พระกรุดอนเจ้าปู่ตา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
23 พฤศจิกายน 2567, 16:45:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระกรุดอนเจ้าปู่ตา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 11260 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ืืnakabelieve
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 0%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2561, 13:10:11 »

พระกรุดอนเจ้าปู่ตาเมืองเขมราษฏร์ธานี จากปี พ.ศ. 2357 แห่งการสถาปนา ประวัติศาสตร์ของชาวเขมราฐ ได้ทำการขุดพบพระเครื่อง พระผง เป็นจำนำมากโดยมีลักษณะแตกต่างกันไป หลักฐานจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ได้ไปขุดในปี พ.ศ.2515 ปันจุบันพระเครื่องที่กรุพบจะอยู่กับชาวบ้านตระกูลเก่าแก่ของเขมราฐ และบ้างส่วนชาวบ้านได้นำไปถวายวัด                             


* 45249907_2495978537095262_4194644934503956480_n.jpg (477.67 KB, 1458x1944 - ดู 2201 ครั้ง.)

* 45294514_2154258504635767_951481409506115584_n.jpg (500.17 KB, 1458x1944 - ดู 2184 ครั้ง.)

* 45250694_253428621911684_634432636021899264_n.jpg (455.67 KB, 1458x1944 - ดู 2128 ครั้ง.)

* 45213901_2055000657900814_4555143521299857408_n.jpg (491.04 KB, 1458x1944 - ดู 2203 ครั้ง.)

* 45288664_532343770570699_7145124614580994048_n.jpg (475.43 KB, 1458x1944 - ดู 2162 ครั้ง.)

* 45216614_561859527618131_4389179710035197952_n.jpg (456.08 KB, 1458x1944 - ดู 2174 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
ืืnakabelieve
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 0%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2561, 09:52:05 »

รูปหล่อ รุ่นแรกพระเทพวงศา(อุปฮาด ก่ำ)หลังศาลหลักเมืองเขมราฐ ปี2538


* 7f9064cf-e2bd-4f3b-bb4e-6b7f0ecdb440.jpg (25.73 KB, 360x480 - ดู 2076 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
ืืnakabelieve
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 0%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2561, 09:53:42 »

เหรียญพระเทพวงศา(อุปฮาดกำ)หลังศาลหลักเมืองเขมราฐ ปี2539


* get_auc1_img.jpg (74.83 KB, 320x403 - ดู 2111 ครั้ง.)

* get_auc1_img (1).jpg (73.55 KB, 330x407 - ดู 2051 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
ืืnakabelieve
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 0%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2561, 09:57:15 »

เหรียญ 120 ปีที่ระลึกฉลองเมืองเขมราษฏร์ธานีปี37 รับประกันแท้(แพ็ค3เหรียญ). เขมราฐ อุบลราชธานี


* ae6662e6-bc7b-4924-bc50-5e012236702e.jpg (57.58 KB, 478x480 - ดู 1986 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 83.4%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2562, 09:09:02 »

#พระกรุดอนเจ้าปู่ตาเมืองเขมราษฏร์ธานี จากปี พ.ศ. 2357
แห่งการสถาปนา ประวัติศาสตร์ของชาวเขมราฐ
ได้ทำการขุดพบพระเครื่องเนื้อโลหะ เงิน นาค ตะกั่ว พระผง เป็นจำนวนมากโดยมีลักษณะแตกต่างกันไป
หลักฐานจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ได้ไปขุดในปี พ.ศ.2515
ปันจุบันพระเครื่องที่กรุพบจะอยู่กับชาวบ้านตระกูลเก่าแก่ของเขมราฐ และบ้างส่วนชาวบ้านได้นำไปถวายวัดในเขตเทศบาล

#ประวัติโดยย่อ.ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์โปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งบ้านโคกกงพะเนียงขึ้นเป็น เมืองเขมราษฏร์ธานี มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร
และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง.อุปฮาดก่ำ. ที่อพยพมาจากเมืองอุบลราชธานีเป็นเจ้าเมืองคนแรก
มีนามว่า "พระเทพวงศา" เมื่อปี พ.ศ. 2357

#ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่
อีสานถูกแบ่งเป็น 8 บริเวณ เมืองเขมราฐมีเดชธนีรักษ์เป็นผู้ว่าราชการเมือง และมีอำเภออยู่ในการปกครอง 6 อำเภอ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 เมืองเขมราฐถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อเมืองยโสธร จนปี พ.ศ. 2455
จึงถูกย้ายมาขึ้นกับกับจังหวัดอุบลราชธานีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
#ดอนเจ้าปู่ ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างศาลปู่ตาพระเทพวงศา(ก่ำ)
จึงได้บังเอิญขุดพอพระเครื่องเนื้อโลหะ เงิน นาค ตะกั่ว พระผง เป็นจำนวนมากโดยมีลักษณะแตกต่างกันไป


* 30563.jpg (94.72 KB, 1108x1477 - ดู 1990 ครั้ง.)

