สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระสุปฏิปันโนผู้ปักธงกรรมฐานกลางมหานค ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 15:58:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระสุปฏิปันโนผู้ปักธงกรรมฐานกลางมหานค  (อ่าน 6396 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 สิงหาคม 2556, 11:07:36 »

เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถร)
เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์
ประธานอุปถัมภ์วัดบ้านเก่าบ่อ


๑. ชาติกาล - ชีวิตปฐมวัย
ชาติภูมิและวงศาคณาญาติฝ่ายโยมบิดาเป็นชาวไร่ชาวนา บ้านเหล่าเขวา ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ)

เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (นามเดิม มา เจ้าคุณอุปัชฌาย์เปลี่ยนให้เป็น มานิต ฉายา ถาวโร ป.ธ.๙) เกิด ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๑๒๗๙ (ร.ศ. ๑๓๖) ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) โยมบิดาชื่อช่วย โยมมารดาชื่อกา สกุล ก่อบุญ เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวนพี่น้อง ๑๑ คน

พ.ศ. ๒๔๗๐ อายุ ๑๐ ปี เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลประจำตำบลหนองแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลาวัดบ้านโคกเลาะ เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ๑ ปลายปีจวนจะสอบไล่ประจำปี แต่มีเหตุจำต้องหยุดการเรียน คือ ถูกครูใหญ่ลงโทษโดยไม่ยุติธรรม ถูกตีจนมือแตก ด้วยความผิดเพียงไม่ไปพบหลังจากให้นักเรียนไปตามตัว ที่ไม่ไปหา หรือไปพบครูใหญ่ไม่ได้นั้น เวลานั้นพักเที่ยง ครูประจำชั้นซึ่งเป็นครูน้อยได้ใช้ให้ไปหายางมะตูม เพื่อมาติดหนังสือที่ขาด เมื่อทำธุระให้ครูน้อยเสร็จแล้ว ก็กลับไปโรงเรียนซึ่งเป็นเวลาเข้าเรียนพอดี จึงไม่สามารถไปพบครูใหญ่ตามคำสั่งที่ให้ไปพบได้เป็นเหตุให้ครูใหญ่ไม่พอใจ จึงได้เรียกไปตีต่อหน้านักเรียนทั้งโรงเรียน ตีจนมือแตกกำไม่เข้า ด้วยความน้อยใจจึงตัดสินใจหนีโรงเรียน ตั้งใจว่าจะเดินทางไปผจญภัยตามยถากรรมทางภาคกลาง แต่ยังไม่ทันได้ไปในขณะนั้น เพราะขาดผู้นำทาง และเพื่อนร่วมเดินทาง ๒. การบรรพชา พ.ศ. ๒๔๗๒ บิดามารดาและญาติพี่น้องนำตัวไปบวชเป็นสามเณรมหานิกาย ที่วัดบ้านบ่อชะเนง ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านนั้นพร้อมกับเพื่อนรุ่นพี่ชื่อชัย มีเจ้าอาวาสวัดนั้นชื่อยาคูโม้เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยที่ไม่ได้เตรียมตัว ทุกอย่างต้องบอกให้ว่าตามทั้งนั้น ขณะที่บวชเป็นสามเณรอยู่วัดนั้นเป็นเวลา ๑ ปี เรียนหนังสือธรรมบ้าง ต่อสวดมนต์เวลาค่ำบ้าง นอกจากนั้น ก็รดน้ำต้นหมาก ต้นมะพร้าว เป็นต้น ไม่เห็นทางที่จะก้าวหน้า แม้ในปีนั้นจะมีการเปิดสอนนักธรรมตรีที่วัดนั้น และที่บ้านใกล้เคียงก็มีสำนักเรียนมูลกัจจายน์ แต่ก็ยังไม่ศรัทธา ไม่มีอุตสาหะ หลังจากออกพรรษาแล้ว ออกเดินธุดงค์ติดตามพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปยังอำเภอบางอำเภอ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๔๗๓ เดินธุดงค์กรรมฐานพร้อมกับคณะโดยผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม ไปยังจังหวัดขอนแก่น จำพรรษาที่วัดป่าช้าเหล่างา ปัจจุบันนี้เรียกว่าวัดป่าวิเวกธรรม ตำบลพระลับ อำเภอเมือง ญัตติเป็นสามเณรธรรมยุตที่นี่ โดยมีอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระอุปัชฌาย์แทนพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ และเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต) ออกพรรษาแล้วเดินธุดงค์กรรมฐาน ไปยังจังหวัดชัยภูมิ กับอาจารย์กรรมฐานผู้เป็นหัวหน้าคณะชื่อท่านอุ่นเนื้อ

