อักษรธรรมอีสาน ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 18:58:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อักษรธรรมอีสาน  (อ่าน 38146 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:19:23 »

 หมายถึง อักษรที่กลุ่มชนทางตะวันออกเฉียงเหนือใช้จดบันทึก ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า อักษรตัวเมือง  อักษรธรรมหรือบางทีเรียกว่าอักษรยวน  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกอักษรชนิดนี้ว่า "อักษรธรรมอีสาน" เพื่อเน้นลักษณะบางอย่างที่แตกต่างจากอักษรธรรมเหนือ แต่อาจเรียกสั้น ๆ ว่า อักษรธรรมหรือหนังสือธรรม   ลักษณะตัวอักษรใกล้เคียงกับอักษรมอญ พม่า เป็นอักษรที่ใช้บันทึกเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา (คดีธรรม) เป็นส่วนใหญ่    ดังนั้นอักษรธรรมอีสานจึงมีความสำคัญเทียบเท่าอักษรขอม ซึ่งถือว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธ์

           อักษรตัวธรรมอีสาน มีรูปร่างคล้ายคลึงกับอักษรพื้นเมืองในภาคเหนือมากจนเกือบจะเป็นอักษรชนิดเดียวกัน  จึงทำให้คิดว่าอักษรธรรมอีสานและล้านช้างนั้นได้แบบอย่างมาจากอักษรมอญหริภุญชัย (ลำพูน) ซึ่งน่าจะผ่านอาณาจักรล้านนาก่อน   ทั้งนี้อาศัยจากข้อสันนิษฐานของ ดร.ฮันส์ เพนช์ ที่ว่า "อักษรยวน ในพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรมอญหริภุญชัย (ลำพูน) ที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกพุทธศตวรรษที่ ๑๘" (คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ ๒๕๑๙:๒๓) แล้วอาณาจักรล้านช้างจึงนำเอาอักษรยวนมาใช้ และวิวัฒนาการตามลำดับขั้นตอน จนกลายเป็นอักษรธรรมในอาณาจักรล้านช้าง แล้วถ่ายทอดเข้ามาแพร่หลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

           อาณาจักรล้านช้างได้เข้ามามีอำนาจเหนือดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในรัชกาลของพระเจ้าโพธิสาลราช (พ.ศ.๒๐๕๙ - ๒๐๙๑)  ในสมัยนี้ พระเจ้าโพธิสาลราช ได้มีการฟื้นฟูศาสนาอย่างแท้จริง  จึงอาจเป็นเหตุให้อักษรธรรมซึ่งเป็นอักษรสำหรับจารึกเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน และวรรณกรรมต่าง ๆ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาณาจักรล้านช้างได้รับจากล้านนาไทย แล้วเผยแพร่เข้ามาถึงดินแดนอีสานของไทย   นอกจากนี้ยังพบว่าวรรณกรรมอีสานที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากล้านช้างนั้น ส่วนใหญ่มีเค้าโครงเรื่องแบบเดียวกับวรรณกรรมล้านนา หรือภาคเหนือของไทยปัจจุบัน เช่น เรื่องจำปาสี่ต้น  ท้าวก่ำกาดำ  ลิ้นทอง (ทางภาคเหนือ เรียกว่า ชิวหาลิ้นคำ) สุพรมโมกขา ฯลฯ (วรรณกรรมเหล่านี้ไม่ปรากฏในภาคกลาง) ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่ามีการสืบทอดวัฒนธรรมล้านนารวมทั้งอักษรเข้าสู่ดินแดนภาคอีสานของไทย โดยผ่านอาณาจักรล้านช้างนับแต่สมัยพระเจ้าโพธิสาลราช และทวีขึ้นในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระเจ้าโพธิสาลราช  ซึ่งเคยเสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ.๒๐๘๙ - ๒๐๙๑ ได้เสด็จกลับมาเป็นกษัตริย์ล้านช้างพร้อมกับนำสรรพวิชาการทั้งหลายรวมทั้งตำราทางพระพุทธศาสนา  วัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งด้านอักษรธรรมเข้ามาด้วย

