ประวัติพระอาจารย์ ภัททันตะอาสภะ ธรรมกัมมัฏฐานจริยะ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 04:06:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระอาจารย์ ภัททันตะอาสภะ ธรรมกัมมัฏฐานจริยะ  (อ่าน 12826 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
มีสติ ดูตัวเอง สอนตัวเอง ไม่ต้องสอนคนอื่น
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 639

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 20 : Exp 50%
HP: 0.1%



chanatip99@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 เมษายน 2557, 22:53:03 »

ประวัติพระอาจารย์
ดร. ภัททันตะอาสภะ ธรรมกัมมัฏฐานจริยะ

วัดภัททันตะอาสภาราม

๑๑๘/๑ หมู่ ๑ บ้านหนองปรือ
ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง
จังหวัดชลบุรี ๒๐๒๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๘-๑๖๐ ๕๑๒, ๐๓๘-๑๖๐ ๕๐๙


ที่มา : http://pantip.com/topic/30587228

ประวัติพระอาจารย์ใหญ่
พระอาจารย์ มีนามเดิมว่า หม่องขิ่น ถือกำเนิดในสกุล ตวยเต้าจี้ ซึ่งเป็นสกุลขุนนางชั้นสูงของพม่า พระอาจารย์เกิดเมื่อ ๑ ๗ฯ ๘ ปีกุน พุทธศักราช ๒๔๕๔ ที่ตำบลจวนละเหยียน อำเภอเยสะโจ จังหวัดปะดุกกู่ ประเทศพม่า โยมบิดามีนามเดิมว่า อุโพอ้าน โยมมารดามีนามว่า ดอร์เปียว มีพี่น้อง ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง


ชีวิตในช่วงปฐมวัย
พระอาจารย์ได้รับการศึกษาขั้นต้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ อายุได้ ๗ ปี เริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่หลักสูตร นะโม พุทธายะ สิทธัง ไปจนถึงทศมหาชาดก ซึ่งเป็นหลักสูตรพื้นฐานการศึกษาที่กุลบุตรของพม่าจะต้องเรียนในสมัยนั้น


พระอาจารย์ได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์
พระอาจารย์ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ อายุได้ ๑๕ ปี โดยมีพระภัททันตะ ญาณมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดโชติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และในเวลาต่อมาก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายาว่า อาสโภ ณ พัทธสีมาวัดจวนละ เหยียน อำเภอเยสะโจ จังหวัดปะดุกกู่ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๗๓ โดยมี


- พระภัททันตะ ญาณมหาเถระ เป็นพระอุปัชฌาย์


- พระภัททันตะ อูเกลาสมหาเถระ เป็นพระกรรมวาจาจารย์


- พระภัททันตะ อูปัญญามหาเถระ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ภาคคันถะธุระ
พระอาจารย์ได้รับการศึกษา ดังนี้คือ
๑. ระเบียบวินัย ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ
๒. ไวยากรณ์บาลีมหากัจจายน์
๓. อภิธรรมมัตถสังคหอรรถกถา
๔. ศึกษาปริยัติธรรมชั้นสูงที่มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย


วุฒิธัมมาจริยะ
เมื่ออายุได้ ๒๗ ปี ๗ พรรษา พระอาจารย์สอบได้วุฒิชั้น ?ธัมมาจริยะ? ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดแห่ง การศึกษาคณะสงฆ์พม่า


ตำแหน่งในมหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย
ได้รับความเห็นชอบ มีมติเอกฉันท์จากบรรดาพระมหาเถระปาติโมกข์แห่งมหาวิทยาลัยให้ ดำรงตำแหน่ง ?คณะวาจกสะยาดอร์? คือ เป็นพระคณาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ประจำมหาวิทยาลัยมีหน้าที่ให้การศึกษาพระไตรปิฎก บาลี อรรถกถา ฎีกา และพระคัมภีร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ เป็นต้นมา


ภาควิปัสสนาธุระ
๑. เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดสวนลน จังหวัดเมียนฉั่น โดยมีท่านพระอาจารย์ ภัททันตะ กวิมหาเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ เป็นผู้บอกกรรมฐานให้


