ความเป็นมาของอักษรไทยน้อย ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 23:34:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของอักษรไทยน้อย  (อ่าน 13999 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:04:03 »

 อักษรไทยน้อย เป็นอักษรสกุลไทย เพราะมีรูปสัณฐานตัวอักษรและอักขรวิธีเหมือนอักขรวิธีอักษรไทย แม้จะมีอักขรวิธีอักษรธรรมเข้ามาปะปนบ้างเป็นอักษรที่ใช้อยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาวที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำ
โขง กล่าวคือทั้งอาณาจักรล้านช้าง(ส.ป.ป.ลาว)และภาคอีสานของไทยบางส่วน โดยมีศูนย์กลางวัฒนธรรม
อยู่ที่เมืองหลวงพระบางและเมืองเวียงจันทน์ โดยใช้ตัวอักษรไทยน้อยเป็นอักษรทางราชการที่จดบันทึก
เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นคดีโลก เช่น หนังสือราชการ (ใบบอกหรือลายจุ้ม) กฎหมาย วรรณกรรมนิทาน เป็นต้น
ส่วนคดีธรรมหรือเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา เช่น พระธรรมคัมภีร์ ชาดก คาถาอาคม เป็นต้น จะใช้อักษรธรรม
ในการบันทึก เพราะถือว่าเป็นตัวอักษรที่ศักดิ์สิทธิ์

          จากการศึกษาด้านจารึกประกอบกับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของนักอักขรวิทยา พบว่าอักษร
ไทยน้อยได้พัฒนามาจากอักษรไทยสมัยพระยาลิไท แห่งสุโขทัย (พ.ศ.๑๘๙๐-๑๘๑๑) ดังจะเห็นได้จากจารึก
ลายเขียนสีที่ผนังถ้ำนางอัน เมืองหลวงพระบาง (ไม่บอกศักราช) หรือศิลาจารึกพระธาตุร้างบ้านแร่
อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (พ.ศ. ๑๘๙๓)  ซึ่งเป็นจารึกในระยะแรกๆ มีรูปแบบตัวอักษรและอักขรวิธี
เหมือนกับตัวอักษรของพระยาลิไท  ระยะหลังจาก พ.ศ.๒๐๐๐ เป็นต้นมาพบว่า ศิลาจารึกในภาคอีสานจำนวน
มากที่เขียนด้วยอักษรไทยน้อยได้คลี่คลายรูปแบบสัณฐานไปจากอักษรไทยสมัยพระยาลิไท แต่กลับไปมีรูปแบบ
สัณฐานคล้ายกับอักษรฝักขามของอาณาจักรล้านนามากขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า อาณาจักรล้านช้างมีความ
ใกล้ชิดกับอาณาจักรล้านนาและสืบทอดวัฒนธรรมมาจากอาณาจักรล้านนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา เช่น
สมัยพระเจ้าวิชุลราชที่ได้ฟื้นฟูและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเถรวาทจากเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าโพธิสาลราช
พระโอรสของพระเจ้าวิชุลราชก็ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่และได้ขอพระเถระจากเชียงใหม่ คือ
พระเทพมงคลกับบริวารพร้อมทั้งพระธรรมคัมภีร์ ๖๐ คัมภีร์ไปเผยแผ่ที่อาณาจักรล้านช้างด้วย และในสมัย
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระโอรสของพระเจ้าโพธิสาลราช ได้เสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่ง (พ.ศ.
๒๐๙๑ - ๒๐๙๓) เมื่อพระเจ้าโพธิสาลราชสวรรคตก็ได้กลับไปครองอาณาจักรล้านช้าง พร้อมทั้งได้นำเอา
พระพุทธรูปและพระธรรมคัมภีร์ ตลอดถึงนักปราชญ์ราชบัณฑิตและช่างฝีมือกลับไปด้วย จึงเป็นไปได้ว่า
อักษรฝักขามของล้านนาจึงเข้ามามีอิทธิพลต่ออักษรไทยน้อยซึ่งอักษรฝักขามนั้นก็ได้คลี่คลายหรือพัฒนามา
จากอักษรไทยสุโขทัยสมัยพระยาลิไทเหมือนกัน ฉะนั้นการแพร่กระจายของอักษรสุโขทัยเข้าสู่ดินแดนอาณาจักร
ล้านช้างหรือชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงนั้นสรุปจากที่ศาสตาจารย์ธวัช ปุณโณทก [๑] ได้กล่าวสรุปไว้ ๒ ระยะด้วยกัน
ดังนี้

