บูรพาจารย์และศิษย์สายสำเร็จลุนแห่งนครจำปาสัก ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 16:28:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บูรพาจารย์และศิษย์สายสำเร็จลุนแห่งนครจำปาสัก  (อ่าน 10374 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 208

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 66%
HP: 6.1%



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2562, 08:51:02 »

ต้องกราบขออภัยที่ผู้จะทำนำรายชื่อที่ตามสืบค้นได้ยังไม่ครบ ข้อมูลส่วมมากได้รวบรวมจากคำบอกเล่า จากเว็บไซต์ ที่สามารถอ้างอิงหลักฐานได้อย่างชัดเจน

บูรพาจารย์และศิษย์สายสำเร็จลุนแห่งนครจำปาสัก

สาเร็จลุน นามเดิม ลุน เกิดวัน เดือน ปีใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ถ้าเทียบเคียงกับประวัติหลวงปู่โทน กนฺตสีโล พอเชื่อได้ว่าคงอยู่ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ ที่บ้านจิก ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านร้าง ภายหลังได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านทรายมูล ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาบิดา มารดาได้อพยพครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี นามบิดา มารดาและมีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏหลักฐานในประวัติเช่นกัน (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘ : ๒๙๑ – ๒๙๒)



* mfcp2(1).jpg (68.88 KB, 654x780 - ดู 4503 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มกราคม 2563, 21:20:37 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 208

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 66%
HP: 6.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2562, 09:00:13 »

บูรพาจารย์และศิษย์สายสำเร็จลุน

********* รายนามบูรพาจารย์และศิษย์สายสำเร็จลุน ***********

ต้องกราบขออภัยในลำดับที่เรียง อาจไม่ตรงกับอาวุโสพรรษาพระเถระครูบาอาจารย์ ด้วยศิษย์ในสายสำเร็จลุนมีมาก
ซึ่งบางรูปท่านไม่ยอมให้ถ่ายภาพ ทำประวัติ หรือออกนาม บางรูปประวัติลางเลือนยากที่จะค้นเจอเป็นเพียงเรื่องเล่า
หากขาดตกบกพร่องรายชื่อครูบาอาจารย์ท่านใด ข้าน้อยกราบขออภัยครูบาอาจารย์ด้วยเกล้า
 