๒. เดินทางไปเข้าวิปัสสนากรรมฐานต่อ ณ วัดมหาสี ตำบลเชตโข่น จังหวัดสวยะโบ่ ซึ่งเป็นสำนักของมหาสี สะยาด่อร์


ตำแหน่งพระวิปัสสนาจารย์
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ พระอาจารย์ได้รับการถ่ายทอดวิชา ?วิปัสสนาจารย์? จาก พระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต (มหาสี สะยาด่อร์) ผู้เป็นพระปรมาจารย์ต้นตำรับ ?พองหนอ ยุบหนอ? และได้รับมอบหมายให้เป็นวิปัสสนาจารย์ประจำสำนักมหาสีสาสนยิสสา แห่งนครย่างกุ้ง

ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) มีความประสงค์จะวางรากฐานวิปัสสนาธุระไว้ ณ ประเทศไทยจึงได้แสดงความจำนงไปยังสภาพุทธศาสนาแห่งประเทศพม่า ขอให้จัดส่งพระวิปัสสนาจารย์ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาช่วยสอนวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย สภาการพุทธศาสนาแห่งประเทศพม่าจึงมอบหมายให้ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต เป็นผู้พิจารณาพระวิปัสสนาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามความต้องการของสมเด็จพระ พุฒาจารย์ ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิตพิจารณาโดยรอบคอบแล้วจึงมีบัญชาให้พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะเป็นผู้รับภาระหน้าที่อันสำคัญนี้ ท่านจึงตัดสินใจเดินทางมาประเทศไทย รับหน้าที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร


เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ พระอาจารย์ภัททันตะอาสภเถระ ธัมมจาริยะได้รับอาราธนาจากนายธรรมนูญ สิงคารวณิช และพระภิกษุเดือน เนื่องจำนงค์ ให้มาเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานประจำสำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม


ผลงานรจนาหนังสือธรรมะ
แม้ว่าพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ จะมีหน้าที่ในการบอกกรรมฐานแก่ศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นภาระที่หนักอยู่แล้ว แต่ก็ยังอุตสาหะรจนาหนังสือธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นภาษาไทยไว้ดังต่อไปนี้


๑. แว่นธรรมปฏิบัติ
๒. แนวปฏิบัติวิปัสสนา
๓. หลักการเจริญวิปัสสนา
๔. ปฏิจจสมุปบาทจักกเทศนา
๕. วิปัสสนาทีปนีฎีกา


รวมระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ พำนัก ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ( ๑๐ ปี )
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ พำนัก ณ สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (๓๗ ปี)
๑ มีนาคม ๒๕๔๒ ย้ายมาพำนัก ณ สำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ( ๓ ปี )
๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๕ - ปัจจุบันเป็นประธานสงฆ์ และพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระพำนัก ณ วัดภัททันตะ- อาสภาราม สิริรวมชนมายุ ๙๓ ปี พรรษา ๗๓ แม้จะมีโรคาพาธเบียดเบียนบ้าง แต่สุขภาพโดยรวมยังมีสภาพที่สมบูรณ์ ท่านได้อาศัยเวลาส่วนใหญ่บอกสอน และแนะนำมวลศิษย์อย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จนอาจกล่าวได้ว่าชั่วชีวิตของท่านได้ทุ่มเทให้แก่งานด้านวิปัสสนาธุระอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาแล้วกว่า ๕๐ ปี จริง ๆ แล้ววัยนี้ควรจะเป็นวัยที่ท่านจะได้พักผ่อน แต่ด้วยอาศัยความเมตตากรุณา ที่ท่านมีต่อผู้สนใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยท่านก็มิได้ย่อท้อแต่ประการใด ท่านจะมีความสุขกับการได้ให้ธรรมะที่เป็นสาระแก่นสารแก่ทุก ๆ คน ที่มีโอกาสแวะเวียนมากราบเยี่ยมเยือนและปฏิบัติธรรมกับท่านเสมอ ๆ

