พระครูอุดมธรรมกิจ (หลวงปู่ขุน อนุตฺตโร) เทพเจ้าแห่งทุ่งคำน้ำแซ่บ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
24 พฤศจิกายน 2567, 17:04:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระครูอุดมธรรมกิจ (หลวงปู่ขุน อนุตฺตโร) เทพเจ้าแห่งทุ่งคำน้ำแซ่บ  (อ่าน 8133 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 16 ตุลาคม 2556, 20:46:37 »



พระครูอุดมธรรมกิจ (หลวงปู่ขุน อนุตฺตโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ
เทพเจ้าแห่งทุ่งคำน้ำแซบวารินชำราบ ดำรงกิจวัตรสวดมนต์ทำวัตรวันละสามเวลามากว่ายี่สิบปี
ทุ่งคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ ดินแดนเมืองหน้าด่านอันอุดมสมบูรณ์ ทางด้านทิศใต้คนละฟากฝั่งแม่น้ำมูล กับจังหวัดอุบลราชธานี เดินเชื่อมต่อด้วยสะพานเสรีประชาธิปไตย อันโดดเด่นและมีประวัติกล่าวขาน แหล่งกำเนิดวัดหนองป่าพงของหลวงปู่ชา สุภัทโท ต้นธารกรรมฐานของพระมหานิกาย ครอบคลุมพื้นที่ทหารมณฑลทหารบกที่ ๒๒ ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง
จะกล่าวถึงพระมหาเถระผู้โดดเด่นในระดับสายปกครองเคยดำรงตำแหน่งถึง เจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ (ทุ่งคำน้ำแซบ) ลูกศิษย์พระครูวิรุฬสุตการ วัดวารินทราราม เจ้าตำหรับเหรียญอินโดจีน ยุคสุดท้ายของเมืองอุบลราชธานี ลูกศิษย์ของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (ญาท่านดีโลด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และยังเป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงปู่ชา สุภัทโท ดำรงเพศสมณะด้วยอาจริยาวัตรอันเรียบง่าย มีความเมตตาคอยสงเคราะห์บำบัดผู้ติดยาเสพติดที่ญาตินำมารักษาอย่างไม่ขาดสาย จะยกย่อกล่าวประวัติโดยสังเขปดังนี้
พระครูอุดมธรรมกิจ หรือ หลวงปู่ขุน อนุตฺตโร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เดิมมีชื่อว่า ขุน สมเสนาะ ถือกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๓ (ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนเจียง ปีมะแม) เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๕ คน ที่บ้านดอนโด่ ต.จิกเทิง อ.ตาลสุม (อำเภอพิบูลมังสาหาร) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรในตระกูลผู้มีฐานะทางครอบครัวดีไม่ลำบากเดือดร้อนปู่ย่าตายายมีที่ ไร่ที่นามากมาย สมัยเด็กเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย ชอบตามคุณยายไปวัดอยู่เป็นประจำจนเป็นที่รักของญาท่านจอม(อาจารย์ใหญ่สำนัก เรียนมูลกระจาย พระเถระจอมอาคมแห่งบ้านจิกเทิง อาจารย์สอนมูลกระจาย (บาลี) และการแต่งกลอนลำให้หลวงปู่คำบุ) เมื่อเรียนจบชั้นบังคับประถม ๔ ได้เข้าบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เมื่อปี ๒๔๙๐ ขณะอายุได้ ๑๗ ปี โดยมีสำเร็จแก้ว อาจารย์ของญาท่านสวน ฉันทโร เป็นพระอุปัชฌาย์หลังจากบวชแล้วก็ได้อยู่ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของภิกษุสามเณร โดยมีญาท่านสวน ฉันทโร(พระสวน ฉันทโรในสมัยนั้น) เป็นพระพี่เลี้ยงอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้เดินทางกลับไปบ้านจิกเทิง และทุกปีต่อมาหลวงปู่ขุนถือเป็นข้อวัตรปฏิบัติต่ออาจารย์ คือ ในฤดูเข้าพรรษาต้องไปทำสามีจิกรรม - ทำวัตรหลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร ทุกปีจนกระทั่งหลวงปู่ญาท่านสวนมรณภาพ แม้ทุกวันนี้ก็ยังคอยแวะเวียนไปกราบสรีระท่านอยู่เมื่อเดินทางผ่านไปศาสนกิจ แถบนั้น
