ตรงริมแม่น้ำโขง บรรยากาศตอนเช้ามีดพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ท้องฟ้าทางฟากฝั่งลาวเป็นสีส้มแดงสวยงาม และยังไม่ทันเช้า ชาวเรือหาปลาก็ออกมาวางข่ายกันหนาตา และจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนบางชั่วโมงมีเรือหาปลาอยู่ตรงนี้หลายสิบลำ เพราะที่ที่สายน้ำหนึ่งไหลมาตกอีกสายน้ำหนึ่งนั้น ฝูงปลาจะชุกชุม ที่นี่จึงเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของผู้คนมาแล้วนับร้อยนับพันปี
    ครับ พื้นที่แถบนี้ได้ปรากฏขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ยุคโบราณจากหลักฐานศิลาจารึก ของกษัตริย์เจนละ ที่ค้นพบที่เมืองโขงเจียมนี้เอง นามเจ้าชายจิตรเสน ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์เจนละ ในนามมเหนทรวรมัน ศิลาจารึกนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี และพื้นที่ที่นักโบราณคดีสันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของชาวเจนละก็ คือ ที่โบราณสถานวัดภู ซึ่งอยู่ต่ำลงมาจากโขงเจียมประมาณ 50 กิโลเมตร ที่ตรงนั้นนอกจากตัวโบราณสถานซึ่งเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์แล้ว ก็ยังมีซากเมืองโบราณนามเมืองว่าเศรษฐปุระอยู่ใกล้ ๆ มีการขุดพบจารึกบอกนามเมืองชัดเจนเช่นกัน เมืองนี้จะเป็นศูนย์กลางของเจนละ หรือเป็นเมืองเก่าแก่กว่าเจนละลงไปอีก เป็นสิ่งที่นักโบราณคดีกำลังติดตามอย่างต่อเนื่อง
จะไปชมเมืองเศรษฐปุระนี้และไปดูวัดภูกันให้ละเอียดก็ต้องออกจากพรมแดนไทยไป เข้าแดนลาว และก็สามารถใช้บริการนำเที่ยวต่าง ๆ จากเมืองไทยได้ ทุกวันนี้รถทัวร์ไทยวิ่งกันให้คึกคักอยู่ในเมืองปากเซ ยิ่งเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดยาว ก็เรียกว่าทัวร์ไทยแทบจะปิดเมืองปากเซไปเลยทีเดียว
แต่ที่โขงเจียมก็ใช่จะมีรอยอารยธรรมแค่ตรงนั้น ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ภาพเขียนสีผืนใหญ่บนผนังถ้ำ ที่ตรงนั้นก็เป็นแหล่งอารยธรรมใหญ่ที่นักโบราณคดีสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ แต่ที่เราเลือกจะเชื่อก็คือความเห็นของท่านอาจารย์ศรีศักรวัลลิโภดม ที่กล่าวว่า ที่นี่คือแหล่งประกอบพิธีกรรมของคนยุคโบราณ ภาพเขียนสีมีมากมาย ฝีมือเขียนหลายระดับ การประกอบพิธีกรรมอาจต้องมีการวาดภาพ จึงมีคนมาวาดภาพกันมากมาย หลายคน หลายฝีมือ และหลายความคิด หลายประสบการณ์และเราก็เชื่อว่า พิธีกรรมนี้น่าจะมีการทำนายโชคชะตาราศีเข้ามาเกี่ยวข้อง เวลาจะทำนายดวงชะตาใคร ก็ให้วาดรูปไว้บนผนังผาเป็นสื่อ จะได้ทำนายไปตามนั้น ส่วนใครจะเชื่อแบบไหน ก็สุดแล้วแต่แล้วกันครับ นักวิชาการเขาก็ยังไม่ลงรอยกันเท่าไรเลย
     นอกจากภาพเขียนสีที่เป็นร่องรอยอารยธรรมโบราณแล้วอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ยังมีสิ่งที่ควรชมมากมาย อย่างน้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกลงรู และที่ที่ไม่ควรพลาดจริง ๆ ก็คือฤดูดอกไม้ดินบานบนผาแต้ม ที่จะเริ่มขึ้นในราวปลายเดือนพฤศจิกายน เมื่อถึงเวลานั้นพื้นดินก็จะชุ่มชื่น บนเขามีทะเลหมอกลานหินบนผาแต้มก็จะงดงามด้วยเหล่าดอกไม้ดินสีเหลืองสดสว่างไสว งดงามดังสวนสวรรค์เลยทีเดียว
     นอกจากแหล่งท่องเที่ยวดังว่าแล้ว แหล่งท่องเที่ยวใหม่ของปีนี้ก็คือ สามพันโบก เวิ้งหินทรายที่ดูคล้ายแกรนด์แคนยอน อันเกิดขึ้นจากการกัดเซาะของลมและน้ำ ที่อยู่ถัดจากผาแต้มขึ้นไปทางอำเภอโพธิ์ชัย ห่างไปสักหลายสิบกิโลเมตร ที่นั่นก็น่าดูชม
     สายน้ำของผาแต้มก็ไม่ได้ไหลลงแม่น้ำมูล หากแต่ไหลลงแม่น้ำโขงไปง่าย ๆ หากเทือกเขาภูพานอันเป็นแนวเทือกเขาเดียวกับผาแต้มก็ได้ก่อกำเนิดลำน้ำสำคัญ 2 สาย ที่ไหลลงมารวมเป็นแม่น้ำมูลด้วย คือ ลำเซบาย และ ลำเซบก สายน้ำทั้ง 2 สาย นี้ไหลลงมาเติมน้ำให้กับแม่น้ำมูลในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี


* images.jpg (5.62 KB, 217x233 - ดู 1915 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2554, 01:59:50 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:55:33 »

 เทือกเขาพนมดงรัก หรือภูเขาไม้คาน ก็เป็นแหล่งน้ำสำคัญให้กับลำน้ำมูล สายน้ำจากพนมดงรักมีตั้งแต่ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ ลำปลายมาศ ลำจักราช ลำเชียงไกร ลำน้ำชี ไปจนถึงลำพระเพลิง และในขณะเดียวกับที่เป็นแหล่งต้นน้ำ พนมดงรักก็ได้ทำหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือเป็นแนวปราการเหล็กให้กับอาณาจักรขอมโบราณ จนอาจกล่าวได้ว่าพนมดงรักนั้น ก็ไม่ต่างอะไรจากกำแพงเมืองจีนของอาณาจักรขอมนั่นเอง
     อาณาจักรขอมโบราณ ศูนย์กลางของอาณาจักรในอดีตย่อมอยู่ที่ดินแดนเขมรต่ำ แถบเมืองพระนคร หรืออังกอร์อย่างไม่ต้องสงสัย และรายรอบเมืองพระนครออกไป ปราสาทขอมมากมายก็ก่อกำเนิดขึ้น ต่างยุคต่างสมัย ต่างฝีมือช่างจนนักวิชาการทางศิลปะขอมเรียกเป็นสกุลศิลปะเขมรแบบต่าง ๆ แต่นอกแนวเทือกเขาพนมดงรักออกมาอาณาจักรอีกมากมายก็กำเนิดขึ้น ไม่ต่างจากอนารยชนนอกกำแพงใหญ่ของอาณาจักรจีน เมืองจีนมีแมนจู มีมองโกล มีซิตัน อยู่นอกกำแพง อาณาจักรขอมก็มีพวกเจนละ จามปา ฟูนัน แม้กระทั่งพวกเสียม และพวกลาวอยู่นอกแนวพนมดงรัก
    กลุ่มอาณาจักรนอกแนวพนมดงคักเหล่านี้แหละที่เป็นศัตรูสำคัญของอาณาจักรขอม ไม่ต่างอะไรกับกลุ่มชนนอกกำแพงใหญ่ของจีน ภาพจำหลักรอบปราสาทนครวัดยังแสดงให้เห็นการยกทัพขอมออกไปปราบปรามจามปา ที่ปรากฏกองทัพเสียมกุกเป็นพันธมิตรอยู่ในกองทัพของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 ด้วย วันดีคืนดีกลุ่มชนนอกกำแพงใหญ่จีนก็พากันยกพวกผ่านกำแพง เข้าไปทำลายศูนย์กลางการปกครองของจีนเสียทีหนึ่ง และอาณาจักรขอมก็เช่นกัน วันดีคืนดีก็ต้องรบกับเจนละ รบกับจามปา แม้กระทั่งรบกับพวกเสียม จนมีชื่อเมืองเสียมเรียบปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และในท้ายที่สุดเมื่อขอมอ่อนกำลังลงมาก ๆ อนารยชนเผ่าเสียม หรือสยามจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็ยกกองทัพเข้าไปถล่มอาณาจักรขอมจนราบคาบ แทบไม่ต่างอะไรกับการล่มสลายลงของจีนในกำแพงใหญ่หรือแม้แต่อาณาจักรโรมัน อันเกรียงไกรนั้นเลย






