ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
24 พฤศจิกายน 2567, 14:04:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 94228 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #135 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2565, 14:55:12 »

ยันต์มหาอำนาจพญาไกรสรราชสีห์
จัดสร้างจำนวน 19 ดอก
ทุกดอกจะตอกโค้ดกำกับรันเลขทุกดอก ในนามญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 ศิษย์บูรพาจารย์สำเร็ลุน
วัถตุประสงค์ในการจัดสร้าง โดยมอบเป็นของชำร่วยให้แก่คณะครูธรรม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน ในทางด้านจิตใจของผู้ปฏิบัติ
...สร้างจากหนัง ส.โคร่ง จารอักขระเลขยันต์โบราณ ยันต์มหาอำนาจพญาไกรสรราชสีห์ หนุนส่งเสริมให้เป็นที่น่าเกรงขามแก่ผู้คนทั้งหลายใช้ดีกับคนที่ต้องคุมคน เป็นหัวหน้าคน  เสริมทางมหาอำนาจ ตบะ เดชะ แคล้วคลาด คงกระพัน และยังเป็นที่เสน่ห์เมตตาด้วยอำนาจและความสง่างามแห่งตระกูลราชสีห์ "ไกรสรราชสีห์" คือ ราชสีห์ ที่ยอมสละชีวิตตนเอง พร้อมพวกบริเวณอีก 5 ตัว เพื่อให้พระอิศวรสร้างพระอาทิตย์ ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์ และได้ให้ความเคารพเป็นเทพองค์หนึ่ง ที่คอยปกป้องสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดั่งเรื่องราวความรักชาติของวีรกรรมชาวค่ายบางระจัน ที่ยอมสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องแผ่นดิน ไว้ให้ลูกหลานได้สืบต่อไป


* 319114053_609696630920185_4074463445587149492_n.jpg (346.84 KB, 1799x2048 - ดู 926 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ธันวาคม 2565, 15:01:58 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #136 เมื่อ: 18 มกราคม 2566, 15:55:57 »