เมื่อครั้งตอนบวชเป็นสามเณรได้มีโอกาสติดตามญาท่านจอม พระเถระจอมอาคมแห่งบ้านจิกเทิงโดยการนั่งเรือไฟ (เรือโดยสารแม่น้ำมูลสมัยก่อน)ไปร่วมงานฌาปนกิจศพพระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ที่วัดทุ่งศรีเมือง
ช้างเผือกจากป่าสู่เมืองใหญ่
อายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์พ.ศ.๒๔๙๓ พ่อแม่พี่น้องจึงได้พามาอุปสมบทที่วัดใหม่ทองสวาง อำเภอวารินชำราบ โดยมีพระครูวิรุฬสุตการ เจ้าตำหรับเหรียญอินโดจีนยุคสุดท้ายของเมืองอุบล ศิษย์เอกของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (ญาท่านดีโลด) พระนักเทศน์ปาฐกถาชื่อดัง นักปกครอง เป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่ทองสวาง ก่อนวันที่สามเณรขุนจะเดินทางมานั้นพระครูวิรุฬสุตการได้ฝันว่าได้มีช้าง เผือกสามเศียรเดินมุ่งหน้ามาจากทิศตะวันออกเข้ามาในเขตวัดแล้วหมอบลงแทบเท้า แล้วออกไปที่ลานวัดชูงวงร้องเสียงดังทั้งสามเศียรเดินวนรอบวัด จนเป็นที่พอใจแล้วมาหมอบสงบนิ่งอยู่ เมื่อตื่นขึ้นมาจึงได้แปลความฝันว่า ชะรอยจะมีผู้มีบุญบารมีมาสู่วัดใหม่ทองสวางเป็นแน่แท้ (เป็นที่มาการสร้างอุโบสถหน้าบันช้างสามเศียร) จึงรออยู่ไม่ยอมไปกิจนิมนต์ทางไหนถึงสามวัน พอเมื่อครบวันที่สามจึงมีคณะญาติโยมจากบ้าน ได้นำสามเณรขุน สมเสนาะ มาพบเพื่อจะอุปสมบทพอท่านพระครูวิรุฬสุตการเห็นหน้าครั้งแรกก็รู้สึกประทับ ใจ ซึ่งดูจากหน้าตาผิวพรรณลักษณะแล้วเหมือนกับช้างในฝันเพราะผู้ที่เป็นสามเณร ที่มาด้วยนั้นมีกิริยาเรียบร้อยประดุจช้างเชือกที่ได้รับการฝึกมาดี และมีผิวพรรณผุดผ่องราวช้างเผือก มีเสน่ห์เป็นที่พอใจท่านเป็นอย่างมาก จึงรับเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ แต่ในขณะนั้นพระครูวิรุฬสุตการต้องอธิกรณ์สงฆ์อยู่จึงได้พาสามเณรขุน สมเสนาะไปให้ พระครูกมลวิสุทธิ์ เจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ วัดวารินทราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า ?อนุตฺตโร แปลว่า ผู้ยอดเยี่ยมไม่มีใครเสมอ
เมื่ออุปสมบทแล้วพระครูวิรุฬสุตการจึงได้เอ่ยปากขอจากพ่อแม่และญาติพี่น้อง ที่เดินทางมาด้วยกันว่าจะขอให้พระขุน อนุตฺตโร อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่ทองสวาง เพื่อศึกษาเรียนหนังสือและคอยเป็นพระอุปัฏฐากนับแต่นั้นมา พระครูวิรุฬสุตการพระนักเทศน์ปาฐกถา นักปกครอง ลูกศิษย์ของพระครูวิโรจน์รัตโนบล และเป็นศิษย์เอกพระครูกมลวิสุทธิ์ (ญาท่านโชติ) จอมอาคมแห่งทุ่งคำน้ำแซบวัดวารินทราราม ได้มองเห็นแววนักปราชญ์ของพระขุน อนุตฺตโร จึงได้ถ่ายทอดความรู้ไม่ว่าจะเป็นการเทศนาโวหารและการปกครองให้จนเป็นที่โดด เด่นในวงการคณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานีสมัยนั้น และได้รับแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกาในฐานานุกรมของ เจ้าคุณพระปริยัติโกศล (ถวัลย์ อาจารสุโภ ป.