แต่ก่อนที่อาณาจักรขอมจะถูกทำลายลงนั้น ขอมก็ได้พยายามสร้างแนวป้องกันตนเองขึ้นมาเพิ่มเติม เมืองใหญ่น้อยหลายเมืองนอกแนวพนมดงรักถูกรุกรานโดยอำนาจขอม และขอมก็ได้เข้าไปปกครองเมืองที่สร้างขึ้นจากรากฐานเมืองเดิม ๆ ของชนพื้นเมือง เมืองอย่างวิมายะปุระ หรือเมืองพิมาย วนัมรุงปุระ หรือพนมรุ้งศรีศิขเรศวร หรือปราสาทเขาพระวิหาร คือตัวอย่างของเมืองที่มีผู้ปกครองเป็นขอมนอกแนวพนมดงรัก เป็นเมืองป้อมปราการสำคัญช่วยป้องกันให้กับศูนย์กลาง เมืองในลักษณะนี้ยังมีอีกหลาย ๆ แห่ง มีถนนโบราณหลายสายเชื่อมต่อถึงกัน และปราสาทหิน อันเป็นทั้งศาสนสถานและเปรียบเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจขอมจึงถูกสร้างขึ้นมาก มายในพื้นที่แถบนี้ ต่างกรรมต่างวาระ และต่างฝีมือช่างมากมาย

และดูเหมือนว่าในยุคหนึ่งขอมก็สามารถเขยิบแนวป้องกันของตนออกมาได้อีกชั้น แนวป้องกันแนวใหม่ของขอมก็คือแม่น้ำมูลนั่นเอง จะสังเกตได้ว่าในส่วนที่เรียกว่ามูลตอนบน คือแม่น้ำมูลฝั่งขวาหรือตอนเหนือนั้น ปราสาทขอมพบเห็นได้ยากเย็นขึ้นปราสาทมีหนาแน่นมากอยู่ เฉพาะแม่น้ำมูลตอนใต้นี้เท่านั้น และหลังจากศูนย์กลางที่เมืองพระนครถูกทำลายลงไป บรรดาเมืองใหญ่น้อยนอกแนวป้องกันพนมดงรัก ก็เหมือนว่าจะค่อย ๆ ฝ่อลงไปตามลำดับ จะฝ่อไปเพราะศึกสงครามกับสยาม หรือกลุ่มชนพื้นเมืองที่อยู่ใต้การปกครองของขอมจะลุกฮือขึ้นก่อการกบฏ หลังจากที่อำนาจขอมลดลงแล้ว ก็ไม่มีประวัติศาสตร์ที่ไหนจะจารึกเรื่องราวของกลุ่มชนบริวารเหล่านั้นไว้ แล้วประวัติศาสตร์ก็คลี่คลายไป พวกขอมก็โยกย้ายยอพยพถอยร่นลงไปรวมกันที่นครหลวงใหม่ทางใต้ ที่เมืองละแวกและเมืองพนมเปญต่อมาตามลำดับ

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:55:57 »

ติดตามแม่น้ำมูลย้อนทวนสายน้ำขึ้นมาเรื่อย ๆ เราก็มาถึงเมืองใหญ่โตทันสมัย เมืองอุบลราชธานี ที่นี่นอกจากจะเป็นจุดนัดพบของลำเซบาย และลำเซบก กับแม่น้ำมูลแล้ว แม่น้ำชีก็ไหลลงมาตกแม่น้ำมูลที่นี่ การที่มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านเมืองตั้ง 3-4 สาย ส่งผลให้อุบลราชธานีมีความเจริญรุ่งเรืองมากมายมาแต่ในอดีต
     การเกิดขึ้นของเมืองอุบลราชธานี ก็คล้ายคลึงกับการเกิดเมืองในอีสานหลาย ๆ เมือง เป็นการอพยพเข้ามาตั้งรกรากของชาวลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ที่อพยพข้ามฝั่งมาด้วยสาเหตุต่าง ๆ หลายหลาก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นความขัดแย้งทะเลาะเบาะแว้งกันเองทางการเมือง พอมีความขัดแย้งก็มีการอพยพย้ายหนีไปตั้งเมืองใหม่ หรือมาตั้งตรงที่เคยเป็นบ้านเมืองมาก่อน



