พระปิดตายาคูคำดี หรือหลวงปู่คำดี วัดทาดหลวงใต้ นครหลวงเวียงจันทร์ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 16:12:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระปิดตายาคูคำดี หรือหลวงปู่คำดี วัดทาดหลวงใต้ นครหลวงเวียงจันทร์  (อ่าน 41664 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tar
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 352
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 284

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 63%
HP: 0.1%




ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2557, 22:52:20 »



หากจะกล่าวถึงพระเครื่องที่สำคัญที่สุดที่โบราณคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ จะเป็นพระมหาเถรหรือพระคณาจารย์ได้จัดทำขึ้นมีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าเหนือกว่าพระเครื่องใดๆทั้งสิ้นนั่นก็คือพระ "ภควัม" ถ้าจะเรียกกันในปัจจุบันนี้เรียกว่า "พระปิดตา" หรือ "พระปิดทวารทั้งเก้า"การที่เรียกกันเช่นนี้ก็เนื่องจากรูปลักษณะของพระ "ภควัม" ได้จัดทำเป็นรูปองค์พระนั่งขัดสมาธิเพชร (คือวชิราศน์) มี 8 พาหา ใช้พาหาทั้ง 8 ปิดทวารต่างๆ เช่น ปิดตา 2 ตา ปิดหู 2 หู ปิดจมูก 2 รู ปิดปาก 1 ปิดทวารหนักทวารเบา 1 แต่บางเกจิอาจารย์ ทำขึ้นเพียง 2 พาหา ใช้ปิดตา ปิดปาก ปิดจมูกก็มี

สำหรับมูลเหตุของการสร้างพระเครื่อง "ภควัม" มีความหมายคือ จากการสอนให้สังวร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเรียกกว่า อาตยนะหรืออินทรีย์ทั้ง 6 นั่งเอง เหตุใดเกจิอาจารย์บางท่าน หรือพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทั้งหลาย จึงได้ดัดแปลงรูปลักษณะพระ "ภควัม" จากปิดทวารทั้ง 6 มาเป็น ปิดทวารทั้ง 9 เสีย เพราะพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้น คงพิจารณาเห็นชัดเจนแล้วว่าสำหรับการสำรวม หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นพระภิกษุเป็นผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาทั้ง 6 อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสร้างพระ "ภควัม" ไว้เตือนตนเป็นอนุสติอีก ตามนัยแห่งคำสอนของพระบรมศาสดา ก็ทรงสอนไว้ว่าผู้ใดมีอินทรีย์สังวร อันไม่หวั่นไหว ผู้นั้นย่อมพ้นทุกข์ ในฐานะที่พระคณาจารย์นั้นมีศิษย์และญาติโยมมาก ตลอดจนศิษยานุศิษย์ที่เป็นฆราวาสวิสัยก็ไม่น้อย จะให้ผู้ครองเรือนมาบำเพ็ญอินทรีย์ทั้ง 6 เช่นบรรพชิตหาใช่วิสัยที่ควรกระทำไม่ ด้วยเหตุนี้แล จึงสร้างพระ "ภควัม" หรือ "พระปิดทวารทั้ง 9" ขึ้นโดยอาศัยแนว "ปิดตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ" เป็นแบบฉบับเผื่อให้เหมาะกับฆราวาสวิสัย หรือผู้ครองเรือน จึงทำให้เป็นปิดทวารทั้ง9 แปลกออกไปคือ ปิดตา 2 ตา ปิดหู 2 หู ปิดจมูก 2 รู ปิดปาก 1 ปาก ปิดทวารหนัก 1 และปิดทวารเบา 1 รวมเป็น 9 ทวารพอดี

คำว่า "ภควัม" หมายถึง "ภควา" คือพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง ดังนั้นการรำลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าและยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งนำไปบูชาหรือ ติดกับตนไว้บูชา เพราะตามพุทธวจนะที่ทรงสอนไว้ การสังวรอินทรีย์ย่อมเป็นมรรคาให้พ้นทุกข์ภัยทั้งมวล
ในสมัยโบราณเชื่อมั่นนับถือพระ "ภควัม" กันมาก แม้ในวรรณคดี ก็ยังมีการอ้างถึงพระ "ภควัม" อยู่เสมอเป็นการแสดงให้รู้ว่าพระเครื่อง "ภควัม"  อยู่ในความนิยมนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์สามารถขจัดภยันตรายให้แก่ผู้เคารพบูชาได้อย่างมหัศจรรย์ ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงพระเครื่อง "ภควัม" ตอนขุนช้างตามวันทองเป็นความว่า