* 30564.jpg (88.07 KB, 1108x1477 - ดู 1995 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กรกฎาคม 2562, 09:20:12 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 83.4%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2564, 22:34:56 »

พระว่านจำปาสักและพระเชียงรุ่ง
สร้างเพื่อแจกให้ทหารโบราณที่มีอายุ 200-300 ปี จากประวัติการสร้างเมืองอุบลราชธานี และสร้างบ้านเมืองเขมราฐ ปัจจุบันหายากมากพระว่านจำปาสักและพระเชียงรุ่ง เพราะพระส่วนใหญ่จะตกอยู่กับตระกูลเก่าที่อยู่ในอำเภอเขมราฐ จึงยากต่อการหา เพราะมีความเชื่อในด้านพุทธคุณอํานาจของพระว่านจําปาศักดิ์และพระเชียงรุ่ง ผลจากการที่นําว่าน ๑๐๘ ชนิดมาสร้างเป็นพระเครื่องทําให้เกิด อํานาจตามธรรมชาติที่ร่ำลือกันมากคือ
๑. คงกระพันเป็นเยี่ยม
๒. กันพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ท่านว่า เมื่อเกิดอาการถูกพิษแมลงสัตว์ กัดต่อยให้นําว่านแช่น้ําแล้ววางแปะบนบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย ฤทธิ์ว่าน จะดูดซึมพิษนั้นออกมาจากร่างกาย (กาลเวลาผ่านมานับร้อยปีไม่ทราบว่า อํานาจธรรมชาติของว่านจะยังคงเหลืออยู่หรือไม่)
ว่านทั้ง ๑๐๘ ชนิด เป็นพระยาว่าน ๒๐๐-๓๐๐ปีที่ผ่านมา สภาพของพื้นที่นครจําปาศักดิ์เป็นป่าดิบดงดํา ว่านมากมายทั่วไปท่านพระครูขี้หอม เป็นเกจิอาจารย์เชี่ยวชาญเรื่องว่านสมุนไพร ทั้งศิษย์ของท่านหลายคนเป็นพรานป่าเชี่ยวชาญเรื่องว่านสมุนไพรเช่นกันดังนั้น การแสวงหาว่าน ๑๐๘ ชนิดจึง ไม่ยาก
เมื่อนักรบไทยมาปฏิบัติการครั้งสงครามอินโดจีน ในนครจำปาสัก จึงได้พบกับพระว่านจำปาศักดิ์จำนวนมาก ส่วนหนึ่งนำกลับมายังเมืองไทย นี่จึงเป็นเหตุที่พระว่านจำปาสัก ได้มาปรากฏที่จังหวัดอุบลราชธานี และแผ่ขยายไปทั่วประเทศไทย
สงครามอินโดจีน ไทยร่วมรบเกณฑ์ผู้คนจากอีสานเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้มีทั้งภาคเหนือ อีสาน เข้าไปอยู่ในจําปาศักดิ์ได้รับประสบการณ์จากพระว่านจําปาศักดิ์ เมื่อสงครามสงบจึงได้นําพระว่านกลับมาบรรจุในเมืองไทยอีกจํานวนมาก

