ประวัติโดยสังเขป หลวงปู่คำคนิง จุลมณี (สนฺจิตโต)
?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
09 เมษายน 2568, 01:38:13
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง
|
พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี
|
แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ
|
วิธีสมัครสมาชิกเว็บ
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
>
ห้องพระ
>
พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร
(ผู้ดูแล:
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
,
คนโก้
,
vs12
,
ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
) >
ประวัติโดยสังเขป หลวงปู่คำคนิง จุลมณี (สนฺจิตโต)
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: ประวัติโดยสังเขป หลวงปู่คำคนิง จุลมณี (สนฺจิตโต) (อ่าน 9456 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนโก้
Global Moderator
พลังน้ำใจ :
687
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 678
Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com
Level 21 : Exp 12%
HP: 0%
"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"
ประวัติโดยสังเขป หลวงปู่คำคนิง จุลมณี (สนฺจิตโต)
«
เมื่อ:
30 สิงหาคม 2555, 06:38:50 »
ประวัติโดยสังเขปหลวงปู่คำคนิง จุลมณี (สนฺจิตโต)
วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ตำบลบ้านด่าน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ชาติกำเนิด
หลวงปู่คำคนิงเกิดวันพุธ เดือน ๔ ปีกุน ที่บ้านหนองบัว แขวงคำม่วน ประเทศลาว บิดาชื่อคุณพ่อคินทะโนราช มารดาชื่อคุณแม่นุ่น มีพี่น้อง ๕ คน หลวงปู่เป็นคนที่ ๓ ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว
ชีวิตการครองเรือน
เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ได้มีครอบครัวและมีบุตรด้วยกัน ๒ คน ชีวิตการทำงานเริ่มแรกท่านทำงานเป็นหัวหน้ากรมโยธา ทำงานได้ ๘ ปี ก็เกิดเบื่อหน่าย หันมายึดอาชีพค้าขายประมาณ ๖ ปี ท่านเกิดเบื่อหน่ายในชีวิต เห็นว่า ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ได้แต่คิดทบทวนชีวิตของท่าน ตั้งแต่เล็กเคยอยู่กับพ่อแม่ ได้รับทั้งความรักความอบอุ่น จนกระทั่งเข้าสู่วัยหนุ่ม ต้องออกมาต่อสู้กับโลกภายนอกและรับผิดชอบหน้าที่การงาน เลี้ยงดูบุตรและภรรยา เห็นว่าชีวิตนี้ไม่มีความแน่นอน รู้สึกเบื่อและคิดจะบวชเพื่อเลี้ยงดูบิดามารดา ท่านได้ไปปรึกษาภรรยาและจอบวชเป็นเณรสัก ๗ วัน ภรรยาก็เห็นดีเห็นงาม ตกลงให้ท่านบวชทดแทนคุณบิดามารดาที่เคยเลี้ยงดูมา ในขณะที่ท่านบวชเณรอยู่ ท่านฝันไปว่าเห็นมารดามาบอกว่าอย่าได้สึกเลย เพราะว่ามารดาที่ตายไปนั้นถูกจ่ายมบาลคุมขังเอาไว้ได้รับทุกขเวทนามาเป็นเวลานาน