๑. อาญาราชครูโพนสะเม็ก (ญาครูขี้หอม)
    ปรมาจารย์ใหญ่ของสำเร็จลุนผู้บูรณะพระธาตุพระพนมในยุคแรก ผู้ประสิทธิประสาทวิชาพระเวทให้สำเร็จลุน ผู้ชำนาญในวสี ประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์
๒. ญาท่านอุตตมะ อุปัชญาย์สำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็นหลวงอา
๓. สำเร็จลุน บูรพาจารย์พระเวทแห่งนครจำปาสัก ผู้เรืองวิทยาคมแห่งสองฝั่งแม่น้ำโขงไทย-ลาว
๔. หลวงปู่ญาท่านสีดา วัดสิงหาญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลศิษย์ร่วมสำนักสำเร็จลุน
๕. พระอาจารย์ใหญ่ญาท่านดีโลด(พระครูวิโรตน์รัตโนบล บุญรอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง
จ.อุบลราชธานี ผู้บูรณพระธาตุพนมก่อนล่ม
๖. พระครูสีทัต อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทนและพระบาทบัวบก
๗. พระครูโคล่นฟ้า (อาจารย์ของหลวงพ่อเดีย วัดบ้านด่าน)
๘. เณรคำ สปป.ลาว
๙. เณรแก้ว สปป.ลาว
๑๐. ญาท่าน(สำเร็จ) ตู๋ ธัมมสาโร วัดสุขาวาส๑๑. ญาท่านกัมมัฎฐาน (สำเร็จ) แพง วัดสิงหาญ
๑๒. ญาท่าน(สำเร็จ)ตัน วัดสิงหาญ
๑๓. ญาท่านบัณฑิต วัดสิงหาญ
๑๔. ญาท่านห่วน วัดสร้างแก้วเหนือ
๑๕. ญาท่านบุญ วัดบ้านคำหว้า
๑๖. ญาท่านธรรมบาลโสดา
๑๗. ญาท่านหนุ่ย วัดบ้านดงแถบ
๑๘. ญาท่านแสง วัดสระบัว
๑๙. ญาท่านโทน วัดบูรพา
๒๐. ญาท่านทอง วัดหัวเรือ
๒๑. ญาท่านฤทธิ์ วัดหัวเรือ
๒๒. ญาท่านภู วัดบ้านกองโพน
๒๓. ญาท่านภู วัดบ้านคำสะหมิง
๒๔. ญาท่านดี วัดบ้านเหล่าลิง
๒๕. ญาท่านศรี วัดสิงหาญ
๒๖. ญาท่านหลักคำ วัดโพธิ์ศรี
๒๗. ญาท่านบุตร วัดสำราษราฐ
๒๘. ญาท่านลี วัดเอี่ยมวนาราม
๒๙. ญาท่านบุญโฮม วัดดอนรังกา
๓๐. ญาท่านกัมมัฎฐานเก่ง วัดบ้านดงแถบ
๓๑. ญาท่านสวน ฉนฺทากโร วัดนาอุดมอ.ตาลสุม จ.อุบลราชนี
๓๒. ญาท่านโทน วัดบ้านพลับอ.เขื่องใน จ.อุบลธาชธานี
๓๓. ญาท่านสนธ์ วัดท่าดอกแก้ว
๓๔. ญาท่านอ่อง บ้านสะพือ อ. ตระการพืชผล จ.อุบล
๓๕. ญาท่านคำบุ คุตฺตจิตฺโตวัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
๓๖. หลวงปู่พรหมา เขจาโร วัดเขานางคอยอ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี
๓๗. ญาท่านฮุ่ง วัดทุ่งแสวงสองคอน อ.โกสุม จ.มหาสารคาม
๓๘. ญาท่านป้อ ธมฺมสิริ วัดบ้านเอียด ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
๓๙. ญาท่านซุน ติกขปัญโญ วัดบ้านเสือโก้ก ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม
๔๐. หลวงปู่คำคนิง จุลมณี วัดถ้ำคูหาสวรรค์อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
๔๑. ญาท่านทวง ธัมมโชโต วัดบ้านยาง อ.บาบือ จ.มหาสารคาม
๔๒. ญาท่านปัญญา วัดผักหนาม จ.ชลบุรี
๔๓. หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาร จ.อุดรธานี
๔๔. หลวงปู่จันทรหอม สุภาจาโร วัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบล
๔๕. หลวงพ่อจ่อย สุจิตโต วัดศรีมงคล ต.หนองสนม จ.สกลนคร
๔๖. ญาท่านบุญมาก ภูมะโรง ประเทศลาว
๔๗. ญาท่านมุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอ จ.ศรีษะเกษ
๔๘. หลวงปู่ท่านสุภาจ.ภูเก็ต
๔๙. ญาท่านหมุน วัดบานจาน จ.ศรีษะเกษ
๕๐. ญาท่านลุน วัดโพนแพง จ.ขอนแก่น
๕๑. ญาท่านด่อนอินทสาโรวัดถ้ำเกียอ.ปากคาดจ.หนองคาย
๕๒. หลวงปู่ทับ วัดป่าแพงศรี อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
๕๓. ญาถานทา ( หลวงปู่ทา นาควัณโณ ) วัดศรีสว่างนาราม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลฯ
๕๔. ญาถานเบิ้ม อุตฺตโม (บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี) วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
๕๕. หลวงปู่ยักษ์ โคษะกะ วัดภูตากแดด อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กรกฎาคม 2562, 09:20:39 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 208

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 66%
HP: 6.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2562, 09:23:57 »

บูรพาจารย์อาญาราชครูโพนสะเม็ก (ญาครูขี้หอม)
    ปรมาจารย์ใหญ่ของสำเร็จลุนผู้บูรณะพระธาตุพระพนมในยุคแรก ผู้ประสิทธิประสาทวิชาพระเวทให้สำเร็จลุน ผู้ชำนาญในวสี ประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์

