ดุริยางคศิลป์ ถิ่นอีสาน ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
23 พฤศจิกายน 2567, 17:22:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดุริยางคศิลป์ ถิ่นอีสาน  (อ่าน 19662 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:36:47 »

ดนตรีอีสาน เป็นดนตรีระดับพื้นบ้าน เข้าถึงชีวิตชาวบ้าน สืบทอดพัฒนาโดยชาวบ้าน จนได้ชื่อว่าเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่เข้าถึงชีวิต จิตใจ กล่อมเกลาจิตใจ ตลอดถึง ให้ความสนุกสนาน บันเทิง แก่ชาวอีสาน มาช้านาน เครื่องดนตรีบางอย่าง ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้น และกำเนิดขึ้นในยุคสมัยไหน แต่เครื่องดนตรีทั้งหลาย ก็ยังมีการสืบทอด ปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่ให้คงอยู่ตราบปัจจุบัน    ดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำแนกเป็นหมวดหมู่ได้หลายรูปแบบ ดังนี้
จำแนกตามลักษณะวิธีเล่น
๑ ประเภทเครื่องดีด
- พิณ
- หึน หรือ หืน

[color=red๒ ประเภทเครื่องเป่า][/color]
- แคน
- โหวด
-  ปี่กูแคน หรือ ปี่ภูไท

๓ ประเภทเครื่องตี หรือ เคาะ
- โปงลาง
- กลอง
- กั๊บแก๊บ
- ฆ้องโหม่ง
- ฉิ่ง
- ฉาบ

[color=red๔ ประเภทเครื่องสี][/color]
- ซอ

๕ ประเภทเครื่องดึง
- ไหซอง

จำแนกตามวัตถุประสงค์การบรรเลง

๑ ประเภทบรรเลงทำนอง
- แคน
- พิณ
- ซอ
- โหวด
- โปงลาง
- ปี่กู่แคน หรือ ปี่ภูไท
- หึน หรือ หืน

๒ ประเภทให้จังหวะ
- กลอง
- กั๊บแก๊บ
- ฆ้องโหม่ง
- ฉิ่ง
- ฉาบ
- ไหซอง


บทความเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่ผู้เขียนนำเสนอในที่นี้ เขียนจากสิ่งที่ทราบมา และจากความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง และเนื่องจากผู้เขียนเอง ไม่ได้ศึกษาวิจัยด้านนี้โดยตรง ดังนั้น อาจจะมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ไม่ตรงกับเอกสารทางวิชาการ หรือไม่ตรงกับที่นักวิชาการท่านอื่น เขียนขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตาม บทความเหล่านี้ จัดเป็นความรู้เบื้องต้น หรือพื้นฐานความรู้ทางด้านดนตรีอีสาน ซึ่งผู้สนใจศึกษา สามารถใช้เป็นพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การศึกษาระดับสูงต่อไป

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:40:28 »

 ? แคน ? อัครมหาเครื่องดนตรีแห่งลุ่มน้ำโขง เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะมาก ลักษณะโครงสร้างการออกแบบ รวมถึงการเรียงลูกแคน เช่นแคนลูกนี้เสียงนี้ควรอยู่ลำดับที่เท่านี้ เป็นต้น ก็ลึกล้ำพิสดาร สำหรับคนที่เป่าแคนไม่เป็น หรือเป็นบ้าง แต่ได้ไม่หลายลาย(หรือหลายคีย์) อาจจะไม่เข้าใจถึงความลึกล้ำพิสดารอันนี้

