อารามบท สมัยก่อนตอนผมเป็นเด็กป่วยอยู่บ่อยๆ พ่อของผมต้องพาผมไปวัดบ่อยๆ ฝากผมไว้ป็นลูกของพระ เเละวัดต้องไปที่วัดป่าไทรงามเสมอ เพื่อไปหา ท่าน หลวงพ่อเอนก
ด้วยเหตุนี้เองพ่อของผมเเละจึงต้องไปวัด จนคุ้นเคยกับท่านหลวงพ่อเอนก ท่านเป็นพระที่ ปฎิบัติดี ปฎิชอบ มีความเป็นกันเอง เรียบง่าย ไม่ถือตัว หลวงท่านพ่อ นับว่าเป็นหนึ่งในศิษย์เอก ของหลวงปู่ชา สุภทฺโท เเห่งวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานีง
ภายวัดป่าไทรงาม ท่านหลวงพ่อเอนก ร่มรื่น เเละสวยงามเเปลกตา เพราะท่านตกเเต่งโดยใช้วัสดุธรรมชาติ หากคุณผ่านมาที่ จ.อุบลราช๋ธานี ต.เมืองเดช อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี อย่าลืมมาเเวะกราบ ท่านหลวงพ่อเอนก เเละมาเยี่ยมชม ความงดงามเเปลกตาของวัดป่าไทรงาม ที่สวยงามไม่เหมือนที่ใดๆ ที่ท่านหลวงพ่อเอนกเเละ พระลูกวัดสรรสร้าง อย่างสร้างสรรค์นะครับ วัดป่าไทรงาม งามธรรมชาติ-ธรรมะก็ยิ่งงาม"วัดแห่งนี้เต็มไปด้วยความร่มรื่นของต้นไม้นานาพันธุ์" เป็นคำกล่าวขานของวัดป่าไทรงาม ตั้งอยู่ ณ บ้านทุ่งไทรงาม หมู่ ๓๕ ต.เมืองเดช อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี เดิมทีวัดแห่งนี้ก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ อาศัยเอาที่ป่าสาธารณะ (ป่าช้า) บ้านตลาดจำนวน ๒๕ ไร่ และเป็นวัดโดยสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ เอนก ยสทินฺโน ด้วยการปฏิบัติจริง ปฏิบัติชอบของหลวงพ่อเอนก จึงเกิดเป็นพลังศรัทธา ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่วัดเป็น ๑๓๐ ไร่
วัดป่าไทรงาม เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท และเป็นวัดสาขาที่ ๑๐ ของวัดหนองป่าพง ที่ยึดถือคำสอนและปฏิบัติธรรมตามแนวทางของหลวงพ่อชา โดยสอนมุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนเกิดปัญญา แก้ปัญหาด้วยตนเอง อาศัยความขยันหมั่นเพียรเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญคือ วัดแห่งนี้ไม่มีเครื่องรางของขลัง ไม่แจกพระเครื่อง หลีกเลี่ยงที่จะรดน้ำมนต์ ไม่มีมหรสพการละเล่นภายในวัดไม่ว่ากรณีใดๆ การทำบุญไม่นิยมการเรี่ยไร ถ้าอยากทำขอให้ทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา
ทั้งนี้ หลวงพ่อเอนกมีแนวคิดจะสร้างวัดให้เป็นสื่อจากการจัดสถานที่ธรรมชาติให้เป็นพุทธสถานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ธรรมะ โดยการตกแต่งบริเวณวัดจากวัสดุที่เป็นธรรมชาติ มาจากธรรมชาติ แต่ไม่รบกวนธรรมชาติ เช่น ใช้รากไม้ ต้นไม้ ตอไม้ ที่ตายแล้วไม่มีประโยชน์มาตกแต่งให้กลับมามีประโยชน์ในทางธรรมะ คือ ให้คนเข้าใจชีวิต เกิดแก่ เจ็บ ตาย สังขารมนุษย์และธรรมชาติ การตระหนักรู้ และการให้คุณค่าแก่ทุกสิ่งเป็นการเคารพธรรมชาติ เคารพตนเอง และเคารพผู้อื่น ใช้หินแกะสลักเป็นรูปร่าง ที่นั่ง อาสนะ มีร่มไทรให้ความร่มรื่น ทุกสิ่งเกิดจากกุศโลบายของพระอาจารย์
หลวงพ่อเอนก บอกว่า วัดแห่งนี้ใช้วิธีสร้างป่าเพื่อดึงคนเข้าวัด เมื่อคนเข้ามาในวัดเริ่มแรกได้พบเห็นธรรมชาติ การจัดแต่งที่สวยงาม น่าประทับใจ น่าเรียนรู้ คนจะเริ่มซึมซับและอยากที่จะรู้มากขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการดึงคนเข้าก่อน แล้วค่อยสอนในขั้นต่อไป กว่าจะมาได้ถึงขนาดนี้ทั้งพระในวัด และชาวบ้านแถบนี้ต้องใช้ความพยายามดูแลเอาใจใส่กันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นช่วยกันดูแลรักษา และการทำนุบำรุง
