ramin
|
|
« เมื่อ: 16 สิงหาคม 2554, 22:52:59 » |
|
ท่านพระอาจารย์สีทัตถ์ (สุวรรณมาโจ) วัดท่าอุเทน หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านเป็นชาวท่าอุเทนโดยกำเนิด ท่านเกิดที่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๘ โยมบิดาชื่อ นายมาก โยมมารดาชื่อ นางดา สุวรรณมาโจ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมทางบาลีจากท่านพระอาจารย์ขันธ์ พระอาจารย์ผู้มีวิทยาคมสูงยิ่งแห่งวัดโพนแก้วนั่นเอง เมื่อเห็นว่ามีความรู้ขั้นพื้นฐานดีแล้ว ท่านจึงได้ย้ายสำนักไปเรียนอยู่กับ พระอาจารย์ตาคำ แห่งวัดศรีสะเกษในตัวเมืองท่าอุเทนเช่นกัน การเรียนในสำนักของพระอาจารย์ตาดำนั้น ท่านมุ่งเรียนในวิชามูลกัจจายน์และคัมภีร์ทั้ง ๕ จนมีความรู้แตกฉานในทางบาลีเป็นอย่างดี ในสมัยนั้นการศึกษาทางฝ่ายปริยัติธรรม ยังไม่ได้แยกเป็นชั้นเช่นทุกวันนี้ คือนักธรรมชั้นตรี โท เอก และมหาเปรียญแต่อย่างใด เพียงแต่เรียนรวมกันทีเดียวเป็นปี ๆ เลย
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 สิงหาคม 2554, 23:26:40 โดย ramin »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2554, 23:01:02 » |
|
พระธาตุท่าอุเทน หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านเป็นพระที่มีบุญญาบารมีสูงยิ่งจริง ๆ และท่านมีอภินิหารแก่กล้ามาก ท่านสามารถก่อสร้างพระธาตุต่าง ๆ สำเร็จมาแล้วหลายแห่ง เช่น ๑. พระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ๒. พระธาตุพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ๓. มณฑปโพนสัน ประเทศลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระธาตุท่าอุเทน นั้น หลวงปู่สีทัตถ์ท่านมีความสามารถสร้างเหมือนพระธาตุพนมสมัยก่อนได้ทั้ง ๆ ที่ฐานรองรับก็เพียงขุดหลุมแล้วใส่หินนางเรียง หรือหินแก้วนางฝาน เป็นฐานรองรับพระธาตุซึ่งยังไม่ทรุดแต่ประการใด และมีอายุยาวนานมากว่า ๗๐ ปีแล้ว นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์มิใช่น้อยที่คนในสมัยนี้คงไม่มีบารมีก่อสร้างได้เช่นท่าน เพราะการนำเอาหินแก้วนางฝานมารองรับองค์พระธาตุได้นี้ นับว่าเป็นอภินิหารอันแก่กล้าของท่านเหนือโลกจริง ๆ
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 สิงหาคม 2554, 23:31:46 โดย ramin »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2554, 23:02:57 » |
|
ในระหว่างที่หลวงปู่สีทัตถ์ทำการก่อสร้างองค์พระธาตุท่าอุเทนนั้น (ในราว พ.ศ. ๒๔๕๖) ได้มีพระครูสมุห์วรคณิสรสิทธิการ ซึ่งทางฝ่ายคณะสงฆ์จากกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้แทนหัวหน้าสงฆ์ มาตรวจการทางภาคอีสาน ครั้นมาถึงจังหวัดหนองคายได้ข่าวว่า หลวงปู่สีทัตถ์ เป็นผู้มีอิทธิพลมาก และแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้ เช่น ล่องหนหายตัว ย่อแผ่นเดินให้แคบเข้า และ ข้ามแม่น้ำโขงได้โดยไม่ต้องใช้เรือ มีผู้คนเลื่อมใสมากและได้ซ่องสุมผู้คนเพื่อจะกบฏต่อกรุงเทพฯ พระคูรสมุห์วรฯ จึงคิดจะมาจับเอาตัวท่านหลวงปู่ลงไปกรุงเทพฯ ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นข่าวลือที่เกิดขึ้น เพราะหลวงปู่ท่านเป็นคนสุภาพอ่อนโยน รักความสงบ และถ่อมตนอยู่เสมอเป็นผู้ตั้งอยู่ในสุจริตปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย จึงทำให้มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสท่านมาก หลวงปู่ท่านไม่ได้แสดงปาฏิหาริย์ ท่านตั้งใจสร้างพระธาตุเจดีย์โดยบริสุทธิ์ใจ แต่ก็มีผู้ไม่หวังดีใส่ร้ายท่าน ซึ่งเรียกว่าเป็นตัวมารโดยแท้ พระครูสมุห์วรฯ เมื่อโดยสารเรือล่องลงมาจากจังหวัดหนองคายมาถึงท่าอุเทนแล้ว ก็จอดหรือตรงท่าวัดกลาง ซึ่งขณะนั้นมีหาดทรายติดกับตลิ่งฝั่งท่าอุเทนยื่นไกลออกไปสู่กลางแม่น้ำโขงประมาณ ๑๐ เส้น และเมื่อพระครูสมุห์วรฯ มาถึงก็มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนออกมาให้การต้อนรับพอสมควร ท่านได้ขึ้นไปวัดอรัญญวาสี เพื่อจะจับเอาหลวงปู่สีทัตถ์ แต่ก็ไปไม่ถึงวัด ไปถึงแค่หน้าที่ว่าการอำเภอก็แวะเข้าไปพักอยู่ที่นั่น เมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า ?ทำไมไม่ไปให้ถึงวัด? ท่านก็ตอบว่า ?กลัวพระสีทัตถ์จะสั่งให้ลูกน้องทำอันตราย? พระคูรองค์นั้นได้โทรเลขให้ พระพนมนราฯรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) ผู้ว่าฯ นครพนมในสมัยนั้น ให้ขึ้นมาจับเอาตัวหลวงปู่สีทัตถ์เอง แต่กลับได้รับคำตอบกลับไปว่า ?ท่านอาจารย์สีทัตถ์มิได้คิดกบฏซ่องสุมผู้คนอะไรเลย หากแต่ท่านสร้างพระธาตุเจดีย์และมีผู้คนมาจากอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เดียงเดินทางมาช่วยท่าน โดยหวังผลในส่วนกุศลเท่านั้น มิได้คิดเป็นอย่างอื่นดังที่พระคุณเจ้าเข้าใจ และตัวท่านพระอาจารย์สีทัตถ์เองก็อยู่ในศีลธรรมอันดี รักความสงบไม่มีจิตคิดอิจฉาและชิงดีคนอื่น? เมื่อพระครูสมุห์วรฯ ทราบความจริงเช่นนั้น จึงเดินทางต่อไปยังเมืองนครพนม เหตุการณ์ก็เป็นอันสงบไป ส่วนทางฝ่ายวัดอรัญญวาสี เมื่อทราบข่าวว่ามีพระภิกษุมาจากกรุงเทพฯ จะมาจับเอาตัวหลวงปู่ซึ่งท่านก็ไม่ได้สะทกสะท้านแต่อย่างใด ท่านยังสั่งให้พระลูกศิษย์เตรียมปูอาสนะให้ด้วย และท่านก็ยังคงทำงานก่อสร้างพระธาตุของท่านไปเรื่อย ๆ ต่อมาได้มี พระอาจารย์ปาน ซึ่งมาจากบ้านใหม่ ดอนสังคี อำเภอโพนพิสัย กับ พระอาจารย์ยอดแก้ว และ พระอาจารย์ปิ่น ได้มาขอสู้แทนหลวงปู่ซึ่งท่านก็กล่าวว่า ?พระคูรสมุห์ฯ ไม่มาดอก อย่าวุ่นวายไปเลย? และก็ไม่มาจริง ๆ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2554, 23:05:19 » |
|
เรื่องอภินิหารที่เกิดจากบุญญาบารมีของผู้สร้าง คือหลวงปู่สีทัตถ์นี้ได้มีผู้กล่าวกันว่า ได้แสดงอภินิหารด้วยการเรียกปลาร้ามาเลี้ยงคนงานที่มาก่อสร้างองค์พระธาตุอย่างอัศจรรย์ยิ่ง ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่า ในการสร้างพระธาตุท่าอุเทนนั้น อาหารหลักที่จะนำมาเลี้ยงคนทั่วไปก็คือ ปลาแดก (ปลาร้า) กับผักสด และปลาแห้ง หลวงปู่สีทัตถ์ท่านได้ตั้งโรงครัวเพื่อให้คนงานที่ออกแรงปั้นอิฐ (ดินจี่) เผาอิฐ ได้รับประทานกัน ซึ่งมีจำนวนเป็นร้อย ๆ (รวมทั้งพระภิกษุสามเณรด้วย) เย็นวันหนึ่ง หลวงปู่ได้เดินตรวจดูความเรียบร้อยของงานที่ผ่านไปวันหนึ่ง ๆ และท่านได้มายืนคุยกับญาติโยมที่กำลังพากันรับประทานอาหารเย็นอยู่ พวกแม่ครัวจึงพากันนมัสการท่านว่า ?วันนี้ปลาร้าหมดไหแล้วพรุ่งนี้จะไม่มีปลาร้าประกอบอาหารอีก?