          ๑. ระยะแรกของการแพร่กระจายอักษรสุโขทัยเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำโขงโดยตรง

                   ๑.๑ เหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า อาณาจักร
สุโขทัยได้ติดต่อกับดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในฐานะที่เป็นรัฐไทยด้วยกัน เช่น
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงได้กล่าวถึงดินแดนอาณาจักรสุโขทัยและชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงหลายครั้งในศิลาจารึก
ของพ่อขุนรามคำแหง(หลักที่ ๑) เช่น

                     - ??ทั้งมาลาวกาวและไทย เมืองใต้หล้าฟ้า?ไทยชาวอูชาวของมาออก?

                     - ??เท่าฝั่งของถึงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว??

                   ในสมัยพระยาลิไท ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงได้มีผู้นำชุมชนรวบรวมเป็นรัฐเอกราชชื่อว่า
พระเจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงสืบต่อมา ส่วนพระยาลิไทเองก็ยอมรับ
ความเป็นเอกราชของพระเจ้าฟ้างุ้มดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๘ (เขาสุมนกูฏ)ว่า

                   ??เบื้องตะวันออก?เถิงของพระญาท้าวฟางอม??

                   จากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าพระยาลิไทนั้นทรงยอมรับความเป็นรัฐที่อยู่ในการปกครอง
ของพระเจ้าฟ้าง้อม(ฟ้างุ้ม)ว่าเป็นรัฐอิสระหรือเป็นรัฐเอกราช

                   ในตำนานมูลศาสนาซึ่งเป็นตำนานการเผยแผ่ศาสนา ได้กล่าวถึงพระภิกษุเมืองสุโขทัย ๘ รูป
ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาที่สำนักพระอุทุมพรมหาสวามีแห่งเมืองพัน(ลัทธิลังกาวงศ์แบบรามัญ)ซึ่งเป็น
พระพุทธศาสนาที่ฟื้นฟูขึ้นในรัชสมัยพระยาลิไท ครั้นกลับมาถึงสุโขทัยแล้วต่างแยกย้ายกันไปเผยแผ่
พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์แบบรามัญในรัฐที่เป็นชนชาติไทย โดยได้กล่าวถึงพระสุวรรณคีรีเถระไปเผยแผ่
พุทธศาสนาที่หลวงพระบางว่า

                   ??เจ้าสุวัณณคีรีเอาศาสนาไปประดิษฐานในเมืองชะวา(ชื่อเดิมของเมืองหลวงพระบาง)??

                   ๑.๒ เหตุผลทางด้านรูปแบบตัวอักษร พระสุวรรณคีรีเถระที่นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ที่
เมืองหลวงพระบาง ก็คงจะนำเอาตัวอักษรสุโขทัยสมัยพระยาลิไทไปใช้บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา
เช่นเดียวกันซึ่งเป็นการแพร่กระจายอักษรสุโขทัยเข้าสู่ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงด้วย เช่น จารึกลายเขียนสีที่ผนังถ้ำ
นางอัน(ห่างจากเมืองหลวงพระบางไปทางทิศตะวันตก ๒๕ กิโลเมตร)เป็นตัวอย่างอักษรสุโขทัยสมัยพระยาลิไท
ที่เข้าสู่ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงในสมัยนั้น ส่วนศิลาจารึกวัดแดนเมือง สร้าง พ.ศ.๒๐๗๓ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ห่าง
กันมาก พบว่ามีอักขรวิธีของอักษรตัวธรรมเข้ามาปะปนบ้าง แต่รูปแบบตัวอักษรยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
แสดงให้เห็นว่าตัวอักษรสุโขทัยในสมัยพระยาลิไทยนั้นก็ยังใช้สืบเนื่องมาจนถึงยุคที่วัฒนธรรมจากอาณาจักร
ล้านนาเชียงใหม่ข้ามามีอิทธิพลต่อดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง

 

       ๒.ระยะที่ ๒ เป็นการแพร่กระจายอักษรสุโขทัยเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำโขงโดยผ่านทางอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่