           ชาวอีสานรับเอาอักษรธรรมมาใช้ในวัด พระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระศาสนา จึงจำเป็นต้องเรียนรู้อักษรธรรม รวมทั้งประชาชนใช้อย่างแพร่หลาย  โดยเฉพาะผู้ชายที่อยู่ในหมู่บ้านในเมืองจะอ่านหนังสือได้แทบทุกคน  เพราะทุกหมู่บ้านในภาคอีสานจะมีวัด เด็กอายุสิบกว่าขวบพ่อแม่จะให้บวชเณรเพื่อรับการศึกษาเบื้องต้น เรียนธรรมมะ เรียนอ่าน และจาร  เพราะคำสอนทางศาสนาต้องจารด้วยตัวธรรม   ดังนั้นอักษรธรรมจึงกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวอีสานซึ่งต่างไปจากภาคอื่น ๆ และเมื่ออีสานได้รับเอาอักษรธรรมมาใช้ก็ได้วิวัฒนาการเป็นของตนเอง มีรูปแบบและอักษรวิธีที่แตกต่างไปจากต้นแบบเดิมบ้าง และมีชื่อเรียกอักษรของตนเองว่า "อักษรธรรมอีสาน" เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างไปจากอักษรธรรมอื่น ๆ

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:20:06 »

๑. พยัญชนะ อักษรธรรมอีสานมีพยัญชนะ ๒ แบบ คือ ตัวเต็ม และตัวเฟื้อง
     ๑.๑ ตัวเฟื้อง เป็นการตัดจากเชิงของตัวเต็มหรือสร้างขึ้นใหม่ บางครั้งเรียก "ตัวห้อย"
     ๑.๒ ตัวเต็ม เมื่อวางใต้พยัญชนะอื่นเมื่อเป็นตัวสะกดหรืออักษรประสม เรียกว่า "ตัวซ้อน"
     ๑.๓ บางตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นอย่างเดียว จึงไม่มีตัวเฟื้องหรือตัวห้อย ขณะที่บางพยัญชนะมีตัวเฟื้องหลายแบบ เช่น ตัว ง ย ล เป็นต้น
     ๑.๔ อักษรธรรมที่ใช้เขียนบาลีใช้ตัว ป ตัวเดียว แต่ในภาษาถิ่นใช้แทนเสียง บ ด้วย จึงเขียนให้ต่างกันเล็กน้อย คือ ตัว ป ขอดหาง ตัว บ ไม่ขอดหาง
บางตำรา ตัว ป หางยาว (ธวัช ปุณโณทก.๒๕๔๐:หน้า ๖๙)
     ๑.๕ ตัว ฑ ใช้แทนเสียง ด ในภาษาถิ่น


* thm_alphabet01.gif (17.03 KB, 465x928 - ดู 18251 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:20:50 »

พยัญชนะอักษรธรรมอีสานที่ใช้เขียนภาษาไทยอีสาน เพิ่มตัว บ ฝ ฟ อ ฮ และ ย (หยาดน้ำ)

แบ่งเป็น ๓ หมู่ ดังต่อไปนี้


* thm_alphabet02.gif (19.57 KB, 537x849 - ดู 21668 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:22:39 »

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
http://www.esanclick.com/newses.php?No=954
http://www.esansawang.in.th/tham/thamhome.htm
http://www.culture.lru.ac.th/index.php?option=com

บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 08:49:11 »

ตัวธรรมอีสานนี้เจอบ่อย  คณาจารย์บ้านเราศึกษาอ่านเขียนกันมาก ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
mr.kan
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 28

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 29%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 10:42:11 »

อ้ายเต้  แมนที่ ลป.คำบุ  ใช้เขียนหลังอ้ายบ่  นึกแล้วยังเจ็บแทนอ้านแต้บ่หายเลย      จังไดออกพรรษาก็หาเก็บตะกรุดไวฝากแนเด้อ 

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 10:45:58 »

คมชัดลึก :?อักษรธรรมลาว? เป็นอักษรที่คนโบราณในภาคอีสานใช้จารึกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์ หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา จารึกสรรพวิชา ตลอดจนจารึกขนบธรรมเนียมประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน เราสามารถพบการจารึกอักษรธรรมลาวแบบนี้ได้ตามคัมภีร์ใบลานเก่าๆ ที่เรียกว่า ?หนังสือผูก?