1.สีผึ้งมหาเสน่ห์ หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ (วัดเพชรบุรี) จ.สุรินทร์
2.สีผึ้งหลวงพ่อทาบ วัดกระบกขึ้นผึ้ง บ้านค่าย จ.ระยอง
3.สีผึ้งมหาเสน่ห์ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท
4.สีผึ้งหลวงพ่อจง พุทธัสสโร วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา
5.สีผึ้งผีหุงหลวงปู่ทิม อิสริโก  วัดละหารไร่ จ.ระยอง
6.สีผึ้งครูบากฤษณะ อินทวัณโณ วัดป่ามหาวัน จ.นครราชสีมา
7.สีผึ้งมหาเสน่ห์ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วย จ.นครสวรรค์
8.สีผึ้งหลวงปู่สุข ธรรมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง จังหวัดบุรีรัมย์
9.สีผึ้งหลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพธิ์ จ. นครสวรรค์
10.สีผึ้งหลวงปู่หน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง บางปะหัน จ.อยุธยา
11.สีผึ้งนางแย้ม มหาเสน่ห์ หลวงพ่อพิมพ์ ผลปุญโญ วัดพฤกษะวัน จ.พิจิตร
12.สีผึ้งหลวงปู่หมุน ฐิตสีโลวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
13.สีผึ้งหลวงปู่รอด อาภัสสโร วัดโคกกรม อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
14.สีผึ้งหลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
15.สีผึ้งนารายณ์กลืนจิต หลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร วัดนาอุดม จ.อุบล
16.สีผึ้งญาท่านเภา จันทธัมโม วัดบ้านเวิน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
17.สีผึ้งหลวงปู่ป้อง สีวิไล วัดบ้านนากุง เมืองปากงึ่ม สปป.ลาว
18.สีผึ้งหลวงพ่อปาน โสนนฺโท วัดบางนมโค จ.อยุธยา
19.สีผึ้งแมงมุมดักทรัพย์ หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดสีลสุภาราม จ.สกลนคร
20.สีผึ้งพระลักษณ์หน้าทอง ลป.กาหลง เตชวัณโณ วัดเขาแหลม จ.สระแก้ว
21.สีผึ้งมหาเสน่ห์ หลวงปู่ฤทธิ์ รัตนโชโต วัดชลประทานราชดำริ จ.บุรีรัมย์
22.สีผึ้งกาจับหลัก หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ วัดตาอี จ.บุรีรัมย์
23.สีผึ้งหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
24.สีผึ้งหลวงปู่จอม นาคเสโน วัดบ้านดอนดู่ จ.อำนาจเจริญ
25.สีผึ้งหลวงปู่ทา นาควัณโณ วัดศรีสว่างนาราม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
26.สีผึ้งญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
27.สีผึ้งญาถ่านเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง จังหวัดอุบลราชธานี
28.สีผึ้งหลวงปู่อาจ อชิโต วัดภูบะปัง  อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี
29.สีผึ้งมงคลมหานิยม หลวงพ่อบุญเรือง สารโท วัดพิชโสภาราม จ.อุบล
30.สีผึ้ง หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
31.สีผึ้งจักรพรรดิมหาลาภ ขี้หอมลป.สี วัดเขาถ้ำบุญนาค (เท่ากำปั้นมือ)
32.สีผึ้ง 100 ปี หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข
33.สีผึ้งหลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
34.สีผึ้งหลวงพ่อฤาษีลิงดำสมัยท่านยังมีชีวิต
35.สีผึ้งหลวงพ่อแก้ว วัดละหารไร่
36.สีผึ้งลป.ยิ้ม วัดหนองบัว
37.สีผึ้งหลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่
38.สีผึ้งหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน อธิษฐานจิต
39.สีผึ้งครูบาคำเป็ง สำนักสงฆ์มะค่างาม กำแพงเพชร
40.สีผึ้งทิพย์มหานิยม ลป.จำเนียร วัดถ้ำเสิอ
41.สีผึ้งพญาหงส์ทอง ลพ.ถาวร วัดปทุมวนาราม
42.สีผึ้งหลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู
43.สีผึ้งลพ.เกาะ วัดท่าสมอ
44.สีผึ้งลป.ธีร์ วัดลำยอง บุรีรัมย์
45.สีผึ้งลพ.พรหม วัดขนอนเหนือ
46.สีผึ้งลป.แย้ม วัดตะเคียน นนทบุรี
47.สีผึ้งลพ.เสี้ยน วัดมะนาวหวาน
48.สีผึ้งหลวงปู่พวง ฐานวโร วัดน้ำพุ เพชรบูรณ์
49.สีผึ้งหลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
50.สีผึ้งลป.เย็น วัดสระเปรียญ
51.สีผึ้งพระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พัทลุง
52.สีผึ้งลพ.มี วัดมารวิชัย
53.สีผึ้งลป.ปรง วัดธรรมเจดีย์
54.สีผึ้งลพ.ดำ วัดใหม่ นราธิวาส
55.สีผึ้งลป.เรือง วัดเขาสามยอด
56.สีผึ้งลพ.วิชัย วัดถ้ำผาจม
57.สีผึ้งหลวงปู่เฮ็น วัดดอนแสง
58.สีผึ้้งลป.เริ่ม วัดจุกกะเชอ
59.สีผึ้งรวมเจ้าคุณเสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์
60.สีผึ้ง 3 สี อาจารย์ประคอง รุ่นเจริญ
61.สีผึ้งลป.โลกเอ๊าะบายกรีม (ข้าวแห้ง) วัดบ้านตาปัน
62.สีผึ้ง 1000 วัด ลพ.เกษมสุข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
63.สีผึ้งลพ.แสวง วัดสว่างภพ
64.สีผึ้งลพ.ทองหยิบ วัดบ้านกลาง
65.สีผึ้งลป.คำพัน
66.สีผึ้งหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
67.สีผึ้งสมเด็จเกี่ยวอธิษฐานจิต
68.สีผึ้งลป.ทิม วัดพระขาว
69.สีผึ้งลพ.ฉาบ วัดศรีสาคร
70.สีผึ้งหลวงพ่อเอก วัดเขาแร่
71.สีผึ้งหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่
72.สีผึ้งหลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
73.สีผึ้งหลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
74.สีผึ้งหลวงพ่อเพี่ยน วัดเกริ่นกฐิน
75.สีผึ้งหลวงปู่มหาโส วัดขอนแก่น
76.สีผึ้งลพ.เอียด วัดไผ่ล้อม
77.สีผึ้งลพ.ต้วน
78.สีผึ้งลพ.ตุ่น
79.สีผึ้งหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
80.ตลับสีผึ้งไก่ป่า ครูบาต๋า วัดบ้านเหล่า
81.สีผึ้ง ม้าเสพนาง ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
82.สีผึ้งฝังตะกรุดสาริกา หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จังหวัดอยุธยา
83.สีผึ้งวัดพระอาจารย์ขวัญ วัดทับยายเชียง
84.สีผึ้งผยองคำ ครูบาวัดไม้ฮุง จ.แม่ฮ่องสอน
85.สีผึ้งเมตตามหานิยม หลวงพ่อเปิ่น จ.นครปฐม
86.ตลับสีผึ้ง งาแกะ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
87.สีผึ้งสาริกาคู่  หลวงตาเณร สุสานโบราณ จ.ศรีสระเกษ
88.สีผึ้งเมตตา หลวงพ่อแดง สิริภทฺโท วัดห้วยฉลองราษฎร์บำรุง จ.อุตรดิตถ์
89.สีผึ้งพระอาจารย์โอ พุทธสถานวิหารพระธรรมราช จ.เพชรบูรณ์
90.สีผึ้งแม่หม่อมกวัก พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา จังหวัดตรัง
91.สีผึ้ง หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
92.สีผึ้งพรายตานี หลวงพ่อสมชาย วัดด่านเกวียน จ.นครราชสีมา
93.สีผึ้งนกสาลิกา หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม(วัดบ้านแค) จ.ชัยนาท
94.สีผึ้งสาวหลง หลวงพ่ออาคม วัดทุ่งพระ จังหวัดสงขลา
95.สีผึ้งเมตตา หลวงปู่ขุ้ย วัดซับตะเคียน จังหวัดเพชรบูรณ์
96.สีผึ้งว่านสาวหลง หลวงปู่เมียน วัดบ้านจะเนียง จังหวัดบุรีรัมย์
97.สีผึ้ง หลวงปู่น่วม วัดโพธิ์ศรี จังหวัดสุพรรณบุรี
98.สีผึ้งอาถรรพณ์ หลวงพ่อปุ่น วัดป่าบ้านสังข์ จ.ร้อยเอ็ด
99.สีผึ้ง เมตตามหาบารมี หลวงปู่แผ้ว ปวโร จ.นครปฐม
100.สีผึ้งมหาเสน่ห์แม่เถาหลง หลวงพ่อบุญส่ง วัดดระโจม จ.สิงห์บุรี
101.สีผึ้งมหานิยม พ่อท่านหีต วัดเผียน จังหวัดนครศรีธรรมราช
102.สีผึ้งว่านดอกทอง  หลวงปู่ลุน วัดโพนแพง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
103.สีผึ้งเสือสมิงใหญ่ พระอาจารย์โอพุทธรักษา จังหวัดเพชรบูรณ์
104.สีผึ้งจันทร์เพ็ญ หลวงพ่อนัส วัดอ่าวใหญ่ จ.ตราด
105.สีผึ้งดำ หลวงตาช้วน วัดขวาง จ.สุพรรณบุรี
106.สีผึ้งเสน่ห์นางแดง หลวงพ่อไพโรจน์ วัดโคกพระ สิงห์บุรี
107.สีผึ้ง หลวงปู่ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตต์ จ.ตาก
108.สีผึ้งมหาเสน่ห์มหาโชคลาภ  หลวงพ่อพยุงค์ วัดป่าสัก จ.สระบุรี

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #137 เมื่อ: 02 มีนาคม 2566, 19:44:33 »

เสาหลักสายธรรมอุตฺตโมบารมี (สายอุตฺตมะอุตฺตโม)
ที่ครูธรรมศึกษาเล่าเรียนความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านสามัคคีการรักไคร่พี่น้องครูธรรม

