อาญาสี่ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
24 พฤศจิกายน 2567, 07:12:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาญาสี่  (อ่าน 10953 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 10 ตุลาคม 2554, 11:45:31 »

อาญาสี่
การปกครองภายในอาณาจักรล้านช้างนั้นใช้ ระบบอาญาสี่ ทั้งในเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่ ตลอดจนหัวเมืองขึ้นซึ่งอยู่กับหัวเมืองใหญ่นั้น
ภายหลังเมื่อดินแดนของอาณาจักรล้านช้างตกเป็นประเทศราชของไทยทั้งหมดในปี พ.ศ. 2322 แล้ว ทางรัฐบาลส่วนกลางของไทยก็ยังคงให้ดินแดนลาวทั้งหมด และดินแดนภาคอีสานเกือบทั้งหมด ซึ่งมีเมืองที่ตั้งขึ้นมาใหม่จำนวนมากในภายหลัง คงใช้การปกครองด้วยระบบอาญาสี่ต่อไป ยกเว้นเขตเมืองนครราชสีมา และดินแดนที่เรียกว่าเขมรป่าดง อันได้แก่ พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ในปัจจุบันเท่านั้น ที่ใช้การปกครองระบบจตุสดมภ์ เช่นเดียวกับที่เมืองหลวง ระบบเหล่านี้ได้ใช้มาจนถึงช่วงกลางของรัชกาลที่ 5 จึงมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งคล้ายคลึงกับระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ระบบอาญาสี่ แบ่งชั้นการปกครองออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

อาญาสี่
เป็นตำแหน่งที่ถือเป็นศูนย์กลางอำนาจในการปกครอง มีอยู่สี่ตำแหน่งและแต่ละตำแหน่งจะเรียกชื่อแตกต่างกันตามศักดิ์ของเมือง ดังนี้

                                               ตำแหน่งอาญาสี่

       เมืองหลวง                               หัวเมืองใหญ่             หัวเมืองขึ้น
       เจ้ามหาชีวิต, เจ้าแผ่นดิน,เจ้าชีวิต.    เจ้าเมือง,เจ้านคร        เจ้าเมือง
        เจ้าอุปฮาด(เจ้าอุปราช)                 ]อุปฮาด(อุปราช)    อัคคฮาด(อัคคราช)
        เจ้าราชวงศ์                              ราชวงศ์                  อัคควงศ์
        ]เจ้าราชบุตร                            ราชบุตร                 อัคคบุตร


ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
เจ้าเมือง มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาเหนืออาญาสี่และกรมการเมือง ตลอดจนข้าราชการทั้งปวงในเขตเมืองนั้น หากแต่จะไม่มีสิทธิ์ในบางเรื่อง เช่น ตัดสินประหารชีวิต หรือแต่งตั้งถอดถอนกรมการเมืองผู้ใหญ่ซึ่งได้แก่ อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ได้เองโดยลำพัง เว้นแต่จะได้รับราชานุญาตจากเจ้ามหาชีวิต
อุปฮาด เป็นตำแหน่งรองเจ้าเมือง ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการของเจ้าเมือง ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าเมือง ตลอดจนรับผิดชอบเกี่ยวกับบัญชีส่วยสาอากร การคลัง และการกะเกณฑ์กำลังพลในยามมีราชการสงคราม
ราชวงศ์ เป็นผู้แทนของอุปฮาด รับผิดชอบเรื่องอรรถคดีและการตัดสินถ้อยความข้อพิพาททั้งปวง
ราชบุตร โดยมากมักเป็นบุตรของเจ้าเมืองเอง หรืออาจมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับเจ้าเมืองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำสั่งจากเมืองหลวง ราชบุตรหน้าที่ช่วยราชการตามที่เจ้าเมืองมอบหมาย ตลอดจนการปฏิบัติกิจการด้านศาสนา เรือกสวนไร่นา ถนนหนทาง และการเก็บภาษีอากรต่าง ๆ

ผู้ช่วยอาญาสี่
ประกอบด้วย ท้าวสุริยะ ท้าวสุริโย ท้าวโพธิสาร และท้าวสุทธิสาร ซึ่งจะแต่งตั้งจากบรรดาเครือญาติของเจ้าเมืองนั้น รับผิดชอบเรื่องการพิจารณาพิพากษาตัดสินคดีความในศาลเมือง และดูแลรับผิดชอบการปกครองเมืองในแผนกต่างๆ