ท่านได้ละสังขารไปตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สิริอายุได้ 99 ปี

สู่เส้นทางวิปัสสนา
ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะคณะวาจกะสะยาดอร์ ได้บำเพ็ญองค์เป็นพุทธสาวกชั้นเยี่ยม โดยการสั่งสอนพระพุทธธรรมแก่พระภิกขุสังฆะทั้งหลาย อันเป็นการธำรง?พระปริยัติศาสนา?ให้คงอยู่มาเป็นเวลาช้านาน ประมาณ กว่า 1 ทศวรรษ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2493 เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระฯ ได้หักเหจาก?อาจารย์บอกธรรม?มาเป็น?วิปัสสนาจารย์?โดยสมบูรณ์ เมื่อท่านได้มีโอกาสพบกับพระภัททันตะ คันธมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ผู้มีเกียรติคุณสูงเด่นในวิชาการชั้นสูง อันเป็นที่ยอมรับของมหาชนทั้งหลายโดยทั่วไป โดยเมื่อท่านได้สนทนากับท่าน?คันธมหาเถระ?พอสมควรแล้ว ท่านพระคันธมหาเถระ ก็หยิบหนังสือเล่มหนึ่งส่งให้ พร้อมกับสั่งกำชับว่า ?จงอ่านให้ได้? ซึ่งพระอาสภเถระเมื่อได้ลองอ่านดู ก็พบว่า หนังสือนั้นมีชื่อว่า ?แนวปฏิบัติวิปัสสนา? ซึ่งรจนาโดย?พระอาจารย์ภัททันตะโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต? หรือ?พระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์?


หมายเหตุ,ท่าน?พระมหาสี สะยาดอ? สุดยอดพระวิปัสนาจารย์แห่ง เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ องค์นี้ นับเป็นพระ ผู้แตกฉานในพระวิปัสนากรรมฐานอย่างแจ่มแจ้งแทงตลอดอย่างยิ่ง จนได้รับเกียรติสูงสุดให้เป็น?ปุจฉกะ?(ผู้ถาม)ในการกระทำสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 6 ของโลก ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เมื่อปีพ.ศ. 2496 โดยทำหน้าที่เดียวกับ?พระมหากัสสปะเถระ?ที่ทำหน้าที่ซักถามพระวินัยแก่?พระอุบาลีเถระ?ในคราวสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งแรกนั่นเลยเทียว..!!!!!


และเมื่อพระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ อ่าน?แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา?ที่เขียนโดยท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์จบ ท่านอาสภเถระ ก็บังเกิดความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่า ?ในสมัยปัจจุบันทุกวันนี้ การปฏิบัติวิปัสสาที่ถูกต้องและได้ผลจริงยังมีอยู่อีกหรือนี่..Huh?Huh?


และ ?เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว วิปัสสนาญาณจักปรากฏแก่คนในยุคปัจจุบันนี้ได้จริงๆละหรือ.Huh??? และด้วยวิสัยแห่งผู้ใฝ่รู้ ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ พระผู้สำเร็จ?ปริยัติธรรม?ชั้นสูงสุดแห่งพม่า จึงพลันตัดสินใจจะเข้าบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อ?พิสูจน์?ให้รู้แจ้งเห็นจริงกันด้วยตนเองไปเลยทีเดียว

เริ่มแรก ท่านจึงเดินทางไปสำนักปฏิบัติพระกรรมฐาน ?วัดสวนลน? จังหวัดเมียนฉั่น เพื่อเข้าไปขอกรรมฐานกับท่านพระอาจารย์ภัททันตะ กวิมหาเถระ ปธานกัมมัฏฐานมหาเถระ แล้วเริ่มตั้งอกตั้งใจปฏิบัติในทันทีทันใดถึง 45 วันเต็มๆ ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยัง ?วัดมหาสี? ตำบลเชตโข่น เมืองสวยะโบ่ ซึ่งเป็นสำนักของท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์ ผู้รจนาหนังสือ?แนวปฏิบัติวิปัสสนา?โดยตรง ซึ่งเมื่อท่านพระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ คณะวาจกะสะยาดอร์ไปถึง ก็ลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานในทันทีไม่รอรีใดๆ โดยมีท่านพระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต(พระมหาสี สะยาดอร์ )และท่านพระอาจารย์ภัททันตะ สวยะเจดีย์ สะยาดอร์ อัครมหาบัณฑิต เป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน ด้วยความเข้มงวดกวดขันเป็นอย่างยิ่ง

