สุดยอดวัตถุมงคลแห่งทศวรรษ ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดพระธาตุหริภุญชัย ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 21:02:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุดยอดวัตถุมงคลแห่งทศวรรษ ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดพระธาตุหริภุญชัย  (อ่าน 31289 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ARAYASOMBAT
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 222
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1119

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 17%
HP: 0%




ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 28 พฤษภาคม 2557, 11:57:31 »

ประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน



ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่ได้สร้างประโยนช์แก่สังคมมากมาย อาจพบว่ามีการเรียกอีกหลายอย่างว่า เช่น ครูบาเจ้าศรีวิชัย, พระครูบาศรีวิชัย, ครูบาศีลธรรม หรือตุ๊เจ้าสิริ แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองว่า พระชัยยาภิกขุ หรือพระศรีวิชัยชนะภิกขุครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย มีนามเดิมว่า ?เฟือน? หรือ  ?อินท์เฟือน? บ้างก็ว่า ?อ้ายฟ้าร้อง? เนื่องจากในขณะที่ท่านได้ถือกำเนิดนั้น ปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาท หวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์  ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย และนางอุสา

มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีลำดับดังนี้ คือ
๑. นายไหว
๒. นางอวน
๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย)
๔. นางแว่น
๕. นายทา

ทั้งนี้นายควายผู้เป็นบิดาของท่านได้ ติดตามผู้เป็นพ่อตาคือ หมื่นปราบ(ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)  ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้าน สันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูนเดิม ในสมัยนั้นหมู่บ้านแถบนั้น ยังทุรกันดารอยู่มากมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) และในหมู่บ้านปางก็ ยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้านเลย  จนเมื่อท่านมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้าน เรียกว่าครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซาง ผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปางแล้ว ชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้นเด็กชายอินท์เฟือน ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขันติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในพระอุโบสถ  วัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนาม
บัญญัติว่า "พระศรีวิชัย" ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษา จากนั้น ได้ไปศึกษาพระกัมมัฏฐาน และวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นครูของท่านคือครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นพระอุปฌาย์ ของท่าน ท่านได้รับการศึกษาจากครูบาอุปละ วัดดอยแตเป็นเวลา ๑ พรรษา ก็ได้กลับ มาอยู่ที่วัดบ้านปาง จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัติยะ ได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ) ท่านจึงได้รักษาการแทนใน ตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้น ท่านก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขา ซึ่งเป็นที่ตั้ง วัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวก และสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี โดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปยังนิยม เรียกกันว่า "วัดบ้านปาง" ตามชื่อของหมู่บ้าน และในปัจจุบันได้ขึ้นอยู่กับ ตำบลสรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงาม และเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ 22 ปี และฉันอาหารเพียง มื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือ กับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน ท่านคงฉันฑ์ เฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น
นอกจากนี้ยังงดฉันผักตามวันทั้ง 7 โดยยึดถือดังต่ไปนี้คือ

- วันอาทิตย์ ท่านไม่ฉันฑ์ฟักแฟง,

- วันจันทร์ ไม่ฉันฑ์ แตงโมและแตงกวา,

- วันอังคาร ไม่ฉันฑ์มะเขือ,

- วันพุธ ไม่ฉันฑ์ใบแมงลัก,

- วันพฤหัสบดี ไม่ฉันฑ์กล้วย,

- วันศุกร์ ไม่ฉันฑ์เทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียว ชนิดหนึ่ง),

- วันเสาร์ ไม่ฉันฑ์บอน

นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันฑ์เลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุ สามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง 4  จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก


ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมี ที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..."  และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง

อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา คือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษโดยไม่ใช้งบประมาณ ของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันในระยะแรกนั้น เกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิม ของล้านนา นั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถ หรือระบบหัวหมวดวัดมากกว่า และการปกครอง ก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ใน การดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถ โดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือ และได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบา ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวด พระอุปัชฌาย์ โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ทำให้ท่าน จึงมีลูกศิษย์จำนวนมากและลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของท่านครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และต่อมา ได้เกิดมีการต่อต้านคำสั่งจากส่วนกลาง(กรุงเทพ) จึงเกิดเป็นกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย เนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่น ออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย และในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมา ในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตน โดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้ นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน), นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้น สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกาย เชียงใหม่ผสมกับนิกายยอง ซึ่งมีแนวปฏิบัติบาง อย่างต่างจาก นิกายอื่นๆ ก็จะ
มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า การกุมผ้าแบบรัดอก การสวมหมวก การแขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่า สืบวิธีนี้มาจากลังกา การที่ท่านถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือ ปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖) เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ ที่จะบวชกุลบุตรได้ ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จาก ส่วนกลางเท่านั้น" โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้นๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไปการจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯ นี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผล องค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่างๆ ก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณีความขัดแย้งระหว่างท่านครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นต้น การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้น เพราะท่านถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนา ส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เอง และเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ กับหนานบุญเติง นายอำเภอลี้ ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวน เกี่ยวกับปัญหาที่ท่านได้ตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ

