สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ธมฺมธโร พิมพ์ แสนทวีสุข) ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
15 พฤศจิกายน 2567, 00:15:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ธมฺมธโร พิมพ์ แสนทวีสุข)  (อ่าน 15283 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:51:36 »

อดีตเจ้าอาวาส
ชาติภูมิ
     สมเด็จพระมหารีวงศ์ ฉายา ธม.มธโร นามเดิม พิมพ์ นามสกุล แสนทวีสุข เกิดวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา จุลศักราช 1259 ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม 2440 ที่บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดา ชื่อ ทอง แสนทวีสุข โยมมารดาชื่อ นวล แสนทวีสุข สามัญศึกษา ศึกษาอักษรสมัยคือ เรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนวัดบ้านม่วง ตำบลตาลสุม อำเภอพิบูลมังสาหาร  2 ปี ได้ย้ายเข้าไปเรียนต่อ ที่โรงเรียนอุบลวิทยาคม วัดสุปัฎนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จชั้นมูล ข. (เทียบชั้น ม.2 ในปัจจุบัน )เมื่ออายุ 14 ปี
บรรพชา
     เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2457 อายุ 14 ปี บรรพชา ที่วัดสุปัฎนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติส.โส อ้วน) ครั้งดำรงค์สมณศักดิ์ ที่พระราชมุนีเป็นพระอุปัชฌายะ  พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) เป็นบรรพชาจารย์
อุปสมบท 
     วันที่ 19 เมษายน 2460 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา ในลำแม่น้ำมูล ที่บ้านโพธิ์ตาก ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติส.โส อ้วน) ครั้งดำรงค์สมณศักดิ์ ที่พระราชมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีฉายาว่า ธม.มธโร
ศาสนศึกษา
     พ.ศ. 2485 ศึกษาสิกขาของสามเณร บาลี ไวยากรณ์ และความรู้องค์นักธรรมสอบได้บาลีไวยากรณ์ และเรียนมัธยมปแทฎฐกถา สำนักวัดสุปัฎนาราม
     พ.ศ. 2459 สอบได้ความรู้องค์นักธรรมภูมิสามเณร 3 วิชา คือ ธรรมะ ,พุทธ ,กระทู้
     พ.ศ. 2460 สอบได้ความรู้องค์นักธรรมวิชาวินัย สำเร็จภูมินักธรรมชั้นตรี สำนักวัดสุปัฎนาราม
     พ.ศ. 2461 ย้ายเข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานคร
     พ.ศ. 2462 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดบรมนิวาส
     พ.ศ. 2465 สอบได้เปรียญ 3 ประโยค สำนักเรียนวัดบรมนิวาส
     พ.ศ. 2467 สอบได้เปรียญ 4 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
     พ.ศ. 2468 สอบได้เปรียญ 5 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
     พ.ศ. 2469 สอบได้เปรียญ 6 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
วัดที่ได้อยู่พำนัก
     พ.ศ. 2457 ? 2460 เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ศึกษาในวัดสุปัฎนารามอุบลราชธานี
     พ.ศ. 2461 ? 2465 ศึกษาอบรมอยู่ในวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร     
     พ.ศ. 2466ออกไปจำพรรษาที่วัดสุปัฎนาราม อุบลราชธานี1พรรษาแล้วกลับ วัดบรมนิวาส
     พ.ศ. 2466 ปลายปี - 2470 ศึกษาอบรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
     พ.ศ. 2471 ? 2479 ไปปฏิบัติการพระศาสนาที่วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา
     พ.ศ. 2480 ? 2483 ไปปฏิบัติการพระศาสนาที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
