หลวงพ่อพิบูลย์แห่งมณฑลอุดร ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 16:00:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อพิบูลย์แห่งมณฑลอุดร  (อ่าน 6100 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 10 สิงหาคม 2556, 21:51:40 »

พระพิบูลย์ : ผู้มีบุญหรือนักบุญแห่งอุดรธานี

ประวัติและบทบาทของพระพิบูลย์ถือเป็นหนึ่งในเรื่องราวที่ช่วยสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในด้านศาสนาและสังคมการเมืองของผู้คนที่อยู่ในหัวเมืองอีสาน ที่มีการปะทะกันระหว่างรูปแบบ แนวคิด และเนื้อหาของผู้มาใหม่ (ในฐานะผู้ปกครอง) กับรูปแบบ แนวคิด และเนื้อหาของผู้ที่อยู่มาเดิม (ในฐานะผู้ใต้ปกครอง) เมื่อสยามได้จัดส่งเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นพระสงฆ์เข้าไปดำเนินงานปฏิรูปคณะสงฆ์ในหัวเมืองอีสานภายใต้อำนาจจากพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ซึ่งการเข้ามาบริหารจัดการงานคณะสงฆ์ของรัฐสยามดังกล่าวได้สร้างความเปลี่ยนแปลงและปั่นป่วนแก่ผู้คนในท้องถิ่นเป็นอันมาก และปรากฏการณ์เช่นว่านี้สามารถศึกษาผ่านเรื่องราวการถูกคุมตัวของพระพิบูลย์ในมณฑลอุดร

กรณีการถูกคุมตัวของพระพิบูลย์คงจะเป็นปัญหาเรื่องอธิกรณ์ระหว่างพระสงฆ์ในมณฑลอุดร เกี่ยวกับการตีความเรื่องวัตรปฏิบัติของสงฆ์ว่าแบบใดคือความเป็นสงฆ์ที่ดี แบบใดคือสงฆ์ที่ปฏิบัติชอบ และสงฆ์แบบใดที่รัฐต้องการและอยากให้เป็น โดยเหตุแห่งอธิกรณ์คือสงฆ์ฝ่ายที่อยู่มาเดิม(พระพิบูลย์) มีวัตรปฏิบัติอย่างพระสงฆ์ท้องถิ่น ?พระครองลาว? และก็เชื่อมั่นในวัตรปฏิบัติของตนว่าเหมาะสมและดีงามแล้ว ขณะที่พระสงฆ์ผู้มาใหม่ (เจ้าคณะมณฑลอุดร) นอกจากจะมาพร้อมกับอำนาจและหน้าที่ที่รัฐมอบให้ ยังได้ถือเอาวัตรปฏิบัติของสงฆ์อย่างกรุงเทพฯ มาเป็นเกณฑ์วัดมาตรฐานความเหมาะสม ความดีงามของสงฆ์ในพื้นที่อีกด้วย และความขัดแย้งในอธิกรณ์ดังกล่าวก็จบลงด้วยการที่พระพิบูลย์ถูกคุมตัวไว้จนมรณภาพ

อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของพระพิบูลย์ได้ถูกนำกลับมาฉายซ้ำอีกครั้งอย่างได้ผล โดยไม่ต้องกังวลต่อข้อครหาใดๆ เพราะสำหรับชาวบ้านโดยทั่วไป พระพิบูลย์อยู่ในฐานะทั้ง ?พระนักพัฒนา? และ ?พระนักบุญ? แห่งอำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญสำหรับเรื่องนี้คือพระครูมัญจาภิรักษ์ ในฐานะผู้สืบปณิธานของพระพิบูลย์สำหรับการพัฒนาพื้นที่แถบวัดพระแท่น และใกล้เคียง จนมีการยกฐานะพื้นที่ตำบลบ้านแดงและพื้นที่ใกล้เคียงอีก ๒ ตำบลขึ้นเป็นอำเภอใหม่ในชื่อ ?อำเภอพิบูลย์รักษ์? ตามชื่อของพระนักพัฒนารุ่นแรกและรุ่นหลังใน พ.ศ. ๒๕๔๐

โดย เชิดชาย บุตดี อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
จาก ศิลปวัฒนธรรม กรกฎาคม ๒๕๕๖
ผ่าน ...มติชน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 สิงหาคม 2556, 11:51:02 โดย บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน » บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!