หลวงปู่ท่านได้ยินแล้วก็ไม่ตอบอะไรได้แต่ยิ้ม ๆ และหัวเราะหึ ๆ ในลำคอเท่านั้น และท่านได้เดินมาดูไหปลาร้าที่ว่างเปล่ากว่า ๑๐ ไห แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงอาการวิตกกังวล หรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ทำให้พวกแม่ครัวพากันห่วงยิ่งขึ้นและคิดไปว่า ?เอ... หลวงปู่เรานี่ จะเอาอย่างไรนะ ปลาร้าหมดไห บอกให้รู้ก็ทำเป็นเฉย ๆ อยู่ จะเอาอย่างไรก็ดี จะให้ทำอย่างไรก็ไม่บอก? ก่อนที่หลวงปู่ท่านจะเดินจากไป ท่านก็พูดเปรย ๆ ขึ้นว่า ?กินข้าวกินปลากันไปเถอะแล้วจะมีคนเอามาให้?
คำพูดของหลวงปู่ครั้งนั้นทำให้พวกแม่ครัวพากันฉงนอยู่มิใช่น้อย จากนั้นต่างก็ช่วยกันเก็บล้างถ้วยชามทำความสะอาด แล้วปิดประตูโรงครัวเพื่อกันไม่ให้สุนัขหรือแมวเข้าไปรบกวนแล้วก็พากันเข้าไปนอน
พอวันรุ่งขึ้นพวกแม่ครัวก็พากันมาติดไฟนึ่งข้าวเหนียวเพื่อเตรียมไว้ให้พวกที่สร้างพระธาตุได้กินกันก่อนทำงาน ปรากฏการณ์อันแปลกประหลาดก็เกิดขึ้นแก่แม่ครัวได้อัศจรรย์กันไปตาม ๆ กัน เพราะบรรดาไหปลาร้าที่ว่างเปล่าเมื่อเย็นวานนี้ กลับมีปลาร้าเต็มไหหมด สร้างความฉงนสนเท่ห์แก่ทุกคนที่พบเห็นเป็นอย่างมาก จึงได้บอกต่อ ๆ กันไปให้มาดูความแปลกมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น เมื่อทุกคนมาเห็นเข้ากับตาต่างก็พากันงึด (อัศจรรย์) เป็นที่สุด พอสว่างได้เวลาที่พระจะออกบิณฑบาต ต่างก็พากันไปกราบนมัสการให้หลวงปู่ทราบว่า ที่พวกเขาตกใจว่ากลัวจะไม่มีปลาร้ากินในวันนั้นปลาร้าได้มีอยู่เต็มไปหมดทุกไหแล้ว และต่างก็สอบถามหลวงปู่ว่าปลาร้ามีมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ให้มา ทำไมจึงมีมาได้
หลวงปู่ท่านไม่ตอบเช่นเคย ท่านหยิบเอาบาตรได้แล้วก็จะออกไปบิณฑบาตตามที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่วางหน้าเฉย ๆ และท่านได้เปรยขึ้นว่า ?เออ...มีก็ดีเล้ว จะได้กินกันอีก ทำงานกันต่อไปเถอะ?
