ชั่วโมงเซียน-อักษรธรรมลาวหลังเหรียญชนะมาร"หลวงปู่คำบุ" ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 10:43:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชั่วโมงเซียน-อักษรธรรมลาวหลังเหรียญชนะมาร"หลวงปู่คำบุ"  (อ่าน 9564 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:32:19 »

"อักษรธรรมลาว" หรือ "อักษรธรรมล้านช้าง" เป็นอักษรที่คนโบราณอีสานใช้จารึกหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา สรรพวิชา ขนบธรรมเนียมและประเพณีต่างๆ ของชาวอีสานเป็นเวลาช้านาน อักษรโบราณอีสานเป็นมรดกทางปัญญา
ที่ปราชญ์โบราณวางเกณฑ์อักษรวิธีเอาไว้เป็นกลางๆ เป็นหนังสือหนังหาเสร็จอยู่ในตัวเอง แม้จะไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์ไว้ครบถ้วนเหมาะสมกับผู้ใช้สามารถผันเอาเองตามต้องการ

 
 นักปราชญ์ทั้งไทยและต่างประเทศยอมรับว่า อักษรธรรมลาวเป็นอักษรที่มีวิวัฒนาการร่วมกับอักษรมอญ และอักษรธรรมล้านนา ใช้ในการเขียนคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในสมัยโบราณ สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ได้ครบถ้วน และใช้ในการเขียนภาษาลาวได้ด้วย แต่ไม่นิยมใช้ อักษรชนิดนี้ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เขียน และกำลังเสื่อมสูญไป จะพบตามคัมภีร์ใบลานเก่าๆ ที่เรียกว่าหนังสือผูก และยังมีใช้อยู่บ้างในองค์กรทางพุทธศาสนาของลาว ในประเทศไทยสามารถพบอักษรชนิดนี้ได้เช่นกัน หากแต่เรียกกันว่า "อักษรธรรมอีสาน" ตามชื่อท้องถิ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
 ในสายสำเร็จลุน จึงร่ำเรียนพระเวทและมีอักขระพระเวทที่เป็นอักษรธรรมลาวมาตลอด และถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปัจจุบันยังได้รับการถ่ายทอดใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เขียนไว้หัวเปลเด็ก คาถาเป่าปลาดุกปัก  คาถาต่อกระดูก เป็นต้น  โดยมีคติความเชื่อกันต่อว่า อักษรธรรมลาว คือ อักษรที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองเรื่องของอักษรโบราณแบบนี้ถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญา และมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้พัฒนามาจากเรื่องศาสนา
 ปัจจุบันนี้พระเกจิอาจารย์ในภาคอีสานรูปหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญอักษรธรรมลาว คือ ?พระครูวิบูลย์นวกิจ? หรือ ?หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต? เจ้าอาวาสวัดกุดชมภู ต.กุดชมพู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่า "ทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง" ในทุกวันอังคาร เสาร์ และอาทิตย์ ท่านจะประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ
 นอกจากนี้แล้วการจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงปู่คำบุ อักขะเลขยันต์ที่ใช้ชะเป็นอักษณธรรมลาวทั้งสิ้น โดยล่าสุดท่านได้จัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลรุ่น ชนะมาร ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางชนะมาร เหรียญรูปไขหลวงปู่คำบุชนะมาร หลังยันต์ (เนื้อทองคำ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะหน้าเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า เนื้อทองเหลือง  เนื้องทองแดง) ตะกรุดชนะมารปราบมารอุดตลอดจารมือ เบี้ยแก้มหากันมหาปราบ และพระกริ่งชนะมาร ทั้งนี้หลวงปู่คำบุเป็นเจ้าพิธีเททองหล่อชนวน แม่พระธรณี ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