ถ้าขุนแผนต่อสู้อย่าสู้ได้
ให้บรรลัยแพ้ฤทธิ์ทุกทิศา
ให้สมหวังดังประสงค์ของลูกยา
ขุนช้างรับพรลามาหอกลาง
จัดแจงแต่งตัวนุ่งยก
เข็มขัดรัดอกแล้วโจงหาง
ผูกตัวเข้าเป็นพรวนล้วนเครื่องราง
พระปรอทขอดหว่างมงคลวง
ลูกไข่ดันทองแดงกำแพงเพชร
ไข่เป็ดเป็นหินขมิ้นผง
ตะกรุดโทนของท่านอาจารย์คง
แล้วอมพระ "ภควัม" ล้ำจังงัง
ลงยันราชะปะท้ายทอย
ยังหย่อมแหยมหยอกหยอยเหมือนหอยสังข์
จับถือของ้าวก้าวเก้กัง
ขึ้นนั่งคอช้างพลายกางพลันฯ

เสภาในเรื่องขุนช้างขุนแผนอีกบทหนึ่งที่ได้กล่าวถึงพระ "ภควัม" ไว้ตอนที่พญากรุงกาฬเมื่อได้รับพระราชโองการของพระเจ้าเชียงใหม่ให้ยกพลไปสู้กับขุนแผน มีคำกลอนเสภากล่าวไว้ว่า

ครานั้นกรุงกาฬชำนาญทัพ
จบจับเครื่องอานเข้าตบแต่ง
นุ่งยกอย่างลาวขาวทองแดง
ใส่เสื้อเกราะทองแล่งเป็นอย่างครุฑ
สายสังวาล "ภควัม" ประจำคล้อง
แหวนทองปัทมราชคาคตระกุด
ใส่เสื้อลงยันต์กันอาวุธ
เข็มขัดขุดขมองพรายเป็นลายดุน
เหน็บกริชตรงลงอาคมประจุขาด
แล้วซ้ำคาดราตคธหนามขนุน
ใส่หมวกถักไหมทองกรองกาชุน
สายสะพายดาบญี่ปุ่นฝักหุ้มทอง
เอาน้ำพระสรงองค์นารายณ์
มาพรมกายกรายกรากออกจากห้อง
ควาญเทียบช้างประทับเข้ารับรอง
ก็ย่างย่องขึ้นคอจับของกรายฯ


ที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าแม่ทัพนายกองในสมัยโบราณเชื่อมั่นเลื่อมใสความศักดิ์สิทธิของพระ "ภควัม" มาก นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระ "ภควัม" มีความอภินิหารมหัศจรรย์สามารถป้องกันภยันตรายอารักขาให้เป็นจังงังแคล้วคลาดได้ อย่าลืมว่านักปราชญ์ผู้แต่งกลอนจะต้องรู้ทุกอย่างจากเรื่องจริงจึงแต่งขึ้นตามความจริง เพื่อขจัดอุปาทาน ข้าพเจ้าจะขอนำบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนหนึ่ง
มาอ้างให้ท่านฟังเพื่อพิสูจน์ให้เห็นคุณสมบัติอันวิเศษของพระเครื่อง "ภควัม" ว่ามีฤทธานุภาพสูงส่งปานใด ข้าพเจ้าจะขอเล่าตอนที่ขุนแผนทำพิธีปลุกพระเครื่อง ว่าวิธีปลุกเสกพระเครื่องในสมัยโบราณทำกันอย่างไร และจะได้ทราบว่าพระ "ภควัม" มีอานุภาพมากเพียงไร ดังเสภาต่อไปนี้