     บทความเกี่ยวกับ ? แคน ? ที่ข้าพเจ้าได้นำมาเสนอนี้ เป็นเพียงการรวบรวม เรียบเรียงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ช่างทำแคนที่บ้านสีแก้ว หมอแคนที่ข้าพเจ้ารู้จัก รวมถึงหนังสือเรื่องแคนที่เขียนโดยอาจารย์สำเร็จ คำโมง โดยข้าพเจ้า ได้นำมาปะติดปะต่อเรียบเรียงใหม่ และอธิบายเสริมในบางประเด็น ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้า ไม่ใช่ช่างทำแคน ไม่ใช่หมอแคนที่ชำนาญ เป็นเพียงแค่เป่าแคนได้นิดหน่อย และมีความรู้ทางดนตรีเพียงนิดหน่อยเท่านั้น

     รายละเอียดในบทความนี้ อาจจะมีไม่มากมาย เท่าที่ควรจะมี เพราะเรื่องแคน เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเครื่องดนตรีที่ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน ผ่านบุคคล เช่นช่างแคน หมอแคน เป็นต้นมาหลายชั่วอายุคน จนมิอาจนับได้ หากจะรวบรวมให้ละเอียด จบสิ้นกระบวนความจริงๆ คงต้องเป็นหนังสือเล่มใหญ่เอาการทีเดียว ซึ่งข้าพเจ้าเอง คงไม่สามารถกระทำได้ขนาดนั้น เนื่องจากมีความรู้เกี่ยวกับแคน แค่น้อยนิด แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าหวังว่า บทความนี้ คงจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจบ้าง ไม่มากก็น้อย

     อนึ่ง ข้าพเจ้า ขอขอบคุณ ระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ตั้งแต่ผู้ให้กำเนิดแคน ให้กำเนิดลายแคน ช่างแคน หมอแคน ตลอดถึงผู้ชื่นชอบเสียงแคนทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้สืบทอดแคน ลายแคน จากอดีตอันหาต้นกำเนิดไม่ได้ จวบจนถึงปัจจุบัน แม้ผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน แคนและเสียงแคน ก็ไม่เคยเลือนหายจากแดนลุ่มน้ำโขง จนแคน ได้สมญานามว่า ? อัครมหาเครื่องดนตรีอมตะแห่งลุ่มน้ำโขง ?


* kan_2.jpg (22.96 KB, 300x420 - ดู 1797 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:46:41 »

พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายดีดที่มีมานาน นานจนไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นคนแรก เครื่องดนตรีที่มีหลักการเช่นเดียวกันนี้ พบในหลายๆ ประเทศ แต่ชื่อเรียก ย่อมแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติภาษา และรูปร่างปลีกย่อยอาจแตกต่างกันไปเช่นกัน

     พิณ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เฉพาะพิณของชาวอีสาน ซึ่งแม้แต่ชาวอีสานเอง ก็เรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้แตกต่างกันออกไป เช่น แถบอุบล เรียกว่า ?ซุง? ชัยภูมิเรียกว่า ?เต่ง? หรือ ?อีเต่ง? หนองคาย เรียกว่า ?ขจับปี่? เป็นต้น แต่ชื่อสามัญที่คนทั่วไปใช้เรียก คือ ?พิณ? นั่นเอง

     พิณสมัยก่อน มีเฉพาะพิณโปร่ง นิยมทำจากไม้ขนุน เนื่องจาก ให้เสียงกังวานใสดี เกิดกำทอนดี ไม้ขนุน เนื้อไม่แข็งมาก ใช้มีด ใช้สิ่วเจาะทำพิณได้ไม่ยาก จริงๆ แล้ว ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ไม้มะหาด ไม้ยูง ก็ให้เสียงกังวานใสดีเช่นกัน แต่เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งมาก และค่อนข้างหายาก จึงไม่นิยมนำมาทำพิณ ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ไม้มะเหลื่อม ไม้ฉำฉา เป็นต้น ก็ทำพิณได้เช่นกัน แต่เสียงอาจจะไม่แน่นดี ซึ่งหากจะเอาแค่ดีดแล้วมีเสียงดัง จะใช้ไม้อะไรก็ได้ที่ขึงสายแล้วตัวพิณไม่หัก นอกจากนั้น ช่างทำพิณบางคน อาจทำเต้าพิณจากกะลา น้ำเต้า บั้งไม้ไผ่ กระดองเต่า ใช้หนังสัตว์ เช่นหนังงู เป็นต้น ทำเป็นแผ่นประกบปิดเต้าพิณ

