ประวัติเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 19:20:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย  (อ่าน 29880 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 20 สิงหาคม 2554, 11:13:40 »

อุบลราชธานี ศรีวนาไลย ประเทศราช
เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๐


อุบลราชธานี ศรีวนาไลย ประเทศราช มีประวัติการสถาปนาเมืองเกี่ยวเนื่องกับนครเชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า โดยเจ้าปางคำ พระบิดาของพระเจ้าตา พระเจ้าวอ เป็นเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครเชียงรุ้ง ในปี พ.ศ. ๒๒๒๘ เกิดวิกฤตสงคราม ในนครเชียงรุ้ง เนื่องจากจีนฮ่อ ยกกำลังเข้าตีนครเชียงรุ้ง เจ้าผู้ครองนครเชียงรุ้ง ได้แก่ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี เจ้าปางคำ เห็นว่าไม่สามารถต้านทานศึกครั้งนี้ได้จึงอพยพไพร่พล จากนครเชียงรุ้ง มาขอพึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่งนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระประยูรญาติ ทางฝ่ายพระมารดา

พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โปรดให้นำไพร่พลไปตั้งที่เมืองหนองบัวลุ่มภู และให้อยู่ในฐานะนครพิเศษ ไม่ต้องส่งส่วย บรรณาการ และมีสิทธิสะสมไพร่พลอย่างเสรี เป็นอิสระไม่ขึ้นกับเวียงจันทน์ มีชื่อว่า ?นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน?

ต่อมา ได้เกิดความสัมพันธ์กันขึ้นระหว่างราชวงศ์เชียงรุ้งกับราชวงศ์เวียงจันทน์ โดยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้เจ้าอินทกุมาร เสกสมรส กับพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ได้โอรส คือ เจ้าคำ หรือเจ้าองค์นก ให้เจ้า นางจันทกุมารี เสกสมรสกับพระอุปยุวราช ได้โอรส คือ เจ้ากิงกีศราช และ เจ้าอินทโสม สืบเชื้อสายต่อมาเป็นบรรพบุรุษของเจ้านายหลวงพระบาง ส่วนเจ้าปางคำ ให้เสกสมรสกับพระราชนัดดา ได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ต่อมาพระเจ้าตา นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระวอพระตาทั้งสองได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกรุง ศรีสัตนาคนหุต ตั้งแต่สมัยพระไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ พระอัยกาของพระเจ้าสิริบุญสาร

เมื่อราวปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ พระเจ้าสิริบุญสาร ได้เป็นเจ้าแผ่นดินครองเวียงจันทน์ เกิดความบาดหมางกันกับพระวอพระตา ผู้เป็นเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุต พระวอพระตาจึงหนีออกมาอยู่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานเช่นเดิม ต่อมา พระเจ้าสิริบุญสาร เห็นนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานขยายใหญ่โตสะสมกำลังทหารมาก เกิดระแวงเกรงว่า ต่อไปภายหน้า นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานจะเป็นปัญหาต่อเวียงจันทน์ พระเจ้าสิริบุญสาร จึงหาข้ออ้างโดยวิธีขอธิดาของพระเจ้าตาไปเป็นสนม ซึ่งเหมือนตัวประกันกลายๆ แต่เจ้าพระตาและพระเจ้าวอไม่ยอม พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนก็ไม่เคยมีการขอธิดาไปเป็นนางห้าม

พระเจ้าสิริบุญสารจึงยกเป็นข้ออ้างว่าเจ้าพระตา เจ้าพระวอ คิดการเป็นใหญ่ และได้ให้กองทัพยกมาตีนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้เป็นสามารถ จนกองทัพเวียงจันทน์ต้องแตกพ่ายกลับไปหลายครา การสงครามระหว่างนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานกับเวียงจันทน์สู้รบกันกินเวลา ถึง ๓ ปีไม่แพ้ไม่ชนะกัน เจ้าพระตาเจ้าพระวอ ต้องการจะชนะศึกให้เด็ดขาด จึงคิดจะส่งทหารไปให้พม่ามาช่วยรบ พระเจ้าสิริบุญสาร แห่งเวียงจันทน์รู้แผน จึงแอบส่งทูตไปขอกองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ตัดหน้าก่อน เจ้าพม่าที่ครองเมืองเชียงใหม่จึงให้หม่องระแง เป็นแม่ทัพนำทหารมาช่วยเจ้าสิริบุญสาร ตีนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

ฝ่ายเจ้าพระวอ เจ้าพระตา ทราบข่าวศึกใหญ่ เห็นเหลือกำลังที่จะสู้ข้าศึกได้ จึงให้เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าก่ำ เจ้ามุม เจ้าคำสิงห์ นำไพร่พล คนแก่ชรา ผู้หญิง และเด็ก พร้อมพระสงฆ์องค์เจ้าอพยพลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงให้หาที่สร้างค่าย สร้างเมืองทำไร่นาสะสมเสบียงไว้คอย หากแพ้สงคราม เสียเมืองให้แก่ข้าศึก แล้วจะตามไปสมทบ  เจ้าบุตรทั้งหลายจึงนำไพร่พลอพยพไปตามที่เจ้าพระตาสั่ง ได้มาตั้งบ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่าสะสมเสบียงไว้คอยกองทัพเจ้าพระตา ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร
เมื่อกองทัพพม่าข้าศึกและกองทัพเวียงจันทน์ยกมาถึงก็เข้าตีเมืองหนองบัวลุ่ม ภู ได้รบกันอยู่หลายเวลาผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ในที่สุดเจ้าพระตาออกรบถูกข้าศึกฟันถึงแก่อสัญกรรม

เมื่อเจ้าพระตาถึงแก่อสัญกรรมแล้ว เจ้าพระวอผู้น้องชายได้เป็นผู้นำกองทัพแทน เห็นว่าจะสู้ต่อไปไม่ได้จึงหลบหนีออกจากเมืองในเวลากลางคืน โดยมีเจ้าผ้าขาว หลวงราชโภชนัย ท้าวนาม ท้าวเชียง ท้าวสูน ท้าวชม เจ้าฝ่ายหน้า เป็นนายทหารติดตามพร้อมไพร่พลหนีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามที่กองครัวยก ล่วงหน้าไปก่อนแล้วนั้น เมื่อมาถึงบ้านพันนา
เจ้าผ้าขาวขอแยกหยุดอยู่และต่อมาย้ายมาอยู่บ้านส้มโฮง ภายหลังตั้งเป็นเมืองกาฬสินธุ์ ส่วนเจ้าพระวอ เจ้าคำผง เจ้าทิตพรหม เจ้าฝ่ายหน้า หลวงราชโภชนัย ท้าวนาม ท้าวสูน ท้าวเชียง ท้าวชม เดินทางต่อไป

เมื่อเจ้าพระวอกับพวกหนีข้าศึกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ครั้นถึงบ้านเสียวน้อยเสียวใหญ่ บริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด บ่อพันขัน จึงได้หยุดพักสำรวจไพร่พลที่ตามมาเห็นมีจำนวนมาก และจึงปรึกษากันว่า ถ้าอยู่รวมกันเป็นกระจุกเดียวแล้ว หากข้าศึกยกทัพมาตีเมื่อสู้เขาไม่ได้ก็จะตายหมด ควรที่จะแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเมืองอยู่เป็นกลุ่มๆ หากเกิดศึกก็ให้รีบไปช่วยกัน เมื่อตกลงกันแล้ว จึงแยกกันออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ ๑ เจ้าพระวอเป็นหัวหน้าพร้อมเจ้าคำผง ผู้บุตร เจ้าทิตพรหม เจ้าฝ่ายหน้า ถือพลหนึ่งหมื่นยกไปอาศัยอยู่บ้านสิงห์ท่า ซึ่งเจ้าคำโสผู้น้องมาสร้างไว้แล้ว แต่เจ้าพระวอเห็นว่ามีคนมากอยู่แล้วจึงอพยพไปอยู่ ดอนมดแดง ภายหลังเมืองเป็นเมืองอุบลราชธานี

