ประวัติศาสตร์ "บ้านกระเดียน" อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
24 พฤศจิกายน 2567, 08:39:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์ "บ้านกระเดียน" อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี  (อ่าน 10422 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 สิงหาคม 2554, 07:18:15 »

บ้านกระเดียน ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
                               ตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2324   เดิมชื่อ ? บ้านกุดแช่เบียน? ( คำว่า ?เบียน? มาจากคำเต็ม ?กระเบียน? เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่งคล้ายกระด้ง)   ตั้งมานานกว่า  220 ปี เดิมถิ่นที่ตั้งหมู่บ้านเป็นถิ่นที่อยู่ของชนกลุ่มน้อยที่เรียกตนเองว่า?ข่า?  มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่าผู้คนกลุ่มแรกอพยพมาจากดินแดนหนองบัวลำภู  เพื่อมาหาที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่ทำกิน เดินทางเรื่องมาจนถึงถิ่นที่พักกลางทางสำหรับผู้แสวงบุญซึ่งเป็นชาวลาวเวียงจันทร์ (ที่ตั้งบ้านเวียงในปัจจุบัน)  อยู่ได้ 2-3 ปี  ตาสี ตาบัว ตาสุ เห็นว่าที่คับแคบไม่สามารถขยับขยายหมู่บ้านได้อีก  จึงได้ชวนกันเคลื่อนย้ายต่อมาอยู่ที่ ?ดอนป่าเกลี้ยง? (ที่ตั้งคุ้มบ้านใต้ปัจจุบัน)  ชื่อหมู่บ้านครั้งแรกชื่อบ้าน?ดอกนอ?  อีกพวกมาอยู่ที่ ?ดอนพระบาง?  กลุ่มหนึ่ง (ที่ตั้งคุ้มบ้านขามปัจจุบัน จะมีศาลพระบางเป็นหินศิลา ปรากฏอยู่ทุกวันนี้)  และอีกกลุ่มหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ?ดงลำดวน?  (ที่ตั้งคุ้มบ้านลำดวนปัจจุบัน) ราษฎรยึดอาชีพทำนา ทำไร่ เป็นหลัก และหลังจากฤดูทำนาก็จะมีอาชีพเสริมคือ งานจักสานไม้ไผ่  เพื่อทำเป้นภาชนะเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น กระด้ง กระเบียน หวด ตระกร้า ฯลฯ
                               บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ขิงหมู่บ้าน จะมีลำห้วยกวางดตน และหนองน้ำ ที่ชาวบ้านอาศัยเป็นแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค  และปลูกพืชเลี้ยงสัตว์  (ชาวบ้านเรียกหนองน้ำว่า?กุด? )             มีผู้บอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อถึงคราวเทศกาลงานบุญ  งานประเพณีต่างๆ ชาวบ้านมักจะจัดทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) นิยมจัดทำเอง เพื่อเลี้ยงพระสงฆ์  เลี้ยงแขก และเลี้ยงกันเอง  ขั้นตอนสุดท้ายเมื่อได้ข้าวปุ้น (ขนมจีน) ก็จะจับเส้นข้าวปุ้น (ขนมจีน) ใส่ในกระเบียน ซึ่งเป้นภาชนะแบนกลม เก็บเส้นข้าวปุ้นได้มาก เพื่อจะเก็บไว้ได้หลายวัน เส้นข้าวปุ้น จะแห้งติดในกระเบียนจนแข็ง ล้างออกยาก จำเป็นต้องนำกระเบียนไปแช่ในหนองน้ำ เพื่อให้ล้างทำความสะอาดง่ายขึ้น โดยแช่กระเบียนในหนองน้ำแห่งนี้ จึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า ?กุดแช่เบียน?  (มาจากคำว่า?กุดแช่กระเบียน?)  ต่อมาเมื่อราษฎรรวมตัวกันมากขึ้น มีครัวเรือนมากขึ้น จึงคิดตั้งชื่อหมู่บ้านให้เป็นทางการเสียที และตกลงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า ?บ้านกุดแช่เบียน?  และคำชื่อบ้านได้กร่อนมาเป็น กุดกระเบียน และสุดท้ายเป็น ?กระเดียน? มาจนทุกวันนี้
                                          คำขวัญบ้านกระเดียน
                        กระเดียนถิ่นนักปราชญ์          มรดกชาติกุฎิลาย
                       หลากหลายภูมิปัญญา              ล้ำค่าพระเจ้าใหญ่
                        ลือไกลข้าวเหนียวอ่อน           ออนซอนหินพระบาง
                       รอบข้างกวางดำเก่า                  เล่าขานบ้านป่าเกลี้ยง

thxby2325uthai08
บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!