เจ้าราชครูโพนสะเม็ก
   เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ลาวยุคที่แผ่ราชอาณาจักรครอบคลุมสองฝั่งแม่น้ำโขง  ท่านเป็นผู้ทำให้ราชอาณาจักรลาวในตอนนั้นที่มีอยู่แล้ว ๒ อาณาจักรคือล้านช้างหลวงพระบาง และล้านช้างเวียงจันทน์  กลายเป็น ๓  อาณาจักรอิสระ เพราะเพิ่มอาณาจักรจำปาศักดิ์ขึ้นมาอีก

            เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กเป็นที่รู้กันในชื่ออื่น ๆ เช่น  ญาครูขี้หอม  หลวงพ่อขี้หอม  พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก  เป็นต้น  ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน  และการเมืองสองฝั่งโขงยุคสมัยของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราชครองกรุงเวียงจันทน์  มีตำนานและเรื่องราวอันแสนพิสดารของท่านเล่าขานกันมาปากต่อปากจนมีการจดบันทึกในพงศาวดารทั้งของลาวและสยาม

เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กกำเนิดที่บ้านกะลึม  เมืองพาน(ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี)  เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๗๔  (ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราชแห่งล้านช้างเวียงจันทน์)  ได้บวชเป็นสามเณรกับพระครูลืมบอง อายุได้ ๑๓-๑๔ปีจึงได้เข้าไปอยู่ในเวียงจันทน์กับพระครูยอดแก้ว  ศึกษา  ท่องบ่นสวดมนตร์ต่าง ๆ จนถึงพระปาฏิโมกข์   วินัยสงฆ์ทั้งหมด  จดจำได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ

            ท่านพระครูยอดแก้วได้สอนเนื้อหาในพระไตรปิฎกตั้งแต่ธรรมบทภาคแรกถึงภาคแปดเณรก็จำได้ทั้งหมด  พระครูจึงได้นำหีบหนังสือจากหอไตรทั้งหมดยกมาให้เณรเรียน  เณรก็เรียนรู้ได้ทั้งหมด  มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยตั้งแต่ยังเป็นเณร  จนกิตติศัพท์เลื่องลือไปถึงพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์  ทรงเลื่อมใสและจัดผ้าไตรมาถวาย  ยกย่องให้เป็นซาจัว (ซา-พระราชา,จัว-เณร)

            ครั้นซาจัวอายุครบ ๒๐ ปี  พระเจ้ากรุงเวียงจันทน์  และพระครูยอดแก้วผู้อาจารย์จึงจัดพิธีอุปสมบทให้อย่างพิเศษยิ่งใหญ่  หนึ่งปีต่อมา  พระภิกษุใหม่ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้จึงเลื่อนขึ้นเป็นพระครู  จำพรรษาที่วัดโพนสะเม็ก  คนทั้งหลายจึงเรียกพระครูโพนสะเม็กแต่นั้นมา

            พระครูโพนสะเม็กสะสมบารมีเป็นที่พึ่งของคนทั่วไป  ได้รับความรัก  ความศรัทธามากมายจึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าราชครู  คนทั้งหลายยังเรียกท่านว่า  เจ้าราชครูโพนสะเม็ก

   ปี พ.ศ. ๒๒๓๓  พระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราชเสด็จทิวงคต  พระโอรส คือ  เจ้าองค์หล่อยังทรงพระเยาว์ (ชนมายุ ๑๓ พรรษา)  พระนางสุมังคลามเหสีกำลังทรงพระครรภ์  พระยาแสนเมืองเสนาบดีฝ่ายขวา  ทำการชิงราชสมบัติ  ผู้จงรักภักดีคุ้มครองเจ้าองค์หล่อหนีไปพึ่งญวณ  ส่วนพระนางสุมังคลาพร้อมคนสนิทหนีมาพึ่งเจ้าราชครูโพนสะเม็ก (ตอนนั้นได้เลื่อนเป็นพระครูยอดแก้ว)ด้วยท่านมีลูกศิษย์ ลูกหา ญาติโยมเยอะ เป็นที่พึ่งได้  และพระนางไม่ยินยอมตกเป็นมเหสีของพระยาเมืองแสน    เจ้าราชครูโพนสะเม็กจึงจัดการให้พระนางพร้อมบริวารจำนวนหนึ่งไปอยู่ที่  ?ภูสะง้อหอคำ?  เมื่อพระนางคลอดพระโอรสออกมา  ได้นามว่า  ?เจ้าหน่อกษัตริย์?