ให้ทหารปลูกศาลขึ้นฉับพลัน
ตงบายศรีสามชั้นทั้งซ้ายขวา
หัวหมูเป็ดไก่ทั้งเหล้ายา
เครื่องเซ่นจัดหามาเรียงราย
เอาผ้าขาวปูลาดดาดเพดาน
นมัสการจุดธูปเทียนถวาย
ในมณฑลนั้นให้อยู่แต่ผู้ชาย
วางสายสิญจน์รอบเป็นขอบคัน
ทั้งพ่อลูกเข้าไปนั่งกลางมณฑล
อ่านมนต์โองการอันกวดขัน
ชุมนุมเทวดามาพร้อมกัน
ทุกช่องชั้นอินทร์พรหมยมยักษ์
ทั้งพระเพลิงพระพายพาลี
พระภูมิเจ้าที่อันมีศักดิ์
อีกพระไพรเจ้าป่าพนารักษ์
พระนารายณ์ทรงจักรศิวาทิตย์
พระคเณศร์พินายทั้งซ้ายขวา
ขอเชิญลงมาให้ศักดิ์สิทธิ์
ทั้งคุณแก้วสามประการอันชาญชิต
คุณบิดามารดาสถาวร
คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์
พระโองการบพิตรอดิศร
ขอเชิญช่วยมาอวยพร
ให้เรืองฤทธิ์ขจรทุกสิ่งอัน
แล้วร่ายคาถามหาเวทย์
ปลุกเครื่องวิเศษทุกสิ่งสรรพ์
ว่านยาผ้าประเจียดมงคลนั้น
ตะกรุดโทนน้ำมันอันเรืองฤทธิ์
เดชะพระเวทย์อันเชี่ยวชาญ
เครื่องอานกลิ้งไปดั่งใครบิด
แล้วตั้งกองอัคคีทั้งสี่ทิศ
เอาเครื่องวางกลางมิดในกองไฟ
เปลวลุกคึกคักไม่ขาดสาย
ชั้นแต่เส้นด้ายหาไหม้ไม่
จึงเอาพระ "ภควัม" ที่ทำไว้
ใส่ขันสำริดประสิทธิมนต์
ในขันนั้นใส่น้ำมันหอม
เสกพร้อมเป่าลงไปสามหน
พระนั่งขึ้นได้ในบัดดล
น้ำมันนั้นทาทนทั้งทุบตี
ล่องหนกำบังจังงังครบ
อุปเท่ห์เล่ห์จบเป็นถ้วนถี่
ปลุกเครื่องเสร็จพลันอัญชลี
อ่านมนต์เรียกภูตผีภูตพลาย

ท่านคงจะทราบแน่ชัดแล้วว่าพระเครื่อง "ภควัม" มีความสำคัญอย่างไร ขุนแผนเสกคาถาเป่าลงในขันสำริดสามครั้ง พระเครื่อง "ภควัม" ลุกขึ้นนั่งได้ แสดงให้เห็นว่าพุทธานุภาพของพระเครื่องชิดนี้มีคุณวิเศษมากเพียงไร ท่านพระคณาจารย์โบราณกล่าวไว้ว่า เมื่อจะเอา พระเครื่อง "ภควัม" ติดตัวไปด้วยหรือใส่ปากอมไปด้วยจะต้องปลุกเสกบริกรรมด้วยคาถา 10 บทดังนี้
จักขุนา สังวะโร สาธุ สาธุโสเตนะ สังวะโร
ฆาเนนะ สังวะโร สาธุ สาธุชิวหายะ สังวะโร
กาเยนะ สังวะโร สาธุ สาธุสัพพะถะ สังวะโร
มนัสสา สังวะโร สาธุ สาธุโสเตนะ สังวะโร
สัพพะถะ สังวุโตพิกขุ สัพพทุกขะ ปมุจจะติฯ


พระคาถานี้มีอยู่ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ภิกษุทั้งหลายสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตรัสว่าเมื่อสามารถสำรวมและสังวรณ์ในอาตยนะทั้ง 6 นี้ มั่นคงไม่หวั่นไหวแล้วย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวล





หากจะกล่าวถึงพระ "ภควัม" หรือ พระปิดตา ในประเทศลาวที่บรรดานักสะสมทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต่างเสาะแสวงหามาใช้เพื่อคุ้มครองตัวเองและเพื่อเป็นศิริมงคลในชั่วโมงนี้ ต้องยกให้ พระปิดตายาคูคำดี หรือหลวงปู่คำดี วัดทาดหลวงใต้ นครหลวงเวียงจันทร์ ถือว่าเป็นพระปิดตาในฝันของนักสะสม  นับวันที่ยิ่งหายากขึ้นเรื่อยๆ ต่างคนต่างเก็บเงียบ หลังจากที่มีของเก๊ระบาดหนักทั้งลาวและไทย