องค์ที่ 1 ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3
องค์ที่ 2 ญาถ่านยักษ์ โคษะกะ
องค์ที่ 3 ญาถ่านวิเชียร อนุตฺตโร
องค์ที่ 4 พระอาจารย์คณิน สุนฺทโร


* FB_IMG_1677760626756.jpg (127.54 KB, 1080x810 - ดู 843 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #138 เมื่อ: 05 มีนาคม 2566, 10:33:39 »

จุดเริ่มต้นสายธรรมอุตฺตโมบารมี

      พระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 หรือ พระไชยองค์เว้ ประสูติ พ.ศ.2228 เป็นพระราชโอรสของเจ้าชมพู ที่ถูกเนรเทศไปอยู่เมืองเว้
พระองค์ได้ครองราชย์สมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2245 ทรงตั้งให้เจ้าองค์ลอง พระอนุชาต่างบิดาเป็นอุปราชและไปครองเมืองหลวงพระบาง
และอัญเชิญพระบางมาประดิษฐานที่เวียงจันทน์
      ต่อมาใน พ.ศ. 2249 เจ้ากิ่งกิสราชซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าราชบุตร และเป็นหลานปู่ของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
ที่ลี้ภัยไปอยู่สิบสองปันนากับเครือญาติฝ่ายพระมารดา ได้ยกทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เจ้าลองสู้ไม่ได้ แตกพ่ายลงมาเวียงจันทน์
เจ้ากิ่งกิสราชยกทัพตามลงมาที่เวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 จึงขอกองทัพจากกรุงศรีอยุธยามาช่วย
      สมเด็จพระเพทราชา กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ได้ยกทัพขึ้นมาและไกลเกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกัน
โดยให้แบ่งเขตแดนระหว่างหลวงพระบางกับเวียงจันทน์ ให้เจ้ากิ่งกิสราชครองหลวงพระบาง ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ครองเวียงจันทน์
ทั้งสองกษัตริย์ตกลงแบ่งเขตแดนกันโดยใช้แม่น้ำเหืองเป็นแดนทางฝั่งขวา ทางฝั่งซ้ายใช้เทือกเขาภูชนะคามเป็นเขตแดน
แคว้นสิบสองจุไทกับหัวพันห้าทั้งหกขึ้นกับหลวงพระบาง แคว้นเชียงขวางและแคว้นที่อยู่ใต้ลงมาให้ขึ้นกับเวียงจันทน์ การแบ่งเขตแดนนี้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2250
      หลังจากสิ้นสุดสงครามกับพระเจ้ากิ่งกิสราช พระองค์ได้เร่งปรับปรุงการปกครองหัวเมือง ส่งคนที่ไว้ใจได้ไปปกครองเมืองที่สำคัญ
ทำให้กลุ่มของ องค์ที่ 1 พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก ต้องอพยพลงใต้ไปหาที่มั่นใหม่ ในที่สุดได้ไปตั้งมั่นที่เมืองจำปาศักดิ์ และแยกตัวเป็นอิสระจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2256 ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมศึกษาเล่าเรียน
จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในสมัยนั้นเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280
      ต่อมา พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ครองราชย์จนถึง พ.ศ. 2273 จึงสิ้นพระชนม์ จากนั้น เจ้าลองพระอนุชาได้ขึ้นครองราชย์สืบแทน
      องค์ที่ 2 เจ้าองค์ลอง (สวรรคตใน พ.ศ. 2283) เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 2 (พ.ศ. 2273 – 2283) พระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
      องค์ที่ 3 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือ พระเจ้าศิริบุญสาร เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 4 (พ.ศ. 2294 - พ.ศ. 2322) พระราชโอรสในเจ้าองค์ลอง, เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ. 2322
      องค์ที่ 4 พระเจ้านันทเสน เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 5 (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337) พระราชโอรสในพระเจ้าศิริบุญสาร
      องค์ที่ 5 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4 หรือ พระเจ้าอินทวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 6 (พ.ศ. 2337 - พ.ศ. 2348) พระราชสมภพเมื่อใดไม่ปรากฏ และสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2348 ทรงเป็นพระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสน, พระบรมอัยกาธิราชในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      ต่อมาพระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร
จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์
ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น
      ต่อมา วัดพระธาตุพนม จึงได้มีเจ้าอาวาสนาม องค์ที่ 6 พระครูพรหมา (เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4) ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พ.ศ. 2335 – 2410
      หลังจากนั้น องค์ที่ 7 ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ในราวปี 2335 (อุปัชญาย์สำเด็จลุน มีศักดิ์เป็นหลวงอา และเป็นผู้ก่อตั้งสายอุตฺตมะอุตฺตโม ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น สายธรรมอุตฺตโมบารมี เริ่มไหว้ครูธรรมใหญ่ครั้งแรก ปี 2405) ท่านได้ธุดงค์เพื่อไปกราบพระธาตุพนม จากนั้นจึงเข้าไปกราบพระครูพรหมา เพื่อได้ขอศึกษาตำราใบลาน
      ต่อมาปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ได้ย้ายมาจากฝั่งขวาแม่น้ำโขง มาสร้างวัดสิงหาญ ราว พ.ศ.2345 โดยญาท่านอุตตะมะ (อุต) เป็นผู้ก่อตั้ง มีความเป็นมากล่าวคือ ญาถ่านอุตตะมะ ได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านใหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ ญาถ่านอุต ท่านจึงได้บอกว่าถ้าจะให้จำพรรษอยู่ที่บ้านสะพือนี้ ก็จะเอาพ่อแม่มาด้วย ชาวบ้านจึงได้ตกลง ท่านจึงอพยพครอบครัวมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสะพือ ชาวบ้านได้จัดสรรที่ทำมาหากินให้มีไร่นาสวนพออยู่พอกิน ส่วนญาถ่านอุตนั้นได้ตั้งสำนักสงฆ์ ขึ้นอยู่ที่ป่าทางทิศให้ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อ "วัดศรีสุมัง"  ( ปัจจุบันได้ขุดเป็นสระน้ำสาธารณะ ชาวบ้านเรียก สระโนนวัด เพราะเคยเป็นวัดมาก่อน ) แต่ชาวบ้านเห็นว่าการนำภัตราหารเช้า,เพลไปถวายลำบาก เนื่องจากอยู่ไกลหมู่บ้าน จึงได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ที่ริมหมู่บ้านทางทิศใต้ (ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถาง สร้างกุฎิให้พระอยู่อาศัย ญาถ่านอุต จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2345 เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดสิงหาญ" จนถึงปัจจุบัน
      หลังจากนั้นองค์ที่ 8 ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็น หลวงอาของปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ได้นำหลานชายชื่อ ลุน มาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย
      ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ท่านปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการศึกษาตำราใบลาน จากพระครูพรหมา เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4 ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด
     ต่อมาศิษย์รุ่นแรกจะ เรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ เล่าว่า ญาถ่านสำเร็จตัน บอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน เจ้าอาวาส วัดสิงหาญ ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2345-2395 ก่อนท่านมรณะ 10 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 และเป็นช่วงของญาถ่าน(สำเร็จ)สีดา เจ้าอาวาส พ.ศ.2395-2450 เพราะญาถ่านสำเร็จตัน  จำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ดังนั้นการหาวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ปีนั้นจึงมีความง่ายมาก เพราะครูบาอาจารย์ได้ให้ลูกศิษย์ใช้ วันที่ขึ้น 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปีจัดพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ จึงสามารถสรุปวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ ทั้งแรกคือ วัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำเดือนสาม(๓) ปีระกา นับจากนั้นมาจึงเริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ
     ส่วนองค์ที่ 9 ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า สมัยนั้นท่านยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อไปฝากตัวเล่าเรียนอาคมกับปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ราวปี พ.ศ.2443 จึงมีโอกาสได้เจอกับหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร ผู้เป็นหลานของญาถ่านสำเร็จตัน  ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน หลังจากนั้นท่านจึงให้ญาถ่านสำเร็จตัน ทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยงดูแลการศึกษาตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม ต่างๆ ร่วมกับหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร จนศึกษาจบทุกอย่าง ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณจึงขอเดินทางออกธุดงไปยังที่ต่างๆ
     หลังจากนั้นปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ขณะจำพรรษาที่วัดเวินไซ บ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ได้อาพาธหนักแล้วได้มรณภาพในปี พ.ศ.2463 ต่อมาญาถ่านสำเร็จตัน จึงแจ้งข่าวงานศพปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุนไปยังญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ท่านก็ได้เดินทางมาร่วมงานจนเสร็จ ญาถ่านสำเร็จตัน จึงได้แบ่งเกษา อิฐิ บ้างส่วนให้ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณติดตัว ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณได้เดินทางข้ามมาฝั่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2513 มาอยู่ที่วัดสนามชัย ได้นำเอาตำราใบลานที่ได้รับการคัดลอกจากปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ข้ามมายังฝั่งไทยด้วย หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ.2518 พี่น้องทางประเทศลาวจึงข้ามมาฝังไทยเป็นจำนวนมาก
     ต่อมาเมื่อพี่น้องลูกศิษย์ที่เล่าเรียนสายอุตฺตมะอุตฺตโม รู้ข่าวว่าญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ มาจำพรรษาอยู่อำเภอเขมราฐ ก็ต่างพากันกราบนมัสการ แล้วปรึกษาเรื่องการจัดงานไหว้ครูธรรมใหญ่ให้ต่อเนื่อง ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ท่านไม่ต้องการให้นำเอาชื่อ ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ มาเป็นชื่อเรียกใน สายอุตฺตมะอุตฺตโม จึงให้ตัดคำว่า อุตฺตมะ ออกจากคำเรียก ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี ในราวปี พ.ศ.2529 นับจากนั้นมาจึงใช้ชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี ตลอดมา
     เมื่อญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ เริ่มมีอาการป่วย จึงได้มอบตำราใบลานให้ฆราวาสครูธรรมใหญ่รินทอง สนธิหา ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 ได้ดูแลเก็บรักษาต่อไป ให้ศิษย์รุ่นต่อไปได้ศึกษาเล่าเรียนไม่ให้สูญหาย และมอบเกษา อัฐิ ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ไว้ด้วย หลังจากนั้นคณะครูธรรมใหญ่จึงอันเชิญ ญาถ่านทา นาควัณโณ เป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เมื่อญาถ่านทา นาควัณโณ ต่อมาฆราวาสครูธรรมใหญ่รินทอง สนธิหา ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 ได้ถึงแก่กรรม ทางคณะศิษย์จึงเชิญฆราวาสครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี ขึ้นเป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เมื่อครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี 
      ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2558 องค์ที่ 9 ญาถ่านทา นาควัณโณ เป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 และฆราวาสครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เริ่มแก่ชราจึงได้มอบหมายให้ องค์ที่ 10 ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม เป็นผู้สืบทอดเป็นรุ่นที่ 3 พร้อมฆราวาสครูธรรมใหญ่เวด สีจันทะวง ขึ้นเป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 จนถึงปัจจุบัน