     พ.ศ. 2484 ไปจัดการตณะสงฆ์ที่จังหวัดนครจำปาศักดิ์ อาณาจักรลาว แล้วจำ  พรรษาที่วัดแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อทรงพระกรุณาโปรดให้สมเด็จพระมหารีวงศ์ (ติสโส อ้วน)ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุบางเขนทางราชการคณะสงฆ์ได้มีคำสั่งให้เข้ามาอยู่วัดพระศรีมหาธาตุ ในตำแหน่งรองเจ้าอาวาส แต่วันที่ 24 มิถุนายน 2484
งานศาสนศึกษา
     พ.ศ. 2465 เป็นครูสอนปริยัติธรรมแผนกบาลี ในสำนักวัดบรมนิวาสกรุงเทพมหานคร
     พ.ศ. 2466 เป็นครูสอนนักธรรมและบาลี ในสำนักวัดสุปัฎนาราม อุบลราชธานี
     พ.ศ. 2467 ? 2470 เป็นครูสอนนักธรรมและบาลี ในสำนักวัดบวรนิเวศวิหารกรุงเทพมหานคร
     พ.ศ. 2471 ? 2479 เป็นผู้จัดการและเป็นครูสอนนักธรรมและบาลี เป็นครูใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครู พระภิกษุ
                                   ในสำนักวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา
                                  - เป็นอาจารย์ให้การอบรมวิชาศีลธรรมจรรยา แก่นักเรียนประจำโรงเรียนกสิกรรม
                                  - เป็นอาจารย์สอนวิชาธรรมศึกษาแก่คณะครูโรงเรียนสุรนารีวิทยาประจำจังหวัด
                                    นครราชสีมาในปีแรกที่ทางการคณะสงฆ์ประกาศให้ประชาชนสอบธรรมศึกษาได้
     พ.ศ. 2480 ? 2483 เป็นผู้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมและเป็นครูในสำนักวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
     พ.ศ. 2485 เป็นผู้จัดการศึกษาแขนงต่างๆ ในสำนักวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
งานบริหารการ
     พ.ศ. 2471 เป็นผู้แทนรองแม่กองประจำมณฑลนครราชสีมา คณะสงฆ์ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
     พ.ศ. 2474 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา กำกับการคณะสงฆ์ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และเป็นคณาจารย์โทในทางเทศนา
     พ.ศ. 2475 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา นครราชสีมา
     พ.ศ. 2478 เป็นรองเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา
     พ.ศ. 2479 เป็นกรรมการตรวจประโยคบลีสนามหลวง
     พ.ศ. 2480 เป็นพระอุปัชฌาย์
     พ.ศ. 2480 เป็นผู้กำกับการวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
     พ.ศ. 2484 เป็นผู้รับมอบจัดการคณะสงห์ จังหวัดนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
     พ.ศ. 2485 เป็นกรรมการบริหารงานสภาการศึกษาคณะสงค์
     พ.ศ. 2485 เป็นสมาชิกสังฆสภา เป็นพระคณาจารย์เอก และเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน
     พ.ศ. 2486 เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย ภาคเหนือ
     พ.ศ. 2488 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะภาค 4 และเป็นเจ้าคณะอำเภอบางเขน
     พ.ศ. 2489 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะภาค 3
     พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทประจำ
     พ.ศ. 2491 เป็นหัวหน้าคณะกรรมการอบรมศีลธรรม ข้าราชการและประชาชนในเขตภาค 3-4
     พ.ศ. 2494 เป็นสังฆมนตรี และเจ้าคณะธรรมยุต ผู้ช่วยภาค 3-4-5
     พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการบำรุงตึกสามัคคีพยาบาลและผู้อาพาธ
     พ.ศ. 2498 เป็นกรรมการคณะธรรมยุต และกรรมการจัดรายการกระจายเสียงในวัดธรรมสวนะ กรมประชาสัมพันธ์
     พ.ศ. 2499 เป็นเจ้าคณะธรรมยุตภาค 3-4-5
     พ.ศ. 2500 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
     พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม(ก.ศ.ม.)