            เหตุการณ์ในเวียงจันทน์ช่วงนี้วุ่นวาย  พระยาเมืองแสนถูกฆ่าตาย  เจ้าองค์หล่อได้สืบราชสมบัติแทนพระบิดา  ผู้อยู่เบื้องหลังแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย  เจ้าราชครูฯซึ่งมีบริวารมากไม่อยากเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด  จึงได้อพยพกันออกจากเวียงจันทน์  นำพระนางสุมังคลา  พร้อมเจ้าหน่อกษัตริย์ไปอยู่บ้าน ?งิ้วพันลำโสมสนุก?  ส่วนตนเองพร้อมผู้ติดตาม  ๓,๐๐๐ คน เดินทางเรื่อยไปจนถึงแดนเขมร

            ระหว่างการเดินทางนี้เอง  ท่านราชครูฯและสานุศิษย์ได้สร้างบ้านเมือง  ก่อตั้งวัดวาอารามหลายแห่ง  เพราะมีผู้ศรัทธาสวามิภักดิ์มากมาย  ไปพัก  ณ  ที่ใดก็มีผู้ติดตามมาตั้งบ้านเรือนขึ้นพักพิงอยู่ด้วย  ครั้นท่านย้ายต่อไปก็มีทั้งผู้พอใจจะติดตาม  และยังอาศัยทำมาหากินอยู่ที่เดิม  ไปมาหาสู่กันในยามต้องการ  จึงมีบ้านเมือง ชุมชนลาวเกิดขึ้นตามมาตลอดสองฝั่งโขง และลำน้ำสาขา นี่เองท่านจึงได้มีโอกาสมาบูรณะพระธาตุพนมดังกล่าว

            ศรัทธาบารมีของประชาชนที่มีต่อเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กนับวันยิ่งมากขึ้น  จนกระทั่งท่านได้รับนิมนต์ขึ้นเป็นพระราชา  ปกครองเมืองนครจำบากนาคบุรีศรี  ซึ่งช่วงนั้นมีแต่  กษัตรีเป็นผู้ปกครองเมืองอยู่  พระครูเข้าจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วจึงให้คนไปเชิญเสด็จ  เจ้าหน่อกษัตริย์  จากบ้านงิ้วพันลำโสมสนุกมาครองนครจำบากนาคบุรีศรี  ทรงพระนามว่า  เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร   เปลี่ยนชื่อนครจำบากนาคบุรีศรีเป็น  นครจำปาศักดิ์  แต่นั้นมา  และราชอาณาจักรลาวก็มี อาณาจักรจำปาศักดิ์เพิ่มขึ้นอีกรวมเป็น ๓ อาณาจักรดังกล่าว

อาณาจักรจำปาศักดิ์ได้แผ่ขยายออกไปมากมายโดยการส่งผู้คน ศิษยานุศิษย์ของท่านพระครูฯออกไปสร้างเมืองใหม่ ๆ ทั้งสองฟากลำน้ำโขง  และยังมีสัมพันธไมตรีกับเขมรโดยการไปขอพระราชธิดาแห่งกรุงเขมรมาเป็นมเหสีของเจ้าสร้อยศรีสมุทรฯ  ส่วนเจ้าราชครูฯก็ดำรงตำแหน่งทางฝ่ายสงฆ์บำรุงพุทธศาสนา  หล่อพระพุทธรูป  สร้างวัดวาอารามหลายแห่ง  รวมถึงได้บูรณะพระธาตุพนมด้วย

