วัดหนองป่าพง ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 18:35:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดหนองป่าพง  (อ่าน 28774 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:34:55 »

ประวัติวัดหนองป่าพง

วัดหนองป่าพง ตั้งอยู่ที่บ้านพงสว่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ไปทางอำเภอกันทรลักษณ์ ตามถนนทางหลวงหมายเลข ๒๑๗๘ ประมาณ ๘ กม. โดยได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๑ ตอนที่ ๗๑ โดยกำหนดเขตกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร มีพื้นที่ป่าภายในเขตกำแพง ๑๘๖ ไร่ ๓ งาน ๙๔ ตารางวา

จุดเริ่มต้นของวัดหนองป่าพง เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ (ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง) พระโพธิญาณเถร(ชา สุภทฺโท) ท่านได้เดินธุดงค์มาถึง "ดงป่าพง"ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านก่อไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๓ กิโลเมตร พร้อมด้วยลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง เมื่อเดินทางมาถึง ก็ได้ทำการปักกลดเรียงรายอยู่ตามชายป่าประมาณ ๕-๖ แห่ง ดงป่าพงในสมัยนั้น มีสภาพเป็นป่าทึบรกร้าง ชุกชุมด้วยไข้ป่า ในอดีตป่าพงเป็นดงใหญ่ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ชาวบ้านเรียกดงดิบนี้ว่า ?หนองป่าพง? เพราะใจกลางป่ามีหนองน้ำใหญ่ที่มีกอพงขึ้นอยู่หนาแน่น ต่อมาบริเวณผืนป่าส่วนใหญ่ถูกทำลายหมดไป ยังคงเหลือเพียงส่วนที่เป็นบริเวณของวัดในปัจจุบันเท่านั้น สาเหตุที่ป่าส่วนนี้ไม่ถูกบุกรุกถากถาง เพราะชาวบ้านเชื่อถือกันว่า มีอำนาจลึกลับแฝงเร้นอยู่ในดงนั้น เพราะปรากฏอยู่เสมอว่า คนที่เข้าไปทำไร่ตัดไม้หรือล่าสัตว์ เมื่อกลับออกมามักมีอันต้องล้มตายไปทุกราย โดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ชาวบ้านจึงพากันเกรงกลัวภัยมืดนั้น ไม่มีใครกล้าเข้าไปทำลาย หรืออาศัยทำกินในป่านี้เลย ดงป่าพงจึงดำรงความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์ ชื่อ ?วัดหนองป่าพง? นี้ เป็นชื่อที่หลวงพ่อคิดตั้งขึ้นเอง โดยอาศัยสภาพภูมิประเทศเป็นหลัก แต่ชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากก็คือ ? วัดป่าพง? โดยระยะแรกๆ หลวงปู่ชา สุภทฺโท และลูกศิษย์ต้องต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวกับไข้ป่า ซึ่งขณะนั้นชุกชุมมาก เพราะเป็นป่าทึบ ยามพระเณรป่วยหายารักษายาก ต้องต้มบอระเพ็ดฉันพอประทังไปตามมีตามเกิด โดยที่ท่านไม่ยอมขอความช่วยเหลือเลย เพราะว่า ท่านต้องการให้ผู้ที่มาพบเห็นด้วยตา แล้วเกิดความเลื่อมใสเอง หลวงพ่อสอนอยู่เสมอว่า พระไปยุ่งกับการหาเงินก่อสร้างวัด เป็นสิ่งน่าเกลียด แต่ให้พระสร้างคน คนจะสร้างวัดเอง

จากวัดเล็กๆที่มีบรรณศาลา (กระท่อม) ไม่กี่หลัง จึงได้มีสิ่งก่อสร้างอันควรแก่สมณวิสัยเพิ่มเติม จนพอแก่ความต้องการในปัจจุบัน ทั้งที่พักอาศัยของภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกาที่มาค้างแรมเพื่อปฏิบัติธรรม กระท่อมชั่วคราว ได้กลายมาเป็นกุฏิถาวรจำนวนมาก ศาลามุงหญ้า ซึ่งเคยใช้เป็นที่ฉันและแสดงธรรม ได้เปลี่ยนมาเป็นศาลาและโรงฉันอันถาวร กำแพงวัด หอระฆังเสนาเสนาะอื่นๆ ได้เพิ่มมากขึ้นจากแรงศรัทธา ความเลื่อมใสนั้นเอง

วัดหนองป่าพงเป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสี เป็นสำนักปฏิบัติธรรม ที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติ อันสงบอันสงัด มีบรรยากาศร่มเย็นเหมาะ แก่การพำนักอาศัยเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม

ชีวิตพระในวัดหนองป่าพง มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การประพฤติพรหมจรรย์์ตามรอยพระยุคลบาท ของพระบรมศาสดา ที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างสงบเงียบ และเรียบง่ายภายในป่า เพื่อค้นคว้าแสวงหาทางพ้นทุกข์ แล้วทรงนำความรู้แจ้งเห็นจริงนั้น มาเผยแผ่เกื้อกูลความสุขแก่มหาชนทั่วไป