เพิ่งจะได้รับการพ้นทุกข์เพราะอานิสงค์ของการบวชเณรของลูกในคราวนี้เอง ท่านตกใจตื่นจึงนอนคิดทบทวนความฝันนั้นแล้วคิดสังเวชสงสารมารดา คิดในใจว่าจะบวชต่อไปไม่สึก รุ่งเช้าจึงนำความฝันไปเล่าให้ภรรยาฟัง และจะขอบวชต่อไปอีก แต่ภรรยากลับหาว่าท่านคิดเอาตัวรอดผู้เดียว ไม่ยอมรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งลูกๆก็ยังเล็กอยู่ ท่านพยายามหาทางออกโดยพูดกับภรรยาว่าจะหาสามีใหม่ให้ ทั้งสองตกลงกันไม่ได้ ผลสุดท้ายท่านหมดหนทาง เพราะทนการอ้อนวอนขอร้องจากภรรยาที่คอยติดตามไม่ไหว ท่านจึงตัดสินใจสึกจากเณรมาทำมาหากิน ส่งเสียเลี้ยงดูภรรยาอีกวาระหนึ่ง แต่กระนั้นความตั้งมั่นในการบำเพ็ญธรรมของท่านหาได้มีลดละความพยายามไม่
หลังจากท่านไปทำงานเป็นกิจวัตรประจำวันแล้ว ท่านจะมานอนที่วัดปฏิบัติธรรมสมาธิเป็นประจำ บ้านเรือนที่เคยอาศัยก็ปล่อยให้ภรรยาและลูกๆอยู่กัน เงินทองที่หามาได้ก็ส่งเสียเลี้ยงดูไม่ให้ขาดแคลนเดือดร้อนอะไร จนกระทั่งลูกๆได้เติบโตพอที่จะช่วยแม่ทำงานได้ เหตุนี้เองทำให้ภรรยาเบื่อหน่ายและหมดอาลัยตายอยากในตัวท่าน จึงได้เอ่ยปากบอกกับท่านว่า เมื่ออยากจะบวชก็ไป ไม่ต้องมาห่วงทางครอบครัว ลูกๆก็โตแล้ว พอจะช่วยทำการงานได้ ท่านจึงตัดสินใจไปบวชด้วยความหมดห่วง
ชีวิตเข้าสู่การบำเพ็ญเพียรธรรม
หลังจากได้ตกลงใจจะบวชในครั้งที่สองนี้ ท่านได้ไปเป็นโยมอยู่ที่วัดพระอาจารย์สีทัต ที่เมืองท่าอุเทนกับเพื่อนอีก ๒ คน แต่แล้วก็ผิดหวังเพราะพระอาจารย์สีทัตกลับปฏิเสธไม่ยอมรับเป็นศิษย์ แต่กลับแนะนำให้เดินทางไปหาอาจารย์เหม่ย ท่านและเพื่อนร่วมเดินทางจึงได้กราบลาพระอาจารย์สีทัตเดินทางไปหาพระอาจารย์เหม่ยตามคำแนะนำ
พบพระอาจารย์เหม่ย ผู้ทรงวิชาอันแก่กล้า
เมื่อถึงที่อยู่ท่านพระอาจารย์เหม่ยท่านและเพื่อนทั้งสองก็เข้าไปกราบนมัสการกราบเรียนขอเป็นศิษย์ โดยเล่าความเป็นมาให้พระอาจารย์เหม่ยทราบโดยตลอด เมื่อพระอาจารย์เหม่ยฟังความก็กล่าวว่า ?ได้ถ้าจะมาเป็นศิษย์ แต่ว่าพวกเจ้าที่มาหาอาจารย์ทั้งสามคนนี้จะต้องตายหนึ่งคน มีใครกลัวตายไหม? พระอาจารย์เหม่ยกล่าว แล้วถามไปทีละคนปรากฏว่าเพื่อนทั้งสองที่มาด้วยกัน บอกว่ากลัวตายกัน แต่หลวงปู่คำคนิงนิ่งเงียบไม่ตอบ ท่านอาจารย์จึงเอ่ยปากถามว่า ?แล้วเจ้าเล่าไม่กลัวตายหรือ? ท่านตอบว่า ?ไม่กลัวตาย? ผลสุดท้ายเพื่อนที่มาด้วยกันสองคนถูกพระอาจารย์เหม่ยไล่กลับไม่รับเป็นศิษย์ ต่อมาได้มีโยมมาร่วมด้วยหนึ่งคน โยมคนนี้ไม่กลัวตายเหมือนหลวงปู่คำคนิง ก็ได้อยู่เป็นเพื่อนร่วมปฏิบัติธรรมด้วยกัน พระอาจารย์เหม่ยให้ศิษย์ทั้งสองฝึกธรรมสมาธิกันอย่างหนัก แม้เวลาจะนอนก็ไม่ให้หลับ โดยใช้ลูกมะพร้าวเป็นหมอนหนุนหัวแทน ทั้งสองก็ปฏิบัติตามครูบาอาจารย์สั่งทุกอย่าง