ประวัติความเป็นมา
ได้กล่าวกันถึงการสืบเชื้อสายจากเจ้านครเชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า ของเจ้าปางคำ พระบิดา ของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ โดยกล่าวถึง ปี พ.ศ.2228 เกิดวิกฤตทางการเมือง ในนครเชียงรุ้ง เนื่องจาก จีนฮ่อหัวขาว หรือฮ่อธงขาว ยกกำลัง เข้าปล้นเมืองเชียงรุ้ง เจ้านครเชียงรุ้ง ได้แก่ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี เจ้าปางคำ อพยพไพร่พล จากเมืองเชียงรุ้ง มาขอพึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่งเวียงจันทน์ ซึ่งเป็น พระประยูรญาติ ทางฝ่ายมารดา พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โปรดให้นำไพร่พลไปตั้งที่ เมืองหนองบัวลุ่มภู เมือง หนองบัวลุ่มภู จึงอยู่ในฐานะ พิเศษ คือไม่ต้อง ส่งส่วย บรรณาการ มีสิทธิสะสม ไพร่พล อย่างเสรีเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับ เวียงจันทน์ มีชื่อว่า "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" สันนิษฐานว่า น่าจะมีฐานะ เป็นเมืองลูกหลวง ต่อมา พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้ เจ้าอินทกุมาร เสกสมรส กับ พระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ได้โอรส คือ เจ้าคำ หรือเจ้าองค์นก ให้เจ้า นางจันทกุมารี เสกสมรสกับ พระอุปยุวราช ได้โอรส คือ เจ้ากิงกีศราช และ เจ้าอินทโสม ซึ่งต่อมา คือบรรพบุรุษของ เจ้านายหลวงพระบาง ส่วนเจ้าปางคำ ให้เสกสมรสกับ พระราชนัดดา ได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอ สันนิษฐานว่า ทั้งสองท่านเป็นเสนาบดี กรุงศรีสัตนาคนหุต ตั้งแต่สมัย พระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ชัยวงค์เว้) พระอัยกาของ พระเจ้า สิริบุญสาร การดำรงฐานะเป็น เจ้านายเชื้อสายพระราชวงศ์ ของพระเจ้าวอ พระเจ้าตา เห็นได้จากหลักฐาน หลายประการ อาทิ การที่หนองบัว ลุ่มภู เป็นเมือง ใหญ่ มีไพร่พลมาก ดังปรากฎเมืองหน้าด่านทั้งสี่ คือ เมืองภูเขียว ภูเวียง เมืองผ้าขาว เมืองพันนา และ การที่ เมืองอุบล ดำรง ฐานะเป็น เจ้าประเทศราชเมื่อเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ของพระมหากษัตริย์ ไทย ต่างจากเมืองเขมร ป่าดงอื่นๆ และเมื่อกำเนิด พ.ร.บ. นามสกุล โปรด พระราชทานนามสกุล "ณ อุบล" อันหมายถึง เชื้อสายเจ้านาย อุบลราชธานี แต่โบราณ เมื่อเจ้านายอุบล ถึงแก่อสัญกรรม ก็มี ประเพณี การทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ อันสืบมาจากนครเชียงรุ้ง ในเชียงใหม่ ก็ปรากฎการ ทำศพแบบนกหัสดีลิงค์เช่นเดียวกัน
การตั้งเมืองอุบลราชธานี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บ้านเมือง ค่อนข้างสงบก็ทรงมี นโยบายที่จะ จัดตั้งเมือง ให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการรวบรวมไพร่พลให้เป็นปึกแผ่น เพื่อความสงบสุข สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพได้ทรงกล่าวถึง เรื่องนี้ว่า "…รัชกาล ที่ 1 ถึงรัชการที่ 3 ให้เจ้าเมืองร้าง เที่ยวเกลี้ยกล่อมหา ผู้คนมาเป็นพลเมือง โดย ไม่ต้องใช้อำนาจ อาจทำได้ด้วยยินดีด้วยกัน ทุกฝ่ายก็สำเร็จ ประโยชน์ ถึงความมุ่งหมาย เจ้าเมืองไหนเกลี้ยกล่อมคนมาได้มาก ก็ได้ทรัพย์เศษส่วน และได้ผู้คนสำหรับอาศัยใช้สอยมากขึ้น ก็เต็มใจขวนขวาย ตั้งบ้านเมือง ฝ่ายราษฎรที่ไปเที่ยวหลบลี้ เดือดร้อนลำบากมากอยู่ เมื่อรู้ว่า บ้านเมืองเรียบร้อยอย่างเดิม ก็ยินดีที่จะกลับมา โดยมาก……" คงจะเป็น เพื่อสนองตอบ พระบรมราโชบาย ในการตั้งเมืองดังกล่าวมาแล้ว และเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพของ ไพร่บ้านพลเมือง "….ในปี พ.ศ.2329 ( จุลศักราช 1148 ปีมะเมีย นพศก) พระประทุมจึงย้ายครอบครัวไพร่พลมาตั้งอยู่ ณ ตำบลแจระแม ตือตำบล ที่ตั้ง อยู่ทาง ทิศเหนือ เมืองอุบลปัจจุบัน….."
สถาปนาเมืองอุบลราชธานี