พ.ศ. ๒๔๗๔ จำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาเป็นปีที่เริ่มสร้างวัดนั้น ซึ่งหลวงชาญนิคม ผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด ได้นิมนต์ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จากจังหวัดขอนแก่นมาเป็นเจ้าอาวาส และอบรมสั่งสอนประชาชนชาวนครราชสีมาที่นี่ ท่านจึงนิมนต์พระกรรมฐานที่เป็นศิษยานุศิษย์ ให้มาจำพรรษารวมกัน ที่วัดนั้น จึงติดตามอาจารย์อุ่นเนื้อ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นด้วย

พ.ศ. ๒๔๗๕ ออกพรรษาแล้วเดินทางกลับไปเยี่ยมญาติโยม ที่บ้านบ่อชะเนง จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) จากนั้นตั้งใจจะออกธุดงค์กรรมฐาน ติดตามอาจารย์และเพื่อนสามเณรที่แยกย้ายกันไปหลังจากจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันแล้ว พอดีได้ทราบข่าวว่าเพื่อนสามเณร ๒ รูป ที่เข้าป่าออกกรรมฐานล่วงหน้าไปก่อนมรณภาพเพราะไข้ป่า จึงเกิดความคิดว่าเรายังเด็กเกินไปที่จะเข้าป่า ในวัยนี้ควรจะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมดีกว่า จึงตัดสินใจเดินทางไปยังจังหวัดนครพนม เพื่อแสวงหาสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดโพนแก้ว) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เริ่มเรียนปริยัติธรรมที่นั้นเป็นเวลา ๔ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๙ ท่านอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้พบกับ ท่านเจ้าคุณพระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ขณะท่านเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่จังหวัดระยอง ท่านอาจารย์เกิ่ง ได้กล่าวฝากสามเณรกับท่านเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ท่านก็เมตตารับ เมื่อฝากเรียบร้อยแล้ว ท่านอาจารย์เกิ่ง ก็ส่งข่าวไปบอกว่าได้ฝากให้อยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ให้เดินทางลงมาได้เลย โดยกำชับให้พระช่วยอธิบาย เส้นทางการเดินทางและซักซ้อมจนเข้าใจดี จึงพร้อมกับเพื่อนชื่อ สามเณรทองทิพย์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นไพบูลย์ ภายหลังได้กลับไปอยู่สกลนคร สุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระเทพสุเมธี เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโพนเมือง อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) มรณภาพแล้ว) ออกเดินทางจากนครพนม ไปพักที่สกลนคร และเดินทางไปขึ้นรถไฟที่อุดรธานี ในสมัยนั้นรถไฟไม่ได้แล่นรวดเดียวถึงกรุงเทพฯ ต้องแวะพักที่ขอนแก่น และนครราชสีมา เมื่อลงรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพงแล้ว ก็เข้าไปถามตำรวจว่าวัดสัมพันธวงศ์ไปทางไหน เมื่อทราบแล้วก็เดินเท้ามาและแวะถามมาเรื่อย ๆ จนถึงกำแพงวัดก็จวนพลบค่ำ เมื่อเข้ามาในวัดทราบว่าท่านเจ้าอาวาสไม่อยู่ไปประชุม วันนั้นกว่าท่านจะกลับก็ประมาณสี่ทุ่ม พระจึงจัดให้พักที่กุฎีสนประสาท เช้าวันรุ่งขึ้นหลังฉันเช้าแล้ว ก็ไปกราบท่านเจ้าอาวาส เขียนใบรับรอง ท่านก็เมตตาให้ไปอยู่ที่กุฎีนิตยเกษม โดยอยู่ในความกำกับดูแลของท่านเจ้าคุณ พระเนกขัมมมุนี (เฉย ยโส) (ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพปัญญามุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์) จากนั้นก็อยู่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์ตามที่ได้ตั้งใจไว้

