ข้อมูลวัดที่เกี่ยวข้องกับ พระครูวิบูลธรรมธาดา ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
23 พฤศจิกายน 2567, 15:02:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลวัดที่เกี่ยวข้องกับ พระครูวิบูลธรรมธาดา  (อ่าน 7870 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
มีสติ ดูตัวเอง สอนตัวเอง ไม่ต้องสอนคนอื่น
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 639

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 20 : Exp 50%
HP: 0.1%



chanatip99@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 08:33:03 »

วัดแสงเกษม


รายละเอียด
ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองแสง หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานีสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕๗ ไร่ ๔ ๖/๑๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๙ เส้น จดถนน ทิศใต้ประมาณ ๑๐ เส้น จดถนน-แม่น้ำโดมใหญ่ ทิศตะวันออกประมาณ๗ เส้น จดถนน-แม่น้ำโดมใหญ่ ทิศตะวันตกประมาณ ๖ เส้น จดถนนส่งศรี อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ศาลาการเปรียญ กว้าง๑๓ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ กุฏิสงฆ์จำนวน ๑๗ หลัง เป็นอาคารไม้ ๑๑ หลังครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ หลัง และตึก ๔ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ และศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีต ปูชนียวัตถุมีพระประธานปางมารวิชัย จำนวน ๓ องค์ พระพุทธรูปแกะด้วยหินขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕ นิ้ว และพุทธรูปยืนสูง ๑.๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ประวัติวัดแสงเกษม ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ เดิมมีชื่อว่า วัดหนองแสง ตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาพระเกษมศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสาและเป็นเจ้าคณะอำเภอ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแสงเกษม ตัดคำว่าหนองออก ต่อด้วยชื่อของท่านเป็นแสงเกษม ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดแสง การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระพั่ว วิสุทฺโธ พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๗๐ พระรูปที่ ๒ พระครูโสภณวรศาสน์ พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๔๘๔ รูปที่ ๓ พระครูอุดมเดชบริหาร พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๙๙ รูปที่๔ พระครูวิมลปรีชากร พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๐ รูปที่ ๕ พระครูอุดมเดชบริรักษ์ พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๖รูปที่ ๖ พระครูวิบูลธรรมธาดา พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๓๔ รูปที่ ๗ พระครูสิริอุดมเขต ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นต้นมา การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ และศูนย์ศึกษาพระพุทธศานาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘



วัดภูพลาญสูง


ความเป็นมาของวัดภูพลานสูง

   วัดภูพลานสูง เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูจองนายอย อยู่ในการอุปถัมภ์ของชาว บ้านหลักเมือง ต.นาจะหลวย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี ได้รับการประกาศเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวัน ที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ สถานที่ตั้งของวัด เป็นเสนาสนะป่าที่บรรพบุรุษได้พยายามสืบต่อรักษาธรรมชาติ เนื่องจากสถานที่ตั้งของวัดเป็นที่สัปปายะ จึงมักจะมีครูบาอาจารย์สายกรรมฐานพา คณะศิษยานุศิษย์มาปลีกวิเวก ใช้เป็นสถานที่ในการฝึกจิต อยู่เป็นประจำ ในสมัยที่ยังไม่เป็นวัดนั้นได้ใช้เป็นสถานที่ในการจัดงานปฏิบัติธรรม หลังจากออกพรรษา อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบมา วัดภูพลานสูงจึงเกิดขึ้นจากความพยายามของบรรพบุรุษ ทั้ง ฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์

พระครูวิบูลธรรมธาดา


   ครูบาอาจารย์ที่ได้มาสร้างวัดองค์แรกก็คือ พระครูวิบูลธรรมธาดา (กาว ธมฺมทินฺโน) อดีตเจ้าคณะอำเภอเดช อุดม ได้มาบุกเบิกหักร้างถางพง และสร้างเสนาสนะต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่เนื่องจาก ช่วงนั้นสถานที่แห่งนี้มีไข้มาลาเรียชุกชม จึง ทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับการสร้างวัดเป็นอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากท่านได้รู้ว่า สถานที่แห่งนี้ จะมีความสำคัญต่อไปในอนาคต เพราะในสมัยบรรพชาเป็นสามเณร ท่านเคยได้ติดตามถวายการ อุปัฏฐากพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง ผู้ไปทำการ บูรณะองค์พระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้พบคัมภีร์โบราณ (ต่อมาเทวดาได้นำคัมภีร์นี้มาถวายหลวงพ่อภรังสี) จึงทำให้ได้ทราบถึงคำพยากรณ์ในคัมภีร์นั้นว่า จะมีพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาที่วัดภูพลานสูงแห่งนี้ ในอนาคต จึง ได้มอบหมายให้พระครูวิบูลธรรมธาดาซึ่งเป็นสามเณร ในสมัยนั้นมาสร้างวัดภูพลานสูง เพื่อรองรับพระบรมสารีริก ธาตุ ตามที่ทำนายไว้ในพระคัมภีร์ ท่านจึงได้ดำเนินการสร้างวัดมาด้วยความยากลำบาก ในอดีตคณะสงฆ์ได้ พยายามผลักดัน ที่จะก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หันพระพักตร์ไปทางประเทศกัมพูชา ประเทศลาว และประเทศ ไทย เนื่องจากสถานที่ตั้งของวัดอยู่ระหว่างชายแดนทั้ง ๓ ประเทศ แต่ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการสร้างได้ วัด ภูพลานสูง ก็ตั้งอยู่ในกฎของความไม่เที่ยง (อนิจจัง) เช่นเดียวกัน อยู่ในยุคเสื่อม ยุคเจริญมาตามลำดับ บางปี ก็ขาดแคลนพระภิกษุผู้อยู่จำพรรษา




** เพิ่มเติม **


    
โรงเรียนบ้านนาผาง(วิบูลย์ราษฎร์สามัคคี)  มีเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน  78 ตารางวา

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2476 โดยเป็นโรงเรียนประชาบาลตำบลห้วย โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดศรีปุญญนิมิต วัดประจำหมู่บ้านนาผาง  ตำบลห้วย  อำเภอพนา  จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนปี พ.ศ.2500  ย้ายมาตั้งทางทิศเหนือของหมู่บ้าน โดยเหล่าคณะสงฆ์มีพระครูวิบูลย์ธรรมธาดาเป็นผู้นำพร้อมด้วยชาวบ้านนาผาง  ได้จัดหาที่ดินและบริจาคทรัพย์จำนวน 20,000 บาท สมทบทุนสร้างอาคารเรียนแบบ ป1ช ขนาดห้องเรียน 3 ห้อง  ใต้ถุนสูง 1 หลัง  เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่่ 4

thxby16699คนโก้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กันยายน 2557, 08:37:32 โดย ส่องสนามเมืองนักปราชญ์ » บันทึกการเข้า

วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นใน... ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!