            ปัจจุบันยังมีผู้เคารพเลื่อมใส  และรำลึก  ท่านอยู่ไม่น้อย  หากใครได้ไปนมัสการพระธาตุพนม  คงได้เห็นรูปหล่อเท่าองค์จริงของท่านยืนสง่า  เหลืองอร่ามอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระธาตุพนม  วัดพระธาตุพนม  ริมฝั่งแม่น้ำโขง  เป็นหลักฐานให้รำลึกถึงผู้นำจิตวิญญาณของปวงชนชาวพุทธสืบมา

ตำนานพื้นบ้าน"ญาคูขี้หอม" แห่งล้านช้าง

ตามจารึกโบราณจารจดบทบันทึกไว้ในใบลาน เป็นตัวหนังสือธรรม ได้กล่าวไว้ว่า มีเมืองๆหนึ่ง ชื่อ "เมืองโพพันลำ" และ"เมืองพาน" เป็นบ้านเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรือง และมีเจ้าปกครองสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน สำหรับ "เมืองโพพันลำ" นั้น มีประวัติช่วงหนึ่งได้ขาดตอนไป เพราะเจ้าผู้ครองเมืองไม่มีพระราชโอรสสืบสกุล อำมาตย์ผู้ใหญ่จึงมอบเมืองให้ "ญาคูจำปา" หรือ "ญาคูลืมบอง" พระสังฆาธิการผู้ใหญ่ ขึ้นปกครองบ้านเมืองสืบต่อมา

        ญาคูลืมบอง เป็นพระภิกษุที่มีความแกร่งกล้าสามารถ เมื่อขึ้นปกครองบ้านเมือง ก็สอนให้ชาวเมืองประพฤติปฎิบัติธรรม ให้ดำรงมั่นอยู่ในธรรม ท่านจึงเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวเมือง "โพพันลำ"เป็นอย่างยิ่ง

        กาลสมัยต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองจาก "เมืองญาคูลืมบอง"  มาเป็น "บ้านกาลืม" ซึ่งเป็นบ้านหนึ่งในเขตปกครองของ ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

        ญาคูลืมบอง มีสามเณรรูปหนึ่งเป็นลูกศิษย์ชื่อว่า "สามเณรโพนสะเม็ก" เป็นผู้มีพละกำลังมหาศาล ตามตำนานเล่าว่า วันหนึ่งสามเณรได้นึ่งข้าวด้วยฟืนไม้งิ้วดำ เมื่อสุกแล้วข้าวจึงเป็นสีดำ "คณะสงฆ์" จึงติเตียนสามเณรว่า "นึ่งข้าวอย่างไรจึงทำให้ข้าวเป็นสีดำอย่างงี้" แล้วก็บังคับให้ "สามเณรโพนสะเม็ก" ฉันข้าวดำรูปเดียวจนหมด ปรากฎว่าเมื่อสามเณรฉันอิ่มแล้ว ก็เกิดเป็นผู้มีพละกำลังอันมหาศาล เหนือบุคคลธรรมดา

        สามเณรโพนสะเม็ก เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมากสามารถเรียนอักษรสมัยและพระไตรปิฎกได้รวดเร็วและแตกฉาน ท่านญาคูลืมบอง จึงนำสามเณรไปฝากเรียนหนังสือต่อที่ เมืองศรีสัตตนาคนหุต หรือ นครเวียงจันทน์ เมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้างของลาว

        ค่ำคืนหนึ่งก่อนที่ ญาคูลืมบอง จะพาสามเณรเดินทางไปถึง "สมเด็จพระสังฆราชแห่งนครเวียงจันทน์" ได้นิมิตว่า "มีช้างเผือกเชือกหนึ่งวิ่งเข้าไปในวัด พุ่งเข้าชนหอไตรที่บรรจุพระไตรปิฎกพังทลายลงมา หนังสือเก่าแก่คัมภีร์ทางพุทธศาสนาถูกทำลายจนหมดสิ้น" เมื่อตื่นจากฝันท่านได้กำหนดจิตก็รู้ในทันทีว่า "จะมีนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน"