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2554, 23:06:55 » |
|
ในประวัติของเมืองท่าอุเทนได้มีผู้บันทึกถึงเรื่องหลวงปู่ว่าหลวงปู่ท่านข้ามโขง (แม่น้ำโขง) โดยไม่ต้องใช้เรือ เหตุนี้เกิดขึ้นที่อำเภอบ้านแพง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเพียงตำบลหนึ่งเท่านั้น
จากปากคำของคนที่เชื่อถือได้ กล่าวกันว่าผู้เปิดเผยเรื่องอภินิหารของหลวงปู่ คือ อดีตครูใหญ่ตำบลหนึ่ง ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งให้ไปเป็นครูผู้ใหญ่ในตำบลที่มีผีปอบมาก ๆ เพื่อให้ไปปราบผีและได้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง บรรดาผีที่เข้าสิงคนอยู่นั้น ถ้าได้เห็นครูคนนี้ขึ้นไปบนบ้านเท่านั้น ก็ร้องเสียงหลงทันที ?ออกแล้ว ยอมแล้ว? ในปัจจุบันท่านผู้นี้อายุ ๘๓ ปี คือ อาจารย์ทอน กิตติศรีวรพันธุ์ แห่งบ้านเนินคนึง อำเภอบ้านแพง ในปัจจุบัน
อาจารย์ทอนได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ในสมัยนั้นเขาได้พบกับสามเณรตัวเล็ก ๆ องค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้ติดตาม หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาสัจธรรมตามป่าเขาลำเนาไพรในระยะใกล้ ๆ เณรน้อยองค์นั้นก็ติดตามไปเพื่อปรนนิบัติท่าน เพื่อเป็นการเริ่มฝึกหัดการเจริญวิปัสสนากรรมฐานกับท่าน สามเณรองค์นี้ได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว ก่อนที่จะมรณภาพ ก็ได้เล่าเรื่องหลวงปู่ให้ฟังว่า ?วันหนึ่งหลังจากฉันอาหารเช้าแล้ว หลวงปู่จะพาข้ามไปฝั่งลาวเพื่อไปแสวงหาพระอาจารย์ดังทางฝั่งโน้น
หลวงปู่ท่านได้พาเดินเลาะท่าเรือที่จะข้ามไปแต่ก็ไม่มีสักลำ ท่านพาเดินจนเหนื่อยจึงได้พบเรือแต่ไม่มีคนพายข้ามไป เณรน้อยจึงบอกกับหลวงปู่ว่า ?ขอพักก่อนเถอะ เพราะเดินเหนื่อยแล้ว ผมเบื่อและเมื่อยเต็มที?
หลวงปู่ท่านกล่าวกับเณรน้อยว่า ?เฉย ๆ ไว้ ต้องไปให้ได้หลวงปู่จะพาไปเอง? จากนั้นท่านก็สั่งให้กลับหลังหัน แล้วให้ยืนนิ่ง ๆ พร้อมกับให้หลับตาให้สนิทจริง ๆ ขณะที่สั่งหลวงปู่ท่านอยู่ด้านหลัง และอยู่ห่างกันประมาณวาเศษ ๆ พอหลวงปู่ท่านสั่งแล้วเณรน้อยก็หลับตาตามที่ท่านสั่ง เณรก็คิดอยู่ในใจว่าหลวงปู่ท่านจะพาเราไปอย่างไรกันหนอพร้อมกับระลึกและจดจ่ออยู่ว่าเมื่อไรหลวงปู่ท่านจะให้ลืมตาสักที เมื่อหลับตาแล้วก็มืดมิดมองไม่เห็นอะไร ทันใดนั้นเองหลวงปู่ก็พูดเป็นเสียงธรรมดาว่า
?เอ้าถึงแล้ว ลืมตาได้?
