ประวัติโดยสังเขป ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 03:45:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติโดยสังเขป ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต  (อ่าน 12884 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 มิถุนายน 2554, 13:02:16 »

ประวัติหลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต  (พ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่น)
ชาติภูมิ
พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว  บิดาชื่อคำด้วง  มารดาชื่อจันทร์  สถานที่เกิดคือบ้านคำบง  อำเภอโขงเจียม  จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่  ๒๐  มกราคม  ๒๔๑๓  ตรงกับวันพฤหัสบดี  เดือนยี่  ปีมะแม  มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน  ๗  คน  หลวงปู่เป็นคนร่างเล็ก  ผิวขาวแดง  แข็งแรงว่องไว  สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด
บรรพชา
เมื่ออายุได้  ๑๕  ปี  บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านคำบง  ถึงอายุ  ๑๗ ปี  ลาสิกขาบท  ออกไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ  ครั้นอายุได้ ๒๒ ปี  ได้อุปสมบท  ณ  วัดศรีทอง  เมืองอุบลราชธานี  โดยมีพระอริยกวี (ธัมมรักขิโต  อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์  พระครูสีทา  ชยเสโน  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ้ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วมาอยู่ศึกษาพระธรรมวินัย  และธรรมปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์เสาร์  กันตสีโล  วัดเลียบ  เมืองอุบลราชธานี  ในวัยต้นท่านพระอาจารย์มั่นได้ติดตามท่านพระอาจารย์เสาร์ออกธุดงค์กัมมัฏฐานตามจังหวัดต่างๆทางภาคอีสานราว ๒๐ พรรษา  ในปี พ.ศ.๒๔๔๗  จาริกไปแสวงวิเวกตามป่าเขาในจังหวัดภาคกลาง  เช่นจังหวัดลพบุรี  และจังหวัดนครนายก  และได้เข้ามาจำพรรษา  ณ  วัดปทุมวนาราม  ๑ พรรษา  ในระหว่างนี้ได้ศึกษาธรรมปฏิบัติกับ  พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท  จันทร์)  ที่วัดบรมนิวาส  อย่างสม่ำเสมอ  ในปี  พ.ศ.๒๔๕๗  จึงได้กลับบ้านเกิด  ณ วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี  ในระหว่าง  พ.ศ.๒๔๕๙  ถึง  พ.ศ.๒๔๗๑  ท่านได้จาริกไปแสวงวิเวกในจังหวัดต่างๆในภาคอีสานด้วยความที่ท่านหวังเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก  เหตุนั้นท่านจึงอยู่ไม่เป็นที่เป็นทางหลักแหล่งเฉพาะแห่งเดียวเทียวไปเพื่อประโยชน์แก่ชนในที่นั้น  คือ  นครพนม  เลย  อุดรธานี  หนองคาย  สกลนคร  โดยจำพรรษาอยู่ตามป่าเขาบ้างตามอรัญญิกาวาสต่างๆบ้างเป็นเวลา ๑๕ ปี ตลอดระยะเวลาที่บำเพ็ญสมณะธรรมตามที่ต่างๆ  ได้มีภิกษุสามเณรมาถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาธรรมปฏิบัติ  และอบรมกรรมฐานเป็นจำนวนมาก  เป็นเหตุให้ความนิยมในการศึกษาอบรมกัมมัฏฐาน  และการสร้างวัดป่าหรือวัดกัมมัฏฐานแพร่สะพัดไปทั่วภาคอีสาน  นับเป็นกระแสธรรมนิยมที่เกิดขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน  พ.ศ.๒๔๗๑  ท่านเข้ามาจำพรรษา  ณ วัดปทุมวนาราม  ๑  พรรษา  เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒  ได้จาริกตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ขึ้นไปจังหวัดเชียงใหม่  จำพรรษา  ณ วัดเจดีย์หลวง  และเมื่อปี  พ.ศ.๒๔๗๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงสืบต่อจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์  แต่ดำรงตำแหน่งอยู่เพียงพรรษาเดียวก็ลาออก  หลังจากนั้นได้จาริกตามป่าในดินแดนภาคเหนือเป็นเวลา  ๑๑ ปี  ในที่สุดพระอาจารย์มั่นก็กลับมายังภาคอีสานบ้านเกิด  ๑๐  ปีสุดท้าย  พระอาจารย์มั่นพำนัก  ณ  วัดป่าโนนนิเวศน์  จังหวัดอุดรธานี  ๒ พรรษา และจังหวัดสกลนคร  ๘  พรรษา  ที่บ้านโคก  ๒  พรรษา  บ้านนามน  ๑  พรรษา  และวัดป่าบ้านหนองผือ  อำเภอพรรณนานิคม อีก ๕ พรรษา