ธ.๙) เปรียญธรรม ๙ ประโยค พัดด้ามงาหนึ่งเดียวของประเทศไทยเมื่อปี ๒๕๐๕ ต่อมาเมื่อหลวงปู่พระครูวิรุฬสุตการได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำ ราบและย้ายไปอยู่วัดวารินทราราม จึงให้พระใบฎีกาขุน อนุตฺตโร อยู่สืบทอดเป็นเจ้าอาวาสรักษาวัดสืบมาจนปัจจุบัน
บุพนิมิตกรรมลางบอกเหตุ
ขณะที่หลวงปู่ขุน อนุตฺตโร ดำรงตำแหน่งพระใบฎีกาของเจ้าคุณพระปริยัติโกศล นั้นได้ติดตามไปศาสนกิจทุกที่ด้วยกันเพื่อตรวจกิจการงานคณะสงฆ์ตามหน้าที่ ร่วมกับเจ้าคุณถวัลย์ และมีกำหนดการเดินทางไปศาสนกิจที่จังหวัดอำนาจเจริญด้วยกันตามปกติ(อำเภอ อำนาจเจริญสมัยนั้น) ตกกลางคืนพระครูวิรุฬสุตการได้เกิดนิมิตฝันว่าช้างเผือกตัวเดิมที่มาอยู่ ด้วย กำลังจะเดินลับหายไปจึงรีบตามไปและจับไว้ได้ทันในที่สุด เมื่อตื่นเช้ามาจึงให้ทายกวัดวารินทรารามมาตามหลวงปู่ขุนที่วัดใหม่ทองสวาง ว่ามีธุระจะวานให้ทำ หลวงปู่ขุนจึงไปพบพระครูวิรุฬสุตการที่วัดวารินทรารามและทำงานให้จนทำให้ไม่ ได้ติดตามเจ้าคุณปริยัติโกศลไปด้วย พอตกเย็นได้ยินข่าวรถของเจ้าคุณปริยัติโกศล (ถวัลย์ อาจารสุโภ) ได้เกิดอุบัติเหตุและถึงแก่มรณภาพ จนกระทั่งทุกวันนี้หลวงปู่ขุนยังกล่าวว่า เป็นเพราะบุญหรือเส้นค้ำชะตาบารมีที่พระครูวิรุฬสุตการท่านช่วยชีวิต และท่านใช้ความเมตตาหนุนดวงหรือค้ำดวงชะตาให้ทำให้รอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว มาได้เป็นวิชาเอกที่สืบทอดกันมาจากสายสมเด็จลุน แห่งเมืองจำปาสัก
ศิษย์ร่วมสำนักกับหลวงปู่ชา สุภัทโท
หลวงปู่ชาได้มาสร้างวัดหนองป่าพงในระยะแรกก็ได้มากราบพระครูวิรุฬสุตการซึ่ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อาจารย์สวดของท่านที่ยังเหลืออยู่และพบกับหลวงปู่ขุน อนุตฺตโรซึ่งเป็นศิษย์ร่วมสำนักคือพระอาจารย์เดียวกัน หลวงปู่ขุนก็ได้นำพาญาติโยมไปร่วมงานปฏิบัติธรรม ที่วัดหนองป่าพงที่อยู่ไม่ห่างไกลจากวัดใหม่ทองสวางมากนักเป็นประจำเห็นความ สงบเยือกเย็นแห่งธรรม ทำให้มุ่งมั่นที่อยากจะปฏิบัติกรรมฐานให้ยิ่งขึ้น และยิ่งได้สนทนาธรรมด้วยยิ่งทำให้อยากจะออกปฏิบัติหาความสงบวิเวกมากยิ่ง ขึ้น แต่ก็ติดภาระทางการปกครองประกอบกับหลวงปู่พระครูวิรุฬสุตการ กล่าวว่ากรรมฐานสายบ้านก็สำคัญ จึงละวางลงได้และได้อยู่รักษาเป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่ทองสวางนำข้อวัตรปฏิบัติ มาปรับใช้ในการดำเนินกิจวัตรให้เหมาะกับหน้าที่ตามคำสั่งของอาจารย์ เมื่อหลวงปู่พระครูวิรุฬสุตการได้มรณภาพลง จึงได้นำเถ้าอัฐิมาสร้างเจดีย์ไว้ที่วัดใหม่ทองสวางเพื่อเชิดชูบูรพาจารย์ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ในวันดีคืนดีก็จะนิมิตฝันเห็นหลวงปู่พระครูวิรุฬสุตการยังคอยเดินตรวจตราวัด อยู่เป็นประจำ และคอยเร่งเตือนให้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติอยู่เสมอ