การดำเนินชีวิตในวัดหนองป่าพง ยึดหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เป็นแนวทางปฏิบัติฝึกหัดกายวาจาใจในชีวิตประจำวัน เน้นการศึกษาประพฤติ ปฏิบัติให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมทั้งนำธุดงควัตร ๑๓ วัตร ๑๔ และกำหนดกฎกติการะเบียบต่างๆ มาผสมผสานเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการบำเพ็ญสมณธรรมให้ดำเนินไปด้วยดี และมีความละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น

แนวทางการปฏิบัติและธรรมชาติของป่าภายในสำนัก เป็นปัจจัยสำคัญส่งเสริมให้การดำรงชีวิตของพระภิกษุเป็นไปด้วยความเรียบง่ายสอดคล้องกับธรรมชาติ และประสานกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่คณะ ตามแบบของพระธุดงค์กรรมฐาน ผู้มีข้อวัตรปฏิบัติเป็นไปเพื่อขัดเกลาทำลายกิเลสที่ครูบาอาจารย์ได้พาดำเนินมา

จีวรและบริขารอื่นๆ ของภิกษุจะมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งจัดรวบรวมไว้เป็นของสงฆ์หรือของส่วนกลาง มีภิกษุผู้รักษาเรือนคลังสงฆ์เป็นผู้แจกในกาลเวลาที่เหมาะสม การบริโภคอาหารมีเพียงมื้อเดียวตอนเช้า และฉันในบาตร เสนาสนะที่พักอาศัยเป็นกุฏิหลังเล็กๆ ตั้งอยู่ห่างกันในราวป่าท่ามกลางความร่มรื่นแห่งหมู่ไม้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภาวนาได้อย่างสงบ

สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติอันสงบและบริสุทธิ์ของป่า ช่วยให้จิตใจของผู้ประพฤติปฏิบัติได้สัมผัสกับความรู้สึกสงบเย็น สดชื่น เบิกบาน มีอิสระ เป็นความสุขที่ปราศจากความเร่าร้อน กระวนกระวาย เป็นปัจจัยให้เกิดกายวิเวก ความสงบกาย และอุปธิวิเวก ความสงบกิเลส อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการประพฤติพรหมจรรย์ในพุทธศาสนาต่อไป สถาปัตยกรรมที่สำคัญของวัดหนองป่าพง คือ


* 020.jpg (20.27 KB, 165x220 - ดู 2506 ครั้ง.)

* 009.jpg (21.76 KB, 220x147 - ดู 2361 ครั้ง.)

* KWAT1.JPG (8.74 KB, 240x168 - ดู 2355 ครั้ง.)

* Photo024.jpg (15.34 KB, 165x220 - ดู 2591 ครั้ง.)

thxby3974ทิดอ้วน
บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:37:03 »

๑. พระอุโบสถ

เกิดจากแนวความคิดของพระอาจารย์ชา คือ โบสถ์คือบริเวณหรืออาคารที่พระสงฆ์ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม ให้สร้างพอคุ้มแดดคุ้มฝน ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องประดับให้สิ้นเปลืองแต่อย่างใด พระอาจารย์ชา จึงวางหลักในการสร้างอุโบสถดังนี้
๑. ตั้งอยู่บนเนินดินคล้ายภูเขา ให้พื้นโบสถ์ยกลอยสูงขึ้นจากพื้นดิน พื้นโบสถ์ส่วนที่ลอยนี้จะใช้เป็นถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่
๒. ให้เข้ากับธรรมชาติมากที่สุด
๓. เรียบง่าย แข็งแรง ทนทาน ประหยัด
๔. ให้มีขนาดกว้างใหญ่ สำหรับพระภิกษุใช้ร่วมลงสังฆกรรมได้อย่างน้อย ๒๐๐ รูป
๕. ให้มีเครื่องตกแต่งสิ้นเปลืองน้อยที่สุดไม่ควรมีช่อฟ้าใบระกา ไม่ต้องมีผนัง มีประตู หน้าต่าง และฝนสาดไม่ถึง

โดยการก่อสร้างพระอุโบสถหลังนี้ ดำเนินการเขียนแบบโดย อาจารย์บำเพ็ญ พันธ์รัตนอิสระ อาจารย์แผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคโนโลยีและอาชีวศึกษา จ.นครราชสีมา เป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรอำนวยการสร้าง ได้เขียนแบบแปลนโบสถ์ ตามแนวความคิดของหลวงพ่อ ทั้ง ๕ ประการ ถวายแก่หลวงพ่อ โดยไม่คิดค่าเขียนแบบและคำนวณโครงสร้าง สร้างรูปแบบอุโบสถสมัยใหม่ขึ้น มุ่งในประโยชน์ใช้สอย ประหยัด แข็งแรงทนทาน รูปแบบอาคารได้พยายามดึงเอาส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมพื้นเมืองทางอีสานเข้ามาผสมปนเปด้วย เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ทางวัฒนธรรม เสาอาคารและผนังบางส่วนประดับด้วยเครื่องปั้นดินเผาจากบ้านด่านเกวียน โดยมอบให้อาจารย์พิศ ป้อมสินทรัพย์ เป็นช่างปั้นและเผาสุก ภาพปั้นมีทั้งหมด ๘ ภาพ เป็นภาพเกี่ยวกับปูชนียสถานสำคัญทางพุทธศาสนาของประเทศไทย ๔ ภาพ และเป็นภาพปั้นแสดงเรื่องราวของหลวงพ่อที่กำลังธุดงค์อีก ๔ ภาพ โบสถ์หลังนี้จึงมีความแตกต่างจากโบสถ์ทั่วๆไป ดังนี้