     พ.ศ. 2503 เป็นรองประธานสังฆสภา
     พ.ศ. 2504 เป็นกรรมการคัดเลือกพระธรรมฑูตไปต่างประเทศ
     พ.ศ. 2505 เป็นหัวหน้าคณะธรรมฑูตไปปฏิบัติการริเริ่มงานพระธรรมฑูตในถิ่นอีสาน
     พ.ศ. 2507 เป็นเจ้าคณะภาค 8-9-10-11 (ธ)
     พ.ศ. 2508 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นรองแม่กองงานพระธรรมฑูตรูปที่ 1 และเป็นหัวหน้าพระธรรมฑูต สายที่ 5
     พ.ศ. 2509 เป็นประธานอนุกรรมการควบคุมการเรี่ยไร
     พ.ศ. 2510 เป็นเจ้าคณะภาค 9-10 (ธ)
     พ.ศ. 2512 เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค คณะธรรมยุต นครราชสีมา
     พ.ศ. 2513 เป็นประธานเจ้าคณะภาค คณะธรรมยุต และประธานการจัดตั้งทุนบำรุงการศาสนศึกษาอีสาน
     พ.ศ. 2514 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งที่ 1)
     พ.ศ. 2515 เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
     พ.ศ. 2516 เป็นเจ้าคณะภาค 9 (ธ)
     พ.ศ. 2516 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งที่ 2)
     พ.ศ. 2516 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งที่ 3)
     พ.ศ. 2517 เป็นแม่กองงานพระธรรมฑูต
งานมหามกุฏราชวิทยาลัย
     พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย
     พ.ศ. 2515 เป็นอุปนายกมหามกุฏราชวิทยาลัย
งานเผยแพร่
     เป็นคณาจารย์เอกในทางเทศนา เอาใจใส่เทศนาสั่งสอนศีลธรรมจรรยาแก่เยาวชนและประชาชนจัดการอบรมศีลธรรมวัฒนธรรมแก่นักเรียน และให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ ได้รจนาหนังสือประเภทธรรมะไว้มาก เริ่มแต่ พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2517 เฉพาะที่จัดพิมพ์เป็นเล่มเผยแผ่ไปแล้ว มีจำนวนหนังสือ 40 เล่ม คือ
1. เจ้าหนี้ของเรา
21. แก่นพระศาสนาและอายุพระศาสนา
2. ลักษณะคนสงบ
22. ถิ่นไทยดี
3. ศาสนาสากล
23. ดวงประทีปแก้ว
4. สมบัติของหัวหน้า
24. วิถีชีวิตของคน
5. บทภาวนา
25. ผีสอนโลก
6. อักษรสาร
26. วิถีชีวิตของคน
7. กั้นร่มพรหม
27. อนามัยแห่งชีวิต
8. คุณสมบัติของครู
28. อนามัยทางใจ
9. ดอกหญ้าทิพย์
29. หกนครอิสระ
10.บทชวนสำนึก
30. น้ำหนักและหญ้าปากคอก
11.โปรดช่วยเตือนข้าพเจ้าด้วย
31. จากปราสาท
12. ลิขิตถึงน้อง
32. ตำราดูลักษณะคน
13. สุขปฏิปทา
33. องคคุณของบุคคลชั้นนำ
14. เทวาสุรสงคราม
34. มงคลยอดชีวิต
15. กรรมานุภาพ
35. โลกานุศาสนี
16. คนงามเพราะแต่ง
36. บทสร้างนิสัย
17. ระลึกชาติแต่หนหลัง
37. ปัณณกเทศนาวิธี
18. ที่พึ่งของเรา
38. สมพรปากท่าน
19. ระเบียบนับถือพระพุทธศาสนา
39. นั่งอยู่ในหัวใจคน
20. กิริยาศิลปะ
40. ธรรมบรรณาการ
     บทความประเภทธรรมกถา ธรรมเทศนาที่เรียบเรียงเสร็จแล้ว แต่ยังมิได้จัดพิมพ์ก็ยังมีอยู่อีกมาก โอกาสดีจะได้จัดพิมพ์เป็นเล่มออกเผยแผ่
งานสาธารณูปการ
     การบูรณปฏิสังขรณ์ การก่อสร้างศาสนสถาน และศึกษาสถาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้เอาใจใส่รับภาระเป็นประธานวางโครงการดำเนินการหาช่าง หาทุน และให้การสนับสนุนจนสำเร็จเรียบร้อยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2508 ถึง  พ.ศ. 2517 มีดังนี้
สร้างและบูรณะศาสนสถานในวัดพระศรีมหาธาตุ
     1. วัดนี้ยังไม่มีศาลาการเปรียญ จึงไม่สะดวกแก่การประกอบศาสนกิจเท่าที่ควร ได้ให้นายช่างเขียนแบบขนาด 80 40 เมตร สูงสองชั้น เห็นว่าเหมาะสมก็ลงมือทำการก่อสร้าง โดยงบประมาณของรัฐบาล และกองสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้ชื่ออาคารนี้ว่า ตึก ?ติสสมหาเถระ?