     พิณสมัยปัจจุบัน มีทั้งพิณโปร่ง พิณไฟฟ้า และพิณโปร่งไฟฟ้า

     สายพิณ สมัยโบราณ เข้าใจว่า คงใช้เชือกหรือหนัง จากนั้น เมื่อมีรถจักรยานแล้ว ก็หันมาใช้สายเบรกรถจักรยานแทน แต่ปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้ผลิตสายกีตาร์จำหน่าย จึงหันมาใช้สายกีตาร์โปร่งสำหรับพิณโปร่ง สายกีตาร์ไฟฟ้าสำหรับพิณไฟฟ้า

     พิณ มีเสียงกังวานสดใส สามารถบรรเลงเพลงได้ทั้งจังหวะอ่อนหวาน เศร้ารันทด และสนุกสนานครื้นเครง เข้าถึงอารมณ์แบบพื้นบ้าน พิณจึงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคนอีสาน

 


* images.jpg (5.8 KB, 320x157 - ดู 1712 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:48:17 »

โปงลาง เป็นชื่อเรียกเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานชนิดหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากเกราะลอหรือขอลอ โดยสมัยก่อน ทุกหมู่บ้าน จะมีเกราะลอ ไว้ตีสำหรับเรียกชาวบ้านมาประชุมกัน เสียงเกราะลอจะดังกังวานไกล ให้ได้ยินกันทั้งหมู่บ้าน

จากการสัมภาษณ์อาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี ผู้พัฒนาเกราะลอในอดีต จนเป็นโปงลางแบบปัจจุบัน ทราบว่า ท้าวพรหมโคตร ซึ่งอพยพมาจากประเทศลาว ได้นำเกราะลอหลายๆ ตัว มาขึงมัดรวมกันเป็นแถว ใช้ตีสำหรับไล่นกกาที่มากินข้าวในนา โดยในสมัยแรกนั้น ไม่มีการเรียงตัวโน้ตใดๆ ตีให้เกิดเสียงดังเฉยๆ นอกจากนั้น บางครั้งเกิดความเบื่อหน่าย ก็ตีเล่นเป็นจังหวะเพลง จนต่อมาเกิดแนวคิดในการเรียงโน้ตเข้าไป แต่ยังไม่ได้เป็นโปงลางแบบปัจจุบัน

ต่อมา ท้าวพรหมโคตรได้ถ่ายทอดการทำและการตีเกราะลอให้นายปาน นายปานถ่ายทอดให้นายขาน ผู้เป็นน้อง นายขาน ได้ถ่ายทอดให้อาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งต่อมา อาจารย์เปลื้อง ได้คิดค้นพัฒนาต่อ จนเป็นโปงลางแบบที่เห็นในปัจจุบัน อย่างสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ และตั้งชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า โปงลาง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

โปงลาง มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น หมากกลิ้งกล่อม, หมากเตอะเติ่น, หมากเติดเติ่ง, หมากเกราะลอ, แต่ชื่อเรียกที่คนรู้จักโดยทั่วไป คือ โปงลาง ซึ่งอาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี เป็นผู้ตั้งชื่อนี้

โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีสำหรับตีหรือเคาะ คล้ายระนาดของดนตรีไทย แต่การวางขึง สำหรับตีแตกต่างกัน และระนาดมีกล่องเสียง แต่โปงลางไม่มีกล่องเสียง โปงลางแบบมาตรฐาน ประกอบด้วยลูกโปงลาง ๑๓ ลูก มีโน้ต ๖ โน้ต คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา โดยเรียงโน้ตจากเสียงต่ำ-สูง ได้ครบสองช่วงทบเสียง ดังนี้ คือ ?มี ซอล ลา โด เร มี ฟา ซอล ลา โด เร มี ซอล ? สามารถเล่นลายแคนได้ทั้ง ลายใหญ่ ลายน้อย ลายสุดสะแนน และลายโป้ซ้าย

โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด โดยไม้มะหาดชนิดที่ให้เสียงกังวานใสดี คือไม้มะหาดทอง และไม้อื่นๆ ที่ทำโปงลางได้ เช่น ไม้พะยูง ไม้มะเหลื่อม และไม้ไผ่


* images (1).jpg (9.8 KB, 240x168 - ดู 1663 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:49:54 »

โหวด เครื่องดนตรีขนาดเล็ก กะทัดรัด ราคาย่อมเยา รูปทรงสวยงาม กลายเป็นเครื่องดนตรีแห่งวงการดนตรีอีสานจริงๆ เมื่อไม่กี่สิบปีมานี่เอง โดยผู้คิดค้นพัฒนาให้เป็นเครื่องดนตรี แบบที่เห็นในปัจจุบัน คืออาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ (อาจารย์ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด) ซึ่งได้คิดค้นและนำออกแสดงเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๑

โหวด ทำจากไม้กู่แคน ซึ่งเป็นปลายที่เหลือจากการทำแคน แต่มีรูปแบบการกำเนิดเสียง ที่แตกต่างจากแคน โดยแคนมีลิ้นเป็นตัวให้กำเนิดเสียง แต่โหวดไม่มีลิ้น ให้กำเนิดเสียงโดยการไหลของลม ระดับเสียง สูง-ต่ำ ขึ้นอยู่กับ ขนาดความโต และความยาวของลูกโหวด หรือ ขึ้นอยู่กับปริมาตรความจุลมของลูกโหวดนั่นเอง หากมีความจุมาก เสียงจะต่ำ หากมีความจุน้อย เสียงจะสูง

ลูกโหวด ด้านหัวของแต่ละลูก เสี้ยมปลายให้แหลมเป็นปากปลาฉลาม และนำแต่ละลูก มาติดเข้ากับแกนโดยรอบ เรียงลำดับจากยาวไปหาสั้น

โหวดมาตรฐาน มี ๑๓ ลูก ๕ โน้ต ตามโน้ตเพลงพื้นบ้านอีสาน คือ มี ซอล ลา โด เร สามารถบรรเลงเพลงลายใหญ่ และลายสุดสะแนนได้ หรือหากต้องการใช้เล่นร่วมกับลายน้อย และลายโป้ซ้ายได้ ก็สามารถปรับคีย์ลูกโหวดให้สูงขึ้น ก็จะได้โน้ต ๕ ตัวสำหรับคีย์ลายน้อย คือ ลา โด เร ฟา ซอล   

ต่อมา เพื่อให้โหวดหนึ่งตัว เล่นได้หลายลายหรือหลายสเกลเสียงมากขึ้น จึงเพิ่มเสียง ฟา เข้าไปเป็น ๖ โน้ต ซึ่ง โหวดที่มี ๖ โน้ต จะสามารถบรรเลงลายใหญ่ ลายน้อย ลายสุดสะแนน และลายโป้ซ้าย  ได้ แต่บางคน อาจสั่งพิเศษ ให้ช่างโหวดทำให้ครบทั้ง ๗ โน้ต เพื่อให้บรรเลงเพลงลูกทุ่งได้เต็มสเกล แต่โหวดที่มี ๗ โน้ต อาจเล่นยากกว่าโหวดปกติ


* images (2).jpg (8.54 KB, 194x259 - ดู 1769 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:51:03 »