๑. พื้นอาสนะอยู่บนเนินดิน สูงจากระดับพื้นดินเดิม ๔ เมตร
๒. ตัวโบสถ์สูงจากเนินดิน ๑๗ เมตร เป็นทรงแหลมหลังคาเป็นโดมสูง ด้านหน้าหลังคา ๓ ชั้น ด้านหลัง ๒ ชั้น ใต้โดมเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน หลังคาคอนกรีตเปลือย
๓. ในเนินดินใต้โบสถ์เป็นถังน้ำขนาดใหญ่ ๒ ถัง ขนาดกว้าง ๕.๕ เมตร ยาว ๕.๕ เมตร สูง ๓.๕ เมตร ทั้งสองถังจุน้ำรวมกัน ๒๑๑,๗๕๐ คิวบิคเมตร มีน้ำพอตลอดฤดูกาล
๔. มีอาสนะ ๓ อาสนะ ใหญ่มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๖๐ ตารางเมตร
๕. ไม่มีฝาผนัง ประตู หน้าต่าง และเครื่องประดับลวดลาย ลดค่าใช้จ่าย การก่อสร้างมุ่งประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ
๖. การไม่มีฝาผนัง ทำให้ทุกคนได้มองเห็น และมีความรู้สึกว่าได้เริ่มพิธีกรรมในโอกาสต่างๆ ด้วยสายตาได้ ทำให้เกิดความปลื้มสบายใจ เพราะได้พบเห็นพิธีกรรมต่างๆ นั้นเอง
๒. เจดีย์พระโพธิญาณเถร

ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างสถาปัตยกรรมอีสานกับ ล้านช้าง ส่วนองค์เจดีย์เป็นบัวเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานกลม ซึ่งเป็นอาคารโบสถ์ มีทางเข้าสี่ทิศ โดยศิษยานุศิษย์หลวงปู่ชา สุภทฺโท ได้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิหลวงปู่ชา ซึ่งท่านได้มรณภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เวลา ๐๕.๒๐ น.

๓. พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร

เป็นอาคารสามชั้นทรงไทยประยุกต์ มีโถงบันไดอยู่ตรงกลาง ชั้นล่างมีตู้แสดงโครงกระดูกมนุษย์อยู่สองข้าง ชั้นสองจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านที่ชาวบ้านนำมาถวายวัด และชั้นสามประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าจริงของหลวงปู่ชา ในท่านั่งอยู่บนเก้าอี้หวายและเครื่องอัฐบริขารของท่าน

๔.หอระฆัง

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหอฉัน ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๑๕ เมตร บนยอดหอระฆังได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เริ่มสร้างปี ๒๕๑๔ เสร็จเรียบร้อยเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๑๗ ตามผนังประดับด้วยภาพปูนปั้น เรื่องราวพุทธประวัติ และสัตว์ที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติของวัดหนองป่าพง เช่น ไก่ป่า กระรอก กระแต ตะกวด อันเป็นความคิดของหลวงพ่อ ปั้นโดย พ่อใหญ่บัวพา วงสิงห์ บ้านกลาง

๕.กุฏิหลวงพ่อ

กุฏิหลังที่สาม เป็นกุฏิที่หลวงพ่อพำนักอยู่นานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๒๔ สร้างถวายโดยคุณครูทองคำ สุพิชญ์ อยู่ทางด้านทิศเหนือของโบสถ์ หลังคามุงสังกะสี บุฝ้าเพดาน ฝาและพื้นชั้นบนเป็นไม้แปรรูป มี ๒ ห้อง พื้นชั้นล่างลาดซีเมนต์เปิดโล่ง หลวงพ่อมักนั่งรับแขกสนทนาธรรม ณ ใต้ถุนกุฏิแห่งนี้เป็นประจำ

๖.กุฏิพยาบาล

เป็นกุฏิหลังสุดท้าย สร้างในปี ๒๕๒๕ สร้างอยู่บนเนินซึ่งขุดดินจากบ่อน้ำข้างๆนั้นขึ้นมาถมที่ให้สูงขึ้น เพื่อให้ได้รับลมตามธรรมชาติ อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในกุฏิออกแบบเป็นพิเศษ ให้มีสภาพคล้ายกับห้องพิเศษของโรงพยาบาล ภายนอกกุฏิปลูกหญ้า จัดสวนหย่อมให้บรรยากาศร่มรื่น หลวงพ่อเมตตาเข้าพำนักตามคำนิมนต์เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖


* 006.jpg (16.6 KB, 220x147 - ดู 2468 ครั้ง.)

* 022.jpg (14.46 KB, 220x184 - ดู 2295 ครั้ง.)