สามเณรน้อยลืมตาขึ้น และได้เห็นตัวเองกับหลวงปู่มายืนอยู่ที่ฝั่งประเทศลาวเสียแล้ว เมื่อมองดูที่ริมน้ำก็ไม่เห็นมีเรือเลย ปาฏิหาริย์แท้ ๆ ด้วย ความแปลกประหลาดและพิศวง ทำให้เณรน้อยผู้คอยอุปัฏฐากท่านอดรนทนไม่ไหว ใคร่อยากจะรู้ว่า หลวงปู่ท่านทำอย่างไรนะ ถึงได้ข้ามแม่น้ำโขงมาได้ จึงได้เอ่ยถามขึ้นว่า
?หลวงปู่ครับ เราข้ามมาได้อย่างไร ใครดลบันดาลให้? แทนที่หลวงปู่ท่านจะตอบถึงสาเหตุที่สามารถข้ามแม่น้ำโขงมาได้ ท่านกลับตอบเป็นเชิงดุ ๆ ว่า ?ไม่ใช่เรื่อง เอาล่ะ ไปกันได้แล้ว? ทำให้เณรน้อยยิ่งงงใหญ่ พลางก็เดินตามหลังหลวงปู่ท่านไป
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2554, 23:08:26 » |
|
จากปากคำบอกเล่าในบันทึกของอดีตนายอำเภอซึ่งได้รับคำไขขานบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองท่าอุเทนเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ท่านหายตัวได้และย่อแผ่นดินจากกว้างให้แคบได้ เช่นเมืองท่าอุเทน อยู่ฝั่งไทย เมืองปากหินปูนอยู่ฝั่งลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นกลางอยู่ แต่หลวงปู่ท่านก็มีความสามารถเดินข้ามได้อย่างสบาย มีเรื่องเล่าว่าในสมัยนั้นฝั่งลาวกับฝั่งไทยมีความรักใคร่กันดี เมื่อมีงานบุญก็จะบอกกล่าวถึงกันเป็นประจำ แม้จะมีแม่น้ำโขงขวางกั้นอยู่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด พระเณรจะถูกนิมนต์ให้ไปร่วมทำบุญและไปกันเป็นคณะ ซึ่งหลวงปู่ท่านก็กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง ท่านก็ถูกนิมนต์ไปด้วยเสมอ เพราะชาวฝั่งเมืองหินปูนต้องการชมบารมี และจะได้เห็นหน้าเห็นตาท่านชัด ๆ สักที เมื่อญาติโยมได้นิมนต์พระสงฆ์องค์เณรเรียบร้อยแล้วก็ได้พากันไปนิมนต์หลวงปู่สีทัตถ์ ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังสั่งและควบคุมพวกช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนอยู่โดยขอนิมนต์ให้ท่านไปพร้อม ๆ กันหลาย ๆ รูปและหลายลำเรือและกล่าวกับท่านว่า ?ชาวเมืองปากหินปูนกำลังรออยู่ ขอให้หลวงปู่ลงเรือไปด้วยกันให้จงได้ เพราะที่เรือได้เตรียมปูเสื่อน้อยให้สำหรับหลวงปู่อยู่แล้ว เพื่อจะได้ไปทันเจริญพระพุทธมนต์ก่อนเพลในโบสถ์ วัดปากหินปูน เสร็จแล้วก็จะได้ให้หลวงปู่ร่วมฉันเพลกับพระรูปอื่น ๆ ด้วย? หลวงปู่ท่านกล่าวกับญาติโยมว่า ?ไปก่อนเถอะ จะสั่งเสียมอบหมายการงานให้ช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนเรียบร้อยแล้ว จะรีบตามไปให้ทันทีหลัง พวกญาติโยมก็พากันคะยั้นคะยออยู่หลายครั้ง หลวงปู่จึงหันหน้ามาบอกว่า ?ไปเถอะ ไปก่อนเถอะ จะตามไปให้ทันทีหลัง ไม่ต้องห่วง? จากนั้นญาติโยมก็พากันลงเรือข้ามไปปากหินปูน พอไปถึงฝั่งปากหินไน ที่วัดกำลังมีงานผู้คนก็มาก ญาติโยมได้พาพระเณรจากฝั่งไทยเข้าโบสถ์ แต่เมื่อทุกคนมองเข้าไปในโบสถ์ ก็เกิดความสงสัยเป็นอย่างยิ่งเพราะพระเณรของเมืองปากหินปูน ต่างก็นั่งห้อมล้อมหลวงปู่สีทัตถ์อยู่อย่างเนืองแน่น สร้างความประหลาดใจไปตาม ๆ กัน เพราะเรือที่ตามมาติด ๆ กันมิได้เห็นมีสักลำ จะเข้าไปถามดูว่าท่านมาได้อย่างไรก็ไม่มีโอกาส เพราะมีพระอยู่มาก และกำลังประกอบกิจทางศาสนาอยู่ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ตอนบ่าย ๆ ญาติโยมก็พากันเดินทางกลับมายังเมืองท่าอุเทน ซึ่งหลวงปู่ท่านก็กลับมาด้วย พอมาถึงวัด ญาติโยมที่ฉงนสนเท่ห์เป็นอย่างมาก เพื่อให้หายสงสัยจึงไปกราบนมัสการถามหลวงปู่ว่า ?