การเพียรธรรมของศิษย์พระอาจารย์เหม่ยนี้ต้องลำบาก เดียวกันต้องเอาชีวิตมาทิ้งในขณะนั่งทำสมาธิ หลวงปู่ท่านเพียรธรรมกับพระอาจารย์เหม่ยจนแก่กล้าและชำนาญในการเข้ากรรมฐานจนครบทุกอย่าง ท่านพระอาจารย์เหม่ยก็อนุญาตให้หลวงปู่เข้าป่าเดินธุดงค์ตามลำพังแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และหลวงปู่ก็อุตสาห์เที่ยวธุดงค์ค้นหาครูบาอาจารย์เพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม เพื่อจะได้พบโมกขธรรมแห่งการหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
พระมหากษัตริย์ลาวทรงถวายการอุปสมบทให้
หลวงปู่คำคนิงเดินธุดงค์อยู่หลายปีก็ได้มุ่งธุดงค์ลงมาทางใต้ เขตนครจำปาศักดิ์หลวงปู่ท่านได้มาจำพรรษาที่ภูเขาด่าง ความเลื่อมใสศรัทธาเริ่มแผ่ขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็วมาก จากหมู่บ้านเข้าสู่ตำบล จากตำบลเข้าสู่อำเภอ จากอำเภอเข้าสู่จังหวัด จากจังหวัดแผ่ขยายจนทั่วประเทศ ประชาชนประเทศลาวรู้ถึงความสักดิ์สิทธิ์ต่างมุ่งเดินทางมาจากทั่วสารทิศ มุ่งสู่นครจำปาศักดิ์ ต่อมาความนี้ได้ทราบถึงเจ้าศรีสว่างวัฒนา ซึ่งเป็นเหนือชีวิตแห่งประเทศลาว รวมทั้งพระญาติฝ่ายเหนือฝ่ายใต้จึงได้เสด็จมาที่เมืองปากเซ แขวงจำปาศักดิ์ เมื่อเจ้าเหนือหัวศรีสว่างวัฒนาได้พบหลวงปู่จึงกล่าวคำว่า ?ท่านเก่งมีอิทธิฤทธิ์มากหรือไร? หลวงปู่ท่านว่า ?ไม่? เจ้าเหนือหัวแห่งลาวก็ถามอีกว่า ? ถ้าไม่เก่งแล้วทำไมคนลือเลื่อมใสไปทั่วประเทศ? หลวงปู่ก็ตอบว่า ?ใครเป็นคนพูด? เจ้าเหนือหัวตอบว่า ?ก็ประชาชนทั้งประเทศ? หลวงปู่ก็ตอบว่า นั้นคนอื่นพูด ท่านไม่เคยพูด สุดท้ายเจ้ามหาชีวิตแห่งประเทศลาวเกิดความเลื่อมใส ขอขมาที่ล่วงเกินหลวงปู่ และเอ่ยขอปลงผมซึ่งยาวจนถึงเอวออกจะได้ไหม หลวงปู่ตอบว่า ได้ แต่ต้องบวชเป็นพระ ในที่สุดกำหนดอุปสมบทซึ่งทางสำนักพระราชวังได้จัดขึ้น โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชน แห่กันไปที่วัดหอเมืองเก่า แขวงจำปาศักดิ์ ในระหว่างปลงผมหลวงปู่นั้นทั้งฝ่ายสำนักราชวัง ข้าราชการและประชาชนต่างก็เอาผ้าไหมแพรทองมาปูรองรับเส้นผมของหลวงปู่กันแน่นไปหมดทั่วบริเวณ ต่างคนต่างแย่งผมที่หลวงปู่ปลงจนเกิดความวุ่นวาย เมื่อเวลาอุปสมบทก็มีพระสงฆ์ราชาคณะ พร้อมทั้งพระสังฆราช เสด็จมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ รวมทั้งหมด ๒๔ รูป หลวงปู่ได้อยู่ที่ภูเขาอีด่างอีกระยะหนึ่ง เห็นความวุ่นวายจึงเกิดความเบื่อหน่าย จึงแอบหนีออกมาโดยไม่มีใครรู้ว่าท่านไปอยู่ที่ไหน
การอาพาธ