* 017.jpg (20.51 KB, 220x147 - ดู 2042 ครั้ง.)

* 019.jpg (19.48 KB, 165x220 - ดู 2249 ครั้ง.)

* 007.jpg (19.58 KB, 220x147 - ดู 2061 ครั้ง.)

* DSC_77309b.jpg (23.09 KB, 220x168 - ดู 2313 ครั้ง.)

thxby3975ทิดอ้วน
บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:38:19 »

การเป็นอยู่ที่ไม่เสื่อม

ภิกษุ ท.!    ภิกษุทั้งหลาย   จักหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันให้มากพอ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.!    ภิกษุทั้งหลาย   จักพร้อมเพรียงกันเข้าประชุมกัน จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.!    ภิกษุทั้งหลาย   จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักไม่สมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.!    ภิกษุทั้งหลาย   จักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุ พวกที่เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ และตนจักต้องเข้าใจตัวว่าต้องเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้น อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.!    ภิกษุทั้งหลาย   จักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหา ซึ่งเป็นตัวเหตุก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.!    ภิกษุทั้งหลาย   จักมีใจจดจ่อในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.!    ภิกษุทั้งหลาย   จักเข้าไปตั้งสติไว้อย่างมั่นเหมาะว่า ?ทำไฉนหนอ ขอเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ซึ่งมีศีลเป็นที่รัก ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุขเถิด? ดังนี้ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.!    ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมเจ็ดประการเหล่านี้ ยังคงดำรงอยู่ได้ในภิกษุทั้งหลาย และพวกเธอก็ยังเห็นพ้องต้องกันในธรรมเจ็ดประการเหล่านี้ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.


* Wam 16 Jan 2006 (12).JPG (139 KB, 640x480 - ดู 2620 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ตุลาคม 2554, 23:44:24 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:38:47 »

1. พระเณรห้ามขอของแต่คนใช่ญาติใช่ปวารณา และห้ามติดต่อกับคฤหัสถ์ และนักบวชอันเป็นวิสภาคกับพุทธศาสนา
2. ห้ามบอกและเรียนติรัจฉานวิชา บอกเลข ทำน้ำมนต์ หมอยา หมอดู ทำและแจกจ่ายวัตถุมงคลต่าง ๆฯ
3. พระผู้มีพรรษาหย่อน 5 ห้ามไม่ให้เที่ยวไปแต่ลำพังตัวเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือมีอาจารย์ผู้สมควรติดตามไปด้วย
4. เมื่อจะทำอะไรให้ปรึกษาสงฆ์ หรือ ผู้เป็นประธานในสงฆ์เสียก่อน เมื่อเห็นว่าเป็นธรรม เป็นวินัย และจึงทำอย่าทำตามอำนาจตัวเองฯ
5. ให้ยินดีในเสนาสนะที่สงฆ์จัดให้ และให้ทำความสะอาดเก็บกวาดกุฏิ ถนนเข้าออกให้สะอาด
6. เมื่อกิจของสงฆ์เกิดขึ้นให้พร้อมกันทำ เมื่อเลิกให้พร้อมกันเลิก อย่าทำตนให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ คือ เป็นผู้มายาสาไถย หลีกเลี่ยง แก้ตัว
7. เมื่อฉันบิณฑบาต เก็บบาตร ล้างบาตร กวาดวัด ตักน้ำ สรงน้ำ จัดโรงฉัน ย้อมผ้า ฟังเทศน์เหล่านี้ ห้ามมิให้คุยกันพึงตั้งใจทำกิจนั้นจริงๆ
8. เมื่อฉันเสร็จแล้ว ให้พร้อมกันเก็บกวาดโรงฉันให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงกราบพระพร้อมกัน และ นำบริขารของตนกลับกุฏิโดยสงบฯ
9. ให้ทำตนเป็นผู้มักน้อยในการพูด กิน นอน ร่าเริง จงเป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยความเพียร และจงช่วยกันพยาบาล ภิกษุ สามเณร อาพาธด้วยความเมตตาฯ
10. ห้ามรับเงินและทอง และห้ามผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน ห้ามซื้อขายแลกเปลี่ยนฯ
11. เมื่อเอกลาภเกิดขึ้นในสงฆ์หมู่นี้ ให้เก็บไว้เป็นกองกลาง เมื่อท่านองค์ใดต้องการ ให้สงฆ์อนุมัติแก่ท่าน องค์นั้น โดยสมควร
12. ห้ามคุยกันเป็นกลุ่มก้อนทั้งกลางวันและกลางคืนในที่ทั่วไป หรือในกุฏิ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นถึงกระนั้นก็อย่าเป็นผู้คลุกคลีและเอิกเกริกเฮฮา ห้ามสูบบุหรี่ กินหมากฯ
13. การรับและส่งจดหมาย เอกสาร หรือวัตถุต่างๆ ภายนอกห้องแจ้งต่อสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์รับทราบทุกคราวไป เมื่อสงฆ์หรือผู้เป็นประธานสงฆ์เห็นสมควรแล้ว จึงรับส่งได้ฯ
14. พระเณรที่มุ่งเข้ามาปฏิบัติในสำนักนี้ เบื้องต้นต้องได้รับใบฝากจากอุปัชฌาย์อาจารย์ของตน และย้ายสุทธิมาให้ถูกต้องเสียก่อนจึงจะใช้ได้ฯ
15. พระเณรที่เป็นอาคันตุกะมาพักอาศัย ต้องนำสุทธิแจ้งสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์ในคืนแรก และมีกำหนดให้พักได้ไม่เกิน 3 คืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นฯ