๓. การอุปสมบท
อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๒๐ ปี ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยมี ท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสุวรรณรังษี (สุวรรณ ชุตินฺธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระครูปลัด เส็ง ทินฺนวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ภายหลังรับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระเนกขัมมมุนี)

๔. การศึกษา
พ.ศ. ๒๔๗๖ สอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ. ๒๔๘๐ สอบได้ประโยค ป.ธ.๓

พ.ศ. ๒๔๘๑ สอบได้ประโยค ป.ธ.๔ และนักธรรมชั้นเอก

พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบได้ประโยค ป.ธ.๕

พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้ประโยค ป.ธ.๖

พ.ศ. ๒๔๘๘ สอบได้ประโยค ป.ธ.๗

พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบได้ประโยค ป.ธ.๘

พ.ศ. ๒๔๙๙ สอบได้ประโยค ป.ธ.๙

๕. หน้าที่ภายในวัด
พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นครูผู้ช่วยสอนบาลีไวยากรณ์

พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์

พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นครูสอนธรรมบทชั้นต้น

พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นครูสอนธรรมบทชั้น ป.ธ.๓

พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นครูสอน ป.ธ.๔ และเป็นครูสอน ป.ธ.๕-๖ ในปีต่อ ๆ มาจนเป็นครูใหญ่ประจำสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์ เป็นผู้อำนวยการศึกษา เป็นกรรมการสงฆ์ เป็นเลขานุการวัด และเลขานุการกรรมการจัดผลประโยชน์วัดสัมพันธวงศ์

พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับตราตั้งเป็นครูสอนปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์

พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์

พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (๓ กันยายน ๒๕๑๔)

พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นพระอุปัชฌายะวิสามัญ

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระวินัยธรจังหวัด

๖. งานคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นเลขานุการเจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดธนบุรี-นนทบุรี-ปทุมธานี

พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นกรรมตรวจบาลีสนามหลวง

พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระวินัยธรจังหวัด

พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นผู้ช่วยหัวหน้าพระธรรมธรคณะธรรมยุต

พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นรองเจ้าคณะภาค ๘ - ๑๐ (ธรรมยุต)

พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๐ - ๑๑ (ธรรมยุต)

พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค ๙ - ๑๐ - ๑๑ (ธรรมยุต) และเป็นเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธรรมยุต) (๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๙)

๗. สมณศักดิ์
๕ ธันวาคม ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยเมธี

๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชกวี

๕ ธันวาคม ๒๕๑๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพปัญญามุนี

๕ ธันวาคม ๒๕๑๙ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมบัณฑิต

๕ ธันวาคม ๒๕๓๒ได้รับการสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ "พระอุดมญาณโมลี สีลาจารวราภรณ์ สาทรหิตานุหิตวิมล โสภณธรรโมวาทานุสาสนี ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธพจนมธุรธรรมวาที ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจารวัตร พุทธบริษัทปสาทกร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระราชาคณะ"

๘. กิจกรรมพิเศษ
ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครูสอนปริยัติธรรม ที่วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี ๑ปี ปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ ๒ กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ต้องหลบภัยไปพักอยู่ที่วัดดอนโค อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และช่วยสอนปริยัติธรรมที่วัดนั้นเป็นเวลา ๑ ปี เมื่อสงครามโลกสงบลง ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครูสอนปริยัติธรรมที่วัดอาวุธวิกสิตาราม (บางพลัด) ธนบุรี ๒ ปี

ไปบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานแบบยุบหนอ พองหนอและเรียนพระอภิธรรมกับพระอาจารย์พม่า ชื่อภัททันตะ อูวิลาสะ ที่วัดปรก ถนนตก ๒ ครั้ง ๆ ละ ๑ เดือน

