พระพุทธมงคลมิ่งเมือง ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 17:50:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธมงคลมิ่งเมือง  (อ่าน 10345 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 กันยายน 2554, 18:13:22 »

พระมงคลมิ่งเมือง  ณ  พุทธอุทยาน  (เขาดานพระบาท)
อำเภอเมือง  จังหวัดอำนาจเจริญ
เดิมคณะสงฆ์และประชาชนได้ร่วมแรงร่วมใจกัน  ศรัทธาก่อเค้าโครงขึ้นด้วยอิฐและหิน  ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น  ก่อขึ้นเป็นเพียงรูปโกลน  ยังไม่มีพระเศียรและพระกร  ประดิษฐานอยู่บนแท่นสูง  ๔.๕๘ เมตร  กว้าง  ๕.๒๕  เมตร  และยาว  ๑๐.๑๐  เมตร  ตั้งอยู่บนดานหินธรรมชาติ  แต่ด้านทิศเหนือฐานวางลงไปไม่ถึงดานหิน  มีซอกและโพรงอยู่  ๒-๓  ตอน  ขาดความแข็งแรงตามหลักวิชาการ  ด้านเทคนิคการก่อสร้าง  และแบบอย่างของพระพุทธรูปที่กำหนดไว้แต่เดิม  ซึ่งต้องการให้เป็นแบบพระพุทธชินราช  จังหวัดพิษณุโลก  ประกอบด้วยซุ้มเรือนแก้วและฉัตร  พระพุทธรูปองค์เดิมนี้เริ่มก่อเค้าโครงมาตั้งแต่ต้นปี  พ.ศ. ๒๕๐๖  โดยยังไม่มีการฉาบปูนและแต่งผิวภายนอกใดๆทั้งสิ้น  นอกจากการขาดหลักวิชาการทางเทคนิคดังกล่าวแล้ว  การก่อสร้างพระมงคลมิ่งเมืองนี้ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก  ยากที่คณะผู้ศรัทธาจะดำเนินการให้ลุล่วงไปได้โดยลำพัง  ประกอบกับได้ทราบว่า ฯพณฯพลเอกประภาส   จารุเสถียร  รองนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  มีพระบรมสารีริกธาตุไว้สักการบูชา  จึงได้เจริญศรัทธาไปยัง  ฯพณฯ  ขอให้ช่วยอุปการะเกื้อกูลกิจกรรมอันเป็นกุศลนี้  พร้อมทั้งขอพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุในองค์พระมงคลมิ่งเมืองนี้ด้วย  เพื่อเป็นสวัสดิมงคล  และเป็นมิ่งขวัญแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสืบไป
ฯพณฯ  พลเอกประภาส   จารุเสถียร  จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ออกมาตรวจสอบภูมิประเทศ  และการดำเนินงานของคณะผู้ศรัทธาดังกล่าว  แล้วปรากฏว่าพื้นที่ภูมิประเทศบริเวณเขาดานพระบาท  ที่จะทำการก่อสร้างพระมงคลมิ่งเมืองนี้  เดิมมีเนื้อที่  ๗๓  ไร่  ๑  งาน  ๓๔  ตารางวา  กรมทางหลวงแผ่นดินยอมแลกเปลี่ยนให้  ๒๙  ไร่  ๑  งาน  ๕๐  ตารางวา  และราษฎรได้อุทิศที่ดินร่วมในการกุศลอีก  ๔๒  ไร่  ๑  งาน  ๘  ตารางวา  รวมเป็น  ๑๔๔  ไร่  ๒  งาน  ๔๒  ตารางวา
ด้านทิศเหนือ   มีดานหินเป็นพืดยาว  ๓  เส้นเศษ  ลาดต่ำลงไปจรดเขตนิคมโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณะสุข  ทิศใต้  เป็นดานหินยาว  ๓  เส้น  จรดทุ่งนาของประชาชน  ทิศตะวันออก  ติดกับทางหลวงแผ่นดินสาย  ๒๑๒  ถนนชยางกูร  ทิศตะวันตก  จรดอ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์
บริเวณเขาดานพระบาทนี้  พื้นที่เป็นเนินสูง  ประกอบด้วยดานหินธรรมชาติ  โพล่ขึ้นจากระดับผิวดินเป็นตอนๆ  ประกอบด้วยหมู่ไม้เบญจพรรณมีดอกใบสีต่างๆขึ้นหนาแน่นเป็นที่รื่นรมย์   เขาดานพระบาทนี้อยู่ในบริเวณที่ตั้งของพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์มาแต่ดึกดำบรรพ์  ประชาชนพื้นเมืองจึงได้ขนานนามว่า ?