ข้อกติกาสงฆ์เหล่านี้เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนสงฆ์มีอำนาจเต็มที่ที่จะบริหาร

ประกาศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2520


* IMG_0100.JPG (194.02 KB, 640x480 - ดู 2595 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ตุลาคม 2554, 23:44:44 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:39:14 »

วัตร ๑๔

วัตร ๑๔ คือ ระเบียบวิธีการปฏิบัติต่างๆในสังคมความเป็นอยู่ของภิกษุ อันส่งเสริมให้การบำเพ็ญสมณธรรม ดำเนินไปด้วยดีและเรียบร้อย

๑. อาคันตุกวัตร หน้าที่ของอาคันตุกะผู้เข้าไปสู่อาวาสอื่น ต้องมีความเคารพต่อสถานที่และประพฤติตัวให้เหมาะสม เช่น ถอดรองเท้า หุบร่ม ห่มเฉวียงบ่า เดินไปหาภิกษุผู้อยู่ในอาวาส ทำความเคารพท่าน ถามถึงที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม น้ำใช้น้ำฉัน ทำความสะอาดที่พักอาศัย และประพฤติตนตามกฎกติกาของวัดเป็นต้น
๒. อาวาสิกวัตร หน้าที่ของเจ้าอาวาส(เจ้าถิ่น)ที่จะต้องปฏิบัติต่อพระอาคันตุกะ เช่น หากภิกษุอาคันตุกะพรรษาแก่กว่ามา ให้ปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร ถวายน้ำฉันน้ำใช้ กราบไหว้ บอกเรื่องต่างๆ เช่นห้องน้ำ ห้องส้วม โคจรบิณฑบาต และกติกาสงฆ์...ฯลฯ
๓. คมิกวัตร หน้าที่ของผู้เตรียมจะไปที่อื่น ก่อนออกเดินทางพึงเก็บเครื่องใช้สอยเช่น เตียง เก้าอี้ เสื่อ หมอน ผ้าห่ม เป็นต้นไว้ให้ดี ปิดประตูหน้าต่าง ฝากหรือคืนเสนาสนะให้ภิกษุสามเณร อุบาสก หรือคนของวัด(ให้)ช่วยดูแลแล้วจึงเดินทาง...ฯลฯ
๔. อนุโมทนวัตร ทรงอนุญาตให้อนุโมทนาในที่ฉัน วิธีอนุโมทนา ให้พระภิกษุผู้เป็นเถระอนุโมทนา หากทายกนิมนต์ภิกษุหนุ่มให้อนุโมทนา ต้องบอกหรือขอโอกาสพระเถระก่อน ในขณะที่ภิกษุอื่นอนุโมทนาอยู่ หากมีเหตุจำเป็นเช่นปวดอุจจาระ ถ้าจะลุกไป ต้องลาพระภิกษุผู้นั่งใกล้ก่อน...ฯลฯ
๕. ภัตตัควัตร ธรรมเนียมในโรงฉัน หรือเมื่อไปฉันในบ้าน ต้องนุ่งห่มให้เรียบร้อย เดินไปตามลำดับอาวุโส ไม่เบียดกัน ปฏิบัติตามเสขิยวัตรทุกข้อ ไม่นั่งเบียดพระเถระ ฯลฯ
๖. บิณฑจาริกวัตร ระเบียบประพฤติในเวลาออกบิณฑบาต ให้ปฏิบัติตามเสขิยวัตร เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย ซ้อนผ้าสังฆาฏิ ห่มคลุมกลัดรังดุม กลอกบาตร ถือบาตรในจีวร กำหนดทางเข้าออก ไม่ยืนใกล้หรือไกลจากผู้ให้นัก อย่ามองหน้าผู้ถวายรูปใดกลับก่อนปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน...ฯลฯ
๗. อรัญญิกวัตร ระเบียบของผู้อยู่ป่า ก่อนออกบิณฑบาตเก็บเครื่องใช้สอยไว้ในกุฏิ ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย จัดหาน้ำใช้น้ำฉันมาเตรียมไว้ เรียนรู้ทิศต่างๆและการเดินทางของดวงดาว เพื่อป้องกันการหลงทาง...ฯลฯ
๘. เสนาสนวัตร วิธีดูแลที่อยู่อาศัย ให้ทำความสะอาดอยู่เสมอ ให้เคลื่อนย้ายบริขารด้วยความระมัดระวังอย่าให้กระทบครูดสีพื้นประตูหน้าต่าง ถ้ากุฏิเก่าให้ซ่อมแซม หากมีลมฝนแรงต้องปิดประตูหน้าต่าง...ฯลฯ
๙. ชันตาฆรวัตร ข้อปฏิบัติในเรือนไฟที่อบกายระงับโรค ทำความสะอาด ตั้งน้ำ ไม่เบียดชิดพระเถระ ไม่กีดกันอาสนะภิกษุหนุ่ม บีบนวดและสรงน้ำแก่พระเถระ...ฯลฯ
๑๐. วัจกุฎีวัตร ระเบียบปฏิบัติในเวลาเข้าส้วม ถ่ายอุจจาระปัสสาวะแล้วต้องทำความสะอาดส้วมให้เรียบร้อย เข้าห้องส้วมตามลำดับที่มาถึงก่อนหลัง พาดจีวรไว้ที่ราวข้างนอก อย่าเลิกผ้าเข้าไป อย่าเบ่งแรง อย่าเลิกผ้าออกมา นุ่งห่มเรียบร้อยแล้วจึงออก ถ้าส้วมสกปรกให้ทำความสะอาด ตักน้ำใส่ไว้ให้เต็ม...ฯลฯ
๑๑. อุปัชฌายวัตร วิธีปฏิบัติของสัทธิงวิหาริก(ลูกศิษย์)ต่ออุปัชฌาย์ เข้าไปรับใช้ถวายน้ำล้างหน้าบ้วนปาก ช่วยนุ่งห่มจีวรให้ ซักผ้า ล้างบาตร ทำความสะอาดกุฏิ รับย่าม ถ้าเดินทางร่วมกับท่าน ไม่ควรเดินใกล้หรือไกลเกินไป ไม่พูดสอดแทรกขณะท่านพูดอยู่ จะทำอะไรต้องถามท่านก่อน จะไปไหนต้องกราบลา ป้องกันอาบัติให้ท่าน เอาใจใส่ยามอาพาธ...ฯลฯ
๑๒. สัทธิงวิหาริกวัตร ข้อที่อุปัชฌาย์จะพึงมีต่อศิษย์ เช่น อนุเคราะห์ด้วยพระธรรมวินัย อบรมสั่งสอนอยู่เนืองๆให้บริขารเครื่องใช้ ถ้าศิษย์อาพาธให้อุปัชฌาย์ปฏิบัติต่อศิษย์ดังในอุปัชฌาย์เช่นกัน เป็นต้น
๑๓. อาจริยวัตร วิธีปฏิบัติต่ออาจารย์ อันเตวาสิก(ศิษย์)ผู้ถือนิสัยอยู่ด้วยอาจารย์ พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ดังอุปัชฌายวัตร
๑๔. อันเตวาสิกวัตร วิธีปฏิบัติต่อ อันเตวาสิก(ศิษย์) อาจารย์ผู้ให้นิสัยพึงปฏิบัติชอบ สงเคราะห์ศิษย์ดังสัทธิงวิหาริกวัตรทุกประการ