                   ๒.๑ เหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ ชุมชุนลุ่มแม่น้ำโขงมีความใกล้ชิดกับภาคเหนือหรือ
อาณาจักรล้านนามาโดยตลอด โดยเฉพาะสมัยตอนปลายราชวงศ์มังรายนับตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช
(พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐) เป็นต้นมา พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พระสงฆ์มีความสันทัดในพระไตรปิฎก
ตลอดถึงได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยขึ้น และคัมภีร์เหล่านั้นได้แพร่กระจายไปสู่อาณาจักรล้านช้าง
ในสมัยพระเจ้าวิชุลราชบ้างในสมัยพระเจ้าโพธิสาลราชบ้าง ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชบ้างดังกล่าวข้างต้น
ทำให้อักษรฝักขาม (ซึ่งพัฒนามาจากอักษรไทยสมัยพระยาลิไทที่พระสุมนเถระนำเข้าไปพร้อมกับการเผยแพร่
พุทธศาสนาในดินแดนล้านนาในสมัยเดียวกันกับพระสุวรรณคีรีเถระที่มาเผยแผ่ศาสนาในล้านช้าง) ที่ใช้กัน
อย่างแพร่หลายในล้านนาในสมัยนั้นแพร่กระจายเข้าสู่ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอย่างมาก ฉะนั้นตัวอักษร
ฝักขามซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอักษรสุโขทัยสมัยพระยาลิไทซึ่งเข้าไปมีอิทธิพลอยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ก่อน
แล้วยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น ตัวอักษรสุโขทัยสมัยพระยาลิไทผสมผสานกับตัวอักษรฝักขามที่เข้าไปสู่ดินแดนลุ่ม
แม่น้ำโขงได้พัฒนารูปแบบอักษรเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มคนลุ่มแม่น้ำโขง ในที่สุดรูปแบบสัณฐานก็
พัฒนาต่างไปจากอักษรต้นแบบจึงมีชื่อเรียกว่า ?อักษรไทยน้อย? และอักษรไทยน้อยในระยะแรกนี้ได้เป็น
ต้นแบบของอักษรไทยน้อยในระยะหลังรวมถึงตัวอักษรลาวในปัจจุบันด้วย

                   ๒.๒ เหตุผลทางด้านตัวอักษร จากการศึกษาศิลาจารึกที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ตอนปลาย ในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงพบว่า อักษรไทยน้อยมีลักษณะเดียวกันกับอักษรฝักขามในภาคเหนือทั้ง
รูปแบบและตัวอักษร และมีอักษรธรรมบางตัวและอักขรวิธีของอักษรธรรมบางส่วนเข้ามาปะปนกับอักษร
ไทยน้อย (การใช้พยัญชนะตัวเฟื้องเป็นต้น) ซึ่งรูปแบบดังกล่าวก็คือรูปแบบอักษรยวนของเชียงใหม่เข้ามา
ปะปนกับอักษรฝักขาม ฉะนั้นจึงเชื่อได้ว่าอักษรไทยน้อยนั้นได้รับอิทธิพลจากอักษรฝักขามของภาคเหนือ
อีกสมัยหนึ่ง และได้พัฒนารูปแบบสัณฐานและอักขรวิธีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนแบบค่อยเป็นค่อยไปจาก
อักษรฝักขามและอักษรสุโขทัยสมัยพระยาลิไทมากขึ้นตามลำดับ

อักษรไทยน้อยที่ถือว่าเป็นต้นแบบของอักษรไทยน้อยในปัจจุบันซึ่งพบเห็นการคลี่คลายที่เริ่มแตกต่าง
จากอักษรไทยสมัยสุโขทัยโดยได้พบวิธีการเขียนที่ใชัพยัญชนะซ้อนกันสองตัวแบบย่อ โดยที่พยัญชนะตัวหน้า
ใช้ตัวเต็ม ส่วนพยัญชนะตัวหลังใช้ครึ่งตัวหลังโดยจะเห็นการใช้มากในสมัยหลัง ได้แก่ การเขียน ห นำ คือ
ห นำ ม (<)และ ห นำ นำ (O) ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่พบในอักขรวิธีอักษรสมัยสุโขทัย วิธีการเขียนดังกล่าว
เริ่มปรากฏในจารึกแดนเมือง (พ.ศ. ๒๐๗๓) เป็นต้นมา


* tainoy.gif (24.3 KB, 580x233 - ดู 1389 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 00:04:48 »

ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก    http://www.bl.msu.ac.th/bailan/P_thai1.htm

บันทึกการเข้า
MaiUbon
Sr. Member
****

พลังน้ำใจ : 224
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 510

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 18 : Exp 30%
HP: 0%




ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554, 15:26:45 »

เยี่ยมครับ  

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!