พระปิดตาพิมปั้น ยาคูคำดี ประเทศลาว







พระปิดตาพิมปั้น ยาคูคำดี ประเทศลาว







พระครูคำดี หรือยาครูคำดี วัดทาดหลวงใต้ ท่านได้สร้างพระเนื้อโลหะไว้ด้วยกัน 2 พิมพ์คือ พิมพ์ปั้น และพิมพ์บล็อกประกบ
1.พระพิมพ์ปั้น เป็นการปั้นแบบอิสระ สร้างทีละองค์ไม่มีแบบพิมพ์ หมายความว่าไม่อาจกำหนดได้ว่าพระทุกองค์ต้องมีขนาดรูปทรงที่เท่ากันหรือเหมือนกัน 100% พระอาจจะมีความใกล้เคียงกันมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับฝีมือและความพยายามของช่างปั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามพระพิมพ์ปั้นทุกองค์นั้นจะไม่เหมือนกันโดยเด็ดขาด ด้วยวิธีการที่ปั้นพิมพ์นั้นเป็นการปั้นหุ่นขึ้นมาทีละองค์แล้วเข้าดินเบ้า หล่อออกมาองค์เดียวเท่านั้น ถ้าหากท่านพบเห็นพระพิมพ์ปั้นสององค์ด้วยกันมีจุดตำหนิเหมือนกันทุกอย่าง ถึงจะต่างเนื้อกันก็ตาม จงจำไว้ว่านั้นคือพระเก๊ทั้งสอง พระปิดตายาคูคำดีใน 60-70 % เท่าที่พบเจอ แขนจะทะลุ และไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องมีนิ้วครบทุกองค์หรือหูสองข้างเท่ากันแต่โดยภาพรวมแล้วพระพิมพ์ปั้นของยาคูคำดีเป็นพระที่ดูง่าย ว่าเป็นพระแท้หรือเก๊ เพราะมีส่วนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว


ปิดตาล้อพิมพ์ปิดตาวัดพระบาทโพนสัน







2.พระพิมพ์บล็อคประกบ เป็นการสร้างหุ่นขึ้นมาสองครั้งคือ ผู้ปั้นจะต้องปั้นหุ่นแม่แบบก่อนซึ่งเรียกว่า (แม่พิมพ์) หลังจากนั้นนำเอาแม่พิมพ์มาถอดแบบก็จะได้บล็อก หรือเรียกว่าแม่พิมพ์นั่นเอง การสร้างบล็อกของยาครูคำดีนั้น เป็นการสร้างแบบบล็อคประกบคือ บล็อกด้านหน้า และด้านหลัง มาประกบเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นจึงมีการสร้างหุ่นครั้งที่สอง แต่ครั้งนี้ไม่ได้ปั้น สร้างโดยการเมขี้ผึ้งลงไปในบล็อกปล่อยให้แข็งตัวแล้วแกะออกฉะนั้นพระพิมพ์บล็อกจึงปรากฏให้เห็นรอยตะเข็บข้างซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย พระพิมพ์นี้มีขนาดและรูปร่างเท่ากันหมดทุกองค์ แต่จุดตำหนิ อาจจะไม่เหมือนกันทุกองค์เนื่องจากมีการแต่งขอบข้างด้วยการตะไบ

ของเก๊ที่นำเอาพระแท้ไปทำเลียนแบบนั้นเท่าที่ได้พบเจอ จะมีขนาดเล็กกว่าองค์จริงหน่อยนึงเพราะการถอดแบบแต่ละครั้งนั้นจะมีการหดตัวของโลหะ
อยู่ประมาณ 5%-10% ตามมาตรฐานสากลของวงการพระเครื่องโดยนักสร้างพระเก๊พิมพ์นี้เขาจะเรียกพิมพ์นี้ว่าพิมพ์นิยมนั่นแล



สำหรับประวัติของท่าน โลหะที่ใช้ในการหล่อ ใต้ฐานมีการอุดอะไรบ้าง ตำหนิต่างๆที่ควรรู้ จะกล่าวในลำดับต่อไป
โปรดติดตามครับ.
..
 wan-e042

ขอขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลอ้างอิงจาก
พี่ชายใจดี ตู่ ฤทธิพร (Tou Lithiboulome) แห่งนครหลวงเวียงจันทร์
เรียบเรียงโดย http://www.fb.com/tar.kamanit

ปล.หากมีการ copy ข้อมูลโปรดให้เครดิตพี่ชายผม Tou Lithiboulome


thxby16440บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน, deknoy, PN3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กรกฎาคม 2566, 23:07:26 โดย tar » บันทึกการเข้า

รับเช่าพระลาวยอดนิยม http://www.fb.com/tar.kamanit
bomba
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 1 : Exp 20%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 มกราคม 2558, 08:20:10 »

พิมพ์แบบนี้ออกที่ไหนครับขอทราบประวัติหน่อยครับผม ขออนุญาติยืมรูปท่านเจ้าของเดิมด้วยน่ะครับ


* 6.jpg (118.92 KB, 814x252 - ดู 24789 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
poo_paknum
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 1 : Exp 20%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 มกราคม 2564, 17:49:31 »

สาธุครับ

อยากติดต่อน้องต้าร์ ไม่ทราบจำพี่ปูปากน้ำ ได้ไหมเอ่ย

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!