ขื่อบ้าน ขางเมือง
ป็นตำแหน่งรองจากผู้ช่วยอาญาสี่ ประกอบด้วย
ขื่อเมือง มี 2 ตำแหน่งคือ เมืองแสน ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายทหาร และเมืองจันทน์ ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายพลเรือน
ขางเมือง มีศักดิ์รองจากขื่อบ้าน ได้แก่
เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง ดูแลบัญชีไพร่พล บัญชีสักเลก งานราชทัณฑ์ การปฏิสังขรณ์วัดวาอารkมตลอดจนวัสดุครุภัณฑ์
เมืองคุก เมืองฮาม เมืองแพน เป็นผู้ช่วยการสามตำแหน่งข้างต้น
นาเหนือ นาใต้ ดูแลเรื่องเสบียงอาหารในยุ่งฉางของเมือง ดำเนินการเก็บส่วย เก็บเงินภาษีอากรไพร่พล การสำรวจสำมะโนครัวไพร่พลทุกๆสามปี ทั้งการแทงจำหน่ายเลกที่ หนี หาย ตาย พิการ ชรา อุปสมบทของไพร่พล ตลอดจนการควบคุมดูแลเรื่องสัตว์พาหนะ
ซาเนตร ซานนท์ ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่เลขานุการของขื่อเมือง
ซาบัณฑิต ทำหน้าที่เป็นอาลักษณ์ หรือเจ้าพนักงานอ่านประกาศต่างๆ ทั้งการแช่งน้ำสาบาน การอ่านพระราชโองการ คำสั่งเจ้าเมืองหรือสารตราจากต่างเมือง รวมทั้งทำหน้าที่การแต่งหนังสือตำราต่างๆด้วย
กรมเมือง เป็นผู้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี จารีต ฮีต คลอง ต่าง ๆ
สุโพ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหาร
ตำแหน่งของขื่อบ้านขางเมืองเหล่านี้ จะเรียกแตกต่างไปตามศักดิ์ของเมืองนั้นๆ หากเป็นเมืองหลวง หรือเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง จะใช้คำว่า พระยา นำหน้า ถ้าเห็นหัวเมือง จะใช้คำว่า เพีย

ตำแหน่งพิเศษ
ป็นตำแหน่งที่แต่ตั้งเพิ่มขึ้นตามความจำเป็น ของสภาพการณ์ของบ้านเมือง เช่น
เพียซาโนซิด ซาภูธร ราชต่างใจ คำมุงคุล ทำหน้าที่มหาดเล็ก
เพียซาตีนแท่นแล่นตีนเพียง เป็นพนักงานตามเสด็จ หรือองครักษ์ของเจ้าเมือง
เพียซาบุฮ่ม เป็นเจ้าพนักงานกั้นพระกลด หรือโบกจามร
เพียซาหลาบคำ เป็นเจ้าพนักงานเชิญพระแสงศาตราวุธ
เพียซามณเฑียร เป็นผู้ดูแลรักษาพระราชวัง ปราสาท ราชมณเฑียร
เพียซาบรรทม เจ้าพนักงานจัดที่บรรทม
เพียแขกขวา แขกซ้าย เป็นผู้ดำเนินการดูแลต้อนรับบรรดาแขกบ้านแขกเมือง
เพียศรีสุนนท์ เพียศรีสุธรรม เพียศรีบุญเอือง เพียศรีอัครฮาด และเพียศรีอัครวงศ์ เป็นผู้ดูแลจัดการด้านการศึกษาและกิจการด้านศาสนา

หัวหน้าชุมชน
ท้าวฝ่าย ทำหน้าที่กับกับดูแลไพร่พลของหลายๆแขวง(ตำบล)รวมกัน ซึ่งอาจคล้ายนายอำเภอในปัจจุบัน
ตาแสง หรือ นายแขวง ทำหน้าที่ดูแลไพร่พลในหมู่บ้านต่างๆรวมกัน เทียบได้กับกำนันในปัจจุบัน
กวนบ้าน หรือ นายบ้าน ทำหน้าที่ดูแลไพร่พลในหมู่บ้าน เทียบได้กับผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน
จ่าบ้าน เทียบได้กับ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือสารวัตรกำนัน


ข้อขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/อาญาสี่

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ตุลาคม 2554, 11:54:55 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!