     2. พระอุโบสถ วิหารคด หลังคารั่ว องค์พระเจดีย์ทรุดโทรมต้องเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างบูรณะให้มีสภาพดีโดยทุนของวัดและศรัทธาประชาชน
     3. ห้องสมุดของวัดคับแคบจึงได้ทำการขยายให้กว้างออกในด้านหลังเพื่อใช้เป็นทั้งหอสมุดและพิพิธภัณฑ์
     4. บูรณะและเสริมสร้างเสนาสนะ 10 หลัง
     5. บูรณะหอวีรชน ซึ่งเป็นที่อาศัยของพระภิกษุสามเณร และเป็นที่บรรจุอัฐิของวีรชนตามเจตนาของผู้สร้าง
     6. สร้างท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาว 1,690 เมตร เพื่อแก้ปัญหาน้ำขังบริเวณวัด ให้ลงสู่แหล่งน้ำใหญ่สะดวก
สร้างและบูรณะศาสนสถานและศึกษาสถานในส่วนภูมิภาค
พ.ศ.2502-2517
     1. ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี ได้แก่ สร้างพระอุโบสถตามแบบแปลนกรมศาสนา โดยศรัทธาประชาชน และก่อสร้างวิหารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว 1 หลัง แทนศาลาการเปรียญที่ถูกไฟไหม้โดยศรัทธาประชาชน ให้ชื่อว่า ?วิหารสมเด็จ?
     2. ที่วัดบ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง อุบลราชธานี ได้ก่อสร้าง?วิหารสมเด็จ? เป็นอาคารคอนกรีตทรงไทย ไว้ประดิษฐานรูปหล่อ ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) โดยศรัทธาประชาชน และสร้างถนนจากตัวเมืองอุบลถึงบ้านแคน มีความยาว 21 กม. โดยความอุปถัมภ์ของ ก.ร.ป.กลาง ทำให้การคมนาคมสะดวกรวดเร็วขึ้น จนถึงบัดนี้
     3. ที่บ้านสนามชัย อำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ราษฎรหลายถิ่นอพยพเข้ามาอยู่ใหม่ทำให้กุลบุตรขาดสถานศึกษา จึงได้สร้างอาคารเรือนไม้ชั้นเดียว จุนักเรียนได้ประมาณ 500 คน
     4. ที่วัดบ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ ได้ทำการก่อสร้าง พระอุโบสถ ตามแบบแปลนกรมศาสนา โดยศรัทธาประชาชนเป็นที่เรียบร้อย
     5. ที่วัดสุปัฎนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี บูรณะพระอุโบสถ หลังใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนายช่างได้ทดสอบละเอียดทุกแง่ทุกมุมแล้ว ปรากฏผลทรุดเอียงมาก ต้องรีบบูรณะ ได้เป็นประธานพร้อมด้วยคณะสงฆ์ และข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน รวมกันเป็นเจ้าของ ปฏิบัติการตามหลักวิชาการของนายช่างเสร็จเรียบร้อย
     6. ที่วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นประธานทำการก่อสร้างโรงเรียน พระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค คณะธรรมยุต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ขนาด 8 x 27 เมตร โดยศรัทธาของสถานีวิทยุ 01 ภาคพิเศษ กองการสื่อสาร กองบินยุทธการ กองทัพอากาศ
     7. ที่วัดเขาไทรสายัณห์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วัดนี้ตั้งอยู่บนภูเขาเป็นสำนักกรรมฐาน เป็นที่สงบสงัดดีมาก ได้รับทุนการก่อสร้างจากคุณนายเล็ก ล่ำซำ สร้างกุฏิที่พัก และเป็นประธานฯประกอบพิธีฉลองผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 30 ? 31 ธันวาคม 2517
สมณศักดิ์