เจ้าตำหรับประคองรักษาจิตด้วยการทำวัตรสามเวลา
การทำวัตรสามเวลา เช้า เที่ยง เย็น เป็นข้อวัตรปฏิบัติที่หลวงปู่ขุน อนุตฺตโร ยึดถือปฏิบัติเคร่งครัดมาเป็นเวลาเกือบยี่สิบปี แม้จะดำรงตำแหน่งเป็นถึงเจ้าคณะอำเภอ มีภาระทางศาสนกิจมากมายก็ตามก็ไม่ได้ละเว้นจากการปฏิบัติ คือในตอนเช้าหลังจากฉันข้าวต้มยาคูหรือภัตตาหารเช้าเสร็จแล้วก็เข้าสู่ห้อง พระทำวัตรเช้าสวดมนต์แล้วนั่งเจริญจิตภาวนาเป็นเวลาเกือบสองชั่วโมง ยามเที่ยงหลังจากฉันภัตตาหารเพลเสร็จแล้วประมาณเที่ยงก็ไหว้พระสวดมนต์ เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน แล้วทำสมาธิต่อจนถึงเวลาบ่ายสองโมง จึงสรงน้ำ รับแขกและเดินตรวจตราบริเวณวัด ถ้าวันไหนมีกิจนิมนต์ที่วัดอื่นเมื่อเดินทางมาถึงวัดก็จะพัก แล้วสรงน้ำขึ้นไหว้พระสวดมนต์ต่อทันที ตอนเย็นทุ่มตรงก็จะสวดมนต์ทำวัตรพระ แล้วแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย เกือบยี่สิบปีที่ถือครองเป็นวัตรปฏิบัติมา หลวงปู่ขุนท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่าเคยลองไม่ทำวัตรสวดมนต์สองสามวันติดกันก็ มักจะนิมิตฝันเห็นพระครูวิรุฬสุตการ หรือครูบาอาจารย์ที่ท่านมรณภาพไปแล้ว มาคอยเตือนให้เร่งกระทำความเพียรต่อไป
เหรียญรุ่นแรกอธิษฐานจิตเสกโดย ญาท่านสวน ฉันทโร
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ขุน อนุตฺตโร ปี ๒๕๔๗ สร้างเป็นที่ระลึกที่ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ หลวงปู่ขุนท่านก็นำไปให้อาจารย์ท่านคือหลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร ได้เมตตาเสกให้ถึงสามวาระ แล้วก็นำเข้าปลุกเสกในงานพิธีพุทธาภิเษกอีกหลายงาน แล้วนำเข้าสู่ห้องพระที่ท่านทำวัตรสวดมนต์อธิษฐานจิตแผ่เมตตามาตลอดเป็นเวลา เกือบสิบปี แจกให้ลูกศิษย์ที่เป็นชาวบ้าน และข้าราชการทหารค่ายสรรพสิทธิ์ และตำรวจ จนเกือบหมด เป็นที่กล่าวขานในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย และเมตตามหานิยม และในการขออธิษฐานในหน้าที่การงานเป็นที่หน้าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทหารที่จะไปปฏิบัติหน้าที่มักจะมาให้ท่านลงตะกรุดท่านมักจะบอกว่าทำไม่เป็น เมื่อทนต่อการอ้อนขอไม่ได้ท่านจึงจะลงแล้วเสกให้ผู้ที่ได้ไปแล้วต่างเกิด ประสบการณ์จึงบอกปากต่อปากในกลุ่มลูกศิษย์และผู้ที่เคยได้ไปมักจะพาลูกหลาน มาให้ท่านลงตะกรุดให้อยู่เป็นประจำผู้ที่ได้ไปต่างหวงแหนในการครอบครองยิ่ง นัก
.ในปี พ.ศ ๒๕๕๖ ได้เมตตาอนุญาตให้ทนายเสกสินธุ์ ยานุและ คุณสุวัฒน์ บุญรอด กบจตุคาม ได้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น มงคลเศรษฐี เพื่อเป็นสมทบทุนสร้างซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก และทำนุบำรุงเสนาสนะในวัดให้คงอยู่ถาวรต่อไป

(ข้อมูล ทนายเสก)

thxby15105บอย น้ำยืน, บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน, คนโก้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!