       เมืองอุบลราชธานียุคใหม่ก็เกิดขึ้นเมื่อพระวอพระตาเสนาบดีสำคัญของเมืองเวียงจันทน์ ได้อพยพโยกย้ายลงมาและมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารจากพระมหากษัตริย์ไทย เมื่อไทยรับทางเวียงจันทร์ก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องปล่อยให้เมืองเจริญเติบโตไปและกลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนไทยไปในที่สุด เมืองหลาย ๆ เมืองในภาคอีสานเจริญเติบโตมาด้วยประการฉะนี้ ดูเหมือนว่าชาวเชื้อชาติลาวจะอพยพเข้ามาอยู่ในลุ่มแม่น้ำมูลเป็นพวกหลังสุด แต่ก็กลายเป็นกลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดของอีสานมาจนทุกวันนี้ การเข้ามามีทั้งที่สร้างบ้านเมืองใหม่ และประสมประสานปนเปเข้าไปกับชาวเมืองเดิม และบ่อยครั้งที่มีการขูดค้นพบโบราณวัตถุขอม และเก่าแก่กว่าสมัยขอมในเขตเมืองใหม่ ๆ และชุมชนใหม่เหล่านี้ ต่างก็แสดงให้เห็นว่าก่อนที่จะมีขอมก็มีชนกลุ่มอื่น ๆ อยู่ในพื้นที่เมืองเหล่านี้อยู่แล้ว




 
     มาถึงอุบลราชธานี เราก็เข้าไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานีก่อนที่อื่น ไปแล้วก็ไปพบกับศิลาจารึกของเจ้าชายจิตรเสนซึ่งได้มาจากโขงเจียม จากนั้นก็ไปจุดที่ซึ่งพบกันระหว่างแม่น้ำมูลกับแม่น้ำชี หรือที่เรียกว่าชีตกมูลที่บ้านหาดวังยาง ที่ตรงนั้นเป็นหาดทรายกว้างโล่งที่ทางจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งใจจัดทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ช่วงเย็นแดดร่มลมตก น่าเอาเสื่อมาปูนั่งเล่นกันไปเรื่อย ๆ ใครอยากจะลงไปเล่นน้ำก็ได้ เพราะริมฝั่งน้ำมูลไม่ลึกมากนัก แถมที่ตรงนั้น แม่น้ำชียังเป็นสีปูนและแม่น้ำมูลเห็นเป็นสีครามสวยงามอีกต่างหาก
     จากชีตกมูล เราตามแม่น้ำมูลไปถึงลำเซบาย ที่ไหลมาตกน้ำมูลที่อำเภอวารินชำราบ ระหว่างชีตกมูลไปถึงเซบายตกมูลนี้เป็นถนนเลีบบแม่น้ำมูล ริมแม่น้ำเราเห็นกระชังเลี้ยงปลาจำนวนมาก และชาวเรือหาปลาในแม่น้ำก็ไม่น้อย เรือลำหนึ่งเพิ่งตกได้กุ้งก้ามกรามแม่น้ำมูลมาตัวใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่ม ถามดูว่าจะเอาไปขายที่ไหน คุณลุงซึ่งเพิ่งตกได้บอกว่า กุ้งก้ามกรามแม่น้ำมูลไม่ใช่ของหาง่าย จะเอาไปขายก็เสียดาย เดี๋ยวเอาไปเผาทำกับข้าวกินกันพร้อมหน้าลูกเมียดีกว่า นาน ๆ จะมีของดี ๆ กินกันสักที
     บนเส้นทางย้อนทวนแม่น้ำมูลขึ้นไป เรายังได้พบกับปราสาทขอมอีกหลายหลัง อย่าง ปราสาทห้วยทับทัน ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทศรีขรภูมิปราสาทเหล่านี้ไม่ได้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เพราะเทคโนโลยีของขอมได้ก้าวไกลไปโดยไม่ต้องพึ่งพาสายน้ำใหญ่ ๆ อีกแล้ว พวกขอมเพียงขุดสระ สร้างบาราย เท่านั้นก็มีน้ำใช้เหลือเฟือแล้ว อันที่จริงเดินทางเลียบแม่น้ำมูลขึ้นไปไกล ๆ แล้วเราก็พบว่า ลุ่มน้ำมูลนี้ความจริงไม่ได้ขาดน้ำ แม่น้ำลำธาร ลำห้วย ลำเซ ต่าง ๆ มีอยู่แล้วอย่างมากมายแทบจะเต็มพื้นที่ สิ่งที่อาจจะทำให้เกิดความแห้งแล้งขึ้นนั้นน่าจะเป็นเพราะดิน ที่หลาย ๆ แห่งเป็นดินปนทราย ไม่สามารถจะโอบอุ้มเอาน้ำและความชื้นไว้ได้ เพราะฉะนั้น การแก้ไขน่าจะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาดินเป็นหลักมากกว่า


