ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
23 พฤศจิกายน 2567, 17:23:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ  (อ่าน 18628 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tar
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 352
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 284

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 63%
HP: 0.1%




ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:20:45 »

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ


 

วัดบ้านเอียด
ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม


อัตโนประวัติ

?หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ? วัดบ้านเอียด ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ท่านเป็นพระเกจิยุคเก่ามีชื่อเสียงโด่งไปทั่วภาคอีสานเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา ร่วมสมัยกับ ?หลวงปู่ศรีธรรมศาสน์? วัดใต้โกสุม ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม และ ?หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ? วัดบ้านเสือโก้ก ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

ส่วนการสืบค้นประวัติของหลวงปู่ป้อ จากปากคำของพระอาจารย์สุข พลลาภ อดีตพระที่เคยปนนิบัติหลวงปู่ป้อ ก็ได้ข้อมูลพอสังเขปเท่านั้น เนื่องเพราะอัตโนประวัติของท่านไม่มีการบันทึกไว้แต่อย่างใด

 
หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ


ทราบเพียงว่า หลวงปู่มีพี่สาว 2 คนคือ นางพันและนางจันทร์ โดยหลวงปู่ป้อเป็นบุตรคนสุดท้อง ส่วนโยมบิดา-โยมมารดา ไม่ทราบชื่อเพราะบรรดาญาติๆ ต่างเสียชีวิตไปนานแล้ว เหลือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันเป็นชั้นเหลน

หลวงปู่ป้อ เกิดประมาณเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2415 ต่อมาครอบครัวของท่านได้ย้ายบ้านเรือนออกไปอยู่บ้านโนนสะพัง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งใหม่อยู่ไม่ไกลจากบ้านเอียดเท่าใดนัก ครอบครัวหลวงปู่มีอาชีพทำไร่ทำนาเหมือนชาวอีสานทั่วๆ ไป เมื่อสมัยยังเล็กๆ ท่านก็ช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง


การบรรพชาและอุปสมบท

พออายุกว่าสิบปี โยมบิดา-โยมมารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุ 20 ปี ในปี พ.ศ.2435 จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดในหมู่บ้าน แต่ไม่ทราบว่าพระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นผู้ใด


ออกธุดงควัตรและศึกษาด้านไสยเวท

หลังจากอุปสมบท ท่านได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความขยันขันแข็งอยู่วัดบ้านเอียด มาโดยตลอด ท่านเป็นพระที่เคร่งพระธรรมวินัยมากที่สุดในยุคนั้น แต่ด้วยความที่หลวงปู่ชมชอบความสงบวิเวกช่วงหลังออกพรรษาแทบทุกปี หลวงปู่จะออกธุดงควัตรไปแสวงหาความหลุดพ้นตามป่าเขาลำเนาไพรตามป่าในภาคอีสาน

หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ หลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ และ หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ? ทั้งสามท่านออกธุดงค์ร่วมกันเพื่อตามหาสำเร็จลุนจนได้มอบตัวเป็นศิษย์และได้อยู่ศึกษ าวิทยาคมจากสำเร็จลุนผู้วิเศษแห่งนครจำปาศักดิ์ ในด้าน วิทยาคมต่างๆรวมทั้งอักขระโบราณ ทำให้หลวงปู่ทั้งสามมีความรู้สามารถเขียนอักษรลาว-ขอม และอักษรไทยอย่างแตกฉาน

หลังจากนั้น จึงมาศึกษาต่อที่สำนักพระอาจารย์โสภาวดี วัดฟ้าเหลื่อม อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งพระเกจิสายอีสานยุคนั้นมักจะไปเล่าเรียนที่วัดแห่งนี้แทบทั้งสิ้น ความเข้มขลังของท่านเป็นที่เลื่องลือมากในยุคนั้น ท่านเก่งทางเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรีกันบ้านกันเมือง