กลุ่มที่ ๒ หลวงราชโภนัย ถือพลหนึ่งหมื่นไปตั้งอยู่บ้านดวนใหญ่ภายหลังตั้งเป็น เมืองคูขันธ์มีท้าวนามเป็นผู้ช่วย
ต่อมาท้าวนามแยกตัวไปตั้งบ้านเจียงอีเป็นเมืองศีรสะเกษ

กลุ่มที่ ๓ ท้าวสูน ท้าวเชียม ท้าวชม แยกตัวไปตั้งอยู่บ้านท่ง ดงข้าวสาร ภายหลังเป็น เมืองสุวรรณภูมิ อันเป็นต้นวงศ์ของเมืองร้อยเอ็ด เมืองชลบถ เมืองขอนแก่น เมืองมหาสารคาม และเมืองภูเวียง

เมื่อพระวอยกพลมาอยู่บ้านดอนมดแดงนั้น ได้ขอพึ่งพระเจ้าไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์อนุญาตให้อยู่ได้ และเจ้าพระวอตั้งเป็นอิสระอยู่ค่ายบ้านดอนมดแดง สะสมกำลังทหารและเสบียงกรังจนค่ายเข็มแข็ง ต่อมา ทางนครจำปาศักดิ์ เห็นว่าค่ายบ้านดอนมดแดงของเจ้าพระวอมีกำลังเข้มแข็งขึ้น เกรงจะเกิดปัญหา และต้องการให้อยู่ในสายตา จึงคิดอุบายตัดกำลังเพื่อจะควบคุมได้ง่าย เจ้าไชยกุมารองค์หลวงจึงออกอุบายทะเลาะกับเจ้าธรรมเทโว ผู้น้อง เจ้าไชยกุมารได้หนีจากนครจำปาศักดิ์มาอยู่ค่ายดอนมดแดงกับเจ้าพระวอ เจ้าพระวอมีใจซื่อได้ให้การต้อนรับเป็นอันดี ภายหลังเจ้าธรรมเทโวได้คิดจึงให้อัญเชิญเจ้าไชยกุมารองค์หลวงกลับไปครองนคร จำปาศักดิ์ตามเดิม

เมื่อเจ้าไชยกุมารองค์หลวงได้ครองนครจำปาศักดิ์แล้ว จึงได้ขอให้เจ้าพระวอไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ด้วย แต่เจ้าพระวอไม่ไป จะขออยู่ที่ค่ายบ้านดอนมดแดงเช่นเดิม เจ้าไชยกุมารองค์หลวงจึงเสนอว่าถ้าไม่ไปอยู่นครจำปาศักดิ์ก็ขอให้ไปอยู่ที่ ค่ายบ้านดู่บ้านแก ซึ่งอยู่ใกล้นครจำปาศักดิ์ เพื่อจะได้พึ่งพากันในเวลาคับขัน เจ้าพระวอจึงยินยอมไปอยู่ที่ค่ายบ้านดู่บ้านแก ส่วนค่ายบ้านดอนมดแดงนั้น ให้แสนเทพและแสนนามคุมไพร่พลอยู่รักษาค่ายแทน

เมื่อเจ้าพระวอย้ายมาอยู่ที่บ้านดู่บ้านแกได้ไม่นานนัก เจ้าบางองค์ในเมืองนครจำปาศักดิ์จึงแอบส่งข่าวไปให้พระเจ้าสิริบุญสารแห่ง เวียงจันทน์ ทราบว่า เจ้าพระวอกับพวกได้แยกย้ายกันอยู่แล้ว ทำให้กำลังทหารถูกแบ่งแยกกันออก ไม่แข็งแกร่งเหมือนก่อน โดยพระวอได้มาอยู่ค่ายบ้านดู่บ้านแก กำลังอีกส่วนหนึ่งรักษาค่ายอยู่บ้านดอนมดแดง

ครั้นเจ้าสิริบุญสารทราบเช่นนั้น เห็นเป็นโอกาสที่จะกำกัดพระวอ จึงให้อัคราชหำทอง และพญาสุโพ เป็นแม่ทัพยกกองทัพลงมาตีค่ายบ้านดู่บ้านแกของเจ้าพระวอ เจ้าพระวอนำกำลังออกต่อสู้เป็นสามารถ แต่เนื่องจากกำลังน้อย จึงไม่สามารถต้านทางกองทัพจากเวียงจันทน์ได้ ในที่สุดเจ้าพระวอถูกข้าศึกฆ่าตายในสนามรบ ทหารเสือของเจ้าพระวอกันเอาศพเข้าค่ายได้



* 250px-Monument_of_Phra_Pathum_Worartchasuriyawong,_Ubon_Ratchathani.jpg (86.79 KB, 500x666 - ดู 7224 ครั้ง.)

thxby2353nirungfc
บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2554, 11:23:27 »

อุบลราชธานี ศรีวนาลัย
ภายใต้ขอบขันธสีมากรุงธนบุรี


การสูญเสีย เจ้าพระวอที่ค่ายบ้านดู่บ้านแกในสงครามครั้งนี้ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งของประวัติศาสตร์เวียงจันทน์ เมื่อเจ้าพระวอตายในสนามรบ เจ้าคำผง ผู้บุตร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าหลวงแทน มีนามว่า ?พระประทุมสุรราช? ท้าวคำผงเห็นว่า กำลังทหารมีน้อย ไม่สามารถต่อสู้กับข้าศึกได้ จึงสั่งปิดค่ายไว้ไม่ออกต่อสู้ เมื่อที่ประชุมญาติพี่น้องและนายทหารที่เหลืออยู่ในค่ายบ้านดู่บ้านแกแล้ว เห็นพร้อมกันว่า ไม่สามารถที่จะพึ่งนครจำปาศักดิ์ได้แล้ว จึงควรขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี ขอเป็นเมืองขึ้นข้าขอบขันธเสมาของกรุงธนบุรี

พระประทุมสุ รราช(คำผง) จึงให้นายทหาร คือ เพียพบบ่อหน เพียพลอาสา และทหารอีกสองคนเล็ดลอดหนีข้าศึกออกจากค่ายนำใบบอกลงไปเมืองนครราชสีมา ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาเมืองนครราชสีมาได้พานายทหารของเจ้าคำผงลงไปเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระเจ้ากรุง ธนบุรี จึงโปรดให้นายทหารผู้ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และ เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกทัพไปช่วยท้าวคำผงที่บ้านดู่บ้านแก ที่นครจำปาศักดิ์ โดยให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกไปทางเมืองนครราชสีมาและเมืองขึ้นยก ไปช่วย และให้เจ้าพระสุรสีห์ยกไปทางเมืองเขมร ให้ต่อเรือล่องขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง ไปสมทบกันที่เมืองนครจำปาศักดิ์ ยกเข้าตีกองทัพเจ้าพญาสุโพ