     พ.ศ. 2475 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระญาณดิลก ในรัชกาลที่ 7
     พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในนามเดิม ในรัชกาลที่ 8
     พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชกวี ในรัชกาลที่ 9
     พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพโมลี ในรัชกาลที่ 9
     พ.ศ. 2496 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมปิฎก ในรัชกาลที่ 9
     พ.ศ. 2504 เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ที่พระพรหมมุนี ในรัชกาลที่ 9
     พ.ศ. 2508 เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ในรัชกาลที่ 9
กิจกรรมพิเศษ
          เมื่อเป็นผู้ช่วยและรองเจ้าคณะมณฑลจังหวัดนครราชสีมา ได้ออกจาริกเทศนาสั่งสอนประชาชนตามอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ทุกคราวที่ออกตรวจการคณะแทนเจ้าคณะมณฑลท้องถิ่นนั้นๆ
          เมื่อเป็นเจ้าคณะอำเภอบางเขน ได้ตั้งกรรมการ และเป็นประธานกรรมการจัดการอบรมนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนราษฎร์ในท้องที่อำเภอบางเขนเฉพาะภายในพรรษาและจัดให้นักเรียนแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ในพระราชนิยมเริ่มแต่ พ.ศ. 2490 ถึง 2494
          เมื่อเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการ ทางการคณะสงฆ์ให้เป็นหัวหน้าคณะอบรมข้าราชการประชาชนในเขตภาค 3 และภาค 4 รวม 2 คราว คือ พ.ศ. 2491 และ พ.ศ. 2492
          เป็นหัวหน้าสร้างโรงเรียนประชาบาล บ้านสนามชัย ตำบลโพธิ์ไทรและหัวหน้าสร้างอุโบสถวัดสระแก้ว ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ริเริ่มให้มีประเพณี ?สามัคคีอุโบสถ? ประจำปีที่วัดพระศรีมหาธาตุ โดยกำหนดให้อุบาสก ? อุบาสิกาถิ่นต่างๆ มาประชุมรักษาอุโบสถศีลในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 ทุกปี และอบรมกรรมฐานฟังบรรยายธรรมะสนทนาธรรมะ เริ่ม พ.ศ. 2495 มาจนบัดนี้ ได้จัดตั้งโรงเรียนบาลีมัธยมสมทบสอบ เมื่อ พ.ศ. 2499 สำหรับให้พระภิกษุสามเณรวัดพระศรีมหาธาตุ และวัดใกล้เคียงได้ศึกษาเล่าเรียน
          เป็นประธานกรรมการรวบรวมภาษาถิ่นอีสาน เรียบเรียง จัดการพิมพ์พจนานุกรมถิ่นอีสานและภาคกลางตามปณิธานของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสสมหาเถระ)
          เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมฉลอง  25 พุทธศตวรรษ ณ ราชอาณาจักรลาว เมื่อพ.ศ. 2500
          จัดตั้งหน่วยสงเคราะห์ พุทธมามกะผู้เยาว์ และโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ขึ้นที่วัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อ 14 ธันวาคม 2512 เป็นต้นมา มีเยาวชนผ่านการศึกษาอบรมจนจบหลักสูตรจากหน่วยงานทั้ง 2 นี้ประมาณ 7,500 คน
          สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้สำเร็จภูมิเปรียญธรรม 6 ประโยค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะเป็นลำดับ รับภาระพระพุทธศานา ประกอบศาสนกิจเพื่อให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พุทธจักรและอาณาจักร และรักษาสมณวัตร ระเบียบปฏิบัติประเพณีราชการมาโดยเรียบร้อย
