ท่านพนฺธุโล (ดี) พระมหาเถระผู้แรกตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 16:02:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านพนฺธุโล (ดี) พระมหาเถระผู้แรกตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน  (อ่าน 27246 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:18:45 »

ได้ศิษย์เอกชื่อว่ามั่น

มีอยู่ช่วงหนึ่ง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๓๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ออกธุดงค์มาพักที่กุดเม็ก ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านคำบง อำเภอโขงเจียม ออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร
คำว่า ?กุดเม็ก? มาจากคำว่า กุด คือลุ่มน้ำที่ปลายขาดห้วงเรียกปลายกุด และ เม็ก คือต้นสะเม็ก หรือที่เราเรียกว่า ผักเม็ก ยอดสีน้ำตาลอ่อน มีรสฝาด เอามาจิ้มกับน้ำพริก หรือกินกับลาบนั่นเอง
กุดเม็ก เป็นป่าร่มรื่นอยู่ติดกับลำห้วยยาง ที่ไหลลงมาจากภูหล่น มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี แม้ปัจจุบันนี้ชาวบ้านคำบงและหมู่บ้านใกล้เคียง ยังได้อาศัยน้ำที่นี่ดื่มกิน ยามขาดแคลนในหน้าแล้ง
ข้อมูลนี้ได้จากหนังสือของท่านพระครูกมลภาวนากร เจ้าอาวาสวัดภูหล่น ซึ่งท่านได้บรรยายต่อไปว่า กุดเม็กนี้ยังเป็นป่าร่มรื่นดีอยู่ในปัจจุบัน เพราะชาวบ้านคำบงได้เห็นความสำคัญของสถานที่ของพระบูรพาจารย์ จึงได้ร่วมกันอนุรักษ์สถานที่แห่งนี้ไว้
สมัยที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ มาพักบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น กุดเม็กยังเป็นป่ารกชัฏไปตลอดแนวของลำห้วยยาง ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่าพอถึงตอนกลางคืน แถวนั้นดูแสนเปลี่ยวยิ่งนัก ไม่มีใครกล้าเดินเข้าไปหาหลวงปู่ใหญ่คนเดียว ต้องไปกันหลายๆ คน
ท่านพระครูกมลภานากร ได้ให้ข้อสังเกตโดยส่วนตัวของท่านว่า
?ท่านหลวงปู่เสาร์ท่านชอบไปพักที่เป็นสัปปายะใกล้ๆ ลำห้วยลำน้ำเสมอเช่น ที่กุดน้ำใส เขตอำเภอพิบูลมังสาหาร มีส่วนคล้ายคลึงมากกับสถานที่กุดเม็ก คืออยู่ใกล้ลำห้วยเหมือนกัน ยิ่งเป็นวัดดอนธาตุ บ้านทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร ที่ท่านอยู่จำพรรษาหลายปีนั้น เป็นเกาะดอน ตั้งอยู่กลางลำน้ำมูลเลยทีเดียว อากาศร่มรื่นเย็นสบายดี?