เมื่อพญาสุโพ ทราบว่าพระประทุมสุรราชไปขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงธนบุรี และพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพมาช่วย เกรงว่าศึกครั้งนี้เป็นศึกใหญ่ จะสู้ไม่ได้ จึงถอยทัพกลับไปเมืองเวียงจันทน์ เมื่อเจ้าพระยาทั้งสองมาถึงค่ายบ้านดู่บ้านแก พระประทุมสุรราชได้พาเอาครอบครัวไพร่พลออกไปถวายดอกไม้ธูปเทียนขอพึ่งพระบรม โพธิสมภาร และเจ้าพระยาทั้งสองให้พระประทุมสุรราชเกณฑ์เอากองกำลังจากบ้านดู่บ้านแก เป็นทัพหน้ายกตามตีกองทัพของพญาสุโพ

สมเด็จเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึกเป็นทัพหน้า เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นทัพหนุน ยกขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง เมื่อกองทัพของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปถึงเมืองไหน เมืองเหล่านั้นก็ขออ่อนน้อมเป็นข้าขอบขันธเสมา และยกกำลังเข้าสมทบไปตีเวียงจันทน์ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๑ ว่า

?ครั้น เดือนอ้าย ปีจอ สำฤทธิศกราช ๑๑๔๐ สมเด็จพระเจ้ามหากษัตรศึกกับพระเจ้าสุรสีหพิศนุวาธิราช ยกทับกรุงออกไปหมื่นหนึ่ง ไปถึงเมืองบันทายเพชร แจ้งความแก่สมเด็จพระรามราชาว่า จะขึ้นไปตีเมืองลาว ตามลำน้ำโขงตลอดขึ้นไปถึงเวียงจันทน์ ขอให้พลมื่นหนึ่งกับเสบียงอาหารด้วย?

กองทัพใหญ่ ได้ยกไปถึงเวียงจันทน์ ฝ่ายเวียงจันทน์ก็ยกกองทัพออกต่อสู้เป็นสามารถ ได้รบกันอยู่ถึง ๔ เดือน ในระยะเวลานั้น พระเจ้าสุริยวงศาแห่งเมืองนครหลวงพระบาง ได้ให้เสนาผู้ใหญ่ยกกำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ทางด้านเหนือเป็นทัพกระหนาบ ในที่สุดเวียงจันทน์แตก พระเจ้าสิริบุญสารพาครอบครัวโอรสธิดาหนีไปทางเมืองคำเกิดขอพึ่งญวน เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ชัยชนะเข้าเมืองเวียงจันทน์ได้ ให้ควบคุมเอาตัวเจ้ามหาอุปราชนันทเสน และเชื้อพระวงศ์ลงไปกรุงธนบุรี

ในการศึกครั้งนี้ เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ได้อัญเชิญเอาพระแก้วมรกตและพระบางลงไปกรุงธนบุรีด้วย

ส่วนพระประ ทุมสุรราช (คำผง) นั้นให้กลับไปอยู่บ้านดู่บ้านแกตามเดิม แต่พระประทุมสุรราชขออนุญาตย้ายกลับคืนมาอยู่ที่ค่ายบ้านดอนมดแดง เพราะเกรงว่าเมื่อเจ้าพระยาทั้งสอง ยกทัพกลับไปกรุงธนบุรีแล้วอาจเกิดศึกขึ้นอีกได้ เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ อนุญาตตามนั้น พระปทุมสุรราช จึงได้อพยพกลับมาอยู่ที่ค่ายบ้านดอนมดแดงอีกครั้ง

ครั้นลุปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๙ เกิดน้ำท่วมใหญ่ น้ำได้ท่วมค่ายบ้านดอนมดแดง พระประทุมสุรราชจึงได้อพยพไพร่พลหนีน้ำไปอยู่ในที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ที่ใกล้ห้วยแจละแม เมื่อน้ำลดแล้วจึงได้หาที่ตั้งเมืองใหม่ เพียพลอาสา เพียพบบ่อหน และเมืองกลาง ได้พบดงใหญ่ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำมูลเป็นที่ดอนสูงน้ำไม่ท่วม เห็นเป็นชัยภูมิดีเหมาะที่จะสร้างเมืองได้ จึงแจ้งให้พระปทุมสุรราช (คำผง) ทราบ และไปดูที่จะสร้างเมือง ในปี พ.ศ. ๒๓๒๐ พระปทุมสุรราช จึงได้อพยพไพร่พลมาสร้างบ้านสร้างเมืองที่ดงอู่ผึ้ง สร้างเมืองอยู่ ๒ ปี จึงแล้วเสร็จ ให้มีใบบอกลงไปกราบทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีให้ทรงทราบว่าได้ย้ายสถานที่ตั้ง เมืองใหม่

thxby2354nirungfc
บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2554, 11:25:25 »

เมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลย ประเทศราช
ภายใต้ขอบขันธสีมากรุงรัตนโกสินทร์



พระประทุมสุ รราช (คำผง) ได้นำไพร่พลมาตั้งเมืองใหม่อยู่ดงอู่ผึ้ง จนกระทั่ง พ.ศ.๒๓๓๔ (จุลศักราช ๑๑๕๓ ตรีศก) อ้ายเชียงแก้ว ซึ่งตั้งบ้านอยู่ที่ตำบลเขาโอง แขวงเมืองโขง คิดการกบฏ พาพรรคพวก ไพร่พลเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) เจ้าเมืองซึ่งกำลังป่วยอยู่ ก็มีอาการป่วยทรุดหนัก และถึงแก่พิราลัย อ้ายเชียงแก้วจึงยึดเมืองนครจำปาศักดิ์ไว้ได้ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อครั้งเป็นพระพรหม ยกกระบัตร ยกกองทัพเมืองนครราชสีมามาปราบกบฏอ้ายเชียงแก้ว

ขณะที่กองทัพ นครราชสีมายกมาไม่ถึงนั้น พระประทุมสุรราช (คำผง) และท้าวฝ่ายหน้า ผู้น้อง ที่ตั้งอยู่บ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) ได้ร่วมกันยกกำลังไปรบอ้ายเชียงแก้วก่อน ทั้งสองฝ่าย ได้สู้รบกันที่บริเวณแก่งตะนะ อยู่ในพื้นที่อำเภอโขงเจียม กองกำลังอ้ายเชียงแก้วแตกพ่ายไป อ้ายเชียงแก้วถูกจับได้ และถูกประหารชีวิต เมื่อกองทัพเมืองนครราชสีมายกมาถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อยแล้ว จึงพากันยกกองทัพไปตีพวกข่า ?ชาติกระเสงสวาง จะรายระแดร์? ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง จับพวกข่าเป็นเชลย ได้เป็นจำนวนมาก

จากความดี ความชอบในการปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้วครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ท้าวฝ่ายหน้า ผู้น้องของพระปทุมสุรราชเป็น ?พระวิไชยราชขัตติยวงศา? ไปครองเมืองนครจำปาศักดิ์ แทนพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารที่ถึงแก่พิราลัยไป และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระประทุมสุรราช(คำผง)
เป็น ?พระประทุมวรราชสุริยวงศ์? ครองเมืองอุบลราชธานี พร้อมกับยกฐานะบ้านห้วยแจระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลย ประเทศราช เมื่อวันจันทร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๑๕๔ (พ.ศ.๒๓๓๕) ดังปรากฎ ในพระสุพรรณบัตรตั้ง เจ้าประเทศราชในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่า

??.ด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้ผ่าน พิภพกรุงเทพ มหานครศรีอยุธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ตั้งให้พระประทุม เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ครองเมือง อุบลราชธานี ศรีวนาไลย ประเทศราช เศกให้ ณ วัน ๒ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๑๕๔ ปีจัตวาศก??

