PN3
|
|
« เมื่อ: 19 เมษายน 2555, 17:14:07 » |
|
ประวัติพระเจ้าใหญ่อูบมุง (พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น) วัดอูบมุง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี พระเจ้าใหญ่อูบมุง (พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น)เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แรกพบเมื่อประมาณ ๒๐๐ กว่าปีมานี้เอง
ความเป็นมาในดินแดนแห่งนี้แต่ก่อนยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๙ มีเท้าศรีจันทร์ ศรีสุราชเป็นชาวอำเภอเขมราฐได้อพยพมาพร้อมกับพรรคพวกจำนวนหนึ่งมาตั้งแหล่งทำมาหากินในบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอูบมุงแห่งนี้ และในครั้งนั้นมีการค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้อยู่ในป่ารกชัฏประดิษฐานอยู่ในวัดร้างเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก และมีอูบมุงก่อด้วยอิฐครอบองค์พระเอาไว้ ส่วนองค์พระมีปลวกขึ้นพอกจนถึงพระอุระและเรียกว่า ?อูบมุง? ซึ่งสันนิฐานว่าคงจะมาจากคำว่า สถูป หรือ อูบ จึงได้พากันเรียกว่าพระอูบมุง หรือพระเจ้าใหญ่อูบมุงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและท้าวศรีจันทร์ ศรีสุราช พร้อมด้วยคณะได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นมาชื่อว่า บ้านอูบมุง โดยเรียกตามชื่อพระพุทธรูปที่ค้นพบสืบมาจนทุกวันนี้
ด้วยความเชื่อและความศรัทธาของชาวบ้านซึ่งมีความเคารพสักการะในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จึงเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธรูป คู่บ้าน คู่เมือง ของชาวอำเภอเขมราฐอีกองค์ ซึ่งคู่กับพระเจ้าใหญ่องค์แสนที่ประดิษฐานที่วัดโพธิ์เขมราฐ และมีความเชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปบูรณะวัดร้างแห่งนี้ ใครจะมาทำอะไรไม่ได้โดยเด็ดขาด ถ้าไม่เชื่อและขืนทำไปก็จะมีอันเป็นไปในทางที่ไม่ดีอย่างแน่นอน ดังนั้นวัดร้างแห่งนี้จึงถูกปล่อยทิ้งไว้เรื่อยมา
จนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้มีพระธุดงค์องค์หนึ่งมาพบและพำนักในวัดพระเจ้าใหญ่อูบมุงและได้บำเพ็ญเพียรภาวนา พระธุดงค์รูปนี้ชื่อว่าพระอาจารย์บุญมา เป็นชาวเวียงจันทร์ พระรูปนี้มีญาติโยมให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ต่อมาพระอาจารย์บุญมาได้พาชาวบ้านบูรณะวัดร้างแห่งนี้ให้เป็นวัดขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีการยกแท่นพระเจ้าใหญ่แล้วซ่อมแซมอุโมงค์ครอบองค์พระขึ้นมาใหม่เป็นรูปสถูปหรือเจดีย์ เสร็จเรียบร้อยแล้วต่อจากนั้นเป็นต้นมามีผู้คนรู้จักและให้ความเคารพศรัทธาพระเจ้าใหญ่อูบมุงเป็นอย่างมากเนื่องมาจากมีความเลื่อมใสศรัทธากันว่าพระเจ้าใหญ่อูบมุงเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งในท้องถิ่นนี้ วัดพระเจ้าใหญ่อูบมุงตั้งเป็นวัดมาเป็นเวลานานมากกว่า ๖๐ ปี จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๔ สมัยพระอธิการลี หรือพระครูโกวิทเขมคุณเป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบล ในสมัยนั้นได้มีการประชุมพิจารณาที่จะสร้างวิหารพระเจ้าใหญ่อูบมุงขึ้นใหม่ โดยมีพระครูวรกิจโกวิท เจ้าคณะอำเภอเขมราฐ เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นพร้อมให้สร้างขึ้นซึ่งมีขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร หลังปัจจุบันโดยมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและงบประมาณในการจัดงานบุญประจำปี และงบประมาณบางส่วนทางราชการได้สนับสนุนอุดหนุนจนแล้วเสร็จ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณล้านเศษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ทำการรื้ออุโมงค์หลังเก่าออก แล้วเปลี่ยนเป็นรูปฉัตรครององค์พระไว้และยกแท่นใหม่ค่าก่อสร้างในครั้งนั้น จำนวน ๑๕.๐๐๐ บาท