พระเกจิอาจารย์ในภาคอีสานรูปหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญอักษรธรรมลาว คือ ?พระครูวิบูลย์นวกิจ? หรือ ?หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต? เจ้าอาวาสวัดกุดชมภู ต.กุดชมพู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่า "ทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง"

ในช่วงที่หลวงปู่คำบุท่านออกธุดงค์ ท่านได้ไปร่ำเรียนวิชามาจากพระเกจิอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ของ ?ญาท่านกรรมฐานแพง? แห่งวัดสะเพือ อ.พิบูลมังสาหาร วิชาที่ท่านชำนาญและเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากคือ ?การจารอักขระ อักษรธรรมลาว? ทั้งนี้ท่านทำพิธีลงเหล็กจารบนแผ่นหลังของผู้ที่ศรัทธา โดยลูกศิษย์มีคติความเชื่อว่าเป็น ?เมตตามหานิยมและวิชาทางคงกระพันชาตรี?
การลงเหล็กจารบนแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ จะไม่เหมือนกับการสักยันต์ เพราะการสักยันต์คือการนำเข็มสักจุ่มหมึกสัก และสักลงบนพื้นที่ที่จะสักเป็นจุดๆ ต่อเนื่องกันไปจนเกิดเป็นตัวอักขระ แต่การลงเหล็กจารจะเป็นการนำเหล็กปลายแหลมเขียนลงไปในบริเวณที่ต้องการเขียน
ทุกวันนี้ หากหลวงปู่ไม่มีกิจนิมนต์นอกวัด จะมีบรรดาผู้ศรัทธาในความขลังแวะเวียนเข้าไปให้ท่านลงเหล็กจารบนหลังมากมาย ในบางวันก็ต้องว่ากันตั้งแต่หลังเพลไปจนถึงสามสี่ทุ่ม จนกว่าจะหมดคน หลายต่อหลายคนเป็นผู้ที่มาลงครั้งแรก และอีกหลายต่อหลายคนที่วนเวียนมาลงโดยตั้งใจว่าจะต้องครบ ๗ ครั้ง ตามตำรา ขณะเดียวกันลูกศิษย์ได้นิมนต์ท่านมาจารยันต์บนแผ่นหลัง ที่วัดศรีสุดารามวรวิหาร บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ เป็นครั้งคราว
มีคติความเชื่อในหมู่ลูกศิษย์ว่า ?ใครก็ตามที่ลงจารอักขระธรรมได้ครบ ๗ ครั้ง จะส่งผลให้อักขระธรรมที่ลงไปนั้นฝังลึกไปจนถึงกระดูก และถ้าสามารถประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้วล่ะก็ จะทำให้ผู้นั้นอยู่ยงคงกระพันต่อศัสตราวุธทั้งปวง ตลอดจนเป็นเมตตามหานิยมแก่ผู้ที่ได้พบเห็น?
นอกจากหลวงปู่คำบุท่านจะเก่งในเรื่องของการจารอักขระลงบนหลังของผู้ที่ศรัทธาแล้ว ตะกรุดที่ท่านสร้างขึ้นมาเช่น ตะกรุดปืนแตก ก็เด่นทางด้านมหาอำนาจ ตะกรุดรกแมว ก็เด่นทางด้านเมตตา แต่ทีเด็ดอีกอย่างหนึ่งของท่านคือ "ชานหมาก? ทั้งนี้ ท่านยังได้ใช้ชานหมากที่เคี้ยวขึ้นนี้ในการรักษาโรค เช่น โรคงูสวัส โรคตาแดง ฯลฯ
หลวงปู่มักสอนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า ?ความละเอียดอ่อนของธรรมะอยู่ที่การปฏิบัติ เราต้องฝึกฝนและขัดเกลาตัวเองให้มากที่สุด ทุกวันนี้คนเราหย่อนยานในการปฏิบัติ คิดกันว่าศาสนาเสื่อม ศาสนาไม่เสื่อมหรอก ศาสนาขาวสะอาด เรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้เพราะใจคนมันเสื่อมลง เสื่อมลงจากศีล เสื่อมลงจากธรรม?
ส่วนชาติภูมิของหลวงปู่คำบุนั้น ?คำบุ คำงาม? เป็นชื่อและสกุลเดิมของท่าน เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ ณ บ้านกุดชมภู ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ โยมบิดาชื่อ นายสา โยมมารดาชื่อ นางหอม นามสกุล คำงาม
หลวงปู่เป็นลูกชายคนสุดท้องของพี่น้องทั้งหมด ๖ คน ในสมัยท่านยังเป็นเด็กน้อย บิดามารดาของท่านได้ให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกุดชมภู เมื่อปี ๒๔๘๒ โดยมี ท่านพระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อบวชแล้ว หลวงปู่คำบุได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้พระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) อุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์รอดจึงได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่รอดจวบจนท่านได้มรณภาพลง พระอาจารย์รอดก็กลับมาพำนักพักที่วัดบ้านม่วงตามเดิม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://board.palungjit.com