ภายหลังเมื่อได้มีการสถาปนา เมืองอุบลราชธานีสรีวนาลัย แล้ว ได้มีการตั้งเมืองที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้

๑. ตั้งเมืองเขมราฐในปี พ.ศ.๒๓๕๗ คือปีเดียวกับที่โปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองยโสธรนั่นเอง อุปราชก่ำ อุปราชเมืองอุบลราชธานี ไม่พอใจที่จะทำ ราชการกับ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๓๘-๒๓๘๘) จึงอพยพ ครอบครัว ไพร่พล ไปตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกงพะเนียง พร้อมกับขอพระบรมราชานุญาตตั้งขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโคกกง พะเนียง เป็นเมือง ?เขมราษฎร์ธานี? ขึ้นกรุงเทพฯ พร้องกันนั้นก็ โปรดเกล้าฯ ตั้งอุปราชก่ำ เป็นพระเทพวงศ์ศาเจ้าเมือง โดยกำหนดให้ ผูกส่วยน้ำรัก ๒ เลกต่อเบี้ย ป่าน ๒ ขอด่อ ๑๐ บาท เมือง ?เขมราฐษร์ธานี? ปัจจุบัน คือ อำเภอ เขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

๒. ตั้งเมืองโขงเจียมตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๕๔ ทั้งนี้เพราะขุนนักราชนาอินทร์ ผู้รักษาตำบลโขงเจียม มีความผิด เจ้าเมืองนคร จำปาศักดิ์ (โย่) จึงจับมาลงโทษ แล้วขอพระบรมราชานุญาต ตั้งท้าวมหาอินทร์ บุตรขุนนักอินทวงษ์เป็นพระกำแหงสงคราม ยกบ้านนาค่อขึ้นเป็นเมือง ?โขงเจียม? ขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ แต่พอถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คงด้วยเหตุผลทางการเมืองบางประการ จึงโปรด เกล้าฯ ให้เมืองโขงเจียมขึ้นตรงต่อ เมืองเขมราฐเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑

๓. เมืองเสนางคนิคมโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๘ ทั้งนี้เพราะพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมือง อุบลราชธานีคนที่ ๒ ได้นำ พระศรีสุราช เมืองตะโปน ท้าวอุปราช เมืองชุมพร ท้าวฝ่าย เมืองผาปัง ท้าวมหาวงศ์ เมืองคาง พาครอบครัวไพร่พล อพยพมาจาก ฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านช่องนาง แขวงเมืองอุบลราชธานี เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านช่องนางเป็นเมืองเสนางคนิคม ตั้งพระศรีสุราชเป็นพระศรีสินธุสงคราม เจ้าเมือง ให้ท้าวฝ่ายเมืองผาปัง เป็น อัครราช ท้าวมหาวงส์เมืองคาง เป็น อัครวงศ์รักษาเมืองเสนางคนิคม ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี แต่เมื่อตั้งเมืองจริงนั้น เจ้าเมืองกลับพา พรรคพวกไพร่พล ไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดก หาได้ตั้งที่บ้านช่องนางดังที่โปรดเกล้าฯ ไม่

๔. ตั้งเมืองเดชอุดมในปีเดียวกับตั้งเมืองเสนางคนิคมนี้เอง หลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย หลวงอภัย กรมการเมืองศรีสะเกษ ไม่พอใจที่จะทำราชการ กับพระยาวิเศษภักดีเจ้าเมืองศรีสะเกษ จึงอพยพครอบครัวไพร่พลไปตั้งอยู่บ้านน้ำโดมใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่าง เมืองนครจำปาศักดิ์ อุบลราชธานี ขุขันธ์ ศรีสะเกษ ติดต่อกัน มีไพร่พลทั้งหมด ๒,๑๕๐ คน และมีเลกฉกรรจ์ ๕๐๕ คน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเก้าฯ ให้ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม เมื่อวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ. ๒๓๘๘ (จ.ศ.๑๒๐๗) พร้อมกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ ให้หลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกระบัตร รักษาเมือง เดชอุดมขึ้นกับกรุงเทพฯ

๕. ตั้งเมืองคำเขื่อนแก้วตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๘ ทั้งนี้เพราะพระสีหนาท พระไชยเชษฐา นายครัวเมืองตะโปน ได้พาครอบครัว ไพร่พลมาตั้งอยู่ ที่บ้านคำเมืองแก้ว แขวงเมืองเขมราฐ พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เมืองเขมราฐ จึงกราบบังคมทูลเพื่อขอตั้งเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านเมืองแก้ว ขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นกับเขมราฐ

๖. ตั้งเมืองบัว(ปัจจุบันคือ อำเภอบุณฑริก) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๐ ทั้งนี้เพราะเจ้านครจำปาศักดิ์ (นาก) เห็นว่าการที่โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองเดชอุดม ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๘ นั้น เป็นผลกระทบกระเทือนต่อเขตแดน เมืองนครจำปาศักดิ์มาก เพราะจะเป็นผลให้เขตแดน ทางทิศตะวันตก ลดน้อยถอยลง จึงนำเรื่องขึ้น กราบบังคมทูล ขอยกบ้านดงกระชู (หรือบ้านไร่) ขึ้นเป็นเมือง เพื่อกันเขตแดนเมืองเดชอุดมไว้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านดงกระชู ขึ้นเป็นเมืองบัว ขึ้นตรง ต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ และให้ท้าวโสเป็นพระอภัยธิเบศร์วิเศษสงครามเจ้าเมือง

๗. ตั้งเมืองอำนาจเจริญตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๑ พระเทพวงศาเจ้าเมืองเขมราฐมีใบบอกกราบบังคมทูลขอตั้งบ้านค้อใหญ่ขึ้น เป็นเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้าน ค้อใหญ่ขึ้นเป็นเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ผูกส่วยเงินแทนผลเร่วปีละ ๑๒ ชั่ง ๑๘ ตำลึง ตั้งท้าวจันทบรม เป็นพระอมร อำนาจเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปราช ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโยเป็น ราชบุตร

๘. ตั้งเมืองพิบูลมังสาหารตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๕ พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๔๐๙) ได้มีใบบอก กราบเรียน เจ้าพระยากำแหงสงคราม เจ้าเมืองนครราชสีมา เพื่อนำความกราบบังคมทูลขอตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็นเมือง และขอตั้งท้าวจุมมณี เป็นเจ้าเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็นเมือง ?พิบูลย์มังสาหาร? เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ และ โปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวธรรมกิตติกา (จุมมณี) เป็นพระบำรุงราษฎร์เจ้าเมือง ให้ท้าวโพธิสารราช (เสือ) เป็นอุปราช ท้าวสีฐาน (สาง) เป็นราชวงศ์ ท้าวขัตติยะเป็นราชบุตร โดยกำหนดให้ ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี

๙. ตั้งเมืองตระการพืชผลใน พ.ศ.๒๔๐๕ พร้อมๆ กับการขอตั้งเมือง ?พิบูลมังสาหาร? พระพรหมราชวงศา เจ้าเมืองอุบลราชธานี ก็ขอตั้ง บ้านสะพือ ขึ้นเป็นเมืองด้วย และขอให้ท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) เป็นเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านสะพือขึ้น เป็นเมืองตระการพืชผล ให้ท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) เป็นพระอมร ดลใจเจ้าเมือง เมื่อวันอาทิตย์แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ โดยกำหนดให้ ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี

๑๐. ตั้งเมืองมหาชนะชัย พร้อมๆ กับขอตั้งเมืองพิบูลย์มังสาหาร และเมืองตระการพืชผลนั้นเอง ก็ได้ ขอตั้งบ้านเวินไชย ขึ้นเป็นเมืองด้วย ซึ่งก็ได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเป็นเมืองมหาชนะไชย ตั้งให้ท้าวคำพูนเป็นพระเรืองไชยชนะ เจ้าเมือง ท้าวโพธิราช (ผา) เป็นอุปราช ท้าววรกิตติกา (ไชย) เป็นราชวงศ์ ท้าวอุเทน (หอย) เป็นราชบุตร ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี

thxby2355nirungfc
บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2554, 11:38:49 »

อุบลราชธานี ศรีวนาไลย
จากประเทศราช สู่ ราชธานีแห่งอีสาน


สมัยรัชกาลที่ ๑

พระปทุมสุ รราช (ท้าวคำผง)ได้รับพระราชทานบำเน็ตความชอบจากการปราบกบฏอ้ายเชียงแก้ว ได้รับการแต่งตั้งเป็น ?พระปทุมวรราชสุริยวงศ์? ปกครองเมือง ?อุบลราชธานี ศรีวนาไลย ประเทศราช? ที่ยกฐานะขึ้นจากบ้านห้วย
แจระแม ในปี พ.ศ. ๒๓๓๕ มีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช และทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวฝ่ายหน้า ไปปกครองเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน ต่อมาพระปทุมวรราช ได้ย้ายเมืองลงมาตั้งอยู่ที่ดงอู่ผึ้ง ที่ตั้งตัวเมืองอุบลราชธานีปัจจุบัน พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ครองเมืองอุบลราชธานีมาแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๓ ถึง ปี พ.ศ. ๒๓๓๘ เป็นเวลาถึง ๑๘ ปี อายุถึง ๘๕ ปี
ปูนชราและถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๘ ตรงกับวันขึ้น๓ ค่ำ เดือน๑๒ วันพุธ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๕๗ มีบุตรธิดา
๙คน คนโตท้าวสุดตา เป็นที่พระอุปราช ท้าวแพงเป็นพระอุปราชเมืองยโสธร ท้าวทะ ท้าวโท นางคำสิงห์ นางจำปาคำ นางเหมือนตา นางสุ้ย ท้าวกุทอง (ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีที่ ๓ ที่ พระพรหมราชวงศา)

รัชกาลที่ ๒

ได้มีการตั้ง เมืองโขงเจียมตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๕๔ ทั้งนี้เพราะขุนนักราชนาอินทร์ ผู้รักษาตำบลโขงเจียม มีความผิด เจ้าเมืองนคร จำปาศักดิ์ (โย่) จึงจับมาลงโทษ แล้วขอพระบรมราชานุญาต ตั้งท้าวมหาอินทร์ บุตรขุนนักอินทวงษ์เป็นพระกำแหงสงคราม ยกบ้านนาค่อขึ้นเป็นเมือง ?โขงเจียม? ขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ แต่พอถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คงด้วยเหตุผลทางการเมืองบางประการ จึงโปรด เกล้าฯ ให้เมืองโขงเจียมขึ้นตรงต่อ เมืองเขมราฐเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑

เมืองเสนาง คนิคมโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๘ ทั้งนี้เพราะพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมือง อุบลราชธานีคนที่ ๒ ได้นำ พระศรีสุราช เมืองตะโปน ท้าวอุปราช เมืองชุมพร ท้าวฝ่าย เมืองผาปัง ท้าวมหาวงศ์ เมืองคาง พาครอบครัวไพร่พล อพยพมาจาก ฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านช่องนาง แขวงเมืองอุบลราชธานี เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านช่องนางเป็นเมืองเสนางคนิคม ตั้งพระศรีสุราชเป็นพระศรีสินธุสงคราม เจ้าเมือง ให้ท้าวฝ่ายเมืองผาปัง เป็น อัครราช ท้าวมหาวงส์เมืองคาง เป็น อัครวงศ์รักษาเมืองเสนางคนิคม ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี แต่เมื่อตั้งเมืองจริงนั้น เจ้าเมืองกลับพา พรรคพวกไพร่พล ไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดก หาได้ตั้งที่บ้านช่องนางดังที่โปรดเกล้าฯ ไม่

รัชกาลที่ ๓

อุบลราชธานี ได้กลายเป็นศูนย์กลางพระศาสนา โดยได้มีการนำพระศาสนามาเป็นนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพกับ หัวเมืองอีสาน ในสมัยนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ส่งพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ ซึ่งเป็นคนอุบลโดยกำเนิด ไปเป็นผู้ดูแลการพระศาสนาในหัวเมืองอีสาน เช่น อุบลราชธานี จำปาศักดิ์ นครพนม หนองคาย เป็นต้น มีการสร้างวัดตามแบบกรุงเทพขึ้น คือ วัดทุ่งศรีเมือง เป็นแห่งแรกของภาคอีสาน ได้มีการนำศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนรูปแบบการศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระอย่างกรุงเทพไปใช้อย่างกว้าง ขวาง เป็นรากฐานให้เกิดการพัฒนาการศึกษาตามแบบอย่างกรุงเทพในยุคต่อมา

ตั้งแต่รัช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บ้านเมืองค่อนข้างสงบ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงทรงมีนโยบายที่จะ จัดตั้งเมือง ให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการรวบรวมไพร่พลให้เป็นปึกแผ่น เพื่อความสงบสุข สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพได้ทรงกล่าวถึง เรื่องนี้ว่า

??รัชกาล ที่ ๑ ถึงรัชการที่ ๓ ให้เจ้าเมืองร้าง เที่ยวเกลี้ยกล่อมหา ผู้คนมาเป็นพลเมือง โดยไม่ต้องใช้อำนาจ อาจทำได้ด้วยยินดีด้วยกัน ทุกฝ่ายก็สำเร็จ ประโยชน์ ถึงความมุ่งหมาย เจ้าเมืองไหนเกลี้ยกล่อมคนมาได้มาก ก็ได้ทรัพย์เศษส่วน และได้ผู้คนสำหรับอาศัยใช้สอยมากขึ้น ก็เต็มใจขวนขวาย ตั้งบ้านเมือง ฝ่ายราษฎรที่ไปเที่ยวหลบลี้ เดือดร้อนลำบากมากอยู่ เมื่อรู้ว่า บ้านเมืองเรียบร้อยอย่างเดิม ก็ยินดีที่จะกลับมา โดยมา? คงจะเป็นเพื่อสนองตอบ พระบรมราโชบาย ในการตั้งเมืองดังกล่าวมาแล้ว และเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพของ ไพร่บ้านพลเมือง ??.ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ ( จุลศักราช ๑๑๔๘ ปีมะเมีย นพศก) พระประทุมจึงย้ายครอบครัวไพร่พลมาตั้งอยู่ ณ ตำบลแจระแม คือตำบล ที่ตั้งอยู่ทาง ทิศเหนือ เมืองอุบลปัจจุบัน?..?