ที่เอ่ยถึงบ้านคำบง ข้างต้น พวกเราคงจำได้ใช่ไหมครับว่าเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระป่าในปัจจุบัน
หลวงปู่มั่น ท่านเคยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี ซึ่งตรงกับปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่โบสถ์วัดคำบงโดยมี ญาท่านโครต บ้านตุงลุงกลาง ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านคำบงประมาณ ๓ กม. เป็นบรรพชาจารย์ของท่าน
หลวงปู่มั่นบวชเณรอยู่ได้ ๒ พรรษา เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ปี จึงได้ลาสิกขาเพื่อออกไปช่วยงานทางบ้าน ตามคำขอของบิดา
หลวงปู่มั่น เมื่อวัยหนุ่ม นอกจากจะมีความขยันขันแข็งในการงานแล้ว ท่านยังเป็นหมอลำฝีปากดี ของหมู่บ้านด้วย ซึ่งเล่ากันว่าท่านสามารถลำเดินนิทานพื้นเมืองอิสานได้ไพเราะจับใจผู้ฟังมาก ถึงกับผู้เฒ่าผู้แก่นั่งฟังด้วยน้ำตาซึมไปเลย
ในหนังสือของพระครูกมลภาวนากร เขียนไว้ดังนี้
?ผู้เล่าประวัติ เล่าว่า หลวงปู่มั่น (ตอนเป็นฆราวาสอยู่) พบกับหลวงปู่เสาร์ครั้งแรกที่กุดเม็ก และได้มอบตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่เสาร์ได้ขอเอาหลวงปู่มั่นไปบวชจากโยมพ่อแม่ของท่าน ในสถานที่กุดเม็ก นี้เอง ผู้เล่าเล่าว่าหลวงปู่มั่น เทียวเข้าเทียวออกเป็นประจำ บางคืนก็ไม่กลับเข้าไปนอนที่บ้าน อยู่ฝึกสมาธิกัมมัฏฐานและเพื่ออุปัฏฐากรับใช้ท่านอาจารย์?
ท่านพระครูกมลฯ ได้บันทึกคำบอกเล่าเป็นภาษาอิสานว่า
?เผิ่นนั่นแหล่ว เที่ยวเข้าเทียวออกดู๋กว่าหมู่ ล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำร้อนน้ำอุ่น รับเคนสิ่งของเผิ่นประจำ ฮอดบ่เข้าเมือนอนเฮือน เผิ่นว่าอยู่นั่งหัดกรรมฐาน... กะหลวงปู่เสาร์ นั่นแหล่วชวนเอาเผิ่นไปบวชนำ เผิ่นว่า โตไปบวชกับเฮาเนอ?
และเล่าต่อว่า ท่านหลวงปู่เสาร์ ได้ขอเอาหลวงปู่มั่น กับโยมพ่อโยมแม่ของท่านไปบวชที่กุดเม็ก นี้เอง
ผมขออาสาถอดรหัสออกเป็นภาษาไทยกลาง ความว่า
?ก็ท่าน (หลวงปู่มั่น) นั่นแหละ เทียวเข้าเทียวออกบ่อยกว่าคนอื่น ล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำร้อนน้ำอุ่น คอยประเคนสิ่งของท่านเป็นประจำ ถึงขนาดไม่กลับไปนอนที่บ้าน ท่านว่าอยู่นั่งหัดกรรมฐาน... และก็หลวงปู่เสาร์เองเป็นผู้ชวนให้ท่านบวช ท่านชวนว่า ไปบวชกับเรา เน๊าะ !?

