พระครูวิจิตรธรรมาจารย์ (ประสาร อรหปัจจโย) ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 03:32:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระครูวิจิตรธรรมาจารย์ (ประสาร อรหปัจจโย)  (อ่าน 30728 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 สิงหาคม 2554, 13:38:31 »

ประวัติโดยสังเขปพระครูวิจิตรธรรมาจารย์  (ประสาร  อรหปัจจโย)
ชาติกำเนิด
พระครูวิจิตธรรมาจารย์  เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่  10  มีนาคม  พ.ศ. 2471
ที่บ้านโนนผึ้ง  ตำบลโนนสัง   อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ  เป็นบุตรของคุณพ่อใหญ่   คุณแม่พุก    พลชัย  มีพี่น้องร่วมบิดามารดา   9  คน  หลวงพ่อเป็นบุตรคนที่ 7       ชื่อเดิมของหลวงพ่อคือพระประสาร  พลชัย  จึงเป็นที่รู้จักในนาม  อาจารย์ประสาร  หรืออาจารย์สาร  สนใจศึกษาวิทยาคมมาตั้งแต่สมัยยังเด็กครองเพศฆราวาส  ชอบติดตามหลวงตาที่วัดโนนผึ้งไปธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรซึ่งไม่ไกลจากเขตอำเภอกันทรารมย์ , กันทราลักษณ์ , เดชอุดม , ภูสิงห์ ในละแวกนั้นเมื่อก่อนมีแต่ป่ารกทึบ  ฝึกฝนวิชาที่ได้เรียนรู้จากท่าน  จวบจนอายุใกล้บวชหลวงตาได้แวะที่วัดโนนค้อ  และได้ฝากหลวงปู่ประสารให้กับหลวงปู่อ้วน  วัดโนนค้อ  ต่อมาหลวงปู่ประสารได้มีโอกาสไปเรียนวิชากับหลวงปู่อ้วนบ้าง  แต่พอถึงฤดูทำนาก็ต้องกลับบ้าน จนเมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดโนนผึ้ง
ประวัติด้านการศึกษาและเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  หลวงปู่ท่านก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำนา  อยู่ประมาณ 2 ปี พวกพี่ๆพากันบวชหมดทุกคน  หลวงปู่ท่านจึงคิดที่จะบวชบ้าง  แต่หลวงปู่ท่านพูดเป็นธรรมนองว่า  ถ้าได้บวชแล้วจะไม่ขอลาสิกขา   ทางคุณพ่อคุณแม่จึงได้ให้หลวงปู่บรรพชาเป็นสามเณร  เมื่ออายุย่างเข้า 17 ปี  ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488  ณ  วัดบ้านดูน  อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ
โดยมีพระปลัดแสง    กิตฺติญาโน  เป็นพระอุปัชฌาย์   ในระหว่างเป็นสามเณรหลวงปู่ท่านได้เล่าเรียนศึกษาความรู้จากสำนักเรียน   หลวงปู่ท่านเป็นคนเรียนเก่งและมีความจำที่ดีมากๆ  และเป็นที่รักใคร่ของครูอาจารย์  และต่อมาเมื่อหลวงปู่อายุครบ 20 ปีจึงได้ขออาจารย์อุปสมบท ในวัน  
ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2491  ที่วัดโนนผึ้ง  ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ  โดยมีพระปลัดแสง  กิตฺติญาโน  เป็นพระอุปัชฌาย์   พระอธิการอ้วน   โสภโน  เป็นพระกรรมวาจารย์
พระอธิการทา  โกวิโท   เป็นพระอนุสาวนาจารย์   และมีฉายาว่า  พระประสาร   อรหปจฺจโย
และเมื่อบวชเป็นพระแล้วหลวงปู่ท่านได้ศึกษาด้านเวชศาสตร์ และไสยศาสตร์
จากหลวงปู่อ้วนจนจบหลักสูตร  และหลวงปู่ท่านได้ศึกษาต่ออีกกับหลวงปู่มุม  ที่วัดประสาทเยอ
อำเภอไพรบึง  และยังไม่พอเท่านั้นหลวงปู่ท่านยังได้ ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ฝาง  ที่อำเภอ
ปัญจาคีรี   จังหวัดขอนแก่น  ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน  บำเพ็ญเพียรจนช่ำชอง    ต่อมาหลวงปู่ประสารมีโอกาสเข้าเมืองหลวง  โดยจำพรรษาที่วัดหงส์รัตนาราม  บางกอกใหญ่  และได้มีโอกาสศึกษาวิชากับอาจารย์หลายรูปในย่านฝั่งธนบุรี  และ  กทม.  อยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม  ๓-๔ ปี  จึงกลับวัดโนนผึ้ง  เพราะต้องช่วยงานก่อสร้างเสนาสนะต่างๆภายในวัด  และยังไปช่วยงานที่วัดบ้านโนนค้ออีกด้วย  ช่วงที่หลวงปู่ดำเนินการก่อสร้างและบูรณะวัดนั้น  ถึงช่วงจากการว่างเว้นการดูแลการก่อสร้าง  ท่านจะเข้าไปในป่าซึ่งไม่ไกลจากวัดท่านเพื่อหาว่านต่างๆ ตามที่ท่านมีความรู้ซึ่งได้เคยศึกษามาจากบรรดาครูบาอาจารย์ของท่าน  ครั้งหนึ่งหลวงปู่เดินเข้าไปเจอบริเวณลานดินกว้างมองเห็นเป็นเนินดินสูง  มีต้นไม้ปกคลุม  พอดีมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งเข้ามาหาของป่า  อาสาถางต้นไม้และทำที่พักถวาย  เพื่อเป็นสถานที่ปักกลดของหลวงปู่  ถึงยามกลางคืนเงียบสงบหลวงปู่เริ่มนั่งสมาธิสลับกับการเดินจงกรม  ซึ่งคืนแรกนั้นไม่มีอะไรผิดปกติ  แต่มีบางอย่างบอกกับหลวงปู่ว่า  สถานที่ที่ท่านใช้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่นั้น  มีอะไรพิเศษอยู่แน่นอน  พอคืนที่สองท่านก็ได้ล่วงรู้ถึงสิ่งที่มาสะกิดใจท่าน  นั่นก็คือท่านได้พบดวงไฟสว่างลอยจ้าขึ้นมาจากพื้นดินแล้ววนอยู่ใกล้ๆที่พัก  สิ่งนั้นมองเห็นได้ด้วยสายตา  ไม่ใช่เกิดจากนิมิต  พอรุ่งเช้าชาวบ้านกลุ่มเดิมที่เคยมาจัดสถานที่ให้ท่านได้แวะมาหาท่าน  หลวงปู่ไม่ได้เล่าอะไรให้พวกเขาเหล่านั้นฟัง  แต่ท่านตั้งข้อสงสัยว่าชาวบ้านสามถึงสี่คนนี้จะต้องเข้ามาหาอะไรสักอย่างนอกเหนือจากหาของป่าทั่วไป ถึงคืนที่สามหลวงปู่ก็ได้พบเหตุการณ์เหมือนเดิมอีก  คืนนี้ดวงไฟเปล่งประกายสีเหลืองสดใสมาก  เมื่อมีเหตุชวนสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร  ท่านจึงตั้งจิตอธิฐานว่า ?ใต้พื้นแผ่นดินแห่งนี้ถ้ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ขอจงได้ปรากฏให้ทราบด้วยเถิด?  จากนั้นท่านหลับตาทำสมาธิ  จนในที่สุดจึงรู้ว่าใต้พื้นดินตรงนี้มีพระพุทธรูปอายุหลายร้อยปีฝังอยู่  เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นจริงหรือหลอก  จึงเข้าไปสำรวจบริเวณนั้นจึงได้รู้ว่า  บริเวณป่าที่ท่านนั่งสมาธินั้นเมื่อก่อนเคยเป็นวัด  หรือสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนามาก่อน  เพราะมีสิ่งก่อสร้างที่ถูกทับถมอยู่ใต้พื้นดิน  พอขุดคุ้นดินลงไปก็เจออิฐก้อนใหญ่  ขุดตรงที่มีแสงสว่างลอยขึ้นมาพบว่าเป็นซุ้มครอบอะไรสักอย่าง และขุดกว้างจนพบพระพุทธรูปขนาดหน้าตักเกือบศอกองค์หนึ่ง  เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนศิลปะลาว  เนื้อหินทราย  ท่านจึงได้อัญเชิญมาแล้วให้ช่างลงรักปิดทองตั้งไว้บูชาที่วัด  กล่าวกลับไปถึงการเก็บว่านของหลวงปู่  แต่ละชนิดต้องใช้เวลานาน  บางพื้นที่มีสองสามชนิดบางพื้นที่มีชนิดเดียว  บางชนิดเคยเห็นผ่านตา แต่พอจะไปเก็บกลับหาไม่เจอ  ดังนั้นพระเครื่องของท่านที่เป็นเนื้อว่านท่านจะทำเองเป็นส่วนใหญ่  ตั้งแต่การเก็บว่านจนถึงการกดพิมพ์  
และวัตถุมงคลอีกชนิดที่โดดเด่นของท่านคือตะกรุดโทน  ตะกรุดโทนของท่านทำจากแผ่นทองแดง  ท่านทำชนิดที่คาดเอว ห้อยคอได้  หลวงปู่บอกว่าที่ลงนั้นเราลงอะไรก็ได้ที่เรียนมา  สำคัญอยู่ที่จิตทั้งสิ้น  จะลงมากตัวหรือน้อยตัว  ถ้าลงมากสมาธิไม่ดีพอ จิตไม่แก่กล้า ก็ไม่ขลังอะไรเลย  ของท่านที่ลงส่วนมากเป็นหัวใจธาตุทั้งสี่เป็นปฐม  สาเหตุที่ตะกรุดหลวงปู่ประสานเป็นที่รู้จักในหมู่ทหาร  ตำรวจ  ก็เนื่องจากตะกรุดอันลือลั่นของหลวงปู่พั่ว  วัดบ้านนาเจริญ  จังหวัดอุบลราชธานี  ทหาร ตำรวจ มีศรัทธามาก  พากันไปกราบขอตะกรุดจากหลวงปู่จนทำให้ไม่ทันแจก  จึงได้บอกกับบรรดาศิษย์ว่าที่นำมาแจกนั้นบางส่วนหลวงปู่ได้นำแผ่นโลหะไปให้หลวงพ่อประสาร  วัดบ้านโนนผึ้ง  จารอักขระคาถาให้  หลวงปู่ประสารบอกว่า ?ของฉันห้ามลอง ให้ใจมั่นอย่างเดียวจะช่วยให้แคล้วคลาดอันตราย  ถึงคราวสู้ต้องสู้  ถึงคราวหนีต้องหนี  ยามหนีไม่ต้องกลัวภัยและอย่าด่าเป็นอันขาด  รับรองได้เลยว่าปลอดภัยแน่ๆ?
 มีประวัติบางตอนของหลวงปู่ประสารที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่หมุน  วัดบ้านจาน  ต้องขอความอนุเคราะห์จากสมาชิกท่านที่มีข้อมูลช่วยกันเล่าต่อด้วยครับ  ปัจจุบันหลวงปู่ประสาร  อรหปัจจโย  วัดบ้านโนนผึ้ง  ได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว  และได้มีการพระราชทานเพลิงศพแบบโบราณอีสาน (นกหัสดีลิงค์) แล้วเมื่อปีที่ผ่านมา  