ประวัติโดยย่อของพระเจ้าใหญ่อูบมุงที่กล่าวมานี้นับว่าได้เป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งสืบทอดมาจาก ปู่ ย่า ตา ทวด ของชนชาวไทย สมควรยิ่งนักที่อนุชนรุ่นหลังจะได้อนุรักษ์และหวงแหนทะนุบำรุงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาเพื่อให้มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่เคารพสักการะสืบต่อไป
ผู้ให้ข้อมูล พระอธิการสมควร สญฺญโม เจ้าอาวาสวัดอูบมุง
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 เมษายน 2555, 17:22:14 » |
|
เหรียญหลวงพ่ออูบมุงรุ่นแรก ปี 2516 เนื้อทองแดง
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออูบมุง เนื้อทองแดง วัดบ้านอูบมุง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากมาย สร้างเมื่อ พ.ศ.2516 จำนวน 1,000 เหรียญ ส่วนมากแจกให้กับคณะผ้าป่าที่เดินทางไปจาก กทม. และญาติโยมทั่วไป เป็นเหรียญที่หายากมาก และเป็นที่หวงแหนอย่างยิ่งของคนในพื้นที่ เหรียญหลวงพ่ออูบมุงสร้างทั้งหมด 2 รุ่น สำหรับรุ่น 2 สร้าง พ.ศ.2541 ลักษณะคล้ายกัน มีประสบการณ์มากมายทั้ง 2 รุ่นครับ (ข้อมูลจากคำบอกกล่าวของคนในพื้นที่)
หมายเหตุ : เหรียญหลวงพ่ออูบมุงสร้างขึ้นอีกเป็นเหรียญรุ่น3 สร้างปี 2555
ขนาดของเหรียญ(รุ่นแรก ปี 2516) ความสูง 3.20 เซนติเมตร ความกว้าง ส่วนบนกว้าง 1.70 เซนติเมตร ส่วนล่าง(ฐาน)กว้าง 2 เซนติเมตร
เหรียญเนื้อทองแดงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.เนื้อทองแดงผิวไฟ (ไม่รมดำ) (รูปภาพข้างล่างองค์ที่ 1 รูปที่1และ2) 2.เนื้อทองแดงรมดำ (รูปภาพข้างล่าง รูปที่ 3-7)
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 เมษายน 2555, 17:28:03 » |
|
เหรียญลงยาหลวงพ่ออูบมุง รุ่นแรก ปี 2516 สำหรับกรรมการ (สร้างน้อยมาก)
แบ่งออกเป็น 2 บล็อค (สังเกตด้านหลัง)
1. บล็อคด้านหลังขอบเดียว (ขอบเรียบ)(บล็อคนิยม) (เหรียญที่ 1 - สี่ภาพแรก) 2. บล็อคด้านหลังสองขอบ (ขอบยกอีกชั้นหนึ่ง) (เหรียญที่ 2 - สี่ภาพหลัง)
ขนาดของเหรียญ ความสูง 3.20 เซนติเมตร ความกว้าง ส่วนบนกว้าง 1.70 เซนติเมตร ส่วนล่าง(ฐาน) กว้าง 2 เซนติเมตร
|
|
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 เมษายน 2555, 06:23:42 » |
|
เป็นเหรียญเก่าที่น่าเก็บบูชาอีกเหรียญของ จ.อุบลฯ ครับ
|
PN3
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2555, 18:55:46 » |
|
เหรียญหลวงพ่ออูบมุงรุ่น 2 พ.ศ. 2541 เนื้อทองแดง ผิวมันปู
(รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า พระเจ้าใหญ่อูบมุง)
ไม่ทราบข้อมูลการสร้าง (จำนวน) (พระเกจิร่วมบวงสรวงปลุกเสก)......รู้แต่ว่าสุดยอด!
ขนาดของเหรียญ - ใกล้เคียงกับเหรียญรุ่นแรก
จากการสอบถามบุคคลในพื้นที่และผู้รู้ เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากมายคล้ายกับเหรียญรุ่นแรก เนื่องจากพระเกจิแถบลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งพระเกจิที่มีชื่อเสียงแถบอำเภอใกล้เคียงผู้มีวิชาอาคมร่วมบวงสรวงปลุกเสก อนึ่ง หากท่านใดมีข้อมูลการสร้าง ช่วยกรุณาลงรายละเอียดเพื่อเป็นวิทยาทานด้วย จักขอบพระคุณอย่างสูงล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ครับ
|
|
|
|
pap99
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2555, 11:24:52 » |
|
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2555, 22:19:23 » |
|
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
magic
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2555, 00:18:47 » |
|
ล่าสุดดูเหมือนจะมีสร้างเหรียญหลวงพ่ออุบมุงปี๒๕๕๕ด้วยนะครับ
|
|
|
|
คนชอบพระ
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2555, 15:39:47 » |
|
มีเหมือนกัน แต่สึกมากมาย สภาพใช้โชกโชน ผมเก็บมาจากแผงพระตั้งแต่ตอนผมอยู่เมืองอุบลฯ ปี 2531 ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าเหรียญอะไรเหมือนกัน
|
|
|
|
คนชอบพระ
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2555, 16:47:51 » |
|
|
|
|
|
|
|