พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์( พระแก้วหยดน้ำค้าง หรือ พระแก้วขาว )
"พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์" หรือ "พระแก้วหยดน้ำค้าง" หรือ "พระแก้วขาว" เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างจากเนื้อแก้วใสสะอาดบริสุทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1.9 นิ้ว ศิลปะเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองยโสธร ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร
ในอดีตนั้นเคยประดิษฐานอยู่คู่กับพระแก้วมรกตในหอพระแก้วเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2011 และประทับอยู่เป็นสิริมงคลนานถึง 78 ปี
หลังพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชครองหลวงพระบาง จึงมีความเห็นว่าสมควรอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวไปไว้ที่ราชธานีล้านช้าง เพื่อให้ห่างไกลจากเงื้อมมือพม่าข้าศึก จึงโปรดฯ ให้ประดิษฐานพระแก้วมรกตประทับอยู่ร่วมกันอีกครั้ง
ได้มีผู้ลักพาพระแก้วขาวออกจากหลวงพระบางไปซ่อนไว้ที่เขาส้มป่อย ต่อมามีพราน 2 พี่น้อง ชื่อ พรานทึงและพรานเทือง ไปพบว่าจมอยู่ใต้สระน้ำจึงนำขึ้นมา ความลือไปถึงเจ้าสร้อยศรีสมุทร พุทธางกูร ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ จึงให้ท้าวเพียผู้ใหญ่ไปสืบเอาพระแก้วขาวมา
ขณะอัญเชิญมาถึงตำบลแห่งหนึ่ง ริมน้ำเซโดนได้พากันพักแรมหนึ่งคืน พอรุ่งเช้าปรากฏว่าพระแก้วขาวหายไปจึง ให้คนเที่ยวค้นหา มีผู้ไปพบอยู่ที่บ้าน พรานทึงดังเดิม ท้าวเพียได้ทำพิธีคารวะพระแก้วขาว โดยขออัญเชิญไปยังหลวงพระบางได้สะดวก อย่าได้ลักหนีไปอีกเลย
แต่ในระหว่างทางเกิดพายุทำให้พระแก้วขาวตกลงไปในน้ำหาอย่างไรก็ไม่พบ เจ้าสร้อยศรีสมุทรฯ ทรงกระทำพิธีกรรมบวงสรวงเทพารักษ์ ตั้งสัตยาธิษฐานขอให้ได้พระแก้วขาวกลับคืนมาเป็นสิริมงคล เมื่อสัมฤทธิผลจึงจัดงานฉลองสมโภชเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน
ตามข้อสันนิษฐานที่สืบทราบความว่า เมื่อครั้งเจ้าพระยาราช สุภาวดี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เจ้าอุปฮาดบุตรของท้าวคำ ท้าวฝ่าย ท้าวสุวอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าพระยาขัตติวงศา ได้ไปรบด้วย มีท่านพระครูหลักคำกุผู้มีภูมิ ความรู้ถนัดในทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ให้ฤกษ์และทำพิธีตัดไม้ ข่มนาม ซึ่งเป็นพิธีปฐมกรรม อันเป็นการให้ขวัญและกำลังใจ แก่ทหาร จึงทำให้การรบในครั้งนั้นประสบชัยชนะ
ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงได้มีรับสั่งให้พาเข้าเฝ้าโดยด่วน โดยมีท้าวฝ่าย และพระครูหลักคำกุ เป็นผู้เข้าเฝ้าที่กรุงเทพมหานคร โปรดเกล้าฯ พระราช ทานสัญญาบัตรให้ท้าวฝ่ายเป็นพระสุนทรราชวงศา พระครูหลักคำกุ เป็นพระครูวชิรปัญญา แล้วพระราชทาน ปืนนางป้อม 1 กระบอก ให้พร้อมกับพระพุทธบุษรัตน์ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่เมืองยโสธร นับแต่นั้นเป็นต้นมา
สำหรับในจารึกประชุมพง ศาวดาร ภาคที่ 80 เมื่อ พ.ศ.2440 (ร.ศ.115) กล่าวว่า ท้าวพญาเมืองจำปาศักดิ์ได้ถวายพระแก้วขาวแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2355 ต่อมารัชกาลที่ 3 พระราชทานให้ชาวเมืองยโสธร