        แล้ววันต่อมา ญาคูลืมบอง ก็นำ สามเณรโพนสะเม็ก ไปฝากให้เรียนหนังสือ สมเด็จพระสังฆราช ท่านก็รับไว้ และเป็นที่ประหลาดใจยิ่งนัก แม้ "สามเณรโพนสะเม็กแห่งเมืองญาคูลืมบอง" จะเป็นสามเณรหน้าใหม่ของ "วัดยอดแก้ว" ของ "สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงศรีสัตตนาคนหุต" ก็ตาม แต่ท่านก็เรียนหนังสือได้อย่างรวดเร็วและแตกฉานมาก ไม่นานนักก็เรียนจบชั้นสูงสุดในสมัยนั้น

        สามเณรโพนสะเม็ก มีกิจวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาของชาวศรีสัตตนาคนหุตเป็นอย่างมาก เจ้ามหาชีวิต หรือพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเลื่อมใสศรัทธา ทรงรับท่านไว้เป็น "นาคหลวง"

        ในพระราชพิธีอุปสมบทตามตำนานกล่าวว่า เวลาจัดราชพิธีอุปสมบทพระภิกษุนั้น ทรงจัดอย่างใหญ่หลวง มีพระภิกษุเข้านั่งหัถบาตจำนวน ๕๐๐ รูป และใช้แพไม้ไผ่เป็นสีมาน้ำ สถานที่ประกอบพระราชพิธีอุปสมบท และเมื่ออุปสมบทเสร็จแล้วปรากฎว่า แพที่ใช้เป็นสีมาน้ำเกิดจมลง ทำให้พระภิกษุที่เข้านั่งหัถบาตต่างพากันว่ายน้ำเข้าฝั่งอย่างอุตลุตจีวรเปียกน้ำหมดทุกรูป ยกเว้น พระภิกษุบวชใหม่ คือ สามเณรโพนสะเม็ก จีวรไม่เปียกน้ำเลย

         เมื่ออุปสมบทแล้ว พระคุณเจ้าหนุ่ม โพนสะเม็ก ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดล้านช้าง และต่อมาได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพนสะเม็ก จนได้รับการสถาปนาจาก "เจ้ามหาชีวิต" ให้เป็น "เจ้าราชครูหลวง" หรือ "สมเด็จพระสังฆราชล้านช้าง" ปกครองฝ่ายพุทธจักรแห่งนครล้านช้างในกาลต่อมา...

เจ้าราชครูหลวง หลวงพ่อโพนสะเม็ก เป็นผู้มีบารมีสูงส่งยิ่งกว่าฝ่ายราชอาณาจักร เพราะเป็นพระอาจารย์สอนอรรถสอนธรรมนำปฎิบัติ สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ชาวเมือง และเจ้านายในราชตระกูล มีคนเคารพนับถือมาก แม้เจ้านายในราชตระกูล ก็ให้การเคารพยำเกรงเป็นอย่างยิ่ง

   ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๒๕๔ เจ้ามหาชีวิต มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า "พระเจ้าองค์หล่อ" และมีพระมเหสีพระนามว่า "เจ้าชมพู"ซึ่งกำลังตั้งพระครรภ์แก่ใกล้คลอด เจ้ามหาชีวิตก็สิ้นพระชนม์ลง จึงทำให้เกิด "กบฎล้านช้าง" มีการแย่งชิงสมบัติ บ้านเมืองมีการจราจลเกิดขึ้นจนในที่สุด "พระยาแสง"หรือ "พระเจ้าสุริยวงศา"พระราชโอรสของ "พระเจ้าต่อนคำ" ได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็น "เจ้ามหาชีวิตแห่งมหานครเวียงจันทน์ล้านช้าง" แต่หตุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยสงบนัก

   "เจ้าชมพู" พระชายาและ "พระเจ้าองค์หล่อ"ราชโอรสได้หลบหนีไปพึ่งบุญญาบารมีของ"เจ้าราชครูโพนสะเม็ก"ไปพำนักที่เมืองแกวตาเปียก ส่วนพระชายา "เจ้าชมพู"ให้พาไปพำนักที่"ภูสะง้อหอคำ"หลังเวียงจันทน์ ครั้นพระชายา"เจ้าชมพู"ประสูติพระราชโอรสแล้ว "เจ้าราชครูโพนสะเม็ก"จึงขนานพระนามให้ว่า"เจ้าหน่อกษัตริย์"แล้วอัญเชิญไปประทับที่เมือง "โพพันลำงิ้วสมสนุก"พร้อมทั้งพระมารดา