หลวงปู่ไปถึงวัคปากหินปูนก่อนได้อย่างไร? ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ตอบไปโดยเลี่ยง ๆ ว่า?ก็ตามกันไปนั่นแหละ ไม่เห็นหรือ ?? จากนั้นหลวงปู่ท่านก็พูดคุยไปในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างพระธาตุว่า ?งานของเรายังมีอีกมาก ช่วยกันเข้าจะได้เสร็จ ๆ ไป?
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2554, 23:09:39 » |
|
ต่อมาภายหลังเมื่อเสร็จจากการก่อสร้างพระธาตุบัวบกแล้ว ท่านก็ข้ามฝั่งโขงไปถึงธุดงคกรรมฐานอยู่ในป่าประเทศลาว หลังจากนั้นก็ได้มาสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท (จำลอง) ที่บ้านโพนสัน ซึ่งการก่อสร้างก็สำเร็จไปด้วยดี
หลวงปู่ท่านได้อยู่ที่วัดบ้านโพนสันอีก ๖ ปี ก็มรณภาพ ณ ที่วัดแห่งนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓สิริอายุได้ ๗๕ ปีพอดี ก่อนมรณภาพ หลวงปู่ท่านสั่งเอาไว้ว่า ?เมื่อเผาศพเสร็จแล้วให้เอากระดูกของท่านไปทิ้งลงในแม่น้ำโขงให้หมด ? ตังนั้น หลังจากเสร็จสิ้นพิธีศพของท่านแล้ว บรรดาศิษย์ทั้งหลายจึงนำอัฐิของท่านทิ้งลงในแม่น้ำโขงจนหมดสิ้น ในชีวิตของหลวงปู่สีทัตถ์พระผู้ใฝ่ในธรรมแห่งเมืองท่าอุเทน ท่านได้ออกเดินธุดงค์จงกรมไปหาความจริงถึงประเทศพม่า ลาว และทั่วภาคเหนือ-อีสาน ซึ่งมีสภาพเป็นป่าเขาลำเนาไพร อันเป็นสถานที่ยินดี เหมาะที่จะบำเพ็ญพลังจิต โดยมิได้ย่อท้อต่อภูมิประเทศและดินฟ้าอากาศแต่อย่างใด จิตใจของท่านจึงมั่นคง ไม่หวั่นไหว มุ่งแต่จะแสวงหาความจริงอันเป็นความจริง ดังคำสอนของพระพุทธรูปองค์ ท่านจึงเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่งองค์หนึ่ง
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2554, 23:21:13 » |
|
หลวงปู่ศรีทัต หรือ ยาคูศรีทัต ท่านเป็นที่เคารพของมหาชน 2 ฝั่งโขง ไม่ว่าท่านจะสร้างสิ่งใด ประชาชนทั้ง 2 ฝั่งจะร่วมแรงร่วมใจถวายแด่หลวงปู่ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าดอกแก้ว อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ซึ่งท่านจะไปมาระหว่างวัดท่าดอกแก้ว และ ภูเขาควายในฝั่งลาว หลวงปู่สีทัตต์ ท่านเป็นพระป่า มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน และทรงวิทยาคม ทางด้านคาถาอาคมไสยเวท ซึ่งท่านได้ศึกษาวิชาอาคมและกัมมัฏฐานด้านต่างๆ มาจากสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ครั้งอยู่ที่ภูเขาควาย ประเทศลาว สมเด็จลุน ท่านเป็นสุดยอดปรมาจารย์ พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสาน แถบลุ่มแม่น้ำโขง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านทั้งสิ้น สมเด็จลุนท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมาย เหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ และในบรรดาลูกศิษย์ของสมเด็จลุน หลวงปู่สีทัตต์ ถือเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคม จากสมเด็จลุนจนหมดสิ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ลูกไม้จะหล่นไกลต้น