เขาดานพระบาท? ต่อเนื่องมาช้านาน  พยานหลักฐานสำคัญในขณะนี้ปรากฏว่าได้ขุดพบศิลปวัตถุเก่าแก่มีอายุประมาณได้  ๑๕  พุทธศตวรรษ  ในแถบบริเวณใกล้เคียงกับเขาดานพระบาทนี้หลายแห่งที่สำคัญ  เช่น  พระพุทธรูปสลักด้วยหินทรายสีแดง  ๒  องค์  ยังสลักไม่แล้วเสร็จ  พุทธลักษณะแสดงชัดว่า  เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐ์ขึ้นในระยะเวลาตรงกับสมัยทวารวดี  รุ่นหลัง  มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่  ๑๐ ? ๑๒  ขุดได้จากอ่างเก็บน้ำห้วยปลาแดก  เสมาสลักด้วยหินทรายแดงขนาดใหญ่จำนวนมาก  มีอายุสมัยเดียวกับพระพุทธรูปขุดได้ที่ตำบลน้ำปลีก  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาดานพระบาท  เครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาลแก่ฝีมือช่างขอม  สมัยพุทธศตวรรษที่  ๑๖ ? ๑๗  ขุดได้ที่ตำบลนาหมอม้า  ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันว่าเขาดานพระบาทนี้อยู่ในบริเวณพุทธสถานอันสำคัญมาแต่โบราณกาล
ลักษณะตามอิทธิพลของสกุลศิลปะอินเดียเหนือปาละ  ซึ่งได้แผ่อิทธิพลมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖  ถือเป็นต้นแบบของสกุลศิลปะพระพุทธรูปแบบล้านช้าง  สืบต่อเป็นสายวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นมาแต่โบราณ  ผู้ออกแบบองค์พระได้ออกแบบโครงสร้างใหม่ครอบองค์พระเดิม  โดยขยายขนาดองค์พระให้ใหญ่ขึ้น  เป็นแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย  เฉพาะพระพักตร์มีขนาดกว้าง  ๒.๐๐ เมตร  วัดจากพระหนุถึงยอดเปลวพระรัศมี  ๖.๐๐ เมตร  ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับต่ำสุดถึงยอดเปลวพระรัศมี  ๒๐.๐๐ เมตร  หน้าตักกว้าง  ๑๑.๐๐ เมตร  โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตลอด  ผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง  นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติการณ์การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดที่บุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง  การก่อสร้างองค์พระพร้อมด้วยฐานแล้วเสร็จเมื่อวันที่  ๑๕  เดือนสิงหาคม  พ.ศ.๒๕๐๗ 
เพื่อให้  พระมงคลมิ่งเมือง  เป็นองค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีสรรพอาถรรพ์  เป็นมิ่งมงคลควรแก่การเคารพบูชาแก่ประชาชนทั้งภาคตะวันออดเฉียงเหนือ  และประชาชนทั่วไปตามความมุ่งหมาย  ได้ฤกษ์ตรงกับวันที่  ๑๓  พฤษภาคม  ๒๕๐๘  เวลา  ๑๕.๐๐  น.  เริ่มพิธีเปิดพุทธอุทยาน  และเริ่มพิธีพุทธาภิเษก  เวลา  ๑๕.๔๖  น.  ในวันเดียวกัน  โดยมี  ฯพณฯ  พลเอกประภาส  จารุเสถียร  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  เป็นประธานในพิธี  สมเด็จพระมหาวีรวงส์  (จวน  อุฐฎายี)  วัดมกุฎกษัตริยาราม  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์   เริ่มพิธีพุทธาภิเษก  ตั้งแต่วันที่  ๑๓  พฤษภาคม  ๒๕๐๘  เวลา  ๑๕.๔๖  น.  ตลอดจนรุ่งวันที่  ๑๔  พฤษภาคม  ๒๕๐๘  เวลาประมาณ  ๐๙.๐๐  น.  ในพิธีพุทธาภิเษกนี้ครธกรรมการได้จำลองพระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระบูชาขนาดหน้าตัก  ๖ นิ้ว  และ ๔  นิ้ว  กับได้ทำเหรียญเข้าพิธีพุทธาภิเษก  ให้ประชาชนเช่าไปสักการะบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย


* PC310414.JPG (51.12 KB, 400x533 - ดู 1594 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!