* FB_IMG_1639533041343.jpg (128.28 KB, 1080x1200 - ดู 871 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #139 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2566, 18:20:43 »

ครูธรรมอำพล พงสวัสดิ์


* อพล ภาพเล็ก.jpg (199.87 KB, 647x681 - ดู 820 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #140 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2566, 12:48:19 »

ปี 2566


* เล็กทำเนียบปี2566ล่าสุด.jpg (367.02 KB, 1065x761 - ดู 815 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มิถุนายน 2566, 16:53:43 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #141 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2566, 23:31:16 »

ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ผู้เป็นพระอาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน

ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของญาถ่านสำเร็จลุน ได้นำหลานชายชื่อลุน มาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย

ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ในราวปี 2335 ท่านได้ธุดงค์เพื่อไปกราบพระธาตุพนม จากนั้นจึงเข้าไปกราบพระครูพรหมา เพื่อได้ขอศึกษาตำราใบลาน ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนญาถ่านสำเร็จลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ ญาถ่านสำเร็จลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า 20 ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง กลับมาพร้อมชื่อเสียงหลายด้าน ทั้งการปฏิบัติธรรม คาถาอาคม เวทมนต์ ตำรายาและอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ มีคนเคารพนับถือจำนวนมากขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือกันมากในขณะนั้น