 สำหรับตัวอักษาธรรมลาวที่ปรากฏหลังเหรียญชนะมาร สามารถอ่านออกเสียงได้เช่นเดียวกับ อักษรขอม (เขมร) มอญ โดยรวมแล้วเป็นถาคาที่มีพุทธคุณด้สนกันและป้องกันภัย จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่นที่ว่า "ชนะมาร" ซึ่งแต่ละแถวอ่านได้ ดังนี้
 แถวบนสุด เป็นคาถาหัวใจพระแม่ธรณี ที่ว่า ?เม กะ มุ อุ พุทธ ะ สัง มิ?
 แถวที่ ๒  อ่านว่า  ?ภะ ภะ กะ กะ คะ?
 แถวที่ ๓  อ่านว่า ?กัน นะ กัน นา กัน นิ กัน นี?
 แถวที่ ๔  อ่านว่า ?กัน นุ กัน นู กัน นุง กัน โน
 แถวที่ ๕ อ่านว่า ?กัน ใน กัน นัง กัน นะ?
 แถวที่ ๖  อ่านว่า ?เอ กัน นา มะ กัน? เป็นคาถาปราบมาร
 ส่วนปัจจัยที่จัดสร้างนั้นทางวัดจะนำไปสมบททุนสร้างศาลาการเปรียญวัดกุดชมภู ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างแต่ยังไม่แล้วเสร็จ พุทธศาสนิกชนร่วมบุญกับหลวงปู่คำบุได้ที่วัดกุดชมภู โทร. ๐๘-๖๑๖๓-๙๔๓๔, ๐๘-๗๐๑๖-๕๑๒๗ และ ๐๘-๙๖๘๖-๙๘๓๗
ร้อยกรอง ก-ฮ แบบลาว
 สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องภาษานั้น สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยกว่าอักษรธรรมลาว คือ อักษรลาวที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  มีผู้ผูกร้อยบทกลอน คำคล้องจองที่ไพเราะจำขึ้นใจเด็กๆ ให้อ่านให้ท่องกันอีกมากมายหลายสำนวน อย่างสำนวน ? ก เอ๋ย ก ไก่, ข ไข่ในเล้า, ฃ ขวดของเรา...?  เด็กๆ ท่องกันได้ขึ้นใจตั้งแต่ไม่เข้าโรงเรียนด้วยซ้ำ  ของลาวเขาก็มีบทกลอนเช่นกัน  วันนี้ยกมาให้อ่านกันเล่นหนึ่งสำนวนให้เห็นว่า ก ไก่ ก กา เป็นภาษาไทย-ลาวใกล้ชิดกันมานาน.
 ก  กาดำปี้เฮียกชื่อตนเอง                       ข  ขวานสับฟาดฟันมวลไม้
 ค  แคนเข้าหมอลำแสม่วน                    ง  ง้าวงามงาดเงื้อเข่นฆ่าหมู่ศัตรู
 จ  เจียบินเจิดเจ้อเจ้ยซอกแซ่วหาอาหาร   ช  ชายแท้ใจหาญสัตย์ซื่อ
 ย  ยิงจริงแจบแจ้งกิริยาย้อยเงื่องาม         ด  เดือนดูแจ่มแจ้งเมื่อวันเพ็ง
 ต  ตาดีดั่งมณีดวงล้ำ                              ถ ไถนี้ไถนาปลูกหว่าน
 ท  ทุงลาวล้านช้างควรเอื้ออ่มสงวน         น นาบ่อนปลูกข้าวเลี้ยงหมู่มวลมนุษย์
 บ  บาตรมีพระนำพระเที่ยวบิณยามเช้า     ป ปลาเลี้ยงเป็นอาหารได้ง่ายง่าย
 ผ  ไผ่บ้านมีไว้ประโยชน์หลาย                ฝ  ฝนตกผ่างพื้นผลปลูกเงยงาม
 ฟ ไฟนี้มีคุณทั้งโทษ                               พ  พูผากำหนดแนวนทีน้ำ
 ม  แมวหมอบจอบลี้คอยท่าครุบหนู         ย  ยางรถแม่นล้อพาเล่นแวนไว
 ร  รถยนต์ขี่ดีไปฟ้าว                              ล  ลาวกล้ายักษาแดนประเทศ
 ว  วัดมีประโยชน์ไว้คนไหว้สู่วัน               ส  เสียมสับก่นดินเสียหญ้า
 ห  ไหน้ำไหปลาแดกมีคุณ                      อ  แอกสุบคอควายคราดไถนาข้าว
 ฮ  เฮือไม้เฮือเหล็กลอยล่องข้ามแม่น้ำไปได้ดั่งใจ

"อ.โสภณ"


* b24-07-11-16-12-44-1.jpg (129.68 KB, 735x619 - ดู 2099 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!