?   สำหรับรายละเอียดดูหนังสืออริยวินัย


* IMG_0069.JPG (176.22 KB, 720x480 - ดู 3011 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ตุลาคม 2554, 23:44:59 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:39:39 »

ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าการสอนศิษย์ของหลวงพ่อเน้นเรื่องเอกภาพของมรรค อย่างที่ท่านย้ำอยู่เสมอว่า ศีล สมาธิ และปัญญา แยกออกจากกันไม่ได้ ในการอบรมพระภิกษุสงฆ์ที่เข้ามาบวชที่วัดหนองป่าพง ท่านจึงเอาศีลของสงฆ์ คือ พระวินัยเป็นหลักใหญ่

พระวินัยคืออะไร
พระวินัย คือ ระบบแบบแผนต่างๆ ที่กำหนดความประพฤติ ความเป็นอยู่ และกิจการของสงฆ์ทั้งหมด เป็นสิ่งที่ครอบคลุมชีวิตด้านนอกของภิกษุสงฆ์ทุกแง่ทุกมุม
พระวินัย ประกอบด้วยสิกขาบทต่างๆ มากมาย มีทั้งข้อกำหนด เกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุด้วยกัน ความสัมพันธกับคฤหัสถ์ทั้งหลาย ตลอดจนการปฏิบัติต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ระเบียบว่าด้วยการปกครอง และการดำเนินกิจการต่างๆของสงฆ์ ระเบียบเกี่ยวกับการแสวงหา การจัดทำ เก็บรักษา แบ่งสันปันส่วนปัจจัย ๔ ฉะนั้นเมื่อรวมข้อห้ามและข้ออนุญาตแล้วก็มีมาก จนกระทั่งหลวงพ่อเคยบอกว่านี้ มีเป็นโกฏิเป็นกือ

เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงปรารภในการบัญญัติสิกขาบทแก่สงฆ์มี ๑๐ ประการ
๑.   เพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์
๒.   เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓.   เพื่อกำราบคนหน้าด้านไม่รู้จักอาย
๔.   เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕.   เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน
๖.   เพื่อบำบัดความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในภายหลัง
๗.   เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘.   เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙.   เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐.   เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น

พระวินัยจึงมีอานิสงส์ทั้งในแง่ของการปฏิบัติธรรมส่วนตัวของพระและในแง่ส่วนรวมของสงฆ์