พ.ศ.2335 พระประทุมสุรราช (ท้าวคำผง) ได้พาพรรคพวกไพร่พลตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยแจระแม (บริเวณบ้าน ท่าบ่อ ในปัจจุบัน) ด้วยความปกติสุขเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่ง พ.ศ.2334 (จุลศักราช 1153 ตรีศก) อ้ายเชียงแก้ว ซึ่งตั้งบ้านอยู่ที่ตำบลเขาโองแขวง เมืองโขง คิดการกบฎ พาพรรคพวก ไพร่พลเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) เจ้าเมืองซึ่งกำลังป่วยอยู่ก็มี อาการป่วยทรุดหนัก และถึงแก่พิราลัย อ้ายเชียงแก้วจึงยึดเมือง นครจำปาศักดิ์ไว้ได้ ความทราบ ถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อครั้งเป็น พระพรหม ยกกระบัตร ยกกองทัพเมืองนครราชสีมามาปราบกบฎอ้ายเชียงแก้ว อย่างไรก็ดีขณะที่กองทัพนครราชสีมายกมาไม่ถึงนั้น พระประทุมสุรราช (ท้าวคำผง) และท้าวฝ่ายหน้า ผู้น้อง ที่ตั้งอยู่บ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) ได้ยกกำลังไปรบอ้ายเชียงแก้วก่อน ทั้งสองฝ่าย ได้สู้รบกันที่บริเวณ แก่งตะนะ (อยู่ในท้องที่ อำเภอโขงเจียม) กองกำลัง อ้ายเชียงแก้วแตกพ่ายไป อ้ายเชียงแก้วถูกจับได้ และถูกประหารชีวิต เมื่อกองทัพ เมืองนครราชสีมายกมาถึงเมืองจำปาศักดิ์ เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อยแล้ว จึงพากันยกกองทัพ ไปตีพวกข่า "ชาติกระเสงสวาง จะรายระแดร์" ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง จับพวกข่าเป็นเชลย ได้เป็นจำนวนมาก จากความ ดีความชอบในการปราบปรามกบฎอ้ายเชียงแก้วนี้เอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช จึงได้ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ท้าวฝ่ายหน้าเป็น พระวิไชยราชขัตติยวงศา ครองนครจำปาศักดิ์ และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระประทุม สุรราช เป็นพระประทุม วรราชสุริยวงศ์ ครอง เมืองอุบลราชธานี พร้อมกับยกฐานะบ้านห้วยแจระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 (พ.ศ.2335) ดังปรากฎ ในพระสุพรรณบัตรตั้ง เจ้าประเทศราชในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่า "….ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้ผ่าน พิภพกรุงเทพ มหานครศรีอยุธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ตั้งให้ พระประทุม เป็นพระประทุมวรราช สุริยวงศ์ ครองเมือง อุบลราชธานี ศรีวนาไลยประเทศราช เศกให้ ณ วัน 2 แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 ปีจัตวาศก..."
ส่วนเมืองเขมราฐในปี พ.ศ.2357 คือปีเดียวกับที่โปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองยโสธรนั่นเอง อุปฮาดก่ำ อุปฮาดเมือง อุบลราชธานี ไม่พอใจที่จะทำราชการกับ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 (พ.ศ.2338-2388) จึงอพยพ ครอบครัว ไพร่พล ไปตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกงพะเนียง พร้อมกับขอพระบรมราชานุญาตตั้งขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโคกกง พะเนียง เป็นเมือง "เขมราษฎร์ธานี" ขึ้นกรุงเทพฯ พร้องกันนั้นก็ โปรดเกล้าฯ ตั้งอุปฮาดก่ำ เป็นพระเทพวงศ์ศาเจ้าเมือง โดยกำหนดให้ ผูกส่วยน้ำรัก 2 เลกต่อเบี้ย ป่าน 2 ขอด่อ 10 บาท เมือง "เขมราฐษร์ ธานี" ปัจจุบันคืออำเภอ เขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี



* 288416.jpg (176.38 KB, 995x1646 - ดู 1582 ครั้ง.)

* 288417.jpg (179.39 KB, 1043x1568 - ดู 1576 ครั้ง.)

* 288418.jpg (156.92 KB, 914x1790 - ดู 1659 ครั้ง.)

* 288415.jpg (131.74 KB, 966x1694 - ดู 1542 ครั้ง.)

* 288420.jpg (115.21 KB, 1108x1477 - ดู 1577 ครั้ง.)

* 288419.jpg (125.27 KB, 1108x1477 - ดู 1545 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 83.4%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2564, 23:01:58 »

หาดูยากมากครับ


* ภาพเล็กกรุเขมราฐ.jpg (425.78 KB, 1225x921 - ดู 1575 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤษภาคม 2564, 21:36:38 โดย maxna » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!