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:19:12 »

และ.. ในปี พ ศ. ๒๔๓๖ เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ บวชเป็นพระได้๑๔ พรรษา ก็ได้นำศิษย์เอกจากบ้านคำบง ที่ชื่อว่า มั่น แก่นแก้ว เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุต ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) โดยมีพระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้รับสมณฉายาว่า ภูริทตฺโต
หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่มั่น ก็ได้ไปพำนักฝึกอบรมด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่วัดเลียบในเมืองอุบลฯ นั่นเอง
ความใกล้ชิดผูกพันระหว่างหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ผู้เป็นอาจารย์กับ หลวงปู่มั่น ผู้เป็นศิษย์ มีความลึกซึ้งเช่นไร ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงได้รับทราบจากหนังสือของท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน กันมาแล้วนะครับ
อ้อ ! ผมไปเจอเกร็ดอีกตอนหนึ่งว่า หลวงปู่มั่นเกือบจะไม่ได้บวชในตอนนั้น พระอุปัชฌาย์จะไม่บวชให้
ท่านพระครูกมลภาวนากร บันทึกคำบอกเล่าอีกตอนหนึ่งว่า
?ท่านอาจารย์ใหญ่ที่อยู่เมืองอุบลฯ (หมายถึงหลวงปู่เสาร์) สั่งลงมาว่า ให้นำผู้ชื่อมั่นขึ้นไปบวช ท่าน (หลวงปู่มั่น) จึงได้ขึ้นไปพร้อมกับคณะญาติพี่น้องของท่าน?
ท่านผู้เล่า ย้ำเป็นภาษาอิสานว่า ?หั่งสิแม่นตัวของเป็นอาจารย์ของเผิ่น เผิ่นถือเป็นอาจารย์ เผิ่นสั่งมาอีกว่า ให้เอาผู้ลำหม่วนๆ นั่นเลอขึ้นมาบวช?
หลวงปู่ใหญ่ ท่านบอกว่า ให้เอาคนที่ลำสนุกๆ (เก่งๆ) นั่นแหละขึ้นมาบวชกับท่าน
เล่ากันว่าหลวงปู่มั่น สมัยเป็นหนุ่มท่านเป็นหมอลำ ลำเดินนิทานพื้นเมืองอิสานได้ไพเราะและกินใจมาก ผู้เฒ่าผู้แก่ฟังแล้วถึงกับน้ำตาไหล และการเป็นหมอลำที่เก่งนี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านเกือบไม่ได้บวชในครั้งนั้น
เรื่องมีอยู่ว่า ในตอนกลางคืนก่อนวันบวช ก็มีมหรสพ คือ มีหมอลำในงานบวชนั้น บังเอิญหมอลำชายไม่มา ผู้เฒ่าผู้แก่และเพื่อนๆได้รบเร้าให้ท่าน (ผมเข้าใจว่าเป็น นาค) ขึ้นไปลำแทน ทนรบเร้าไม่ได้ท่านจึงขึ้นไปลำเพื่อสนองตอบคำเรียกร้องนั้น