* 1296271419.jpg (113.45 KB, 798x536 - ดู 2198 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2554, 02:02:00 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:56:27 »

 แล้วเราก็ตามแม่น้ำมูลมาจนถึงเมืองสุรินทร์ เมืองนี้เป็นเมืองช้าง ใคร ๆ ก็รู้ แม้ประวัติการสร้างเมืองก็ยังเกี่ยวข้องกับช้าง ดังนั้น ถ้าไม่ไปดูช้างที่เมืองสุรินทร์ ก็ดูเหมือนจะผิดที่ไปหน่อยที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ที่หมู่บ้านตากลางเป็นหมู่บ้านของคนเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือมีช้างมากที่สุดนะครับ ไม่ใช่ช้างตัวใหญ่ หรือหมู่บ้านมีขนาดใหญ่ ที่ตรงนั้นเป็นที่ที่ลำชี ก็ไม่ใช่แม่น้ำชีอีกนั่นแหละ ไหลจากแนวเทือกเขาพนมดงรัก มาตกลงแม่น้ำมูล เรียกกันว่า วังทะลุ
     การแสดงของช้างที่หมู่บ้านช้างแห่งนี้วันนี้ได้รับการจัดระเบียบให้เรียบ ร้อย โดยทางมูลนิธิช้าง ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยป้องกันการนำช้างออกไปเร่ร่อนทำงานใน กทม. โดยจัดให้มีการแสดงทุกวัน วันละ 2 รอบ รอบเช้าเริ่ม 10.00 น. และรอบบ่ายเริ่ม 14.00 น. หลังจากากรแสดงของช้างแล้ว ควาญช้างก็จะนำช้างเดินไปที่วังอันเป็นจุดที่ลำชีไหลมาตกแม่น้ำมูล พอถึงที่ตรงนี้ความสนุกนานจากการได้ชมช้างอาบน้ำก็จะเกิดขึ้น และบรรดาคนดูช้างก็จะมีโอกาสได้นั่งช้างแท็กซี่ ได้สนทนาวิสาสะกับควาญช้าง และได้ถ่ายภาพคู่กับข้าง เป็นอันเสร็จสิ้นการชม



 พิเคราะห์ดูจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าชม กับจำนวนเงินที่ทางมูลนิธิฯ ต้องใช้จ่ายไปเพื่อรักษาสภาพหมู่บ้านพื้นที่จัดแสดงรวมทั้งจ่ายเงินเดือน ให้ช้างและควาญช้างแล้วก็เห็นได้เลยว่า ได้ไม่คุ้มเสียอย่างแน่นอน เพราะวัน ๆ ก็ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมกันสักเท่าไหร่ บ่อยครั้งการแสดงที่ลานแสดงต้องงดไปเพราะไม่มีใครมาดู จำนวนนักท่องเที่ยวที่ผ่านทางมาท่องเที่ยวในอีสานก็น้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อยู่แล้ว

ดังนั้น จึงอยากจะประชาสัมพันธ์ไว้ ณ ตรงนี้ครับ อ่านแล้วก็ช่วยบอกต่อ ๆ กันไปให้ดังๆ ว่า ที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ที่หมู่บ้านเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น และช้างที่นี่ก็แสดงกันเก่ง หลาย ๆ เชือกเป็นดารานักแสดงในภาพยนตร์อย่างเรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สุริโยไท ต้มยำกุ้ง ช้างแสดงเก่งไม่แพ้ที่ไหน ๆ ถ้าผ่านไปผ่านมาบริเวณอีสานใต้ นักท่องเที่ยวโปรดอย่าลืมมาเยี่ยมชมช้าง มิฉะนั้นแล้ว อนาคตของช้างไทยก็อาจจะต้องไประบายสีเป็นแพนด้า แล้วออกแสดงตัวตามงานวัด สวนสัตว์ หรือไม่ก็เดินทางเร่ร่อนขายถั่ว ขายผัก ขายแตง ไปตามถนนอย่างเดิมอีกก็ได้
นี่แหละ อนาคตที่นับว่ายังคงมืดมนอยู่สำหรับช้างและควาญช้างไท


* images (1).jpg (8.39 KB, 269x188 - ดู 1838 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2554, 02:04:10 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:56:52 »