วัดสิงหาญ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติวัด เป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2345 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พุทธศักราช 2395 มีพื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน 91 ตารางวา มีพระเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านและประชาชนทั่วไปหลายรูป แต่เดิมวัดสิงหาญเป็นที่รก เต็มไปด้วยสัตว์มากมาย ปัจจุบันเป็นวัดที่เงียบสงบ

เจ้าอาวาสองค์แรก ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ  พ.ศ. 2390-2420

วัดสิงหาญสร้างราว พ.ศ.2345 โดยญาท่านอุตตะมะ (อุต) เป็นผู้ก่อตั้ง มีความเป็นมากล่าวคือ ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านใหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ท่านจึงได้บอกว่าถ้าจะให้จำพรรษอยู่ที่บ้านสะพือนี้ก็จะเอาพ่อแม่มาด้วย ชาวบ้านจึงได้ตกลง ท่านจึงอพยพครอบครัวมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่        
บ้านสะพือ ชาวบ้านได้จัดสรรที่ทำมาหากินให้มีไร่นาสวนพออยู่พอกิน ส่วนญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะนั้นได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นอยู่ที่ป่าทางทิศให้ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อ "วัดศรีสุมัง"  ( ปัจจุบันได้ขุดเป็นสระน้ำสาธารณะ ชาวบ้านเรียก สระโนนวัด เพราะเคยเป็นวัดมาก่อน ) แต่ชาวบ้านเห็นว่าการนำภัตราหารเช้า,เพลไปถวายลำบาก เนื่องจากอยู่ไกลหมู่บ้าน จึงได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ที่ริมหมู่บ้านทางทิศใต้ (ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถาง สร้างกุฎิให้พระอยู่อาศัย ญาท่านอุต จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2345 เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดสิงหาญ" จนถึงปัจจุบัน


* อุตฺตมะ.jpg (166.88 KB, 755x759 - ดู 817 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2566, 08:28:13 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #142 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2566, 11:21:05 »

เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก : พระครูยอดแก้ว “ญาคูขี้หอม”

ใน ปี 2241 เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราช สวรรคตได้ 8 ปี ประเทศลาวที่กว้างใหญ่ไพศาลได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร เป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก  โดยเฉพาะอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก มีความผูกพันกับพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก ซึ่งเป็นพระครูที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพศรัทธาสูงสุดของชาวลาวตอนล่าง จนได้รับฉายาว่า “พระครูขี้หอม” หรือ “ญาคูขี้หอม” ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสุดซึ้ง ส่งผลให้ผู้คนเก็บสิ่งของเครื่องใช้ของท่านพระครูมาบูชา แม้แต่อุจจาระของท่านก็ไม่รังเกียจ เนื่องจากพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กฉันอาหารมังสวิรัติประเภท เผือก มัน งา มะตูม จึงทำให้อุจจาระของท่านไม่มีกลิ่นเหม็น
“เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก” เกิด ณ บ้านกะลึม เมืองพาน (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี) ตรงกับรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองของกรุงศรีอยุธยา อันเป็นยุคเดียวกับพระอุปราชครองกรุงเวียงจันทน์ เจ้าราชครูได้บรรพชาศึกษาเล่าเรียนทางธรรมอย่างแตกฉานมาตั้งแต่อายุยังน้อย จนได้รับการสถาปนาเป็น “ซาจัว” หรือราชาเณร
ภายหลังการอุปสมบทแล้ว ได้มาประจำอยู่วัดโพนสะเม็ก ชานเมืองเวียงจันทน์ จนได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสมณศักดิ์เป็นเจ้าราชครูตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่ม จากพระเจ้าสุริยวงศา พระเจ้าแผ่นดิน แห่งกรุงเวียงจันทน์ แต่ประชาชนทั่วไปมักขนานนามว่า “พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก”
พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก เกี่ยวข้องผูกพันกับอาณาจักรจำปาสัก เมื่อครั้งลาวเกิดความแตกแยกจนถึงขั้นแบ่งแยกอาณาจักรล้านช้างออกเป็น 3 อาณาจักร ครั้นพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราช สิ้นพระชนม์ เกิดการแย่งชิงบัลลังก์ ระหว่างกลุ่มของเจ้าพระยาหลวงเมืองจัน กับกลุ่มของเจ้าชายองค์หล่อ ในที่สุดเจ้าพระยาหลวงเมืองจันสามารถยึดอำนาจได้ จึงสถาปนาตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ก็ยังมีกลุ่มต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยเกิดขึ้นอีกหลายกลุ่ม ที่พยายามแยกอำนาจเป็นอาณาจักรย่อยๆ ไม่ขึ้นต่อกัน
เมื่อครั้งเจ้าพระยาหลวงเมืองจัน สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ใน พ.ศ. 2237 ใช้อำนาจบังคับพระนางสุมังคลา ราชธิดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราช ซึ่งเป็นหม้ายและกำลังทรงพระครรภ์อยู่ อีกทั้งมีโอรสองค์หนึ่งชื่อ เจ้าองค์หล่อ รวมไปถึงการคิดจะกำจัดเจ้าองค์หล่อด้วย แต่อำมาตย์ที่จงรักภักดีได้พาเจ้าองค์หล่อหนีไปอยู่เมืองพานพูชุน ส่วนพระนางสุมังคลาหนีไปพึ่งพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก
ครั้นเจ้าพระยาหลวงเมืองจันทราบข่าว ก็คิดจะกำจัดพระครูยอดแก้วด้วย แต่ท่านพระครูรู้ตัวเสียก่อน จึงพานางสุมังคลาและญาติโยมประมาณ 3,000 คน หนีภัยจากเวียงจันทน์ ล่องแม่น้ำโขงลงสู่ภาคใต้ ฝ่ายเจ้าพระยาหลวงเมืองจันครองราชย์ได้ 6 เดือน ก็ถูกฝ่ายเจ้าองค์หล่อจับฆ่า แล้วอภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เจ้าองค์หล่อครองราชย์ได้ 4 ปี ก็ถูกเจ้านันทราชจับประหารชีวิต ใน พ.ศ. 2242 แล้วขึ้นครองราชย์แทน ส่วนเจ้านันทราชครองบัลลังก์ได้เพียง 2 ปี ก็ถูกเจ้าไชยองค์เว้จับประหารชีวิตอีก เจ้าไชยองค์เว้ก็ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 จากนั้นจึงแต่งตั้งเจ้าลองเป็นอุปราชขึ้นไปครองเมืองหลวงพระบาง
หลังจากพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กกับประชาชนอพยพลงใต้ตามลำน้ำโขง มาจนถึงเมืองนครพนม พระครูยอดแก้วและญาติโยมได้พากันบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ใน พ.ศ. 2233
หลังจากที่พระครูยอดแก้วโพนสะเม็กบูรณะพระธาตุพนมสำเร็จเรียบร้อย ใน พ.ศ. 2236 แล้ว ได้แบ่งครอบครัวจำนวนหนึ่งให้อยู่อุปัฏฐากพระบรมธาตุ ส่วนผู้คนที่เหลือนอกนั้นได้นำลงเรือลอยไปตามลำน้ำโขง จนล่วงเข้าสู่แดนเขมรในที่สุด
เมื่อฝ่ายเขมรทราบข่าว ก็ไม่อนุญาตให้คณะของพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กอยู่ในดินแดน พระครูยอดแก้วจึงต้องอพยพผู้คนกลับขึ้นมาพำนัก และสร้างชุมชนสำคัญหลายแห่งในบริเวณเกาะดอนกลางแม่น้ำโขง บริเวณที่เรียกว่า “สี่พันดอน” โดยเฉพาะ “ดอนโขง” พระครูยอดแก้วและชาวเวียงจันทน์ที่อพยพติดตามมานั้นได้พากันตั้งชุมชนอยู่ที่ “บ้านเมืองแสน” ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ อยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของดอนโขง เป็นหมู่บ้านท่าด่าน ทำการค้ากับเขมร  นอกจากนี้ ยังได้สร้าง “เมืองโขง” หรือ “เมืองสีทันดร” ในช่วงเวลาต่อมา ปัจจุบันเป็นเมืองศูนย์กลางของมหานทีสี่พันดอน