ด้วยเหตุการณ์คืนนั้นเอง
?ท่านถูกอุปัชฌาย์ดุเอา จนจะไม่ยอมทำการอุปสมบทให้ และดุพวกญาติโยมที่ยุให้ท่านขึ้นไปลำด้วย จนพระอาจารย์ของท่าน ต้องได้เข้าไปขอขมาโทษแทน พระอุปัชฌาย์จึงยอมทำการอุปสมบทให้?
ท่านพระครูกมลภาวนากร ท่านระมัดระวังในการเขียนมาก ท่านบอกว่าที่ผู้เฒ่าผู้แก่ อายุ ๙๐ - ๑๐๐ ปีกว่า เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง โดยใช้สรรพนามว่า ?อาจารย์ของท่าน? เช่น ?อาจารย์ของท่านได้เข้าไปขอโทษแทน? หรือ ?อาจารย์ของท่าน สั่งลงมาจากเมืองอุบลฯ ให้เอาผู้ชื่อว่ามั่นขึ้นไปบวช? ฯลฯ ท่านอาวุโสที่เล่าเรื่องนี้ไม่ได้ยืนยันและท่านพระครูกมลฯ เอง ท่านก็ไม่กล้าชี้ชัดว่า เป็นหลวงปู่เสาร์ ท่านว่า
?ผู้เขียนเกรงว่าจะเป็นการล่วงเกินพระบูรพาจารย์ เพราะผู้เล่าประวัติก็ไม่ได้ยืนยันชัดเจน...?
นี่คือความระมัดระวังของพระป่า ลูกศิษย์สายหลวงปู่ใหญ่เสาร์- หลวงปู่มั่น อะไรไม่แน่ใจ แม้เพียงเล็กน้อยท่านก็จะไม่ฝืนทำ
ส่วนผู้เขียนเอง (นายปฐม) ไม่มีวินัย ๒๒๗ ข้อ เหมือนกับท่าน อยากจะฟันธงลงไปว่า ?พระอาจารย์ของท่าน? ตามที่กล่าวข้างต้นน่าจะเป็น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั่นเอง ท่านรักลูกศิษย์ของท่านมาก ถึงกับยอมขอขมาแทนลูกศิษย์ จึงได้บวชสมความตั้งใจ
ก็ฝากให้ท่านผู้รู้ช่วยพิจารณาตรงนี้ด้วยครับ !
ในตอนนี้ก็ยังจบลงไม่ได้ ยังมีคำถามคาใจที่ท่านพระครูกมลภาวนากรได้ถามผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ?ใครเป็นครูอาจารย์แต่งกลอนให้ท่าน (หลวงปู่มั่น) ??
ได้รับคำตอบว่า
?ท่านเรียนและค้นคว้าด้วยตัวท่านเอง เพราะเรื่องนิทานต่างๆ มีอยู่ในหนังสือใบลานและสมุดข่อยอยู่ในสมัยนั้นเช่น นิทานเรื่องกำพร้าไก่แก้ว ขุนทึง ขุนเทือง จำปาสี่ต้น ท้าวสุริวงศ์ ท้าวก่ำกาดำ ซึ่งเป็นนิทานพื้นเมืองอิสานที่นิยมกันอยู่ในสมัยนั้น?
ลูกหลานคนอิสานสมัยนี้ ได้มีโอกาสรู้เรื่องนิทานพื้นบ้านดีๆเหล่านี้ไหมหนอ? หรือว่าเรื่องซินเดอเรลล่า เรื่องสโนไวท์ ฯลฯ จะมีคุณค่าน่ารู้มากกว่า