    ครั้นต่อมา พ.ศ.๒๒๓๓ "ท่านราชครู"ก็เป็นที่ระแวงของ"เจ้ามหาชีวิต"แห่งนครเวียงจันทน์เกี่ยวกับความมั่นคงของราชบัลลังก์ "ท่านราชครู"จึงออกอุบายให้คณะศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ คน จากนครเวียงจันทน์ไปอัญเชิญ"เจ้าหน่อกษัตริย์"และพระมารดาออกเดินธุดงค์โดยทางเรือไปตามลำน้ำโขง มุ่งไปยัง"เมืองมรุกขนคร"เพื่อบูรณะองค์พระธาตุพนม

   ท่านราชครูโพนสะเม็ก ได้บูรณะองค์พระธาตุพนมตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไปจนถึงยอดพระธาตุ ท่านให้หล่อเหล็กเปียก เหล็กไหลขึ้นสวมยอดพร้อมด้วยฉัตรยอดองค์พระธาตุด้วย ทำให้องค์พระธาตุสง่างามและมั่นคงยิ่งขึ้น ท่านราชครูใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมเป็นเวลา ๓ ปีและได้แบ่งครอบครัวชาวเวียงจันทน์ เพื่ออยู่เฝ้ารักษาองค์พระธาตุพนมจำนวนหนึ่ง ท่านกับญาติโยมอีกจำนวนหนึ่งออกเดินธุดงค์ปฎิบัติกัมฐานไปตามลำน้ำโขง สลับฝั่งโขงซ้ายและขวา ออกลำน้ำมูล ถึงแม่น้ำโขง ออกไปทลุเมืองบรรทายเพชร เมืองหลวงกัมพูชา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "พนมเป็ญ" คือตั้งชื่อตามพระธาตุเจดีย์ที่ท่านก่อไว้บนยอดเขาและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แล้วตั้งชื่อไว้ว่า "พระธาตนางเปม"

   ท่านราชครูโพนสะเม็ก จะไปอยู่ที่ไหนท่านมักจะมีบริวารมาก เป็นคณะใหญ่คือสามารถตั้งเป็นชุมชนแน่นหนาได้ เพราะเหตุนี้เองท่านจึงเป็นที่ระแวงของกษัตริย์กัมพูชาในเวลานั้น ท่านจึงอพยพบริวารทวนขึ้นไปทางลำน้ำโขง แล้วตั้งชุมชนขึ้นที่ปลายเขตแดนเขมรตับดำ ทางการเขมรก็ตามไปจะเรียกเก็บภาษีชุมชน แต่ท่านไม่ยอมจ่ายให้ จึงอพยพบริวารกลับคืนสู่เขตล้านช้าง มาตั้งพักอยู่ที่เมือง "เซียงแตง" ตั้งวัดและชุมชนอยู่ปลายเขตแดน รวบรวมทองคำและเต้าปูนหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งชื่อว่า "พระองค์แสน"ไว้เป็นที่ระลึก แล้วย้ายมาอยู่ที่ดอนโขงและนครจำปาศักดิ์ตามลำดับ...


* ยาคูขี้หอม.jpg (137.36 KB, 575x837 - ดู 4575 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กรกฎาคม 2562, 09:37:12 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 208

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 66%
HP: 6.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2567, 14:24:56 »

มูลมังญาถ่านสำเร็จลุน
ผู้ดูแลรักษา สายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม)


* ภาพเล็กมูลมัง.jpg (522.94 KB, 1297x1295 - ดู 192 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 208

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 66%
HP: 6.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2567, 14:32:15 »

เส้นทางการสืบทอดสายญาถ่านสำเร็จลุน ที่มีความชัดเจนมากที่สุดในประเทศไทย


* 454847832_8190567634323063_7247705597854553349_n.jpg (934.36 KB, 2031x1181 - ดู 189 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!