โดยเมื่อพระภัททันตะ อาสภเถระ ฯ ได้ปฏิบัติไปๆ ก็ให้อัศจรรย์ใจในผลของการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มมากยิ่งขึ้นทุกวัน และที่สุด ก็ได้?บรรลุ?ถึงผลสมดังความมุ่งหมาย วิจิกิจฉาความลังเลสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานใดๆที่เคยค้างคาใจมาแต่กาลก่อน ก็ล้วนปลาสนาการหายไปจนหมดสิ้น การเป็นที่น่าอนุโมทนาสาธุการเป็นอย่างยิ่งที่สุดเลยทีเดียว


สืบสายธรรมแท้จากพระอรหันต์ครั้งพุทธกาล

มหาเหตุที่สำคัญอย่างยิ่งยวดประการหนึ่ง ซึ่งทำให้ท่านพระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ คณะวาจกะ สะยาดอร์ ได้บรรลุธรรมเบื้องสูงดังกล่าวมานั้น ก็เห็นจะเป็นการที่ท่าน ได้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่?ถูกต้องร่องรอย?ตาม?พระพุทธวจนะ?แห่งองค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่าง?แท้จริง?นั้นเอง


เหตุดังกล่าวย่อมปรากฏชัดว่า อันแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาที่ท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์ได้สอนนั้น เป็นวิธีการสอนวิปัสสนาที่ใช้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยสืบวิปัสสนาวงศ์มาแต่องค์?พระอรหันต์? ผู้เป็นสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของท่าน?พระมหาโมคคัลลีบุตรสังฆวุฒาจารย์? ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้อาราธนามาประดิษฐานบวรพระพุทธศาสนา เผยแผ่พระพุทธธรรมยังสุวรรณภูมิประเทศเมื่อ 2000 กว่าปีที่ แล้ว

และ เมื่อ ?พระพิมลธรรม? (อาจ อาสภมหาเถระ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร (ที่ต่อมาได้รับโปรดเกล้าสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่?สมเด็จพระพุฒาจารย์ ) ซึ่งเมื่อปีพ.ศ.2495 ท่านมีตำแหน่งเป็น?สังฆมนตรี? ว่าการองค์การปกครอง ได้เกิดมหากุศลจิตที่ประสงค์จะให้เกิดการบำเพ็ญวิปัสสนาที่?ถูกต้อง?ขึ้นในประเทศไทย และเมื่อท่านพระพิมลธรรมได้พิจารณาด้วยจิตใจที่เป็น?กลาง?อย่างยิ่งแล้ว พบว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ประเทศพม่านั้น มีความ?ถูกต้องแม่นยำ?และ?ไม่ผิดเพี้ยน?จากพระพุทธวจนะ เพราะเหตุที่สืบสายมาโดยตรงจากพระอรหันต์ผู้เป็นศิษย์ใน?พระโมคคัลลีบุตรอรหันตเถระ?สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชอย่างแท้จริง สมควรที่จะยึดถือเป็นแบบอย่างได้อย่างมั่นใจ




thxby16056vasan
บันทึกการเข้า

วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นใน... ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
มีสติ ดูตัวเอง สอนตัวเอง ไม่ต้องสอนคนอื่น
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 639

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 20 : Exp 50%
HP: 0.1%



chanatip99@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 เมษายน 2557, 22:58:06 »