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:19:46 »

วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ

เนื่องจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านชอบที่วิเวก ชอบความสงบ ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ซึ่งเป็นอุปนิสัยประจำองค์ท่าน
ในเวลาต่อมา ที่วัดเลียบมีศิษย์มากเข้า มีพระเณรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงได้หาที่วิเวกแห่งใหม่ และท่านไปพบสถานที่แห่งหนึ่งอยู่ด้านตะวันออกของตัวเมือง ห่างจากวัดเลียบ ประมาณ ๑ กิโลเมตร
สถานที่ตรงนั้นเป็นวัดเก่าแก่ ร้างมานานหลายปี มีโบสถ์หลังเล็กๆ อยู่หลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว แต่พออาศัยเป็นที่บำเพ็ญเพียรได้ หากมีการซ่อมแซมทำความสะอาดขึ้น
ในบริเวณวัดร้างแห่งนั้นมีต้นหนามคอม ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมดไม่มีผู้ใดที่จะย่างกรายเข้าไปในที่แห่งนั้น หลวงปู่ใหญ่จึงหลบจากหมู่คณะออกมาใช้ที่นั่นเป็นที่นั่งสมาธิภาวนาและเดินจงกรม แสวงความวิเวกในเวลากลางวัน พอเห็นลงก็กลับไปประกอบกิจวัตร และพักผ่อนที่วัดเลียบ ตามปกติ
หลวงปู่ใหญ่ หลบผู้คนไปบำเพ็ญเพียรที่โบสถ์ในวัดร้างแห่งนั้นทุกวัน ท่านมุ่งหวังที่จะให้วัดร้างแห่งนั้นถูกสร้างขึ้นมาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อีกแห่งหนึ่ง
หลวงปู่ใหญ่ เล่าว่า
ทุกวันในตอนเช้า เวลาท่านไปถึงและตอนเย็นเวลาท่านจะกลับวัดเลียบ ท่านจะกราบพระประธานในโบสถ์ ทำวัตรสวดมนต์และอธิษฐานจิต ขอให้ผู้มีฤทธิ์ดลบันดาลให้สถานที่แห่งนี้ได้เป็นวัดที่สมบูรณ์ภายในอนาคตอันใกล้นั้น
ในเวลาต่อมา หลวงปู่ใหญ่ได้พาหลวงปู่มั่น ศิษย์ของท่าน ออกแสวงวิเวก ไปภาวนาที่บ้านภูหล่น ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโขงเจียม อยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงคนละฝั่งกับประเทศลาว
เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ออกเที่ยวธุดงค์ไปทางภูหล่น ได้เพียง ๗ วัน พระอาจารย์สีทา ชยเสโน พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงปู่ใหญ่ ก็ได้มาใช้สถานที่ที่วัดร้างแห่งนั้นเป็นที่บำเพ็ญเพียร เพราะเห็นว่าเป็นที่สงบดี
พระอาจารย์สีทา เห็นโบสถ์ร้างแห่งนั้นก็เกิดศรัทธา อยากจะบูรณะสถานที่นั้นขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง
จากวันนั้นเป็นต้นมา ทุกวันที่ท่านไปบำเพ็ญเพียรที่วัดแห่งนั้น ท่านจะเอาศิษย์วัดติดตามไปด้วย ให้เอามีด พร้า จอบ เสียม ไปถางพงไม้ต่างๆ ที่ขึ้นเป็นป่ารกทึบ ทำความสะอาดและซ่อมแซมโบสถ์เพื่อให้สภาพดูดีขึ้น
พระอาจารย์สีทา พาเด็กออกไปถากถางทุกวัน ทำวันละนิดละหน่อย ส่วนตัวของท่านก็ใช้เวลาตลอดทั้งวันบำเพ็ญเพียรโดยการเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิภาวนาบ้าง ตามแบบฉบับของพระกรรมฐาน
อยู่มาวันหนึ่ง เวลาบ่ายคล้อยมากแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น ได้ขี่ช้างออกตรวจรอบเมืองมาพร้อมด้วยทหาร พอมาถึงบริเวณวัดร้างนั้นท่านข้าหลวงได้ยินเสียงคนตัดไม้ หักร้างถางพง ณ สถานที่นั้น
ด้วยความสงสัย จึงใช้ให้ทหารเข้าไปดู แล้วกลับมารายงานว่า
?ญาคูสีทา ท่านให้เด็กถางป่ารอบโบสถ์ร้าง?
ท่านข้าหลวงใช้ให้ทหารวิ่งเข้าไปถามพระท่านอีกว่า
?ท่านญาคูจะอยู่เองหรือ ? ?
ทหารกลับมารายงานตามคำของพระอาจารย์สีทา ว่า
?ถ้ามีคนศรัทธาสร้างวัดให้ก็จะอยู่ ถ้าไม่มีใครสร้างให้ก็จะไม่อยู่?
เมื่อทราบความดังนั้น ท่านเจ้าเมืองก็ไม่ได้พูดอะไร ท่านเดินทางกลับเข้าเมือง
ตกเย็น ท่านพระอาจารย์สีทา ก็พาเด็กเดินทางกลับวัดตามปกติ
พอรุ่งขึ้นเช้าวันใหม่ ท่านข้าหลวงฯ ก็สั่งให้เบิกนักโทษจากเรือนจำทั้งหมด (เรือนจำสมัยนั้นอยู่ตรงที่ตั้งสโมสรข้าราชการในปัจจุบัน) ให้ไปถากถาง และทำความสะอาดบริเวณวัดร้างจนเตียนโล่ง เหลือไว้เฉพาะต้นไม้ใหญ่
จากนั้นมาก็เริ่มต้นสร้างวัดขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า วัดบูรพาราม และเป็นวัดที่มั่นคงเป็นปึกแผ่นมาจนทุกวันนี้
เป็นอันว่าการอธิษฐานจิตของท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล สัมฤทธิ์ผลตามที่ท่านปรารถนาในเวลาไม่นานนัก