* 08100006.jpg (165.74 KB, 720x477 - ดู 2627 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ตุลาคม 2554, 23:45:25 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:40:34 »

กิจวัตรประจำวัน

เพื่อความเป็นสัมมาปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส และเพื่อสร้างจริตนิสัยอันดีงาม วัดหนองป่าพงจึงกำหนดกิจวัตรประจำวันไว้ดังนี้...
เวลา ๐๓.๐๐ น รวมที่ศาลา นั่งสมาธิ ทำวัตรเช้า
เวลา ๐๕.๐๐น ทำความสะอาดโรงฉัน จัดอาสนะ ออกบิณฑบาต
เวลา ๐๘.๐๐ น รับแจกอาหาร ฉันบิณฑบาต
เวลา ๑๐.๐๐ น ทำความสะอาดโรงฉัน ฟังโอวาท กราบพระพร้อมกัน กลับกุฏิของตน ทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิ
เวลา ๑๔.๐๐ น ทำกิจส่วนรวมพร้อมกัน เช่น ทำความสะอาดศาลา โบสถ ลานวัด ถนน และปฎิสังขรณ์ ซ่อมแซมสถานที่ต่างๆ
เวลา ๑๖.๐๐ น ฉันน้ำปานะ สรงน้ำ เดินจงกรม
เวลา ๑๘.๐๐ น นั่งสมาธิ ทำวัตรเย็น ฟังพระธรรมวินัย
ข้อวัตรปฏิบััติ

ข้อวัตรปฏิบัติ กฎกติกาที่ตั้งไว้ คือทางแห่งมรรคผลนิพพาน
ถ้าใครไปฝ่าฝืนข้อกติกานั้นแล้ว ก็ไม่ใช่พระ
ไม่ใช่คนที่ตั้งใจมาปฏิบัติ
เขาจะไม่ได้พบเห็นอะไรเลย
ถึงแม้จะอยู่กับผมทุกคืนทุกวันก็ไม่เห็นผม
จะอยู่กับพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า...

หลวงปู่ชา

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:41:02 »

ข้อปฏิบัติเพื่อการขูดเกลาหรือกำจัดกิเลส เป็นข้อปฏิบัติอันบุคคลทำได้ยาก เป็นไปเพื่อการขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง (เป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้สมัครใจจะพึงสมาทานตามกำลัง)

หมวดเกี่ยวกับจีวร
๑. การทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (ปังสุกูลิกังคะ) ?เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร?
๒. การทรงเพียงจีวรสามผืนเป็นวัตร ( เตจีวริกังคะ)?ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ ๔ สมาทานการทรงเพียงจีวรสามผืนเป็นวัตร?
หมวดเกี่ยวกับบิณฑบาตและการฉัน
๓. การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ( ปิณฑปาติกังคะ)?ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
๔. การเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร (สปทานจาริกังคะ) ?ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตไป ตามลำดับเป็นวัตร
๕. การนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร. (เอกาสนิกังคะ) คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก ?ข้าพเจ้างดการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานการ...?
๖. การฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร (ปัตตปิณฑิกังคะ) คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน 1 อย่างคือบาตร ?ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานการ...?
๗. การห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร (ขลุปัจฉาภัตติกังคะ) คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉันเป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า ?อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ? แปลว่า ?ข้าพเจ้างดโภชนะอันเกิดภายหลังปลงใจ สมาทานการ...?
หมวดเกี่ยวกับเสนาสนะ
๘. การอยู่ป่าเป็นวัตร (อรารัญญิกังคะ) อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู คือ ๒๕ เส้น คำสมาทานว่า ?คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ? แปลว่า ?ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานการ...?
๙. การอยู่โคนไม้เป็นวัตร (รุกขมูลิกังคะ) คำสมาทานว่า ?ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ? แปลว่า ?ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานการ...?
๑๐. การถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร (อัพโภกาสิกังคะ) คำสมาทานว่า ?ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ มาทิยามิ? แปลว่า ?ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานการ...?
๑๑. การถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร (โสสานิกังคะ) คำสมาทานว่า ?อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ?แปลว่า ?ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานการ...?
๑๒. การถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ (ยถาสันถติกังคะ) คำสมาทานว่า ?เสนาสน-โลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ? แปลว่า ?ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานการ...?
หมวดเกี่ยวกับความเพียร
๑๓. การถือยืน เดิน นั่ง เป็นวัตร (เนสัชชิกังคะ) คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ คำสมาทานว่า ?เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ?แปลว่า ?ข้าพเจ้างดการนอน สมาทานการ...?