          ในด้านการปกครองดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ เจ้าคณะอำเภอบางเขน ผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา รองเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการภาค 3-4 เจ้าคณะธรรมยุต ผู้ช่วยภาค 3-4-5 เจ้าคณะธรรมยุตภาค 3-4-5 เจ้าคณะภาค 8-9-10-11 สมาชิกสังฆสภา สังฆมนตรี กรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นหัวหน้าพระธรรมฑูตสายที่ 5 เป็นแม่กองงานพระธรรมฑูต และเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช 3 ครั้ง นับแต่รับภารธุระบริหารการคณะมาตลอด 41 ปี ไม่เคยลาออกและลาพัก
          ในด้านการศึกษา เป็นอุทเทศาจารย์สอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง เป็นผู้แทนรองแม่กองธรรมประจำมณฑล อำนวยการสอบและตรวจธรรมสนามหลวงเป็นผู้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นครูใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูพระภิกษุ วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา และจัดตั้งโรงเรียนบาลีมัธยม สมทบสำหรับพระภิกษุสามเณร เป็นกรรมการบริหารงานสภาการศึกษาของคณะสงฆ์สอนศรีธรรมจรรยาแก่นักเรียนและสอนธรรมศึกษาแก่คณะครู ในด้านการเผยแผ่ เป็นคณาจารย์เอกในทางเทศนา เอาใจใส่เทศนาสั่งสอนศีลธรรมจรรยาแก่ประชาชน จัดการอบรมศีลธรรมจรรยาแก่นักเรียน และให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะโดยพระราชนิยม เป็นกรรมการจัดรายการกระจายเสียงในวันธรรมสวนะกรมประชาสัมพันธ์ จัดให้อุบาสก-อุบาสิกามีประเพณี ?อุโบสถสามัคคี? อบรมให้เกิดศรัทธาปสาทะในพระศาสนา และให้ประพฤติปฏิบัติชอบ ตามวัตถุประสงค์แห่งพระศาสนา รจนาหนังสือเกี่ยวกับหลักวิชาและศีลธรรม เช่น สากลศาสนา ปัณณกเทศนาวิธีมงคลยอดชีวิต โลกานุศาสนีบทสร้างนิสัย และเรื่องอื่นอีกมาก พิมพ์แจกจ่ายและอ่านทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ประชาชนได้อ่านและฟังถือปฏิบัติอบรมตนให้เป็นพลเมืองดีเป็นหัวหน้าคณะอบรมข้าราชการและประชาชนในเขตภาค 3-4 รวม 2 ครั้ง
มรณภาพ
     เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เวลา 09.10 น.
 



บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 02:55:43 »



* 49989-1.jpg (96.21 KB, 558x417 - ดู 1917 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ
มองอย่างอินทรีแต่อย่าผยองเหมือนอินทรี
Verified Member
*

พลังน้ำใจ : 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 287

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 71%
HP: 0%



อินทรีย่อมบินเหนือกว่าขุนเขา ไม่มีสิ่งใดที่จะรอดจากสายตามหาอินทร


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 04:40:48 »



* sWkgw1233919451-1.jpg (17.23 KB, 248x310 - ดู 1828 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 12:36:42 »

เยี่ยมครับ

บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!