* โพนสะเม็ก.jpg (185.69 KB, 757x759 - ดู 804 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #143 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2566, 16:23:55 »

ญาถ่านสำเร็จลุน ปรมาจารย์ผู้ถ่ายทอดสรรพวิชาสองฝั่งแม่น้ำโขง
ญาถ่านสำเร็จลุน ได้จาริกธุดงค์ ปฏิบัติสมณธรรมแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ดังกล่าว ตามป่าเขา แนวฝั่งแม่น้ำโขงทั้งสองด้านจากจังหวัดอุบลราชธานีตลอดถึงนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองของไทย จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนสองฝั่งโขงแถบนี้เป็นอย่างมากจนบางครั้งลือว่า ญาถ่านสำเร็จลุน เป็น “ผู้วิเศษ” มีฤทธาศักดาเดชเหาะเหินเดินอากาศได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านเป็น “ผู้รู้” หลายด้าน โดยเฉพาะเป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ฉันมื้อเดียวตลอดไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ และปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ ที่สำคัญคือเป็นผู้มี “มนต์” หรือ “คาถา” ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์หลายด้าน รวมทั้งตำรายาและเวทมนต์คาถาอื่น ๆ อีกมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น “ความเชื่อ” ของคนในยุคสมัยนั้นว่า สามารถช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บ ตลอดจนเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้หายจากความทุกข์ต่าง ๆ ได้


* สำเร็จลุน.jpg (151.61 KB, 757x759 - ดู 817 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2566, 21:56:06 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #144 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2566, 15:50:41 »

หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1
ประวัติจากคำบอกเล่าจากปากท่าน และชาวบ้าน

#ท่านผู้ส่งต่อ เกษา และอัฐิ #ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ วัดสนามชัย บ.นาหว้าน้อย อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ เกิดปี 2457 ศิษย์ผู้เป็นพี่ของหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร เจ้าอาวาสวัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
...หลวงปู่สว่างได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า สมัยนั้นท่านยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เล่าเรียนอาคมสายปู่สมเด็จลุน จึงมีโอกาสได้เจอกับศิษย์ผู้น้อง คือ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร ต่อมาท่านปรมาจารย์ใหญ่ท่านอาจารย์สมเด็จตันที่ประสิทธิ์วิชา
ท่านเป็นเคยอุปถากหลวงปู่สมเด็จลุน จึงได้แบ่งเกษา อิฐิ บ้างส่วนให้หลวงปู่สว่างติดตัว ต่อมาหลวงปู่ท่านได้เดินทางข้ามมาฝั่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2513 มาอยู่ที่วัดสนามชัย หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ.2518 พี่น้องทางประเทศลาวจึงข้ามมาฝังไทยเป็นจำนวนมาก

การสืบทอดจนมาเป็นสายธรรมอุตฺตโมบารมี
1.องค์ต้นปรมาจารย์ใหญ่สมเด็จพระเจ้าสังฆราชาสัทธรรมโชตนาญาณวิเศษ (เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก) พ.ศ. 2174-2264
2.ปรมาจารย์ใหญ่พระครูพรหมา (เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4) ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พ.ศ. 2335 – ๒๔๑๐
3.ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ (อุปัชญาย์สำเด็จลุน มีศักดิ์เป็นหลวงอา และเป็นผู้ก่อตั้งสายอุตฺตมะอุตฺตโม ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น สายธรรมอุตฺตโมบารมี เริ่มไหว้ครูธรรมใหญ่ครั้งแรก ปี 2405) ท่านได้ธุดงค์เพื่อไปกราบพระธาตุพนม จากนั้นจึงเข้าไปกราบพระครูพรหมา เพื่อได้ขอศึกษาตำราใบลาน พ.ศ. 2345-2395
4.ปรมาจารย์ญาถานสมเด็จลุน พระผู้ทรงอภิญญาแห่งประเทศลาว พ.ศ.๒๓๗๙ – ๒๔๖๓
5.บรมครูใหญ่ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ  ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 (ผู้รับมอบเกศา อัฐิ ตำราใบลานสำเร็จลุน จากญาถ่านสำเด็จตัน)พ.ศ.๒457-2553
6.บรมครูใหญ่ญาถ่านทา นาควัณโณ  ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 (ผู้สืบทอดจากญาถ่านตู๋ ผู้เป็นศิษย์ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ )พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน
7.บรมครูญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 พ.ศ. 2510 – ปัจจุบัน


ประวัติความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่
สายธรรมอุตฺตโมบารมี
     เดิม ศิษย์รุ่นแรกจะ เรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่สำเร็จต้นบอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่ญาท่านอุตตะมะปฐมาจารย์ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน เจ้าอาวาส วัดสิงหาญ ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2345-2395 ก่อนท่านมรณะ 10 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 และเป็นช่วงของญาท่าน(สำเร็จ)สีดา เจ้าอาวาส พ.ศ.2395-2450 เพราะหลวงปู่สำเร็จต้นจำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ดังนั้นการหาวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ปีนั้นจึงมีความง่ายมาก เพราะครูบาอาจารย์ได้ให้ลูกศิษย์ใช้ วันที่ขึ้น 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปีจัดพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ จึงสามารถสรุปวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ ทั้งแรกคือ วัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำเดือนสาม(๓) ปีระกา นับจากนั้นมาจึงเริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันปี 2563 มีอายุการประกอบพิธีกรรมมาแล้ว 158 ครั้ง

ต่อมา มีลูกศิษย์ได้จัดสร้างเหรียญหลวงปู่สว่าง เมื่อ 1 ธ.ค.51 จำนวน เหรียญ 500 เหรียญ
หลังจากนั้นหลวงปู่สว่างท่านป่วยหนักญาติพี่น้องลูกหลานจึงพาท่านกลับยังถิ่นฐานบ้านเกิดยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แล้วท่านก็มรณะภาพ ที่วัดบ้านนาแก เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสุวรรณเขต รวมอายุได้ 96 ปี พรรษา 75

หลวงปู่สว่างก่อนที่จะล้มป่วย ท่านได้มอบเกษา และอัฐิ ให้กับปู่รินทอง หัวหน้าโรงเลื่อยบ้านนาสนาม ปู่รินทองคือบิดาของญาถานเบิ้ม ต่อมา
เกษา และอัฐิ #ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
จนมาถึงสายธรรมอุตฺตโมบารมี โดยมีหลักฐานพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเชื่อสายตรง ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดเวินไซ หรือศิษย์ที่ข้ามมาไทย
ท่านได้นำข้ามมายังประเทศไทย บ้างท่านได้แต่ผงอัฐิ บ้างท่านได้ เขี้ยวท่าน บ้างท่านได้ เกษา
และยิ่งมีเกิดความบังเอิญ ท่านที่ได้ครอบครอง ได้แบ่งให้บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเสาหลักให้ศิษย์สายปรมาจารย์ได้กราบบูชาเป็นตัวแทน ...


* ปู่สว่าง.jpg (168.96 KB, 757x761 - ดู 807 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มิถุนายน 2566, 15:13:36 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #145 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2566, 10:51:31 »

พระครูพรหมา ปรมาจารย์ใหญ่ผู้มอบตำราให้ปรมาจารย์ใหญ่ญ่าถ่านสำเร็จอุตฺตมะ
ข้อมูลที่มาจากคำบอกกล่าว
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือ พระเจ้าศิริบุญสาร เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 4 (พ.ศ. 2294 - พ.ศ. 2322) พระราชโอรสในเจ้าองค์ลอง, เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ. 2322
      องค์ที่ 4 พระเจ้านันทเสน เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 5 (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337) พระราชโอรสในพระเจ้าศิริบุญสาร
      องค์ที่ 5 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4 หรือ พระเจ้าอินทวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 6 (พ.ศ. 2337 - พ.ศ. 2348) พระราชสมภพเมื่อใดไม่ปรากฏ และสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2348 ทรงเป็นพระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสน, พระบรมอัยกาธิราชในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      ต่อมาพระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร
จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์
ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น
      ต่อมา วัดพระธาตุพนม จึงได้มีเจ้าอาวาสนาม องค์ที่ 6 พระครูพรหมา (เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4) ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พ.ศ. 2335 – 2410
      ต่อมาปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ได้ย้ายมาจากฝั่งขวาแม่น้ำโขง มาสร้างวัดสิงหาญ ราว พ.ศ.2345 โดยญาท่านอุตตะมะ (อุต) เป็นผู้ก่อตั้ง มีความเป็นมากล่าวคือ ญาถ่านอุตตะมะ ได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านใหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ ญาถ่านอุต ท่านจึงได้บอกว่าถ้าจะให้จำพรรษอยู่ที่บ้านสะพือนี้ ก็จะเอาพ่อแม่มาด้วย ชาวบ้านจึงได้ตกลง ท่านจึงอพยพครอบครัวมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสะพือ ชาวบ้านได้จัดสรรที่ทำมาหากินให้มีไร่นาสวนพออยู่พอกิน ส่วนญาถ่านอุตนั้นได้ตั้งสำนักสงฆ์ ขึ้นอยู่ที่ป่าทางทิศให้ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อ "วัดศรีสุมัง"  ( ปัจจุบันได้ขุดเป็นสระน้ำสาธารณะ ชาวบ้านเรียก สระโนนวัด เพราะเคยเป็นวัดมาก่อน ) แต่ชาวบ้านเห็นว่าการนำภัตราหารเช้า,เพลไปถวายลำบาก เนื่องจากอยู่ไกลหมู่บ้าน จึงได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ที่ริมหมู่บ้านทางทิศใต้ (ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถาง สร้างกุฎิให้พระอยู่อาศัย ญาถ่านอุต จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2345 เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดสิงหาญ" จนถึงปัจจุบัน


* พระครู.jpg (189.01 KB, 755x759 - ดู 761 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2566, 11:22:11 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #146 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2566, 22:54:48 »