หลวงปู่เริ่มอาพาธตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ แต่อาการไม่หนัก เป็นๆหายๆ เพราะความชราภาพอันเป็นกฎแห่งวัฏฏสงสาร จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๘ เวลาเช้า หลวงปู่ได้เข้าห้องน้ำ ท่านอาจารย์ทองสาเห็นนานผิดสังเกตจึงเคาะประตูถามหลวงปู่ หลวงปู่ตอบว่าถ่ายไม่ออก ท้องผูก ขอให้อาจารย์ทองสาหายาสวนทวารและยาระบายให้ สักพักใหญ่หลวงปู่ก็ถ่าย แต่คราวนี้ถ่ายไม่ยอมหยุด หลวงปู่ท่านเพลียเต็มที่ และอาหารเช้าก็ยังไม่ได้ฉัน อาจารย์ทองสาบอกกับหลวงปู่ว่าจะไปโทรศัพท์เรียกหมอนะ หลวงปู่ท่านบอกว่าไม่ต้องเรียก และกำชับว่าห้ามเรียกหมอมาเด็ดขาด จะเจ็บป่วยแค่ไหนก็อยู่อย่างนั้น ให้มันหายเอง ทีนี้หลวงปู่ก็พูดกับอาจารย์ทองว่าให้ช่วยหานาคบวชพระให้อาจารย์สัก ๓ องค์ อาจารย์ทองเลยถามว่าจะบวชให้ใคร หลวงปู่ท่านบอกว่าบวชให้อาจารย์นี่แหละ ไวๆ เท่าไรยิ่งดี หลังจากนั้นท่านก็เพลียจนหลับไปพักหนึ่ง พอตื่นขึ้นมาท่านสั่งอะไรหลายอย่าง คุยได้ไม่นานนักท่านก็ลิ้นแข็งพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่นานท่านก็หลับไปอีก แล้วอาจารย์ทองก็ออกมาโทรศัพท์บอกญาติโยมที่รู้จักสนิท เวลาต่อมานายอำเภอนิพนธ์ บูรณะปราสาท มาถึงเห็นอาการของหลวงปู่ก็แนะนำเอาหลวงปู่ส่งโรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมแต่ก็ได้สั่งหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่มาตั้งชั่วคราวที่วัด และมีแพทย์พยาบาลมาคอยดูแล เช้าวันหนึ่งท่านดื่มแบรนด์แล้วมีอาการสำลักอย่างรุนแรง หมอก็แนะนำให้นำส่งโรงพยาบาลเพื่อเอ็กซเรย์ดูระบบปอดของท่าน จึงตกลงกันวางยาสลบ แต่งขันธ์ขอขมาครูบาอาจารย์ เพื่อนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลโขงเจียม ผลเอ็กซ์เรย์ปรากฏว่าปอดของหลวงปู่ทั้งสองข้างเสียหมด หมอได้แนะนำให้นำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลประจำจังหวัดภายใน ๒๔ ชั่วโมง พอถึงโรงพยาบาลก็ได้นำหลวงปู่เข้าห้อง ไอ.ซี. ยู โดยได้รับการฝากให้ดูแลเป็นพิเศษจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ หลังจากที่หลวงปู่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ในช่วง ๔-๕ วัน อาการของหลวงปู่ดีขึ้นเล็กน้อย หมอให้น้ำเกลือและออกซิเจนตลอดเวลา
ในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๘ เวลา ตี ๒ ก็ได้ทำพิธีบวชพระ ๙ รูป ไปเสร็จสิ้นตอน ๖ โมงเช้า หลังจากฉันเช้าเสร็จก็จ้างรถให้รับพระบวชใหม่ไปรอหน้าโรงพยาบาลเพื่อกราบหลวงปู่ ถึงโรงพยาบาลเวลาใกล้เพลจึงได้พาพระบวชใหม่ฉันอาหารที่หน้าโรงพยาบาล เสร็จก็พาพระบวชใหม่มานั่งรอที่หน้าห้อง ไอ.ซี.ยู. ประมาณ ๑๑.๑๐ น. และหลวงปู่ได้สิ้นใจละสังขาร เวลา ๑๑.๑๓ น. ของวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๘ สิริอายุได้ ๙๑ ปีเศษ ๔๖ พรรษา
img0641.jpg
(50.39 KB, 300x424 - ดู 2729 ครั้ง.)
img0653.jpg
(54.19 KB, 300x420 - ดู 2735 ครั้ง.)
img0652.jpg
(46.46 KB, 300x400 - ดู 3344 ครั้ง.)