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 11:47:45 »

อักขรวิธีของอักษรธรรมอีสาน
อักษรวิธีหรือการผสมอักษรธรรมอีสาน แตกต่างจากอักษรวิธีของอักษรไทยโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ อักษรไทยกำหนดให้วางพยัญชนะไว้บนบรรทัดเดียวกันหมด ทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกดและตัวควบกล้ำ ส่วนสระวางไว้รอบพยัญชนะต้น หรือวางไว้บน ล่าง หน้า หลังพยัญชนะได้

ส่วนอักขรวิธีของอักษรธรรมอีสานมีระเบียบวิธีที่แตกต่างออกไป แต่คล้ายคลึงกับอักษรวิธีของอักษรขอม โดยวางพยัญชนะต้นซึ่งใช้พยัญชนะตัวเต้มไว้บนบรรทัด ส่วนพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลีซึ่งใช้รูปของพยัญชนะตัวเต็มบ้าง ตัวเฟื้องบ้างนั้นอาจวางไว้บนล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง และหลังพยัญชนะได้

พยัญชนะของอักษรธรรมอีสาน
พยัญชนะของอักษรธรรมอีสานแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ คือ

พยัญชนะตัวเต็ม คือ รูปของพยัญชนะที่เขียนเต็มรูปตามรูปแบบของอักษรธรรมอีสานซึ่งมี 38 รูป ใช้เขียนบนบรรทัด ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น หรือบางตัวอาจทำหน้าที่เป็นตัวสะกดหรือตัวควบกล้ำได้ และในบางกรณีมีบางตัวใช้เขียนใต้บรรทัดซ้อนใต้พยัญชนะโดยทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลี
ตัวเฟื้อง บางครั้งเรียกว่า ตัวห้อย หรือ ตีน ซึ่งเหมือนกับเชิงในพยัญชนะขอม โดยนิยมเขียนใต้บรรทัด (ยกเว้นตัวเฟื้องของพยัญชนะ ร และแบบหนึ่งของ ง เฟื้อง) ตัวเฟื้องที่พบในอักษรธรรมอีสานมีทั้งหมด 19 ตัว ซึ่งตัวเฟื้องเหล่านี้มีหน้าที่เป็นพยัญชนะตัวต้นไม่ได้ จะใช้เขียนในกรณีที่พยัญชนะเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด หรือตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตามในหลักสังโยคของภาษาบาลี
ลักษณะของตัวอักษรธรรมดังภาพด้านล่างนี้ เป็นฟอนต์ที่อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ออกแบบสร้างขึ้น มี 2 แบบสำหรับการพิมพ์บนโปรแกรมจัดเอกสารทั่วไป (word) เรียกชื่อฟอนต์ว่า UbWManut และอักษรสำหรับโปรแกรมกราฟิก (PhotoShop) เรียก UbPManut ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์มนัส สุขสาย ปราชญ์ท้องถิ่นอุบลฯ ผู้มีความสามารถด้านการอ่านและจารตัวอักษรธรรม อัษรไทยน้อย และเขียนเรื่องราวของตัวอักษรโบราณอีสานเผยแพร่


* ตัวธรรม.jpg (294.36 KB, 574x852 - ดู 18938 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!