ตะกรุดโทนแคว้นคลาดนวภา
ตะกรุดโทนสุริยะนวภาสามกษัตริย์
สร้างปี 2563

ตะกรุดโทนสุริยะนวภาสามกษัตริย์
จัดสร้าง 108 ดอก

ตะกรุดโทนแคว้นคลาดนวภา
จัดสร้าง 999 ดอก

ตะกรุดชุดนี้ได้อุดมวลสารศักดิ์สิทธิ์พันกว่าชนิด

อธิษฐานจิตโดย
ญาถ่านสำเร็จทา นาควัณโณ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2
ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3


* ตะกรุด.jpg (350.27 KB, 963x759 - ดู 780 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #147 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2566, 00:12:58 »

ตะกรุดสามกษัตริย์ตันปืน ปี 2550

จำนวนการจัดสร้าง 9 ชุด ประกอบด้วย
- ตะกรุดสามกษัตริย์
- เศียรพ่อปู่ฤาษีรุ่น 3 พิเศษ
- เม็ดลูกประคำทุกชุด

อธิษฐานจิตโดย
ญาถ่านสำเร็จอ่อง ฐิตธัมโม
ญาถ่านสำเร็จจันทร์หอม สุภาทโร
ญาถ่านสำเร็จทา นาควัณโณ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2
ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3


* ตะกรุดตันปืน.jpg (360.09 KB, 961x763 - ดู 763 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #148 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2566, 00:22:11 »

เหรียญ รุ่น เลื่อนสมณศักดิ์ ปี 2566

พระครูอัมพวันเขมากร (ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม)

จัดสร้าง 5 รายการ
1.เนื้อทองคำ 1 เหรียญ
2.เนื้อเงินลงยา 19 เหรียญ
3.เนื้อทองแดง 999 เหรียญ
4.จัดสร้างเป็นชุด 3 เหรียญ จำนวน 108 ชุด
   -เนื้อทองคำขาวลงยา 108 เหรียญ
   -เนื้อนวะ 108 เหรียญ
   -เนื้อทองเหลือง 108 เหรียญ

   สำหรับเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์รุ่นแรกนี้ ถือได้ว่าเป็นเหรียญที่ออกแบบมาได้อย่างสวยงามมีความคมชัดลึกได้มิติแห่งเหรียญพระพุทธ
องค์ประกอบต่างๆก็สื่อความหมายอันเป็นมหามงคลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ กล่าวคือ ด้านหน้าได้จำลองรูป “ พระครูอัมพวันเขมากร (ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม) ” พื้นหลังเป็นรูปแบบพัดยศ
ส่วนด้านหลังจะมีตรา สายธรรมอุตฺตโมบารมี
   จึงถือได้ว่าเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์นี้ เป็นเหรียญรุ่นแรก ด้วยความเชื่อที่ว่ารูปพัดยศ และ คำว่า “ เลื่อนสมณศักดิ์ ” ซึ่งล้วนแต่สื่อถึงความหมายอันเป็นมงคลยิ่งของการมีลาภ
ยศถาบรรดาศักดิ์ ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จะได้เป็นใหญ่เป็นโตต่อไปในภายภาคหน้า
   จัดสร้างเป็นที่ระลึกในคราวฉลองสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในปี พ.ศ.2566 หรือที่นิยมเรียกกันว่า "เหรียญเลื่อน" จัดได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในหมู่ข้าราชการ ยิ่งฤดูกาลแต่งตั้งเป็นต้องเสาะหามาบูชากัน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการแข่งขันดำรงตำแหน่งให้สูงยิ่งขึ้น เป็นเหรียญที่น่าบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน


* ภาพเล็กพัดยศ.jpg (337.68 KB, 895x707 - ดู 747 ครั้ง.)

* LINE_ALBUM_ครูธรรมใหญ่_๒๓๐๕๒๗.jpg (106.82 KB, 720x960 - ดู 723 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 สิงหาคม 2566, 08:12:23 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 50.8%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #149 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2566, 12:15:47 »

พระครูลืมบอง หรือ ญาคูลืมคบไฟ

...วัดโพพันลำหรือวัดภูพันลืม ปัจจุบันวัดดังกล่าว คือบริเวณดอนปู่ตาประจำหมู่บ้านกาลืม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ 2189 ท่านเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือ ญาครูขี้หอม เดินเป็นคนบ้านดงกืม เมืองอาดสะพังทองแขวงสะหวันนะเขต ครอบครัวได้อพยพมาอาศัยอยู่บ้านกาลืม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อท่านเจ้าราชครูหลวง มีอายุได้ 15 ปีท่านพระครูลืมบองได้บรรพชาเจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว)ทั้งนี้ท่านพระครูลืมบองนั้นมีศักดิ์เป็นญาติผู้ใหญ่ทางโยมบุพการีของท่านเจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว) และพระครูลืมบองได้ถ่ายทอดวิชาพระเวทย์คาถาอาคม ที่เป็นยอดวิชาธรรมะธาตุ และวิชาต่างๆ ท่านเจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว) จนหมดทุกอย่าง ด้วยความฉลาดของท่านเจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว) จึงสามารถศึกษาจากพระครูลืมบอง ได้จนหมดเปลือก ต่อมาพระครูลืมบองไม่มีอะไรจะสอน จึงได้บอกให้เจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว) เดินทางไปฝากตัวศึกษาต่อกับพระครูยอดแก้ว    
...จากตำนานท้องถิ่นเล่ากันว่าท่านพระครูลืมบองเป็นพระเถระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและศึกษาวิปัสสนาธุระเป็นประจำ อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญในเวทมนต์ คาถาอาคมรวมถึงไสยศาสตร์จนเป็นที่เคารพแก่เจ้าเมืองโพพันลำ ถึงขนาดเจ้าเมืองอาราธนาท่านพระครูลืมบองไปดูแลเมืองพานแทน ด้วยความเก่งกล้าและความสามารถของท่านพระครูลืมบอง


* พระครูลืมบอง.jpg (118.76 KB, 709x711 - ดู 731 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 สิงหาคม 2566, 12:22:32 โดย maxna » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!