เป็นนักศึกษาสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์(ปัจจุบันเป็น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยพุทธศาสนารุ่นแรก เรียนอยู่ ๓ ปี

เป็นกรรมการนำข้อสอบธรรมและบาลีไปเปิดสอบต่างจังหวัดแทนแม่กองธรรมสนามหลวง และแม่กองบาลีสนามหลวง

เป็นผู้แทนไปเปิดปฐมนิเทศพระธรรมทูตประจำจังหวัด สายที่ ๕ แทนเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ อีก คือ

พ.ศ. ๒๕๑๕ ไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล ที่ประเทศอินเดีย

พ.ศ. ๒๕๑๘ ไปนมัสการปูชนียวัตถุ และปูชนียสถานมีพระทันตธาตุ เป็นต้น ที่ประเทศศรีลังกา

พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเป็นมาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นกรรมการตรวจชำระพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎก ถวายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ

พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕

๙. ตำแหน่งปัจจุบัน
- เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

- ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธรรมยุต)

- กรรมการมหาเถรสมาคม

- กรรมการยกร่างกฎมหาเถรสมาคม

- กรรมการพิจารณายกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง

- กรรมการเถรสมาคมธรรมยุต

- กรรมการกองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย

- กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

- ประธานคณะกรรมการศึกษาสงเคราะห์

- ประธานคณะกรรมการพิจารณาตั้งชื่อวัด

- กรรมการพิจารณาศาสนสมบัติกลาง (พศป.)

- อนุกรรมการยกร่างกฎ และระเบียบมหาเถรสมาคม

- กรรมการอำนวยการจัดงานปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ณ พุทธมณฑล

- ประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ มูลนิธิสุจิณโณอนุสรณ์

- ประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ มูลนิธิหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

- ที่ปรึกษาคณะกรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา

- ที่ปรึกษาคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา

- ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการสงฆ์ธรรมยุติภาคอีสาน

- กรรมการกิจการต่าง ๆ ที่มหาเถรสมาคมมอบหมาย

ตลอดช่วงชีวิตกว่า ๙๐ ปีของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มิได้ร้างลาการปฏิบัติวิปัสสนา อันถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งวิถีชีวิตในเพศบรรพชิตที่มีครูบาอาจารย์ สายกัมมัฏฐานอบรมสั่งสอนให้นำแก่นธรรมคำสอนแห่งพุทธองค์ไปปฏิบัติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเน้นการฝึกจิตสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในลักษณะของการภาวนามัยปัญญา ตามแนวทางหลักของพระภิกษุธรรมยุตฝ่ายกองทัพธรรมสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ความเป็นคันธุระและวิปัสสนาธุระ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สามารถผสมผสานและปฏิบัติได้อย่างลงตัวเหมาะสม จนมีคำเรียกขานในศรัทธาชนว่าท่านเป็น กัมมัฏฐานกลางกรุง

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ยังได้ชื่อว่าเป็นพระมหาเถระที่ได้รับการเคารพสักการะจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป เนื่องจากปฏิปทาจริยาวัตรของท่านกอปรด้วยเมตตาธรรมอันเลิศล้ำงดงาม มีวัตรปฏิบัติอยู่ในศีลที่สมบูรณ์ ดำเนินสายกลางพอเหมาะพองาม ไม่ชอบระคนด้วยกลุ่มชนมาก ชอบหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ชอบชีวิตป่าเขาลำเนาไพร

ท่านยังเปี่ยมเมตตาธรรม หากได้สนทนาธรรมกับท่าน สิ่งที่เป็นคำสอนอันสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านจะสอนให้หัดแผ่เมตตา ส่งความปรารถนาดีแก่คน สัตว์ ตลอดไปจนถึงศัตรูหมู่มาร

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.watbankaobo.com/index.php?option=com_content&view=article&id=175:2010-01-03-14-55-42&catid=36


* images-stories-pictures-somdet-278x350.png (155.21 KB, 278x350 - ดู 1232 ครั้ง.)

thxby14540บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2556, 11:12:55 โดย คนโก้ » บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!