หลวงปู่ศรีทัตท่านมีศิษย์ที่ท่านถ่ายทอดสรรพวิชาการ เท่าที่พอจะทราบ ได้แก่ 1. หลวงปู่สนธ์ ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าอาวาสต่อจากท่าน หลวงปู่สนธ์เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าดอกแก้ว จวบจนปี 2510 จึงมรณภาพ 2. หลวงปู่จันทร์ เขมิโย หรือ ท่านเจ้าคุณปู่ ที่เป็นที่สักการะอย่างสูง ท่านเจ้าคุณปู่ที่นั่งอยู่ในดวงใจของชาวนครพนม ท่านเป็นมหาเถระที่ชาวนครพนมและ จังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพอย่างสูง ท่านมีสมณศักดิ์ที่ พระเทพสิทธาจารย์ ท่านเจ้าคุณปู่เป็นเสาหลักแห่งพระศาสนา เป็นผู้วางรากฐานแห่ง พระธรรมยุติ ให้บังเกิดขึ้นที่นครพนม ท่านมรณภาพในปี 2515 3.หลวงปู่สุภา กันตสีโล ภูเก็ต สิริอายุปัจจุบัน 114 พรรษา 94 เป็นเจ้าอาวาสวัดสีลสุภาราม หมู่ที่ 6 ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต และอาจจะมีลูกศิษย์ท่านอีกหลายรูป ซึ่งไม่อาจจะเรียบเรียงรายนามได้ทั้งหมด เพื่อนสมาชิกท่านใดต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเผยแพร่เกียรติคุณครูบาอาจารย์ ขอเชิญแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรได้ครับ
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2554, 23:21:18 โดย ramin »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นครเปงจาน
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2554, 21:13:58 » |
|
หลวงปู่เพชร ปทีโป หนองคาย หลวงปู่ด่อน อินทสาโร หนองคาย หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย นครพนม ลูกศิษย์หลวงปู่ศรีทัถต์ครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
deknoy
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 22:16:03 » |
|
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 19:48:16 » |
|
ยอดเยี่ยมรับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
deknoy
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2554, 19:11:39 » |
|
หลวงปู่เพชร ปทีโป หนองคาย หลวงปู่ด่อน อินทสาโร หนองคาย หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย นครพนม ลูกศิษย์หลวงปู่ศรีทัถต์ครับ
เหรียญหลวงปู่ศรีทัตถ์ของพี่นครเปงจาน สวยงามมากๆครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2554, 22:47:04 » |
|
หลวงปู่เพชร ปทีโป หนองคาย หลวงปู่ด่อน อินทสาโร หนองคาย หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย นครพนม ลูกศิษย์หลวงปู่ศรีทัถต์ครับ แท้จริงแล้วก็เป็นศิษย์สายหลวงปู่เสาร์มั่นเช่นกันเหมือนหลวงปู่เครื่อง ไม่ว่าจะเป็นหลวงปู่ศรีทัต หลวงปู่พิบูลย์ หลวงปู่มั่น ล้วนแล้วมาจากสำนักเดียวกัน ขึ้นกับลูศิษย์จะเลือกที่จะร่ำเรียนวิชาทางด้านใด และปั้นปลายชีวิตจะติดตามคณาจารย์ท่านใดเท่านั้นเอง
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|