* P8110082-tile copy.jpg (106.34 KB, 800x533 - ดู 12410 ครั้ง.)

thxby2247บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2554, 14:46:16 โดย ego2519 » บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2554, 13:40:39 »

วัตถุมงคลต่างๆ ของหลวงปู่


* P8110085-tile copy.jpg (60.98 KB, 800x533 - ดู 10731 ครั้ง.)

* P8110092-tile copy.jpg (80.03 KB, 800x533 - ดู 10598 ครั้ง.)

* P8110097 copy.jpg (34.05 KB, 400x300 - ดู 10831 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2554, 07:34:56 »

ผมเคยเรียนถามหลวงปู่เพ็ง จันทรังสี เกี่ยวกับหลวงปู่ประสาร หลวงปู่เพ็งท่านว่าหลวงปู่ประสารเป็นพระที่เก่ง แต่เมื่อคราวเรียนวิชากับหลวงปู่อ้วน โสภโน นั้น หลวงปู่ประสารเรียนไม่จบหลักสูตรเพราะท่านอาพาธด้วยเจ็บขาจึงต้องพักไป  "หลวงปู่เล่าให้ฟังนะครับ"

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2554, 13:33:52 »

เหรียญแบบนี้แท้ไหมครับ


บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2554, 17:24:34 »

อ้ายอินทรีถ่ายฮูปบ่ชัดครับ แต่น่าจะใหล้เคียง 

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2554, 17:51:08 »

ได้ยินว่าเหรียญรุ่นแรกของท่านมีการปั๊มซ้ำนะครับ แต่ท่านก็เสกแล้วเหมือนกัน

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
คนชอบพระ
VIP Member
*****

พลังน้ำใจ : 269
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 69%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2556, 13:15:53 »

ผมเคยเรียนถามหลวงปู่เพ็ง จันทรังสี เกี่ยวกับหลวงปู่ประสาร หลวงปู่เพ็งท่านว่าหลวงปู่ประสารเป็นพระที่เก่ง แต่เมื่อคราวเรียนวิชากับหลวงปู่อ้วน โสภโน นั้น หลวงปู่ประสารเรียนไม่จบหลักสูตรเพราะท่านอาพาธด้วยเจ็บขาจึงต้องพักไป  "หลวงปู่เล่าให้ฟังนะครับ"
เพิ่งมาอ่านเจอ
ถึงหลวงปู่ประสาร เรียนกับหลวงปู่อ้วน ไม่จบหลักสูตร แต่หลวงปู่ประสาร ได้จากหลวงปู่หมุนไปเยอะนะครับ เพราะท่านเดินธุดงค์ด้วยกัน หลวงปู่หมุนท่านธุดงค์จนแก่ เข้าพรรษาถึงจะกลับวัด พอออกพรรษาท่านก็เตรียมกลดเดินธุดงค์อีก ลุงนวยหลานหลวงปู่หมุนบอกว่าหลวงปู่ประสารนี่แหละที่เดินธุดงค์ไปเหนือล่องใต้ ไปไหนมาไหนกับหลวงปู่หมุนมากที่สุด

thxby13745คนโก้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!