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) หรือ?พระพิมลธรรม? ในสมัยนั้น จึงได้ส่ง?ศิษย์เอก?ท่านหนึ่งของท่าน คือ? พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ? เปรียญธรรม 9 ประโยค (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงขึ้นมาเรื่อยๆจนที่สุดได้เป็นที่?พระเทพสิทธิมุนี? พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังกลางกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งมีจิตใจฝักใฝ่ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างยิ่ง ให้ไปเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่?สำนักวิปัสสนาสาสนยิตสา? ที่ฯพณฯ อูนุ อดีตนายกรัฐมนตรีพม่าในสมัยนั้นได้สร้างขึ้นที่เมืองย่างกุ้ง โดยได้ฝากให้อยู่ในความดูแลของท่านพระอาจารย์โสภณมหาเถระ หรือ?ท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์? ซึ่งเป็นเจ้าสำนักใหญ่อยู่ในขณะนั้น ซึ่งพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ก็ได้ตั้งใจเร่งความเพียรในการปฏิบัติธรรมอย่างดียิ่ง โดยท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์ ก็ได้มอบหมายให้


?พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ? ศิษย์เอกของท่านซึ่ง?บรรลุธรรม?มาแต่ก่อนเรียบร้อยแล้ว คอย?ดูแล?และ?สอบอารมณ์?ท่านพระมหาโชดก แทนท่านซึ่งมีภารกิจแห่งความเป็นเจ้าสำนักมากมาย ทำให้ไม่อาจจะมาคอยควบคุมและสอบอารมณ์พระกรรมฐานได้ทุกวัน ด้วยเหตุนี้ ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ จึงได้เป็นเสมือนหนึ่งเป็น?พระพี่เลี้ยง?ในท่านเจ้าคุณ?พระเทพสิทธิมุนี? หรือ?พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ?ไปโดยปริยาย


จำเนียรกาลแห่งการปฏิบัติธรรมพระกรรมฐานในสำนักสาสยิตสาของพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิผ่านไปเพียง 3 เดือน ท่านพระมหาโชดกก็ได้?สำเร็จวิปัสสนา?สมดังความมุ่งหมาย เป็นที่น่าอนุโมทนาสาธุการอย่างยิ่ง ท่านพระมหาโชดกจึงเตรียมเดินทางกลับมายังประเทศไทย ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมจึงได้ทำเรื่องไปยัง?สภาการพระพุทธศาสนาแห่งพม่า?ขอให้ส่งพระวิปัสสนาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญมาสอนวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทยด้วย ซึ่งทางสภาการพระพุทธศาสนาก็ได้มอบหมายให้ท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์เป็นผู้คัดเลือก ผลก็ปรากฏว่า ท่านได้เจาะจงเลือก?พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ?ให้รับภาระหน้าที่อันสำคัญนี้ โดยสั่งกำชับไว้ด้วยว่า ?จงอย่าขัดข้องหรือปฏิเสธเลย? ด้วยเหตุนี้ ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ผู้ทรงภูมิรู้แห่งวิปัสสนาวิธีจากลุ่มแม่น้ำอิระวดี จึงมีอันได้เดินทางจากปิตุภาค มาตุภูมิเดิม มาเป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานอยู่ที่คณะ 5 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2596 เป็นต้นมา


พระมหารัตนวิปัสสนาจารย์แห่งยุคกึ่งพุทธศาสนยุกาล


ก็เมื่อท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ได้เดินทางมาบอกพระกรรมฐานที่ประเทศไทยเป็นการถาวร ท่านก็ได้ร่วมกับพระมหาโชดก ญาณสิทธิ ทำการเผยแพร่วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องร่องรอยตามพระพุทธวจนะในพระไตรปิฏกและตามแนวแห่งปฐมอรหันต์ผู้มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อน เพื่อสนองพระคุณพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างทุ่มเทและตั้งอกตั้งใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งก็ได้มีพระภิกษุสามเณรตลอดจนบุคคลทุกระดับชั้น ทุกสาขาวิชาชีพ สนใจศรัทธามาขอเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นจำนวนมาก จนเป็นที่?ปรากฏผล?และ?บรรลุธรรม?จากการปฏิบัติแนวทางที่ถูกต้องนี้ตามควรแก่บุรพวาสนาแห่งตนมากมาย
ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณสูงส่งและโดดเด่นเป็นพิเศษ ก็มีอาทิเช่น

สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พระราชมารดาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน





เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถร ได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุฯ เป็นเวลาถึง ๑ เดือน





หมายเหตุ , สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงมีอัธยาสัยใฝ่ธรรมมาแต่ดั้งเดิม ก็ได้เคยเสด็จมาทรงเจริญพระวิปัสสนากรรมฐาน กับท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ และท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทฺธิ ที่คณะ 5 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร ด้วยพระราชศรัทธาอย่างเปี่ยมล้น เมื่อปีพ.ศ. 2498
"จนเป็นที่รับรู้กันว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรง?บรรลุธรรม? ชั้นสูงแล้ว คุณแห่งพระวิปัสสนาที่ทรงสำเร็จ ก็ยิ่งส่งเสริมให้พระองค์ทรงเป็น?บริสุทธิเทพ?ยิ่งกว่า?เทพ?ใดๆ สมกับที่ทรงสถิตสถาพรอยู่เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม เป็นทั้ง?ศักดิ์?และ?ศรี?แห่งบ้านแห่งเมืองไทยนี้ทั้งหมดแล้วอย่างแท้จริง"


2. พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัล ) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี พระวิปัสสนาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้ มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและพระพุทธศาสนามากมาย

3. พระราชอุทัยกวี(พุฒ) วัดมณีสถิตย์ อ. เมือง จ.อุทัยธานี
พระอริยคณาจารย์องค์สำคัญผู้มีชื่อเสียงเกียรติคุณและเป็นที่เคารพนับถือของชาวอุทัยธานีอย่างกว้างขวางในยุคร่วมสมัยนี้

4. พระสุธรรมญาณเถระ (ครูบาอินทจักรรักษา) วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
หมายเหตุ, ครูบาอินทจักรรักษานี้ เป็น?พระพี่ชาย?แท้ๆของหลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้า อีกทั้งยังเป็นอาจารย์ของพระอาสภะ

5. พระสุพรหมญาณเถระ (ครูบาพรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
หมายเหตุ, พระอริยเจ้าองค์สำคัญที่สุดองค์หนึ่งแห่งภาคหนึ่ง ถึงขนาดที่?ครูบาเจ้าศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนาไทย?ยังต้อง?ขอดูตัว? ซึ่งทรง?อภิญญา?อันยิ่งใหญ่ และทรงอิทธิจิตอันแก่กล้าถึงขนาดสามารถ?เหยียบศิลาแลงทั้งแท่งให้เป็นรอย?เหมือนหนึ่งเหยียบลงในดินเลนที่อ่อนนุ่มได้เป็นมหัศจรรย์ (ยังปรากฏรอยเท้าในแผ่นหินเป็นหลักฐานอยู่ที่หลังวัดพระพุทธบาทตากผ้าจนถึงทุกวันนี้) ก็เคยมาเรียนพระกรรมฐานที่คณะ 5 วัดมหาธาตุ กับท่านหลวงพ่อภัททันตะ อาสภเถระฯ และท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทฺธิ ในครั้งหนึ่งด้วย

6. พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท )วัดฟ้าหลั่ง กิ่งอ.ดอยหล่อ จ. เชียงใหม่ พระอริยเจ้าอาวุโสสายเหนือผู้บรรลุคุณธรรมสูงสุด และอิทธิฤทธิ์บุญฤทธิ์อย่างยอดยิ่ง ที่แม้แต่หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ. เชียงดาว จ.เชียงใหม่ พระอริยเจ้าสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็ยังให้ความเคารพยกย่องเป็นพิเศษ ก็เคยลงมาฝึกกรรมฐานกับหลวงพ่อภัททันตะ อาสภเถระ ที่คณะ 5 วัดมหาธาตุ เช่นเดียวกัน

...




บันทึกการเข้า

วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นใน... ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!