ละสังขาร
และแล้วก็มาถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน คือปี  พ.ศ.๒๔๙๒  หลังจากตรากตรำงานมาหนัก  ท่านไม่สบายอาการหนักขึ้นทุกวัน  ไม่บรรเทาเบาบาง  ทั้งหมอและศิษย์ช่วยกันรักษาพยาบาลอาการก็ไม่ดีขึ้น  อยู่มาวันหนึ่งท่านค่อยยังชั่วขึ้นบ้าง  แต่ไม่ยอมฉันอะไรเลย  ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือยา  ท่านปฏิเสธหมด  ท่านบอกว่า  ?ต้นไม้ที่มันตายยืนต้นแล้ว  จะนำเอาน้ำไปรดเท่าไรจะให้มันเกิดใบอีกไม่ได้หรอก  อายุของเรามันก็ถึงแล้ว?  ต่อมาท่านได้บอกว่า ?ชีวิตของเราใกล้สิ้นแล้ว  ให้รีบส่งข่าวไปบอกแก่คณาจารย์ที่เป็นศิษย์เราทั้งใกล้ และไกล ให้รีบมาประชุมกันที่บ้านหนองผือนี้  เพื่อจะได้มาฟังธรรมเป็นครั้งสุดท้าย?  เมื่อศิษย์ทั้งหลายมาพร้อมหน้ากันท่านได้ลุกขึ้นนั่งแสดงธรรมแก่ศิษย์มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า ?การปฏิบัติจิตถือเป็นเรื่องสำคัญ  การทำจิตให้สงบถือเป็นกำลัง  การพิจารณาอริยสัจถือเป็นการถูกต้อง  การปฏิบัติข้อวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้น  ผู้เดินผิดทางย่อมไม่ถึงที่หมายคือนิพพาน?  ?เราจะไม่มรณภาพที่นี่  เพราะถ้าเราตายที่นี่แล้วคนทั้งหลายก็จะพากันมามาก จะพากันฆ่าเป็ด  ฆ่าไก่  ฆ่าสัตว์ทั้งหลายเป็นอาหาร  เนื่องด้วยศพของเราจะทำให้ชาวบ้านเป็นบาป  สมควรที่จะจัดให้เราไปมรณภาพที่จังหวัดสกลนครเถิด  เพราะที่นั่นเขามีตลาดอยู่แล้วคงไม่กระเทือนชีวิตสัตว์เหมือนที่นี่?
คณะศิษย์ได้นำพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  มาถึงวัดสุทธาวาส  จังหวัดสกลนคร  เมื่อเวลา ๑๔.๓๐  ของวันที่ ๑๐  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๙๒  อาการของท่านเป็นปกติอยู่จนกระทั่ง  ๒๔.๐๐ น.  ครั้นเมื่อถึงเวลา  ๐๑.๐๐ น. อาการของท่านผิดปกติขึ้นมาทันที  ชีพจรทั้งหลายเริ่มอ่อนลงทุกที  และท่านมรณภาพดับขันธ์ไปเมื่อเลา  ๐๒.๒๓  น. วันศุกร์ที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๙๒  การถวายเพลิงท่านมิได้ถวายด้วยฟืนหรือถ่าน  แต่ถวายด้วยไม้จันทน์ที่มีกลิ่นหอม  ซึ่งบรรดาศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสนำมาจากประเทศลาวเป็นพิเศษ  และผสมด้วยธูปหอมเป็นเชื้อเพลิง อัฐิของท่านในเวลาต่อมากลายเป็นพระธาตุ  ทำให้เชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
roaddog2007
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 25
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 28

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 29%
HP: 0%




ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2554, 00:34:49 »

ใครพอมีเหรียญหลวงปู่มั่นที่ออกโดยวัดในจังหวัดอุบล เอามาโชว์หน่อยครับ อยากชมให้เป็นบุญตา

บันทึกการเข้า
บอย น้ำยืน
Hero Member
*****

พลังน้ำใจ : 334
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 193

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 23%
HP: 0%




ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2556, 01:42:49 »

เหรียญหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดเสนานิคม(ลาดพร้าว) ปี2518 หลวงปู่หลอดจัดสร้างพร้อมเหรียญรุ่นเเรกของท่าน นิมนต์มาพร้อมกัน6เหรียญครับ







thxby15028คนโก้, บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!