นอกจากสร้างป่าแล้ว หลวงพ่อเอนก ยังสร้างคน สร้างอนาคต รวมทั้งสร้างชีวิตคนในชุมชนให้ดีขึ้นด้วย คือ ตั้งกองทุนโค-กระบือ เพื่อไถ่ถอนชีวิตโค-กระบือ ให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงเป็นแม่พันธุ์และใช้แรงงาน และกองทุนเพื่อการศึกษาของนักเรียน ตั้งกองทุนธรรมรักษ์ เพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือบุตรหลานของ ตชด. ที่ ๒๒๕ ตั้งกองทุนช่วยเหลือหมู่บ้านพานทอง ตั้งกองทุนเมตตาธรรมสงเคราะห์ชุมชน ตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนตั้งกองทุน ข้าวเมตตาธรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน ให้กู้ยืมข้าวเปลือกในราคาถูก ตั้งกองทุนช่วยเหลือพระภิกษุสงฆ์อาพาธ หรือมรณภาพ รวมทั้งตั้งกองทุนมูลนิธิ ?หลวงพ่อเอนก ยสทินโน? เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน แก่วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม
หลวงพ่อเอนกพูดทิ้งท้ายเป็นคติธรรมไว้อย่างน่าคิดว่า ?คนมีชีวิตอยู่ได้เพราะปัจจัยสี่ ซึ่งล้วนมาจากธรรมชาติมาจากป่าทั้งสิ้น คนเรามีความผูกพันกับต้นไม้และป่าไม้ตั้งแต่เกิดจนถึงวันที่เราละโลกไป ชีวิตของเราทุกคนนั้นทั้งยามหลับและยามตื่นก็อาศัยพืช ต้นไม้ตลอดเวลา แม้ที่สุดของชีวิตในยามเราตายไปก็ต้องอาศัยฟืนถ่านเผาซากศพของเรา เพราะฉะนั้นการสร้างป่า รักษาธรรมชาติ เท่ากับสร้างและรักษาลมหายใจของเราให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้?
วัดป่าไทรงามตั้งอยู่ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๔๗ กิโลเมตร ทางเข้าวัดอยู่เยื้องกับทางเข้าสถานีขนส่งอำเภอเดชอุดม หรือสอบถามเส้นทางไดที่ โทร.๐-๔๕๓๖-๑๒๓๘
พระผู้พลิกฟื้นผืนนาเป็น..."ป่า"
"วัดเป็นทุ่งนา ปกคลุมด้วยความแห้งแล้งไม่มีต้นไม้ เป็นแต่เพียงที่ทิ้งขยะของชุมชนในละแวกนั้น มีแมลงวันและขยะจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งในแต่ละวัน ไม่เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม" นี่เป็นสภาพของวัดเมื่อ ๓๐ ปีก่อน
หลวงพ่อเอนกได้เริ่มปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงา แต่สภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะดินบริเวณวัดเป็นหินเสียส่วนใหญ่ไม่มีน้ำขัง ฤดูแล้งต้นไม้ตายหมด ท่านจึงใช้วิธีการแบบใหม่ คือเริ่มจากการปรับระบบดินให้เป็นดินที่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ทั้งนี้ได้ชักชวนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงทำการคัดแยกขยะ บางอย่างทำลายทิ้ง บ้างส่งไปขาย นำเงินที่ได้เพียงเล็กน้อยมาซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็น แต่สิ่งที่ไม่ได้ซื้อคือแรงงาน กำลังศรัทธาของชาวบ้านที่มาทำบุญและได้รับฟังคำสอนจากพระอาจารย์ เกิดศรัทธาเข้าร่วมแรงร่วมใจ
การปลูกต้นไม้ของหลวงพ่อเอนก เริ่มต้นจากปลูกทุกอย่างที่อยากปลูก เพียงเพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน และเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งไม้ใช้สอยและพืชผักสวนครัว แต่เมื่อสั่งสมประสบการณ์ได้ระยะหนึ่งเริ่มที่จะเข้าใจถึงหลักของธรรมชาติ ทำให้พระอาจารย์ได้เริ่มต้นศึกษาและทดลองอย่างจริงจัง จนเห็นผลและพิสูจน์ได้ คือ ต้นไม้ที่ปลูกต้องเป็นพันธุ์ไม้พื้นถิ่น จึงสามารถอยู่รอด เจริญเติบโตและแข็งแรงในสภาพพื้นที่บริเวณนี้ได้ คือ ต้นไทร จากนั้นก็ปลูกไม้ยืนต้น ไว้ใช้สอย เช่น ไม้ตะเคียน ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้โมง ฯลฯ รวมทั้ง การจัดทำศูนย์เพาะขยายพันธุ์กล้าไม้ขึ้นเองในวัด ปัจจุบันหลวงพ่อเอนกได้ขยายแนวคิดและกิจกรรมการปลูกต้นไม้สู่ ๒๐ วัด และ ๑ โรงเรียนอีกด้วย
?คนมีชีวิตอยู่ได้เพราะปัจจัยสี่ ซึ่งล้วนมาจากธรรมชาติมาจากป่าทั้งสิ้น คนเรามีความผูกพันกับต้นไม้และป่าไม้ตั้งแต่เกิดจนถึงวันที่เราละโลกไป เพราะฉะนั้นกาสร้างป่า รักษาธรรมชาติ เท่ากับสร้างและรักษาลมหายใจของเราให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้?
เรื่อง - ภาพ... " ไตรเทพ ไกรงู"
อ้างอิงจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20101112/79199/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html บรรยากาศภายในวัดป่าไทรงาม
[
ขอบคุณภาพจาก อินเตอร์เนต เเละผู้ที่ถ่ายภาพ เเละเจ้าของภาพทุกๆท่าน