บันทึกการเข้า

วัตถุมงคลครูบาจง อุปลวัณโณ รุ่นหล่อรวยรุ่นแรก วัดศรีสว่าง(วัวลาย)อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ARAYASOMBAT
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 222
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1119

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 17%
HP: 0%




ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2557, 11:12:29 »

ประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน(ตอนจบ)




การจับกุมท่านสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ ช่วงเนื่องจาก เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน

เกือบ ๓๐ ปี และแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน


อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓)

การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของ

คณะสงฆ์ฉบับแรก (พ.ศ.๒๔๔๖) และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครอง

ในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓ นั้น บทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะ

โดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครอง ดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมา

ฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบท เมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวง และ

นายอำเภอลี้ ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตนเจ้าคณะแขวงและ

นายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้ ๔ คืน

จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน

ซี่งผลก็ไม่ปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิด หลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก

ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัว สอบอีกครั้ง โดยพระครูมหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้ เนื่องจาก

มีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัย นำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่

จากนายอำเภอลี้ และ เจ้าคณะแขวงลี้ แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไป ตามหมายเรียกนั้น

ซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปประชุม

เพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไปเช่นกัน พระครูเจ้าคณะแขวงลี้

จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมตัวครูบาศรีวิชัย ส่งให้พระครูญาณมงคล

เจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวน ครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมือง

ลำพูนถึง ๒๓ วัน จึงได้รับการปล่อยตัว

ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้ พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัด

และเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปาง ซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถ ไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวง

ตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดา

หัววัดไม่ไปประชุมเช่นกัน เจ้าคณะแขวงลี้ และนายอำเภอลี้ จึงมีหนังสือฟ้องถึง

พระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่ วัดพระธาตุหริภุญชัย

เมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปี พระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัด

เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้น จากตำแหน่งหัวหมวดวัด

หรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป พร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี

อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔)

อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้น และรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้อง

อธิกรณ์ครั้งแรกถึง ๓ ครั้ง แต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน

ที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น เสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาสรีวิชัยจึงขยายออกไป นับตั้งแต่

เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์

ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง คำเล่าลือ

ดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้ และนายอำเภอแขวงลี้ ท่านทั้งสองจึงได้นำความเข้าแจ้งต่อ

พระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคน

คฤหัสถ์ นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า และใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือ

ลงวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๒ สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วัน

พร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัด เมื่อครูบาศรีวิชัย

โต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง

แต่ต่อมา ก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูนได้เรียกครูบาศรีวิชัย

พร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูน ครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมือง

อย่างใหญ่โต การณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อย

ดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่ง อุปราชเทศามณฑลพายัพจึง

ได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่ โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่

วัดเชตวัน เสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย

(ศรีดอนไชย) ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วย ก็ได้มีพ่อค้าใหญ่

เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้ ชัวย่งเส็ง) และพญาคำ

แห่งบ้านประตูท่าแพ ตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่ และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมากราบ

นมัสการ ครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก ทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่

เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้ เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ และเจ้าคณะมณฑลพายัพ

จึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯ ซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่า

ครูบาศรีวิชัยมีความผิด และให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้

เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้ว ชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่อง

ในตัวครูบา ดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ

ทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงิน และแรงงานอย่างมหาศาล


อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙)


     การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้น

สู่พระธาตุดอย สุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ใน

จังหวัดเชียงใหม่รวม ๑๐ แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้น

อยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน เมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับ

ครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนั้น ทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่ม

พระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัว และพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัย

เคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึก อธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙

ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะ

การปกครองคณะสงฆ์ทุกประการ ท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูน

เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่

วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง ๖ เดือน ๑๗ วัน กรณีความขัดแย้งระหว่าง

ครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปี

นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมา ตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย

แต่ในช่วงเวลานั้น ครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งทางใจ

และดำเนินการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธารณะประโยชน์

ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา


ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงาน

ประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น

ท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวาร

ซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบ

ขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง

ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2481

ที่วัดบ้างปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 59 ปี 9 เดือน 11 วัน

ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี

อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489

จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพ

จำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้นได้เข้าแย่งชิงอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย

ตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอา

ไปสักการบูชา

อัฏฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ แบ่งออกเป็น 7 ส่วน

แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินล้านนาดังนี้

ส่วนที่ 1 บรรจุที่ วัดจามเทวี จ.ลำพูน

ส่วนที่ 2 บรรจุที่ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่

ส่วนที่ 3 บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง

ส่วนที่ 4 บรรจุที่ วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา

ส่วนที่ 5 บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่

ส่วนที่ 6 บรรจุที่ วัดน้ำออกรู จ.แม่ฮ่องสอน

ส่วนที่ 7 บรรจุที่ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จ.ลำพูน


บันทึกการเข้า

วัตถุมงคลครูบาจง อุปลวัณโณ รุ่นหล่อรวยรุ่นแรก วัดศรีสว่าง(วัวลาย)อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ARAYASOMBAT
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 222
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1119

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 17%
HP: 0%




ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2557, 09:58:39 »

คุณทศพร จ.ชลบุรี แจ้งความประสงค์ จองร่วมบุญดังนี้ครับ
1.พระรูปเหมือน ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ฐานเสือ ขนาด 5 นิ้ว รหัสNRS002 = 1 องค์
2.พระรูปเหมือนปั๊ม ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย เนื้อนวะ รหัสNRS020 = 1 องค์

รับทราบการจองร่วมบุญ ขออนุโมทนาบุญครับ

บันทึกการเข้า

วัตถุมงคลครูบาจง อุปลวัณโณ รุ่นหล่อรวยรุ่นแรก วัดศรีสว่าง(วัวลาย)อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ARAYASOMBAT
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 222
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1119

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 17%
HP: 0%




ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2557, 09:56:29 »

คุณอภิลักษณ์ กทม. แจ้งความประสงค์ จองร่วมบุญดังนี้ครับ
1.พระกริ่งนเรศวร เนื้อนวะเทดินไทยเบ้าทุบแบบโบราณ รหัสNRS012 = 1 องค์

รับทราบการจองร่วมบุญ ขออนุโมทนาบุญครับ

บันทึกการเข้า

วัตถุมงคลครูบาจง อุปลวัณโณ รุ่นหล่อรวยรุ่นแรก วัดศรีสว่าง(วัวลาย)อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ARAYASOMBAT
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 222
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1119

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 17%
HP: 0%




ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2557, 22:58:44 »

คุณวิทูรย์ จ.ชลบุรี แจ้งความประสงค์ จองร่วมบุญดังนี้ครับ
1.เหรียญครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ รหัสNRS026 = 1 องค์
2.เหรียญครูบาศรีวิชัย เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง รหัสNRS027 = 1 องค์

รับทราบการจองร่วมบุญ ขออนุโมทนาบุญครับ

บันทึกการเข้า

วัตถุมงคลครูบาจง อุปลวัณโณ รุ่นหล่อรวยรุ่นแรก วัดศรีสว่าง(วัวลาย)อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ARAYASOMBAT
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 222
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1119

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 17%
HP: 0%




ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2557, 14:55:17 »

แจ้งข่าวปิดการจองร่วมบุญครับ
        เรียนเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
1.ผมขอแจ้งปิดการจองร่วมบุญวัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย รุ่น1 บารมี 2 มหาราช ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 57
2.พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย รุ่น1 บารมี 2 มหาราช วันที่ 21 มิ.ย. 57
3.จัดส่งวัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย รุ่น1 บารมี 2 มหาราช ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. 57  เป็นต้นไป เมื่อผมจัดส่งแล้วจะแจ้งเลขที่อีเอ็มเอสให้กับท่านที่จองร่วมทำบุญต่อไป
         ขออนุโมทนาบุญครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มิถุนายน 2557, 15:11:11 โดย ARAYASOMBAT » บันทึกการเข้า

วัตถุมงคลครูบาจง อุปลวัณโณ รุ่นหล่อรวยรุ่นแรก วัดศรีสว่าง(วัวลาย)อ.หางดง จ.เชียงใหม่
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!