ปราสาทอันสวยงามทั้ง 2 หลังนี้ ไม่ได้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลหรือแกระทั่งไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ แม่น้ำมูล แต่อย่างที่กล่าวมาแล้วในลุ่มแม่น้ำมูล ยังมีลำน้ำสำคัญที่ไหลลงสู่แม่น้ำมูลอีกมากมายอย่างใกล้ ๆ ภูพนมรุ้งก็มีลำนางรองปรากฏชัด และเทคโนโลยีการก่อสร้างของขอมก็ก้าวหน้าจนแทบไม่ต้องอาศัยแหล่งน้ำ ธรรมชาติใกล้ ๆ แล้ว เพราะขอมสามารถสร้างสระน้ำหรือบารายขนาดใหญ่เก็บน้ำไว้ใช้ได้ยาวนาน และที่ปราสาทเมืองต่ำก็มีบารายโบราณขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใกล้เคียงเป็นหลักฐาน
    ชื่อของอาณาจักรศรีจนาศะ อาจเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูนักสำหรับคนไทยเราแต่ศรีจนาศะก็คืออาณาจักรโบราณอีกแห่งหนึ่งในลุ่มแม่น้ำมูลนี้ ที่ตั้งอยู่นอกแนวพนมดงรัก เช่นเดียวกับอาณาจักรเจนละจามปา และฟูนัน นี่คือหอกข้างแคร่ที่สำคัญของขอมโบราณ และกว่าที่อาณาจักรศรีจนาศะจะล่มสลายไป พวกขอมจากศูนย์กลางก็คงต้องใช้ความพยายามมากมายพอดู
     หลังจากการล่มสลายไปของศรีจนาศะ จึงเป็นการเริ่มต้นแห่งพนมรุ้งและเมืองต่ำ และเพราะเส้นทางคมนาคมผ่านช่องเขาต่าง ๆ จากศูนย์กลางออกมาสู่พนมรุ้ง ผ่านพิมาย ไปสู่ศรีจนาศะ ผ่านเข้าไปยังศรีเทพและลพบุรีของลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้น มีความสำคัญมาก การก่อร่างขึ้นของชุมชนขอมที่พนมรุ้งและเมืองต่ำ จึงพลอยมีความสำคัญ ดังนั้น ผู้ครองเมืองวนัมรุงปุระจึงต้องมีศักดิ์ศรีสูงถึงเป็นพระญาติวงศ์ใกล้ชิด กับกษัตริย์แห่งเมืองพระนครพระองค์หนึ่ง ซึ่งปรากฏชื่อชัดในศิลาจารึก ก็คือ หิรัณยวรมัน ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ของพระเจ้าสุทริยะวรมันที่ 2 ผู้ทรงสร้างปราสาทนครวัด




 
การสร้างปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำนั้นจึงไม่ธรรมดา ฝีมือการก่อสร้างอันประณีตและสวยงามนั้น เห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ฝีมือช่างท้องถิ่น แต่เป็นฝีมือช่างหลวงระดับเดียวกับการสร้างปราสาทต่าง ๆ ที่ศูนย์กลางแห่งอาณาจักร และวันนี้เมื่อพนมรุ่งและเมืองต่ำได้รับการบูรณะแล้วเสร็จเรียบร้อย เราจึงมีโอกาสได้เห็นฝีมือของช่างหลวงแห่งเมืองพระนครอันงดงาม ดังนั้น ปราสาทหินเมืองต่ำและพนมรุ้งจึงได้กลางเป็นเพชรเม็ดงามประดับวงการท่อง เที่ยวแนวประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยต่อมา
      เรามาถึงปราสาทเมืองต่ำหลังจากไม่ได้มาที่นี่มานานมาก จำได้ตั้งแต่ทุกสิ่งทุกอย่างยังเป็นเพียงกองซากปรักหักพังนั้นทีเดียว ได้มาเห็นปราสาทเมืองต่ำในวันที่การบูรณะทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็โอ้โห เหวอเลย เป็นสิ่งก่อสร้างที่ช่างสวยงามมหัศจรรย์ได้ใจจริง ๆ ยิ่งได้มีโอกาสขึ้นภูเขาไฟไปชม ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินทรายสีชมพูบนยอดเขาแล้วก็ยิ่งซาบซึ้ง ใช่แล้ว ไม่เสียทีที่เมืองนี้เป็นเมืองใหญ่เมืองสำคัญ เป็นเมืองญาติสนิทที่ครั้งหนึ่งเจ้าชายจากเมืองนี้ มีโอกาสก้าวข้ามไปเป็นเจ้าแหงขอมเมืองพระนครนั้นทีเดียว

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:57:17 »