หลวงปู่ป้อเป็นพระที่แม่นพระธรรมวินัย จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระวินัยธร และแม่นกฎหมาย อาจารย์พรหมา รักษาเกณฑ์ อดีตเคยเป็นครูสอนอยู่บ้านเอียด ปัจจุบันอายุเกือบ 80 ปี เล่าว่า เมื่อกว่า 60 ปีที่ผ่านมา มีนายตำรวจคนหนึ่งยศร้อยตำรวจโท ออกตรวจพื้นที่มาพบหลวงปู่ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน และพูดจาทำนองดูถูกว่าหลวงปู่เป็นพระแก่ จึงเกิดมีปากเสียงกัน นายตำรวจท่านนั้นจับท่านไปโรงพัก

หลวงปู่ก็ถามว่าจะเอากฎหมายมาตราไหนมาจับท่าน ตำรวจไม่สามารถจะแจ้งข้อหาอะไรได้จึงต้องปล่อยหลวงปู่ๆ จึงเทศน์สั่งสอนให้ตำรวจดูตราที่หน้าหมวกที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานมา มีข้อความว่าอย่างไร สุดท้ายนายตำรวจท่านนั้นเกิดสำนึกผิด จึงได้กราบขอขมาท่านซึ่งหลวงปู่ก็เมตตาให้อภัย

 
หลวงปู่มหานนท์ พรหฺมสีโล


พระนักพัฒนา

หลวงปู่ป้อยังเป็นพระนักพัฒนา ท่านได้พัฒนาวัดบ้านเอียดให้เจริญรุ่งเรือง สร้างถาวรวัตถุไว้มากมายไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ ศาลาการเปรียญ นอกจากนั้น ท่านยังเป็นหัวแรงใหญ่ชักชวนชาวบ้านก่อสร้างโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นในหมู่บ้าน จนเป็นผลสำเร็จปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน

ในยุคนั้นด้วยบารมีของท่านทำให้มีผู้แสวงบุญมากราบนมัสการ และฟังธรรมที่วัดอย่างล้นหลาม ด้วยกิตติศัพท์ที่เลืองลือในเรื่องความเข้มขลังด้านไสยเวท ด้านยาสมุนไพร จึงมีพระภิกษุและฆราวาสจากทุกสารทิศเดินทางมากราบกรานขอฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ป้ อจำนวนมาก เช่น หลวงปู่เสาร์ วัดศรีสุข, หลวงปู่มหานนท์ พรหฺมสีโล ฯลฯ

นอกจากนั้น วัดบ้านเอียดยังเป็นสำนักเรียนที่มีเชื่อเสียงโด่งดัง ทำให้มีพระภิกษุสามเณรจากทั้งใกล้และไกลมาศึกษาเล่าเรียนกับหลวงปู่จำนวนมาก ซึ่งท่านจะเคร่งครัดมากหากไม่ตั้งใจศึกษาท่านจะไม่ให้อยู่ที่วัดอย่างเด็ดขาด

 
รูปหล่อหลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ


การมรณภาพ

ล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัยด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร หลวงปู่มีอาการอาพาธบ่อยครั้ง แต่ด้วยความที่ท่านปลงอนิจจังสังเวชเห็นว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดาของสัตว์โลก ท่านจึงไม่ยอมฉันยาใดๆ ทั้งสิ้น สุดท้ายท่านได้มรณภาพทิ้งสังขารลง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 สิริอายุรวม 87 พรรษา 67 หลังเก็บสังขารท่านไว้จนถึงปี พ.ศ.2503 จึงมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ แม้หลวงปู่ป้อจะละสังขารไปนานกว่า 40 ปีแล้ว แต่คุณความดีของท่ายังปรากฏอยู่ในจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวอีสานตราบจนกระทั่งปัจจุบั น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ธันวาคม 2553, 11:23:07 โดย tar » บันทึกการเข้า

รับเช่าพระลาวยอดนิยม http://www.fb.com/tar.kamanit
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!