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:20:09 »

หลวงปู่มั่นต้องการลาสิกขา

คงอยู่ในราวปี พ ศ. ๒๔๔๐ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระบวชใหม่ อายุพรรษาราว ๔ พรรษา ขณะนั้นท่านพำนักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ท่านเป็นสมภารอยู่
หลวงปู่มั่น ท่านเป็นพระหนุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นภาวนา จิตใจของท่านคงจะยังโลดแล่นคึกคะนองตามธรรมชาติของคนวัยหนุ่มโดยทั่วไป จิตใจยังไม่สนิทแนบแน่นในทางธรรม ท่านเกิดอยากจะลาสิกขาไปครองเพศฆราวาสเป็นกำลัง สุดที่จะหักห้ามจิตใจไว้ได้
หลวงปู่มั่น จึงตัดสินใจเตรียมเสื้อผ้าและเครื่องใช้สำหรับฆราวาสไว้พร้อม รอโอกาสเหมาะสมจึงได้จัดขันดอกไม้ธูปเทียนตามประเพณีเข้าไปแสดงความประสงค์จะขอลาสิกขากับหลวงปู่ใหญ่
จะเป็นด้วยบุญบารมีของหลวงปู่มั่น ที่จำเป็นจะต้องได้บำเพ็ญตนเป็นพุทธสาวกที่สามารถประกาศสัจธรรมได้อย่างกว้างขวาง หรือด้วยการที่หลวงปู่ใหญ่จะสามารถหยั่งรู้จิตใจและอนาคตของศิษย์ หรือด้วยองค์ประกอบทั้งสองอย่าง ก็สุดจะคาดเดา (ผมเชื่อว่า เป็นบุญของพวกเราผู้เป็นศิษย์รุ่นหลานเหลนด้วย ที่จะได้มีครูบาอาจารย์ที่ประกาศสัจธรรมได้ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์)
เมื่อหลวงปู่มั่น เข้าไปบอกความประสงค์จะขอลาสิกขา ปรากฏว่าหลวงปู่ใหญ่ ไม่ได้กล่าวคำทัดทานเลยแม้แต่น้อย ท่านพูดด้วยน้ำเสียงสงบเย็นตามอุปนิสัยของท่านว่า
?ถ้าท่านจะลาสึกก็สึกได้ ไม่ห้ามไม่หวง แต่ผมจะขอร้องและแนะนำท่านสักอย่างว่า การที่เราได้เกิดเป็นมนุษย์ มีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนาเช่นนี้ เป็นของยากเหลือเกิน
ฉะนั้น เมื่อเราได้ลาภอันประเสริฐ ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดเป็นลูกผู้ชายได้บวชครองผ้ากาสายะของพระพุทธองค์อันบริสุทธิ์เช่นนี้แล้ว ขออย่าได้ละโอกาสอันดีงามนี้ให้ล่วงเลยไปโดยปราศจากประโยชน์เลย
การได้มาบวชมาประพฤติธรรมเป็นบารมีของเรา เราอาจจะยังไม่ถึงพร้อมจึงยังไม่สามารถทำให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้แต่ก็ช่วยอบรมบ่มนิสัยในทางที่ดีงามให้แก่เราได้พอสมควร
ในโอกาสที่ท่านจะสึกหาลาเพศออกไปนี้ ผมอยากขอร้องให้ท่านบำเพ็ญเพียรอย่างเต็มที่สัก ๗ วัน เพื่อเป็นการสร้างสมบารมีให้เกิดเป็นอุปนิสัยติดตามตนไป ไม่ว่าจะไปทำอะไรจะได้มีชีวิตที่รุ่งเรืองสดใส
ในช่วง ๗ วันก่อนสึกนี้ ขอให้ท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ขยันเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ใช้ความสามารถทั้งหมดที่มีให้เต็มที่ ระมัดระวังปิดประตูทวารทั้งหมดให้เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
ใช้ความเพียรให้เต็มที่ เพราะเป็นโอกาสสุดท้ายของท่านที่จะทำ ถ้าออกไปครองเพศฆราวาสแล้วไม่สามารถประกอบความเพียรเช่นนี้ได้ ด้วยการครองเพศฆราวาสนั้นมันวุ่นวาย ต้องต่อสู้ดิ้นรนจะหยุดนิ่งไม่ได้ โอกาสทำความเพียรของฆราวาสจึงยากแสนยาก ไม่เหมือนอยู่ในเพศบรรพชิตเช่นนี้
ในช่วง ๗ วันสุดท้ายของการเป็นพระนั้น จึงขอให้ท่านเร่งความเพียรให้เต็มที่เถิด ถือธุดงควัตร ๑๓ ให้เคร่งครัดที่สุด ฉันเอกาเป็นวัตร ถือเนสัชชิก ไม่นอนทอดกายตลอดวันคืน และการเข้าเยี่ยมป่าช้า เป็นต้น
ขอให้ท่านทำตามคำขอร้องของผมอย่างเคร่งครัด เมื่อครบ ๗ วันแล้วเราค่อยมาพูดเรื่องการลาสึกกันใหม่?

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:20:44 »