เล็ก หัวตะเข้
บันทึกการเข้า
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
chanatip
บุคคลทั่วไป
Re: ประวัติโดยสังเขป หลวงปู่คำคนิง จุลมณี (สนฺจิตโต)
«
ตอบ #1 เมื่อ:
30 สิงหาคม 2555, 08:40:55 »
ประวัติ ลป เยี่ยมมากครับพี่โก้ ขอบคุณมากครับ
คนโก้
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
หมวดทั่วไป
-----------------------------
=> ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ
===> วิธีสมัครสมาชิกและแจ้งปัญหาการใช้งาน
===> กฏกติกามารยาทชาวชมรมฯ
-----------------------------
ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน
-----------------------------
=> ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน
===> พุทธสถานวัดบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน
===> หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน
===> หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร
===> หลวงปู่ญาถ่านกัมมัฏฐานแพง จันทสาโร
===> หลวงปู่ญาถ่านแสง อานันโท
===> หลวงปู่(สำเร็จ)เณรแก้ว
===> หลวงปู่ญาถ่านซาคำแดง
===> หลวงปู่ญาถ่านโทน กันตสีโล
===> หลวงปู่ญาถ่านทอง สุวัณโณ
===> หลวงปู่ญาถ่านฤทธิ์ โสภิโต
===> หลวงปู่ญาถ่านภูมาภิบาล
===> หลวงปู่ญาถ่านลี อุตตโร
===> หลวงปู่ญาถ่านสวน ฉันทโร
===> หลวงปู่ญาถ่านดี ภัทธิโย
===> หลวงปู่เพ็ชร ฐานธัมโม
===> หลวงปู่ญาถ่านคำบุ คุตฺตจิตฺโต
===> หลวงปู่ญาถ่านคล้าย อธิเตโช
===> หลวงปู่ญาถ่านอ่อง ฐิตธัมโม
===> หลวงปู่ญาถ่านทา นาควัณโณ
===> หลวงปู่ญาถานเกษม วัดเกษมสำราญ
===> หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร
===> หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป
===> หลวงปู่ด่อน อินทสาโร
===> หลวงปู่อ่วม สิริภทฺโท
===> หลวงปู่คำฝน สุทธิวัณโณ
-----------------------------
บูรพาจารย์สายหลวงปู่มั่น-หลวงปู่เสาร์
-----------------------------
=> บูรพาจารย์สายหลวงปู่มั่น-หลวงปู่เสาร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี
-----------------------------
ห้องพระ
-----------------------------
=> พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร
===> พระครูวิโรจรัตโนบล (หลวงปู่รอด)
===> พระอุปัชฌาย์แดง หนองบัวฮี
===> หลวงปู่มั่น ทัตโต
===> พรครูศรีสุตาภรณ์
===> หลวงปู่เลิศ วัดหนองหลัก
===> พระครูชิโนวาทสาทร
===> หลวงปู่ชา สุภัทโท
===> หลวงปู่บุญมี โชติปาโล
===> หลวงปู่บุญชู วัดบ้านวังมน
===> หลวงพ่อใหญ่วัดพิชบ้านแก้ง
===> หลวงปู่มาย จันทสีโล
===> หลวงปู่มหาประดิษฐ์ อุตฺตโม
===> หลวงตาเคน ฉินฺนาลโย ที่พักสงฆ์ถ้ำแตก
===> พระครูวิบูลธรรมธาดา(หลวงพ่อกาว ธมฺมทินฺโน)
===> หลวงปู่ทา ธมฺมธโร วัดบ้านหมากมี่
=> พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ
-----------------------------
ห้องเวทย์วิทยาคมและสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ
-----------------------------
=> ฆราวาสผู้เรืองวิทยาคม
=> เรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติ(โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)
-----------------------------
พระเครื่องและวัตถุมงคล
-----------------------------
=> ร้านพระเครื่อง VIP (ชมรมเพื่อนอนุรักษ์พระแท้)
===> นิธิปรัชญ์พระเครื่อง
===> แดนเมืองอุบล
===> อิศานปุระ
===> เเงซายพระเครื่อง
=> วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล
=> ให้เช่า-รับเช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่องและวัตถุมงคล
===> ประมูลพระเครื่อง
=====> ประมูลพระเครื่องสายอีสาน
=====> ประมูลพระเครื่องเมืองสยาม(นอกเหนือภาคอีสาน)
=====> ประมูลเครื่องรางของขลัง
===> แนะนำพระใหม่
===> ให้เช่าวัถุมงคล เพื่อการกุศลเท่านั้น
-----------------------------
ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน
-----------------------------
=> ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ท้องถิ่น
=> วีรชน 2 ฝั่งโขง
=> พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และพุทธสถานที่สำคัญภาคอีสาน
=> สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน
-----------------------------
มุมนักอ่าน ลานนักเขียน
-----------------------------
=> ปรัชญาพาที กวี ธรรมะ
=> เเนะนำหนังสือน่าอ่าน
=> ส่องสนามเมืองนักปราชญ์ โดย อ.แดน เมืองอุบล
กำลังโหลด...