ภายหลังพระ ปทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ถึงแก่พิราลัย บ้านเมืองว่างเว้นจากเจ้าเมืองอยู่ ๕ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ เจ้าทิตพรหมผู้น้องชายพระประทุมวรราชสุริยวงศ์(คำผง) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองอุบลองค์ที่ ๒ ที่ ?พระพรหมราชวงศา? ชาวเมืองเรียกว่า ?พระพรหมวรราชสุริยวงศ์? ครองเมืองอยู่ ๔๑ ปี อายุได้ ๑๒๐ปี ถึงอสัญกรรม ในสมัยพระพรหมราชวงศานี้ได้ร่วมสงครามปราบเจ้าอนุวงศ์ และเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์เจ้าเป็นอย่างมาก ดังที่ปรากฏในท้องตราปูนบำเหน็จแก่ท่านในรัชกาลที่ ๓

รัชกาลที่ ๔

อุบลราชธานี เป็นต้นรากพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายแพร่ไปหัวภาคอีสาน มีการสร้างวัดธรรมยุติขึ้นเป็นแห่งแรกในภาคอีสาน คือ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ในปี พ.ศ.๒๓๙๕

พระพรหมราช วงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่ ๓ เมื่อพระพรหมราชวงศาเจ้าทิตพรหมถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว ต่อมาอีก ๕ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งให้ พระอุปราชกุทอง ขึ้นเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลย สืบต่อมา ที่ ?พระพรหมราชวงศา? ครองเมืองมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๐๕ จึงถึงแก่อสัญกรรม โดยที่ยังหาทันได้ตั้งผู้ใดเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีไม่

ฝ่ายเจ้าหน่อ คำซึ่งเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ ประสงค์ที่จะเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี จึงเข้าหาเจ้าจอมมารดาดวงคำ ผู้น้องสาว ซึ่งเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้านายผู้ใหญ่ที่เป็นเชื้อสายเวียงจันทน์ ขอให้เพ็ดทูลต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอให้ตั้งให้เจ้าหน่อคำเป็นเจ้าครองเมืองอุบลราชธานี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เจ้าหน่อคำเป็นเจ้าครองเมืองอุบลราชธานี ที่ ?พระพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์? เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ต่อมา

เนื่องจาก เจ้าหน่อคำเป็นหลานเจ้าอนุวงศ์ เป็นเหลนของพระเจ้าสิริบุญสาร สายเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นฆ่าเจ้าพระตา เจ้าพระวอ สายเมืองอุบลราชธานี การแต่งตั้งให้ศัตรูมาปกครองเมืองอุบลราชธานีครั้งนี้ จึงทำให้เกิดการขัดแย้งกันขึ้นระหว่างเจ้าผู้ครองเมืองสายเวียงจันทน์ กับฝ่ายอุปราชซึ่งเป็นฝ่ายเจ้าพระตา สายเมืองอุบล เริ่มแต่เรื่องมอไซแง ชาวฝรั่งเศสถูกคนในบ้านเจ้าราชบุตรชกต่อยจนถึงเรื่องหาว่าเจ้าเมืองโกงเอา พระราชทรัพย์เป็นของตน จนต้องลงไปสู้ความกันที่กรุงเทพ และถึงแก่กรรมไปตามๆ กัน คดีความจึงเลิกไป ขณะนั้นมีแต่เจ้าราชบุตรหนูคำรักษาราชการ

ในสมัยของพระ พรหมเทวานุเคราะห์วงศ์นี้ ได้ขอตั้งเมืองที่สำคัญ คือ เมืองตระการพืชผล ให้ท้าวสุริยวงศ์(อ้ม) เป็นเจ้าเมือง ที่ ?พระอมรดลใจ? เมืองพิบูลมังสาหาร ให้ท้าวจูมณี เป็นเจ้าเมือง ที่ ?พระบำรุงราษฎร? เมืองมหาชนะชัย ให้ท้าวคำพูล เป็นเจ้าเมือง ที่ ?พระเรืองชัยชำนะ?

รัชกาลที่ ๕

อุบลราชธานี ได้รับการยกฐานะเป็น ?มณฑลลาวกาว? ศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา การศึกษา เป็นจุดกำเนิดกลุ่ม ?กบฏผีบุญ? ก่อนแพร่ขยายไปทั่วภาคอีสาน เป็นที่ตั้งสถานกงสุลฝรั่งเศสช่วงยึดครองอินโดจีน มีการก่อตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม โรงเรียนสอนภาษาไทย โรงเรียนแผนที่ โรงเรียนฝึกหัดทหาร และกองตำรวจภูธรขึ้นเป็นครั้งแรกในภาคอีสาน

ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ โปรดเกล้าฯให้มีข้าหลวงกำกับราชการแผ่นดินมาประจำหัวเมืองลาวตะวันออกเป็น ครั้งแรก ให้พระยามหาอำมาตยาธิบดีขึ้นมาเป็นข้าหลวงกำกับราชการ ให้ไปอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ ให้หลวงจินดารักษ์มาเป็นข้าหลวงกำกับราชการช่วยเจ้าอุปราชหนูคำที่เมือง อุบลราชธานี หลวงจินดารักษ์ จึงเป็นข้าหลวงกำกับราชการคนแรกในเมืองอุบลราชธานี ท่านผู้นี้ได้ภรรยาเป็นชาวเมืองอุบลราชธานี มีบุตรชายด้วยกันคนหนึ่งเรียกว่า จอมใจราช เมื่อหลวงจินดารักษ์ถึงแก่กรรมจึงโปรดเกล้าฯให้ หลวงภักดีณรงค์ (ทัด ไกรฤกษ์) ขึ้นมาเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองอุบลราชธานี

ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เมื่อเจ้าราชบุตรหนูคำ ถึงแก่กรรมไปแล้วก็มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดให้เจ้าเมืองอุบลราชธานีอีก เพราะทรงมีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองลาวให้เข้าสู่ระบบมณฑล เทศาภิบาล หลวงภักดีณรงค์มาเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองอุบลราชธานีอยู่หลายปี จนได้เลื่อนยศเป็นพระยาศรีสิงห์เทพ และต่อจากนั้นมาก็มีผู้กำกับราชการแผ่นดินหัวเมืองลาวมาอีกหลายคน

พ.ศ. ๒๔๓๔ได้มีการแบ่งการปกครองหัวเมืองอีสาน ออกเป็น ๔กลุ่ม แต่ละกลุ่มให้มีข้าหลวงต่างพระองค์จากพระราชสำนักมาปกครอง ดังนี้

กลุ่มที่ ๑ หัวเมือง มณฑลลาวกาว มีเมืองอุบลราชธานีเป็นเมืองเอก ให้กรมหมื่นพิชิตปรีชากรเสด็จขึ้นมาเป็นข้าหลวงสำเร็จราชการต่างพระองค์

กลุ่มที่ ๒ หัวเมือง มณฑลลาวพวน มีเมืองหนองคายเป็นเมืองเอกให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเสด็จขึ้นมาเป็นข้าหลวงต่างพระองค์

กลุ่มที่ ๓ หัวเมือง มณฑลลาวพุงขาว มีเมืองหลวงพระบางราชธานีเป็นเมืองเอก ให้กรมหมื่นสรรพสิทธิ์ประสงค์ เสด็จขึ้นไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ แต่ยังไม่ได้เดินทางก็เปลี่ยนแปลงใหม่

กลุ่มที่ ๔ หัวเมือง มณฑลลาวกลาง มีเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองเอก ให้พระพิเรนทรเทพ ขึ้นมาเป็นข้าหลวงต่างพระองค์

พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ. ๑๑๒) เกิดกรณีวิกฤตการณ์ฝรั่งเศสสยาม เกิดรบกันตามชายแดนไทยกับ ฝรั่งเศส อินโดจีน ญวน ในที่สุดไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส ตามสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นพิชิตปรีชากรเสด็จกลับคืนกรุงเทพมหานคร และโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นสรรพสิทธิ์ประสงค์ เสด็จขึ้นมาเป็นข้าหลวงกำกับราชการต่างพระองค์ที่เมืองอุบลราชธานี ได้มีการเปลี่ยนชื่อหัวเมืองมณฑลลาวทั้ง ๔ นั้นเสียใหม่ โดยให้เรียกชื่อ มณฑลลาวกาว เป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวน เป็นมณฑลอุดร มณฑลลาวกลาง เป็นมณฑลนครราชสีมา

พ.ศ. ๒๔๔๓ เกิดกบฏผีบาปผีบุญในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีผู้อ้างตนเป็นผู้มีบุญจะมาปราบยุคเข็ญ เมื่อมีผู้หลงเชื่อเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากก็กำเริบจะยกมาตีเมือง อุบลราชธานี กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์จึงให้ปราบปรามและจับได้พรรคพวกของผีบุญผีบาปมาลง โทษ ตามพระราชกำหนดกฎหมาย บ้านเมืองจึงสงบเรียบร้อย พ.ศ. ๒๔๔๗ไทยต้องยกดินแดนอันเป็นเมืองนครจำปาศักดิ์ให้แก่ฝรั่งเศส นครจำปาศักดิ์จึงตกไปอยู่ในปกครองของฝรั่งเศสตั้งแต่นั้นมา

เสด็จในกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ ได้ทรงแต่งตั้งเชื้อสายเจ้านายเก่า เมืองอุบลราชธานีให้เข้ารับราชการแผ่นดิน ดังนี้
ท้าวโพธิสารเจ้าเสือ เป็นพระอุบลเดชประชารักษ์ ต้นตระกูล ณ อุบล
ท้าวไชยกุมาร (ท้าวกุคำ) เป็นพระอุบลศักดิ์ประชาบาล ต้นตระกูล สุวรรณกูฏ
ท้าวสิทธิสาร (ท้าวบุญชู) เป็นพระอุบลการประชานิตย์ ต้นตระกูล พรหมวงศานนท์
ท้าวบุญเพ็ง เป็น พระอุบลกิจประชากร ต้นตระกูล บุตโรบล

นอกจากนี้ยัง ได้ตั้งท่านผู้มีเชื้อสายเจ้านายเก่าเมืองอุบลราชธานีให้เป็นขุนนางรับ ราชการอีกหลายท่าน และท่านเหล่านั้นก็ได้รับราชการด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เจ้าและ แผ่นดินสืบลูกหลานมาได้เปลี่ยนชื่อมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น มณฑลอีสาน กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ ประทับเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ที่เมืองอุบลราชธานีเป็นเวลานานถึง ๑๗ ปี ได้ชาวเมืองอุบลราชธานีเป็นชายา คือ หม่อมเจียงคำ หม่อมบุญยืน หม่อมปุก หม่อมเมียง หม่อมหอม มีพระโอรสธิดาด้วยกันหลายท่าน เสด็จในกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เสด็จกลับกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จสวรรคตเพียง ๕ เดือนเท่านั้น และพระองค์ท่านสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕ หม่อมอมรวงศ์วิจิตรเป็นข้าหลวงกำกับราชการแทน ท่านผู้นี้อยู่ได้หนึ่งปีก็สิ้นชีพเพราะเป็นไข้มาลาเรีย เนื่องจากตรากตรำไปแบ่งแยกดินแดน เขตเมืองนครจำปาศักดิ์ให้แก่ฝรั่งเศส

รัชกาลที่ ๖

มณฑล อุบลราชธานี ยุบรวมเข้ากับมณฑลอุดรและมณฑลร้อยเอ็ด เป็น ?ภาคอีสาน? ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ เริ่มสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงอุบลราชธานี สร้างเส้นทางยุทธศาสตร์สาย ๑๕ (พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก) ทางหลวงสายแรกในประเทศไทย

รัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๔๕๕ ให้แยกมณฑลอีสาน ออกเป็นสองมณฑลคือ มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด ให้พระยาวิเศษสิงห์นาท (ปิ๋ว บุญนาค) มาเป็นเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานี และต่อมาเลื่อนเป็น พระยาศรีธรรมศกราช พ.ศ.๒๔๕๕ ให้ยุบมณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด ให้ตั้งเป็นภาคอีสาน มีสำนักงานภาคอยู่ที่มณฑลอุดรธานี และต่อมาให้ยุบภาคอีสานกลับมาเป็นมณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ดตามเดิม ก่อนหน้านี้คือ พ.ศ. ๒๔๕๙ ให้เปลี่ยนชื่อคำว่าเมือง เป็น จังหวัด ทุกหัวเมืองทั่วราชอาณาจักร และให้ยุบมณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ดดังกล่าวแล้วให้โอนไปอยู่ในมณฑลอื่นคือ มณฑลอุบลราชธานีให้ไปรวมอยู่ในมณฑลนครราชสีมา มณฑลร้อยเอ็ดให้ไปขึ้นอยู่กับมณฑลอุดร เมืองอุบลราชธานีจึงเป็น จังหวัดอุบลราชธานี มาแต่บัดนั้น

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นแบบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย ชาวเมืองอุบลต่างตกใจ ต่างเศร้าโศกเสียใจเป็นห่วงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชีนีของตน ต่างภาวนาให้พระองค์ปลอดภัยจากศัตรู

พ.ศ. ๒๔๗๗ มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์น้อย ชาวเมืองอุบลราชธานีต่างมีความชื่นชมเรียกขานว่า ?พระเจ้าแผ่นดินน้อย? ต่างหาพระบรมรูปไว้กราบไหว้

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไทยเรียกร้องเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศส อินโดจีน เกิดรบกันขึ้นระหว่างไทยกับอินโดจีน ของฝรั่งเศส ไทยได้รับดินแดนที่เป็นฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงกันข้ามนครหลวงพระบางกลับคืน แต่ไม่นานไทยก็ต้องคืนให้แก่ฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๗ เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือ สงครามมหาสงครามครั้งที่ ๒ ไทยเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่น เมื่อแพ้สงครามจึงต้องคืนดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสดังกล่าวแล้ว

อุบลราชธานี ศรีวนาไลย ธานีแห่งราชะที่สง่างามท่ามกลางไพรพฤกษ์ ได้สะสมอารยธรรมยุคต่างๆ เอาไว้ ภายใต้สายน้ำแม่มูลที่เป็นเสมือนสายเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนที่เกิดบนแผ่น ดินแห่งนี้ ก่อให้เกิดนักปราชญ์ของแผ่นดิน ผู้รังสรรค์ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ อันเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่ามากมาย จนได้ชื่อว่าเป็น ?ราชธานีแห่งอีสาน?


thxby2356nirungfc
บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2554, 11:44:24 »

เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลย

เมื่อพระปทุม สุรราช (คำผง) นำไพร่พลเข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยนั้น อุบลราชธานีดำรงอยู่ในฐานะเป็น ประเทศราช เนื่องจากเจ้าผู้ครองนครสืบเชื้อสายมาจากเจ้านายพระราชวงศ์เชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า มาสถาปนาหนองบัวลุ่มภูขึ้นเป็น ?นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน? ตั้งอยู่เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อเมืองใด มีไพร่พลมาก พรั่งพร้อมด้วยคูค่ายป้อมปราการ และมีเมืองหน้าด่านทั้ง ๔ แห่ง คือ เมืองภูเขียว เมืองภูเวียง เมืองผ้าขาว เมืองพันนา ภายหลังได้ถอยหนีข้าศึกมาตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายบ้านดอนมดแดง ค่ายเดิมที่เจ้าพระวอผู้บิดาสร้างไว้ และย้ายไปบ้านแจระแม แล้วย้ายไปดงอู่ผึ้งอันเป็นที่เมืองอุบลราชธานี ในปัจจุบัน

เอกสารการ แต่งตั้งเจ้าเมือง ระบุเครื่องยศที่ทางกรุงเทพฯ พระราชทานแก่ เจ้าเมืองอุบลราชธานี ดังนี้ คนโททองคำ ๑ ใบ กระโถนถม ๑ ใบ ลูกประคำทองคำ ๑ สายกระบี่บั้งถม ๑ อัน เสื้อหมวกตุ้มปี ๑ ชุด สัปทนปัสตู ๑ ชุด ปืนคาบศิลาคอลาย ๑ กระบอ เสื้อเข้มขาบริ้วเลื้อย ๑ ตัว ส่านไทยปักทอง๑ ชุด ผ้าปู ๑ ผืน และมีพระบรมราชโองการ ให้เจ้าเมืองปกครองราษฎร ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ดังความว่า

??ให้ โอบอ้อมอารีต่ออาณาประชาราษฎร์ อย่าเบียดเบียน ข่มเหงไพร่บ้านพลเมือง ปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ทำนุบำรุงพระสงฆ์ สามเณรให้ปฏิบัติเล่าเรืยนคันถธุระ วิปัสสนาธุระ กำชับ กำชาไพร่บ้านพลเมือง อย่าให้สูบฝิ่น ซื้อฝิ่น กินฝิ่น ให้กระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาปีละ ๒ ครั้ง??

เจ้าเมืองอุบลราชธานีในอดีต ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีจำนวนทั้งสิ้น ๔ ท่าน ดังนี้

พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (พ.ศ.๒๓๓๕-๒๓๓๘)

พระประทุม วรราชสุริยวงศ์ นามเดิม ท้าวคำผง เป็นลูกเจ้าพระวอ เป็นบุคคลสำคัญ ในการสถาปนาเมืองอุบลราชธานี โปรดให้สร้างป้อิมปราการ คู ค่าย ประตูเมือง หอโฮง เจ้านายต่างๆ สร้างวัดหลวง และเสนาสนะ อาทิ สิม อาราม หอระฆัง พระพุทธรูป สิ่งก่อสร้าง ล้วนเลียนแบบ ศิลปแบบหลวงพระบาง

พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พ.ศ.๒๓๓๘-๒๓๘๘)

พระพรหมวรราช สุริยวงศ์ นามเดิม พรหม น้องชายพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เป็นบุตรชาย คนเล็กของ เจ้าพระวอ เป็นผู้ก่อสร้างวัด ป่าหลวง (วัดป่าหลวงมณีโชติ) นำไพร่พลผู้ศรัทธาสร้างพระพุทธรูป องค์ใหญ่ก่ออิฐถือปูน เป็นที่ เคารพสักการะของชาวอุบลฯ มีชื่อว่า พระเจ้าใหญ่ อินทร์แปลง ปัจจุบัน เป็นพระประธาน ในวิหารวัดมหาวนาราม และบรรดา อุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร ร่วมกันสร้างวัดป่าน้อย (วัดป่าแก้วมณีวัน) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้นิมนต์ พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ จากวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ไปดูแลการพระศาสนาในหัวเมืองอีสาน โดยพำนักอยู่ที่วัดป่าแก้วมณีวัน ซึ่งต่อมาพระเถระท่านนี้ได้ไปสร้างวัดทุ่งศรีเมือง และเป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานการศึกษาปริยัติและปฏิบัติในหัวเมืองอีสาน เป็นเหตุให้เกิดการศึกษาตามแบบกรุงเทพ ในยุคต่อมา

พระพรหมราชวงศา (พ.ศ.๒๓๘๘-๒๔๐๙)

พระพรหมราช วงศา นามเดิม กุทอง ต้นตระ กูลสุวรรณกูฏ บุตรพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิตพรหม) ในสมัยของท่าน ธรรมยุติกนิกาย แพร่หลายในเมือง อุบลฯ เพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สร้างวัดสุปัฏนาราม และบรรดา อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ร่วมกัน สร้างวัดศรีทอง (ศรีอุบลรัตนาราม) วัดสุทัศน์ ซึ่งเหตุการณ์สำคัญในสมัยนี้คือการเข้าร่วมสงคราม ขับไล่ญวน

เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (พ.ศ.๒๔๐๙-๒๔๒๕)

เจ้าพรหมเทวา (เจ้าหน่อคำ) เป็นพี่ชายเจ้าจอมมารดาด้วงคำใน รัชกาลที่ ๔ เจ้าราชวงศ์จำปาศักดิ์ บุตรเจ้าเสือหลานเจ้าอนุวงศ์ ในสมัยของท่านได้สร้างวัดไชยมงคล ซึ่งเป็นวัดธรรมยุตวัดที่ ๔ ในอุบลราชธานี ในสมัยของท่านได้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ระหว่างเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ เพราะไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เนื่องจากฝ่ายเจ้านายอุบลฯ เชื้อสายเจ้าพระวอเจ้าพระตา ไม่พอใจที่รัชกาลที่ ๔โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ เจ้าหน่อคำ ซึ่งเป็นเชื้อสายนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้สำเร็จโทษเจ้าพระวอ ให้เป็นเจ้าเมือง จึงเกิดการทะเลาะ วิวาทขัดแย้งกัน กลั่นแกล้งกันอยู่เสมอ ท้ายที่สุด ราวปี พ.ศ.๒๔๑๒ เกิดกรณีมอไซแง ได้เกิดความบาดหมาง ทวีความรุนแรง ต่างฝ่ายต่างกล่าวโทษ ซึ่งกันและกัน เจ้าพรหมเทวา กล่าวหาว่า อุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร ขัดขวางไม่ให้เก็บเงินส่วย จากไพร่ ข้างฝ่ายอุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร ก็กล่าวหาว่า เจ้าพรหมเทวา ฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งสองฝ่ายจึงลงมา สู้ความกันที่กรุงเทพฯ ต่างฝ่ายต่างสูญเสียทรัพย์สินส่วนตัวเป็นจำนวนมาก พ.ศ. ๒๔๑๘ เกิดศึกฮ่อ เจ้าพรหมเทวาถูกเกณฑ์ไปราชการทัพฮ่อ หลังศึกฮ่อได้อัญเชิญพระพุทธรูป ๒ องค์ คือ พระทองทิพย์ และพระทอง ประดิษฐาน ที่วัดศรีทอง และวัดไชยมงคล พ.ศ. ๒๔๒๒ กราบบังคมทูลขอตั้งบ้านท่ายักขุ เป็นเมืองชานุมานมณฑล บ้านพระเหลา เป็นเมืองพนานิคม ให้เมืองทั้งสอง ขึ้นกับเมือง อุบลราชธานี


thxby2357nirungfc
บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!