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:43:02 »

1. ห้ามคลุกคลีหรือคุยกันเป็นกลุ่มก้อน ทั้งกลางวันและกลางคืน
2. เวลาฉัน ล้างภาชนะ กวาดกราด สรงน้ำ ให้พร้อมเพรียงกัน      ทำด้วยความสงบเรียบร้อยและมีสติ
3. ให้รักษาความสะอาดบริเวณกุฏิ เช่นเก็บกวาด ไล่ปลวก ไล่มด เป็นต้น
4. เป็นผู้มีความสันโดษ มักน้อย ในการกิน การนอน การพูด การร่าเริง เอิกเกริกเฮฮา
5. เมื่อเวลาเอกลาภเกิดขึ้น ให้แบ่งกันบริโภคใช้สอยพอสมควร และเป็นธรรม
6. เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นให้ช่วยกันรักษาพยาบาลด้วยความเมตตาจริงๆ
7. เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาธรรมในเพื่อนชีด้วยกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
8. ต้องเคารพนับถือซึ่งกันและกันตามวัยวุฒิ
9. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอ อย่าให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ
10. ห้ามไม่ให้ชีคนใดคนหนึ่งมีอำนาจปกครองหรือตั้งกติกาใดๆ ด้วยอำนาจตนเอง
11. เมื่อเกิดความขัดข้องประการใดๆ รีบแจ้งให้ประธานสงฆ์ทราบเพื่อที่จะได้แก้ไข
12. เมื่อมาอยู่ในสำนักนี้แล้ว จะไปไหนมาไหนต้องบอกลาประธานสงฆ์ทุกครั้ง
13. กุฏิที่ตนสร้างขึ้น เมื่อจากไปห้ามไม่ให้ถือสิทธิ์ ต้องเป็นหน้าที่ของสงฆ์
14. ห้ามไม่ให้รับแขกที่เป็นเพศชายบนกุฏิของตน เว้นไว้แต่อาพาธเป็นบางครั้ง
15. ห้ามแสดงโฆษณาสิ่งอันไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย เพื่อเห็นแก่อมิส ซึ่งเป็นมิจฉาชีพ เป็นเหตุนำความเสื่อม          เสียมาสู่พระศาสนา
16. ห้ามทำตนเป็นผู้รับใช้คฤหัสถ์ ซึ่งจะเป็นการประทุษร้ายตระกูล
17. มีความเห็นร่วมกัน อย่าวิวาทกับใครๆ เพราะความเห็นผิด
18. ห้ามติดต่อกับภิกษุ สามเณร แม่ชี และคฤหัสถ์ ทั้งในและนอกวัดเว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นที่เป็นธรรม
19. ห้ามสัญจรไปมา เที่ยวเรี่ยไรต่างๆ
20. ห้ามชายที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปพันค้างคืนที่นี่ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นจริงๆ
21. ผู้ประสงค์จะเข้ามาบวชหรือมาอยู่ในสำนักนี้ ต้องมีผู้ปกครองนำมาฝากเป็นหลักฐาน และมีผู้อุปัฏฐากพอสมควร

ถ้าผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกติกานี้ สงฆ์มีอำนาจบริหารได้เต็มที่

ประกาศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2520


* 08070037.jpg (132.1 KB, 720x477 - ดู 2620 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 23:47:19 »

๑.   มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๒.   มีศีลห้าเป็นพื้น
๓.   มีข้อปฏิบัติเป็นศีล๕ หรอศีล ๘
๔.   ไม่ทำความสกปรกและช่วยกันรักษาความสะอาด ในที่อยู่ของตนและเขตส่วนรวม
๕.   ตั้งใจทำความเพียร
๖.   ช่วยเหลือกิจของสงฆ์ตามสมควรแก่กรณี

?แดนเคารพ?

พุทธศาสนิกชน ทุกเพศ ทุกวัย
เพื่อหายพยศ ลดมานะ ละทิฐิ
- ไม่มีกิจจำเป็น ห้ามเข้าไปคลุกคลีในกุฏิกับภิกษุและสามเณร
- ต้องถอดหมวก ถอดรองเท้าก่อน จึงเข้าไปในวัดด้วยอาการสำรวม
- จงสงบ กาย วาจา ใจ ให้มาก อย่าคะนองปาก มือ และเท้า
- ห้ามเปิดวิทยุ และ การละเล่นต่างๆ ภายในบริเวณวัด
- ห้ามนำสุราเข้ามาดื่ม และนำสัตว์มีชีวิตเข้ามาทำอาหารในบริเวณวัด
- ห้ามเก็บผลไม้ และเข้ามากินในวัด จะเป็นการก่อกวนความสงบ
- ห้ามขับรถเข้าออก เร็วเกินควร เพราะเสียงจะรบกวนผู้กำลังปฏิบัติ
- ต้นไม้ และสัตว์ป่า เป็นสมบัติอันล้ำค่า จงช่วยกันรักษาเพื่อลูกหลาน


* IMG_0733.jpg (198.42 KB, 640x480 - ดู 2616 ครั้ง.)

* IMG_0065.JPG (191.05 KB, 720x480 - ดู 2567 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2554, 08:41:00 »

ยอดเยี่ยมจริงๆครับ

thxby4016ทิดอ้วน
บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
ck2425
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 9
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 34

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 71%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2554, 09:58:22 »

ข้อมูลสุดยอดครับ

บันทึกการเข้า
ChayTurbo
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 56
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 9 : Exp 83%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2554, 20:17:57 »

  ขอบคุณครับ เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ  

thxby4105ทิดอ้วน
บันทึกการเข้า
nitipong
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 1 : Exp 20%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: 15 มีนาคม 2557, 20:49:53 »



ขอบคุณมากครับ




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!