หลวงปู่มั่นเปลี่ยนใจไม่สึก

เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล แนะนำหลวงปู่มั่น ลูกศิษย์ของท่านแล้ว หลวงปู่มั่น ท่านมีความดีใจมาก เพราะความหวังที่จะได้สึกมาเป็นฆราวาสลอยมาอยู่แค่เอื้อม แค่ ๗ วันเท่านั้นเอง
หลวงปู่มั่น จึงตกลงรับปากกับครูอาจารย์ท่านอย่างแข็งขัน คือทำความเพียรให้เต็มที่เพื่อแลกกับการสึก
หลังจากนั้นหลวงปู่มั่น ก็กราบลาไปเร่งทำความเพียรอย่างเต็มที่ หวังแต่เพียงเพื่อให้เป็นอุปนิสัยปัจจัยต่อไปทั้งในภพนี้และภพหน้า ตามคำที่ท่านอาจารย์ใหญ่บอก
ส่วนหลวงปู่ใหญ่ ท่านก็เร่งทำความเพียรของท่านอย่างไม่หยุดหย่อน คือ ทุกวัน หลังฉันภัตตาหาร ท่านจะหลีกจากหมู่คณะไปบำเพ็ญเพียรที่โบสถ์วัดร้างจนถึงเวลาเย็นจึงกลับวัดตามปกติ
เมื่อครบกำหนด ๗ วันตามสัญญา ท่านก็เรียกหาหลวงปู่มั่น เข้ามาพบ แล้วก็ถามความสมัครใจว่าจะสึกหรือไม่ ถ้าต้องการจะสึกก็จะสึกให้
พร้อมกันนั้น หลวงปู่ใหญ่ ก็พูดในเชิงปรารภว่า
?สมณะหรือนักบวชที่แท้จริง ต้องเป็นผู้ขวนขวายหาที่สงบ เพื่อประกอบความเพียรชำระจิตใจของตน เพื่อทำให้ถึงที่สุดแห่งความทุกข์?
แล้วท่านก็บอกความประสงค์ของท่านว่า ท่านจะออกธุดงค์แสวงวิเวกไปทางภูหล่น ที่นั่นมีภูเขายาวเป็นเทือกโอบล้อมอยู่ มีถ้ำอยู่หลายแห่ง เป็นที่สงบสงัดเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา
หลวงปู่ใหญ่ บอกว่าท่านจะอยู่ที่ภูหล่น สักระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นก็จะออกวิเวกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่กำหนดหมาย สุดแต่ความพอใจและสมควรแก่สถานการณ์
หลวงปู่มั่น รู้สึกตื่นเต้นดีใจที่พระอาจารย์ของท่านบอกความประสงค์เช่นนั้น ประกอบกับช่วง ๗ วันนี้ท่านเร่งประกอบความเพียรอย่างเต็มที่ ถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด เกิดความมั่นใจในทางธรรมขึ้นมาก
หลวงปู่มั่น ได้พิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต หาแก่นสารแท้จริงไม่ได้ ไปหลงยึดถือเอาสิ่งไม่เป็นแก่นสารมาเป็นสาระ จึงได้พากันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏทุกข์อยู่ร่ำไป ไม่มีที่สิ้นสุดคิดแล้วชวนสลดสังเวชเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ท่านจึงเลิกล้มความคิดที่จะสึก และตัดสินใจด้วยตัวท่านเองว่า จะขออยู่ปฏิบัติธรรมในเพศบรรพชิต อย่างมอบกายถวายชีวิตไม่ขอสึกอีกต่อไป
เมื่อหลวงปู่ใหญ่ บอกข่าวเรื่องที่ท่านจะไปภูหล่นและธุดงค์ไปเรื่อยๆ หลวงปู่มั่น จึงขอติดตามไปด้วย
หลวงปู่ใหญ่ ท่านอนุญาต และเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่หลวงปู่มั่นจะได้ถือโอกาสแวะเยี่ยมบ้านเกิดของท่านด้วย
ตั้งแต่นั้นมาทั้งอาจารย์ และศิษย์ คือหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น ก็เที่ยวจาริกธุดงค์ไปด้วยกันหลายถิ่นหลายที่เรื่อยมา

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:21:06 »