ซอพื้นเมืองอีสาน ทำจากวัสดุพื้นบ้านที่หาได้ง่าย โดยสมัยก่อน ตัวเต้าหรือกล่องเสียง ทำจาก กะลามะพร้าว กระบอกไม้ไผ่ แก่นไม้เจาะเป็นโพรง เป็นต้น และใช้หนังสัตว์ เช่น หนังกบ หนังงู หนังวัว เป็นต้น หุ้มหน้าเต้าซอ แต่สมัยปัจจุบัน มีการนำกระป๋อง เช่นกระป๋องนม กระป๋องเครื่องดื่ม กระป๋องสี เป็นต้นมาทำเป็นตัวเต้าซอ ก็มี ซึ่งชื่อของซอพื้นเมืองอีสาน มักจะเรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้ทำเต้าซอ เช่น ซอไม้ไผ่ ซอกะโป๋(ซอกะลา) ซอกระป๋อง เป็นต้น


สายซอ สมัยก่อน ทำจากเชือก ป่าน หรือปอ เป็นต้น ต่อมา ใช้สายเบรครถจักรยาน ก็มี สมัยปัจจุบัน ใช้สายกีตาร์ เพราะหาได้ง่าย ซึ่งสายซอพื้นเมืองอีสาน มีเพียงสองสาย คือสายเอก และสายทุ้ม
ส่วนคันชัก หรือไม้สีซอ ทำจากไม้เหลาให้เรียว หรือซีกไม้ไผ่เหลาให้เรียว สมัยก่อนนิยมใช้หางม้า เชือก ป่าน หรือปอ ผูกมัดเป็นสายสำหรับสี สมัยปัจจุบัน ใช้เส้นเอ็นแทนก็มี ซึ่งคันชักของซอพื้นเมืองอีสาน จะอยู่อิสระต่างหากจากตัวซอ ไม่สอดอยู่ระหว่างสายเอกและสายทุ้ม เหมือนซออู้และซอด้วง


* sor.jpg (8.23 KB, 242x400 - ดู 3134 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:53:31 »

กลอง เป็นเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะ หรือคุมจังหวะ โดยกลองที่จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน มีอยู่ ๓ ชนิดคือ กลองตึ้ง รำมะนา และกลองแอวหรือกลองยาว
๑ กลองตึ้ง

เป็นกลองที่ให้เสียงทุ้มต่ำ คุมจังหวะตกของเพลง มีลักษณะทรงกระบอกกลม ข้างในกลวง ตัวกลองทำจากต้นไม้ขนาดใหญ่ เจาะรูทะลุ หุ้มด้านหนึ่งด้วยหนังสัตว์ ซึ่งนิยมใช้หนังวัว ขึงให้ตึงด้วยเชือกหนังสัตว์ (ปัจจุบันใช้เชือกไนล่อน) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกลองตึ้ง ใหญ่พอๆ กับกลองเพล แต่ความยาว จะน้อยกว่า หรือยาวประมาณ หนึ่งศอก

กลองตึ้ง นิยมใช้ประกอบขบวนแห่ เช่นวงมะโหรี และวงกลองยาว เนื่องจากมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถถือตีคนเดียวได้ จึงผูกเชือกหนังเป็นห่วงเล็กๆ ไว้ที่ขอบกลองตึ้ง สำหรับสอดไม้เข้าไป และแบกสองคน คนที่เดินตามหลัง เป็นคนตี

กลองตึ้ง ให้เสียงคุมจังหวะตกเท่านั้น จึงตีเพียง ตึ้ง ตึ้ง (ไม่มีปะ) ที่จังหวะตกของเพลง ดังนั้น เพียงใช้ไม้ตี ก็พอ

ไม้สำหรับตีกลองตึ้ง ทำจากไม้ไผ่ ด้านปลายหุ้มมัดเป็นก้อนกลมด้วยเศษผ้า แต่หากไม่มีไม้ตี ก็สามารถใช้มือตีได้

๒ รำมะนา

เป็นกลองที่ให้เสียงทุ้มต่ำ เหมือนกลองตึ้ง ลักษณะทรวดทรง ก็เหมือนกับกลองตึ้ง ต่างกันแต่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า ตัวกลอง ทำจากต้นไม้ขนาดกลาง หรือต้นตาล เจาะรูทะลุตรงกลาง หุ้มด้านหนึ่งด้วยหนังวัว ขึงให้ตึงด้วยเชือกหนัง หรือเชือกไนล่อน