เมืองพิมายนับเป็นเมืองใหญ่ที่มีผังเมืองสมบูรณ์เข้มแข็ง หากกรุงศรีอยุธยากล้าแกร่งเพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรีเป็นปราการธรรมชาติคอยป้องกันเมือง และเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญติดต่อกับเมืองต่าง ๆ โดยรอบแล้วไซร้เมืองพิมายก็มีลำจักรราชและมีแม่น้ำมูลเป็นลำน้ำธรรมชาติคอยปกบ้านป้อง เมืองไว้ และเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียงไม่ต่างกัน
      เมืองพิมายยังมีดีกว่าอยุธยาด้วยตรงที่ว่า เมืองอยุธยาทำได้ก็แต่นาข้าว แต่เมืองพิมายนั้น สามารถทำได้ทั้งนาข้าวและนาเกลือในพื้นที่ติด ๆ กัน นับเป็นเมืองแห่งหนุ่มนาข้าวสาวนาเกลืออย่างแท้จริงเลยทีเดียว
      จากการสำรวจหลากหลายทางโบราณคดี ทั้งในเมืองพิมายและเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียง ข้อสรุปของนักวิชาการทางโบราณคดีทั้งหลายก็ออกมาในแนวเดียวกันว่า เมืองพิมายนั้นน่าจะเป็นเมืองร่วมสมัยกับเมืองหนองหาน ในจังหวัดสกลนครโน่น ซึ่งนั่นก็หมายถึงอายุของเมืองที่ต้องมากกว่า 2,500 ปีขึ้นไป อีกทั้งเป็นเมืองที่ใหญ่และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการคมนาคมติดต่อกัน ระหว่างลุ่มแม่น้ำมูลกับลุ่มแม่น้ำอื่น ๆ โดยรอบ
และด้วยความที่เป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งนอกแนวป้องกันพนมดงรัก เมื่อขอมโบราณสามารถเข้ามามีอิทธิพลเหนือเมืองนี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม ขอมจึงต้องให้ความสำคัญกับเมืองนี้เป็นอย่างมาก อาจจะด้วยการส่งญาติวงศ์ใกล้ชิดออกมาเป็นเจ้าผู้ครองเมือง การสร้างศาสนสถานใหญ่ประจำเมืองคือ ปราสาทหินพิมาย จึงต้องประสานประโยชน์เอาใจทั้งคนที่เป็นเจ้าของเมืองมาก่อน และพวกขอมเจ้าเมืองในยุคนั้น




และเพราะเหตุดังกล่าวมานั้น ปราสาทหินพิมายจึงได้รับการก่อสร้างขึ้นอย่างประณีตด้วยฝีมือช่างหลวง นักโบราณคดีอีกหลายท่านยังตีความด้วยว่า ด้วยความที่ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัด ดังนั้น รูปแบบของปราสาทหินพิมายอาจจะเป็นต้นแบบในการก่อสร้างให้กับปราสาทนครวัดก็ได้ จากเมืองพมาย แม่น้ำมูลพระเอกของเราก็นำเราไหลผ่านเข้าสู่เมืองโคราช แล้วจากนั้นจึงมุ่งหน้าขึ้นสู่เขตป่าเขาอันเป็นต้นน้ำ โดยเฉพาะที่ลำพระเพลิง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่ตรงนั้นมีการเรียกชื่อลำน้ำนี้ว่าน้ำมูลมาตั้งแต่ต้น และการเดินทางย้อนรอยแม่น้ำมูลของเราเมื่อมาถึงที่นี้แล้วก็เป็นอันว่าเอวัง เพราะแถว ๆ นี้ไม่มีอารยธรรมเก่าแก่ใด ๆ ให้เราได้ตามรอยอีกต่อไป
     ดังนั้น บทสรุปของการเดินทางย้อนรอยสายน้ำ ตามรอยอารยธรรมลุ่มน้ำมูลของเรา จึงควรลงเอยที่ข้อความดังต่อไปนี้พื้นที่ลุ่มน้ำมูลก็คือแอ่งโคราช อันเป็นที่รวมของแม่น้ำ 2 สายที่ยาวที่สุด และยังคดเคี้ยวที่สุดของประเทศไทย คือ ลำน้ำมูลและชี และถ้าจะนับรวมแม่น้ำโขงที่สุดปลายสาย น้ำมูลนี้ ที่นี่ก็คือลุ่มน้ำโขง ชี มูล นั่นเอง พื้นที่ของลุ่มน้ำนี้ จากหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ เชื่อแน่ว่า มีผู้คนอยู่อาศัยเป็นชุมชนต่าง ๆ มาแล้วเนิ่นนานดึกดำบรรพ์ ชาวชุมชนเหล่านี้ไม่ได้อพยพโยกย้ายมาจากเทือกเขาอัลไตแต่ประการใด และก็ไม่ได้เรียกตนเองว่าสยามไทย ลาว หรืออขอมด้วย แต่จะเรียกว่าอะไรก็คงไม่มีใครรู้