ไปบำเพ็ญเพียรที่ภูหล่น

ประมาณปี พ ศ ๒๔๔๐ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลกได้พาศิษย์ของท่าน คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งยังเป็นพระนวกะ บวชได้๔ พรรษา ออกเดินธุดงค์จากวัดเลียบ ในเมืองอุบลราชธานี ไปปฏิบัติภาวนาที่ภูหล่นซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโขงเจียม (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่) จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับฝั่งประเทศลาว
หลวงปู่ใหญ่ ได้พาหลวงปู่มั่น แวะเยี่ยมบ้านเกิดของหลวงปู่มั่นที่บ้านคำบง ซึ่งอยู่ห่างจากภูหล่น ประมาณ ๕ กิโลเมตร เพื่อให้โอกาสลูกศิษย์ได้เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง
เมื่อหลวงปู่ใหญ่ และศิษย์เดินทางไปถึงบ้านคำบง บรรดาเพื่อนฝูงญาติมิตรของหลวงปู่มั่น และพี่น้องชาวบ้านคำบง ต่างพากันมากราบเยี่ยมเยียน ทักทาย โอภาปราศรัย และให้การอุปัฏฐากต้อนรับเป็นอย่างดี
ท่านทั้งสองพักอยู่ที่บ้านคำบง ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ในบันทึกไม่ได้บอกว่ากี่วัน) หลวงปู่ใหญ่ เห็นว่าถ้าพักอยู่นานจะทำให้ศิษย์ของท่านฟุ้งซ่านมากขึ้น ท่านจึงออกอุบายขอร้องให้ชาวบ้านคำบงช่วยนำทางไปยังบ้านภูหล่น เพื่อสำรวจหาสถานที่เหมาะสมในการภาวนา
หลวงปู่ใหญ่เสาร์กับหลวงปู่มั่น ได้มาพักปักกลดที่ภูหล่นและออกสำรวจดูภูเขาหลายลูก ในที่สุดก็ได้กำหนดเอาสถานที่บนหลังเขาภูหล่นเป็นที่พักบำเพ็ญเพียร โดยจะอยู่ประจำสักระยะเวลาหนึ่งที่นานพอสมควร
ภูหล่นเป็นภูเขาที่ไม่สูงนัก ขึ้นลงก็พอดี ไม่ถึงกับลำบาก ที่โคจรบิณฑบาตก็อยู่ไม่ไกล อีกทั้งบริเวณภูหล่นนั้นอากาศดี เหมาะแก่การทำความเพียรอบรมสมาธิภาวนา
(คนไทยแต่ละภาคจะเรียกชื่อภูเขาต่างกัน ภาคอิสาน เรียก ภู ภาคเหนือเรียก ดอย ภาคกลางเรียก เขา และภาคใต้เรียก ควน)
เล่ากันว่า ภูหล่น สมัยนั้นมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ตอนรุ่งเช้าเสียงนกร้องแข่งกับเสียงไก่ป่าขันกันเซ็งแซ่ พอตกตอนกลางคืนบางคืนเดือนมืด ครึ้มฟ้าครึ้มฝน ได้ยินเสียงสัตว์ป่านานาชนิด และเสียงเสือร้องคำราม บางคืนเงียบสงัดน่ากลัวมาก ต้องเข้าที่ภาวนาทั้งคืนไม่ได้หลับนอนเลย
ในบันทึกของท่านพระครูกมลภาวนากร มีดังนี้
?ผู้เล่าประวัติเล่าว่า หลวงปู่มั่น ท่านชอบอากาศบริเวณหลังเขา (หมายถึงบนสันเขา) ท่านนั่งสมาธิ ได้รับความสงบติดต่อกันทั้งกลางวันกลางคืน จนได้เกิดนิมิตและอุคคหนิมิตหลายสิ่งหลายอย่าง ทำให้เกิดปีติดื่มด่ำเปี่ยมล้นท้นจิตใจ อย่างที่ไม่เคยประสบความสุขสงบอันลึกล้ำเช่นครั้งนี้จากที่ไหนมาก่อน จิตใจค่อยถ่ายถอนจากความฟุ้งซ่าน
ท่านได้เข้าไปเรียนให้ท่านพระอาจารย์เสาร์ ทราบถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ ที่ได้รับความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ เกิดขึ้น
ท่านพระอาจารย์เสาร์กล่าวว่า ได้แล้วท่านมั่น ท่านมาบำเพ็ญอบรมสมาธิบนสถานที่แห่งนี้เพียงเวลาไม่นาน ท่านก็ได้กำลังใจที่ตั้งมั่นในสมาธิ และได้รับผลคือเกิดปีติ ความเย็นอกเย็นใจในสถานที่แห่งนี้ ให้ท่านพยายามรักษาความบริสุทธิ์ใจ และกำลังสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นอย่าให้เสื่อม เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับญาติโยม ผมจะรับหน้าที่แทนเอง?

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!