รำมะนา มีน้ำหนักน้อยกว่ากลองตึ้ง จึงสามารถสะพายตีด้วยคนคนเดียวได้ รำมะนา ใช้ตีประกอบวงมะโหรี วงกลองยาว หรือตีให้จังหวะการเล่นพิณ แคน เป็นต้น

รำมะนา นอกจากคุมจังหวะตกแล้ว สามารถตีส่งจังหวะด้วย ซึ่งนั่นก็คือ มีทั้งเสียงตึ้ง และเสียงปะ จึงนิยมใช้มือตี

แต่อย่างไรก็ตาม วงโปงลางพื้นบ้านส่วนใหญ่ ใช้รำมะนาเป็นตัวช่วยคุมจังหวะ ซึ่งใช้หลักการของกลองตึ้ง แต่กลองตึ้งใหญ่มากเกินไป หายาก จึงใช้รำมะนาแทน และตีคุมจังหวะตก เหมือนกลองกระเดื่องเหยียบในกลองชุดดนตรีสากล

 

๓ กลองยาว

กลองยาว บางแห่งเรียกกลองหาง บางแห่งเรียกกลองแอว แต่โดยทั่วไป นิยมเรียกชื่อว่า กลองยาว ซึ่งลักษณะทรวดทรงดูผิวเผิน อาจจะคล้ายกลองยาวทางภาคกลาง แต่ความจริง ต่างกัน คือ รูปทรงนับจากช่วงขึงหน้ากลองลงมา หรือตัวกลองของกลองแอว จะยาวกว่ากลองยาวภาคกลาง ส่วนหางกลอง จะสั้นกว่าของกลองยาวภาคกลาง และหางของกลองแอว จะบานออก สามารถตั้งไว้ได้อย่างมั่นคง นอกจากนั้น การขึงหนังกลองแอว จะเอาด้านนอก หรือด้านที่มีขน ไว้ข้างนอก

กลองยาว นิยมทำจากไม้ขนุน เนื่องจากไม้ขนุน ให้กำทอนดี เนื้อแข็งพอประมาณ ไม่หนักมาก และมีสีสันสวยงาม หนังกลอง นิยมทำจากหนังวัวน้อย หรือวัวรุ่นๆ เพราะหนังยังบางอยู่ ยืดหยุ่นดี (วัวแก่ หนังหนา เสียงไม่ดี)

กลองยาว ที่ใช้ในคณะกลองยาว จะมีขนาดของกลองแต่ละลูกเท่ากัน เวลาจะใช้งาน จะใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุก บดให้ละเอียดจนเหนียว นำมาติดหน้ากลอง เพื่อปรับระดับโทนเสียง ให้กลองทุกลูก ดังในคีย์เสียงเดียวกัน เมื่อเล่นเสร็จแล้ว จะขูดข้าวเหนียวออก ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาด คราบข้าวเหนียวออกจนหมด ก่อนนำไปเก็บ

วงโปงลางพื้นบ้าน จะใช้กลองยาว ๔-๕ ลูก เรียงลำดับเล็กไปหาใหญ่ ขึงขึ้นเสียงกลองให้ได้ระดับ ตามต้องการ เรียงลำดับเสียงสูง ไปหาต่ำ วางกลองแต่ละลูกบนขาตั้งกลอง


* drums023.jpg (187.39 KB, 750x500 - ดู 1663 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:54:37 »

ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.isan.clubs.chula.ac.th/dontri/index.php?transaction=index_dontri.php

บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 08:56:38 »

เอกลักษณ์บ้านเฮาครับ พิณ  แคน  ซอ  โหวด  โปงลาง  ฟังให้ม่วนซื่นกะได้  ฟังแล้วเศร้าฮ้องให่กะมี

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!