      ต่อมาชุมชนเหล่านี้ก็รวมตัวกันขึ้นเป็นบ้านเมือง ก่อกำเนิดชื่อต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ เช่น ศรีจนาศะ เจนละ จามปา เศรษฐปุระ พิมายะ เป็นต้น บ้านเมืองเหล่านี้เป็นศัตรูบ้าง มิตรบ้างต่ออาณาจักรขอมที่มีศูนย์กลางอยู่ในที่ราบต่ำใต้แนวพนมดงรัก คือเมืองพระนคร ต่อมาพวกขอมก็ขยายแนวป้องกันของตนออกมานอกแนวพนมดงรัก ด้วยการเข้ามามีอิทธิพลอยู่ในเมืองต่าง ๆ ภายนอก จะด้วยวิธีใดก็ตาม อาจเป็นการทำสงคราม หรือการเชื่อมสัมพันธ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วยเหตุดังนี้ การสร้างปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำจึงสร้างขึ้นได้อย่างวิจิตรงดงาม ขอมต้องเอาใจทั้งประชาชนและเจ้านายต่าง ๆ ในท้องถิ่น ถึงตอนนี้แนวป้องกันของขอมน่าจะเลื่อนมาอยู่ที่แม่น้ำมูล
     แต่ในที่สุด อนิจจังก็คือความจริงแท้ ขอมประสบกับความเสื่อม อนารยชนชาวสยามจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาสามารถยกกองทัพเข้าไปทำลายเมืองพระนคร ของขอมลงได้ ไม่ต่างอะไรกับอนารยชนเยอรมันที่เข้าทำลายกรุงโรม หรือชนเผ่ามองโกลที่ทะลุกำแพงใหญ่เข้าไปในเมืองจีน แล้วอำนาจการปกครองของขอมกับเมืองต่าง ๆ นอกแนวพนมดงรักก็เสื่อมลง ขอมถอยร่นออกไปจากเมืองต่าง ๆ เหล่านั้น ทิ้งเมืองให้รกร้างปราศจากผู้ปกครอง จากนั้นชนเผ่าลาวจากทางเหนือก็เข้ามาและเริ่มก่อร่างสร้างเมืองขึ้นใหม่และท้ายที่สุด บทความนี้ไม่ใช่บทความวิชาการไม่ใช่เรื่องจริงทางประวัติศาสตร์ ความจริง ประวัติศาสตร์นาน ๆ เข้าก็กลายเป็นตำนาน ตำนาน ตำกันนาน ๆ เข้าก็กลายเป็นนิยาย บทความนี้ความจริงเป็นบทความท่องเที่ยวที่คนที่ท่องเที่ยวมายาวนานกว้างไกล ได้เขียนขึ้นเป็นบทสรุปจากการเดินทางไกล แต่ใครจะไปรู้ นาน ๆ เข้าเรื่องท่องเที่ยวนี้อาจกลายเป็นนิยาย นิยายอาจกลายเป็นตำนาน และตำนานก็อาจจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปก็ได้ อนิจจังก็คือความจริงแท้เที่ยงเพียงอย่างเดียว...คุณว่าจริงไหมล่

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:57:42 »

แม่น้ำมูล : ส่วนหนึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีชื่อเรียกว่า "มูล" เช่น ห้วยมูลหลง ห้วยมูลสามง่าม มาตั้งแต่ยังอยู่ในเขตป่าเขา คำว่า "มูล" เป็นภาษาเขมร มีความหมายถึงการเริ่มต้น และนับตั้งแต่แม่น้ำมูลได้เริ่มต้นจากที่ตรงนี้ แล้วก็ "มูนมัง" เป็นภาษาลาวอันหมายถึงมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นมรดกแก่ลูกหวาน จากนั้นลำนำมูลจึงไหลผ่าน จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ จนไปพบกับแม่น้ำชี ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ ลำเซบก ลำเซบาย ที่จังหวัดอุบลราชธานี และไหลไปออกแม่น้ำโขง รวมความยาวทั้งหมดจากต้นน้ำถึงปลายน้ำเป็นระยะทาง 640 กิโลเมตร


* 152845-3-9514.jpg (127.67 KB, 1000x667 - ดู 1726 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2554, 02:06:39 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 01:58:11 »

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

http://travel.giggog.com/132555

thxby3429Nap
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!